การประกวด Thailand 5S Award ครั้งที่ 4


การส่งประกวด 5 ส ระดับประเทศครั้งนี้ เป็นอุบายหนึ่งของการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวกับกิจกรรม 5 ส และเปิดให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาช่วยประเมินเพื่อต่อยอดความรู้ จึงไม่อยากให้พวกเราเครียดหรือวิตกกังวลกับผลการประเมินมากไป จนกลายเป็นทำเพราะรางวัล เพราะมันไม่ใช่เป้าหมายหลัก

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) ได้จัดประกวดกิจกรรม 5 ส ระดับประเทศเพื่อกระตุ้นให้มีการนำกิจกรรม 5 ส มาใช้พัฒนาองค์กรให้เกิดการเพิ่มผลผลิตอย่างแท้จริง โดยจัดมา 3 ครั้งแล้ว ปีนี้เป็นปีที่ 4 โดยรอบนำเสนอด้วยเอกสารมี 36 หน่วยงาน รอบนำเสนอที่สมาคมเหลือ 11 หน่วยงาน รอบตาวจเยี่ยมด้วยชาวไทยเหลือ 5 หน่วยงาน และจะตัดสินลำดับที่รางวัลทั้ง 5 ในวันที่ 24-25 พฤศจิกายนนี้

การพิจารณาคะแนนของคณะกรรมการตรวจประเมินกิจกรรม 5 ส ในการประกวด Thailand 5S Award ครั้งที่ 4 มีคะแนนเต็ม 300 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้

1. คะแนนสำหรับเอกสารและการนำเสนอ 100 คะแนน

1.1 คะแนนจากการตรวจเอกสาร 30 คะแนน

1.2 คะแนนจากการนำเสนอ ณ สมาคม สสท. 70 คะแนน

2. คะแนนการตรวจเยี่ยมพื้นที่/สถานที่โดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทย(คัดให้เหลือ 5 แห่ง) 100 คะแนน

3. คะแนนการตรวจเยี่ยมพื้นที่/สถานที่(โดยผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น) 80 คะแนน

4. คะแนนจากการนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายในวันจัดงาน 24-25 พฤศจิกายน (20คะแนน) โดยจะแบ่งคะแนน 20 คะแนนออกเป็น

1) ความชัดเจนและถูกต้องในการนำเสนอ ตามแนวทาง 5 ส 5 คะแนน

2) การแก้ไขและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญชาวไทย/ญี่ปุ่นจากการตรวจเยี่ยมพื้นที่ครั้งหลังสุด 5 คะแนน

3) วิธีการและเทคนิคในการนำเสนอ 4 คะแนน

4) ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่นำเสนอผลงานร่วมนำเสนอ 4 คะแนน

5) ความพร้อมของหน่วยงานที่นำเสนอ การตรงต่อเวลารวมทั้งการรักษาเวลาที่กำหนดให้ 2 คะแนน

หน่วยงานที่ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายประกอบด้วย(เรียงตามตัวอักษร)

1. บริษัทโปรดักส์ดีเวลลอปเม้นท์ เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

2. บริษัทสายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด

3. บริษัทออโต้อัลลายแอนซ์(ประเทศไทย) จำกัด

4. บริษัท เอ็น.ซี.อาร์.รับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด

5. โรงพยาบาลบ้านตาก

ในการส่งประกวด 5 ส ระดับประเทศครั้งนี้ เป็นอุบายหนึ่งของการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวกับกิจกรรม 5 ส และเปิดให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาช่วยประเมินเพื่อต่อยอดความรู้ จึงไม่อยากให้เครียดหรือวิตกกังวลกับผลการประเมินมากไป จนกลายเป็นทำเพราะรางวัล เพราะมันไม่ใช่เป้าหมายหลัก หลายคนอาจจะมีงานประจำที่ยุ่งล้นมืออยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทิ้งงานมาเพื่อทำป้าย ทำบอร์ดหรือจัดแฟ้ม แต่ควรวิเคราะห์จากงานที่ทำว่าจะทำให้งานที่ล้นมือนั้นลดลงได้อย่างไร ขั้นตอนน้อยลงได้อย่างไร ทำงานสบายขึ้น ลงแรงน้อยลงแต่ได้ผลงานเท่าเดิมได้อย่างไร หากเวลากระชั้นชิดเตรียมไม่ทันก็ขอให้เน้นที่การดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก

สรุปประเด็นข้อเสนอแนะจาก 5 ส Auditorsจากสสท. การปรับปรุงกิจกรรม 5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต(Productivity)

1. ระบบเอกสารและแฟ้มข้อมูล ดูง่าย ค้นง่าย ทันสมัย รู้ว่าแฟ้มมาจากห้องไหน

2. ระบบถนนและจราจร มีการตีเส้นสีชัดเจน ทางเข้า-ออก รถสวนหรือวิ่งทางเดียว ที่จอดหรือห้ามจอดรถ ป้ายจราจรต่างๆ ป้ายบอกไปจุดบริการตึกต่างๆ

3. เครื่องปรับอากาศ บอกวิธีใช้ที่ช่วยประหยัดไฟ การติดริบบิ้นสีเพื่อกันการลืมปิด

4. ผังห้องทำงาน ติดให้ดูง่าย ภายในผังบอกเลขครุภัณฑ์ สายโทรศัพท์หรือแลน

5. อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นตู้เย็น ควรตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสม การเสียบปลั๊กไฟ มีระบบการตัดไฟเผื่อลืมถอดปลั๊ก

6. โต๊ะห้องทำงาน ในลิ้นชักจัดอุปกรณ์ให้สะดวกใช้ หาง่าย

7. การจัดวางเอกสารที่ต้องวางซ้อนกัน ควรมีกระดาษสีกั้นแยกแต่ละประเภท

8. สายยางควรทำที่เก็บให้เรียบร้อย ที่กวาดถูพื้น มีช่องเก็บที่เป็นระเบียบ

9. การดูแลห้องปั่นไฟ ทั้งระบบความปลอดภัย การตรวจสอบ การวางของ

10. ต้นไม้พูดได้ สอนธรรมะหรือบอกสรรพคุณในการดูแลสุขภาพในเชิงสมุนไพร

11. อุปกรณ์ที่มีมาตรวัดควรใช้ระบบแถบสีบอกระดับที่ปกติและขีดอันตราย

12. ถังแก๊สควรติดตั้งGas Detector

13. อุปกรณ์ต่างๆของช่างหรือซ่อมบำรุง ควรเก็บให้เหมาะสมกับชนิดและเมื่อมีการยืมไปบอกได้ว่าใครยืมไป

14. ถังขยะ สวิทซ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรใช้สีหรือรูปที่เป็นสากล เข้าใจง่าย

15. ตู้ยา อุปกรณ์การแพทย์ จัดเก็บที่ตรวจสอบง่าย รู้จำนวนง่าย

16. อุปกรณ์ในการใช้ผ่าตัด มีการทำสัญลักษณ์ให้รู้ได้ง่ายว่ามีอะไรหายไปบ้าง อะไรไม่ครบ

17. การนำ 5 ส ไปใช้ในการดูแลคนไข้เพื่อเพิ่มPatient Safety

18. ทำอะไรให้เข้าใจวัตถุประสงค์และให้คนทั่วๆไปเข้าใจง่าย ไม่รกรุงรังเกินไป ให้รู้ว่าแต่ละ ส มีความหมายและวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

จากการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นศักยภาพของผู้ปฏิบัติที่สามารถหาวิธีการทำงานที่ดีขึ้นหรือไคเซ็นหรือซีคิวไอหรือนวัตกรรม ได้จำนวนมาก อย่างที่ผมคาดไม่ถึง ผมจะค่อยๆทะยอยนำมาเล่าให้อ่านครับ และสิ่งที่เจ้าหน้าที่เขาคิดทำนั้นใช้เงินน้อยมากแต่เขาลงขันทางปัญญากันคิดทำแบบไม่ใช้ตังค์นำ ก็ทำได้

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 4931เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2005 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท