สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน


 

               

สวัสดีครับลูกศิษย์ปริญญาเอก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม        

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายนนี้ ผมได้รับเชิญจากดร.ทรงคุณ จันทจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ให้ไปบรรยายให้กับนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ เรื่อง การใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ

         ผมถือโอกาสเปิด Blog นี้สำหรับลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจเรื่องการใช้ทุนทางวัฒนธรรม ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันที่นื่

                                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

หมายเลขบันทึก: 49270เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
นายสาธิต กฤตาลักษณ

กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงยิ่ง

 ผมป็นหนึ่งในคณะที่เดินทางมาเรียน และได้พูดเรื่องการใช้โบราณสถานที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นเกิดความหลากหลายอาชีพและรักหวงแหนโบราณสถาน  ผมได้รับความรู้อย่างมากกับท่านอาจารย์ รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน  ทำให้ผมซึ่งคิดจะทำงานวิจัยด้านนี้ได้เห็นแสงสว่างพร้อมกับทางเดินต่อไป ทำให้ผมได้รู้จักคำว่าวัฒนธรรมมากขึ้น การเรียนไม่ได้เรียนในตำราอย่างเดียวต้องนำไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปอีกเพื่อสังคมและประเทศชาติ  ผมขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ได้เมตราให้ความรู้แก่คณะนิสิตป.เอก

                                   รักและเคารพอย่างสูงยิ่ง

                                     สาธิต กฤตาลักษณ

  ประธานนิสิตป.เอกวัฒนธรรม รุ่น2 ศูนย์มหาสารคาม

                  

กิตติปกรณ์ อ้มเถื่อน

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพเป็นอย่างสูง

ผมได้มีโอกาสได้เข้ารับฟังบรรยายจากท่านอาจารย์ในวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2549 ซึ่งท่านอาจารย์ได้บรรยายและให้ทำกิจกรรมในประเด็จ ทุนทางวัฒนธรรมกับนวัตกรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นมุมมองที่ใหม่สำหรับผม เหมื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรากเง้าความเป็นมนุษย์กับการเดินไปข้างหน้าของชีวิต ประเด็นที่ผมสนใจที่ท่านอาจารย์ได้เน้นหลายครั้งคือการมองข้ามศาสตร์ เพราะโดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนหนึ่งซึ่งชื่นชมท่านเพราะท่านศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบันที่มักจะถูกมองข้าม จากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ทำให้ผมเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ว่าเราสามารถเรียนรู้ได้จากบริบทที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งที่สำคัญคือว่า คนเรานั้นจะเปิดใจ (Open Mind) ที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นหรือเปล่า แล้วที่สำคัญต่อมาคือการเรียนรู้ที่จะยอดยอดองค์ความรู้ของตัวเอง ถ้าคนเปิดใจที่จะเรียนรู้บริบทที่อยู่รอบตัวเรา ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วนั้นจึงเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีค่ายิ่งสำหรับมนุษย์ บวกกับการคิดกับสิ่งที่เรียนรู้ให้ละเอียดขึ้นและเป็นระบบ ก็จะทำให้เราพบความต่างจากความเหมือน และพบความเหมือนจากความต่าง ซึ่งเป็นทุนของการคิดอย่างสร้างสรรค์ และจะทำให้เราค้นพบนวัตกรรม

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับสำหรับการประสิทธิ์ประศาสตร์การเรียนรู้ในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์อีกสำหรับการเรียนรู้ครั้งต่อไป

   รักและเคารพอย่างสูงยิ่ง

                     กิตติปกรณ์ อ้มเถื่อน

  นิสิตป.เอกวัฒนธรรม รุ่น2 ศูนย์มหาสารคาม

นายสุวัฒน์ จิตต์จันทร์

นวัตกรรมของวัฒนธรรม แหล่งโบราณสถานทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้เดิมถูกมองว่าเป็นเขตแดนแห้งแล้งดินแดนแห่งความตาย เมื่อใครเดินทางเข้าไปหา จากการค้นพบโครงกระดูกโบราณบ้านเมืองบัว และกู่กาสิงห์ ชุมชนโบราณบ้านเมืองบัว และความมหัศจรรย์แห่งบ่อพันขัน พลิกฟื้นให้การท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด เปลี่ยนโฉมสู่การพัฒนานำองค์ความรู้ทางวัตถุโบราณ พัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อระบบชุมชนระบบ Home Stay สนับสนุนสิ้นค้าพื้นบ้าน สู่ข้าวหอมมะลิแห่งทุ่งกุลา หากการค้นพบโครงกระดูกที่บ้านเมืองบัวทำการขุดค้นให้เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดี-ทางประวัติศาสตร์ นำสู่กลยุทธการตลาด เจาะจงลงไปสู่นักท่องเที่ยว-นักศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน ทั้งการประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านสุ่การแสดงแสงสีเสียงแห่งอนาคต และเป็นวัฒนธรรมใหม่ของการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อไป

นายสุวัฒน์ จิตต์จันทร์

นิสิต Ph.D. (Cultural Science) MSU. รุ่น 2

11 กันยายน 2549

กราบเรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง

    เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา กระผมมีความรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบและได้รับฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์ ซึ่งท่าน ผ.อ.ดร.ทรงคุณ ได้กล่าวให้บรรดานิสิตฟังเสมอว่า ว่าท่านเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อพวกเรา ที่ทำให้พวกเรานิสิต ป.เอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์มีวันนี้ และเมื่อกระผมได้รับฟังคำบรรยายจากท่านแล้ว ก็เป็นจริงเช่นที่ท่าน ผ.อ.กล่าวไว้ไม่มีผิด การบรรยายของท่านอาจารย์สนุกมาก ทำให้นิสิตนักศึกษามีความตื่นตัวอย่ตลอดเวลา มีเทคนิคการบรรยายที่แปลกแตกต่าง ไปจากท่านอื่น นั่นคือ การให้โจทย์แก่นิสิต และให้นิสิตร่วมกันหาคำตอบพร้อมกับมีการวิพากษ์ในแนวคิดนั้น จนสามารถตกผลึกในความคิดนั้น ๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะท่านอาจารย์ได้เน้นให้นิสิตมีการคิดนอกกรอบ มีการสร้งองค์ความเรียนรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นให้ได้ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากความรู้ใหได้ และกระผมดีใจมากยิ่งที่ได้พบและได้สัมผัสเจ้าของทฤษฎี 4 L'S ที่แท้จริง เพราะเป็นทฤษฎีที่แรงมากในยุคปัจจุบันสู่การคิดที่สร้างสรรค์ นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ (Action plan) และสู่ความสำเร็จแก่กลุ่มชนได้อย่างยั่งยืน และสุดท้ายกระผมยังได้รับประโยชน์อย่างยิ่งที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้นักเรียนที่กระผมรับผิดชอบได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งที่กระผมได้เป็นส่วนหนึ่งของการได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ในวันนั้น และขอติดตามความรู้จาก WEB ของท่านอาจารย์ตลอดไป ว่าเป็นทะเลความรู้ที่ยิ่งใหญ่มหาศาลมาก

                                 ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

                                            เทอดชัย พันธะไชย

                                               ป.เอก ม.มส.

11 กันยายน 2549

กราบเรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง 

ในขณะที่เขียนก้อดึกมากพอสมควร  ถึงแม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อยจากเดินทางเกือบห้าพันกิโลตลอดทั้งสัปดาห์  คือจากสารคาม-จำปาสัก-กทม.-สารคาม 2 เที่ยว แต่อดที่ลุกขึ้นมาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นตามที่ท่านอาจารย์ได้ให้การบ้านไว้จากการบรรยายไม่ได้

และในฐานะที่เป็นนักHRคนนึงขอต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์แทนชาวHRทุกคนที่ในเวลาสาม-สี่ชม.ท่านอาจารย์ทำให้คนในศาสตร์อื่นๆ เข้าใจ สนใจศาสตร์ด้านHR มากขึ้น  โดยเฉพาะชาววัฒนธรรมศาสตร์ มมส. ที่สามารถนำสิ่งที่ท่าอาจารย์จุดประกายในประเด็น  Innovation และการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำไปใช้ทางด้านวัฒนธรรมต่อไป

ผู้เขียนอยากจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น โป๊ะเชะ ซึ่งเพื่อนๆอย่าคิดว่าInnovation เป็นสิ่งที่ยากหรือเป็นไปไม่ได้นะคะ  บางครั้งสิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นแบบโป๊ะเชะ  โดยบังเอิญ ทันทีทันใดก้อได้ ยกตัวอย่างนิวตัน ที่ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลกโดยบังเอิญ ทั้งๆที่เขานั่งใต้ต้นไม้คิดเรื่องอื่นๆ (รู้สึกจะเป็นต้นแอ๊ปเปิ้ลแล้วเห็นลูกแอ๊ปเปิ้ลหล่นจากต้นลงมาที่พื้นดิน) เห็นมั๊ยหละคะว่าเหตุบังเอิญอาจจะสร้างมูลค่าอย่างเอนกอนันต์ได้

เช่นกันในวันนั้นใครจะคิดว่าประเด็นกู่กาสิงห์  จ.ร้อยเอ็ดของอาจารย์อำคา  แสงงาม จะโป๊ะเชะโดนใจท่านอาจารย์จิระโดยทันที  ต่อไปอาจารย์อำคา  แสงงาม อาจจะโกอินเตอร์แล้วรวยแบบไม่รู้เรื่องก้อได้ เพราะท่านอาจารย์จิระ  จะมีการไปทำรายการทีวีด้วย

เพื่อนๆเราชาววัฒนธรรม มมส.อย่าเพิ่งท้อนะคะว่าประเด็นที่ท่านคิดจะไม่น่าสนใจ  ไม่มีมูลค่า ไม่โดนใจ  แผ่นดินอีสานของเรามีประเด็นอีกมากมายให้เราค้นหา  ศึกษาหาคำตอบ  ดังนั้น ต้องช่วยกันพลิกแผ่นดินอีสาน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่ามีวัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์เก่าแก่มาช้ามานาน มาสร้างนวตกรรม สร้างคุณค่า  สร้างมูลค่า สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เกิดแบบโป๊ะเชะ คนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นต้องอยากรู้อยากเห็น  เคยมาแล้วก้อต้องมาอีก และกลับไปแนะนำต่อด้วย สุดท้าย ผู้เขียนต้องขอกราบขอพระคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านอาจารย์จิระได้สร้างโอกาสและสร้างบรรยายกาศให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ นับว่าเป็นนวตกรรมใหม่ในการเรียนรู้ของชาววัฒนศาสตร์ มมส.                                

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง                                       ชมนาถ แปลงมาลย์

 ป.เอก ม.มส. ศูนย์มหาสารคาม

(เขียนจบหกทุ่มกว่าเป็นวันที่12 กย.พอดี)

 

 

นายมนตรี ศรีราชเลา นิสิตปริญญาเอกวัฒนธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 2 ศูนย์มหาสารคาม

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

          กระผมดีใจมากที่มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายของอาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2549 (วันเวลาเป็นเลขมงคลครับ)  กระผมสนใจคำว่า"วัฒนธรรม" กับ "นวัตกรรม" เป็นอย่างมากครับ  ในความรู้สึกของผมเองคำว่า"นวัตกรรม" เคยโด่งดังมาแล้วในอดีดแต่ขาดการประชาสัมพันธ์และการติดตามอย่างต่อเนื่อง...มาวันนี้เห็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอย่างท่านอาจารย์กล่าวถึงดีใจมากครับและจะติดตามกับท่านไปตลอดครับว่า "วัฒนธรรม" กับ "นวัตกรรม" จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร  และในขณะเดียวกันก็จะพยายามอธิบายคำว่า"วัฒนธรรม"ในให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ให้ท่านกลับมาสนใจวัฒนธรรมอันจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องสังคมบ้านเราต่อไป

          กระผมขออนุญาตอาจารย์ล่วงหน้าว่าผมจะขอรับความรู้จากอาจารย์ทาง Blog นี้ไปตลอด

                            ด้วยความรักและเคารพอย่างสูง

นายนำใจ อุทรักษ์ นิสิต  ป.เอก  วัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม

                 จากการเรียนและฟังบรรยายตลอดจน การระดมความคิดกลุ่มย่อยเห็นความเชื่อมโยงในการสร้างมูลค่าเพิ่มบนพื้นฐานแนวคิดเชิงกระบวนระบบสู่การนำมาใช้ในการปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ดีขึ้น โดยพื้นฐานทฤษฎีและการเรียนรู้ และหลักคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยคิดที่ระบบหรือคนที่มีการปลูกฝังอำนาจหรือพฤติกรรมเดิมมานาน ก็เป็นอุปสรรคตามหลักคิด 3 C

     ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

นายบุญเจริญ บำรุงชู
กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์   ที่เคารพอย่างสูงกระผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์เมื่อวันเสาร์ที่ 9  กันยายน  2549    ห้องประชุมจันทรเกษม  อาคารหอประชุมคุรุสภา  ซึ่งวันนี้ท่านอาจารย์เน้นในประเด็นสำคัญหลายประเด็น  ได้แก่  การสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรม  นวัตกรรม   ทฤษฎี 8  K’s โดยเน้นที่ทุนทางจริยธรรม  และเพิ่มอีก  5 K’ s  และเน้นที่ทุนทางวัฒนธรรม    การสร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดคือตัวลูกค้า   ทำให้กระผมเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและนวัตกรรม  เพิ่มขึ้นอีกมาก   ทฤษฎี  4 L’s  ก็เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่อาจารย์เป็นเจ้าของทฤษฎี  ทำให้กระผมเข้าใจความหมายของแหล่งเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น  เพราะอาจารย์เน้นถึงวิธีการที่จะเรียนรู้  โดยต้องเข้าใจวิธีการเรียนรู้   การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้   การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และการสร้างชุมชนการเรียนรู้  ตามปรัชญาของท่านอาจารย์ที่ว่า  เราต้องเกิดมาเพื่อการเรียนรู้ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากอาจารย์คือการสร้างทุนทางวัฒนธรรม   ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่จะกระทำ    สิ่งนั่นสามารถกระทำเป็นรูปธรรมได้  มีประโยชน์ต่อสังคม  มีมูลค่าเพิ่มและก่อเกิดนวัตกรรมใหม่กระผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง   จะติดตามและขอรับองค์ความรู้ใน  Blog  นี้ต่อไปด้วยความเคารพนับถืออย่างสูงนายบุญเจริญ   บำรุงชูนิสิตปริญญาเอก   สาขาวัฒนธรรมศาสตร์   รุ่นที่ 2  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม13  กันยายน  2549   01.30 น.
เรียน    อาจารย์ดร.จีระ   หงส์ลดารมย์  ที่เคารพ                                 ดิฉันนางกธิการ  ตริสกุล  เลขประจำตัวนักศึกษา  ๔๗๐๑  ๑๖๖๐๓๐๑  ระดับปริญญาเอก  สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  ในการฟังบรรยายเรื่องนวัตกรรมกับการสร้างมูลราคาเพิ่มทางวัฒนธรรม  เมื่อวันที่    กันยายน  ๒๕๔๙  สิ่งที่ดิฉันได้จากการฟังคำบรรยาย  คือ  ความรู้  ความเข้าใจ  แนวคิด  ขั้นตอนและกระบวนการเกี่ยวกับการรังสรรค์นวัตกรรมกับการสร้างมูลราคาเพิ่มทางวัฒนธรรม  ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปเรียนรู้เพิ่มเติม  โดยใช้หลักการรู้เขา  รู้เรา  ส่งเสริมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำงานจริง  พัฒนาสร้างเสริมจุดแข็งของเรา  สร้างเครื่องมือพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม  เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของไทยให้มีจุดแข็งด้านศิลปวัฒนธรรมไทย  เพื่อสร้างมูลราคาเพิ่มให้แก่ตนเองเสียดายที่ไม่มีโดยการได้ฝึกประสบการณ์ตรงกับอาจารย์  อยากเรียนและพัฒนาตนเองกับอาจารย์อีกคะ                                                                                                                   นางกธิการ     ตริสกุล
นายประสาน กำจรเมนุกูล
เรียน    อาจารย์ดร.จีระ   หงส์ลดารมย์  ที่เคารพ                                 กระผมนายประสาน   กำจรเมนุกูล   นักศึกษาระดับปริญญาเอก  สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  เมื่อวันที่    กันยายน  ๒๕๔๙  ที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสฟังบรรยายกับอาจารย์  ผมประทับใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์  การสร้างนวัตกรรมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางวัฒนธรรมถือว่าเป็นงานที่จำเป็นและยิ่งใหญ่ที่จะเชิดชูเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไทยที่จะทำให้เด็กและเยาวชนไทย  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เฉพาะที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร  มีความเป็นตัวของตัวเองถ้ามีโอกาสขอเชิญท่านอาจารย์ไปท่องเที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสานนะครับ  ยินดีต้อนรับ                              นายประสาน   กำจรเมนุกูล                                     

เรียน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ

กระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวกับ ทุนทางวัฒนธรรมกรรม กับนวัตกรรม เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2549 ที่ผ่านมานี้ ได้รับความรู้ และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากท่านมากมาย ต้องกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ได้สละเวลาให้ความรู้แก่คณะนิสิต ป.เอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ ในครั้งนี้

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

                          นายประทีป จันทร์นวล 

นายดวงจำปี วุฒิสุข
14 กันยายน 2549

กราบเรียนท่าน .ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

กระผมเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2549 คุรุสภา

ซึ่งมีความภาคภูมิใจที่ได้รู้จักท่าน ทั้ง ที่กระผมเป็นนิสิตต่างชาติ กระผมเป็นนิสิตที่มาจาก สปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลังจากที่ได้รับฟังท่านอาจารย์สอนแล้วเกิดความประทับใจ ได้รับความรู้ ประสบการณ์จากท่านหลาย ประการ เช่น ด้านวัฒนธรรม นวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และแนวคิดทฤษฎี 8 K’s 5 K’s และ 4 L’s

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง หวังว่าในโอกาสหน้าท่านคงจะได้มีโอกาสไปเยือน สปป.ลาว เพื่อแลกเปลี่ยนด้านวิชาการระหว่างบ้านพี่เมืองน้องเรา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระผมคงจะได้มีโอกาสต้อนรับอาจารย์ และจะติดตามผลงานด้านวิชาการของอาจารย์ตลอดไป

ขอแสดงความเคารพนับถืออย่างสูง

นายดวงจำปี
วุฒิสุข

นิสิตปริญญาเอกสาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2549

เรียน  ท่านอาจารย์  ดร.จีระ  ที่เคารพ

                กระผม  นายบุญสนอง   สมวงศ์   นักศึกษาปริญญาเอก   สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    ซึ่งได้เข้าฟังบรรยายเรื่องทรัพยากรมนุษย์  กับท่านอาจารย์      หอประชุมคุรุสภา  ในวันที่   9  กันยายน   2549    นั้น   กระผมรู้สึกว่ามีความซาบซึ้งและได้ความรู้   ตลอดจนเกิดประกายทางความคิดในการพัฒนาคนมากยิ่งขึ้น    ท่านอาจารย์ที่เคารพ   กระผมรับราชการครู   สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6    ในรายวิชา   การเงิน   การธนาคาร  และการคลัง   ซึ่งเป็นวิชาในกลุ่มเศรษฐศาสตร์  บังเอิญกระผมจบปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ   วิชาเอกการบัญชี    เลยมีประสบการณ์ด้านการเรียนเศรษฐศาสตร์ในระดับที่ดีพอสมควรที่จะสามารถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้     จากการสังเกตก่อนการเรียนการสอน  นักเรียนและคนไทยโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยระมัดระวังและศึกษาให้เข้าใจถึงความเป็นไปของวิชาเศรษฐศาสตร์  ทั้ง ๆ ที่วิชานี้เป็นวิชาการจัดการบ้านเรือน   ชีวิต   และความเป็นอยู่ของตนเอง   ให้สามารถครองชีพอยู่รอดในสังคมได้แต่ก็หาคนที่เข้าใจได้ยาก    ครูในโรงเรียนระดับประถมและมัธยมส่วนน้อยที่ได้เรียนมาโดยตรงทางด้านนี้และมีความเข้าใจลึกซึ้งที่จะถ่ายทอดสู่นักเรียนโดยทั่วไปได้    ส่วนใหญ่ก็ถ่ายทอดไปโดยไม่ปลูกฝังอุดมการณ์   ความคิดและวิธีคิด    การเข้าฟังบรรยายจากท่านอาจารย์ครั้งนี้   ทำให้ผมเกิดแนวความคิดใหม่    เกิดขึ้นหลายประการ    ประการที่หนึ่ง   กระผมมีแนวความคิดในเรื่องการพัฒนาคน   จะต้องให้ความใส่และติดอาวุธทางความคิดให้กับเขา    ให้เขาได้คิดเอง   นำเสนอ   และได้ลองปฎิบัติด้วยก็จะดี    เพื่อที่ว่าเขาจะได้ศึกษาปัญหา  วิธีการแก้ไขปัญหา    จะทำให้เขาตกผลึกความคิด   รู้จักคิดเป็น   แก้ปัญหาเป็น   และทำเป็น     (แนวความคิดนี้ได้มาจากหนังสือของท่านอาจารย์ที่พวกกระผมได้ซื้อติดตัวมา)    ประการที่สอง    การที่มนุษย์ได้ฝึกฝนการปฎิบัติทำให้เรียนรู้ได้จริง   โดยไม่ใช่เรียนอยู่แต่ในตำราแล้วนำมาใช้ไม่เป็น    แก้ปัญหาไม่เป็น   ซึ่งคนไทยเราในอดีตเราเรียนกันมาแบบนั้น      ประการที่สาม   การพัฒนาทุกอย่างต้องพัฒนาที่คน    ถึงจะมีงบประมาณมากมายเท่าไรก็ตาม    แต่ถ้านำไปใช้พัฒนาแล้ว   ไปเจอผู้ที่ไม่มีคุณธรรม   ใช้ไม่เป็น   คิดไม่เป็น   หรือคิดเป็น   ใช้เป็น  แต่เห็นแก่ตัว   ไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม    ก็จะพัฒนาอะไรได้ไม่มาก    เหมือนกับประเทศไทยเราขณะนี้

                                ท่าน  อ. ดร. จีระ   ที่เคารพ   บางครั้งคนคิดอะไรต่าง    ได้มากมาย   โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก    เพียงแต่เราอย่าไปทำความคิดของเขาให้เคราะเกร็น   เช่น   วันหนึ่งมีนักเรียนชั้น  ม.  6   ถามกระผมว่า   อ. ครับ   การที่ไทยเราไปทำสัญญา  FTA  กับประเทศต่าง    ดีอย่างไร   และการที่มี  WTO  จะช่วยประเทศเราได้อย่างไรบ้าง   คำถามเหล่านี้ถ้าครูไม่ได้ศึกษามาก่อนหรือไม่มีความรู้   หรือวิเคราะห์ให้นักเรียน

ฟังทันทีนักเรียนก็จะคิดไม่เป็น   แต่กระผมได้มีโอกาสเข้าอบรมกับคณะเศรษฐศาสตร์  เมื่อเดือน  เมษายน  ของปีก่อนโน้น   ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เป็นผู้จัดในโครงการชื่อ   WTO   Watch    ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความรู้กับครูได้ดีมาก   แต่รับผู้เข้ารับการอบรมได้เพียงไม่กี่คนทั้งประเทศ    กระผมก็เลยช่วยนำการวิเคราะห์ให้เขาช่วยกันวิเคราะห์   แต่กระผมก็ไม่สรุปว่าดีหรือไม่ดีในการทำ   FTA    แต่พวกนักเรียนมีความรู้และรู้วิธีว่าควรจะทำอย่างไร    มีประโยชน์หรือไม่   มากน้อยเพียงใด    นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่กระผมจะพยายามปฎิบัติและเจริญรอยรูปแบบการพัฒนาคนของท่าน   อ.   ทั้ง สองท่าน   คือท่าน อ.พารณ  และท่าน อ. ดร.จีระ  โดยได้แนวความคิดจากหนังสือของท่านทั้ง   2   ที่ช่วยกันนำเสนอ

                                ท่านอาจารย์ที่เคารพ  กระผมรบกวนเวลาของท่านอาจารย์มากมากพอสมควร   กระผมมีแนวความคิดอย่างหนึ่งที่กระผมตัดสินใจมาเรียนวิชาเอกวัฒนธรรมศาสตร์ซึ่งมีความหมายที่กว้างมากนั่นคือ  วัฒนธรรมการเรียนรู้   และการอยู่ร่วมกันของคนไทย   ยังมีอีกหลายอย่างที่คนไทยควรเปลี่ยนแปลงบางประการเช่น   วัฒนธรรมการคิด    ที่เมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนจะคิดแหวกแนว   คิดอะไรที่แปลก    เพราะกลัวว่าคนอื่นจะหาว่า   คิดอะไรไม่เหมือนเขา    ทำอะไรไม่เหมือนคนอื่น    แต่ในวันนี้วัฒนธรรมแบบนี้ควรได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงเป็น   คนไทยต้องกล้าคิด   กล้าทำ   กล้าตัดสินใจ   เรียนรู้สิ่งอะไรที่แปลก      โดยอยู่ภายใต้ความ  ดีงาม     การนอบน้อมถ่อมตน     เชื่อฟังผู้อาวุโสแล้วนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับความคิดของตนเอง    จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้      พึ่งตนเองได้    แก้ปัญหาทุกสิ่งได้    จนทั่วโลกยอมรับ   เหมือนกับ      ยิ้มสยามของเรา    ที่ใคร     ก็อยากจะสัมผัส 

                                ท้ายที่สุดนี้   กระผมขอรบกวนท่าน  อ.  แต่เพียงเท่านี้   ขออัญเชิญอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลก   รวมทั้งพระบารมีขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ   และพระราชวงศ์แห่งจักรีวงศ์ทุกพระองค์   จงช่วยดลบันดาลประทานพรให้ท่าน อ.ทั้งสอง มีแต่ความสุข   ความเจริญ   สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์   คิดและปรารถนาอะไรขอให้ได้ดังใจปรารถนา  มีพละกำลังและจิตใจที่เข้มแข็งในการสั่งสอนลูกศิษย์   และคนไทย   ตลอดไปเทอญ.

                                นายบุญสนอง    สมวงศ์   นักศึกษาปริญญาเอก   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  วิชาเอกวัฒนธรรมศาสตร์    หน่วยบริการการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา.

                                 15   กันยายน   2549     เวลา    19.26   น.

ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

หลายวันที่ผ่านมา ผมไม่ได้เขียนข้อความลงใน Bloc ของอาจารย์ เนื่องจากไปสัมมนาที่ Bankgalore ประเทศอินเดียมาหลายวัน หลังจากผมกลับจากการไปร่วมสัมมนา ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง 9/11 ผลกระทบต่อโลก ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

  เหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก

ประโยคนี้ ทำให้ผู้อ่าน นักเรียน ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับกับ ยุคโลกาภิวัตน์ นี่คือยุค โลกาภิวัตน์ (globalization) ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลกโลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:·        ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ) ·        ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ) ·        ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ) ·        ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)  

 

ผลกระทบเกิดที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ ย่อมส่งทั้งผลดีและผลเสีย ต่อปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก  อย่างหลีกหนีไม่พ้น  สังคม องค์กรที่ชาญฉลาดจึงเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

  

ผลกระทบด้านไม่ดี คืออาจจะสร้างปัญหาได้ในระยะยาว อย่าเช่น กรณีเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายขับเครื่องบินถล่มตึก World trade ในอเมริกา และกระจายผลกระทบด้านลบ ไปทั่วโลก และมีทีท่าว่าจะเกิดสงครามยืดเยื้อ เรียกว่า ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน  เมื่อมีความไม่ดียั่งยืน ก็ควรทดแทนด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จัก หนทางแก้ปัญหา แสวงหาความสงบสุขแบบหาความยั่งยืน  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนทางหนึ่ง แต่ในทางพุทธศาสนา ยังมีอีกหลายแนวความคิด ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  ซึ่งต้องเริ่มที่สถาบันย่อยของสังคม ต้องมีความรู้เรื่องความยั่งยืนเหล่านี้ว่าจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร

  ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย ประโยคนี้ สะท้อนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของอเมริกา เราสามารถศึกษาได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนหรือไม่  หรืออาจจะเป็นการแก้ไขปั้ญหา ตามแนวคริสต์ศาสนา  ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้แนวพุทธศาสตร์ บ้างจะเป็นอย่างไร  ตรงนี้ชี้ชวนให้นักเรียน นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา แบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประการที่สำคัญ  ผู้นำที่เป็นเลิศ ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหา แต่เมื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาอื่น ไม่ควรมีมามากกว่าปัญหาเดิม   การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)

 

ที่ ศ.ดร.เขียนมา ว่า สหรัฐอเมริกาขาดอะไรบ้าง ท่านผู้อ่านลองจับประเด็นดู อาจารย์กล่าวว่า สหรัฐฯ ขาด ความอดทน อดกลั้น ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความน่าเขื่อถือ ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน ขาดวิสัยทัศน์ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรต้องมีอย่างยิ่งสำหรับการเป็นผู้นำ  ฉะนั้นถ้าถามว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร  ถ้าตัดคำว่าขาด ออกไปก็คือคุณสมบัติของผู้นำทั้งสิ้น   และอาจกล่าวได้ว่า ถ้าสหรัฐฯ ปล่อยให้ขาดเรื่องเหล่านี้มาก ๆ  แน่นอนว่า จะไม่ได้เป็นผู้นำโลกอีกต่อไปในอนาคตใครก็ตามถ้าเป็นผู้นำ แล้วไม่รักษาคุณสมบัติที่ดีของความเป็นผู้นำ ย่อมไม่รักษาความเป็นผู้นำไว้ได้อีกต่อไป    ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ 

 

ปัญหาของโลก นับวันจะมากและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน  เมื่อวันที่ 9 – 13 กันยายน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดงานเผยแพร่ผลการวิจัยดีเด่นประจำปี 2549 และมีการจัดเวที ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการได้มาเสวนาเผยแพร่ ผลงานการวิจัย  วันแรกที่มีงาน ในเวทีใหญ่ มี ศ.ดร. องอาจ ชุมสาย ณ อยุธยา และนักวิชาการหลายท่านมา พูดถึง โจทย์ที่ควรตั้งเพื่อหาคำตอบ โดยใชการทำวิจัย  สิ่งที่ ศ.ดร.ชุมสาย ณ อยุธยา ก่ล่าวถึงคือ ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก พบว่า อีก 14 ปีข้างหน้า นำแข็งขั่วโลกเหนือและใต้ จะละลายหมด น้ำในโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 2 เมตร  เมื่อขั้วโลกไม่มีน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก  ตรงนี้ผมคิดว่าผลกระทบที่ตามมาคือ กระแสน้ำเย็น กระแสน้ำอุ่น เปลี่ยนทิศทาง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แผ่นดินไหว สินามิ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม พายุรุนแรง จะมีมากขึ้น แล้วกรุงเทพฯ ถ้าระดับน้ำสูงขึ้นอีกสองเมตร จะไปเหลืออะไร สนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่เกษตร ปริมณฑล พื้นที่อยู่อาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล ผลกระทบมากมาย แต่แปลก รัฐบาลแทบไม่เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ นโยบายสาธารณะ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ แทบไม่ได้มีมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่มีผลการวิจัย เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่คาดว่าจะเกิดและเสนอเป็นมาตรการป้องกันไว้ให้กับชาติ เพื่อความอยู่รอดและผาสุกของปวงชน  หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์แบบสึนามิ ที่ภาคใต้ ขึ้นอีกหลาย ๆ ครั้งก่อนแล้วค่อยหาทางแก้กัน     คนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น ประโยคนี้ ต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กระตุ้นให้คนไทยสนใจเรื่องของโลกมากขึ้นและคิดหาทางพึ่งพาตนเอง   หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ควรเอาเยี่ยงอย่าง หาทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโลก อันตรายที่อาจจะเกิดกับโลก ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน พร้อมกับสนับสนุนให้มีการวิจัย เกี่ยวกับปัญหาระดับโลก และแนวทางแก้ไข  ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ข้ามประเทศ ศึกษาวิจัย   ศ.ดร.จีระ เป็นประธานหน่วยงานระดับโลก ในกลุ่ม APEC ขอฝากท่าน กล่าวถึงเรื่องนี้ ในโอกาสต่อๆ ไป จะทำอย่างไร ให้ทรัพยากมนุษย์อยู่รอดได้ หากเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ในอีก 14 ปีข้างหน้า ทำอย่างไร ไม่ให้มนุษยชาติสูญพันธุ์ไปอย่างไดโนเสาร์  ขอให้ท่านช่วยระดมความคิดผู้คนระดับโลก ในกลุ่ม APEC ช่วยกันตรงนี้ ไม่หวังพึงอเมริกาอีกต่อไป  ผมเชื่อว่า กลุ่มประเทศใน APEC ก็มีทุนพอที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง     

ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ประโยคนี้ ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย  คือได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ให้โอกาสอันมีค่านี้  และได้ให้ร่วมแชร์ความรู้ประสบการณ์กับพี่น้องผู้นำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล   ประทับใจผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนที่เป็นผู้นำของโรงแรมฯ  เห็นความตั้งใจ ความมุ่งมั่น พลังความคิด สะท้อนให้เห็นว่ามีทุนมนุษย์สูง ที่น่าประทับใจแต่ไม่มีโอกาสได้พบตัว คือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรม ที่มีวิสัยทัศน์ เปิดหลักสูตรนี้ ให้ทีมงานที่โรงแรมฯ ไดมีโอกาสได้รับความรู้  ผมเชื่อว่าการทำดีดังกล่าว จะทำให้โรงแรมนี้ คงความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างดี อีกงานหนึ่งที่ ศ.ดร.อาจจะไม่มีเนื้อที่พอที่จะเขียน และผมอดที่จะชี่นชมไม่ได้คือ การที่ ศ.ดร.จีระ ได้มอบหมายให้ นักศึกษา ป.โท เทคโนโลยี่เกษตร ลาดกระบังฯ ไปศึกษาดูงานที่ บริษัท ไทย คิว พี หรือ อสร. ที่ราชบุรี และ ไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมฯ ที่โรงเรียนท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินร์ ที่กาญจนบุรี มาร่วมฟังด้วย งานนี้นอกจาก ศ.ดร.จีระ จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ให้มีอยู่ในหัวของ นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบังแล้ว  ศ.ดร.จีระ ยังฝึกการบริหารจัดการ การเป็นผู้นำ ให้นักศึกษาได้ออกไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนดังที่กล่าวมา  นับว่าได้คุณค่าถึงสามประการ ประการที่ 1 คือ ตัวนักศึกษา ป.โท ได้ความรู้ประสบการณ์ ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประการที่ 2 คือ ตัวนักเรียนมัธยมฯ ได้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปด้วย ประการที่ 3 คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ป.โท ได้ทำบุญ ให้วิทยาทาน แก่ผู้อื่น เป็นการทำบุญไปในตัวด้วย ขอชื่นชมทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ที่ผมสั้งเกตเห็นว่ามีความตั้งใจทำงานได้ดีมาก ถ้าพวกเขามีบุญพอ คือสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ในแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยปรารถนาอย่างแรงกล้า จะเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย   ศ.ดร.จีระ มีรายการที่น่าสนใจหลายรายการ เช่นรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. – 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญท่านติดตามศึกษาหาบทความ เรื่อง9/11 ผลกระทบต่อโลก[1] ของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Bloc นี้ ครับ   ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน     ยม   
ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก"

9/11 ผลกระทบต่อโลก[1]

 

ทุกคนคงจำเหตุการณ์ 9/11 ได้ดี ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ลืมเหตุการณ์นี้แน่นอน เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี แม้ไม่ลืมก็ควรจะต้องใช้โอกาสนี้วิเคราะห์สถานการณ์นี้ไปด้วย หากเราเป็นสังคมการเรียนรู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น จะเห็นว่าเหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก


ช่วงนี้ ผมจะไม่ค่อยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโลก ยิ่งมีวิกฤติการเมืองไทย เรื่องที่คนไทยไม่ใฝ่รู้ เขียนเรื่องระดับโลก คนไม่สนใจ แต่วันนี้ไม่เขียนถึงคงไม่ได้


ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย


เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี ความสงสาร ความเห็นใจ ต่อสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีน้อยลง ประเทศที่เคยช่วยเหลือสหรัฐอย่างเต็มที่ลดการสนับสนุน เหลือประเทศหลักคืออังกฤษเท่านั้น ประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่น เยอรมนี หรือฝรั่งเศส เริ่มมองสหรัฐอเมริกาแบบไม่ค่อยพอใจนัก เพราะสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายล้างแค้น เพื่อเอาใจฝ่ายขวาจัดในประเทศของตัวเองมากกว่า


การล้างแค้นดังกล่าวได้ลุกลามไปถึงอัฟกานิสถาน ขยายวงไปยังอิรักและอาจจะไปถึงอิหร่านด้วย และดูเหมือนว่าสหรัฐอเมริกาจะใช้นโยบาย ZERO SUM GAME คือ มีผู้ชนะและผู้แพ้ ไม่ใช้นโยบาย WIN/WIN หรือสมานฉันท์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ ต้องใช้การทูต การประนีประนอมมากขึ้น ซึ่ง Bush ไม่เลือกวิธีการสมานฉันท์ แต่เน้นการต่อสู้แบบรุนแรง


ความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสู้รบในวันนี้ ไม่รู้จะจบลงเมื่อไร ดูอิรัก ปัญหาของอัฟกานิสถาน ที่ปะทุขึ้นมาตลอดเวลา ไม่มีท่าทีว่าจะจบลงอย่างสันติ


การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับ


ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)


ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ


ผมจึงขอสรุปว่า เหตุการณ์ 9/11 สร้างความวุ่นวายให้แก่โลกในระยะยาว เพราะสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตั้งสติ ใช้ปัญญาหรือความสามารถต่าง ๆ แก้ปัญหาหลายเรื่องของโลกได้


ดูเหมือนว่าผู้นำของสหรัฐอเมริกาจะมองปัญหาของตัวเองมากกว่าปัญหาของโลก จึงขอสรุปแนวคิดของผมให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อไป ฉะนั้น ปัจจุบันคนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น


หันมาดูงานของผมในสัปดาห์ที่แล้ว
ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ได้มีโอกาสไปทำ workshop ให้แก่กลุ่มปริญญาเอกกว่า 50 คน ด้านวัฒนธรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ผมได้แสดงความเห็นเรื่องนวัตกรรมกับวัฒนธรรม ให้เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรม Cultural capital จำเป็นที่จะต้องสร้างมูลค่า เพื่อให้โลกสนใจ ให้คุณค่า และในอนาคตจะเป็นการหารายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล


ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ สิ่งที่อยู่กับเราและติดตัวเราคือ อดีตที่เราสะสมมานาน ไม่ว่าจะเป็นหนัง ละคร วรรณกรรม ศาสนา องค์ความรู้ แต่จะหวงแหนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา นักเรียนปริญญาเอกหลายคน ต่างมีความเห็นว่า วัฒนธรรมพื้นบ้านหลายอย่างในภาคอีสาน รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นจุดที่น่าสนใจ น่าจะนำมาต่อยอดต่อไป


นอกจากนี้ ผมได้พัฒนาผู้นำของข้าราชการระดับ C8 กระทรวงวัฒนธรรม อีก 120 ท่าน ซึ่งเรียนกับผมรุ่นละ 60 ชั่วโมงจบไปแล้ว สัปดาห์นี้จะไปต่อยอดกัน ดูงานนิทรรศการวัฒนธรรมของไทยที่ฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ชาวต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้วัฒนธรรมไทยในสังคมโลกต่อไป

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
บุญช่วย พาณิชย์กุล

บทความเรื่องการใช้รายจ่ายคำนวณรายได้ประชาชาติ

ตามทฤษฎีสำนักเคนส์กับผลกระทบที่ทำให้ค่านิยมแบบบริโภคนิยมเข้มข้นยิ่งขึ้นและผลกระทบที่เกิดขึ้นทางการเมือง

โดย นายบุญช่วย พาณิชย์กุล นิสิตปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ (ศูนย์นคราชสีมา) รุ่น 1

 

วิธีการคำนวณหรือการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจากรายจ่ายของสำนักเคนส์ ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่าทฤษฎีดังกล่าวจะเน้นไปยังให้ความสำคัญในการใช้จ่ายในภาคต่างๆคือ การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพื่อการบริโภค (Consumption) ค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจ(Investment Spending) การใช้จ่ายในภาครัฐหรือการใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจซึ่งนิยมพิจารณาจากค่า GDP ที่คำนวณจากทฤษฎีเคนส์เป็นหลัก จึงต้องทำให้ค่า GDP สูงขึ้นโดยการกระตุ้นความต้องการหรืออุปสงค์ (Demand) ในภาคครัวเรือนให้เกิดกำลังซื้อ โดยเชื่อมั่นว่าเมื่อครัวเรือนมีความต้องการซื้อมากขึ้นจะทำให้ภาคธุรกิจเพิ่มกำลังผลิตมากขึ้น และภาคธุรกิจก็จะขยายกำลังผลิตมีการค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนมีงานทำมีรายได้มากยิ่งขึ้น และเกิดกำลังซื้อมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ และรัฐก็จะเก็บภาษีได้มากยิ่งขึ้นสามารถนำมาสร้างถนนไฟฟ้าประปาซึ่งเป็นเรื่องสาธารณูปโภคและดูแลด้านสวัสดิการให้อยู่ดีกินดียิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีโดยรวมของประชาชน เรียกว่าเกิดการไหลรินสู่เบื้องล่าง ( Tickle Dawn Effect )

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามวิธีการคำนวณได้ประชาชาติจากการที่เห็นว่าการใช้จ่ายของภาคต่างๆคือตัวแปรสำคัญในการทำให้ GDP เติบโตซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนอยู่ดีกินดีนั้นปัจจุบันกลับเกิดการที่รายได้จากการเติบโตของเศรษฐกิจกระจุกตัวอยู่กับชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย” และที่สำคัญ ในระยะยาวผู้เขียนเชื่อมั่นว่าจะเกิดผลกระทบจากทฤษฎีที่จะทำให้ค่านิยมการบริโภคนิยมขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเหตุว่าเมื่อทฎษฎีนี้เห็นว่าค่าใช้จ่ายของภาคต่างๆคือปัจจัยสำคัญที่จะทำใน GDP โตขึ้นโดยเน้นการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ ที่เรียกว่าอุปสงค์หรือ Demand หรือ ความต้องการในการซื้อรวมถึงความเชื่อมั่นที่กล้าจะใช้จ่ายจึงจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่จะเกิดการใช้จ่ายของภาคอื่นๆส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น แนวคิดตามทฤษฎีดังกล่าวจึงเป็นการส่งเสริมให้ครัวเรือนมั่นใจและกล้าในการใช้จ่ายมากขึ้นซึ่งเป็นการตอกย้ำค่านิยมแบบบริโภคนิยมให้ประชาชนใช้จ่ายแบบฟุ่มเฟือย ไม่ยั้งคิดปราศจากเหตุผลมากยิ่งขึ้นจากสาเหตุความเชื่อที่ว่ายิ่งใช้จ่ายมากเศรษฐกิจจะยิ่งดีมากขึ้นจะเกิดการไหลรินสู่เบื้องล่างทำให้ประชาชนจะอยู่ดีมีสุขยิ่งขึ้น คืออันตรายที่ส่งเสริมค่านิยมแบบบริโภคนิยมในโลกทุนนิยมให้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีเหตุผลอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้นในสังคมโลก กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า ว่าสังคมโลกปัจจุบันค่านิยมแบบบริโภคนิยมได้ถูกปลูกฝังเข้าไปสู่สำนึกของประชาชนอย่างไม่รู้ตัวและนับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากแนวคิดการคำนวณรายได้ประชาชาติจากรายจ่ายตามทฤษฎีเคนส์ที่ถือว่าเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคหรือเศรษฐศาสตร์ที่ทรงพลังที่เขียนสูตรไว้ว่า GDP = C+I+G+(X-M) ได้เข้าไปมีอิทธิพลครอบงำความคิดของผู้นำและนักวิชาการของโลกทุนนิยมทุกประเทศ ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่เป็นหลักในการกำหนดนโยบายการเงินการคลังของทุกประเทศ เป็นความเชื่อที่แปลเป็นวิถีปฏิบัติเข้าสู่จิตวิญญาณของประชาชนแบบไม่รู้ตัวว่าต้องใช้จ่ายเศรษฐกิจถึงจะดีและทุกคนก็จะดีไปด้วย สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการสะสมพอกพูนค่านิยมแบบบริโภคนิยมในโลกทุนนิยมอย่างไม่รู้ตัว สิ่งที่เกิดขึ้นของทฤษฎีนอกจากความทรงพลังของตัวทฤษฎีในการสามารถอธิบายและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามก็ยังสร้างให้เกิดผลกระทบ (Impact) คือทำให้เกิดความเข้มข้นของค่านิยมแบบบริโภคนิยมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เป็นการส่งเสริมลัทธิวัตถุนิยมที่แฝงตัวอยู่ในโลกทุนนิยมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือการให้ความสำคัญด้านวัตถุมากกว่าจิตใจและตีค่าความเป็นมนุษย์ตามมูลค่าของวัตถุ แบ่งชนชั้นวรรณะตามมูลค่าของวัตถุที่ครอบครองอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่พบเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้นในสังคมปัจจุบันซึ่งผู้เขียนเห็นว่าความเข้มข้นของค่านิยมแบบบริโภคนิยมที่นับวันจะเกิดมากยิ่งขึ้นยิ่งขึ้นในโลกทุนนิยมส่วนหนึ่งเกิดจากหลักแห่งทฤษฎีดังกล่าวซึ่งผู้เขียนถือว่าเป็นผลกระทบ (Impact) ของทฤษฎีที่เกิดขึ้นซึ่งต้องนำไปหักลบออกจากผลลัพธ์ที่ได้ของทฤษฎีว่าคุ้มเพียงใดนั่นเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งแม้จะมีผลกระทบของทฤษฎีด้านการสร้างให้เกิดค่านิยมในการบริโภคนิยมมากยิ่งขึ้นดังที่กล่าวมาแล้

                                         บุญช่วย พาณิชย์กุล 

                                            โทร.01-7182883 

 

Model แสดงผลกระทบของทฤษฎีสำนักเคนส์ที่ส่งผลต่อระบบการเมือง

                                       (ต่อหน้า 3)

 

ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร

กราบเรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ที่เคารพอย่างสูงยิ่ง

กระผมนายยุทธศิลป์  จุฑาวิจิตร เป็นนิสิตปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายของท่านอาจารย์เมื่อวันเสาร์ที่ 9  กันยายน 49  ที่ผ่านมา ซึ่งจากการบรรยายดังกล่าวทำให้กระผมได้รับรู้เรื่องราวของทฤษฎีตลอดจน นวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นไปสัมพันธ์กับศาสตร์ทางด้านวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว ทำให้กระผมได้แนวคิด  หลายๆอย่างที่จะนำเอาทฤษฎีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดต่อการเขียนงานวิจัยของกระผม  ซึ่งต้องกราบขอพระคุณอย่างสูงที่ได้กรุณาชี้นำแสงสว่างทางปัญญาให้แก่กระผมและนิสิตทุกคน และที่อดจะเอ่ยนามท่านมิได้อีกท่านหนึ่งคือท่านอาจารย์ ดร.ทรงคุณ  จันทจร  ผู้ซึ่งนำพวกเราชาวป.เอกไปพบกับขุมทรัพย์ทางปัญญาอันมีค่ายิ่ง  ซึ่งกระผมต้องขอกราบขอพระคุณท่านอาจารย์ทั้งสองด้วยความเคารพยิ่งและในโอกาสอันใกล้นี้กระผมคงได้เรียนปรึกษาอาจารย์ในการทำวิจัยต่อไปครับกระผม

                                  ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                   นายยุทธศิลป์  จุฑาวิจิตร

เรียน  อาจารย์  ดร.จีระ  ที่เคารพอย่างสูงยิ่งผมเป็นนักศึกษา  สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้เข้ารับฟังการบรรยายของอาจารย์ในวันที่  9  กันยายน  2549  ที่หอประชุมคุรุสภา  ได้รับความรู้  ได้แนวคิด  เกิดการเรียนรู้มากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว  อาจารย์เน้นความเป็นตัวของตนเอง  มีทฤษฎีของตนเอง  แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ได้นั้น  จะต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดี  แล้วจะเกิดความมั่นใจสูง  ผมขอนำหลักการและแนวคิดของอาจารย์ไปใช้ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  และขออวยพรให้อาจารย์มีความสุข         เป็นที่พึ่งพิงของชาววัฒนธรรมศาสตร์ต่อไปด้วยความเคารพอย่างสูง จากลูกศิษย์ปภังกร  เถาว์ชาลีศูนย์มหาสารคาม

 

เรียน  อาจารย์  ดร.จีระ  ที่เคารพอย่างสูงยิ่งผมเป็นนักศึกษา  สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้เข้ารับฟังการบรรยายของอาจารย์ในวันที่  9  กันยายน  2549  ที่หอประชุมคุรุสภา  ได้รับความรู้  ได้แนวคิด  เกิดการเรียนรู้มากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว  อาจารย์เน้นความเป็นตัวของตนเอง  มีทฤษฎีของตนเอง  แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ได้นั้น  จะต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดี  แล้วจะเกิดความมั่นใจสูง  ผมขอนำหลักการและแนวคิดของอาจารย์ไปใช้ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  และขออวยพรให้อาจารย์มีความสุข   เป็นที่พึ่งพิงของชาววัฒนธรรมศาสตร์ต่อไปด้วยความเคารพอย่างสูง ปภังกร  เถาว์ชาลี

เรียน  อาจารย์  ดร.จีระ  ที่เคารพอย่างสูงยิ่ง

           สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้เข้ารับฟังการบรรยายของอาจารย์ในวันที่  9  กันยายน  2549  ที่หอประชุมคุรุสภา ดิฉันได้รับความรู้ความเข้าใจด้านขององค์ความรู้ ทุนทางวัฒนธรรมกับนวัตกรรม โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มมูลค่าทางวัฒนะธรรม

                         ด้วยความเคารพอย่างสุง

                            อ่าทอง  บุญเสริม

 สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้เข้ารับฟังการบรรยายของอาจารย์ในวันที่  9  กันยายน  2549  ที่หอประชุมคุรุสภา ดิฉันได้รับความรู้ความเข้าใจด้านขององค์ความรู้ ทุนทางวัฒนธรรมกับนวัตกรรม โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม

                         ด้วยความเคารพอย่างสูง

อ่างทอง บุญเสริม

กราบเรียนท่าน .ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ชื่นชมในอาจารย์มากครับ วันที่ 9 กันยายน 2549 คุรุสภา เวลาน้อยจังถ้าเวลามากคงได้รับองค์ความรู้จากอาจารย์มากกว่านี้ ภูมิใจครับที่ได้เป็นศิษย์อาจารย์ แม้เวลาจะน้อยนิดก็ตามครับ

แนวคิดทฤษฎี 8 K’s 5 K’s และ 4 L’s มีความเป็นรูปธรรมและเข้าถึง

สัจธรรมของยุคสมัยจริงๆ ครับ

ได้ยินว่าท่านอาจารย์สนใจจะมาที่กู่กาสิงห์ คณะนิสิตและอาจารย์ตื่นตัวและยินดีต้อนรับเป็นอย่างยิ่ง กลัวแต่อาจารย์จะไม่มา และคุยกันไว้ว่าถ้าอาจารย์มาทุกคนก็พร้อมรอรับอาจารย์ครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม ที่กู่กาสิงห์ ยังมีกู่โพนระฆัง( อโรคยาศาล ) และกู่โพนวิจ อีกครับ โดยตั้งอยู่ในชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ละแห่งห่างกันแค่ ๕๐๐ เมตรและตั้งอยู่ในชุมชนครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

นายอำคา แสงงาม

นิสิตปริญญาเอกสาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2549

ร.ต.อ.คทารัตน์ เฮงตระกูล

กระผมได้เข้ารับฟังบรรยายกับอาจารย์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 คุรุสภา เวลาน้อยจังถ้าเวลามากคงได้รับองค์ความรู้จากอาจารย์มากกว่านี้ ภูมิใจครับที่ได้เป็นศิษย์อาจารย์ แม้เวลาจะน้อยนิดก็ตามครับแนวคิดทฤษฎี 8 K’s 5 K’s และ 4 L’s เป็น สัจธรรมของยุคสมัยกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์ในกร้างสร้างภูมปัญญาและเป็นแนวทางในการเพิ่มทุนหรือมูลค่าให้กับสังคม วัฒนธรรมและตัวกระผมเองด้วย ซึ่งแม้กระผมจะอยู่ในฐานะนายตำรวจแต่ทฤษฎีนี้ผมเชื่อว่าถ้ามีการนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรก็น่าจะเป็นผลดีต่อประเทศและเกิดผลดีต่อการรับใช้ประชาชน

                           ขอแสดงความนับถือ

                             ร.ต.อ.คทารัตน์  เฮงตระกูล นิสิต ป.เอกวัฒนธรรมศาสตร์ มมส.

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. ผมเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเพื่อชมงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย

 

การทำบุญที่วัดไร่ขิง มีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการถวายสังฆทานบริเวณข้างโบสถ์วัดไร่ขิง มีประชาชนจำนวนมากหมุนเวียนเข้ามาถวายสังฆทาน โดยทางวัดจัดให้มีจตุปัจจัยสำหรับถวายสังฆทานเตรียมไว้ และมีตู้รับบริจาค เปิดโอกาสให้คนที่ยากจนได้มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อของอะไรไป เพราะทางวัดจัดไว้ให้ เพียงบริจาคเงินใส่ตู้รับบริจาคเท่าใดก็ได้   อีกมุมหนึ่งคือมีการรับบริจาคเงินเพื่อซื้อโรงศพให้สำหรับศพไม่มีญาติ หรือศพผู้ยากไร้ ก็มีประโยชน์สำหรับคนยากจน ทางวัดก็มีเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อโรงศพให้ได้  

ทึ่จริงทางวัดที่มีประชาชนไปทำบุญจำนวนมาก ๆ น่าจะมีการให้ความรู้เป็นวิทยาทาน

วัดน่าจะเป็นแหล่งสร้างทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนได้ดี วัดน่าจะมีการจัดเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ด้วย

 

อีกมุมหนึ่งที่เห็นแล้วน่าเป็นห่วงคือสุนัขในวัดมีจำนวนมาก หลายตัวมีอาการขี้เลื้อน ทางราชการควรเข้ามาช่วยเหลือวัดในการจัดการกับสุนัขจรจัด ให้เป็นระบบ และไม่สร้างภาระให้พระ ทำบุญเสร็จผมแวะไปดูงานประกวดสุนัข

 

งานประกวดสุนัขประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเช็พเพอด แห่งประเทศไทย ผมมักติดตามงานนี้ทุกปีถ้ามีโอกาส ปีนี้จัดที่วัดไร่ขิง บริเวณโรงเรียนวัดไร่ขิง

 

ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด พระท่านมอบหมายให้ผมดูแลสัตว์ในวัดทั้งหมด ไก่วัด หมาวัด ปลาหน้าวัด ผมได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง เห็นว่าสุนัขแม้เป็นสัตว์แต่มีความรักและกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ได้บทเรียนจากสุนัขในวัดหลายเรื่อง

 

เมื่อครั้งผมบวชเป็นพระ ผมเคยใช้สุนัขเป็นครูสอนเด็กวัด ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่เกเร และชอบหนีออกจากบ้านเพราะโกรธแม่ที่ชอบดุด่าประจำ ผู้เป็นแม่มาหาผมและขอร้องให้ผมช่วยสอนเด็กเกเรนี้  ผมเรียกเด็กมาสอน โดยใช้สุนัขเป็นครู ผมเรียกสุนัขที่เคยดูแลเป็นประจำมาหา และใช้หนังสือพิมพ์ม้วนและตีสุนัขตัวนั้นอย่างแรง สุนัขตกใจหนี เด็กเกเร อยู่ข้าง ๆ เห็นสุนัขถูกตีอย่างแรง แล้วสุนัขวิ่งหนีตกใจ วิ่งไปยืนอยู่ไกล แล้วมองมาด้วยความงง  จากนั้นผมเรียกสุนัขเข้ามาหาอีกครั้ง สุนัขก็วิ่งเข้ามาหา พร้อมกระดิกหาง สุนัขเข้ามาโดยไม่โกรธ  ผมได้สอนให้เด็กเกเร เห็นว่า แม้สุนัขยังไม่โกรธผู้มีพระคุณ แล้วเราเป็นมนุษย์ ทำไมจึงโกรธผู้เป็นแม่เพราะถูกว่าเท่านั้น  เด็กถึงกับน้ำตาไหลด้วยความประทับใจ และบอกว่าต่อไปนี้จะไม่โกรธแม่จะขอกลับไปดูแลแม่  นี่เรียกว่า สุนัขเป็นครู  เด็กคนนั้นขณะนี้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดในจังหวัดเพรชบุรี กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่วนผู้เป็นแม่เมื่อลูกบวชเป็นพระได้ไม่นานได้เสียชีวิตไป ทั้งแม่ลูกครอบครัวนี้ เป็นครอบครัวคนที่มาจากอีสาน ซึ่งผมได้เคยช่วยอุปถัมภ์เด็กเกเร คนนั้นไว้ เด็กดังกล่าวได้ดีส่วนหนึ่งเพราะใช้สุนัขเป็นครู สุนัขจึงเป็นสัตว์เลี้ยงประจำตัวของผม ก็ว่าได้

 

ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของสุนัข ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัขมากขึ้น พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน และนำมาใช้ในการทหาร ตำรวจ ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มานาน จนมีสมาคมฯ และมีการนัดพบปะกันระหว่างผู้สนใจเป็นระยะ ๆ

 

การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อทำชีวิตให้ Balance วิชาการ การทำงาน ครอบครัว ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง บริหารให้เกิดความสุขกับชีวิตบ้างตามสมควรสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมของคนรักสุนัข

 

ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกใหม่ คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที โลกมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ควรที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

วกกลับมาถึงเรื่องบทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้ 
"สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน"

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

"คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด"

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

"นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม"นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

"ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์"

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  
"เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก"
 
ในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าสมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย
เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ แล้วถ้าจะให้ครอบคลุมระบบการบริหาร ก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับสถาบันการศึกษาที่ดีในโลก หรือในภูมิภาค ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิ จึงสมควรให้มีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

"ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้"
ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  
นักศึกษา ปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน[1]

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181
 
นางสาวปิยะสุดา เพชราเวช

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพเป็นอย่างสูง

จากการที่ได้รับฟังบรรยายจาท่านอาจารย์ในครั้งนี้ หนูเสมือนได้เปิดโลกทัศน์ได้กว้างขึ้น แล้วจะนำมาปรับปรุงในการศึกษาเล่าเรียน และในชีวิตประจำวันค่ะ

ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่นำทีมไป และกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ค่ะ

ป.เอก วัฒนธรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เรียน  ศ.ดร จิระ  และ ท่านนักศึกษาป.เอกวัฒนธรรมทุกท่าน

  • ประเด็นใคร่ขอปรึกษาว่าในฐานะท่านเป็นนักศึกษาป.เอกด้านวัฒนธรรม  ท่านมีความเห็นอย่างไรกับวัฒนธรรมของเด็กรุ่นใหม่และวัยรุ่นในปัจจุบัน ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ
  • ท่านมีแนวทางในการให้สืบสานวัฒนธรรมไทยภายใต้บริบทการแข่งขันโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร

จาก ชาวสยาม

ปล.ขอคำเสนอแนะเชิงวิชาการ  ที่มีแหล่งอ้างอิง และ ข้อเสนอแนะ ส่วนบุคคลครับ

พิพาภรณ์ รวิพลศาตนันท์

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จิระ ที่เคารพ

ดิฉันมีโอกาสได้เข้ารับฟังการบรรยายของท่านอาจารย์ ในการสัมมนาของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ที่วังน้ำเขียว ในวันที่ 5-6 กันยายน ที่ผ่านมา การบรรยายของท่านอาจารย์คุ้มค่ากับการรอฟังมาก (เพื่อนๆก็พูดเช่นเดียวกัน) แม้เวลาจะน้อยไปหน่อย (อาจจะเพราะว่าพวกเราอยากฟังอาจารย์มากกว่านี้) คุ้มค่าค่ะ...ได้คิดทุกคำพูด...ปลุกทั้งคนที่กำลังเรียนและคนที่จบไปแล้ว....... พวกเรามีการบ้านกลับมาให้ได้คิดหลายเรื่อง...ต้องขอขอบคุณท่าน ผอ.ทรงคุณ อีกท่านที่ได้กรุณาจัดให้มีการสัมมนาขึ้นพวกเราบางคนถึงแม้จะจบการศึกษาไปแล้วแต่ได้มามีโอกาส....รับแนวคิดใหม่ๆ ไปเป็นการบ้าน ดิฉันชอบทุกประโยคที่ท่านอาจารย์ ดร.จิระได้กล่าวจริงๆ เกินคุ้มกับเวลาที่ท่านใช้ .....

ท่านคะ..ดิฉันภูมิใจในสาขาวัฒนธรรมศาสตร์ ของสถาบันวิจัยฯของท่าน ผอ.ทรงคุณฯ และคิดเสมอว่าขณะนี้วัฒนธรรมเป็นต้นทุนสำคัญที่เรามีอยู่อย่างเพียงพอ ที่จะนำมาเป็นทุนในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศ เพียงแต่เราจะเริ่มต้นจริงๆจากส่วนไหน ใครจะรับผิดชอบหรือเป็นเจ้าภาพหลักจริงๆ ได้...ดิฉันยังมองหาคำตอบไม่พบ.. แต่เมื่อมองใกล้ตัวสิ่งที่เราทำได้.... ดิฉันพบคำตอบหนึ่ง...เราอยู่สายวัฒนธรรมเราต้องเชื่อมั่นในศาสตร์ของเราว่าสามารถนำมาช่วยเหลือพัฒนาประเทศได้ เรามองการนำ วธ.มาเป็นต้นทุนหลักในการพัฒนา... ดิฉันจึงเห็นว่าในการเรียนการสอนเราควรผสมผสานกับศาสตรอื่น ๆ เช่น การบริหารธุรกิจ การบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราจะร่วมพัฒนาประเทศ (ซึ่งมีปัญหาเศรษฐกิจเป็นหลัก) เราใช้ วธ.อย่างเดียวเป็นตัวขับเคลื่อนคงไม่ได้ เราต้องใช้ "คน" ด้วย คนเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ซึ่งทำให้องค์กรอยู่และแข่งขันกับทั่วโลกได้.... ดิฉันจึงอยากให้หลักสูตรวัฒนธรรม มีวิชาเรียนของ 2 ศาสตร์นี้รวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างงานวิจัยของนิสิตส่วนใหญ่จะไปจบอยู่ที่วัฒนธรรมช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ....ฉะนั้น การศึกษาวัฒนธรรมควรเป็นการศึกษาเรื่องราวทั้งในอดีต....ปัจจุบัน.. และอนาตคต (ซึ่งก็คือการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมในทางเศรษฐกิจ) ด้วย

ด้วยความเคารพ

ดร. พิพาภรณ์ รวิพลศาตนันท์

ศูนย์โคราช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท