การใช้ประโยชน์จากห้องตรวจ Hybrid OR คุ้มค่าหรือไม่


hybrid OR

การใช้ประโยชน์จากห้องตรวจ Hybrid OR คุ้มค่าหรือไม่

Hybrid OR is benefit: Time Usage

 

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์ วท.บ.รังสีเทคนิค

วันพามี ผิวทอง วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์ , วันพามี ผิวทอง. การใช้ประโยชน์จากห้องตรวจ Hybrid OR คุ้มค่าหรือไม่. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2554; 5 : 50-59

 

ห้องผ่าตัด Hybrid OR ได้รับการออกแบบและติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือดเพิ่มเติมในห้องผ่าตัด ทำให้มีมูลค่างบประมาณจัดซื้อสูงถึง 70 ล้านบาท การใช้งานห้องผ่าตัดให้คุ้มค่าจึงเป็นแผนงานที่สำคัญ นักรังสีการแพทย์ประจำห้องผ่าตัดเป็นผู้ควบคุมการใช้งานของเครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือดซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีราคาสูง จึงต้องศึกษาด้านต้นทุน-ประสิทธิภาพ (cost-effectiveness analysis) เพื่อแสดงความคุ้มค่า โดยมีต้นแบบจากการประเมินต้นทุน-ประสิทธิภาพของหน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา ซึ่งได้ทำการประเมินห้องหัตถการที่ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือดไว้เช่นกัน      

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาความคุ้มค่าการใช้งานห้องผ่าตัด Hybrid OR
  2. เพื่อประเมินความมีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของหน่วยงานผู้ใช้ห้องผ่าตัด Hybrid OR

 

ระเบียบวิธีและสถิติ

       ศึกษาอัตราการใช้ห้องผ่าตัด Hybrid OR แบบย้อนหลัง (retrospective study) ระหว่าง กันยายน 2553- สิงหาคม 2554 โดยพิจารณาในด้านจำนวนผู้ป่วย และศึกษาอัตราการใช้ห้องเป็นชั่วโมง นำเสนอเป็นจำนวน และร้อยละโดยเปรียบเทียบอัตราการใช้งานเป็นชั่วโมงการทำงาน รวบรวมและจำแนกตามกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องได้แก่CVT, Neurosurgery และ Vascular Surgery โดยพิจารณา benefit time& waste time ของ Hybrid OR  

                   หน่วยตรวจ CVT ใช้งานห้อง Hybrid OR  วันอังคารและพฤหัสบดี หน่วยตรวจ Neurosurgery  ใช้งานห้อง Hybrid OR  วันจันทร์และศุกร์ Vascular surgery   ใช้งานห้อง Hybrid OR  วันพุธ โดยเวลาทำการเท่ากับ 7ชั่วโมง/วัน 220 วัน คิดเป็น 1540 ชั่วโมงคิดเป็น100%การใช้งาน

 

ผลการศึกษา

 

       ผู้เขียนได้รวบรวมจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ห้องผ่าตัด Hybrid OR ระหว่างเดือนกันยายน2553-สิงหาคม2554โดยจำแนกตามกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ CVT, NeuroSurgery และ Vascular Surgery   แยกเป็นจำนวนผู้ป่วยที่ใช้ Hybrid และ ผ่าตัด (Surgery)   เป็นของ Hybrid OR

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยของกลุ่มงาน CVT และ NeuroSurgery ซึ่งมีจำนวนวันที่ใช้ห้อง2วันต่อสัปดาห์เท่ากัน พบว่าทั้งสองหน่วยมีจำนวนผู้ป่วยใกล้เคียงกันคือจำนวนผู้ป่วยรวมเท่ากับ 112 และ 104 ราย แยกเป็นจำนวนผู้ป่วย Hybrid เท่ากับ 40 และ 34 ราย จำนวนผู้ป่วยผ่าตัดทั่วไป (Surgery) เท่ากับ 72 และ 70 ราย ตามลำดับ แต่จำนวนผู้ป่วยของกลุ่มงาน Vascular Surgery ซึ่งมีจำนวนวันที่ใช้ห้อง1วันต่อสัปดาห์ มีจำนวนผู้ป่วยรวมเท่ากับ 47 ราย แยกเป็นจำนวนผู้ป่วย Hybrid เท่ากับ 46 ราย จำนวนผู้ป่วยผ่าตัดทั่วไป (Surgery) เท่ากับ 1 ราย จะเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยรวมของกลุ่มงาน Vascular Surgery เกือบทั้งหมดเป็นผู้ป่วยกรณี Hybrid

 

        ผู้เขียนได้ประเมินข้อมูลจำนวนชั่วโมงการใช้งานห้องตรวจHybrid OR  ตั้งแต่ เดือนกันยายน2553ถึงสิงหาคม2554 โดยเปรียบเทียบอัตราการใช้งานเป็นชั่วโมงการทำงาน รวบรวมและจำแนกตามกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องได้แก่CVT, NeuroSurgery   และ Vascular Surgery   โดยพิจารณา benefit time& waste time   ของ Hybrid OR

 

        หน่วยตรวจ CVT ใช้งานห้อง Hybrid OR วันอังคารและพฤหัสบดี หน่วยตรวจ NeuroSurgery ใช้งานห้อง Hybrid OR วันจันทร์และศุกร์ vascular Surgery   ใช้งานห้อง Hybrid OR วันพุธ โดยเวลาทำการเท่ากับ 7ชั่วโมง/วัน 220 วัน คิดเป็น 1540 ชั่วโมงคิดเป็น100%การใช้งาน

สรุปผลการศึกษา

 

       การพิจารณาความคุ้มค่าของการใช้งานห้อง Hybrid OR ต้องคิดชั่วโมงการทำงาน 7 ชั่วโมง/วัน โดยทำงาน 220 วัน/ปี ดังนั้นมีจำนวนทำการ 1,540 ชั่วโมง การมีชั่วโมงที่ยังไม่ได้ใช้งาน 344 ชั่วโมง คิดเป็น 22.34% นั้นมีสาเหตุสำคัญคือ มีการจัดการประชุมวิชาการ ผู้ป่วยไม่ได้เตียงICU และไม่มี Case นัด

 

       การใช้งานในฐานะห้องผ่าตัดคิดเป็น  77.66 % ของเวลาทำการทั้งหมด โดยมีการใช้ผ่าตัดผู้ป่วยแบบ Hybrid เพียง 33.05 % ดังนั้นเมื่อเทียบกับการลงทุน ยังขาดความคุ้มค่าการใช้งาน จะต้องมีการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาแบบ Hybrid เพิ่มขึ้น จึงจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่โรงพยาบาลและเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยอีกด้วย

 

       เมื่อพิจารณาอัตราการครองห้องผ่าตัด และการใช้งาน พบว่าทั้ง CVT, Neuro Surgery และ Vascular Surgery ต่างใช้ห้องผ่าตัด Hybrid OR ในอัตราที่สูง โดยมีชั่วโมงว่างเพียง 6.62-8.90% ของเวลาใช้งานห้องผ่าตัดทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาภาพรวม พบว่าห้องผ่าตัด Hybrid OR มีชั่วโมงว่างสูงถึง 344 ชั่วโมงต่อปี หากคำนวณคร่าวๆ ว่าผู้ป่วยรายหนึ่งๆ ใช้เวลาผ่าตัด 4 ชั่วโมง จำเป็นต้องหาผู้ป่วยมาใช้ห้องเพิ่มขึ้นอีก 86 รายต่อปี

 

บรรณานุกรม

1. วาทิต คุ้มฉายา, วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์.ห้องปฏิบัติการรังสีร่วมรักษาระบบผสมและห้องผ่าตัดผสม . วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553 ; 4(2) : 114-123.  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #dsa#hybrid#or
หมายเลขบันทึก: 492503เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท