รวมมิตรทีมเยือน KM กรมอนามัย (19) ... ของฝาก จาก อ.หมอสมศักดิ์ค่ะ


ที่กรมอนามัย เชื่อเรื่อง tacit knowledge เพราะฉะนั้น ถ้าท่านดูแล้ว ท่านไม่เห็นตั้งหลายอย่าง ที่ท่านเรียนรู้จากในตำรา KM ก็อย่าแปลกใจ ท่านก็มีหน้าที่ไปตัดสินใจว่าจะทำ KM แบบไหน จะเอา explicit หรือ tacit knowledge เป็นตัวเริ่มต้น แต่ผมรับประกันได้ว่า ถ้าเราไม่ลืมเรื่อง tacit knowledge ในที่สุดมันจะมาเจอกัน

 

1 วัน กับการดูงาน ก็ดูเหมือนยังไม่เพียงพอสำหรับทีมเยือนนะคะ ยังคุยกันไม่เต็มอิ่ม ก็ต้องมาจบเสียแล้ว ... ขนาดกรมฯ ขยายเวลามาแล้วนะคะเนี่ยะ เดิม แค่ครึ่งวันเอง

ตอนก่อนสุดท้าย อ.หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ได้พูดคุย กึ่ง AAR ไว้ว่า

... ผมหวังว่า พวกเราคงได้อะไรบางอย่างไปจากกรม แต่ก็บอกเสมอๆ ว่า มาดูแล้วก็ พยายามเทียบกับที่ตัวเองรู้มาก่อนนะ ... หลายท่านคงติดวิธีคิดเรื่อง KM ที่ไปอ่านตำรามาไม่น้อย ผมก็พูดหลายทีไว้ว่า ... ที่กรมอนามัย เชื่อเรื่อง tacit knowledge เพราะฉะนั้น ถ้าท่านดูแล้ว ท่านไม่เห็นตั้งหลายอย่าง ที่ท่านเรียนรู้จากในตำรา KM ก็อย่าแปลกใจ ท่านก็มีหน้าที่ไปตัดสินใจว่าจะทำ KM แบบไหน จะเอา explicit หรือ tacit knowledge เป็นตัวเริ่มต้น แต่ผมรับประกันได้ว่า ถ้าเราไม่ลืมเรื่อง tacit knowledge ในที่สุดมันจะมาเจอกัน

... ที่กรมอนามัย ล่าสุดเราไปสัมมนากัน เราไปเจอกองบางกอง ซึ่งทำเรื่องของการจัดการความรู้ โดยใช้ฐานของ tacit knowledge มีบางคนถามว่า ที่เห็นส่วนต่างกับของเขา มันคืออะไร บอกเขาหน่อย ผมก็บอกว่า ส่วนต่างคือ tacit knowledge เขาก็คงกลัวว่าเขาทำผิด แต่เขาไม่ได้ทำผิดหรอก แต่ challenge ที่เราจะบอกเสมอๆ ก็คือว่า ลองทำจัดการความรู้ด้าน tacit มั่ง ไม่ใช่เพราะว่าเราเชื่อว่า มันเป็นความรู้ที่สำคัญนะครับ แต่ว่ากระบวนการ ลปรร. โดยใช้ success story ซึ่งเป็นเทคนิคเริ่มต้นของการทำ tacit knowledge sharing นี้ ที่กรมอนามัยทำ และผมคิดว่าทุกคนได้เห็นผลอีกอันหนึ่งซึ่งเหมือนกันเกือบหมด โดยเฉพาะส่วน รพ. ก็คงจะเห็นชัด ก็คือ มันทำให้คนทำงานรู้สึกภูมิใจ และดีใจ อย่างน้อยๆ ก็มีคนมาฟังว่า เราทำอะไร มากกว่านั้น ก็มีคนเอาสิ่งที่ตัวเองทำ ไปลองทำต่อ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคนอื่นๆ ด้วย

... มันกลายเป็นกระบวนการการสร้าง Team work ได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เราทำ KM แต่เราได้ Team work เพราะว่ามันเป็นกระบวนการ ลปรร. ในเชิงบวก ซึ่งแน่นอนก็ต้องอาศัย Facilitator ที่ดี ทางผมอยากจะเชียร์ คุณหมอสุทัศน์ เพราะว่าโจทย์ ผอ. ทำกับหมอยากมาก ทำยังไงให้หมอมาอยู่ในกระบวนการ KM และสามารถเอากระบวนการ KM เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน อันนั้นเป็นเรื่องยากมาก แต่ผมก็หวังว่า ถ้าเราดูจากที่กรมอนามัยทำกันมา ผมเห็นว่า กระบวนการ ลปรร. ที่ใช้เรื่องเล่า ที่มี Facilitator ที่ดี Notetaker ดีดี และจัดกระบวนการให้ครบวงจร มันเป็นกระบวนการการเสริมได้

มีตัวอย่าง กองหนึ่งที่ทำ KM กับคนขับรถ แล้วก็พวกหมอ และ จนท.สส. ถามว่า ทำไมไม่ทำกับเขาบ้าง ก็สงสัยว่าเขาทำอะไรกันอยู่ เพราะว่าคึกคักสนุกสนานมาก แต่ประเด็นที่ผมได้จากเรื่องนี้ก็คือ ไม่แน่นะ ถ้าเราทำ KM แบบนี้กับกลุ่มที่ปกติก็ไม่ได้มีโอกาสมา ลปรร. กันเท่าไร เขาก็ได้ประโยชน์ และจะเริ่มรู้สึกว่า อันนี้ก็น่าสนใจนะ ง่ายดีด้วย เพราะว่าคนที่ไม่ค่อยมีโอกาส ลปรร. เขาก็จะชอบ การแลกเปลี่ยน และก็ผมก็คิดว่า หลายหน่วยงานของกรมฯ ก็ไม่จำกัดการ ลปรร. แต่ในเรื่องวิชาการเท่านั้น

การ ลปรร. จะสนุก และมีประโยชน์ ต้องเอาคนทำงานจริงๆ มาแลกกัน คนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานนั้นจริงๆ เรื่องเล่าเขาก็จะไม่มีชีวิตชีวา แต่ก็จะมาช่วยฟัง แต่มุมมองตรงนี้ ก็เป็นองค์ประกอบหลักในการ ลปรร. เมื่อนั้นก็คงมีคนทำงานจริงๆ ด้วยครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 49255เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท