สเต็มเซลล์


สเต็มเซลล์

               คงจะคุ้น ๆ กับคำว่า สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด กันมาบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่สนใจในเรื่องทางการแพทย์ ซึ่ง “สเต็มเซลล์ : Stem Cells” ถือว่าเป็นนวัตกรรมการแพทย์ในอนาคต ที่กำลังมาแรงทีเดียว 
               โดยเป็นความหวังใหม่ในการนำไปรักษาโรคร้ายแรงที่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้
               สเต็มเซลล์ หมายถึง เซลล์ตัวอ่อนที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ แต่มีคุณสมบัติพิเศษ 2 ประการคือ เป็นเซลล์ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์หัวใจ เซลล์ประสาท หลอด เลือด และเป็นเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวเองได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
               ทั้งนี้สเต็มเซลล์โดยทั่วไปมี 3 ชนิด คือ 1. เอ็มบริโอนิก สเต็มเซลล์ หรือสเต็มเซลล์ที่เก็บจากตัวอ่อนของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันไม่มีการนำสเต็ม เซลล์ชนิดนี้ไปใช้รักษาผู้ป่วยเนื่องจากมีปัญหาเรื่องศีลธรรม และควบคุมได้ยาก 2. ฟีตัล สเต็มเซลล์ หรือสเต็มเซลล์ที่พบในกระแสเลือดของทารกในครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และ 3.สเต็ม เซลล์ในผู้ใหญ่ ที่สามารถเก็บได้ 3 วิธี ได้แก่ ไขกระดูก กระแสโลหิต และเลือดจากสายสะดือของทารก สเต็มเซลล์ชนิดหลังนี้เองที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคให้กับผู้ป่วยทั่วโลกมากว่า 30 ปี
               สำหรับการใช้สเต็มเซลล์มารักษาโรคต่าง ๆ ภายในประเทศไทย รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบอกว่า ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำวิจัยและพัฒนา เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนของวิธีปฏิบัติที่ใช้ในการรักษาโรค การประเมินการรักษาในขณะนี้จึงยังไม่สามารถยืนยันว่าจะสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่มีปัญหาได้จริง เพราะการทดลองกับผู้ป่วยยังมีจำนวนน้อยราย 
               สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงสนับสนุนเพื่อศึกษาด้านวิชาการ แก่บริษัท ไทย สเตม ไลฟ์ จำกัด ในการพัฒนา 2 โครงการ คือ “โครงการนวัตกรรมการรักษาโรคแทรกซ้อนในระบบเส้นเลือดในผู้ป่วยเบาหวานด้วยสเต็มเซลล์จาก กระแสโลหิต” ซึ่งเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาโรคแทรกซ้อนในระบบเส้นเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นการทดลองระดับนำร่องวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิด  
               และ “โครงการนวัตกรรมการเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์จากเลือดในสายสะดือ” ศึกษาการเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์จากเลือดในสายสะดือในระดับการใช้งานจริง นำร่องในการนำสเต็มเซลล์ที่มาจากเลือด ในสายสะดือ (รก) ที่ได้ผ่านการเพิ่มจำนวนแล้วมา  ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของ อวัยวะต่าง ๆ 
               การดำเนินการดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นความ ก้าวหน้าครั้งสำคัญของวงการแพทย์ที่สามารถวิจัยและพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีด้านสเต็มเซลล์ขึ้นได้เองในประเทศโดยไม่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ.   

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49408เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 05:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เพิ่งรู้อะ เคยแต่ได้ยิน แต่มากระจ่างในวันนี้นี้เอง โอ้วๆๆๆๆ

โอ้ว++  รู้จักสเต็มเซลล์ขึ้นเยอะเรยอ่า  ดีดี  จะได้มาช่วยคน  การแพทย์ได้พัฒนาขึ้นเยอะเรย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท