นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 14


นอกจากการเผยแพร่ผลงานของโรงพยาบาลบ้านตากก็คือการทำเป็นตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกล้าที่จะทำ เขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการ กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับอยากทำ อยากคิดนวัตกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ

ช่วง 4-6 กันยายน ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุขขึ้นที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ ทางโรงพยาบาลบ้านตากได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นงานวิจัยที่นำเสนอทางวาจา 6 เรื่อง นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 5 เรื่อง ปรากฎว่างานวิจัยผ่านเข้ารอบไปนำเสนอทางวาจา 1 เรื่องคือเรื่องปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ส่วนนวัตกรรมเข้ารอบทั้ง 5 เรื่องคือช้อนอิ่มอร่อย ของคุณวิภา เต๋ทิ ผู้ช่วยเหลือคนไข้  เครื่องเรียกพยาบาล ของคุณสมเกียรติ จันตะโพธิ์ ลูกมือช่าง เครื่องซัคชั่นดูดแห้ง ของคุณไชยา ทับเอี่ยม พนักงานหน่วยจ่ายกลาง  กล่องตากสไลด์ของคุณสุภาภัดต์ ต๊ะคำ หัวหน้างานชันสูตร ตู้ยูวีปราศจากเชื้อของคุณวัชรินทร์ มะหะสุ

จากเอกสารประกอบการประชุมทำให้ได้ทราบว่ามีผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 790 เรื่อง ผ่านเข้ารอบนำเสนอวันงาน 174 เรื่อง ก็เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจของชาวบ้านตากที่มีผลงานเข้ารอบนำเสนอ 6 เรื่อง ซึ่งมากพอๆกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แม้ปีนี้จะได้รับรางวัลผลงานวิชาการดีเด่นแค่ 1 เรื่อง ก็ไม่เป็นไร เพราะการส่งเข้าประกวดครั้งนี้ได้กระตุ้นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอีกส่วนหนึ่งให้อยากนำเสนอผลงานในปีต่อไปมากขึ้นและเห็นว่าการเขียนผลงานวิชาการไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด

ปีที่แล้ว เราได้โล่รางวัลผลงานดีเด่นมา 2 เรื่องคือการนำเสนอทางวาจาของผมเรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ กับเครื่องอบแห้งเครื่องมือแพทย์ของคุณสมเกียรติ โดยครั้งนั้นมีคุณสมเกียรติ คุณไชยาและคุณสุภาภรณ์ ไปช่วยกันนำเสนอ ปีนั้นทำให้คุณไชยา ตั้งใจว่าปีหน้า (คือปีนี้) จะมานำเสนอผลงานนวัตกรรมของตัวเอง และเขาก็ทำได้ แม้เขาจะเป็นลูกจ้างชั่วคราว (ปีนี้ทั้ง 3 คนก็เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่เงินเดือนไม่ได้มากมายนัก แต่เขาก็มีใจที่คิดนวัตกรรมที่ช่วยให้งานของโรงพยาบาลดีขึ้น)

พี่อ้วน (สุภาภัดต์) เล่าให้ฟังว่าน้องที่ได้โล่รางวัลดีเด่นสิ่งประดิษฐ์ (มีได้ 2 รางวัล) บอกว่า ทาง คปสอ.บอกว่าถ้าได้รางวัลจะได้เงิน 15,000 บาท เป็นแรงจูงใจให้คิดนวัตกรรม แล้วของโรงพยาบาลบ้านตากได้อะไรบ้าง พี่อ้วนบอกว่าก็ไม่ได้อะไรเพิ่มเพราะที่บ้านตากเรามีนวัตกรรมกันจนเป็นเรื่องปกติในทุกงานอยู่แล้ว ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษอะไร ถือว่าทำแล้วโรงพยาบาลดีขึ้น บริการดีขึ้นก็มีความสุขในการทำงานแล้ว ซึ่งเป็นคำพูดที่ผมปลาบปลื้มในตัวเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบ้านตากมาก และผมก็เชื่อว่าปีหน้าน่าจะมีผลงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านตากและสสอ.บ้านตากเข้าร่วมมากกว่านี้อีก

ในส่วนของผม ได้นำเสนอทางวาจาเป็นOral presentation เรื่องปัจจัยความสำเร็จฯ ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มสาธารณสุข ผู้นำแต่ละคนมีเวลา 12 นาทีในการนำเสนอ ซึ่งผมก็ใช้เวลา 12 นาทีพอดี มีผู้ได้รับรางวัลผลงานนำเสนอทางวาจาดีเด่น 14 คน จาก 134 เรื่อง และอีก ประมาณ 7-8 เดือน จะมีการคัดเลือกเป็นผลงานยอดเยี่ยม (Best of the best) เพื่อคัดเหลือแค่ 2 เรื่องเป็นเชิงปริมาณ 1 เรื่อง และไม่ใช่เชิงปริมาณ 1 เรื่อง ซึ่งวิจัยที่ผมนำเสนอเป็นเชิงคุณภาพ

จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งนอกจากการเผยแพร่ผลงานของโรงพยาบาลบ้านตากก็คือการทำเป็นตัวอย่างให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกล้าที่จะทำ เขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการ กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับอยากทำ อยากคิดนวัตกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
หมายเลขบันทึก: 49341เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

ดิฉันติดตามผลงานของท่าน ผอ.มาตลอดขอบอกว่ารพ.บ้านตากเยี่ยมยอดจริง

ยินดีด้วยค่ะ

     ขอแสดงความยินดีและขอชื่นชมชาว รพ.บ้านตาก ด้วยคนครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ..

กะปุ๋มว่า..จะเชิญชวนคุณหมอ...ทำในเรื่อง R2R ในโรงพยาบาลบ้านตากด้วยคะ...หรือหากมีแล้ว...เล่าเรื่องสู่กันฟังด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

*^__^*

http://gotoknow.org/planet/cop-r2r

           ผลงานที่เราส่งเข้าไปนั้น เป็นงานวิจัยแบบR2Rทั้งหมดครับ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องR2Rเท่าไหร่ แต่ที่ทำไปคิดว่าใช่ครับ

           ผลงานที่ผมได้รางวัลดีเด่นปีที่แล้วก็เป็น R2Rครับ ไม่ได้เริ่มจากการวิจัย แต่เขียนเป็นงานวิจัยได้ครับ  

คุณหมอติ่งคะ...

กะปุ๋มอยาก...ให้ช่วยเล่าเรื่องการทำ R2R ของทาง รพ.ด้วยคะ...และขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้...ใน CoP R2R โดยกะปุ๋มจะ link เข้าไปที่ planet ท่านจะเปิด blog ใหม่สำหรับ R2R ของ รพ.บ้านตากเลยยิ่งดียิ่งคะ...(เพิ่มป้ายคำว่า R2R ด้วยนะคะ...)

ขอบพระคุณคะ

กะปุ๋ม

Note: 19-20 ต.ค. ยินดีต้อนรับสู่ รพ.ยโสธรนะคะ...จะพยายาม clear ตนเองอยู่ต้อนรับ...และ ลปรร. นะคะ

*^__^*

ยินดีกับ รพ.บ้านตากด้วย รู้สึกชื่นชมทีมงานทุกคนมากๆ

              ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากอาจารย์วัลลาครับ ตอนนี้ทีมเบาหวานของจังหวัดตากได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ร่วมกันอยู่ครับ คงจะส่งผลดีในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้นครับ

              เรียนคุณกะปุ๋ม ขอเรียบเรียงทบทวนเรื่องราวสักระยะนะครับ ไม่แน่ใจว่าR2Rในความหมายของผม จะเหมือนกับR2Rในความหมายของ CoP R2R หรือเปล่า

คุณหมอคะ...CoP R2R ไม่มีนิยามที่ตายตัวหรือแน่ชัดคะ...ขอเป็นเพียงแค่..การพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัย...เท่านี้ก็เพียงพอแล้วคะ...(ตื้อคะตื้อ)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP...R2R <1>: เป้าหมาย...กระบวนการ

*^__^*

กะปุ๋ม

เหมือนกับกำลังนั่งคุยกันเลยเนาะ...จะพยาย้าม พยายาม เขียนมาเล่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท