กสิกรฯชี้ดันไทยเป็นศูนย์กลางไอซีทีไม่หมู


กสิกรฯชี้ดันไทยเป็นศูนย์กลางไอซีทีไม่หมู
ศูนย์กสิกรไทยเผยนโยบายผลักดันไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที)ในภูมิภาคมีอุปสรรคมาก ย้ำต้องอาศัยการผลักดันจากภาครัฐและเอกชน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารของไทยว่า จากสถิติการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารของไทยในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าการเติบโตของโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะมีอัตราการขยายตัวไม่มากนัก

      ขณะที่บริการจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมีจำนวนผู้ใช้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากเทียบจำนวนผู้ใช้บริการเทคโนโลยีและการสื่อสารกับประชากรในประเทศแล้วยังมีบริการบางประเภทที่มีความแพร่หลายค่อนข้างน้อย เช่น อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในอัตราร้อยละ
11.87 การใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในอัตราร้อยละ 22 เท่านั้น

    
สำหรับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของ International Institute for Management Development (IMD) จาก 61 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่าในปี 2549 ความสามารถในการแข่งขันโดยภาพรวมไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ลดลง 5 อันดับจากอันดับที่ 27 ในปี 2548 และหากจำแนกเป็นสมรรถนะทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

     โดยประเมินจากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีแล้วไทยอยู่ในอันดับที่
48 ซึ่งจัดว่าเป็นอันดับที่ค่อนข้างต่ำและเป็นตัวฉุดให้ความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมไม่สูงมากนัก

    
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์โอกาสและความเป็นไปได้ที่ไทยจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคทางด้านไอซีที โดยเรื่องปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมไทยยังเป็นประเทศที่มีพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีในประเทศไม่สูงมากนัก หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ แม้การใช้เทคโนโลยีของไทยก็ยังมีแนวโน้มที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง แต่ไทยยังขาดแคลนแรงงานฝีมือที่จะต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับสูง

     ขณะที่ตลาดไอซีทีในประเทศไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้เพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากในปัจจุบันยังมีสัดส่วนการใช้เทคโนโลยีไม่มากนักทั้งในระดับบุคคลและในระดับองค์กรธุรกิจ แต่ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างช้า ทำให้พึ่งพิงหรือซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศค่อนข้างมากทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์


     ส่วนเป้าหมายทางยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านบริการไอซีทีที่มีประสิทธิภาพ ผลักดันให้สินค้าไอทีเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยนั้น ยังจำเป็นที่จะต้องอาศัยแรงผลักดันอยู่มากทั้งจากภาครัฐและเอกชน เนื่องจากไทยยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการที่จะต้องเร่งปรับตัว และเร่งผลักดันให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีศักยภาพรองรับการเติบตามกระแสโลกได้อย่างทันท่วงที เพราะที่ผ่านมาความแพร่หลายของการใช้เทคโนโลยียังอยู่ในระดับที่เติบโตขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49409เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 05:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการดีมากที่ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมทางด้านไอซีทีมากขึ้น ในฐานะที่เป็นนักศึกษาคณะ IT นี้เช่นกันจึงของขอบคุณหน่อยงานที่ให้การสนับสนุนและผู้ที่จัดทำบล็อกนี้ด้วยที่ได้นำมานำเสนอ และถึงจะมีการสนับสนุนICT ให้อย่ในระดับที่โตขึ้นมากกว่านี้แต่เราก็ไม่ควรยึดติดกับtechnologyมากนัก  อย่าลืมความเป็นไทยของเรานะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท