Modalities determination for precision localizes to HCC tumor in RFA procedure


RFA

Modalities determination for precision localized to HCC tumor in RFA procedure.

กฤตญา สายศิวานนท์                 วท.บ รังสีเทคนิค

เอกลาภ มานะกิจไพบูลย์             วท.บ รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริรราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

กฤตญา สายศิวานนท์ ,เอกลาภ มานะกิจไพบูลย์. การเลือกใช้เครื่องมือทางรังสีในการกำหนดตำแหน่งมะเร็งตับในการรักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย2554; 5 : 64-72

 

บทนำ
       การรักษามะเร็งตับอย่างหนึ่งก็คือการรักษาด้วยเทคนิค RFA นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แพทย์ ใช้รักษามะเร็ง  ซึ่งเป็นการใช้พลังงานความร้อนผ่านเข็มไปทำลายก้อนมะเร็ง การสอดปลายเข็มเข้าสู่จุดศูนย์กลางของก้อนมะเร็งจึงมีความสำคัญ จึงมักเป็นการทำภายใต้    การระบุตำแหน่งโดยอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ซับซ้อน มีผลข้างเคียงน้อย     สามารถใช้วิธีการรักษาแบบนี้  ซ้ำๆได้

Purpose:

 เพื่อศึกษาแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือทางรังสี  สำหรับการระบุตำแหน่ง  ในทางการเลือกใช้สำหรับหัตถการ RFA

Material and Method: 

เก็บสถิติผู้ป่วยหัตถการ RFA   สำหรับโรงพยาบาลศิริราช หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553 และทำการจำแนกตามชนิด   ของเครื่องมือทางรังสี สำหรับระบุตำแหน่ง ด้วยการแจกแจงความถี่แล้ววิเคราะห์ผลและนำเสนอในรูปแบบของกราฟ

Results: 

ตารางการแจกแจงเครื่องมือทางรังสีสำหรับระบุตำแหน่งก้อนเนื้อในหัตถการ RFA ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553 จำนวนทั้งหมด 147 คน

 

Conclusion:

จากการศึกษาพบว่าเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการระบุตำแหน่งที่ใช้เป็นอันดับหนึ่งคือ เครื่องอัลตราซาวด์ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีราคาถูก ใช้กันแพร่หลายและที่สำคัญที่สุดคือคือผู้ป่วยไม่ได้รับรังสี และอันดับสองของการตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือคือ การใช้อัลตราซาวด์แล้วใช้เครื่องเอกซเรย์ ซึ่งผลการศึกษาให้ค่าเปอร์เซ็นที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เนื่องจาก โรงพยาบาลศิริราช หน่วยรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาใช้เครื่องอัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือแรกในการระบุตำแหน่งของก้อนเนื้อ แต่ด้วยข้อด้อยของภาพจากเครื่องอัลตราซาวด์คือ

  • หากรอยโรคอยู่ในตำแหน่งอันตรายเช่น Dome of liver ,กระเพราะอาหารและเส้นเลือด ภาพจาก  

     เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงให้ sensitivity ที่ดีกว่า

  • หากรอยโรคมีขนากเล็กมาก เล็กกว่า 0.5 cm. เครื่องอัลตราซาวด์อาจไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ 

     แน่นอนได้

  • ชนิดของรอยโรค หากรอยโรคเป็น (hyper echoic nodule) แล้วคนไข้มีภาระ fatty liver ร่วมด้วย อาจ

     ไม่สามารถระบุที่ชัดเจนด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพียงอย่างเดียว จึงพิจารณานำเครื่องเอกซเรย์    

     คอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย แต่วิธีดังกล่าวก้อมีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลามากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องนอน  

     นานขึ้นในท่านอนหงายยกแขนขึ้นสำหรับการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นานขึ้นด้วย บางที่การตัดสินใจ

     ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการระบุตำแหน่งอาจดีกว่า แต่ทั้งนี้ก้อต้องศึกษถึงข้อดีข้อเสียต่อไป

ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อด้อยจากการใช้เครื่องมือทางรังสี

 

บรรณานุกรม

1. คง บุญคุ้ม,จุฑา ศรีเอี่ยม  ,วิธวัช หมอหวัง , เอนก สุวรรณบัณฑิต , สุรีรัตน์ ธรรมลังกา. การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย2550; 1(1) : 64-72

 

คำสำคัญ (Tags): #hcc#rfa
หมายเลขบันทึก: 492468เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท