εїз . . ค ว า ม รู้ `` กู เ กิ้ ล ( G o o g l e ) ``


        หากพูดถึง กูเกิ้ล (Google) น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก Search Engine ที่ดีทีสุดในโลกตัวนี้ ด้วยความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบชาญฉลาด ปัจจุบัน กูเกิ้ล สามารถค้นหาข้อมูล โดยใช้เวลาไม่กี่วินาที ในการดึงข้อมูล จากแหล่งข้อมูลปริมาณมหาศาล (ณ ตอนที่เขียนบนทความนี้ ก็ 4,285,199,774 เว็บ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกเว็บไซท์ในโลก) ที่สำคัญ ข้อมูลที่ได้ หรือผลจากการค้นหามักจะถูกต้อง และตรงความต้องการของผู้ค้นหา

        จริงๆแล้ว เทคโนโลยีของ กูเกิ้ล ในการค้นหาหน้าเว็บไซท์ที่ต้องการมาจากสูตรการคำนวณอันแหลมคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัย Stanford 2 คน คือ Larry Page และ Sergey Brin ทั้งคู่เจอกันตอนเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น (แต่ตอนนี้ drop ไว้ก่อน)(ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้รวยติดอันดับต้นๆของโลกไปแล้ว (อีกวงเล็บละกัน ถ้าจำได้ผู้ก่อตั้ง Yahoo! ก็เป็นนักศึกษารุ่นพี่ จากมหาวิทยาลัยเดียวกันนี่แหล่ะ อีก 2 คนเหมือนกัน และเรื่องเงินในกระเป๋า ก็ไม่ต้องพูดถึงเหมือนกัน))


        โดยไอเดียหลักๆ เทคนิคในการค้นหาของ กูเกิ้ล ก็คือว่า จะมีการให้คะแนนแต่ละหน้าของเว็บไซท์ เพื่อจัดอันดับหน้าเว็บไซท์เรียงตามคะแนนเวลาค้นหา โดยคะแนนของแต่ละหน้าเว็บไซท์ จะคำนวณจากจำนวนของหน้าอื่นๆที่ลิงค์ไปหาหน้านั้น พูดง่ายๆว่าถ้ามีเว็บอื่นลิงค์มาที่เวบนี้เยอะ เว็บหน้านั้นก็จะมีคะแนนเยอะ (โดยเฉพาะ ยิ่งถ้า หน้าที่ลิ๊งค์เข้ามา มีคะแนนเยอะด้วยล่ะก็ หน้าที่ถูกลิงค์ไปหาจากหน้านั้น ก็จะได้คะแนนเยอะเป็นทวีคูณ -- ใครอ่านแล้วงงยกมือขึ้น :) งั้น อ่านซ้ำอีกทีนะจ๊ะ) โดย กูเกิ้ลเค้าใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ประมาณว่า นับกันทุกหน้าเว็บไซท์ในโลกนี้เลย ว่ามีใครลิงค์มาที่หน้าหนึ่งๆเยอะแค่ไหน (ในทางทฤษฏีแล้ว มันเป็นเรื่องของ Graph Theory ที่ซับซ้อนมาก แต่ด้วยการคำนวณอันแสนฉลาดจากไอเดียของ Sergey Brin ซึ่งคนแถวนั้นยกให้เป็นนักคณิตศาสตร์หาตัวจับยาก ทำให้เกิดระบบนี้ขึ้นมา)

        ยกตัวอย่างเช่น ว่ามีหน้าไหนลิงค์มาที่ วิชาการ.คอม บ้าง จำวนเท่าไหร่ ถ้ามีลิงค์มาเยอะ นั่นแปลว่าเว็บไซท์ที่ถูกลิงค์ไปหาน่าจะมีคุณภาพดี เพราะฉะนั้นเวลาคนหา ก็ควรจะลิสต์ให้หน้าที่มีคะแนนเยอะๆนี้ ขึ้นมาก่อน เค้าเรียกไอเดียของเค้าว่า PigeonRank™ ตามไปอ่านรายละเอียดได้จากที่นี่จ๊ะ (http://www.google.com/technology/pigeonrank.html)

โดย :

ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49214เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โหะๆเคยแต่ใช้กลูเกิ้ลบ่อยๆไม่เคยรู้ที่มาที่ไปเลย

ได้รู้ก้อตอนที่อ่าน ขอบคุณมากนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท