กฏหมายระหว่างประเทศ


กฏหมายธุรกิจน่าที่จะเป็นกฏหมายที่น่าสนใจและสำคัญอย่างมากที่จะมีการติดต่อกับต่างชาติสมควรที่จะรู้ไว้คร่าวๆเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการที่จะทำอะไรก็แล้วแต่

กฏหมายระหว่างประเทศ

แผนกคดีบุคคล (Personal International Law)

สัญชาติ

  • การได้สัญชาติโดยการเกิดตามหลักสืบสายโลหิต: พ.ร.บ. สัญชาติ
    มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
    (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
    (2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคล ตาม มาตรา 7ทวิ วรรคหนึ่ง
    มาตรา 7ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้น เป็น
    (1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
    (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพียงชั่วคราว หรือ
    (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
    ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะพิจารณา และสั่งเฉพาะรายให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทย ก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
    ให้ถือว่าผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ใน ราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เว้นแต่จะมีการสั่งเป็นอย่างอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  • การได้สัญชาติโดยการเกิดตามหลักดินแดน: ดูตามมาตรา 7(2) ยกเว้น
    มาตรา 8 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทยถ้าขณะที่เกิดบิดาหรือมารดาเป็น
    (1) หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต
    (2) หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล
    (3) พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ
    (4) คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทาง จากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน (1) (2) หรือ (3)
  • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ:
    มาตรา 10 คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติ เป็นไทยได้
    (1) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
    (2) มีความประพฤติดี
    (3) มีอาชีพเป็นหลักฐาน
    (4) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลง สัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
    (5) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    มาตรา 11 บทบัญญัติใน มาตรา 10 (4)และ(5) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
    (1) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำ คุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
    (2) เป็นบุตรหรือภริยาของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้ กลับคืนสัญชาติไทย
    (3) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
    มาตรา 12 ผู้ใดประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
    ถ้าผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามวรรคหนึ่งมีบุตรซึ่งยังไม่ บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทย และบุตรนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย อาจ ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรพร้อมกับตนได้ โดยบุตรนั้นได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา 10 (1) (3) (4) และ (5)
    การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย ให้อยู่ในดุลพินิจ ของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต แล้ว ให้ผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยปฏิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อ ประเทศไทย
    ผู้แปลงสัญชาติเป็นไทยชอบที่จะขอหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็น ไทยได้
  • การได้สัญชาติโดยการสมรส:
    มาตรา 9 หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์ จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง
    การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
  • การได้สัญชาติโดยการกลับคืนสัญชาติไทย:
    มาตรา 23 หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สละสัญชาติไทยในกรณีที่ได้สมรสกับ คนต่างด้าวตาม มาตรา 13 ถ้าได้ขาดจากการสมรสแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ย่อม มีสิทธิขอกลับคืนสัญชาติไทยได้
    การขอกลับคืนสัญชาติไทยให้ยื่นแสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม แบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
    มาตรา 24 ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้เสียสัญชาติไทยตามบิดาหรือมารดา ขณะที่ตนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ถ้าประสงค์จะกลับคืนสัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ภายในสองปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
    การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้กลับคืนสัญชาติไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของ รัฐมนตรี
  • การเสียสัญชาติไทยโดยผลแห่งกฏหมาย:
    มาตรา 22 ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว หรือ สละสัญชาติไทย หรือถูกถอนสัญชาติไทยย่อมเสียสัญชาติไทย
  • การเสียสัญชาติไทยโดยการสละโดยความสมัครใจ:
    มาตรา 13 หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจ ถือสัญชาติของสามีได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละ สัญชาติไทย ให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง
    มาตรา 14 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติของบิดาด้วยตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 12 วรรคสอง ถ้า ยังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
    เมื่อได้พิจารณาความจำนงดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีหลักฐานเชื่อถือได้ว่า ผู้นั้นอาจถือสัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่นได้จริงก็ให้รัฐมนตรีอนุญาต เว้นแต่ ในระหว่างประเทศไทยมีการรบหรืออยู่ในสถานะสงครามรัฐมนตรีจะสั่งระงับ การสละสัญชาติไทยรายใดก็ได้
    มาตรา 15 นอกจากกรณีตาม มาตรา 14 ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง
    การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
  • การเสียสัญชาติไทยโดยการถูกถอนสัญชาติ:
    มาตรา 16 หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติไทยโดยการสมรส อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เมื่อปรากฏว่า
    (1) การสมรสนั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความเท็จ อันเป็นสารสำคัญ
    (2) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือ ขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
    (3) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน
    มาตรา 18 เมื่อมีพฤติการณ์อันเป็นการสมควรเพื่อความมั่นคงหรือประโยชน์ของรัฐรัฐมนตรี มีอำนาจถอนสัญชาติไทยของผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 7ทวิ วรรคสอง
    มาตรา 19 รัฐมนตรีมีอำนาจถอนสัญชาติไทยแก่ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดย การแปลงสัญชาติ เมื่อปรากฏว่า
    (1) การแปลงสัญชาตินั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความเท็จ อันเป็นสารสำคัญ
    (2) มีหลักฐานแสดงว่าผู้แปลงสัญชาตินั้นยังใช้สัญชาติเดิม
    (3) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อ ประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
    (4) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน
    (5) ไปอยู่ในต่างประเทศโดยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเป็นเวลาเกินห้าปี
    (6) ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย
    การถอนสัญชาติไทยตามมาตรานี้ จะขยายไปถึงบุตรของผู้ถูกถอนสัญชาติไทย ในเมื่อบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะและได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 12 วรรคสอง ด้วยก็ได้ และเมื่อรัฐมนตรีสั่งถอนสัญชาติไทยแล้วให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อ ทรงทราบ
  • การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว:
    มาตรา 21 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของบิดาได้ตาม กฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา ถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน คนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย

    การขัดกันแห่งกฏหมาย
  • การกำหนดลักษณะของข้อเท็จจริงปรับเข้ากับลักษณะของกฏหมายตามแบบ Lex Fori*: หลักการนำหลักกฏหมายภายในประเทศมาเป็นหลักเกณฑ์ในการให้ลักษณะกฏหมายแก่ข้อเท็จจริง
  • การกำหนดลักษณะของข้อเท็จจริงปรับเข้ากับลักษณะของกฏหมายตามแบบ Lex Cause: หลักการนำหลักกฏหมายที่จะใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาว่าข้อเท็จจริงนั้นควรปรับเข้ากับลักษณะกฏหมายใด
    พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
    มาตรา 3 เมื่อใดไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นใด แห่งประเทศสยามที่จะยกมาปรับกับกรณีขัดกันแห่งกฎหมายได้ ให้ใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่ง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
    มาตรา 4 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับและตามกฎหมายต่างประเทศ นั้น กฎหมายที่จะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศ สยามบังคับ มิใช่กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
    มาตรา 5 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ให้ใช้กฎหมายนั้นเพียงที่ไม่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศสยาม
    มาตรา 6 ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สอง สัญชาติขึ้นไปอันได้รับมาเป็นลำดับ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติที่บุคคลนั้นได้รับครั้งสุดท้ายบังคับ
    ถ้าจะต้องใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ และบุคคลมีสัญชาติตั้งแต่สองสัญชาติขึ้นไป อันได้รับมาคราวเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่บังคับ ถ้าบุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอื่นนอกจากประเทศซึ่งตนมีสัญชาติสังกัดอยู่ ให้ใช้กฎหมาย ภูมิลำเนาในเวลายื่นฟ้องบังคับ ถ้าภูมิลำเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศ ซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ
    ในกรณีใด ๆ ที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใด ซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม
    สำหรับบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ให้ใช้กฎหมายภูมิลำเนาของบุคคลนั้นบังคับ ถ้า ภูมิลำเนาของบุคคลนั้นไม่ปรากฏ ให้ใช้กฎหมายของประเทศซึ่งบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่บังคับ
    ถ้าในการใช้กฎหมายสัญชาติบังคับ จะต้องใช้กฎหมายท้องถิ่น กฎหมาย เหล่าประชาคม หรือกฎหมายศาสนาแล้วแต่กรณี ก็ให้ใช้กฎหมายเช่นว่านั้นบังคับ
    มาตรา 7 ในกรณีที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล สัญชาติของ นิติบุคคลนั้นได้แก่สัญชาติแห่งประเทศซึ่งนิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้ง ทำการแห่งใหญ่
    มาตรา 8 ในกรณีที่จะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ถ้ามิได้พิสูจน์กฎหมาย นั้นให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยาม
    มาตรา 9 นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมาย อื่นใดแห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของ ประเทศที่นิติกรรมนั้นได้ทำขึ้น
    อย่างไรก็ดี กฎหมายของประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ย่อมใช้บังคับแก่แบบที่จำเป็น เพื่อความสมบูรณ์แห่งสัญญา เอกสาร หรือนิติกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
    มาตรา 10 ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น
    แต่ถ้าคนต่างด้าวทำนิติกรรมในประเทศสยาม ซึ่งตามกฎหมายสัญชาติคนต่างด้าว นั้นย่อมจะไร้ความสามารถหรือมีความสามารถอันจำกัดสำหรับนิติกรรมนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้น มีความสามารถทำนิติกรรมนั้นได้เพียงเท่าที่จะมีความสามารถตามกฎหมายสยาม ความในวรรคนี้ ไม่ใช้แก่นิติกรรมตามกฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก
    ในกรณีที่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ความสามารถของบุคคลที่จะทำ นิติกรรมเช่นว่านั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่
    มาตรา 11 ถ้าคนต่างด้าวในประเทศสยามได้ไปเสียจากภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่ตาม เงื่อนไข ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 53 และ 54 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ศาลสยามจะ สั่งการให้ทำพลางตามที่จำเป็นนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสยาม
    คำสั่งให้คนต่างด้าวดังกล่าวแล้วเป็นคนสาบสูญ และผลแห่งคำสั่งนั้นเท่าที่ไม่ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสยามก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคน ต่างด้าวนั้น
    มาตรา 12 เหตุที่ศาลสยามจะสั่งให้คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ใน ประเทศสยามอยู่ในความอนุบาล หรืออยู่ในความพิทักษ์ได้นั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ของบุคคลนั้น อย่างไรก็ดี มิให้ศาลสยามสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นอยู่ในความอนุบาลหรืออยู่ในความ พิทักษ์ โดยอาศัยเหตุซึ่งกฎหมายสยามมิได้ยอมให้กระทำ
    ผลของการให้อยู่ในความอนุบาลหรือให้อยู่ในความพิทักษ์ดังกล่าวแล้ว ให้เป็นไป ตามกฎหมายของประเทศซึ่งศาลที่สั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นผู้เสมือนไร้ ความสามารถสังกัดอยู่
    มาตรา 13 ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ หรือ ผลแห่งสัญญานั้นให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับ ก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติ อันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกันก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้น ได้ทำขึ้น
    ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ถิ่นที่ถือว่าสัญญา นั้นได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นคือถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ ถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่ว่านั้นได้ ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตามสัญญานั้น
    สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทำถูกต้องตามแบบอันกำหนดไว้ในกฎหมายซึ่ง ใช้บังคับแก่ผลแห่งสัญญานั้น
    มาตรา 14 หนี้ซึ่งเกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง หรือลาภมิควรได้ ให้บังคับตาม กฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดหนี้นั้นได้เกิดขึ้น
    มาตรา 15 หนี้ซึ่งเกิดจากการละเมิด ให้บังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ข้อเท็จจริง ซึ่งทำให้เป็นการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้น
    ความในวรรคก่อนไม่ใช้แก่บรรดาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศซึ่งไม่เป็น การละเมิดตามกฎหมายสยาม
    กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือ ทางแก้อย่างใดไม่ได้นอกจากที่กฎหมายสยามยอมให้เรียกร้องได้
    มาตรา 16 ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินตั้งอยู่บังคับแก่สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์
    อย่างไรก็ดี ในกรณีการส่งสังหาริมทรัพย์ออกนอกประเทศ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติ ของเจ้าของทรัพย์บังคับแก่ทรัพย์นั้นตั้งแต่เวลาส่งทรัพย์ออกนอกประเทศ
    มาตรา 17 สังหาริมทรัพย์ใดๆ ซึ่งได้ย้ายที่ไปในระหว่างฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน นั้น ให้คงบังคับตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ในขณะยื่นฟ้อง
    มาตรา 18 ความสามารถที่จะทำการหมั้น หรือเพิกถอนการหมั้นให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของคู่หมั้นแต่ละฝ่าย ผลของการหมั้นให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศซึ่งศาล ที่พิจารณาและพิพากษาคดีสังกัดอยู่
    มาตรา 19 เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละ ฝ่าย
    มาตรา 20 การสมรสซึ่งได้ทำถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่ง ประเทศที่ทำการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์
    การสมรสระหว่างคนในบังคับสยาม หรือคนในบังคับสยามกับคนต่างด้าว ซึ่งได้ ทำในต่างประเทศโดยถูกต้องตามแบบที่กฎหมายสยามกำหนดไว้ ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ฃ
    มาตรา 21 ถ้าคู่สมรสมีสัญชาติอันเดียวกัน หรือถ้าภริยาได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามี โดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สมรส
    ในกรณีที่ภริยามิได้ได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่าง สามีภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี
    มาตรา 22 ถ้ามิได้มีสัญญาก่อนสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติ
    ถ้าสามีและภริยามีสัญชาติแตกต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติแห่งสามี
    อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น ไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
    มาตรา 23 ผลแห่งการสมรสดังบัญญัติไว้ในสองมาตราก่อนย่อมไม่ถูกกระทบ กระทั่ง หากว่าภายหลังการสมรสคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้มาซึ่งสัญชาติ แตกต่างกับที่มีอยู่หรือที่ได้มาขณะทำการสมรส
    มาตรา 24 ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ถ้าทำสัญญาก่อนสมรส ความสามารถที่จะทำสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
    มาตรา 25 ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่ง สัญญาก่อนสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติ อันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรสเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งคู่สัญญาเจตนาหรือพึงสันนิษฐานได้ว่ามีเจตนาที่จะยอมอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายนั้น ถ้าไม่มี เจตนาเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สมรสตั้งภูมิลำเนาครั้งแรกหลังจากการ สมรส
    อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่น ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
    มาตรา 26 การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามี และภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้
    มาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามี และภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้
    เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
    มาตรา 28 การเพิกถอนการสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่เงื่อนไข แห่งการสมรส
    อย่างไรก็ดี ความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอน การสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ได้กระทำการสมรส
    มาตรา 29 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ แห่งสามีของมารดาในขณะที่บุตรนั้นเกิด ถ้าหากในขณะที่กล่าวนั้น สามีได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามีในขณะที่ถึงแก่ความตาย
    ให้ใช้กฎหมายเช่นเดียวกันบังคับการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
    มาตรา 30 สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็น ไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดา
    ในกรณีที่เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย สิทธิและหน้าที่ระหว่างมารดา กับบุตร ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของมารดา
    มาตรา 31 การรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ของบิดาในขณะที่รับเป็นบุตร ถ้าหากในขณะนั้นบิดาได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบิดาขณะที่ถึงแก่ความตาย
    มาตรา 32 กรณีที่จะจัดผู้เยาว์ซึ่งไม่มีบิดามารดาใช้อำนาจปกครอง ให้อยู่ในความ ปกครองก็ดี หน้าที่และอำนาจของผู้ปกครองก็ดี กรณีที่ความปกครองสิ้นสุดลงก็ดี ให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของผู้เยาว์ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ อำนาจของผู้ปกครองที่จะจัดการ กับทรัพย์สินเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
    ส่วนผู้เยาว์ซึ่งมีสัญชาติต่างประเทศ และมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศสยาม จะจัดให้อยู่ในความปกครองตามกฎหมายสยามก็ได้ ถ้าปรากฏจากพฤติการณ์แห่งกรณีว่า ตาม องค์การและระเบียบจัดการแห่งความปกครองซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศนั้น ไม่เป็นอัน คุ้มครองประโยชน์ได้เสียของผู้เยาว์ให้เป็นผลตามสมควรได้
    มาตรา 33 การถอนอำนาจปกครอง ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งศาล ที่สั่งถอนอำนาจปกครองสังกัดอยู่
    มาตรา 34 สิทธิที่จะฟ้องบุพการีเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้เป็นไปตามกฎหมาย สัญชาติของผู้สืบสันดาน
    มาตรา 35 ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมมีสัญชาติอันเดียวกัน การรับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น ๆ
    ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมมีสัญชาติแตกต่างกัน ความสามารถและ เงื่อนไขแห่งการรับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย แต่ผลแห่ง การรับบุตรบุญธรรมระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ของผู้รับบุตรบุญธรรม
    สิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมกับครอบครัวของตนตามกำเนิดนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุตรบุญธรรม
    มาตรา 36 หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลซึ่งถูก เรียกร้องให้อุปการะเลี้ยงดู
    อย่างไรก็ดี บุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเรียกร้องเกินกว่าที่กฎหมาย สยามอนุญาตไม่ได้
    มาตรา 37 มรดกเท่าที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่ง ถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
    มาตรา 38 ในส่วนที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ มรดกโดยสิทธิโดยธรรม หรือ โดยพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
    มาตรา 39 ความสามารถของบุคคลที่จะทำพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมาย สัญชาติในขณะที่ทำพินัยกรรม
    มาตรา 40 บุคคลจะทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายสัญชาติกำหนดไว้ก็ได้ หรือจะทำตามแบบที่กฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ก็ได้
    มาตรา 41 ผลและการตีความพินัยกรรมก็ดี ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรมก็ดี ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย
    มาตรา 42 การเพิกถอนพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม ให้เป็นไปตาม กฎหมายภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่เพิกถอนพินัยกรรม
    การตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ถึงแก่ความตาย

    แผนดคดีอาญา (Criminal International Law)
    การส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition)
  • บุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวเป็นผู้กระทำผิดทางอาญา
  • ต้องไม่ใช่คดีที่ขาดอายุความ
  • เป็นพลเมืองของประเทศที่ร้องขอ
  • ต้องเป็นความผิดอาญาของประเทศผู้รับคำขอ
  • โทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี
  • บุคคลนั้นปรากฏตัวอยู่ในประเทศที่ถูกขอร้อง
  • ประเทศเจ้ของปฏิบัติตามพิธีการต่างๆ ครบถ้วน
  • ผู้ที่ถูกส่งตัวต้องถูกฟ้อง
  • ต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง
    พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน
    มาตรา 4 แม้จะไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี ถ้ารัฐบาลสยาม พิจารณาเห็นเป็นการสมควร ก็อาจส่งตัวบุคคลผู้ต้องหาหรือที่ พิจารณาเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดมีโทษอาชญาภายในเขตอำนาจศาล ของต่างประเทศใด ๆ ให้แก่ประเทศนั้น ๆ ได้ แต่การกระทำผิด เช่นว่านี้ต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายสยามกำหนดโทษจำคุก ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
    มาตรา 17 คดีอุทธรณ์ในเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตกเป็นหน้าที่ศาล อุทธรณ์พิจารณาพิพากษา และเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วให้เป็น อันถึงที่สุดทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
    แต่ถ้าหากว่าข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างได้วินิจฉัยไว้มีพยานหลักฐาน สนับสนุนเพียงพอที่จะออกคำสั่งนั้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่ จะแก้ไข ศาลอุทธรณ์พึงพิจารณาแต่เพียงว่าศาลล่างมีพยานหลักฐาน พอที่จะให้อำนาจออกคำสั่งเช่นนั้น และเพื่อการนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจ ตรวจพิจารณาพยานหลักฐานและวินิจฉัยคำโต้เถียงในข้อเหล่านี้ คือ
    (1) เรื่องสัญชาติของจำเลย
    (2) ความผิดที่กล่าวหานั้นไม่อยู่ในประเภทที่จะส่งข้ามแดนได้
    (3) ความผิดนั้นมีลักษณะในทางการเมือง หรือว่าการที่ขอให้ส่ง ข้ามแดนนั้น แท้จริงเป็นไปเพื่อประสงค์จะเอาตัวจำเลยไปลงโทษสำหรับ ความผิดอย่างอื่นอันมีลักษณะในทางการเมือง หรือ
    (4) ไม่มีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลล่างพอที่จะให้ศาลนั้นใช้ดุลพินิจ ได้ว่าควรจะออกคำสั่งนั้นหรือไม่

    องค์การตำรวจสากล (International Criminal Police Organization)
    ชื่อย่อว่า Interpol โดยประเทศไทยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Central Bureau) ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสำนักงานใหญ่ Interpol ณ.กรุงปารีส ฝรั่งเศส

    ความผิดตามกฏหมายระหว่างประเทศ (Jure Gentium International Law Crimes)
  • การกระทำความผิดอาญาต่อบุคคล
  • การค้าทาสและการค้าหญิง
  • การลักทรัพย์และการทำผิดกับยานพาหนะ
  • การฉ้อโกงระหว่างประเทศ (White Collar Crimes)
  • การปลอมแปลงเงินตรา
  • สลัดอากาศ (Hijacking)
  • ยาเสพติดให้โทษ
  • โจรสลัด (Piracy)
  • คำสำคัญ (Tags): #รู้ไว้ใช่ว่า
    หมายเลขบันทึก: 49153เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท