หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2


สวัสดีครับชาวบลอคทุกท่าน 18 มิถุนายน 2555 เป็นวันเปิดหลักสูตรวันแรกของโครงการ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2 ซึ่งจะเรียนกันทุกวันจันทร์และวันพุธตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน...
มีต่อ

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำพ่อทำ”

เป็นการเล่าเรื่อง พระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากคำพูดบทสัมภาษณ์ ข้อเขียน และบทบรรยายของผู้ที่เคยได้  ตามเสด็จฯ และถวายงาน มารวบรวม วิเคราะห์ เทียบเคียงกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นข้อคิดเพื่อให้ชาวไทยได้หันมาพิจารณาตนเอง และปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท

ธรรมดีที่พ่อทำ เป็นหนังสือเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทย และชาวต่างชาติ ทรงเป็นที่สุดด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยะอุสาหะ ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจนานัปการอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย พวกเราโชคดีที่มีบุญที่ได้เกิดมาอยู่ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นต้นแบบที่ดีที่สุดในโลก แต่เราไม่เคยทำตามท่านอย่างจริงจังเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำอยู่เสมอว่าคนไทยต้องรวมพลัง ร่วมมือกันทำให้ประเทศชาติเจริญ ด้วยการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่คิดต้องลงมือทำเลยเป็นโอกาสทองของชีวิตที่เราจะร่วมกันสร้าง “บุญใหม่” ตามรอยพระยุคลบาทหน้าที่ของคนไทย คือทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรง “ทำให้ดู” ทุกสิ่งที่ท่านทำ ทุกโครงการในพระราชดำริสำเร็จลุล่วงด้วย อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ ท่านทำงานด้วยความรักที่จะทำนุบำรุงสุขแก่ประชาชน วิริยะ แม้ลำบากเพียงใดท่านก็เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนทุกหนทุกแห่ง จิตตะ ท่านความจดจ่อใส่ใจในงานที่ทำ วิมังสา ท่านคิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบและติดตามตรวจสอบงานที่ทำ

ท่านทรงงานด้วยใจ  ความสุขของพระองค์ท่านคือ ทรงอยากให้ประชาชนมีความสุข  ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ยอมเหนื่อยยากเพื่อคนไทยทุกคน เพื่อพัฒนาประเทศ

ท่านเรียนรู้ผ่านหัวใจด้วยการลงมือทำ ทรงงานสามารถอดทนปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อย

ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวมีหลัก 23 ข้อ ได้แก่

1.จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 2.ระเบิดจากภายใน 3.แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 4.ทำตามลำดับขั้น 5.ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 6.ทำงานแบบองค์รวมไทยคิดความเชื่อมโยง 7.ไม่ติดตำรา 8.ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 9.ทำให้ง่าย 10.การมีส่วนรวม 11.ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 12.บริการจุดเดียว 13.ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14.ใช้อธรรมปราบอธรรม 15.ปลูกป่าในใจคน 16.ขาดทุนคือกำไร 17.การพึ่งตนเอง 18.พออยู่พอกิน 19.เศรษฐกิจพอเพียง 20.ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ 21.ทำงานอย่างมีความสุข 22.ความเพียร 23.รู้รักสามัคคี

หลัก 23 ข้อนี้  เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  คนไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติ  ไม่ว่านำไปใช้กับการงานใด  ย่อมสำเร็จลุล่วงเสมอ
ผู้เขียนได้  วิเคราะห์พระราชกรณียกิจและพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัว  เปรียบเทียบกับศาสนาพุทธ  ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงนำทศพิธราชธรรมมาปกครองประเทศและครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประเทศสุขของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง และคนไทยโชคดีแค่ไหนที่มีพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงรักคนไทยมากที่สุด

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งเป็นนักบริหาร, นักวิชาการ,นักคิด และนักปฏิบัติ ที่เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของคนคือ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด และเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ดร.จีระ เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการก่อตั้ง สถาบันทรัพยากรมนุษย์อย่างไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย จนประสพความสำเร็จจนเป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับในระดับประเทศ และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชน ก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กร ทำให้องค์กรประสพความสำเร็จ ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า สำหรับคุณพารณ อดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นผู้มีแนวคิดมีอุดมการณ์เช่นเดียวกับ ดร.จีระ คือ เห็นคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน คุณพารณ จึงเป็นผู้บริหารที่ทุ่มเท และเพียรพยายามในการพัฒนาพนักงานของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยให้มีความรู้ ความสามารถขึ้นเรื่อยๆ มุ่งเน้นการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องไม่หยุด ตลอดเวลาที่ทำงาน เช่นเดียวกับ ดร.จีระ ซึ่งมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เผยแพร่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในสถาบันของราชการ ธุรกิจเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังความคิดเรื่องความสำคัญของคนให้ฝังรากลึก หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวของ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ในรูปแบบการสนทนา ทั้งบทสนทนาโดยตรงจากท่าน และจากผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับท่าน ทำให้เข้าใจเสมือนเปิดโลกทัศน์ใหม่ในเรื่องความสำคัญของคนอย่างลึกซึ้ง เข้าใจคำว่ามนุษย์พันธุ์แท้คืออย่างไร และท่านทั้ง 2 ก็คือมนุษย์พันธุ์แท้ ของประเทศอย่างแท้จริง สมควรแล้วที่บุคคลที่ได้รู้จักท่านจะเคารพนับถือ และยกย่องท่านอย่างจริงใจ

หนังสือทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K’s บวก 5K’s เป็นทฤษฎีที่ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ สร้างขึ้นเป็นทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ เนื่องจาก ดร.จีระ ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าของสังคมไทย เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและจำเป็นต้องขยายวงออกไปให้กว้างมากที่สุด อย่างมีคุณภาพ เป็นการเตรียมคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้รองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี ค.ศ.2015

ทฤษฎี 8K’s ประกอบด้วย

K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital) K2 ทุนปัญญา (Intellectual Capital - Networking) K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) K5 ทุนทางสังคม (Social Capital) K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)

ทฤษฎี 5K’s (ใหม่) คือทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  ประกอบด้วย
    1.ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)
    2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)
    3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)
    4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)
    5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

เมื่อศึกษาทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของดร.จีระ แล้วทำให้เข้าใจความสำคัญของเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น และตระหนักว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการอันดับแรก เพื่อเตรียมตัวการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.จีระเป็นผู้มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีศักยภาพ อย่างแท้จริง ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s สามารถนำไปเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ ทุกทฤษฎีมีความสำคัญเท่าเทียมกัน จนไม่อาจขาดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีประโยชน์และอย่างมีคุณค่าอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นับว่า ดร.จีระ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์อันยาวนาน ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถนั้น ลงบนหนังสือทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ที่อ่านง่าย เข้าใจง่ายน่าติดตาม เป็นหนังสือทางวิชาการที่ดีมากเล่มหนึ่ง

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเอาพระจริยวัฒน์และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่เก้า อีกทั้งข้อคิดสอนใจจากบุคคลสำคัญต่างๆที่ผู้เขียนได้ประสบมา เหล่านี้ล้วนแต่เป็นคุณธรรมอันน่าปฏิบัติตาม หนังสือเล่มนี้สอนทั้งการทำงานและการดำเนินชีวิต สอนให้มีความมุ่งมั่น พยามยาม เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคำสอนที่ยังนำมาใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย เรียกได้ว่ามีความพอเพียงและยั่งยืนนั่นเอง ข้อคิดเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงเป็นหลักในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การรู้จักหน้าที่, การทำเพื่อเพื่อนมนุษย์, อิทธิบาท 4, ความตั้งใจมั่น, การเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ, การมองภาพรวมและสภาพแวดล้อมของปัญหา, การประหยัด, การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมไปถึงเรื่อง one stop service และ การปลูกจิตสำนึกในใจผู้ทำงาน และ การมีความสุขกับการทำงาน, การคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ (Critical thinking) หรือ กาลามสูตร ตามหลักพระพุทธศาสนานั่นเอง, มีสติและสมาธิ, การรับฟังคำวิจารณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง คำพูดหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวที่อ่านแล้วรู้สึกประทับใจก็คือ “จะท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน” เพราะการกระทำของเรานั้นนอกจากจะกำหนดชีวิตของเราเองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความสำเร็จและอนาคตของหน่วยงาน เพื่อนร่วมงาน และประชาชนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอีกด้วย

วิญญา สิงห์อินทร์

วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 อ.ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ, อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

                                      วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ
ทั้ง  2  อาจารย์นำเสนอหลักคิดที่น่าสนใจมาก  โดยเฉพาะของ  Peter   drucker  สาระสำคัญต้องค้นหาตัวเองให้เจอ  และเลือกอันที่ถูกต้องทำซึ่งสำคัญ   และต้องทำให้ถูกวิธี การทำให้ประสบความสำเร็จให้พิจารณา
-  เวลา  จะทำอะไร  ได้ทำอะไร
-  ลำดับการดำเนินการให้ความสำคัญก่อนหลัง
-  ร่วมทุกข์ ร่วมสุข
-  ดูจุดแข็ง
-  การคัดสินใจ
อ.ณรงค์ศักดิ์  เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ให้ความสำคัญกับการวิจัย  เพื่อจะ

Re brand กคช. จะอยู่ได้

วิญญา สิงห์อินทร์

วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 อ.ประกาย ชลหาญ

 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่สำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1.  ปรับทัศนคติของคนในองค์กรให้ไปทางเดียวกัน
2.  องค์กรขับเคลื่อนด้วยกระบวนการมากกว่าโครงสร้าง  ต้องมีกระบวนการทำงานให้ชัดเจน
            3.  ต้องเข้าใจลำดับก่อนหลังการเปลี่ยนแปลง  เพราะจะกระทบเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา 
             4. สามารถคิดเชิงบูรณาการเป็นกระบวนการใหม่ทั้งองค์กรให้คนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อองค์กร
5.  สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ต้องยอมรับ  เช่นน้ำท่วมอุทกภัย  เป็นต้น
6.  ยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า (มีวินัย)
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

วิจารณ์หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ 

               หากมีการตั้งคำถามว่า ในโลกปัจจุบัน ประมุขของประเทศใดเป็นที่รักและเคารพยกย่องอย่างสูงสุด ของทั้งคนในชาติและต่างประเทศทั่วโลก บุคคลนั้น คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของคนไทยทั้งประเทศ มีการตั้งคำถามกันมากมายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ถ้ามองย้อนกลับไป 65 ปีที่ผ่าน จนถึงปัจจุบัน คำตอบที่ชัดเจนอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคน คือ พระองค์ท่านทรงรักคนไทยมากที่สุด
    "ธรรมดีที่พ่อทำ" เป็นการสะท้อนความรู้สึกของ คนไทยผู้รู้สึกและสำนึกเสมอว่าตนเองโชคดีมีบุญได้เกิดมาอยู่ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
     "ธรรมดีที่พ่อทำ" เป็นหนังสือที่เขียนด้วยหัวใจ เพื่อสะกิดความรู้สึกของคนไทยให้ลงมือกระทำ และเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในขณะที่ทุกคนยังมีโอกาส  และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยากยิ่งมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้

                                                สุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                         [email protected]

วิญญา สิงห์อินทร์
    สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
คุณพารณ  เครือซิเมนต์ไทย  ให้ความสำคัญกับคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด  จนทำให้เครือซิเมนต์ไทยมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเกิดขึ้นตามธรรมชาติตั้งแต่การคัดเลือกคนทำงาน  สืบทอดวัฒนธรรม  เพิ่มผลิตสร้างเครือข่าย  จนพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กร  และคุณพารณ  มีความเป็นประชาธิปไตยในการบริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ  มองการพัฒนาอบรมคนเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน  และคนเป็นผู้นำต้องอย่าดีแต่พูดต้องทำให้เกิดเป็นผลงานและจะมีศรัทธาตามมา  

สิ่งที่เครือซิเมนต์มีหลักสำคัญที่ควรยึดถือในการประเมินคน 2 องค์ประกอบ

ความสามารถในการทำงาน (ในหน้าที่)
                     การเป็นที่ยอมรับจากทุกระดับ
         ดร.จีระ  ในทรัพยากรทั้งหลายในการผลิต  ทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุดเป็นผู้นำเสนอทฤษฎี  3  วงกลม  สำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลง  Change  management
         วงที่ 1   Context    เป็นองค์กรให้คล่องตัว  แวดล้อมเอื้อต่อการทำงาน  เน้นแบบ

Process ใช้ IT

          วงที่ 2  Competencies  สมรรถนะทักษะความสามารถโดยเน้นทักษะงานที่นำความรู้ที่เป็นประโยชน์องค์กร  ภาวะผู้นำริเริ่มสร้างสรรค์  ความรู้รอบตัว  
          วงที่ 3  Motivation  สร้างแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินไม่เป็นตัวเงิน
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือ “8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของขนไทย รองรับประชาคมอาเซียน” โดย จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยเพื่อรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 นี้ เนื่องจากการเปิดเสรีอาเซียน โดยเฉพาะการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อคนทั่วทั้งภูมิภาค เช่นเดียวกับโลกาภิวัตน์ในด้านอื่นๆและที่อื่นๆของโลก ย่อมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากปรากฎการณ์นี้ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะเตรียมพร้อมโดยการพัฒนาทรัพยากรหรือทุนที่สำคัญที่สุด คือทุนมนุษย์นั่นเอง ทั้งนี้ด้วยการวางแผนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการตอบคำถามเช่น เราเป็นใคร อยู่ตรงไหน มีศักยภาพเช่นไร เป้าหมายของเราคืออะไร และทำอย่างไรจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ผู้เขียนได้แจกแจงว่าทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องประกอบด้วย 8K’s คือ Human Capital การลงทุนในตัวมนุษย์เช่นการเลี้ยงดู การให้การศึกษาอบรม ในทุกช่วงอายุ, Intellectual Capital การมีวิสัยทัศน์ การคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะกับสถานการณ์, Ethical Capital การมีจิตสำนึกในความถูกต้องและการทำเพื่อส่วนรวม, Happiness Capital มีความรักในงานที่ทำ และรู้ว่าควรจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อการทำงานที่มีความสุข, Social Capital การสร้างเครือข่ายจะทำให้เราได้เปิดรับข้อมูลข่าวสาร ทักษะความรู้ และทำให้การเจรจาร่วมมือเป็นไปได้ราบรื่น, Sustainable Capital การพัฒนาอย่างยั่งยืนและพอเพียง ด้วยแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและทำได้จริงในระยะยาว, Digital Capital การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสื่อสารและค้นคว้าพัฒนาตนเอง, Talented Capital บุคคลากรจะต้องมีพร้อมทั้ง ทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่ดีและไม่หยุดที่จะพัฒนา ทฤษฎี 5K’s นั้นถูกคิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรี คือ Creativity Capital ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ และคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ, Knowledge Capital ใฝ่หาความรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ, Innovation Capital การคิดใหม่ โดยเกิดจากแบ่งปันและมีส่วนร่วม, Cultural Capital ความเข้าใจในรากฐานทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของตนเอง, Emotional Capital การรู้จักควบคุมอารมณ์ ใช้สติและเหตุผล รวมไปถึงการมีภาวะผู้นำและการมองแง่บวก ที่สำคัญคือจะต้องรู้ว่า ASEAN Economic Community คืออะไร และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร เช่นการแข่งขันทั้งในตลาดสินค้า, แรงงาน และทุน โอกาสที่ชัดเจนที่สุดคือการขยายตลาด จึงต้องเตรียมพร้อมโดยการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความคิดกัน ทั้งนี้แม้จะเป็นการพัฒนาเพื่อการแข่งขันระดับระหว่างประเทศแต่เราต้องไม่ลืมภูมิปัญญาแบบไทยๆด้วย แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ – วิธีการเรียน บรรยากาศในการเรียน โอกาสในการแลกเปลี่ยน สถานที่เรียนเช่นบนอินเตอร์เน็ต - Key words – Reality & Relevance พัฒนาอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และมีความเกี่ยวเนื่องกับตัวผู้เรียนเองและความต้องการของตลาดด้วย - Inspiration & Imagination แรงบันดาลใจ ความกระหายใคร่รุ้ และการคิดสร้างสรรค์ คิดวิพากษ์

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 2: ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2  รุ่น2

 

               -Vision เป็นแผนภาพระยะยาว ต้อง Sharpening ตลอดเวลา  ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมกันกำหนด Vision และต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

                - Mission เป็นภารกิจที่ต้องทำเพื่อสนองเป้าหมายของ Vision  เช่น Vision ของ

ประธานาธิบดี JOHN F. KENEDY คือส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เป็นประเทศแรกMissionก็คือต้องสร้างยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์

                -นอกจากกำหนด Vision และ Mission  แล้ว จะต้องมี Core Value หรือแก่นนิยมขององค์กร เช่น Core Value ของกองทัพสหรัฐ คือ ความกล้าหาญ ศักดิ์ศรี ความถูกต้อง

                 -วิธีคิดทบทวนเพื่อกำหนด Vision คือ

             1) ศึกษา External Environment : คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี่ วัฒนธรรม ฯลฯ

   มองจุดแข็งกับจุดอ่อน อะไรจุดอ่อนก็ Vision เรื่องนั้นนัอยเพราะทำไม่ได้

             2) ศึกษา Internal Environment : คือ องค์กร คุณภาพคน วัฒนธรรม ฯลฯ

             3) อะไรที่เราทำได้ดีที่สุด อะไรที่เราทำยังไม่ดี

 

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

           เราจำเป็นต้องมีเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Mission เปลี่ยนแปลงได้ งาน เงิน คน สำคัญที่สุด ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดและเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลง  วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วย Change  รวมทั้งต้องจัด Priority  สิ่งที่จะส่งผลต่อ Vision และMission

          การสร้างการมีส่วนร่วม Bottom up , การทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( เช่น อบรมพนักงาน , มีเวทีแสดงความคิดเห็น, Best practices) , มี Innovation   รวมทั้งจะต้องมี Competitive Advantage สามารถนำไป Matching กับโอกาส  มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยขององค์กร มีการ Benchmarking ลักษณะการทำงาน การลงทุน กับองค์กรที่มีลักษณะใกล้เคียงจะช่วยทำให้องค์กรมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้……นี่คือแนวความคิดที่ได้เรียนรู้จากการอบรมในคาบนี้

 

………………………………………

         

       

             

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 3 : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ

โดย: นพดล  ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ.พส2 รุ่นที่2

 

               จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ ทำให้ได้ประเด็นท้าทาย การเคหะฯ และข้อนำองค์ความรู้จากกาบรรยายมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ดังนี้ คือ

-  Competitive Environment  การเคหะฯ ต้องสามารถวางยุทธศาสตร์ที่แม่นยำในการ   

     แข่งขันให้ได้  มิฉะนั้นองค์กรจะอยู่ไม่ได้ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้

ช่องว่างทางการตลาด : สินค้าของการเคหะฯ คือการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง  ปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาจับลูกค้าในกลุ่มรายได้ปานกลางมากขึ้น เช่น บริษัทพฤกษา  เรียลเอสเตท  บริษัทลุมพินีทาวน์เวอร์  ดังนั้นยังเหลือสินค้าในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยยังเป็นกลุ่มลูกค้าของการเคหะฯ อยู่  และเป็นกลุ่ม Mass ด้วย

พฤติกรรมผู้บริโภค : ลูกค้ากลุ่มนี้ยังภักดีต่อสินค้า Brand การเคหะฯอยู่หรือไม่ ? ขอตอบว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีทางเลือกไม่มาก เนื่องจาก โครงการของภาคเอกชนต้องเก็บเงินดาวน์บ้านก่อนจำนวนหนึ่ง และค่อยให้ลูกค้าทำสัญญาจ่ายกับธนาคาร ซึ่งถ้า Post Finance ไม่ผ่านลูกค้าก็ซื้อไม่ได้  ซึ่งการเคหะฯมีข้อได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะเก็บเงินดาวน์น้อยมาก และสามารถให้ลูกค้าเช่าซื้อกับการเคหะฯได้ถ้า Post Finance กับธนาคารไม่ผ่าน ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากกว่าโครงการเอกชน

                    แต่ปัญหาที่ต้องระวังก็คือ การเคหะฯต้องสร้างระบบการจัดเก็บเงินค่าผ่อนชำระ  บ้านให้มีความยืดหยุ่นพอสมควร ถ้ายังคงยึดระบบผ่อนส่งให้ครบทุกดือนแบบธนาคาร การเคหะฯจะมีปัญหาหนี้เสียแบบนี้ตลอดไป เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีสภาพการเงินไม่คล่อง จึงโดนธนาคารปฎิเสธ  ปัญหาหนี้เสียต้องมีแน่นอนแต่มีเท่าไรที่การเคหะฯยอมรับได้

เนื่องจากการเคหะฯ หากินกับลูกค้ากลุ่มเสี่ยงจึงต้องมีการบริหารความเสี่ยงเผื่อไว้ด้วย เช่น สร้างระบบผ่อนส่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นค่าเช่ารายดือนได้กรณีที่ลูกค้าขัดสนเงินในช่วงนั้น

และเปลี่ยนเลนมาผ่อนตามปกติเมื่อลูกค้ามีสภาพคล่อง  ทางเลือกแบบนี้เป็นนวัตกรรมทางด้านการผ่อนส่งที่ธนาคารคนจน (Grameen Bank) ที่บังคลาเทศใช้อยู่ ทางเลือกแบบนี้จะทำให้การเคหะฯมีหนี้เสียน้อยลงมีเงินเข้าระบบมากขึ้น และทำให้คนจนโดนยึดบ้านน้อยลง

การวิเคราะห์การผลิต :

       การเคหะฯ ได้เปรียบเอกชนในเรื่องราคาขาย เพราะมีเงิน Subsidy อุดหนุน รวมทั้งไม่ต้องเข้ากฎหมายจัดสรรที่ดิน และมีกฎหมายอาคารสำหรับผู้มีรายได้น้อยเป็นตัวช่วย

       แต่ในเรื่อง Product การเคหะต้องพัฒนาให้ดูทันสมัยและสนองประโยชน์ได้มากขึ้น ของราคาถูกก็ทำให้เท่ห์ได้ เช่น รถนิสสันมาร์ช เป็นตัวอย่าง ถึงเป็นรถราคาถูก แต่รูปทรงและประสิทธิภาพก็โดนใจทุกคน

            ระบบการผลิตก็เช่นกัน  การเคหะฯต้องออกแบบและวาง Line การผลิตในระบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ เพราะการก่อสร้างในระบบ Mass Product ต้องเป็นระบบอุตสาหกรรมชิ้นส่วนสำเร็จรูปเท่านั้นจึงจะก่อสร้างได้เร็วและประหยัดค่าก่อสร้าง  แต่ในปัจจุบันการเคหะฯยังออกแบบในระบบ Conventional ที่ต้นน้ำ และให้ผู้รับจ้างเสนอเป็นแบบอุตสาหกรรมมา ทำให้การเกิดทำงานที่ซับซ้อนและเสียเวลา

วิเคราะห์การตลาด : การเคหะต้องสร้าง Add Value ในตัวสินค้าซึ่งการได้รับ Subsidy ทำให้สินค้าของการเคหะสามารถขายในราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงได้ซึ่งเป็น Add Value ตัวหนึ่ง / โครงการของ การเคหะฯเป็นโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อยแต่ มีความน่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน เพราะเป็นโครงการของรัฐจึงต้องปฎิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด/มีการพัฒนาชุมชนหลังการอยู่อาศัย/ ความสะดวกในการเข้าถึงโครงการ และการผ่อนชำระที่สามารถยืดหยุ่นได้ ซ่งน่าจะนำมาเป็นจุดขายเพิ่มความสนใจให้ลูกค้ามากขึ้น

วิเคราะห์การเงินและต้นทุนโครงการ : การเคหะฯต้องพยายามลดต้นทุนโครงการเพื่อสามารถแข่งขันในตลาดได้ เช่น ลดขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างการก่อสร้าง  การทยอยแบ่งเฟสส่งงานเป็นส่วนๆแทนการก่อสร้างจนแล้วเสร็จทั้งโครงการ เพื่อให้กระแสเงินเข้าระบบได้เร็วขึ้นเพื่อลดภาระดอกเบี้ยและบรรจุลูกค้าเข้าอยู่ได้เร็วขึ้นช่วยแก้ปัญหาลูกค้าจองอาคารแล้วทิ้งเนื่องจากต้องรอบรรจุพร้อมกันทั้งโครงการ

            นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การเคหะฯจะต้องมีการบริหารจัดการตัวแปรต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อ การเคหะฯ ด้วยคือ   Political / Social / Economic / Technology / Ecology / Law

 

………………………………

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่4: การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

โดย นพดล ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ. พส2  รุ่นที่2

 

         -การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์   (Strategic Human Capital Management: SHCM)

คือการเค้นเอาขีดความสามารถของบุคคลในองค์กรไปทำแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุและสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์องค์กรให้ประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้

        -Vision / Mission / Strategic ต้องได้รับการปฏิบัติโดยทุนมนุษย์ในองค์กร

       -ปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

1)  ประชากร (People)

2) กระบวนการ (Process)

3) เทคโนโลยี่ ( Technology)

     สิ่งสำคัญที่สุดในปัจจัย 3 ตัวนี้คือ คน หรือ ทุนมนุษย์   และ ทุนมนุษย์ในองค์กรเป็นเหมือนทรัพย์สิน สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

        -กระบวนการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ( SHCM Planning)

1) วิเคราะห์กลยุทธ์ ปัจจัยภายนอกและภายใน

2) กำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร

3) วิเคราะห์แรงงานในองค์กร และเปรียบเทียบส่วนที่ต้องเพิ่ม-ลด คนรวมทั้ง Skill ส่วนไหนต้องเสริมให้พนักงานในองค์กร

4) กำหนดแผนปฏิบัติการในการรับคนเข้ามา และแผนพัฒนาทักษะความสามารถเพื่อให้ทำงานได้ ตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้

         -องค์กรในอนาคตต้องการคนมีทักษะในการทำงานหลากหลาย (Generalist) มากกว่าคนมีความรู้เฉพาะทาง ( Specialist)

          -การสร้างทุนมนุษย์ สร้างด้วย

1) Competency –C1 : โดยการฝึกอบรม การศึกษา การสัมมนา การประชุม การดูงาน ฯลฯ

2) Commitment –C2: สร้างด้วยการดูแลจิตใจ

    -Contributtion : จัดให้มีเวที สัมมนา ประชุมกลุ่ม สร้างเครือข่าย  เปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

   - Intellectual Capital (I.C.) = C1xC2

    -เครื่องมือสร้างทุนมนุษย์ : Learning Oganization, Best Practices, Multi-Level Market,Balanced Scorecard,  etc

    -Learntng Organization(L O) : หมายถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ที่ทุกคนสามารถสามารถขยายขอบเขตความสามารถของตนเป็นที่ส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวคิดใหม่ๆออกไป สามารถแสดงออกทางความคิดอย่างมีอิสระและเป็นที่ที่เรียนรู้ด้วยกัน  LO ทำให้องค์กรยั่งยืน การตั้ง LO ในองค์กรเหมือนปลูกต้นไม้ ให้มีผลไม้คือความรู้ ( Knowledge) โดยมี KM ( Knowing Management) เป็นการบริหารจัดการต้นไม้

   - ข้อบ่งชี้ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ :

              -ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรประกาศนโยบาย LO

              -ทรัพยากรในองค์กร เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องสมุด  ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ 

                พร้อมใช้งาน

              -พนักงานมีจิตใจใฝ่รู้

              -เวทีนำเสนอเปิดกว้างและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

    - การพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องมี

              - Knowledge : ถ้าเรารู้ทฤษฎีพื้นฐานเวลาลงสู่ภาคปฏิบัติจะง่าย

              - Skill: ต้องมีทักษะเชิงความคิด รู้จักใช้เทคโนโลยี่ พูด เขียน ฟัง สังเกต เป็น

              -Efficiency: มีสมรรถนะ มีความสามารถ

 

………………………………

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 5 : การบริหารธุรกิจในยุค Asean Economic Community (AEC)

โดยนพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ. พส2 รุ่นที่2

 

             กลุ่มประเทศอาเซียน(Assosiation of South East Asian Nations)หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2510 ประกอบด้วย 5 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ต่อมา ปี2527 ประเทศบรูไน เข้าร่วม

             ปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนมีสมาชิกอยู่  10 ประเทศ โดยมี กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เข้ามาเป็นสมาชิก และได้มีการกำหนดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน คือ เขตการค้าเสรีอาเซียน( AFTA)  กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (AFAS) และเขตการลงทุนอาเซียน (AIA)

              ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN  Economic  Community :AEC)

              จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2558  โดยประเทศสมาชิก 10 ประเทศของกลุ่มอาเซียน

เป้าหมายหลักของ AEC คือ เปิดเสรีทางการค้า การลงทุน การบริการและแรงงาน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน งานบริการ สินค้าได้เสรี เปิดโอกาสให้นักลงทุน ในชาติอาเซียนเข้าไปถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70% ในปี 2558 ( เทคโนโลยี่สารสนเทศ สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน

ลอจิสติกส์ ) และลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0% (ยกเว้นสินค้าในกลุ่ม High Sensitive List ส่วนสินค้าในกลุ่ม Sensitive List ต้องเก็บภาษีน้อยกว่า 5%)

           นอกจากนี้ AEC ยังให้นักวิชาชีพในอาเซียนสามารถจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในประเทศนั้นๆ โดยมี 7 สาขาอาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร นักสำรวจ นักบัญชี

         แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint

1)            เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม :คือตลาดอาเซียนรวมเป็นหนึ่งเดียว ประมาณ 570 ล้านคน

เลือกใช้วัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยี่และสถานผลิตจากที่ต่างๆในอาเซียนได้

2)            เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน: ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่นไม่มีกำแพงภาษีสินค้าที่ส่งมาขาย  การคุ้มครองผู้บริโภค   ทรัพย์สินทางปัญญา  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

3)            การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4)            การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก: เช่น จัดทำเขตการค้าเสรี ( Free Trade Area:FTA) กับประเทศนอกภูมิภาค ASEAN-China , ASEAN-Korea,  ASEAN-Japan,ASEAN-India

ASEAN-Australia/NewZealand, ASEAN-EU, ASEAN- US(TIFA)

 

  ผลประโยชน์จาก AEC :

-เป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 570 ล้านคน

-Economy of Scale

-ดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียน

-ได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียน

-วัตถุดิบ ต้นทุน ถูกลง ขีดความสามารถแข่งขันสูง

-เพิ่มกำลังต่อรองกับประเทศต่างๆ

-แนวร่วมในการเจรจาต่อรองเวทีการค้าโลก WTO

-เป็นที่สนใจประเทศอื่นที่จะมาทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)        

             สินค้าที่ไทยจะได้เปรียบใน AEC คือ สินค้าเกษตรและอุปโภค บริโภค สินค้าหัตกรรม สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบคือ น้ำมันปาล์ท(มาเลเซีย) เมล็ดกาแฟ(เวียดนาม)  มะพร้าว(ฟิลิปปินส์) และชา(อินโดนีเซีย)

               บริการที่ไทยจะได้เปรียบ คือ การท่องเที่ยว บริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล  สปา

นวดแผนไทย บริการที่ไทยจะเสียเปรียบ เช่น โลจิสติกส์ โทรคมนาคม สาขาที่ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยี่สูง ธุรกิจสถาปนิกขนาดกลางและขนาดเล็ก

             โอกาสและความท้าทายต่อการเคหะฯ

       -แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น เงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี การทำโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่มีโอกาสสูง เช่น โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง

      -มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้จังหวัดที่ติดชายแดนของไทยจะเกิดการพัฒนา พื้นที่ตามบริเวณนี้ของ การเคหะฯจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น

     -การเคหะสามารถใช้ประสบการณ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยไปร่วมทุนหรือเป็นที่ปรึกษากับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับรัฐบาลในกลุ่มประเทศ AEC ได้ เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม ไม่มีการเคหะแห่งชาติ

     -การเคหะฯต้องมองให้กว้างขึ้น จะสู้กับคนที่จะมาแข่งอย่างไร ในเรื่อง Know How/ทุน/แรงงาน/เทคโนโลยี่  คู่แข่งจะมีมาก การเคหะฯต้องหาระบบก่อสร้างต้นทุนต่ำ

     -การเคหะฯในบริบทของอาเซียนควรทำบริษัทลูกให้เร็วขึ้นเพื่อความคล่องตัวในการลงทุนและการทำงาน

     -การเคหะฯ ต้องปรับ Mind set ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดขององค์กร ต้องมองอย่างเป็นระบบ ไม่รู้จริงลำบาก หรือรู้จริงแต่ปรับไม่ได้ก็ลำบาก

     -ต้องตั้งคำถามจาก What เป็น Why และทำอย่างไร พยายามบริหารสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 6 : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย นพดล ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ. พส2 รุ่น2

       - ความเสี่ยง ( Risk) คือ สิ่งที่อาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้

        - บริหารความเสี่ยง ( Risk  Management )เพื่อ 

1) ให้เกิดความเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่า การดำเนินการในองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 2) ตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีทางเลือกมากกว่าหนี่งทางเลือก และในแต่ละทางเลือกไม่ทราบผลลัพท์ที่แน่นอน ไม่มีข้อมูลในแต่ละทางเลือกให้พิจารณา

     - ความเข้าใจผิด 3 ประการเกี่ยวกับความเสี่ยง
1)   ความเสี่ยงเป็นสิ่งเลวร้าย  : จริงๆแล้วความเสี่ยงไม่เลวร้ายเพราะมีแง่บวกด้วย คือเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนา

2) ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้น : ความเสี่ยงไม่สามารถทำให้เป็นศูนย์ได้ เพียงแต่ควบคุมได้ 3) ไม่เสี่ยงเลยจะทำให้ปลอดภัย : แต่จะทำให้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เป็นปัญหานวัตกรรมองค์กร

  • ประเภทของความเสี่ยง S O F C 1) Strategic Risk : ความเสี่ยงจากการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินการ และการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อม 2) Organization Risk: ความเสี่ยงอันเกิดจากการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทุจริตภายในองค์กร 3) Financial Risk : ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินขององค์กร 4) Corporate Risk: ความเสี่ยงอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ โดยครอบคลุมถึงกฎระเบียบหน่วยงานภายในและภายนอกที่กำกับดูแลองค์กร

  • หลักการประเมินความเสี่ยง : จะดู 2 ปัจจัย คือ 1) ความเป็นไปได้ของโอกาสที่จะเกิดเรื่องนั้น มาก น้อย แค่ไหน ( Likelihood ) 2) ความรุนแรงของผลกระทบ มาก น้อย แค่ไหน (Impact) เช่น โอกาสเกิดน้อย เกิดแล้วผลกระทบไม่รุนแรง ก็ไม่ต้องควบคุมความเสี่ยงให้เปลืองทรัพยากร ถ้าโอกาสเกิดสูง เกิดแล้วผลกระทบรุนแรง สร้างความเสียหายต่อการดำเนินงานและภาพลักษณ์องค์กร ก็จะต้องมีการบริหารและควบคุมความเสี่ยง

  • การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง ( Risk Prioritisation ) = โอกาสที่จะเกิด x ผลกระทบx โอกาสและความสามารถในการปรับปรุงความเสี่ยงx กรอบเวลาในการปรับปรุงความเสี่ยง

  • หลักการจัดการความเสี่ยง ( Address Risk Responses ) 1) ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ( Pre-Event Control) : ถ้าลดได้ก็บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล แต่บางเรื่องลดโอกาสเกิดไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ แต่ลดความเสียหายได้ 2) ลดผลกระทบความเสี่ยง ( Post-Event Control ): เช่นใส่หมวกกันน็อคลดความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 3) แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง ( Emerging Opportunity )

  • 5Ts ของ การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) 1) ยอมรับความเสี่ยง (Toerate): ถ้าต้นทุนการจัดการความเสี่ยงไม่คุ้มกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น 2) การลด/ควบคุมความเสี่ยง ( Treat): การควบคุมทั้งโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้ 3) กระจาย/โอนความเสี่ยง (Transfer): ผ่องถ่ายให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง เช่น การประกันภัย 4) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ( Terminate): ความเสี่ยงบางอย่างควบคุมได้ ด้วยการยกเลิกเป้าหมาย โครงการ งานหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง 5) การฉวยใช้ประโยชน์ ( Take): ความเสี่ยงบางอย่างนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ เช่น ความเสี่ยงในการโดนปรับถ้าก่อสร้างไม่เสร็จทันเวลา ทำให้ต้องจ้างมืออาชีพมาบริหารจัดการงานก่อสร้าง

  • กระบวนการบริหารความเสี่ยง เทคนิคในการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น : เช่นมีการตรวจสอบ มีการจัดทำคู่มือการทำงาน มีการอบรม มีการควบคุม มีการสอนงาน มีการจัดทำแผนล่วงหน้า มีการวิจัยและพัฒนา มีการทดสอบ เทคนิคในการลดผลกระทบ : เช่น ทำประกันภัยกระจายความเสี่ยง มีการสื่อสารสาธารณะ มีแผนพลิกฟื้นภัยพิบัติ มีการกำหนดเงื่อนไขสัญญา มีแผนสำรอง มีแผนป้องกันการทุจริต

    ลดแหล่งที่จะเกิดความเสี่ยง
    
    • การควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายใน: ก่อน รูปแบบการควบคุม Directive : ควบคุมก่อน เช่น กำหนดให้ทำตามหลัก กฎเกณฑ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ การฝึกอบรมก่อนการทำงาน ควบคุมความปลอดภัยในที่อันตราย Preventive: กันไว้ เช่น การควบคุมเพื่อลดผลกระทบไม่พึงประสงค์ให้น้อยที่สุด เช่น การเซ็นต์เช็คสั่งจ่าย การแบ่งหน้าที่เพื่อป้องกันการทุจริต
    • การควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายใน: หลัง รูปแบบการควบคุม Detective : การควบคุมที่มุ่งค้นหาผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไรเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต เช่น การทบทวนหลังการนำนโยบายบางอย่างไปปฏิบัติ การตรวจนับสินค้าคงคลัง Corrective : การควบคุมที่มุ่งแก้ไขผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือบรรเทาผลกระทบให้ทุเลาลง เช่น การเขียนเงื่อนไขสัญญาให้มีการชดใช้ / การทำประกันภัย
  • ประโยชน์ของการบริหารจัดการความเสี่ยง : นอกจากทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้แล้ว ยังเกิด 1) ทำให้เกิดการสื่อสารในองค์กร 2) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสีย 3) ส่งเสริมการปรับปรุง พัฒนา 4) ช่วยเรื่องการควบคุมภายใน 5) ลดผลกระทบ การตื่นตระหนก 6) สร้างความมั่นใจผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 7) พบโอกาสใหม่ๆ 8) สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์และแผนธุรกิจ

  • ความเสี่ยงภายในองค์กร (Internal Risk) ไม่ค่อยมีปัญหา เราควบคุมได้ แต่ ความเสี่ยงภายนอก (External Risk) กับ ความเสี่ยงของแผนยุทธศาสตร์ ( Strategic Plan) สำคัญต่อองค์กรเพราะควบคุมไม่ได้ ได้แต่ควบคุม (Prevent)

  • การกำหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง ต้อง S M A R T คือ 1) Specific : เฉพาะเจาะจง ทุกคนเข้าใจชัดเจน 2) Measurable: สามารถวัดผลการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ 3) Achievable: สามารถบรรลุผลได้ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด 4) Relevant: มีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมาย 5) Timeliness: มีการกำหนดเวลา

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ - งบประมาณ คือ แผนการปฎิบัติงาน + แผนการใช้จ่ายเงิน แผนการปฏิบัติงาน คือ แผนที่แสดงถึงความตั้งใจในการปฏิบัติในห้วงระยะเวลาหนึ่ง แผนการใช้จ่ายเงิน คือ แผนที่แสดงทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับทรัพยากร - งบประมาณแผ่นดินประเทศไทยสถิติ ไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP - ทรัพยากรทางการเงินมีจำกัด แต่ความต้องการไม่จำกัด จึงต้องจัดทำการบริหารงบประมาณ เชิงกลยุทธ์ - การจัดทำงบประมาณไม่มีสูตรสำเร็จ ถ้ามีข้อมูลเพียงพอจะช่วยตัดสินใจได้ดีขึ้น มีแค่การใช้การเจรจาต่อรองทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้ดีที่สุด - งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน = การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (เป้าหมาย) + แผนงาน+ แผนเงิน+ การควบคุมและการประเมินผล - การมีข้อมูลจริง มีจริยธรรม ปราศจากอคติ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงบประมาณ - ถ้าองค์กรสื่อสารกันไม่ชัดเจน แต่คิดว่าเข้าใจเพราะมีประสบการณ์ร่วมกัน อาจประสบผลเสียหายได้ - โลกเปลี่ยนตลอดเวลา แต่องค์กรยังทำงานแบบเดิมๆ งบประมาณไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมดเพราะมีจำกัด ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ให้ถามว่า ทำทำไม? เปลี่ยนได้ไหม? บางอย่างไม่เกิดประโยชน์ต้องเลิกทำ - ข้อพึงระลึกในการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 1) กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการเก็บ ต้องครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย 2) วัดผลการดำเนินงานแล้วต้องนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนงาน ถ้าไม่คิดนำไปใช้อย่าวัด เสียเวลา 3) ผู้บริหารต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับการประเมิน 4) การวัดผลการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาไม่ใช่จับผิด ไม่บรรลุก็หาสาเหตุและปรับปรุง 5) ผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายองค์กรและติดตามประเมินผลประจำ 6) ในการกำหนดตัวชี้วัด ควรระดมความคิดเพื่อกำหนดประเด็นที่ต้องการวัด และตัววัดเสียก่อน 7) อย่าเขียนตัววัดเพื่อชี้นำประเด็น 8) เขียนอธิบายสิ่งที่ต้องการวัดให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการตรวจสอบหากเกิดข้อสงสัย รวมทั้งสามารถพัฒนาตัวชี้วัดให้ดีขึ้นในอนาคต

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 7 : วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2 รุ่นที่2

 

          -การทำงานต้องคำนึงถึง

1) Efficiency : ประสิทธิภาพ สมรรถภาพ เลือกทำในสิ่งที่ถูก ( Do the right things ) ซึ่งมีมากกว่า 1 วิธี มากกว่า 1 กระบวนการ ในการไปถึงจุดหมาย ดังนั้นต้องเลือกทำให้ถูกวิธีด้วยเพราะถ้าเลือกทำผิดวิธี จะทำให้ประสิทธิภาพในงานนั้นลดลงด้วย

2) Effectiveness : ประสิทธิผล การสัมฤทธิ์ผล เป็นการเลือกทำถูกวิธี(Do the things right )

 

-                   Peter Drucker ให้หลักการ 5 ประการในการทำให้เกิด Effectiveness

1)            Time Management  : ต้องรู้จักบริหารเวลา

2)            Priority : รู้จักจัดลำดับความสำคัญของงาน อะไรทำก่อน อะไรทำหลัง

3)            Contribution: รู้จักแบ่งสัดส่วนการทำงานต่างๆคุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไป

4)            Strength: ให้ดูจุดแข็งในการทำงาน จุดอ่อนที่ไม่เกี่ยวกับงานไม่ต้องไปดู

5)            Problem solving: ตัดสินใจเป็นระบบ

 

-                   การเป็นผู้บริหารที่สร้างสรรค์ : ในธุรกิจที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ซึ่งอเมริกา

ครอบครองธุรกิจนี้ประมาณ 10% ของโลก

1)            การโฆษณาประชาสัมพันธ์: ประเทศภูฏาน , K-POP ของเกาหลี ให้บริษัทอเมริกาทำBranding ให้

2)            งานสถาปัตยกรรม

3)            งานศิลปกรรม

4)            สินค้าศิลปะพื้นบ้าน

5)            งานออกแบบ

6)            งานธุรกิจแฟชั่น

7)            งานภาพยนตร์

8)            งานดนตรี

9)            งานการแสดงละคร

10)     ธุรกิจการพิมพ์

11)     งานวิจัยและพัฒนา: เรา Copy&Development ก็ได้ไม่ต้อง Research&Development

12)     งานธุรกิจ Software

13)     ของเล่นและเครื่องกีฬา

14)     ทีวีและวิทยุ

15)     ธุรกิจวีดีโอเกมส์

          การเคหะฯ จะนำแนวคิดในธุรกิจเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของการเคหะได้อย่างไร เช่น

วารสารบ้านและเมือง จากทำแจก มาทำขายได้ไหม (ธุรกิจสิ่งพิมพ์)/งานหัตถกรรมของคนในเคหะชุมชน มาขายในงานต่างๆ ฯลฯ

 

-Creative Thinking:  โลกทุกวันนี้ผ่านยุค Modern ไปแล้ว  ที่เน้นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ยุคนี้เป็น Post Modern หรือยุคสหวิทยาการ คนต้องรอบรู้ข้ามศาสตร์ เช่น หมอมาเป็นนักธุรกิจ นักร้อง

( Multi Disciplinary)  การเคหะฯ เกี่ยวกับอาเซียนได้ไหม ,หมู่บ้านการเคหะฯเป็นหมู่บ้านWirelessVillage & EcoVillage, การเคหะฯ ทำโครงการที่อยู่อาศัยรองรับผู้สูงอายุในสังคมไทย (Aging  Society) ฯลฯ

-Competitive advantage : ขีดความสามารถของการเคหะฯ ยังมีอยู่หรือไม่ หา network พันธมิตรกับการเคหะฯ เช่น ที่การรถไฟ  ที่กรมธนารักษ์  ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลดต้นทุนค่าที่ดินสร้างความได้เปรียบการแข่งขันเอกชน การเคหะฯไม่ต้องใช้กฎหมายจัดสรรทำบ้านเดี่ยวน้อยกว่า 50 ตรว. ได้

-การเคหะฯ ต้อง Reset เพื่อ Reborn และ Reborn เพื่อ Rebrand

-ความรู้แต่ละสาขาต้องนำมา Integrate

-เดี๋ยวนี้ สินค้าไม่ใช่เรื่อง Function แต่เป็นเรื่อง Emotional รวมทั้งต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป ด้วย นักการตลาด นักพัฒนา กำลังคิดความเป็นตัวตนของผู้ใช้(Self) เข้าไปด้วย

 

………………………………………

 

 

 

 

             

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 8 : การบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Managemet )

โดย นพดล   ว่องเวียงจันทร์   รอง  ผอ. พส2 รุ่นที่2

 

         ทำไมต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  เหตุผลก็เพราะ โลกเราทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี่ ประชากร  สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมผู้บริโภค ฯลฯ

         “ Change  before you are Forced to change”  Jack Welch  (ประธานและ CEO ของบริษัท

General Electric ) กล่าวไว้

         เราต้องประเมินการเปลี่ยนแปลง และคาดเดา ให้ได้มากและแม่นยำกว่าคนอื่น จึงจะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการเรื่องความเสี่ยงด้วย

         การเคหะฯ จึงต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ก็เพราะมีแรงขับจากภายนอก ( External Force) ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจาก เศรษฐกิจ  สังคม การเมือง นโยบาย  ประชากร สิ่งแวดล้อม ลูกค้า ฯลฯ กับแรงผลักดันจากภายใน ( Internal Force ) ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจาก นโยบาย

เทคโนโลยี่ ในองค์กร โครงสร้างการบริหาร  การเงิน  หัวหน้างาน พนักงาน ฯลฯ

         สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1)            ต้องปรับทัศนคติ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก องค์กรมีความซับซ้อนการบริหารคนไม่เหมือนบริหารเครื่องจักร เพราะคนมีความคิด มีจิตใจ บางคนต่อต้านความเปลี่ยนแปลง

2)            ต้องเข้าใจว่าองค์กรในปัจจุบันขับเคลื่อนโดย Process มากกว่าโครงสร้าง เพราะว่างานทุกอย่างทำโดย Process  / การทำงานทุกอย่าง Process ต้องชัดเจน / Process จะเป็นตัวผลักดันองค์กร ประกันคุณภาพ ความถูกต้อง

3)            ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง First order of change กับ Second oder of change คือการเปลี่ยนแปลงใหญ่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อยๆตามมา

4)            ต้องคิดเชิงบูรณาการ คิดครบกระบวนการ ดูภาพใหญ่ขององค์กรเป็นหลัก ทั้งด้านนโยบาย

การทำงาน กลยุทธ์  งานใดสำคัญต่อองค์กรก็จะต้องทำด้วยความตั้งใจ

       5)  ต้องยอมรับการทำงานกับเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ เพียงแต่ เรา   

             มีแผนบริหารและรับมืออย่างไร

6)            ต้องยอมรับในมืออาชีพของหัวหน้า ทุกคนไม่ได้เก่งเสมอ แต่ต้องยอมรับและให้ความ 

ร่วมมือ จะได้บริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี

 

 

Sussess factor of Change Management

1)            อย่าหยุดพัฒนาปรับปรุงเพราะพอใจกับความสำเร็จในอดีต ต้องสร้าง sense of urgency

2)            ต้องได้รับการสนับสนุนจาก Stakeholder  เช่น จากกระทรวง รัฐมนตรี ผู้ว่า กคช ลูกค้า

ผู้รับเหมา พนักงาน ฯลฯ

3)            ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

4)            เวลาทำงานต้อง Quick win อะไรได้ผลประโยชน์ง่ายๆต้องเก็บเกี่ยวไว้ก่อน

5)            ต้องมีแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีการวางแผน  การตรวจวัด  การสื่อสารที่ดี

6)            ต้องคิดเสมอว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนี่งของการพัฒนาองค์กร

Ge’s Change Model : Change Acceleration Process

1)            สร้างความต้องการร่วม ( Creating A Shared Need)

2)            สร้างความฝันที่สัมผัสได้ ( Shaping A Vision )

3)            ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ( Mobilizing Commitment)

4)             สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน ( Making Change Last)

5)            ติดตามความก้าวหน้า (Monitoring Progress)

…………………………………..

Finance for Non Finance & Financial Perspective

        การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน (Financial Analysis) ความมุ่งหวังเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท โดยดูจาก

1)             Profitability ratio  ความสามารถในการทำกำไร

2)             Asset management   บริหารทรัพย์สินอย่างไร

3)             Dept ratio  ดูทรัพย์สินต่อหนี้

4)             Liquidity ratio  ดูสภาพคล่องของบริษัท ,คน

5)             Trend Analysis  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

การลงทุน (Investment) มี 2 แบบ

-                   ลงทุนโดยตรง : ได้ผลตอบแทนโดยตรงจากการดำเนินงานเอง เช่น เปิดกิจการทำธุรกิจต่างๆ

-                   ลงทุนทางอ้อม: ได้ผลตอบแทนจากการไปร่วมลงทุน เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล  ซื้อหุ้น

ผลตอบแทนการลงทุน : ดูได้ 2 แบบคือ

-                   คิดในรูปของตัวเงิน ข้อเสียคือเปรียบเทียบไม่ได้ระหว่างการลงทุนในแต่ละธุรกิจ เช่น กำไร 10 ล้านแต่ไม่ได้บอกว่าลงทุนเท่าไร คืนทุนกี่ปี

-                   คิดในรูปแบบร้อยละ จะเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างธุรกิจได้ชัดเจนกว่า โดยปรับฐานการลงทุนเป็นร้อยละ ลงทุนในระยะเวลา1 ปี ได้กำไรเท่าไร ในแต่ละธุรกิจ

 

การทำ Project Financing

-                   การหาแหล่งเงินและการจัดสรรเงิน จากภายในและภายนอกองค์กร

-                   พิจารณาการลงทุน  โครงการนี้คุ้มค่าหรือไม่ ( Project Feasibility)

     - Marketing  :  Demand&Supply/ ราคาขายเท่าไร

            - Production :  ลักษณะสินค้า / ต้นทุนการผลิต

            -Operation    : ผลิตอย่างไร / ขายอย่างไร

-     ผลตอบแทนการลงทุน  (Return on Investment ) :ผลตอบแทนรูปแบบไหน ทางสังคม

       หรือ ทางการเงิน  /ถ้าผลตอบแทนน้อยกว่าดอกเบี้ยที่กู้มา ก็ไม่ควรลงทุน

-                   ต้นทุนเงินทุน( Cost of capital or cost of  fund)

เครื่องมือตัดสินในการทำ Project Financing

-                   ดูจุดคุ้มทุน ( Break – Even ) :เช่น ขายเกินกว่านี้แล้วเป็นกำไร เช่นเอกชนขายเกินครึ่งแล้วกำไร

-                   ระยะเวลาคืนทุน : ใช้เวลาเท่าไรคืนทุน

-                   NPV ( Net Present Value ) : รายได้ในอนาคตมาคิดมูลค่าปัจจุบันถ้าเกินกว่ามูลค่าการลงทุนในปัจจุบันคือกำไร ดังนั้นถ้า NPV เป็นบวกคือกำไร NPV เป็นศูนย์แสดงว่าเท่าทุน

NPV เป็นลบแสดงว่า ขาดทุน

-                   IRR ( Internal Rate of ReTurn ): เป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่จุดเท่าทุน หาก

นำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินทุนแล้ว ถ้า IRR มากกว่าคือกำไร / IRR น้อยกว่าคือขาดทุน/ IRR เท่ากันคือเท่าทุน เช่น กู้มาลงทุนดอกเบี้ย 7% และ IRR เท่ากับ 7% ก็ไม่ควรลงทุนเพราะเท่าทุน ต้องดูว่ามีผลตอบแทนด้านอื่นอีกไหม

 

……………………………………..

 

 

 

 

       

วิจารณ์หนังสือ “ 8K’s+5K ” s : ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยทั้งในเรื่องของการค้า การบริการ การผลิต และอื่นๆ เมื่ออาเซียนได้มีแนวคิดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในปี 2558 ทำให้สมาชิกทั้ง10 ประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน จึงกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก 
ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนจึงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนดังกล่าวด้วย โดยการเตรียมพร้อมควรจะเริ่มต้นจาก “ มนุษย์ ” นั้นคือ ประชาชนในประเทศนั้นเอง ซึ่งอนาคตของประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรก็ย่อมขึ้นอยู่กับคนในประเทศว่ามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) โดยการนำแนวคิด/ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) และ ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ(5K’s New) มาเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
ทุนมนุษย์ทั้ง 13 ทุน จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของคนไทยในการรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน โดยแนวความคิดดังกล่าวนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรมไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างให้หน่วยงานและองค์กรมีภูมิต้านทานพร้อมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นหากหน่วยงานหรือองค์กรใดได้นำแนวคิด “ 8K’s+5K’s” ไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็เชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหรือองค์กร รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย

วิจารณ์หนังสือ “ ธรรมดีที่พ่อทำ ” โดยพรรณี วิชิต รุ่น 2

การออกแบบปก รูปภาพประทับใจ หากจ้องภาพนั้นนานๆ น้ำตาแห่งความปลื้มปิติ และความคิดถึงในองค์สมเด็จย่าของผู้อ่าน อาจรินไหลออกมาอย่างไม่รู้ตัว ดูภาพแล้วคิดอะไรต่อไปได้อีกเยอะ สำนึกอะไร ได้อีกมาก คิดถึงแม่ คิดถึงย่า คิดถึงยาย คิดถึงบุพการี ผู้สูงอายุที่เราเคารพนับถือ

รูปเล่ม  เหมาะมือ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป โดยเฉพาะการให้สีสันที่หวานเหลือเกิน ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าสีชมพูยังเป็นสีที่แสดงความเคารพและจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช          มีสีม่วงแซมบางส่วน เหมือนสีประจำสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง คือ “ชมพู-ม่วง ดวงใจ”

เนื้อหาภายในเล่ม ต้องติดตามอ่านแทบทุกตัวอักษร เพราะแต่ละข้อความหรือเหตุการณ์ที่ผู้เขียนนำมาเผยแพร่ต่อผู้อ่านนั้นล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของประชาชนคนเดินดินธรรมดาอย่างเราๆ เป็นอย่างมาก ยิ่งอ่านยิ่งรู้จักเบื้องลึก เบื้องหลัง ของพระองค์ท่านว่าท่านเป็นผู้เสียสละเพื่อพสกนิกรอย่างไร “ คนไทยโชคดีที่สุด ที่มีพระเจ้าอยู่หัว ” จะเป็นคำขวัญประจำประเทศไทย ก็อาจจะได้เพราะทุกคน จะมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน เสียดายที่หลายคนอาจไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ต้องขอบคุณ อารจารย์จิระ หงส์ลดารมณ์ ที่ทำให้ดิฉันมีโอกาสทองของชีวิตได้รับทราบพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างที่บางเรื่องไม่มีโอกาสได้รับทราบมาก่อน ยุทธศาสตร์ของพระองค์ คือ การเข้าใจ เข้าถึงราษฎรของท่านและพัฒนาคน พัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของผู้บริหารหน่วยงานได้ผู้นำจะต้องเรียนรู้ รับรู้ เข้าใจ เข้าถึง การทำงานของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ทุกบทความ ทุกคำพูด ที่หยิบยกมารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ ช่างลึกซึ้งกินใจ เกินกว่าที่จะอธิบายให้เข้าใจถึง “ แกน ” ของความรู้สึกของผู้อ่าน รูปภาพประกอบเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ตราตรึงอยู่ใน ความทรงจำของพสกนิกรทุกคน พระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่สุดของคุณงามความดีที่พสกนิกรควรยึดถือและปฏิบัติตาม ผู้เขียนพยายามเรียงร้อยภาษาให้อ่านแล้วสบายใจ เมื่อถึงจุดที่แทรกพระราชดำรัสต่างๆก็จะเน้นความสำคัญของถ้อยคำดังกล่าว แต่ละพระราชดำรัส ช่างกินใจและเฉียบคม จนต้องอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับความหมายของพระราชดำรัสนั้น

เนื้อหาและภาพประกอบ อาจดูไม่สมดุลเพราะภาพเยอะมาก แต่เป็นการพักสายตาทำให้เป็นการอ่านหนังสือที่สบายๆ การจัดหน้าหลวมๆ ทำให้ผู้อ่านไม่เครียด ประกอบกับสีภาพเย็นตา ยิ่งทำให้สนุกแบบได้อรรถรสและคุณธรรมสอนใจไปในคราวเดียวกัน

ข้อเสนอแนะ ท่านผู้เขียน เขียนเนื้อหาในเล่มนี้ต่อเนื่องกันไปในลักษณะที่ไม่ได้แบ่งหมวด หรือประเภทของพระราชกรณียกิจ ทำให้เหมือนอ่านแล้วสลับเรื่องสลับไปสลับมา หากท่านเรียบเรียง เป็นภาคหรือกำกับหัวเรื่องให้ชัดเจนขึ้น น่าจะสมบูรณ์แบบกว่านี้ เช่น แบ่งเป็นเรื่องการครองตน ครองคน ครองใจ ใส่ใจพสกนิกร เอื้ออาทรในสภาพความเป็นอยู่ เคียงคู่ประชาชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณอาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่ทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ถึงพระกรณียกิจอันล้ำเลิศของพระเจ้าอยู่หัวของเขา เพราะลูกหลานเหล่านี้ไม่ได้เห็นภาพแห่งความเป็นจริงเหมือนรุ่นพวกเรา


วิจารณ์หนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ”

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว โลกมีลักษณะไร้พรมแดน  ระบบเศรษฐกิจมีเสรีภาพมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันสูง ประเทศใดที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพย่อมได้เปรียบ อันเนื่องมาจากมนุษย์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประเทศ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาก็ด้วยความคิดและฝีมือของมนุษย์ มนุษย์จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ในทางกลับกันหากทรัพยากรมนุษย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอประเทศนั้นจะอ่อนแอและขาดความเข้มแข็งในที่สุด  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญโดยจะเป็นรากฐานในการสร้างความแข็งแรงให้กับประเทศ  
หนังสือทรัพยากรพันธุ์แท้ นี้เป็นหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ และยังให้แง่คิดทางด้านการบริหารของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงลักษณะความเป็นผู้นำควบคู่ไปกับหลักคุณธรรม โดยทุกคนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อันจะนำไปสู่การเกิดความสามัคคีขึ้นในองค์กร นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเน้นเรื่องการวัดผล ในการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สามารถทำงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ได้เป็นอย่างดี    
แนวคิดการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับหน่วยงานหรือองค์กร เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้นล้วนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กร หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า บุคลากรกลายเป็นเป็นตัวกำหนดทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การนั้นเอง การนำแนวทางการบริหารการจัดการดังกล่าวไปปฏิบัติก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานและองค์นั้นๆ อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติต่อไป

อรพิณ สุขทรงศิลป์ การเคหะแห่งชาติ (รุ่น2) สรุปหนังสือ : ธรรมดีที่พ่อทำ

     คนไทยโชคดีที่มี Idol ที่ยอดเยี่ยม คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมี Idol แล้วเราต้อง 

I do ด้วยเพราะทุกคนต้องมีหน้าที่

หน้าที่ของคนไทยคือทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยหัวใจสีขาวของพวกเราทุกคน และการทำหน้าที่ของเราอย่างสุดกำลังความสามารถนี่แหละน่าจะเป็นสิ่งที่เราสามารถตอบแทนพระคุณพระเจ้าอยู่หัวได้ด้วยตัวเราเอง

เคล็ดลับในการทำงานที่พระองค์ทรงแนะนำคือ อิทธิบาท 4 ได้แก่

   -ฉันทะ  หมายถึง การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ
  - วิริยะ หมายถึง ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน
  - จิตตะ หมายถึง ความจดจ่อใส่ใจในงาน 
  - วิมังสา หมายถึง คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ / ตรวจสอบ

หลัก ๒๓ ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว

     ข้อที่ ๑ จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 
    ข้อที่ ๒ ระเบิดจากภายใน 
    ข้อที่ ๓ แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 
    ข้อที่ ๔ ทำตามลำดับขั้น 
    ข้อที่ ๕ ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 
    ข้อที่ ๖ ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง 
    ข้อที่ ๗ ไม่ติดตำรา 
    ข้อที่ ๘ ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 
    ข้อที่ ๙ ทำให้ง่าย 
    ข้อที่ ๑๐ การมีส่วนร่วม 
    ข้อที่ ๑๑ ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 
    ข้อที่ ๑๒ บริการจุดเดียว 
    ข้อที่ ๑๓ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 
   ข้อที่ ๑๔ ใช้อธรรมปราบอธรรม 
   ข้อที่ ๑๕ ปลูกป่าในใจคน
   ข้อที่ ๑๖ ขาดทุนคือกำไร 
   ข้อที่ ๑๗ การพึ่งตนเอง 
   ข้อที่ ๑๘ พออยู่พอกิน 
   ข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง 
   ข้อที่ ๒๐ ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 
   ข้อที่ ๒๑ ทำงานอย่างมีความสุข 
   ข้อที่ ๒๒ ความเพียร 
   ข้อที่ ๒๓ รู้ รัก สามัคคี
  • ทำด้วยใจ หมายถึง ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ ไมใช่ทำตามอำเภอใจ
  • เรียนรู้ผ่านหัวใจไม่ใช่สมอง
  • รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ -ผู้ใดมีสติตลอดเวลา ผู้นั้นจะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา
  • หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ
  • ความเลวร้ายของคนเราก็ คือ การชอบที่จะพูดถึงแต่ความผิดพลาดของคนอื่น ความโง่เขลาของคนเราก็ คือ การไม่ชอบที่จะฟังถึงความผิดพลาดของตนเอง
  • อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

-เป้าหมายสำคัญของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือการพัฒนาและฝึกฝนตนให้ผ่านบททดสอบครั้งสำคัญในเส้นทางเดินแห่งสังสารวัฏ บุคคลใดที่สอบผ่านก็ไม่ต้องกลับมาซ้ำอีก แต่หากใครสอบไม่ผ่านก็จะเจอบททดสอบเดิมซ้ำอยู่ร่ำไป

  • ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ความรักที่ภักดี ยิ่งกว่าชีวิตตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน • มนุษย์นั้นอยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม • การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่
       1. ร่างกาย 
       2. ความรู้สึก 
       3. สติปัญญา
       4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก
    

    -ชีวิตนั้นเกินกว่าจะเป็นทุกข์ และมัวคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง

  • คุณสมบัติของ “กัลยาณมิตร” ผู้เป็นมิตรแท้และผู้นำทางปัญญามี ๗ ประการ ได้แก่ น่ารัก /น่าเคารพ/น่ายกย่อง/มีวาทศิลป์/มีความอดทนต่อถ้อยคำ/ทำเรื่องยากให้ง่าย/ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร” -เป็นคนสำคัญนั้นดี แต่เป็นคนดีสำคัญกว่า -ไม่มีสิ่งใดเที่ยงธรรมไปกว่าผลของกรรม จึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปทำหน้าที่แทรกแซง เพราะไม่ว่าจะเก่งเพียงใด ก็ไม่มีใครเก่งเกินกรรมที่ตนทำไว้ • คนดีทำให้คนอื่นดีได้ • มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง • “ความดี” ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ที่ศีลห้า • เกิดเป็นมนุษย์ควรแข่งกันสูง ไม่ใช่แข่งกันต่ำ • “ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” “ธรรมดี” ที่พ่อทำและควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้แก่/ ความกตัญญู / ความอ่อนน้อมถ่อมตน / ความพอเพียง (พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ) / ความซื่อสัตย์ / ระเบียบวินัย/ ความอดทน ทำความดี หลักปฏิบัติ จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี ตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตัวเอง รักษาความดี สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงปรารถนาคือ
    • อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องทำ
    • มีความรักความเมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และให้มีความสมัครสมานสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกภาพ ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวมี ๒ ประการ คือ ธรรมชาติ และ ธรรมดา

สรุป หนังสือเล่มนี้สอนหลักการดำเนินชีวิต และหลักการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมโดยเดินตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น Idol

อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

       หนังสือเล่มนี้ได้พยายามชี้ให้เห็นความมุ่งมั่นของบุคคล 2 ท่านผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้แก่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ โดยนำประสบการณ์ของท่านทั้งสอง มาเผยแผ่ให้ชนรุ่นหลังได้นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด สมกับที่ท่านทั้งสองได้ทุ่มเท มุ่งมั่นมาตลอดชีวิตที่ผ่านมา
เบื้องหลังแนวความคิดในเรื่องนี้ คือ “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ความสำเร็จ  ต่าง ๆขององค์กร มาจากการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขณะเดียวกันบุคลากรต้องเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม รักและผูกพันต่อองค์กร ทุ่มเทให้องค์กรด้วยใจ เมื่อองค์กรและบุคลากรประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีจุดหมายร่วมกัน ความสำเร็จขององค์กรก็เป็นที่หวังได้ไม่ยาก
ประสบการณ์ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร             ในบ.ปูนซีเมนต์ เช่น 
  • พนักงานระดับหัวหน้าจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องเข้าพบได้ง่าย รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน
  • การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน (Investment) ไม่ใช่ต้นทุน (cost)
  • คนที่จะพาองค์กรประสบความสำเร็จได้ต้องทั้งเก่ง ทั้งดี เรียกว่า “เก่ง4- ดี4 ” -เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน -ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
    -   นอกจากการให้ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรแล้ว ยังพัฒนาไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจด้วย
    -   ปลูกฝังให้คนทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้บุคลากรใฝ่รู้ตลอดเวลา
    
    • ให้กำลังใจคนที่ทำดี แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่อเป็นตัวอย่างและกระตุ้นให้ทำดีต่อไป -ทำอะไรต้องทำจริง ต่อเนื่อง มองผลระยะยาว

      ประสบการณ์ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เช่น

  • ทุ่มเทกับการสร้างสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายใน เมืองไทยในขณะนั้น ท่านต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ต้องใช้ทั้งความสามารถ ความมุ่งมั่น เพื่อฝ่าฟัน อุปสรรคต่าง ๆ กว่าจะประสบความสำเร็จได้
  • ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าจะคิดถึงเรื่องทุน จะเน้นคิด งานก่อนแล้วหาเงินทีหลัง ไม่ใช่มีเงินแล้วทำ
  • ทฤษฎี 3 วงกลม ของ ดร.จีระ วงกลมที่ 1 Context –บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ วงกลมที่ 2 Competency – สมรรถนะของบุคลากรในองค์กร
    วงกลมที่ 3 Motivation – แรงจูงใจ
  • การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดจากการศึกษาอบรมอย่างเดียวไม่ได้ต้องดูด้วยว่าบุคคลเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างผลผลิตได้แต่ไหน
  • เน้นให้ทุกคนรักการอ่าน และต้องวิเคราะห์ให้เป็น เรียนรู้ตลอดชีวิต และต้องเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ด้วย
  • ทฤษฎีสำคัญของ ดร.จีระ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้แก่
    -ทฤษฎี 4L’s-Learning Method, Learning Environment, Learning Opportunity และ Learning Communities
                   -ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s     
    ดร.จีระ ท่านเห็นความสำคัญและมุ่งมั่นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาก ผลงานต่างๆ ของท่านมีมากมาย จนกลายเป็น Brand ของท่าน หรืออาจจะเรียกได้ว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือจีระ”  หรือ “จีระคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” 
    สรุปหนังสือเล่มนี้สอนให้เรารู้ว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีค่ายิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร   แต่การพัฒนาต้องเน้นทั้งด้านความรู้และคุณธรรม เพื่อให้ทั้งองค์กรและบุคลากรก้าวหน้าไปพร้อมๆกันอย่างมีความสุข
    

อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) สรุปหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้พยายามแสดงให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ที่มีต่อการบรรลุเป้าหมาย และความยั่งยืนขององค์กร โดยผ่านทฤษฎี8 K’s + 5 K’s ดังนี้
     ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
        K1 : Human Capital  (ทุนมนุษย์)  ได้มาจากการศึกษา โภชนาการ และการอบรมเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
        K2 : Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) ได้แก่ความสามารถในการมองยุทธศาสตร์การมองอนาคต การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา)
        K3 : Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) คือการยึดมั่นอยู่ในความถูกต้องและศีลธรรมอันดีงาม
         K4 : Happiness Capital (ทุนทางความสุข) คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ 
        K5 : Social Capital (ทุนทางสังคม) คือ มีเครือข่ายกว้างขวาง โดยการหาข้อมูลข่าวสาร และการเจรจาต่อรอง 
        K6 : Sustainable Capital ( ทุนทางความยั่งยืน) ได้แก่ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน
        K7 : Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ)  คือความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ
        K8 : Talented Capital (ทุนอัจฉริยะ)  คือการมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดี โดยพัฒนาได้ตามทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation
เพื่อให้พัฒนาคนไทยสามารถแข่งขันได้ทุกเวที โดยเฉพาะเวทีเสรีอาเซี่ยน ผู้เขียนได้เสนอทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากทฤษฎี8 K’s เรียกว่าทฤษฎีทุนใหม่5 K’s
     ทฤษฏี 5 K’s (ใหม่)   ประกอบด้วย
  1. Creativity Capital : ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ทำได้โดย การเรียนรู้ มีสมาธิ คิดสร้างสรรอย่างป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ)

    2.  Knowledge Capital   :  ทุนทางความรู้
                  เป็นทฤษฎีมูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้ 
    
  2. Innovation Capital : ทุนทางนวัตกรรม

          คือ มีความคิดใหม่ ๆ ผสมผสานความรู้ให้นำไปปฏิบัติได้จริง และประสบผลสำเร็จ
    
  3. Cultural Capital : ทุนทางวัฒนธรรม

    คือมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม
    
    1. Emotional Capital : ทุนทางอารมณ์ คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง และการติดต่อสัมพันธ์ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเน้นให้คนไทยปรับตัว ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ฝึกภาษา สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยด้วย พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสร้างความพร้อมที่จะก้าวไปกับประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม

    สรุปได้ว่าทุนมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง มีความสำคัญอย่างมากต่อการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย พัฒนาองค์กรให้ก้าวไกลอันนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรในที่สุด


อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) บทความทางวิชาการ 5 หน้าเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

                                          &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
                                                            มหัศจรรย์ทุนมนุษย์
         ในการประกอบกิจการใดๆ ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือเพื่อสังคมก็ตาม  จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการลงทุนก่อนทั้งสิ้น ซึ่งทุนที่ลงไปนั้นมีทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน โดยแบ่งทุนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  กำลังคน(Man Power)  กำลังเงิน(Money)  วัสดุอุปกรณ์( Material) และเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ (Machine)
     ในสมัยก่อนถึงแม้ค่าแรงในประเทศไทยจะต่ำกว่าอีกหลาย ๆประเทศ แต่เจ้าของกิจการก็พยายามจะใช้เครื่องจักร แทน คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมองว่าการดูแลคนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการบำรุงรักษาเครื่องจักร ในขณะที่ผลงานของคนก็ไม่แน่นอนเหมือนเครื่องจักร  นอกจากนี้คนอาจก่อปัญหามากมาย เช่นการนัดหยุดงานเพื่อขอเพิ่มค่าแรง หรือ สวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการคงลืมไปว่ามิใช่คนดอกหรือ ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร และมิใช่คนดอกหรือที่คอยซ่อมแซมเครื่องจักรเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุด หรือ ขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ 
    ต่อมาในระยะหลังหลายกิจการหันมาให้ความสำคัญกับกำลังคนมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากจำนวนเงินที่จ่ายลงทุนไปเพื่อพัฒนาคนว่ามีจำนวนมากขึ้น เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น เพราะเริ่มตระหนักแล้วว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย  การลงทุนในบุคลากรนอกจากจะได้รับประโยชน์จากคนโดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้คือเป็นการเสริมให้ปัจจัยการผลิตอื่นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ในเมื่อบุคลากรมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรมาก

ถึงเพียงนี้ ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้นำองค์กรใช้ในการผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้

       ปัจจัยที่จะทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้แก่
       1.ต้องใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับองค์กรได้
     ปัจจุบันมีแหล่งความรู้มากมายที่บุคลากรจะเข้าถึงได้ไม่ยาก แต่บุคลากรส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ทั้งๆที่ความรู้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำมาซึ่งความเจริญทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่าง ๆมากมาย ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรของเคหะแห่งชาติเห็นความสำคัญและสนุกกับการไขว่คว้าหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงควรสร้างแรงจูงใจ เช่น 
      - กำหนดว่าพนักงานคนใดก็ตามถ้าไปศึกษาหรือเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมในเรื่องใดก็ตามให้นำหลักฐานมาแจ้งกับหัวหน้างาน เพื่อจะได้แต้มประกอบการพิจารณาความดี ความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
  - ถ้าสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา /อบรมเพิ่มเติม มาปรับใช้กับงานได้จะได้รับแต้มพิเศษอีกชั้นหนึ่ง
  - จัดให้มีพื้นที่สำหรับพนักงานได้แสดงความคิดเห็น หรือนำความรู้ที่ได้มาจากที่ใดก็ตามโดยไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ทางวิชาการเท่านั้นมาแบ่งปันเพื่อนร่วมงาน  เช่น จัดบอร์ดประจำแต่ละหน่วยงาน หรือมีมุมกาแฟ เป็นต้น

2.สามารถทำงานเป็นทีมได้

  การทำงานในองค์กรใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานเป็นทีม โดยอาจจะมีทั้งทีมใหญ่ หรือ ทีมเล็กก็ได้ ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในงานที่ทำแล้ว ยังต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional Quetient : EQ) ด้วย เนื่องจากจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆจากเพื่อนร่วมทีมซึ่งแต่ละคนมาจากพื้นฐานทางการศึกษา พื้นฐานทางครอบครัว หรือ มีทัศนคติแตกต่างกัน แต่ถ้าทุกคนในทีมมี EQ เพียงพอ ก็จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ(sense of belonging) ร่วมกัน และมีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกัน
     การสร้างความเป็นทีม ทำได้โดยการศึกษาอบรมให้เห็นความสำคัญ และคุณประโยชน์และความจำเป็นของการทำงานเป็นทีม มีน้ำใจคิดถึงผู้อื่น เอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งเทคนิคของการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
  1. มีความสุขในการทำงาน
       ในวันหนึ่งๆ พนักงานการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน ใช้ชีวิตอยู่ในที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้าน และในบางครั้งหากมีงานด่วนอาจต้องมีการนำงานไปทำต่อที่บ้านอีก ถ้าไม่มีความสุขในการทำงานแล้ว พนักงานคนนั้นจะต้องทุกข์และเครียดมาก แต่ถ้าเขา/เธอปรับใจให้มีความสุขในการทำงานแล้วปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดน้อยหรือหมดไปทันที 
    
    การทำให้มีความสุขในการทำงาน ทำได้โดย
     1. Happy Body (มีสุขภาพดี)  – รู้จักดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ รู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุข (สมองที่สดใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง)  
     2. Happy Money (ใช้เงินเป็น)-สามารถจัดการรายรับ-รายจ่ายของตัวเองได้ รู้จักเก็บ รู้จักใช้ มีชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเอง
     3. Happy Family (มีครอบครัวที่ดี) โดยการให้ความสำคัญกับครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นมั่นคง เกิดเป็นกำลังใจที่ดีในการทำงานเหมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้เผชิญกับอนาคตหรืออุปสรรคในชีวิตได้
    
    1. Happy Relax (การผ่อนคลาย) ต้องรู้จักผ่อนคลายสิ่งต่าง ๆในการดำเนินชีวิต เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกกดดันมากเกินไป หากทำงานเครียดก็ต้องมีวิธีผ่อนคลายในการทำงาน หรือแม้แต่ชีวิตส่วนตัวก็ด้วย ต้องรู้จักผ่อนคลายให้เหมาะสม
       5. Happy Work (พอใจในงาน) เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และภูมิใจที่ได้รับผิดชอบงานชิ้นนี้ 
      

      เมื่อปรับกาย ปรับใจ และปรับความคิดได้เช่นนี้แล้ว ความสุขในการทำงานย่อมเกิดขึ้นแน่นอน และถ้ามีความสุขในการทำงานผลงานที่ออกมาก็จะมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4.มีความรัก ความผูกพันกับองค์กร

         ความรักความผูกพันองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและองค์กรให้แน่นแฟ้นมากขึ้น การมีความรัก ความผูกพันในองค์กรทำให้บุคลากรรู้สึกหวงแหน คอยปกป้ององค์กรจากภัยทั้งปวง รวมทั้งพร้อมจะทุ่มเทพละกำลังในการสร้างสิ่งดีๆ ให้องค์กรอย่างเต็มที่
         การสร้างความรักความผูกพันกับองค์กร ทำได้โดย
                 -ทำให้รู้สึกว่าเขามีความสำคัญต่อองค์กร    และ
                - ทำให้รู้สึกว่าองค์กรไม่ทอดทิ้งเขาในยามวิกฤต
  1. เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม
                เป็นที่แน่นอนว่าความเก่งเพียงลำพังไม่อาจทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ ในทางตรงกันข้ามคนที่เก่งอาจจะใช้ความเก่งในทางที่ผิด ซึ่งอาจจะเกิดผลเสียต่อองค์กรได้มากกว่าคนไม่เก่ง แต่อย่างไรก็ตามองค์กรก็ต้องการคนเก่งมากกว่าคนที่ไม่เก่ง แต่ต้องเป็นคนเก่งที่มีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่ไปด้วย 
        การเคหะแห่งชาติได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดวัฒนธรรมองค์กรมาให้ทุกคนในองค์กรทราบและถือปฏิบัติร่วมกัน และจัดให้มีการอบรมเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเป็นระยะ ๆ พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษสำหรับคนที่ประพฤติไม่ดีเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเยี่ยงอย่าง
    
       จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญและทุ่มเทกับทุนมนุษย์จะได้รับผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่า ทุนมนุษย์ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างน่าอัศจรรย์ ถึงเวลาแล้วที่การเคหะจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
    
                                                &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
    
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้เป็นเรื่องราวของสองแชมป์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นนักคิดและนักปฏิบัติว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้เล่าผ่านตัวหนังสือที่อ่านสนุก เข้าใจง่าย และน่าติดตาม  ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในหลายแง่มุม  ได้ข้อคิดของการเป็นผู้นำที่ดีต้องทำอย่างไรจึงจะได้ใจลูกน้อง  เราต้องให้ใจเขาก่อน  ทำอย่างไรทุกคนจะมีใจเป็นหนึ่งเดียวเช่นที่เครือซิเมนต์ไทย ทุกคนเรียกตัวเองว่าเป็น “คนปูน” ฟังดูยิ่งใหญ่ และน่าภาคภูมิใจจริง ๆ และจากคำกล่าวที่ว่าคนที่สามารถนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จจะต้องประกอบด้วย
             1. 4 เก่ง และ 4 ดี และต้องมีการประเมิน คือ
                 4 เก่ง  -  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด เก่งเขียน  ประเมินด้วย Capability เสริมสร้างด้วยการฝึกอบรม การเรียน 
                 4 ดี    -  ประพฤฒิดี  มีน้ำใจ  ใฝ่รู้  คู่คุณธรรม  ประเมินด้วย Acceptability ส่วนนี้ต้องเป็นการปลูกฝัง และสร้างเอง
             2.  มีความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน เพราะคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร ต้องพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนนี้ช่วยเสริมในเรื่องของ 4 ดี
 3. การดูแลทุกข์สุขของคนใกล้ชิด เป็น Holistic concern โดยมีความเชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียว แต่ต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

การบริหารพัฒนากรทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อที่จะได้คนเก่งคนดีที่มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อุทิศตน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้ (Productivity Improvement) รู้จักรับฟังผู้อื่น (Listening Skill) ประการสำคัญคือต้องมีความจงรักภักดีต่อองค์กร และเมื่อเป็นผู้บริหารควรมีคุณสมบัติต้องเป็นที่ยอมรับ (Performance Acceptability) มีความสามารถในการทำงาน (Capability และมีศักยภาพในการเติบโตในวิชาชีพ (Potential Career Path โดยอาจารย์จีระได้มี 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อ “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์” คือ

         1. ทฤษฎี HR Architecture เป็นการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
         2. ทฤษฎี 3 วงกลม ประกอบด้วย 1. Context เน้นที่สภาพแวดล้อมขององค์กรในการทำงาน   2. Competencies เป็นทฤษฏีว่าด้วยการเพิ่มศักยภาพของคน และ 3. Motivation เป็นการสร้างแรงจูงใจโดยใช้หลัก PM-Performance
         3. ทฤษฏี 8K’s  ว่าด้วยองค์ประกอบของทรัพยากรมนุษย์ 
         4. ทฤษฏี 5K’s ทุนสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์
         5. ทฤษฏี 4L’s เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้
         6. ทฤษฏี 2F’s  เพื่อการมองวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้
         7. ทฤษฏี 2I’s  เพื่อการเรียนรู้และการสร้างพลัง
         8. ทฤษฏี C&E  เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่
         9. ทฤษฏี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการทำงานอย่างมีความสุข
       10.  ทฤษฏี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่
      ซึ่งอีกไม่นานที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “AEC” ทุกภาคส่วนจึงต้องมีความพร้อมในเรื่องของคนเป็นลำดับแรก โดยคนเหล่านั้นต้องใฝ่รู้ และเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่อย่างมีคุณค่าตลอดไป

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้กรุณาสอน อบรม ทั้งให้ความรู้ ทั้งสอนให้คิด และเป็นแรงบันดาลใจ ให้พวกเราชาว NHA ที่จะต่อสู้และพันฝ่า เพื่อให้ NHA เป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) โดย รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ AEC ชัดเจนมากกว่าที่ได้รับรู้มาจากท่านอื่น ๆ หรือที่อื่นๆ ได้รู้ประเภทบริการที่ไทยขึ้นชื่อ ได้รู้ว่าอาชีพอะไรในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ได้รู้ข้อเท็จจริงว่าอันที่จริงแล้ว ไทยได้เข้าสู่ AEC มานานแล้วจากการทำข้อตกลงต่าง ๆ ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เป็น the Fifth Discipline (ของ Peter Senge) ไม่ใช่ Five Disciplines ประการสำคัญ ได้เรียนรู้หลักการบริหารที่ดีว่าต้องมองอย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบของ “ระบบ” และการอยู่รอดของระบบ ต้องมองครั้งเดียวเห็นทั้งโลกคือ มองแบบองค์รวม ต้องค้นให้พบตัวเอง ต้องปรับ mindset ไม่ถาม What ? แต่ถาม Why? How? ทุกอย่างในโลกนี้เป็น process ประการสำคัญ ต้องเห็นความเหมือนในความต่าง ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดอีกว่า ต้องเห็นความต่างในความเหมือนอีกด้วย ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายโดยคุณอรุณี พูลแก้ว ผศฬดรใพงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และ ดร.โสภณ พรโชคชัย ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้หันกลับมามองการเคหะ ฯ ในเรื่องของโอกาสและความท้าทายที่รออยู่เมื่อมีการเปิดเสรีอาเซียนแล้ว โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริบทขององค์กรเองหรือแนวโน้มของโลก และต้องมองในเชิงแข่งขันเปรียบเทียบด้วย ประการสำคัญต้องมองในเชิง Supply Chain

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของการประมินรัฐวิสาหกิจว่ามาจากความเห็นของธนาคารโลกที่เห็นว่า กระทรวงการคลังควรปรับบทบาทในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจากเดิมควบคุมอำนาจ เป็นกำกับดูแลผลงานของรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร เช่น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ดี ความสามารถในการส่งมอบผลงานให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคโนโลยีสารสนเทศ การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และธรรมาภิบาล โดยการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือของการบริหารความเสี่ยง ต้องหา Strategic Objective ขององค์กรให้พบ แล้วจึงหาความเสี่ยงที่จะทำไม่ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แล้วจัดการควบคุมไม่ให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวในลักษณะ Cascade หรือ Drive down โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสี่ยงตามที่อาจารย์ได้พูดถึง 3 ข้อ 1. High Risk, High Return 2. No Risk Free World เพราะไม่มีทางทำให้ Risk หมดไปได้ 3. Play Safe ไม่เสี่ยงเลยดีกว่า ปลอดภัยที่สุดซึ่งมีข้อเสียคือ จะไม่เกิดนวัตกรรม ตรงมาก ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเลือกปฏิบัติตามข้อ 3 เนื่องจากปลอดภัยที่สุด แต่ต่อจากนี้ไป จะยอมเสียเวลาพิจารณาให้ดีก่อน จะได้ไม่เสียโอกาสที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน นับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่ทำให้ได้คิดและคิดได้ ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายหัวข้อ การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร น.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ ได้ข้ดคิดที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น แนวทางการจัดการเกี่ยวกับการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ ไม่ประมาท ซึ่งอาจารย์ได้ยกกรณีศึกษาของนักมวยชื่อดัง “บัวขาว” ซึ่งตัดสินใจเลิกชกมวยแต่หันไปทำอย่างอื่นที่มีรายได้มากกว่า ง่ายกว่า ให้ศึกษาแบบอย่างที่ดี ต้องมี Plan, Do, Check, Act และต้องมีการกระจายความเสี่ยง นอกจากนั้น การบริหารงบประมาณต้องประหยัด พอดี และต้องมีข้อมูลจริงและมีเพียงพอ ปไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป รวมทั้งต้องมีจริยธรรมและให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานและในชีวิตจริงได้ สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้เรียนรู้ถึงประเภทและองค์ประกอบของผู้นำ ได้เห็นตัวอย่างของผู้นำหลายๆ แบบในโลกซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง รวมทั้งได้ทราบองค์ประกอบของผู้นำที่ดีว่าควรมีลักษณะอย่างไร ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง (1) โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้ข้อคิดว่า ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลก เตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ การรู้เฉพาะด้านหรือรู้ด้านเดียวจะไม่ช่วยให้ประสบความสำเร็จอีกต่อไป ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ ต้องเลือกผู้นำให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ปัญหาที่การเคหะฯ กำลังประสบอยู่ปัจจุบันคือจะขาดช่วงเรื่องบุคลากรในหลายๆ ระดับ ทั้งๆ ที่รู้ปัญหามาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีการใส่ใจจริงจังจากทั้งหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรงและหน่วยที่ได้รับผลกระทบ สั้น ๆ สอบตกเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานนั้น คงไม่ง่าย เพราะมีตัวแปรมากมาย แต่จากการอบรมวันนี้ ทำให้ได้คิดว่า ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียที ต้องให้ความใส่ใจกับการนำองค์กรและเรียนรู้ภาวะผู้นำ รวมทั้งจะต้องพยายามบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้เรียนรู้ว่า “ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์” ควรเป็น Generalist ไม่ใช่ Specialist และควรใส่ใจกับความเป็นมาและความเป็นไป ทุกข์สุขของผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชา รวมทั้งควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประการสำคัญ ทำให้ได้ข้อเตือนใจว่า ความสำเร็จขององค์กรไม่ใช่แค่กำไร แต่ต้องเป็นความสุข ความภาคภูมิใจของบุคลากรด้วย นอกจากนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ว่า การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้องเริ่มจาก Where are we? Where do we want to go? How to go there? How to go there successfully? พร้อมวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ต้องเป็นแบบ realistic และเป็นสากล ประการสำคัญ ควรเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) จากนั้นจึงเป็นการกำหนดพันธกิจเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์โดยการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในภายนอก รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องมี Core Value เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศโดย Core Value นั้นจะต้องประกอบด้วยความแม่นยำ สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่มและมีความสุขในการทำงาน ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อวิชา การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี และวิทยากรอีก 2 ท่าน ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล ทำให้ได้ข้อคิดว่า การทำงานในยุคหน้าต่อไปนี้ จะต้องดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์ จะต้อง Positioning ตัวเองให้เป็น ถามตัวเองว่ากำลังจะทำอะไร เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องหรือเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น จะต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอและมุ่งพัฒนาเพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ เมื่อโลกภายนอกเปลี่ยน ให้ตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะเกิดอะไรขึ้น เราจะอยู่ได้หรือไม่และถ้าจะต้องเปลี่ยน จะเปลี่ยนอย่างไร ประการสำคัญ การทำงานในยุคหน้านอกจากจะต้องมีกลยุทธ์แล้ว จะต้องมี creative thinking ด้วยเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการเคหะแห่งชาติจะต้องสร้าง brand ของตนเองให้ได้เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าของตน และการเคหะฯ ควรจะพัฒนาอย่างไรให้สินค้าของตนแม้จะมีราคาถูกแต่ก็มีคุณภาพดีด้วย ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปัญหาและแนวโน้มสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ปัญหาอุทกภัย, การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ, AEC เพื่อวางแผนรองรับในเชิงกลยุทธ์

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 27 มิถุนายน 2555 (ทั้งเช้าและบ่าย) หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ (ด้านการตลาด / การเงิน / วัฒนธรรมองค์การ/ การผลิต) โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ดำเนินการอภิปรายโดย คุณสุภวัส วรมาลี ทำให้ได้รู้ทัศนคติและมุมมองของวิทยากรและภายนอกว่า มีทัศนคติต่อการเคหะแห่งชาติอย่างไร นับว่าเป็นวันที่มีคุณค่าอย่างมากเพราะเปรียบเสมือนท่านเป็นกระจกสะท้อนภาพการเคหะฯ ออกมาให้ชาวเคหะ ฯ ได้เห็น ทั้งนี้ จะต้องหาตัวตนขององค์กรให้พบ ค้นหาตนเองว่ามีมีความเชี่ยวชาญ ความถนัด มี Know how หรือเก่งในเรื่องอะไร สิ่งใด และพยายามค้นหาหรือพัฒนาสินค้าที่เมื่อนำเสนอให้ลูกค้าเห็นแล้ว จะเกิดความอยาก (อยากรู้ อยากได้) รวมทั้งวิเคราะห์ความอยากของคน ณ ขณะนั้น พร้อมทั้งหาปัจจัยสนับสนุน เช่น ช่วงเศรษฐกิจดี ประชาชนมีรายได้สูง นิยมบ้านพักตากอากาศในเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้ ต้องค้นหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ และวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ดูกลุ่มลูกค้า ความสามารถทางการเงินเทียบกับราคาสินค้า ทั้งหมดนี้ ช่างไม่ง่ายเลย แต่ทำให้ได้แนวคิดไปปรับใช้ในการสำรวจและจัดทำข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 (ทั้งเช้าและบ่าย) หัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ ทำให้เข้าใจเรื่องทุนมนุษย์มากฃึ้นว่า มนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่าเสื่อม และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการส่งเสริมสนับสนุน ให้การเรียนรู้ ศึกษา อบรม สัมมนา ดูงาน โดยสรุป “มนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร” และการพัฒนามนุษย์ไม่ใช่ “ต้นทุน” แต่เป็น “การลงทุน” กลยุทธ์ จะมีจุดเริ่มต้นที่ดีและบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้สำเร็จ จะต้องดึงขีดความสามารถออกมาให้ได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นของทุนมนุษย์อีก เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีประสบการณ์ที่สั่งสมในตัวเอง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจผูกพันรักองค์กร ถ่ายทอดพลังจิตใจและสติปัญญาเพื่อความสำเร็จขององค์กร ช่วงสุดท้ายคือการทำ Workshop โดยใช้ Mind Map ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางความคิด ได้ลองนำไปใช้กับการทำงานแล้วหลายเรื่อง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำบทวิดีทัศน์ มีประโยชน์มาก สุชาดา ศิโรรังษี

(สำหรับการบ้าน วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ส่งมาก่อนหน้านี้นานแล้วค่ะ)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ
กาอบรมในวันนี้ทำให้ได้แง่คิดและแนวทางปฏิบัติมากมาย อาจารย์ได้นำแนวคิดและวิธีปฏิบัติของ Jack Welch (CEO GE) มาเล่าให้ฟัง ประโยคแรกเลย “ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ต้องใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” ต่อมา ธุรกิจเป็นเรื่องของ “คน” เพราะฉนั้น การให้เวลาเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ส่วนระบบวัดผลนั้นต้องเริ่มที่การตั้เป้าหมายและ Coaching ลูกน้องเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย ประการสำตัญ ต้องเปลี่ยนเองก่อนที่สถานการณ์จะบังคับให้เปลี่ยน (ก่อนที่จะสายเกินไป) ทั้งนี้ ต้องสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงได้ คือคิดได้มากกว่า แม่นกว่าคนอื่น สำหรับปัจจัยภายในนั้น ผู้นำต้องจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ให้ได้ สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจว่า -ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ได้ว่า องค์กรมีความซับซ้อนเพราะว่าบริหารคนซึ่งมีความซับซ้อนในความคิด ไม่ใช่เครื่องจักร -องค์กรขับเคลื่อนโดย Process มากกว่าโครงสร้าง -การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ -ต้องยอมรับว่า ในชีวิตการทำงานจะมีหลาย ๆ เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับและแก้ไข ประการสำคัญ ถ้าจะเปลี่ยนอะไร ต้องปรับ Mindset ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมี “ผู้นำ” ผู้นำที่ดีต้อง Shape Vision ให้ได้ สำคัญที่สุด ในช่วง transition เมื่อเปลี่ยนแล้ว จะทำให้ยั่งยืนต้องเปลี่ยนโครงสร้าง ระบบจึงจะยั่งยืน การเรียนรู้ในวันนี้ ก็มีประโยชน์อีกเหมือนทุกวัน ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความเปลี่ยนแปลงภายในฝ่าย ทำให้รู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้นกว่าก่อนอบรม ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อ Finance for Non-Finance & Financial Perspective โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงินซึ่งเป็น “ยาดำ” สำหรับตัวเอง แต่อาจารย์ช่วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ทำให้ได้รู้จักเรื่องตลาดการเงินทั้งในระบบและนอกระบบ มีประโยชน์มากเพราะเป็นใกล้ตัว ได้รู้เทคนิคการซื้อกองทุน รวมทั้งได้เรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ของตลาดทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง ที่สำคัญ เป็นการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ขอบคุณมากค่ะ สุชาดา ศิโรรังษี

           จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือ “ทรัยพากรมนุษย์พันธ์แท้” เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ เป็นการรวมแนวคิดและประสบการณ์ในเรื่องการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นำเสนอในรูปแบบของการสนทนาของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมทั้งบทสนทนาของผู้ใกล้ชิด ซึ่งเป็นบทสนทนาของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค โดยผู้เรียบเรียงได้จัดเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้

          • เรื่องของสองแชมป์

          • คัมภีร์ค้นพันธ์แท้

          • จักรวาลแห่งการเรียนรู้

          • สูตรเพิ่มผลผลิต

          ทั้งนี้ได้รวบรวมแนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ดร.จีระฯ ไว้ 10 ประการ ดังนี้

           1. HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ในทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร

           2. ทฤษฎี 3 วงกลม

               • CONTEXT บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน

              • COMPETENCIES คือ สมรรถนะ หรือทักษะความสามารถของบุคลากรในองค์กร

              • MOTIVATION คือ การสร้างแรงจูงใจ

          3. ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพื้นฐานแล้วทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

          4. ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s new) ในยุคโลกาภิวัฒน์จะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางความรู้ ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางอารมณ์

          5. ทฤษฎี 4L’s เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย วิธีการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ โอกาสการเรียนรู้ และชุมชนแห่งการเรียนรู้

          6. ทฤษฎี 2R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

              • Reality มองความจริง

              • Relevance มองตรงประเด็น

          7. ทฤษฎี 2I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

              • Inspiration จุดประกาย

              • Imagination สร้างจิตนาการ

          8. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

              • Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน

              • Engaging การมีส่วนร่วม

          9. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข

          10. ทฤษฎี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

               • Learning from pain

               • Learning from experience

                • Learning from listening

                                                     -------------------

          จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือเรื่อง 8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้เรียบเรียง ได้เน้นความรู้ ความคิด และประสบการณ์ในการวางแนวทางพัฒนา “ทุนมนุษย์” เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2528 การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงคำว่า “ทุนมนุษย์” ในความหมายที่แท้จริง ในกรอบที่กว้างและลึกซึ้ง ครอบคลุมในทุกมิติสามารถนำไปใช้ในการจัดการส่วนตน และบริหารองค์กร หน่วยงานได้ทันทีในทุกสภาวะทุกธุรกิจ ศ.ดร.จีระฯ ได้เรียบเรียงโดยใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ประกอบกับการจัดลำดับเรียบเรียงหมวดหมู่เป็นลำดับเป็นระบบ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านมองถึงปัญหาของทุกคนว่าจะทำอย่างไรมีส่วนอย่างไรในการพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้กับสังคมไทย เป็นปัญหาของชาติ ไม่ใช่ปัญหาส่วนตนหรือระดับหน่วยงาน หากแต่เป็นปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันของชาติ ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมปลูกสร้างและสั่งสมเพื่อระยะยาวและต่อเนื่องต่อไป สาระของหนังสือต้องการสื่อให้ทราบว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีศักยภาพ เพื่อความพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยใช้:-

           ทฤษฎี 8’K หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

           • K1 = Human Capital ทุนมนุษย์ คนเมื่อได้รับทรัพยากรต่างๆ เข้าไปแล้วย่อมดูดซับ ประมวลผล และนำมาปฏิบัติได้ไม่เท่ากัน

           • K2 = Intellectual Capital ทุนทางปัญญา ปัญญาต้องมาจาก การรับรู้ มองในเชิงวิเคราะห์ การต่อยอดนำมาปฏิบัติ

           • K3 = Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม สำคัญที่สุด ถ้าทุนมนุษย์ขาดคุณธรรม จริยธรรมก็จะสร้างปัญหาให้สังคม คนขี้โกงที่อันตรายที่สุด

           • K4 = Happiness Capital ทุนทางความสุข มาจากเป็นผู้ให้ ทำในสิ่งที่ตนเองและรอบข้างมีความสุข

           • K5 = Social Capital ทุนทางสังคม เมื่อทั้ง 4 ทุนดี มีประสิทธิผล ทุนทางสังคมดีตามไปด้วย

            • K6 = Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน ไม่ใช่มาจากความร่ำรวย ความสุขมีก็เป็นช่วงระยะสั้นๆ ไม่มีความยั่งยืน ต้องมาจากทุนทั้ง 5 ดังกล่าว

            • K7 = Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ถ้าการสื่อสารขาดตอน ความต่อเนื่องก็จะไม่มีความยั่งยืน

            • K8 = Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (ทุนอัจฉริยะ) ซึ่งจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

            หากจัดลำดับความสำคัญ หาแนวทาง และลงมือทำ เพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐานของเราให้สมบูรณ์ ก็สามารถปรับใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน แม้แต่ในระดับประเทศ

            นอกจากแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการแล้ว ยังมีทุนอีก 5 ประการที่มีความสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ เพื่อศักยภาพในการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี โดยเรียกแนวคิดทุนใหม่ 5 ประการนี้ว่า “ทฤษฎี 5 K’s ใหม่” ประกอบด้วย

            • Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่ต้องนำมาปฏิบัติ

            • Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยทำจนเป็นนิสัย เรียนรู้ทุกวัน และต้องสังเคราะห์จากความรู้ที่ได้รับ

            • Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม เกิดจาก K1 และ K2 ที่ถูกนำมาทำให้เกิดความเป็นจริงในทางปฏิบัติ

            • Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ต้องรักษาไว้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอดเวลา

            • Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ เปรียบเหมือนกับความซื่อสัตย์ จะขาดไม่ได้

            เพราะการเปิดเสรีอาเซียน หรือการเป็นสังคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวกและลบ ทั้งเป็นโอกาส และเป็นความเสี่ยง คุณภาพของทุนมนุษย์ คือ เรื่องวัดความสามารถทางการแข่งขัน ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้

            ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนนี้ จะไม่เกิดประโยชน์หากผู้อ่านไม่นำแนวคิด และความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติ ไปปรับพฤติกรรม และช่วยกันสร้างจิตวิญญาณของการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคมไทย

                                              ----------------------

          จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” เป็นหนังสือที่คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้เรียบเรียง โดยได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย มาไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อที่นำเสนอ ผสมผสานกับข้อวิเคราะห์เทียบเคียงของผู้เรียบเรียง เป็นหนังสือดีมีคุณค่าเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา

           “ธรรมดี” ที่พ่อทำ ธรรมดีที่น่าประทับใจ และควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ได้แก่

          1. ความกตัญญู

          2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน

          3. ความพอเพียง

          4. ความซื่อสัตย์

          5. ระเบียบวินัย

          6. ความอดทน

          จากหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้ข้อคิดนำมาปฏิบัติตนดำเนินตามรอยพระยุคลบาท มาต่อยอดความสำเร็จโดยใช้กับชีวิตจริง ผลแห่งการปฏิบัติจะบังเกิดเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ขยายเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยครอบครัว หน่วยชุมชน หน่วยองค์กร และหน่วยระดับชาติระดับประเทศ และระดับโลกมนุษย์ต่อไป

                                                 --------------------

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

บทความ การเปิดช่องทางการชำระเงิน โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

            ยุคปัจจุบันเป็นยุคของการแข่งขัน หน่วยงานธุรกิจต่างๆ ล้วนปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งหน่วยงานภาคราชการก็ต้องมีการปรับตัวเช่นกัน หนึ่งในการปรับตัวเพื่อช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันก็คือ การปรับตัวเรื่องของการบริการนั่นเอง

              กลยุทธ์ในการบริการลูกค้าที่สมบูรณ์เเบบนั้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเเละลดต้นทุนที่ต้องเสี่ยงในระยะยาวได้ แต่ลูกค้าที่ไม่พึงพอใจก็อาจจากเรา ไปได้ ทั้งนี้เพราะการบริการลูกค้าให้พึงพอใจนั้น อาจไม่ใช่กลุ่มลูกค้าหรือบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจซื้อก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริการลูกค้าให้มีความพึงพอใจสูงสุดนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการลดอัตราการเสี่ยงที่ลูกค้าจะตีตนออกห่างจากเราไปได้

               เราจะการบริการอย่างไรที่ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ในศตวรรษที่ 21 นี่คือคำถามที่หลายท่านสงสัย เนื่องจากในยุคนี้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ทฤษฏีใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งแนวความคิดที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

              เมื่อก่อนหน่วยงานส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ Marketing (การตลาด) แต่ยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องของ Service(บริการ) โดยเน้นลูกค้าที่ใช้บริการตลอดชีพ ไม่ใช่เพียงแค่ใช้บริการครั้งแรกและครั้งเดียว เน้นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับลูกค้า(ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในงานบริการหรือสินค้าของเรา) การบริการจึงเป็นจุดขายของธุรกิจในยุคปัจจุบันและยุคอนาคต  เนื่องจากในยุคของการแข่งขัน ลูกค้ามีความสำคัญมาก สำคัญจนกระทั่งมีคำกล่าวว่า “Customer is the King”  หรือ บุคคลสำคัญๆ ของโลก เช่น มหาตมะ คานธี ถึงกับกล่าวว่า “ไม่ควรคิดว่าลูกค้าจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยธุรกิจเรา

เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาอาศัยลูกค้า” สำหรับสิ่งที่งานบริการควรต้องปรับตัวในศตวรรษนี้ก็คือ

1. การบริการจะต้องมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นยุคของการแข่งขันอย่างเสรี

      บริษัท ต่างๆ ทั่วโลกสามารถเข้ามาค้าขายได้ในประเทศไทยหรือประเทศต่างๆในโลก   2. การบริการจะต้องเน้นที่ความคุ้มค่า เน้นเรื่องของคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับราคา

     ยุคปัจจุบัน และยุคในอนาคต ตลาดเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้า

     และ บริการต่างๆได้มากมาย พูดง่ายๆว่าอำนาจต่อรองส่วนใหญ่เป็นของผู้ซื้อนั้นเอง
 3. การบริการจะต้องเน้นที่ตัวคุณภาพและความสามารถของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการ

      จะต้องปรับตัวในการให้บริการ จะต้องเอาใจใส่ลูกค้ามากกว่าเดิม ต้องมีข้อมูลต่างๆ

      ของลูกค้า เพื่อที่จะบริการได้ตรงใจกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้

      สึกของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกแบ่งเป็น ระดับด้วยกัน

      สี่ระดับ คือ ไม่พอใจ  เฉยๆ  พอใจ  และประทับใจ( สำหรับลูกค้ามีทั้งลูกค้าภายนอก

       คือ ผู้รับบริการ และลูกค้าภายใน คือ เพื่อนร่วมงาน เจ้านายผู้ใต้บังคับบัญชา)

                     อีกทั้ง   การบริการที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องของ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ      ความประหยัดด้วย    ดังนั้นคุณสมบัติที่ดีของผู้ให้บริการในเบื้องต้น ผู้ให้บริการควรเป็นคนที่มีน้ำใจ มีปิยวาจา มีคำพูดที่ไพเราะ มีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสะอาด เหมาะสม มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีศิลปะในการสื่อความหมาย ประสานสามัคคี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน ให้บรรลุผล มีการกระทำที่มุ่งเน้นเป้าหมาย ในภาพรวมขององค์กร (เข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน)   ซึ่งสิ่งเหล่าผู้รับบริการสามารถสัมผัสได้จากผู้ให้บริการ โดยดูหรือสังเกตได้จาก การมองหน้า การดูรอยยิ้ม การทักทาย การให้คำแนะนำ การตอบคำถาม ฯลฯ   เมื่อผู้บริการ บริการได้ดี ลูกค้าก็จะเกิด ความพึงพอใจในงานบริการของเรา เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจแล้วก็จะเกิดความประทับใจ ติดใจ และสุดท้ายก็จะกลับมาใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง แถมยังมีการบอกต่อคนรู้จักให้มาใช้บริการอีกต่างหาก  ในทางกลับกัน เคยมีผู้ทำงานวิจัยมาชิ้นหนึ่ง ได้ข้อมูลว่าหากเราบริการลูกค้าไม่ดี ลูกค้าไม่พอใจในบริการ 1 คน จะบอกต่อคนที่รู้จักอีก 70 % แต่ถ้าบริการดี ลูกค้าพอใจจะบอกต่อ 1 คน ต่อ10 คน และจะกลับมาใช้ใหม่ 35%

การเคหะแห่งชาติกับข้อเสนอ นวัตกรรม ที่เป็นทางเลือกให้ลูกค้าใหม่ในการชำระเงิน

                    ในปัจจุบันลูกค้าของการเคหะแห่งชาติแยกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ลูกค้าเช่า /เช่าซื้อโครงการเคหะชุมชน กับ ลูกค้าโครงการบ้านเอื้ออาทร คาดว่ามีจำนวนแสนๆราย

ทุกๆวันลูกค้าจะต้องนำเงินไปชำระเป็นค่าเช่า / ค่าเช่าซื้อ ค่าผ่อนเงินกู้ธนาคารอาคาร

สงเคราะห์และธนาคารออมสิน โดยมีช่องทางการชำระเงินต่างๆเหล่านี้ผ่าน

1.เคาน์เตอร์รับเงินของสำนักงานเคหะชุมชน (มีไม่กี่แห่ง) และที่สำนักงานใหญ่

2.ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน (มีไม่ครบทุกจังหวัด)

3.เคาน์เตอร์เซอร์วิสเซเวนท์อิเลฟเวนท์

4.รถบริการรับเงินเคลื่อนที่ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 20 คัน(ตามโครงการSynergy)

5.ลูกค้ายินยอมให้ตัดเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนทุกๆเดือน

                จะเห็นได้ว่าช่องทางการรับชำระเงินต่างๆที่การเคหะแห่งชาติจัดบริการให้ลูกค้า ดูเหมือนจะมีเพียงพอ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  ลูกค้าที่บ้านเอื้ออาทรอรัญประเทศจะจ่ายค่าบ้านแต่ละครั้งต้องเดินทางจากชุมชนไม่ต่ำกว่า 40 กม. เพื่อไปธนาคารในเมืองและในจังหวัดทางอิสานและเหนือ ที่ ธนคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน  มีสาขา

น้อยและอยู่ห่างไกลจากชุมชน โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโครงการไม่มีสำนักงานของการเคหะแห่งชาติตั้งอยู่ในชุมชน แล้วลูกค้าอยู่กันอย่างไร  ดังนั้น นโยบายสร้างจิตสำนึกของคนการเคหะแห่งชาติในการให้บริการ โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ที่ได้โหมประชาสัมพันธ์ทั่วไปที่ทำการเวลานี้ จะได้บรรลุผลเพียงใด  ข้อเสนอนี้จึงเป็นการเสนอนวัตกรรมที่หน่วยงานอื่นได้ลงมือทำก่อนการเคหะแห่งชาติเสียอีก นั่นคือการเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้ลูกค้าของการเคหะแห่งชาติโดย

1.การติดตั้งตู้ ATM  ตามชุมชนของการเคหะแห่งชาติ โดยการเจรจาต่อรองกับธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้รายใหญ่ของลูกค้าการเคหะฯ เพราะนอกจากจะใช้ถอนเงินตามปกติแล้ว ต้องสามารถรับฝากเงินค่าบ้านของลูกค้าด้วย และต้องติดตั้งในชุมชนของการเคหะฯในจุดที่ปลอดภัย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ไม่ต้องออกไปนอกชุมชน และสามารถชำระเงินโดยการฝากเข้าเครื่อง ATM ตลอดเวลาไม่เว้นวันหยุดราชการ จะทำให้โอกาสการเป็นหนี้ค้างชำระค่าบ้านน้อยลง

2.การจัดหา รถโมบาย สามารถให้บริการ  ทำสัญญาซื้อขาย บ้าน / รับชำระเงินต่างๆ

    ทุก ชนิด  /  ใช้ติดตามลูกหนี้ค้างชำระ / ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการเคหะฯ

   ได้ถึงตัว ลูกค้า ถึงแม้จะมีรถของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดให้บริการอยู่แล้ว แต่มีไม่ เพียงพอกับชุมชนของการเคหะฯและจำนวนลูกค้ามีมาก อีกทั้งลูกค้าของการเคหะยังต้องเสียค่าบริการครั้งละ 10 -15 บาทต่อบิล  หากการเคหะฯ มีรถโมบายเป็นของตนเองแล้ว ลูกค้าของการเคหะฯจะไม่ต้องเสียค่าบริการในการชำระเงินดังกล่าว รถโมบายสามารถใช้ประโยชน์มากมายหลายภาระกิจและเสริมรายได้ให้องค์กรด้วยการรัชำระค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ เช่นบัตรเครดิต ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เนท เป็นต้น

          การรณรงค์ให้คนการเคหะแห่งชาติให้มีจิตสำนึกในการบริการลูกค้า โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง นั้น จะไม่บังเกิดผล หากไม่มีการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง

                                                    ด้วยความปรารถนาดี

                                                   สุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                         [email protected]

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ธรรมดีที่พ่อทำ ของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2

 

            จากหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ  เนื้อหาที่เราได้จากหนังสือเล่มนี้ช่วยปลุกจิตสำนึกเราอีกครั้งให้เราระลึกไว้เสมอว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นท่านทรงรักคนไทยมากที่สุด  ด้วยในหลายๆพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงงานอยู่นั้นไม่ได้ทำเพื่อใครเลย แต่เป็นการทำเพื่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศทั้งนั้นพระองค์ในฐานะประมุขสูงสุดของประเทศ แต่ท่านกลับไม่มีเวลาพักผ่อนพระวรกาย ยังต้องทรงงานหนักตลอดมาเป็นเวลาหลายปี  หลายสิ่ง หลายอย่างที่ในหลวงทรงทำเป็นแบบอย่างในทุกๆเรื่อง  เราในฐานะประชาชนคนไทยควรจะน้อมรับและปฏิบัติตามเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อในหลวงของเราและแผ่นดินของเรา  เมื่อมี Idol แล้ว เราต้อง I do

            ดังพระบรมราโชวาทที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ ถ้ามัวไปคิดดั่งนักวิทยาศาสตร์ ทำอะไรไม่สำเร็จหรอก  คิดอะไรก็ทำไปเลย ผิดถูกค่อยแก้ไป แล้วเดี๋ยวมันก็ค่อยๆได้ออกมาเอง ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่กล้าทำ มันจะไม่มีอะไรสำเร็จขึ้นมาสักอย่าง”

            ดังนั้นหน้าที่ของคนไทยคือทำสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ดู ทรงอยู่ด้วยการให้ ด้วยหัวใจสีขาวของพวกเราทุกคน

           ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ ช่วยย้ำเตือนคนไทยทุกคนไม่ให้หลงระเริงกับลัทธิทุนนิยม สอนให้เรารู้จักความพอดีและไม่อยู่บนความประมาทดังที่ประเทศไทยเคยประสบวิกฤตมาแล้วในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ในปี 2540

           ท่านทรงเป็นนักคิด  นักพัฒนา สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคม โครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน  การส่งเสริมการวิจัยพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง เอาผักตบชวาที่เป็นปัญหาของเราในประเทศมากำจัดน้ำเสียเอาปัญหามาช่วยแก้ปัญหา  ให้ชาวเขาปลูกพืชเศรษฐกิจแทนการปลูกฝิ่น ฯลฯ

            พวกเราทุกคนจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ก็คือการทรงงานต่างๆเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแทบทุกวัน

           เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ จะตรัสว่า “ให้รีบมาจะได้รีบไปทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าติดวันเสาร์อาทิตย์ ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ”

          และนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดเมื่อในหลวงได้รับการถวายการสดุดี รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์จากองค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยมีนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติกล่าวสุนทรพจน์เพื่อถวายสดุดีและประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             เราจึงไม่เคยเห็นในหลวงรับสั่งว่า พระองค์ทรงทุกข์เพราะทรงทำเพื่อประชาชน หรือเรียกร้องสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนพระองค์แม้แต่ครั้งเดียว สิ่งที่พระองค์เน้นย้ำ  หรือรับสั่งกับคนไทยตลอดมา ก็คือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งหมด และประโยชน์ของประเทศชาติทั้งนั้น

            สิ่งที่ในหลวงอยากเห็นก็คือความรักสามัคคีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม  พุทธศักราช 2521 แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง  ความตอนหนึ่งว่า

          “ ถ้าเราเอาแต่ชนะ มันก็ต้องมีแพ้  แต่เราปรองดองกัน มีแต่ชนะไม่มีแพ้ ”

            ถึงแม้จะเป็นพระราชดำรัสที่ผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ผมอยากให้คนไทยในเวลานี้ได้ทราบไว้ว่าแม้แต่ในหลวงท่านยังทรงอยากเห็นคนไทยมีความปรองดอง รักและสามัคคีกันเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงชาติไทย

 

………………………………………….

 

           

          

         

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ.พส2

 

            จากหนังสือ  “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”   ทำให้ผมได้มุมมองใหม่ๆตลอดจนแนวความคิดและทำให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจขึ้นหลายอย่างจากการอ่านบทสัมภาษณ์ของท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา รวมทั้งท่านอื่นๆที่ได้ให้แง่คิดและมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่อง Human Resource หรือ HR ซึ่งพอจะสรุปประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

            Human Capital เป็นทรัพย์สินไม่ใช่ต้นทุน และการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรก็เป็นการลงทุน

 ( Investment)ในเรื่องการเพิ่ม Value Add ให้กับบุคลากรในองค์กร   เพราะเมื่อคนในองค์กรมีคุณภาพ มีความสามารถในการทำงาน (Capability) ก็จะทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต ( Productivity Improvement) แก่องค์กรจะเป็นจุดสร้าง            Competitive advantages ให้องค์กร ๆหากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถให้มนุษย์ได้เป็นทั้ง asset และ resource ได้  ก็จะได้รับชัยชนะ

              ตัวอย่างบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด ให้แง่คิดว่า ค่าตัวพนักงานเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะต้องปรับเงินเดือนทุกปี แต่ความสามารถของพนักงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่สามารถทราบได้ แต่ถ้ายอมจ่ายงบประมาณเพิ่มอีกหน่อยคือการฝึกอบรมพนักงาน เป็นการ Input ความรู้ให้พนักงาน ก็จะเป็นการการันตีราคาที่จ่ายให้พนักงานว่าไม่สูญเปล่าพนักงานจะต้องมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เพราะถ้าบริษัทไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เน้นแต่เรื่องผลผลิตและกำไรแต่ไม่สนใจในการอบรมพนักงาน ต่อไปผลผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ จะไปโทษพนักงานก็ไม่ได้เพราะผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญเอง  นอกจากนี้ทางบริษัทยังมองไปถึงการพัฒนา Stakeholder ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจด้วย

              ทรัพยากรมนุษย์จึงไม่เพียงแต่เป็นทรัพย์สินของประเทศ ขององค์กรแต่ยังเป็น  strategic resource

เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ  ในทรัพยากรที่หลากหลาย  เช่น M-money,  M-machine,

 M-management,  M- material,  M-man  คนจะมีความสำคัญที่สุดเพราะคนคือ The most value asset จนมีคำกล่าวว่า Make people before make product  ทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์จิระ คือ Context, Competencies และ Motivation จะเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้เรายังต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กร( Corporate Culture) เพื่อให้เกิด mind set ในตัวพนักงานและทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน

             HR นั้นไม่ใช่ Training แต่เป็นการ Learning การลงทุนใน HR ให้ผลตอบแทนในระยะยาวและต้องใช้เวลา นอกจากนี้การลงทุนใน Human Capital อย่างเดียวย่อมไม่พอ ต้องลงทุนทาง  Intellectual Capital ควบคู่ไปกับ Ethical Capital และ Good Government     เพราะคนนั้นต่างจากเครื่องจักร เครื่องจักรต่างๆคุนค่าของมันจะค่อยๆเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ชำรุด สึกหรอ เมื่อเวลาผ่านไป แต่คุนค่าของคนกลับเพิ่ทขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปด้วยการสั่งสมการเรียนรู้และจากประสบการณ์ที่มากขึ้น

             และในอนาคตอันไกล้นี้ ประทศไทยเราต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)ในปี 2015 ซึ่งจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน การบริการ และ แรงงาน  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน งานบริการ สินค้าได้เสรี เปิดโอกาสให้นักลงทุน ในชาติอาเซียนเข้าไปถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70%  และลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0%  ฯลฯ  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มในระดับจุลภาคที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบเชิงการแข่งขัน Competitive Advantage ของประเทศที่ระดับมหภาคได้  การเข้าสู่ AEC ของไทยจึงเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามถ้าเราไม่เตรียมคนให้พร้อมพร้อม ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และ 4L’s ของอาจารย์จิระ รวมทั้งแนวความคิด Global Citizen และ constructionism  ของคุณพารณ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์ของคนไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกนี้ได้

………………………………………..

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

   8K’s และ 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

   โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2

 

                  การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของคนไทยในปี 2015  ในมุมมองของอาจารย์จิระจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่ท้าทายคนไทยทุกคนเพราะว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ  ที่จะส่งผลต่อ  เศรษฐกิจ  สังคมของไทยอย่างมากมาย  เพราะเป็นการรวมประเทศ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน  โดยมีข้อตกลงร่วมกันใน 3 เรื่องใหญ่ซึ่งประกอบด้วย

                 - เศรษฐกิจและการค้าการลงทุน

                 - สังคมและวัฒนธรรม

                 - ความมั่นคงทางการเมือง

                 ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน จะเปิดเสรีทางการค้าไม่มีกำแพงภาษี ทางด้านแรงงานจะเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี  ทางด้านการลงทุนจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนได้ถึง 70%  งานทางด้านบริการ 7 อาชีพ  ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี สามารถประกอบอาชีพในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียนได้ เป็นต้น โอกาสที่เห็นได้ชัดก็คือ

การขยายตลาดจากผู้บริโภคของไทย 68 ล้านคนไปเป็น 590 ล้านคน ส่วนความเสี่ยงก็คือ ถ้าไทยไม่เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเราอาจกลายเป็นผู้เสียเปรียบ

                 ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านเพื่อเข้าสู่การแข่งขันและเพิ่มความได้เปรียบในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก 

                ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์  8K’s  ของอาจารย์จิระ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพด้วยทุน 8 ประการคือ

               K1 ทุนมนุษย์ ( Human Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ด้วย การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม

การเลี้ยงดูของครอบครัว ฯลฯ

              K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ต้องเรียนแบบเน้นการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ถ้าเรียนแบบท่องจำย่อมไม่เกิดทุนทางปัญญา

             K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ( Ethical Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ด้วยยึดมั่นใน ศีล สมาธิ ปัญญา  และอีกแนวทางหนึ่งของ Peter Drucker  คือ ความถูกต้อง จินตนาการ และนวัตกรรม

              K4 ทุนแห่งความสุข ( Happiness Capital): คนจะมีทุนนี้ได้ต้องปฎิบัติตามกฏในการสร้างทุนแห่งความสุข ( Happiness Capial) ของอาจารย์จิระ และ Dr. Timothy Sharp เช่น ชอบงานที่ทำ อย่าแบกงานหนักเกินไป รู้ความหมายของงาน ทำงานในจุดแข็งตัวเอง ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล  เป็นต้น

            K5 ทุนทางสังคม (Social Capital): คนจะมีทุนนี้ได้ต้องมีเครือข่ายคือ คบหาสมาคมกับคนหลายๆกลุ่ม เปิดโลกทัศน์ มีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย ศึกษาบุคคลที่เราอยากรู้จัก มีการติดตาม ทำงานเป็นทีม

มีทัศนคติเป็นบวก  เข้าใจความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิตต่างๆ

           K6 ทุนแห่งความยั่งยืน( Sustainable  Capital): เป็นแนวคิดใหม่มากคล้ายๆทุนแห่งความสุขคือการที่เราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ สิ่งที่จะทำระยะสั้นคืออะไรและต้องไม่สร้างปัญหาหรือขัดแย้งในระยะยาว  โดยยึดแนวทาง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน (Chira’s 6 factor)

 เช่น   การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย 

  การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม   ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

           K7 ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศหรือ IT( Digital Capital): ระบบเหล่านี้จะทำให้โครงสร้างทางความคิด  รูปแบบการดำรงชีวิต และการทำงานของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจะต้องมีทุนทางด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศนำความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่างๆ

         K8 ทุนอัจฉริยะ(Talented Capital): อาจารย์จิระได้แนวความคิดมาจากรัฐบาลของสิงคโปร์ ซึ่งเชื่อว่า คนที่ประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติเป็นบวก รวมทั้งการพัฒนาทุนอัจฉริยะด้วย ทฤษฎี 5E’s ของอาจารย์จิระ

            ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  5K’s ของอาจารย์

จิระคือ

          -ทุนทางความคิดสร้างสรรค์( Creativity Capital):  สามารถสร้างได้ด้วยการฝึกคิดนอกกรอบ (Think Outside the box) ซึ่งการสร้างความคิดสร้างสรรค์สรุปเป้นข้อๆได้ดังนี้

          -ข้อแรกคือวิธีการเรียนรู้คือ ฝึกให้คิดเป็น วิเคราะห็เป็นและเรียนรู้ข้ามศาสตร์

          -ข้อสองคือต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

          -ข้อที่สามคือต้องคิดเป็นระบบ

          -ข้อที่สี่คือต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

         -ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital): การมีทุนทางความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม(Value Creation)    มูลค่าเพิ่ม( Value Added)    และ มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย(Value Diversity) และทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality ความรู้ที่มาจากความจริง และ Relevance  ตรงความต้องการของผู้รับบริการ

          -ทุนทางนวัตกรรม(Innovation Capital):  โดยนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ

   1) มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

   2) นำความคิดไปปฏิบัติจริง

   3) ทำให้สำเร็จ

                  การพัฒนาทุนทางนวัตกรรม อาจารย์จิระจะใช้ทฤษฎี 3 C คือ

1)            Customer คือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

2)            Change Management คือ บริหารการเปลี่ยนแปลง

3)            Command and Control คือ ลดการควบคุม  สั่งการ  พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม

-ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital):  จุดแข็งของไทยคือรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เราสั่งสมมานาน  สามารถสร้างให้มีคุณค่าได้ในยุคเสรีอาเซียนอย่างแน่นอน

-ทุนทางอารมณ์ ( Emotional Capital):  อาจารย์จิระเสนอแนวทางที่ใช้สร้างทุนทางอารมณ์ของ

The  KlannLeadershipของCenterfor Creative Leadership ดังนี้

   ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง การติดต่อสัมพันธ์

             นอกจากนี้อาจารย์สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ ยังให้ความเห็นไว้ว่าผู้บริหารระดับสูงต้องเปลี่ยนตนเองให้เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ และคนไทยทุกคนจำเป็นต้องปรับ Mind Set เพื่อให้สามารถคิดนอกกรอบและมองโลกอย่างสร้างสรรค์ และต้องฝึกเรื่อง Competency ตามทฤษฎีของ Gary Hamel ว่า.. หากคุณต้องการความสำเร็จ คุณต้องสร้างความต่างที่เลียนแบบได้ยาก ในขณะเดียวกันความต่างต้องแปลงเปลี่ยนสินค้าและบริการไปสู่ความหลากหลาย

 

………………………………..

 

 

 

 

เสาวลักษณ์ สกุลแพทย์

เสาวลักษณ์ สกุลแพทย์
นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

ECO Design หากกล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ECO Design, Green Architecture หรือ Sustainable Design กำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง โดย ECO Design, Green Architecture หรือ Sustainable Design นั้น มีนิยามไปในทางเดียวกัน คือ สถาปัตยกรรมการออกแบบที่มุ่นเน้นใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยหลักการแล้ว ECO Design นั้นมีความหมายกว้างและมีหลายหัวข้อให้กล่าวถึง แต่ในเรื่องของวัสดุนั้น จะเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่ควรใส่ใจ วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในโลก ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองและหมดไปในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น สถาปนิก วิศวกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยทั้งหมด จึงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัย

        การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างสำคัญอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเกิดประโยชน์แก่ผู้อยู่อาศัย ได้แก่

การเลือกใช้หลังคา ปัจจุบันมีวัสดุมุงหลังคาหลายประเภท มีทั้งที่เป็น ECO Design และ ไม่เป็น ECO Design โดยจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- กระเบื้องหลังคาดินเผา ถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design ในด้านวัสดุเนื่องจากผลิตจากดินเป็นส่วนผสมหลัก แต่ไม่เป็น ECO Design ในด้านของกระบวนการผลิต เนื่องจากต้องนำเข้าเตาเผาความร้อนสูง ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ เช่นน้ำมัน ถ่านหิน อย่างมหาศาลในการเร่งความร้อนเตาเผา ในขณะเดียวกัน วัสดุตัวใหม่กว่าคือ กระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตนั้นถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design กว่ามาก เนื่องจาก ไม่ต้องการความร้อนในการขึ้นรูป

ภาพกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต

การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน - Fiber glass เป็นวัสดุกันความความร้อนที่นิยมใช้ในบ้านเราที่สุด แต่เป็นวัสดุที่ไม่นิยมใช้เป็นอย่างยิ่งในหลายๆประเทศเนื่องจาก Fiber glass ทำจากเศษแก้ว ที่นำมาปั่นจนเป็น อณูละเอียดมาก แล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นเพื่อนำมาเป็นฉนวนกันความร้อน โทษของ Fiber glass ที่ทำให้หลายๆประเทศ ไม่นิยมใช้คือ Fiber glass เป็นสารก่อมะเร็ง และเราหายใจสูดดมเข้าไปในปอดโดยไม่รู้ตัว เนื่องจาก Fiber glass เป็นอณูที่ละเอียดมากจนเราแทบมองไม่เห็น จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ติดตั้งและผู้อยู่อาศัย

                    ภาพ Fiber glass
  • PU Foam เป็นวัสดุกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่งและเป็นวัสดุกันความร้อนที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมห้องเย็น แต่เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่า PU Foam เหมาะกับการนำมาทำวัสดุกันความร้อนสำหรับตึกรามบ้านเรือนหรือไม่ เนื่องจาก PU Foam เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของสารเคมีอยู่มาก จึงเหมาะสำหรับการถูกใช้ในปริมาณน้อย และมีการปิดผนึกมิดชิด เช่นห้องเย็น และเมื่อใดที่ทุกบ้านใช้ PU Foam เป็นฉนวนกันความร้อนนั่นแปลว่าต้องมีการใช้น้ำมันและสารเคมีเป็นพิษ มากมายในการผลิตโฟมตัวนี้ PU Foam จึงไม่ถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design

ภาพ PU Foam

  • กระดาษ recycle ปัจจุบันนี้ มีการนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมา recycle เป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งมีประสิทธิภาพดีและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก การใช้วัสดุกันความร้อนที่ทำจากกระดาษ recycle เป็นการช่วยลดขยะกระดาษที่มีอยู่จำนวนมาก โดยการ recycle กระดาษนั้น จะทำให้เยื่อกระดาษสั้นลง ความขาวลดลง กล่าวคือ เมื่อ recycle ไป เรื่อยๆ กระดาษจะเปื่อยจนไม่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษได้อีก ฉนวนกันความร้อน จึงเป็นเหมือน กระบวนการสุดท้ายของวงจรชีวิตกระดาษ อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ต้องการน้ำมันหรือพลังงานมหาศาล ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ เพิ่มมลพิษต่อโลก ฉนวนเยื่อกระดาษ จึงนับว่าเป็นวัสดุกันความร้อนที่เป็น ECO Design อย่างแท้จริง

ภาพกระดาษ recycle การเลือกใช้ผนัง อดีตเราเคยใช้อิฐมอญ หรืออิฐแดงในการก่อผนัง ต่อมาเราพัฒนาเป็นใช้อิฐมวลเบา ที่มีข้อดีกว่าอิฐแดงหลายประการ อาทิ อิฐมวลเบา ช่วยกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4 - 8 เท่า เป็นผลให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30 % มีน้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี กันเสียงและอายุงานยาวนานกว่าอิฐมอญ อีกทั้งการก่อสร้างง่าย เนื่องจากวัสดุมีขนาดแต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกันและ มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า ดังนั้น เมื่อเทียบอิฐมวลเบากับอิฐแดงแล้ว ดูจะเป็น ECO Design กว่าในทุกๆ ด้าน

ภาพอิฐมวลเบา
การเลือกใช้พื้น แต่เดิมเราเคยใช้พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ซึ่งเป็นมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารทั่วไป จากนั้น จึงพัฒนามาเป็น พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือที่เราเรียกติดปากกันว่าพื้นสำเร็จ พื้นสำเร็จนั้น ถือว่าเป็น ECO Design กว่าเดิมมาก เนื่องจากพื้นในระบบเดิมทั้งก่อสร้างช้า ทั้งเปลืองเหล็ก อีกทั้งต้องใช้ทรัพยากรไม้มหาศาลในการทำไม้แบบ ไม้ค้ำ รองใต้พื้นเพื่อรอปูนเซตตัว อีกทั้งน้ำหนักก็มากกว่าพื้นสำเร็จ ทำให้เปลืองโครงสร้างเสา คาน ฐานรากอีกด้วย พื้นสำเร็จจึงเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พื้นสำเร็จไม่ได้เหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบ เช่นอาคารสูง หรือ อาคารพาดช่วงยาว พื้น post tension ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่ออาคารสูงหรืออาคารพาดช่วงยาวโดยเฉพาะ และ ถือว่าเป็น ECO Design กว่าพื้นสำเร็จเสียอีก นั่นเพราะว่า พื้น post tension สามารถพาดช่วงยาวได้มากกว่า พื้นสำเร็จหลายเท่า และพื้น post tension ไม่จำเป็นต้องมีคาน ดังนั้น จึงเป็นการประหยัดวัสดุ ในเรื่องของคาน เสา และน้ำหนักลงไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม พื้น post tension เหมาะกับอาคารสูง เพราะ มีราคาค่อนข้างสูง จุดคุ้มทุนจะเกิดเมื่อใช้ในปริมาณที่มาก ดังนั้น พื้น post tension จึงแทนที่ พื้นสำเร็จได้ในกรณีอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่เท่านั้น ในกรณีบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก พื้นสำเร็จจึงยังเป็นที่นิยมมาก

ภาพแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

จากบทความข้างต้น การเคหะแห่งชาติสามารถนำมาใช้ในเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง การใช้ ECO Design ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถือว่าเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ และช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร ผู้อยู่อาศัย รัฐบาลและสิ่งแวดล้อม จริงๆแล้วยังมีวัสดุอีกมากมายที่ผลิตออกมาใหม่มาเพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดเงินให้กับประเทศในองค์รวม เช่น ลดวัสดุการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประหยัดน้ำมัน และทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เมื่อคนสุขภาพดี จะช่วยรัฐบาลประหยัดในเรื่องของค่าช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐอีกด้วย แต่เหตุที่วัสดุเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเมืองไทย อาจเป็นเพราะ สถาปนิกผู้ออกแบบ ไม่มีความรู้และไม่ติดตามเทคโนโลยี เคยใช้วัสดุอะไร ก็จะใช้อยู่อย่างนั้น อีกทั้ง ผู้ว่าจ้างไม่มีความใส่ใจในด้านสิ่งแวดล้อม คิดถึงแต่ปัจจุบันไม่มองการณ์ไกล และปัจจัยในด้านราคาที่สูงกว่า ดังนั้นสิ่งที่จะผลักดันให้วัสดุเหล่านี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย จึงต้องมีหลายๆฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน เช่น การให้ความรู้กับสถาปนิก ความเหมาะสมการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับอาคารแต่ละประเภท และ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ให้ความรู้แก่แรงงานในด้านการติดตั้ง และการช่วยเหลือจากรัฐบาลในแง่ภาษี เราทุกคนควรคิดถึงประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมของ ECO Design ให้มาก เพราะปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ............................................................... 31 กรกฎาคม 2555

การให้บาง Stakeholder มีส่วนในการเลือกโครงการของ กคช. ในภูมิภาค

                                                                              โดย  สรัญญ์  โสภณ

1.ที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัยเป็นอันดับที่ 3 ในปัจจัย 4  ถัดจาก อาหาร เครื่องนุ่มห่ม โดยมี   ยารักษาโรค เป็นปัจจัยที่ 4  ปัจจัย 4 นี้โดยความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องมีต้องใช้ในการดำรงชีวิต แต่ในจำนวนปัจจัยทั้ง 4 ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยที่มีราคาแพงมากในอันที่จะได้มา ดังนั้นเมื่อมนุษย์ที่มีฐานะยากจนจะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จึงจำเป็นต้องคัดแล้วคัดอีกให้รอบคอบเพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัยที่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป

การพัฒนาที่อยู่อาศัยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายประการ ในภาคเอกชน ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจเป็นเพียงแค่สินค้าชนิดหนึ่งเป็นธุรกิจที่มุ่งหวังกำไร ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าตราบใดที่ยังมีกำไรตามที่คาดหวังไว้ แต่ในส่วนของ กคช.มีความแตกต่างไปจากภาคเอกชนอีกพอสมควร เนื่องจากวัตถุประสงค์ของ กคช.ไม่ได้ถือว่าที่อยู่อาศัยเป็นสินค้า ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำกำไรให้แก่องค์กร แต่ กคช. ต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในทุกมิติ แต่ในขณะเดียวกัน กคช.ก็ต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเงินซื้อบ้านของผู้มีรายได้น้อยด้วยว่ามีความสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้มากน้อยเพียงใด

2.ที่ดิน
   ที่ดินเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตัวหนึ่ง เพราะในความเป็นจริงหรือแม้แต่ตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็ตาม ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ ( ไม่นับกรณีการถมทะเล ซึ่งไม่มีนัยสำคัญต่อพื้นที่รวมเท่าใด ) แต่ที่ดินก็เป็นทั้งวัตถุดิบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตอื่น ๆ            นั่นหมายถึงว่า ที่ดินจะถูกใช้ประโยชน์หลายวัตถุประสงค์โดยมีความต้องการจากผู้เกี่ยวข้องมากมายอันเป็นที่มาของราคาที่ดินที่จะสูงหรือต่ำตามความต้องการในแต่ ละประเภทธุรกิจ
3.กระบวนการในการจัดหาที่ดิน
   นอกเหนือจากการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชย์แล้ว กระบวนการในการจัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย  ภาคเอกชนสามารถที่จะดำเนินการจัดหาได้คล่องตัวกว่า กคช. มาก เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ทำให้เจ้าหนี้เงินกู้เชื่อว่าจะชำระหนี้เงินกู้ให้ได้ตามกำหนดเวลา ส่วนกระบวนการที่จะได้มาซึ่งที่ดินนั้นเป็นสิทธิ์ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั้นจะดำเนินการเอง แต่การจัดหาที่ดินของ กคช.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ( ไม่แตกต่างจากราชการมากนัก ) จำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์ในการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน ซึ่งในส่วนนี้ทำให้ความยากง่ายหรือความรวดเร็วล่าช้าแตกต่างจากภาคเอกชนมาก โดยนัย เกณฑ์ถูกกำหนดขึ้นมาเสมือนให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎเกณฑ์คล้าย ๆ กับเป็นสิ่งที่กำหนดมาเป็นกรอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการดำเนินงานเนื่องจากผลประโยชน์ในการซื้อที่ดินนั้นมีมูลค่ามหาศาลในช่วงเวลาสั้น ๆ 
กคช. มีข้อบังคับว่าด้วย การจัดซื้อที่ดิน พ.ศ.2540 และระเบียบว่าด้วย วิธีปฏิบัติงานการจัดซื้อที่ดิน พ.ศ.2546 กำหนดวิธีการจัดซื้อที่ดินต่าง ๆ เช่น 
     3.1 ข้อบังคับ 
    จะระบุว่า  การจัดซื้อที่ดินจะทำได้กี่วิธี  เช่น โดยวิธี ประกาศซื้อ หรือโดยวิธีตกลงซื้อ หรือวิธีอื่น ๆ  เมื่อใดจะใช้วิธีใด อำนาจอนุญาตการจัดซื้อเป็นของใคร (วงเงินจัดซื้อเท่าใดเป็นของ ผว. วงเงินจัดซื้อเท่าใดเป็นของคณะกรรมการ กคช.)

ซึ่งบางครั้งก็เป็นอุปสรรคกับการจัดซื้อ ทำให้กระบวนการจัดซื้อต้องใช้ระยะเวลามาก เช่น วงเงินจัดซื้อ 50 ล้านบาท อยู่ในอำนาจของ ผว.ซึ่งระยะเวลาในการจัดซื้อจะใช้น้อยกว่าวงเงินจัดซื้อของคณะกรรมการ กคช. แต่ในบางครั้งวงเงินจัดซื้อที่อยู่ในอำนาจของ ผว.ก็อาจทำให้ได้จำนวนที่ดินไม่มากพอที่จะทำโครงการได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กคช. แต่ถึงแม้เป็นอย่างนั้นก็ยังทำให้เกิดความล่าช้ามากอยู่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 3.2 ระเบียบ

    จะกำหนดว่าเมื่อใช้วิธีใด จะต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น ประกาศซื้อ จะต้องระบุรายละเอียดและเงื่อนไข ระยะเวลาที่ผู้สนใจจะเสนอขายที่ดินมาให้ กคช.พิจารณา หลักเกณฑ์การคัดเลือกแปลงที่ดินที่เหมาะสม ( และมีความเป็นไปได้ในเรื่องของราคาที่อยู่อาศัยที่กลุ่มเป้าหมายจะรับได้ )  การให้คะแนนตามปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ทราบว่าที่ดินที่เหมาะสมคือที่ดินที่จะมีคะแนนสูงกว่าแปลงอื่น ๆ ข้อมูลอื่นที่ใช้ประกอบการพิจารณานอกเหนือจากการให้คะแนน เช่น การจ้างเอกชนประเมินราคาที่ดินแปลงที่สนใจเพื่อที่จะใช้เปรียบเทียบในการต่อรองราคาที่ดิน การต้องขอเอกสารต่าง ๆ เช่น ราคาประเมินราชการ การตรวจสอบภาระผูกพันของที่ดินจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่นผังเมืองจังหวัด หน่วยทหาร กรมป่าไม้ สำนักงานที่ดิน สถาบันการเงิน ซึ่งต้องการการตอกลับอย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งจะใช้เวลามาก และอาจเป็นเหตุผลให้การเสนอขายที่ดินมีการตั้งราคาสูงเผื่อไว้เนื่องจากต้องใช้เวลาในการพิจารณานานมาก
4.ผู้ทำหน้าที่คัดเลือกที่ดิน
   ข้อบังคับ ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ข้อ 14 กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบ โดยให้ ผว.แต่งตั้งจากพนักงาน ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป จำนวนตั้งแต่ 3 - 7  คน โดยจะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
5.การดำเนินงานจัดซื้อที่ดินที่ผ่านมา    

ในช่วงของการจัดซื้อที่ดินเพื่อจัดทำโครงการตามแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 5 ปี ของ กคช. ( ไม่นับรวมการรับซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทร ) ทั้งใน กทม.และภูมิภาค ( ซึ่งในภูมิภาคจะมีจำนวนที่ดินที่จะต้องจัดซื้อหลายจังหวัด )

  5.1 กคช.ไม่เคยแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ใช่พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยเลย
  5.2 โดยส่วนใหญ่มักจะมีพนักงานระดับ รผว.เป็นประธานคณะกรรมการ 
  5.3 เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินปฏิบัติหน้าที่แล้วเสร็จให้รายงานผลการดำเนินการเสนอ ผว. เพื่ออนุญาตการจัดซื้อ ( ในกรณีวงเงินจัดซื้อเป็นอำนาจของ ผว.) หรือนำเสนอคณะกรรมการ กคช. ( ในกรณีวงเงินจัดซื้อเกินอำนาจของ ผว.)
6. ประเด็นพิจารณากรณีการจัดซื้อที่ดินในภูมิภาค
    การใช้พนักงาน กคช. แต่เพียงอย่างเดียวเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินจะเสมือนกับการทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่มี Connection และไม่ได้คำนึงถึง Stakeholder ทั้ง ๆ ที่ควรจะมีเนื่องจาก กคช.เป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ที่ กทม.ไม่มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่รู้จริงว่าคนในเมืองภูมิภาคที่จะไปสร้างบ้าน/สร้างชุมชนให้เขาอยู่นั้นมี  Character อย่างไร ควรจะสร้างบ้านแบบใด ลักษณะการคมนาคม/ขนส่ง จากชุมชนไปยังแหล่งงาน สถานศึกษา ส่วนราชการ โรงพยาบาล ฯลฯ ของเขาเป็นอย่างไร      ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดที่อยู่อาศัยตรงตามความต้องการของประชาชน   กคช. ประสบผลสำเร็จตามภารกิจตามที่รัฐบาลมอบหมาย และประชาชนได้สิ่งที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน  มีความสุขกับบ้านกับชุมชนที่อยู่อาศัย
     6.1 แนวคิดในเรื่องบุคคลที่จะเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน 
           ดังนั้นในแง่ของ Connection และ Stakeholder  กคช.จึงควรที่จะปรับปรุงพัฒนาแนวคิดการจัดหาที่ดินใหม่โดยควรจะขอให้ภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่น ( ปลัดเทศบาล/ปลัด อบต. เป็นต้น ) ประธานหอการค้าจังหวัด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน เพื่อที่จะได้ข้อมูลได้ความรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ในเมืองนั้นมามากกว่าพนักงานของ กคช. มาใช้ประกอบการพิจารณาจัดซื้อที่ดิน  กรรมการจัดซื้อที่ดินซึ่งตั้งจากหน่วยงานท้องถิ่นสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคณะกรรมการในส่วนของ กคช.ได้มาก  นอกจากนั้น การให้ส่วนราชการและภาคเอกชนในท้องถิ่นได้ทราบล่วงหน้าถึงการที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนในอนาคตยังจะเป็นการช่วย กคช.ทำงานได้ครอบคลุมลดภาระต่าง ๆ ลงได้  เช่น     ช่วยประชาสัมพันธ์ความต้องการซื้อที่ดินให้กว้างขวางขึ้น ช่วยรายงานความคืบหน้าหรือปัญหาอุปสรรคของโครงการให้ประชาชนที่จะเป็นลูกบ้านของ กคช.ในอนาคต  ได้ทราบ  ช่วยเหลือแนะนำการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร การตั้งงบประมาณในการจัดเก็บขยะ การประสานด้านการคมนาคม/ขนส่ง ฯลฯ ให้แก่ประชาชน   

โดยในเบื้องต้น กคช.อาจจะทำโครงการทดลองโดยยังกำหนดให้คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินส่วนใหญ่เป็นพนักงานของ กคช. ก่อน หากเห็นว่าได้ผลดีจึงค่อยถือแนวปฏิบัติต่อไป

     6.2 แนวคิดในเรื่องของประธานคณะกรรมการ ฯ เป็นพนักงานตำแหน่ง รผว.      พิจารณาในเบื้องต้นโดยยังไม่นำแนวคิดข้อ 6.1 มาพิจารณา  การให้ รผว.เป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดิน เป็นการกำหนดระดับตัวบุคคลที่สูงเกินไป ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่ให้คุณให้โทษ เป็นตำแหน่งที่คณะกรรมการที่เหลือในคณะ ( ซึ่งเป็นพนักงาน กคช.ที่ตำแหน่งต่ำกว่า) ให้ความเกรงใจ  ประธานกรรมการฯ จึงมีอิทธิพลที่จะชี้นำการพิจารณาให้เลือกที่ดินแปลงหนึ่งแปลงใดได้
ในทางปฏิบัติของการที่ต้องการให้ทีมร่วมพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะหลากหลายอย่างอิสระ ระดับตำแหน่งของพนักงานในคณะกรรมการจึงไม่ควรจะห่างกันมากเกินไป จึงน่าจะกำหนดให้ประธานกรรมการ เป็นพนักงานระดับ 9 กรรมการที่เหลือเป็นพนักงานระดับ 8 และไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาของประธานกรรมการ และควรปรับแก้การเสนอผลการดำเนินงานให้ ผว.เป็นผู้ตัดสินเพียงคนเดียวมาเป็นการนำผลการพิจารณาเข้าในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงเพื่อร่วมกันกลั่นกรองความเหมาะสมของที่ดินที่คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินได้พิจารณามาแล้วอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแนวคิดเรื่องการกำหนดระดับตำแหน่งของพนักงานที่เป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินก็ยังคงสามารถนำไปใช้กับแนวคิดในเรื่องให้ส่วนราชการท้องถิ่นหรือภาคเอกชนท้องถิ่นเข้าเป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินของ กคช.ได้เช่นกัน    

แนวคิดครั้งนี้ไม่ต้องแก้ไข ข้อบังคับ ว่าด้วย การจัดซื้อที่ดิน สามารถดำเนินการได้ทันที


นายดารนัย อินสว่าง

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

โดยนายดารนัย อินสว่าง รุ่นที่ 2

    การเคหะแห่งชาติ เป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516             ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ต่อมาปี 2545 รัฐบาลได้มีกรเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ การเคหะแห่งชาติจึงได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน ในรูปแบบของการให้เช่าและเช่าซื้อ
     2. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเพื่อที่เป็นที่อยู่อาศัย
     3. จัดหาเงินกู้เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนได้เช่าและเช่าซื้อ
     ต่อมาปี 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งพระราชบัญญัติ              การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ดังนี้
         1. จัดให้เคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย
     2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง
         3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน
         4. ปรับปรุงหรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรม เพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม           เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
         5. ประกอบธุรกิจอื่นๆที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
     ภารกิจของการเคหะแห่งชาติ พัฒนาที่อยู่อาศัยพัฒนาคุณภาพชีวิตของ               ผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อให้เกิดครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมเป็นสุข
    

    ยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2554-2558 ยุทธศาสตร์ ที่1 การควบคุมความเสียหายและพลิกฟื้นองค์กร (Damage Control Mitigation) ยุทธศาสตร์ ที่2 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและองค์กรเพื่อการพัฒนาทรัพย์สินให้เหมาะกับแต่ละบทบาท และเกิดประโยชน์สูงสุด(Restructuring) ยุทธศาสตร์ ที่3 การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ยุทธศาสตร์ ที่4 การพัฒนาศักยภาพองค์กรเพื่อรองรับแตะละบทบาทในระยะยาว

ยุทธศาสตร์ ที่5 การลงทุนและบริหารทรัพย์สินเพื่อให้สอดคล้องแต่ละบทบาทของ องค์กร(Investment Asset management) ยุทธศาสตร์ ที่6 การเป็นผู้นำในการอยู่อาศัยและพัฒนาเมืองที่มีความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารชุมชนและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Leader on Sustainable urban and housing development)

    ในปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในรูปแบบของโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนประมาณ 315 โครงการ จำนวนหน่วยก่อสร้าง               สองแสนกว่าหน่วยทั่วทั้งประเทศ และมีสำนักงานเคหะชุมชนที่ต้องดูแลโครงการทั้งเคหะชุมชนและโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภูมิภาค จำนวน 79 สำนักงานเคหะชุมชน
    ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารการจัดการเพื่อให้ชุมชน                    ได้มีการบริหารจัดการกันเองและเป็นการแบ่งเบาภารกิจของเจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ                  ซึ่งมีจำนวนน้อย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันและมีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงพัฒนาชุมชนในแต่ละด้าน  ดังนี้

ด้านสังคม ควรมีการพัฒนาในเรื่องนี้

    1. การจัดตั้งองค์กรชุมชน เพื่อให้เป็นองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จะต้องดำเนินกิจกรรมและมีแผนงานที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการ ดังนี้
        1.1 ปฐมนิเทศให้ความรู้การอยู่อาศัยในชุมชน และการสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
        1.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่ององค์กรชุมชน ในรูปแบบที่สอดคล้องกับนโยบายของการเคหะแห่งชาติ เพื่อให้องค์กรชุมชนสามารถดำเนินการบริหารชุมชนของตนเอง โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจากการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้องค์กรชุมชนจะต้องจัดหาผู้ที่มี              จิตอาสา มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต เข้ามาเป็นคณะกรรมการชุมชน
        1.3 จัดอบรมให้ความรู้การบริหารองค์กรชุมชน ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารชุมชนภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรและโครงการเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งองค์กรในนั้นจะต้องรู้จักการประสานงานกับหน่วยงาน            ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะได้นำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์มาสู่ชุมชน


    2. การพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน โดยการดำเนินการและสนับสนุนองค์กรชุมชน โดยการดำเนินการและสนับสนุนองค์กรชุมชนด้านการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง และมีรูปแบบของการบริหารจัดการที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องมีกระบวนการ   ตามขั้นตอน ดังนี้
        2.1 จัดอบรมเพื่อสนับสนุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการองค์กรชุมชน และตัวแทนอาคารผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแกนนำพัฒนาชุมชน 
        2.2 จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ สร้างภาวะผู้นำพบผู้นำและศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีการรวมตัวกันและเป็นการแสวงหา               ผู้นำชุมชนที่จะสามารถพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบโครงการเรียนรู้และศึกษาดูงานจากชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปเพื่อนำมาเป็นต้นแบบ
        2.3 จัดอบรมให้ความรู้ด้านงานบริหารชุมชนแบบบูรณาการแก่องค์กรชุมชนและผู้อยู่อาศัยในชุมชน ทั้งนี้เตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรชุมชนที่จะได้บริหารชุมชนของตนเองในอนาคต เนื่องจากการเคหะแห่งชาติมีงบประมาณที่จะต้องจ้างบริหารชุมชนใน 5 ปี                  ซึ่งแต่เดิมได้จ้างเหมาบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารชุมชน แต่ถ้าสนับสนุนให้องค์กรชุมชน   มีความเข้มแข็งและสามารถบริหารชุมชนได้ด้วยตนเอง จะทำให้ชุมชนมีรายได้และสร้างงานให้กับคนภายในชุมชนได้มีงานทำ เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด พนักงานธุรการ พนักงานการเงิน ช่างเทคนิค เป็นต้น
        2.4 ให้ความรู้เรื่องนิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลชุมชนการเคหะ เนื่องจากอาคารชุดเมื่อครบ 5 ปีแล้ว จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้น องค์กรชุมชนจะต้องมีความเข้าใจด้านการบริหารในรูปแบบของนิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลชุมชนการเคหะ
        2.5 จัดกิจกรรมพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเด็ก สตรี และเยาวชนผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ให้มีความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของกลุ่มเพื่อให้แต่ละกลุ่มได้มีความเข้มแข็ง เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและสร้างชุมชนให้ความเข้มแข็งเป็นชุมชนน่าอยู่ น่าอาศัย ร่วมกับองค์กรชุมชน

    3. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน เพื่อให้องค์กรชุมชนได้มีการเรียนรู้และ               การจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาชุมชนจะได้เป็นรูปแบบของการทำงาน โดยมีแผนงานด้านการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม และมีความชัดเจนของการบริหารงานในแต่ละปี โดยมีกิจกรรมและกระบวนการ  ดังนี้
3.1 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมสำรวจข้อมูลชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการขัดทำแผนงานบริหารงานโดยเริ่มจากสำรวจข้อมูลชุมชนโดยการใช้แบบสอบถามด้านประชากร ความต้องการด้านอาชีพ ความต้องการด้านกิจกรรมพัฒนาชุมชน และนำแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อที่จะได้นำมาประกอบในการจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาชุมชน
        3.2 จัดทำร่างแผนชุมชนร่วมกับสมาชิกผู้อยู่อาศัย และหน่วยงาน                    ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยผู้อยู่อาศัยและองค์กรชุมชนเป็นผู้จัดร่างแผนงานด้าน              การพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
        3.3 ประชาพิจารณ์แผนบูรณาการแผนชุมชน เมื่อร่างแผนเสร็จเรียบร้อย      ให้มีการประชุมองค์กรชุมชน ร่วมกับผู้อยู่อาศัยในชุมชน นำแผนงานที่ร่างไว้มาทำประชาพิจารณ์ถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสม ก่อนนำมาประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

    4. การสร้างเครือข่ายชุมชนระดับพื้นที่/องค์กรภายใน/องค์กรภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือและมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยมีกิจกรรมและกระบวนการ ประกอบด้วย
        4.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
        4.2 ประชุมร่วมระหว่างชุมชน
        4.3 ประชุมจัดตั้งเครือข่ายชุมชน และจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาชุมชน              ร่วมกัน
        4.4 สร้างเครือข่าย
        4.5 ศึกษาดูงานระบบบริหารชุมชนของชุมชนอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม

    5. ติดตามและประเมินผล การดำเนินโครงการและนำข้อมูลผิดพลาดมาดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ได้ความชัดเจนและสมบูรณ์แบบในการพัฒนาชุมชน

ด้านเศรษฐกิจ

    เนื่องจากโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นโครงการที่จัดสร้างเพื่อผู้อยู่อาศัยที่มี                รายได้น้อย ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้จักการเรียนรู้ด้านการออมทรัพย์ วินัยทางการเงิน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยได้มีอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยส่งเสริมการฝึกอาชีพและจัดหาตลาดทางการค้าให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียนด้านอาชีพ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือสถาบันการศึกษาได้นำอาชีพใหม่ ๆ มาพัฒนาในชุมชน

ด้านสิ่งแวดล้อม

    จัดอบรมให้ผู้อยู่อาศัยได้มีความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาชุมชนด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและการสร้างชุมขนสีเขียว เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนน่าอยู่ โครงการจัดกิจกรรม/โครงการภายในชุมชน ประกอบด้วย
    1. โครงการรณรงค์การปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ต้นไม้ภายในชุมชน เพื่อให้เป็น            ชุมชนสีเขียว
    2. โครงการธนาคารขยะ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีการคัดแยกขยะ และทิ้งขยะตามที่ที่          กำหนดไว้
    3. โครงการรณรงค์รักษาความสะอาดภายในชุมชนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีส่วนร่วมใน        การพัฒนาชุมชนร่วมกัน

บทสรุป

    การเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคม   และความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายนโยบายจากรัฐบาลในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางในรูปแบบของโครงการบ้านเอื้ออาทร มีทั้งระบบการก่อสร้างที่เป็นอาคารชุด บ้านเดี่ยว บ้านแฝด  บ้านเดี่ยว ซึ่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างและ                 ส่งมอบอาคารไปแล้วประมาณ 315 โครงการ ทั่วทั้งประเทศประมาณแต่ละโครงการมีตั้งแต่ขนาด 200 หน่วย จนถึงประมาณ 8,000 หน่วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด ซึ่งการส่งมอบบ้านให้กับผู้อยู่อาศัยแล้วการเคหะแห่งชาติจะดูแลสภาพชุมชนทั้งระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการบริหารจัดการโครงการประมาณ 5 ปี และหลังจากนั้นก็จะดำเนินการมอบโอนให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลต่อไป แต่ภายในระยะเวลา 5 ปี ที่การเคหะแห่งชาติดูแลนั้น จะดำเนินการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อให้สามารถบริหารตนเองได้หลังจากครบ 5 ปีแล้ว โดยเฉพาะองค์กรชุมชนจะต้องมีการเรียนรู้ด้านการบริหารชุมชน การพัฒนาชุมชน ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ  และสิ่งแวดล้อม พร้อมรอบรู้ด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการที่จะดึงหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมเป็นภาคีในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยเฉพาะการจัดทำแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม องค์กรชุมชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน และสามารถถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาชุมชนไปให้กับคนรุ่นหลังได้ ต้องมีกลไก ในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีบุคคลหรือองค์กรในชุมชน ได้มีการบริหารชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชุมชน และเป็นชุมชนต้นแบบ                 เป็นชุมชนตัวอย่าง ที่บุคคลทั่วไปเห็นแล้วชื่นชม เห็นแล้วยกย่องสรรเสริญ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ   และสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงตลอดไป
ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

          ไม่มีสิ่งอื่นใดที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อาจารย์จีระฯต้องการทำในสิ่งที่ยาก  นอกจาก การได้เห็นต้นแบบแห่งคุณงามความดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพสู่สังคมไทยให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่ยืนตามแนวทางของพ่อหลวง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2015 การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง  จะต้องพัฒนาคนไทยอย่างไรรองรับประชาคมอาเชียน  อาจารย์จีระฯได้เอาทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์เอง หรือที่เรียกว่า  8K’s และ 5K’s (ใหม่) นำมาเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสรุปดังนี้

          K1 ทุนมนุษย์ (Human Captital) เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เพราะมนุษย์ทุกคนเริ่มเท่ากัน ได้มีการลงทุนและ พัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัว  ศึกษา โภชนาการ การอบรม ฯลฯ ทำให้ทุนมนุษย์มีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการเรียน

          K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  คือการมองไปข้างหน้าหรืออนาคต  อาจารย์จีระ พูดถึงวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนไทยคิดเป็นและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทยกับสังคมเศรษฐกิจอาเชียนโดยนำทฤษฎี 4L's มาปรับใช้ จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาที่จะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและความไม่แน่นอน ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การมีทุนทางปัญญาจะทำให้สามารถหาทางออกเสมอ  สำหรับ ทฤษฎี 4L's ประกอบด้วย

                        Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรุ้ที่น่าสนใจ

                        Learning Environment  คือ สร้างบรรยากาศเรียนรู้

                        Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสเรียนรู้

                        Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

          K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม(Ethical Capital) อาจารย์จีระ พูดว่า การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้และมีปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ควรจะอยู่ใน DNA ของคนไทยทุกคน และได้แนะนำแนวทางการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม อีก 2 แนวทางที่เห็นควรปฏิบัติ คือ

                        แนวทางแรก  คือแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยให้เข้าใจและยึดมั่นใน  ศีล  สมาธิ และปัญญา

                        แนวทางที่สอง คือ การมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ ความถูกต้อง(Integrity)   จินตนาการ (Imagination)  และนวัตกรรม(Innovation)

          K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)  อาจารย์จีระ ให้คำนิยามว่า คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ    และอาจารย์ได้ค้นหาตัวท่านเองว่าความสุขของท่านก็คือการมีความรักในงานที่ทำ มีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์และเพื่อร่วมชาติในสังคมไทย  ดังนั้นในโลกของการแข่งขันการจะอยู่รอดในสังคมอาเซียนเสรินั้นเรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า  ในการนี้อาจารย์จีระได้ให้แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุขจากประสบการณ์ของท่าน โดยมีกฏ ดังนี้          

  1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)
  2. ชอบงานที่ทำ (Passion)
  3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)
  4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)
  5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)
  6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)
  7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)
  8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)
  9. ทำหน้าที่เป็นโค๊ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)
  10. ทำงานที่ท้าทาย ( Challenge)
  11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

           K5 ทุนทางสังคม (Social Capital-Networking)  หรือเครือข่าย อาจารย์จีระพูดว่า ในยุคอาเซียนเสรีคนไทยต้องพร้อมที่จะมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศํกยภาพในการแข่งขัน  แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายของปัญญา ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน ให้ได้เพราะเป็นปัจจัยสัญช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) อาจารย์จีระ ให้ความหมายไว้ว่า คือการที่ตัวเราจะมีศํกยภาพในการมองอนาคติว่าจะอยู่รอดหรือไม่  โดยทุนแห่งความยั่งยืนของอาจารย์จีระ มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น  ความพอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน 

            K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital)  ในยุคที่ข่าวสารไร้พรหมแดน อาจารย์จีระ ตระหนักว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้  การเปิดเสรีอาเซียน ภาษาอังกฤษอย่างเดียวคงไม่พอ การเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วยกันก็สำคัญ เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาเขมร เป็นต้น

            K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)  หมายถึง การมีทักษะ ความรู้และทัศนคติ  อาจารย์จีระ พูดว่า ในยุคอาเซียนเสรี คนที่มีศํกยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา มีทัศนคติพร้อม ต่อการทำงานในเชิงรุก

            5K's (5)  เป็นทฤษฎีทุนใหม่ ที่อาจารย์จีระฯ  เห็นความสำคัญอีก 5 ประการในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์  ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน  ประกอบด้วย

  1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  อาจารย์บอกว่า การสร้างความคิดสร้างสรรค์ต้องฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ   คิดเป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
  2. ทุนทางความรู้    ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักของความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ ตรงประเด็นความต้องการของผูรับบริการ
  3. ทุนทางนวัตกรรม   โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ  หนึ่ง เป็นความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้      สอง นำความคิดไปปฏิบัติจริง และสาม คือทำให้สำเร็จ
  4. ทุนทางวัฒนธรรม  การมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศื่น ๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย
  5. ทุนทางอารมณ์  มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย   โดยแนวทางของ The Klann Leadership คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี  รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะช่วยให้เราทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

บทสรุปจากหนังสือ  การเปิดเสรีอาเซียน หรือการก้าวสู่สังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวก และ ลบ  ทั้งเป็นโอกาสและเป็นความเสี่ยง     ดังนั้นคุณภาพของทุนมนุษย์ คือ เรื่องวัดความสามารถทางการแข่งขัน  ทฤษฏี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) ตามที่สรุปข้างต้นจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้

                                                              บทย่อโดย ผ่องศรี  ปลอดประดิษฐ์

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ

          เป็นหนังสือที่ผู้เขียน คือ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ชาวไทยได้พึงปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทซึ่งพระองค์เป็นต้นแบบแห่งคุณธรรมความดีงาม ที่ทรงทำเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ได้แก่

  1. ความกตัญญู    ความสุขสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่นั้น คงไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าการมีลูกเป็นคนดีและ เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  3. ความพอเพียง  คือความไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   ซึ่งประกอบด้วย 3 พอ  ได้แก่ พอเพียง คือการอยู่ได้ด้วยตนเอง   พอประมาณ คือไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก  และพอดี คือพอแล้วดีมิใช่ดีแล้วจึงพอ
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ระเบียบวินัย เคารพในกติกา และการู้จักยับยั้งจิตใจของตนเอง
  6. ความอดทน

          นอกจากนี้ การที่พระองค์ประสบความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็เพราะทรงครองราชย์โดยธรรม   ซึ่งธรรมที่ทรงนำมาเป็นหลักในการปกครองแผ่นดินก็คือ ทศพิธราชธรรม   ประกอบด้วย

  1. ทาน            ทรงเป็นผู้ให้
  2. ศีล              ทรงเป็นผ็มีจริยวัตรงดงาม
  3. ปริจจาคะ      ทรงเป็นนักเสียสละ
  4. อาชชวะ        ทรงเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
  5. มัททวะ         ทรงเป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
  6. ตปะ             ทรงเป็นผู้มีความเพียรในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และเพียร กำจัดกิเลส
  7. อักโกธะ        ทรงเป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ ไม่มัวเมาในอำนาจ
  8. อวิหิงสา       ทรงเป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง เบียดเบียนประชาชน
  9. ขันติ            ทรงเป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม ด้วยความอดทน
  10. อวิโรธนะ       ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรมอย่างเคร่งครัด ทรงถือธรรมเป็นใหญ่

                                        บทย่อโดย ผ่องศรี  ปลอดประดิษฐ์

กมลรัตน์ หลากคุณากร

สวัสดีคะอาจารย์ ส่งการบ้านครั้งที่ 2

ในการอบรมวันที่ 30 กรกฎาคม 55 ได้ความรู้เกี่ยวกับบุคคลตัวอย่างที่เป็นผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศ รู้จักการพัฒนาผู้นำมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้มีแรงบันดาลใจ และทัศนคติใหม่ๆในการทำงานและก้าวต่อไปอย่างแน่วแน่

ส่งการบ้าน ธัญญาภา สุโลวรรณ เรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการทำงานการเคหะแห่งชาติ

จำรัส ปลอดประดิษฐ์

สรุปเนื้อหาย่อ ๆ ที่เข้าใจจากการเข้าร่วมโครงการฯ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555

เรื่อง  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  

          เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนความรู้ และความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ผู้นำ นั้นต่างกับ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ควบคุม จัดการระบบและควบคุมให้สำเร็จตามเป้าหมายให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้น   ส่วน ผู้นำ จะจัดการที่เน้นคนหรือองค์กร โดยจับหลักการความสำคัญว่าจะมีวิธีการ (what)  และ How ทำอย่างไรให้สำเร็จ และเกิดศรัทธาจากองค์กร  ภาวะผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่นั่นหมายถึง Vision  Mission  Strategies และ Core Value ในอนาคต พร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และองค์กรมีความสุข    ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สามารถมาจาก การเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดเวลาและไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุข จากลูกน้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งการพัฒนาภาวะผู้นำ มีหลักทฤษฎี 5E’s  คือ  Example     Experience   Education  Environment   และ Evaluation

เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

บทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการบริหารการปฏิบัติงานประจำ   ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก-ภายใน ผลกระทบ และโอกาสเพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดี ทำให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่อย่างยั่งยืน

 

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

  • รู้และให้เข้าใจในความหมาย Vission – Mission
  • Vission ของ กคช.ที่กำหนดไว้ว่าใช้ในปี 2554-2558  ดูแล้วเป็นบทบาทมากกว่าที่จะเป็นทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทำให้เราอยู่รอด หรือทำให้เก่งกว่าคนอื่น และทำให้เราดูแลลูกค้าของเราได้ นอกจากนี้ ไม่เห็นภาพถึง 10 ปี ดังเช่นความหมายของ Vission
  •  ธุรกิจจะอยู่อย่างยั่งยืน   ผู้นำและคนในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
  • การฝึกความคิดความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้นำยุคใหม่  ให้ทบทวน-กำหนดวิสัยทัศน์ของ กคช. โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ภายใน  Stakehoders   เพื่อรองรับการเปลี่ยนในอีก 10 ปี

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนประสพการณืของวิทยากรจากหลาย ๆ แห่งเพื่อให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ในการบริหารกลยุทธ์จากหน่วยงานอสังหาฯ โดย อ. อนุชา กุลวิสุทธิ์    อ.เฉลิมพล เกิดมณี  และอ.สมชาย สาโรวาท   ซึ่งมุ่งเน้นของการทำเงิน  แต่ กคช. เพื่อสังคม หรือประชาชนผู้ด้อยโอกาศได้มีที่อยู่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม   นั่นก็คือ การมองตัวเองว่าอยู่ใน Position ตรงไหน จึงจะคุ้มทุนหรือจุดผ่าน

 

วันพุธที่ 27  มิย.55   การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. ในด้านวัฒนธรรม การตลาด  การผลิต และการเงิน

          ด้าน วัฒนธรรม กคช.  ที่หลายคนรับรู้ และดำเนินอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้แก่  กิจกรรมวันสถาปนา กคช.     วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอนนำเสนอตามลำดับสายการบังคับบัญชา   การเคารพผู้อาวุโส

           ด้านการตลาด  อ. พงษ์ชัยฯ ให้ความหมายไว้ว่า  การทำอย่างไรหรือวิธีไหนก็ได้ให้เกิดความอยาก   เมื่อ 40 ปีก่อน กคช. ไม่มีคู่แข่งการทำบ้านราคาถูก เพราะส่วนหนึ่งรัฐอุดหนุน  แต่ขณะนี้ มีหลายบริษัทที่ทำอสังหาฯราคาที่ถูกกว่า กคช.  ดังน็น กคช. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องหาช่องว่าของตลาดให้ได้ว่า ควรจะผลิด หรือมีผลิตภัณฑ์อะไรกันแน่   ที่จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหรือไม่  หรือมีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด

            วิเคราะห์การผลิต  เป็นการสร้างจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนผลิต และรูปแบบบ้านไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบชานเมือง  เป็นการสร้างแล้วขาย   หากขายแล้วสร้างจะเน้นระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

            วิเคราะห์การเงิน  กคช.จะมีรายรับจากการโอนที่อยู่อาศัย และบริหารสินทรัพย์เช่า แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  รวมถึงต้นทุนสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นกัน  จึงมีความเสี่ยงทางการเงินในสินค้าคงค้าง และภาระหนี้ระยะยาวที่ค่อนข้างสูง  ถึงแม้ว่างบการเงินในปี 2553 กคช. ไม่ติดลบก็ตาม   และในอนาคตงบการเงินเป็นอย่างไร หากติดลบ เป็นด้วยปัจจัยอะไร ที่ทุกคนจะต้องแก้ปัญหา

 

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555

            การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์   เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์  กับกลยุทธ์     โดยกลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย              ดังนั้น  การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์  ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้

            สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT  
  2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง
  3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร   ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น  ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น
  4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
  5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN
  6. MORNITOR ,  EVALUATE ,  AND REVISE PLAN

การสร้างทุนมนุษย์  เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ  ความรู้ความสามารถ   ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ  LEADERSHIP   หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง   มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์

นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา  เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด  กิจกรรมนี้ชอบมาก   รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

 

วันที่ 9 กรกฏาคม 2555   การบริหารธุรกิจในยุคอาเชียน

              ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ( AEC ) ที่ทุกคนในขณะนี้รู้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558   หากมองย้อนหลังออกไปจะเห็นว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  และมนุษย์อยู่ในสังคมแห่งความรู้   ข่าวสาร  เทคโนโลยี  ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  แต่การก่อกำเนิดของอาเชียนได้รวมตัวมากันตั้งแต่ปี 2510 และต่อยอดออกมาเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(AFTA) เขตการค้าเสรีในปี 2536    ความตกลงด้านการค้าบริการ และเขตการลงทุนอาเชียนในปี 2538 เป็นต้นมา  ดังนั้น ข่าวสารความรู้  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหาร หรือผู้นำ จะต้องรู้ให้รอด  รู้จริง  มีความตระหนัก และเห็นสิ่งจริงภายใต้การแตกต่าง  นั่นก็คือการคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)  ซึ่งความหมายของคำว่า “ระบบ”  จะต้องมีองค์ประกอบคือฟังก์ชั่น หลาย ๆ ฟังก์ชั่นที่เชื่อมสัมพันธ์กัน ถ้าเปรียบกับการบริหาร หมายถึงกระบวนการงานบริหารจัดการในแต่ละหน่วยงานจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน  ทำให้เกิดความมั่นคงของระบบ องค์กรอยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุข

   นอกจากนี้ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มองจุดเห็นโลกทั้งหมด โดยเห็นว่าโลกแบน  และต้องเป็นนักคิดกลยุทธ์หมายถึง รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง  ให้คิดเป็นระบบมองอนาคต ทุกอย่างในโลกนี้เป็นกระบวนการ ให้ปรับเปลี่ยนความคิดจากคำถามว่า อะไร เป็น ทำไม และ ทำอย่างไร  แล้วจะเห็นสิ่งที่เหมือนกัน  ดังนั้นในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  การบริหารจัดการองค์กรที่ดีผู้บริหารจะต้องฝึกระบบคิด เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และปรับกฏเกณฑ์

    ช่วงบ่าย จะเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ของวิทยากร และอาจารย์  โดยให้ความหมาย AEC        ก็คือตลาดร่วม หรือตลาดเดียว ที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเงินทุนโดยเสรี ไม่มีเส้นกั้นระหว่างประเทศ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ 10 ประเทศใน เอเชี่ยนเท่านั้น เนื่องจากแต่ละประเทศไปทำสัญญากับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นอาจหมายถึงครึ่งหนึ่งของโลกทีเดียว   เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้บริหาร กคช. ควรได้มีการระดมความคิดที่เป็นระบบ เตรียมพร้อมการเข้าสู่ยุคประชาคมอาเชียน   หาโอกาส และลดผลกระทบจากจุดอ่อนในอดีตที่ผ่านมา  สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์บ้างก็ตาม เพื่อให้องค์กรได้คงอยู่อย่างยั่งยืน

 

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 

เรื่องที่ 1  การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

             ความรู้ในเชิงทฤษฎี ว่า การบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอาจทำมานานแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน  เพราะบางเรื่องเป็นความเสี่ยง แต่บางเรื่องไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง  และในสถานะที่เป็นผู้บริหาร อาจจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่ไม่ทราบผลลัพธ์ที่แน่นอน  จึงจะต้องกำหนดให้มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นตัวช่วย     การบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการและเทคนิคประกอบด้วย  การระบุความเสี่ยง  ประเมินความเสี่ยง  จัดการกับความเสี่ยง  และติดตามผลการบริหารความเสี่ยง 

               ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยง เป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องกำจัดให้หมดไป ไม่ให้เหลือเลยเพิ้อทำตัวให้ปลอดภัยดีกว่านั้น ไม่ถูกต้องเพราะในโลกใบนี้การดำเนินชีวิตทุกๆย่างก้าว ทุก ๆ แห่ง มีความเสี่ยงตลอดเวลา    ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการปัองกันให้อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้โดยยึดหลัก 5Ts   of Risk Management ดังนี้

  1. Tolerate  การยอมรับให้มีความเสี่ยงบ้าง
  2. Treat  การจัดการควบคุมความเสี่ยง  แต่มิใช่ให้หมดไป เป็นการควบคุมทั้งโอกาสและผลกระทบให้อยู่ในระดับที่รับได้
  3. Transfer  การกระจาย/โอนความเสี่ยงให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง
  4. Take  การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงบางอย่างอาจนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ        

             

วันพุธที่ 11 กรกฏาคม 2555

เรื่องที่ 2  การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

                        งบประมาณ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งประกอบด้วย แผนการปฏิบัติงาน ผนวกกับ แผนการใช้จ่ายเงิน  นั่นก็คือ แผนการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งโดยแสดงออกในรูปตัวเงินในการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลผลิตและผลลัพธ์ โดยใช้จ่ายอย่างประหยัดและคุ้มค่า            การจัดทำงบประมาณไม่มีสูตรสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการต่อรองข้อมูลจริงที่ดีเพียงพอว่าถ้าจัดสรรแล้วการดำเนินงานได้ประโยชน์อย่างไร 

                        อาจารย์สุวรรณ วลัยเสถียร   ซึ่งเป็นปรมาจารย์ของการใช้เงินให้ทำงาน ได้ชี้หนทางสู่ความั่งคั่ง  ด้วยคาถา 4 อย่างที่ควรท่องจำไว้ ดังนี้

  1. ขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้
  2. ประหยัดอดออม คนที่สุรุ่ยสุร่ายไม่มีโอกาสร่ำรวย
  3. ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออก  แก้ปัญหา
  4. ทำบุญกุศล  

 

วันจันทร์ที่  16 กรกฎาคม 2555 

         การวิเคราะห์กรณีศีกษาการบริหารธุรกิจ  เพื่อให้ผู้บริหาร ได้ตระหนักและสามารถนำไปประยุกต์กับการพัฒนา กคช.  โดยสรุปประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้

-       ในการบริหารองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ผู้บริหารนั้นเป็นผู้ที่มี สมรรถภาพ  (EFFECIENCY)  และมีสัมฤธิ์ผล (EFFECTIVENESS)    ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการดำเนินงานที่ต้องทำอะไรให้ถูกวิธี   ซึ่งในทฤษฎีของ  Peter Drucker  ว่าการบริหารงานของผู้บริหาร ต้อง Doing the Righting  ในการเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้   5 ประการ คือ

  1. Time  การบริหารกาลเวลาให้เป็น ตัวอย่างเช่น จัดหาสมุดบันทึก 3 เล่ม ไว้ที่ โต๊ะ ,เลขา และ หัวเตียงนอน  โดยให้จดบันทึกของแต่ละวัน  จะพบว่า ทั้ง 3 เล่มมีเนื้อเรื่องไม่ตรงกัน
  2. Priority   วางแผนว่าจะต้องทำอะไร และให้เลือกว่าจะทำอะไรก่อน
  3. Contribution  หมายถึง การถามตนเองว่า องค์กรจ้างมาให้ทำอะไร แล้วคุ้มค่าหรือไม่  
  4. Strength  ให้มองแต่จุดแข็งของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นความสามารถการปฏิบัติงานมีเพียง 10%  ก็เพียงพอแล้ว
  5. Problem Soving  และ Decision Making   การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เป็นระบบ         

-        แนวคิด Creative Thinking ของอาจารย์ มารค์ ก็คือ การมองภาพ กคช. ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร   การทำไปวิเคราะห์ไป  การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน  และ สิ่งสำคัญ การเล่นและการเรียนรู้       อาจารย์ได้สอนให้ผู้บริหารรู้จักการมองความเป็นตัวตน (Self)  เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ต่อไป  หรือ คิดกลับด้านจากผลงานในอดีตเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย   ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสัมฤทธิ์ผลไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึง วัตถุประสงค์  ขององค์กรว่าเพื่ออะไร  และการเข้าสู่ AEC  ถ้า กคช. ไม่ขยับ หรือคิดหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง จะส่งลห้องค์กรเสียประโยชน์ได้  

 

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555    การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

          

  • ทฤษฎีของ Jack Welch  การดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทั้งสิ้น ทั้งในชีวิตจริงตั้งแต่ครอบครัว  เพื่อนบ้าน ครู   เพื่อนเรียน  ผู้บังคับบัญชา  ซึ่งในทุก ๆ วัน จะยุ่งวุ่นวายกับคนทั้งนั้น    ดังนั้น   ผู้นำที่ดี ต้องมีเวลาในกับคนในองค์กร
  • คนในองค์กรเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด    ในแต่ละหน่วยงานอาจจะมีคนมากหรือน้อย การบริหารคนไม่มีความแตกต่างกัน เพราะทุกคนทำงานเพื่อบรรลุผลงานของตนเองซึ่งผู้นำจะทราบจากการติดตามประเมินผล ที่เกิดจาก ความรู้ความสามารถ และทักษะ (Competency) โดยแต่ละคนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้นำที่คอยกระตุ้นสร้างแรงจูงใจได้อย่างไร เพราะองค์ประกอบมีมากมาย หลายอย่าง เช่น อารมณ์ ครอบครัว สภาพแวดล้อม หรือเจ้านายเป็นต้น
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ก่อนอื่น   ผู้นำต้องรู้จักและจัดการเปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน อันเนื่องมาจากปัจจัยขององค์ประกอบภายนอก และภายใน
  • โมเดล ขบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  1. Leader Change  มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร
  2. Creating A Shared Need สร้างความต้องการร่วมที่มุ่งสู่ความเปลี่ยนแปลง
  3. Shaping A Vision สร้างวิชั่น หรือวิสัยทัศน์ให้คนอื่นเห็น
  4.  Mobilizing Commitment ผลักดันให้เกิดการยอมรับ หรือมีแนวร่วม
  5. Making Change Last  การจัดการช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
  6. Monitoring Progress  ติดตามความคืบหน้า
  7. Changing System & Structure   เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงการและระบบ

Finance for Non-Finance & Financial Perspective

            การให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้บริหารที่มิใช่นักการเงิน เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงความสำคัญและความจำเป็น    และประโยชน์ของความรู้ทางการเงินให้นำไปประยุกต์ ใช้กับการบริหารในหน่วยงานที่รับผิดชอบ   โดยเนื้อหา อธิบายถึงความหมายของตลาดการเงินและตลาดทุน   รายการสำคัญในงบแสดงฐานะทางการเงิน  งบกำไรขาดทุน   และงบกระแสเงินสด  รวมทั้งการวิเคราะห์การลงทุนโครงการ  ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการบริหารการเงินองค์กร และส่วนบุคคล

   

                

วิญญา สิงห์อินทร์

สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

คุณพารณ  เครือซิเมนต์ไทย  ให้ความสำคัญกับคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด  จนทำให้เครือซิเมนต์ไทยมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเกิดขึ้นตามธรรมชาติตั้งแต่การคัดเลือกคนทำงาน  สืบทอดวัฒนธรรม  เพิ่มผลิตสร้างเครือข่าย  จนพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กร  และคุณพารณ  มีความเป็นประชาธิปไตยในการบริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ  มองการพัฒนาอบรมคนเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน  และคนเป็นผู้นำต้องอย่าดีแต่พูดต้องทำให้เกิดเป็นผลงานและจะมีศรัทธาตามมา  

สิ่งที่เครือซิเมนต์มีหลักสำคัญที่ควรยึดถือในการประเมินคน 2 องค์ประกอบ

ความสามารถในการทำงาน (ในหน้าที่)
                     การเป็นที่ยอมรับจากทุกระดับ
         ดร.จีระ  ในทรัพยากรทั้งหลายในการผลิต  ทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุดเป็นผู้นำเสนอทฤษฎี  3  วงกลม  สำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลง  Change  management
         วงที่ 1   Context    เป็นองค์กรให้คล่องตัว  แวดล้อมเอื้อต่อการทำงาน  เน้นแบบ

Process ใช้ IT

          วงที่ 2  Competencies  สมรรถนะทักษะความสามารถโดยเน้นทักษะงานที่นำความรู้ที่เป็นประโยชน์องค์กร  ภาวะผู้นำริเริ่มสร้างสรรค์  ความรู้รอบตัว  
          วงที่ 3  Motivation  สร้างแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินไม่เป็นตัวเงิน
จำรัส ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

           เป็นหนังสือที่ว่าด้วยประสพการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับมนุษย์ของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านก็คือ อาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่มีความมุ่งมั่นในเรื่อง คน หรือทรัพยากรมนุษย์

          เนื้อหาหลัก ๆ ของอาจารย์ทั้งสองท่าน  แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 4 ช่วง พอสรุปได้ดังนี้

ช่วงแรก  เป็นช่วงที่กล่าวถึงเส้นทางชีวิตของอาจารย์ทั้งสองท่าน ที่มีความคล้ายคลึงกันและอยู่ในชนชั้นของสังคมเหมือน ๆ กัน โดยได้มาโคจรพบกันด้วยวัยต่างกันถึง 20 ปี เกิดมาในตระกูลที่มีชื่อเสียง อยู่ในครอบครัวอบอุ่น มีโอกาสกว่า  โดยอาจารย์พารณฯ เป็นช้างใหญ่ ในปูนซีเมนต์ซึ่งตรงกับนามสกุลของท่านจริง ๆ บริหารจัดการเรื่องของคนในองค์กรซึ่งเชื่อว่าคนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเงิน ไม่ว่าจะเครื่องจักร ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด และเชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

 นอกจากนี้ได้กล่าวถึงผลงานด้านที่เกี่ยวกับคนและแนวทางการทำงานของอาจารย์ทั้งสองท่าน  โดยคนทั้งคู่เป็นผู้ฝ่เรียนรู้ และยังคงกระหายกับการแสวงหาความรู้อย่างไม่รู้จักอิ่ม  ซึ่งปรัชญาชีวิตของอาจารย์พารณฯ ว่า  เราต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้  และเรียนรู้   ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ พันธุ์แท้  ที่มีความคิดริเริ่มแนวใหม่ๆอยู่เรื่อย และมีลักษณะของคนหลายแนวความคิด หากเป็นสินค้าจะมีนวัตกรรม หรือ innovation อยู่ตลอดเวลา เลยเป็นพันธุ์แท้ที่อยู่ได้อย่างสมบูรณ์

ช่วงที่สอง  เป็นการอธิบายแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรจากแรงจูงใจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยเฉพาะการมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ซึ่งนับวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป                วิธีคิดของอาจารย์พารณฯ กับการพัฒนาทัพยากรมนุษย์โดยกำหนดกรอบคิด 4 ประเด็น  ได้แก่ แนวความคิด  เป้าหมาย  วิธีการ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพราะการทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคน เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาก็เป็นดั่งทุน(Capital)  ที่นับวันมีแต่จะเสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะคุณภาพการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง หรือถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อน องค์กรจะทดแทนด้วยสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ แต่การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดการการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องดูด้วยว่า คนเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างเพิ่มผลผลิตแค่ไหน  ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ก็จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งอาจารย์ยึดมั่นในอุดมการณ์ 4 ประการ คือ  ตั้งมั่นในความเป็นธรรม   มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ  เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  และถือมั่นในความรับผิดขอบต่อสังคม

              สำหรับอาจารย์จีระฯ ได้นำประสพการณ์คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ว่าทรัพยากรมนุษย์จะมีคุณค่าจะต้องมี ทุน 8 ประการหรือ ทฤษฎี  8k's  ประกอบด้วย  ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข  ทุนทางสังคม  ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนทางเทคโนโลยีฯ  และทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ   นอกจากนี้จากกระแสโลกาภิวํมตน์แรงขึ้น ทุน 8 ประการยังไม่เพียงพอ  จึงได้ค้นพบอีก 5 ทุน หรือ ทฤษฎี 5 k's ประกอบด้วย ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ทุนทางความรู้  ทุนทางนวัตกรรม  ทุนทางอารมณ์  และทุนทางวัฒนธรรม

ช่วงที่สาม  เป็นเรื่องราวของการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่  สันกำแพงและที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย  โดยมุ่งมั่นให้เป็น Good learner  ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพื่อให้คนไทยก้าวสู่ระดับโลก  Global citizen   ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่ความคล่องแคล่วในภาษาไทย-อังกฤษ    เทคโนโลยี่   และมีคุณธรรม

ช่วงที่สี่  เป็นเรื่องราวแนวคิดในการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อมุ่งมั่น ของอาจารย์จีระฯ ในการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศ  โดยนำบทเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

   1.  ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา

   2.  เมื่อมีความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือทำ เพราะถ้าคิดแต่ไม่ทำ  นวัตกรรมไม่เกิด

    3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลในมุมมองหลาย ๆ คน และผู้มีส่วนใด้ส่วนเสีย

   

                                                                                               

จำรัส ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

          ในปี 2015 การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง  จะต้องพัฒนาคนไทยอย่างไรรองรับประชาคมอาเชียน  อาจารย์จีระฯได้เอาทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์เอง หรือที่เรียกว่า  8K’s และ 5K’s (ใหม่) นำมาเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสรุปดังนี้

          K1 ทุนมนุษย์ (Human Captital) เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เพราะมนุษย์ทุกคนเริ่มมาจากสิ่งที่เท่ากัน  ได้มีการลงทุนและ พัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัว  ศึกษา โภชนาการ การอบรม ฯลฯ ของแต่ละครอบครัวที่แตกต่างกัน ทำให้ทุนมนุษย์มีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการเรียน

            K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  เป็นการมองไปข้างหน้าหรืออนาคต  อาจารย์จีระ พูดถึงวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนไทยคิดเป็นและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทยกับสังคมเศรษฐกิจอาเชียนโดยนำทฤษฎี 4L's มาปรับใช้ จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาที่จะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและความไม่แน่นอน ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การมีทุนทางปัญญาจะทำให้สามารถหาทางออกเสมอ  สำหรับ ทฤษฎี 4L's ประกอบด้วย

                   Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรุ้ที่น่าสนใจ

                   Learning Environment  คือ สร้างบรรยากาศเรียนรู้

                  Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสเรียนรู้

                  Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

            K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม(Ethical Capital) หมายถึง การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้และมีปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ควรจะอยู่ใน DNA ของคนไทยทุกคน และได้แนะนำแนวทางการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม อีก 2 แนวทางที่เห็นควรปฏิบัติ คือ    แนวทางแรก  คือแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยให้เข้าใจและยึดมั่นใน  ศีล  สมาธิ และปัญญา  ส่วน แนวทางที่สอง คือ การมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ ความถูกต้อง(Integrity)   จินตนาการ (Imagination)  และนวัตกรรม(Innovation)

          K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)   คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ โดยเฉพาะอาจารย์จีระฯ มีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์และเพื่อร่วมชาติในสังคมไทย  ดังนั้นในโลกของการแข่งขันการจะอยู่รอดในสังคมอาเซียนเสรินั้นเรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า  ในการนี้อาจารย์จีระได้ให้แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุขจากประสบการณ์ของท่าน

K5 ทุนทางสังคม (Social Capital-Networking)  หรือเครือข่าย   ซึ่งในยุคอาเซียนเสรีคนไทยต้องพร้อมที่จะมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศํกยภาพในการแข่งขัน  แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายของปัญญา ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน ให้ได้เพราะเป็นปัจจัยสัญช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital)  คือการที่ตัวเราจะมีศํกยภาพในการมองอนาคติว่าจะอยู่รอดหรือไม่  โดยทุนแห่งความยั่งยืนของอาจารย์จีระ มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น  ความพอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน 

            K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital)  ในยุคที่ข่าวสารไร้พรหมแดน ซึ่งจะต้องตระหนักว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้  การเปิดเสรีอาเซียน ภาษาอังกฤษอย่างเดียวคงไม่พอ การเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วยกันก็สำคัญ เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาเขมร เป็นต้น

          K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)  หมายถึง การมีทักษะ ความรู้และทัศนคติ  อาจารย์จีระ พูดว่า ในยุคอาเซียนเสรี คนที่มีศํกยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา มีทัศนคติพร้อม ต่อการทำงานในเชิงรุก

            5K's (5)  เป็นทฤษฎีทุนใหม่ ที่อาจารย์จีระฯ ได้ค้นพบและเห็นความสำคัญเพิ่มเติม  5 ประการในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์  ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน  ประกอบด้วย

  1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  อาจารย์บอกว่า การสร้างความคิดสร้างสรรค์ต้องฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ   คิดเป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
  2. ทุนทางความรู้    ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักของความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ ตรงประเด็นความต้องการของผูรับบริการ
  3. ทุนทางนวัตกรรม   โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ  หนึ่ง เป็นความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้      สอง นำความคิดไปปฏิบัติจริง และสาม คือทำให้สำเร็จ
  4. 4.    ทุนทางวัฒนธรรม  การมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศื่น ๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย
  5. 5.    ทุนทางอารมณ์  มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย   โดยแนวทางของ The Klann Leadership คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี  รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะช่วยให้เราทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

 

 

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ

                   เป็นเรื่องราวในพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ชาวไทยได้พึงปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทซึ่งพระองค์เป็นต้นแบบแห่งคุณธรรมความดีงาม ที่ทรงทำเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ซึ่งคนไทยที่เกิดมาในยุคนี้ ถือว่าเป็นบุญบารมีที่มีพระมหากษัตริย์ทรงด้วยทศพิศราชธรรม โดยให้นำหลักของพระองค์ท่านมาใช้ในชีวิต ได้แก่

  1. ความกตัญญู    ความสุขสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่นั้น คงไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าการมีลูกเป็นคนดีและ เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  3. ความพอเพียง  คือความไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   ซึ่งประกอบด้วย 3 พอ  ได้แก่ พอเพียง คือการอยู่ได้ด้วยตนเอง   พอประมาณ คือไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก  และพอดี คือพอแล้วดีมิใช่ดีแล้วจึงพอ
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ระเบียบวินัย เคารพในกติกา และการู้จักยับยั้งจิตใจของตนเอง
  6. ความอดทน
นายสุพจน์ มัฆวิบูลย์

ขอส่งการบ้าน “การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนสิงที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคือ การบริหารแนวใหม่ วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องวางเส้นทาง จัดทัพ ภาวะผู้นำ สร้างความเป็นเจ้าของ
ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง – Political / Analyical / System / Business Skills
จุดมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลง
  1. เข้าใจสภาพแวดล้อม แนวโน้ม และความท้าทาย
  2. เข้าใจกลไกลขององค์กร และการจัดการ
  3. มีทักษะในการวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผนอย่างเป็นระบบในการตัดสินใจและสามาระให้ข้อเสนอแนะที่ดี
  4. สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลและพัฒนาหน่วยงานอย่างเป็นระบบ
  5. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ กรณีศึกษาของ กฟน. สามารถนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงใน กคช. ได้มาก โดยหน่วยงานต้องพร้อมที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้ปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่คาดการณ์ได้และ คาดการณ์ไม่ได้

ขอส่งการบ้าน “การบริหารธุรกิจในยุค AEC”

  1. ความสำคัญของอาเซียน
  2. สถานะสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งออกไปในตลาดอาเซียน
  3. แผนกลยุทธ์ “รู้เขา รู้เรา” สำหรับ SME ไทย คือ
  4. ด้านข้อมูลข่าวสาร
  5. ด้านเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน
  6. ด้านตำแหน่งสินค้า
  7. ด้านผลกระทบต่อธุรกิจ
  8. ด้านต้นทุนการผลิต
  9. ด้านคุณภาพสินค้า
  10. เป้าหมายภายใต้ AEC คือ
  11. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
  12. การสร้างเสริมขีดความสามาถแข่งขัน
  13. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  14. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก กคช. ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมในยุค AEC ที่มาใน ปี 2558 รวมทั้งควรให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจอย่างทั่วถึง

ขอส่งการบ้าน Finance for Non – Finance & Financial Perspective

  • ความหมายของตลาดการเงิน ตลาดทุน
  • ประเภทของสถาบันการเงินในประเทศไทย
  • หลักการบัญชีเบื้องต้น
  • รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กำไรสุทธิ
  • งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงกระแสเงินสด
  • การวิเคราะห์ทางการเงิน
  • การลงทุน
  • การบริหารการเงิน
  • การเงินโครงการ
  • การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพ การไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย
  • สร้างระบบผู้นำ
  • สร้างกลยุทธ์
  • สร้าง Core Competamcy
  • สร้างความท้าทายขององค์กร
  • สร้างความได้เปรียบ
  • รู้จักสภาพแวดล้อมภายใน – ภายนอก
  • รู้จักคู่ค้า
  • รู้คู่แข่ง
  • รู้จักบทบาทหลัก
  • มีการถ่ายทอดกลยุทธ์
  • รู้จักลูกค้าคือใคร
  • ลักษณะบุคลากรในองค์กร
  • มีการบวนการทำงานชัดเจน
  • บริหารข้อมูล สารสนเทศ
  • แสดงผลประกอบการ การลงทุนขึ้นอยู่กับโอกาสและเวลา ดังนั้น กคช. ควรกำหนดตำแหน่งทางธุรกิจที่เหมาะสมวางแผนให้สอดคล้องกับ SWOT ใกล้ชิดการเมือง ไม่ควรแข่งกับเอกชน ค้นหานวัตกรรมการอยู่อาศัย เช่น บ้านผู้สูงอายุ Nursing Home บ้านลอย ฯลฯ

ขอส่งการบ้าน “การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์”

  1. ฝึกอบรม (ทำเป็น คิดเป็น) + บ่มนิสัย = นำไปใช้
  2. คนเก่งถ้าร่วมมือร่วมใจ จะเกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ทั้งด้าน Social Value
  3. การใช้สมองซีกซ้าย ในการตัดสินใจในการทำงาน (หลักเหตุ และผลวิทยาศาสตร์)
  4. การให้สมองซีกขวา ในการเกิดความคิดสร้างสรรค์ (บันเทิง ดนตรี ศีลปะ)
  5. การระดมความคิด (Brain Storm) เป็นการใช้ความคิดแบบอิสระ คิดนอกระรอบ

    คิดสร้างสรรค์
    
  6. ทุนมนุษย์ (Human Capital) = ความสามารถ * ความผูกพันองค์กร = Competency * Commitment
  7. Competency สร้างโดย ฝึกอบรม ศึกษา สัมมนา ประชุม ดูงาน
  8. Commitment สร้างโดย การดูแลจิตใจ รู้ใจ เข้าใจ ใส่ใจ เอาใจ ได้ใจ ทำใจ ตัดสินใจ
  9. วินัย 5 ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organiation – Lo) คือ วิสัยทัศน์ร่วม
    เรียนรู้เป็นทีม บุคลากรชั้นเลิศ คิดร่วมกัน Balance Scorecard
  10. กระบวนการเปลี่ยนแปลงใช้ Adaptive Change (การเปลี่ยนแปลงโดยการปรับตัว) โดยผู้นำต้องมี Ideas For Change, Structure, System, Process และ Practise
  11. Competancy มีแล้วต้อง Action จึงจำให้เกิด Competancy Plus
  12. Learning Environment มีความสำคัญ โดยเฉพาะคน จากความรู้ข้างต้นนำมาใช้ในการคิดอย่าเป็นระเบียบ คิดอย่างสร้างสรรค์ การให้ความสำคัฐกับความผูกพันองค์กร การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) และการบริหารการจัดการความรู้ (KM) เพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้จากการปฎิบัติงานได้ถ่ายทอดความรู้แก่รุ่นน้องต่อไป ขอส่งการบ้าน.” 8K’s 5K’s” จากหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 8 K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ K1 Human Capital ทุนมนุษย์ (การศึกษาโภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูครอบครัว ฯลฯ) K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา (การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา) K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา ความถูกต้อง) K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข (พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ) K5 Social Capital ทุนทางสังคม (มีเครือข่าย โดยการหาข้อมูลข่าวสาร และการเจรจาต่อรอง) K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน (ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน) K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ) K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ (ความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ โดย ใช้ทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation)

    5 K’s (ใหม่) ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุมภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (การเรียนรู้ มีสมาธิ คิดเป็นระบบ อยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ)

  13. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ (ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มูลค่าเพิ่ม ความเฉลียวฉลาด)
  14. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม (ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานความรู้ นำไปปฏิบัติให้สำเร็จ)
  15. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม (ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม)
  16. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ (การรู้จักควบคุมอารมณ์ กล้าหาญ เอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี ควบคุมตนเอง ติดต่อสัมพันธ์)

4L’s ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ - L1 Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ - L2 Learning Environment คือสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ - L3 Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู - L4 Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 I’s ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน - I1 Inspiration คือ แรงบันดาลใจ - I2 Imagination คือ จินตนาการ

C & E ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่
  • Connecting การติดต่อ / เชื่อมต่อกัน
  • Engaging การมีส่วนร่วม

HRDS ทฤษฎีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีสุข - Happiness คือ การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม - Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน - Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน - Sustainability คือ ความยั่งยืน (เป้าหมายระยะยาว)

3 L’s ทฤษฎีเพื่อการทำงานยุคใหม่ L1 Learning form pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด L2 Learning experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ L3 Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

บทที่ 8 เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์อาจารย์จีระ กับวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้าง “คุณภาพทุนมนุษย์” ACE กำหนดทิศทางการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจตามกรอบระยะเวลาบรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ.2558

  1. ดร.อนันท์ งามสะอาด ผู้อำนวยการวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้มีมาตรฐาน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา โดยการสนับสนุน 3 ด้าน คือ 1. นวัตกรรมการเรียนการสอน 2. การยกระดับคุณภาพผู้เรียนรู้ 3. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างคุณค่าวิชาอาชีวศึกษา รวมถึงวิธีการกระตุ้นการทำแบบทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วยพลังองค์ความรู้ใหม่ สังคมแห่งการเรียนรู้จะช่วยบ่มเพราะคุณค่าในชีวิตของมนุษย์ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ต้องสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร โดยเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  2. ธนพล ก่อฐานะ President of elitetech Telecom Co.,Ltd ได้กล่าวถึง ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขัน 2 ระดับ คือ การแข่งขันภายในกลุ่มประชาคมอาเซียน และการแข่งขันระดับโลก ผู้ที่มีความเข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ ต้องมีวิสัยทัศน์ คิดเป็น วิเคราะห์ให้เป็น และมีจิตสาธารณะ คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
  3. นายชัยพร เหมะ CEO บริษัท หาญเจริญ โฮลดิ้ง จำกัด, หจก.หาญเจริญพลาสติก ได้กล่าวถึง ทฤษฎีต่างๆ จะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อนำไปใช้คิดต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยท่านสนใจการสร้างทุนแห่งความสุข เพราะมนุษย์เมื่อทำอะไรก็ตามด้วยความสุขก็จะทำด้วยพลังและความตั้งใจ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่มีอนุภาพมหาศาลที่จะทำให้เกิดผลงาน ทั้งนี้การบริหารทุนมนุษย์ให้ได้สำเร็จ ต้องให้ความสำคัญสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็นมากเท่า ๆ กัน
  4. นายกฤษณพงศ์ มีชูนึก Ph.D Innovation Communication Krirk ได้กล่าวถึง มูลค่าความสำคัญของพนักงานองค์กร เมื่อนำความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะความชำนาญ ของแต่ละคนมารวมกันจะก่อให้เกิดศักยภาพขององค์กร เมื่อนำความรู้ สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
  5. นายสมพงษ์ ฝูงคน ได้กล่าวถึง การพัฒนาใด ๆ ก็ล้วนไรค่า ถ้าเราพัฒนาโดยขาดจริยธรรม ละทิ้งความสุข และหลงลืมซึ่งความยั่งยืน
  6. นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง ผู้นำต้องมีความสามารถในเรื่องของตน ต้องจูงใจให้ทีมงานผนึกกำลัง และทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องให้ความสำคัญต่อคนเก่งและดีที่องค์ต้องการ ต้องรู้จักคัดเลือก ดูแลให้การตอบแทน ตลอดจนโอกาสในการสร้างความสำเร็จ สร้างสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Employee engagement

บทที่ 9 ทุนมนุษย์ของคนไทยรับรองประชาคมอาเซียน ต้องเข้าใจและรู้จริง ของการเปิดเสรีอาเซียน สำรวจตัวเองว่าโอกาสเราคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร ต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง

บทที่ 10 -12 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน แนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทฤษฎี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ การสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรเอื้ออำนวยต่อการทำงาน จัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว ทำงานเป็นขั้นตอน ใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ แก่บุคคลให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างเต็มที่มี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้. 1. ทักษะ หรือ ความรู้เพิ่มเติมในการทำงาน 2. ความรู้ที่มีประโยชน์กับองค์กร 3. ภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ทักษะในการบริหารจัดการคน และสร้างศรัทธา 4. ความคิดในเชิงผู้บริหาร กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และสามารถบริหารความเสี่ยงได้ 5. มีความรู้รอบตัวมองภาพใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้ รู้ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะกระทบกับตัวเราและการทำงาน สามารถแสวงหาโอกาส

วงกลมที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในการทำงานทั้งที่เป็นตัวเงิน เช่น การขึ้นเงินเดือน การให้โบนัส การให้สวัสดิการ ส่วนที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การยกย่องให้เกียรติ การชมเชย การมีส่วนร่วม การมอบหมายงานที่ท้าทาย การมีความโปร่งใส การทำงานเป็นทีม

สรุป ทฤษฎี และแนวทางพัฒนามนุษย์ด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนนำมาใช้ได้ในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำ ตลอดจนชีวิตในสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขอย่างยั่งยืนในครอบครัว ที่ทำงานและสังคม และช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างมาก และสามารถปรับตัวได้กับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
                -----------------------------------------------------
    ขอส่งการบ้าน.” HR พันธ์แท้ .”
จากหนังสือทรัพยากรมมนุษย์พันธ์แท้ HR.CHAMPIONS เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และ การทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้
การผลิตคน คือ ผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรหากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและเป็นระบบ

บริษัทปูนซีเมนต์ ดูแลนโยบายเรื่องของคนตั้งแต่เดินเข้ามาทำงานกับบริษัท จะได้รับการฝึกอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เข้าเกษียณอายออกไป เพื่อเชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี การเพิ่มผลผลิตและคุณควบคู่ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง

การเพิ่มผลผลิตให้ประสบผลสำเร็จ คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรของเครือซีเมนต์ไทย คือ ความเป็นผู้มีวินัย เมื่อมีความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องกันแล้วก็ทำกันอย่างพร้อมเพียงให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท คนไม่ใช่เครื่องจักรจะถอดย้ายไปไหนไม่ได้ง่าย ๆ มีอะไรต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่องกันก่อน

พนักงานระดับหัวหน้างานจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเสมือนเป็นคนในครอบครัวกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างบรรยากาศความร่มเย็นให้กับองค์กร

พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

อ.จีระ ทุ่มเทกับการสร้างสถาบันทรัพยากรมนุษย์ จุดอ่อน คือ อายุยังน้อย จุดแข็ง คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงานแหวกงล้อมเพื่อเดินไปสู้เป้าหมายให้สำเร็จ การขาดบารมีจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเผชิญ

อ.จีระ จะให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าจะคิดถึงเรื่องทุน จะเน้นคิดงานก่อนแล้วหาเงินทีหลังไม่ใช่มีเงินแล้วทำ อ.จีระ ฝันจะสร้างองค์กรระดับโลกที่สามารถถมช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยี และระบบการบริหารจัดการลดช่องว่าง Digital Divide ทำให้ความสามารถของคนในกลุ่มประเทศที่อยู่ในฐานะเสียเปรียบได้รับการยกย่อง

อ.จีระ ยามเช้าจะอ่านหนังสือพิมพ์ที่ชอบ เปิดอ่านเว็บวันละ 2 ชม. ก่อนไปทำงานเช้า 1 ชม. และก่อนนอน 1 ชม. และไม่พูดที่ไหนโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลจาก Internet

ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นเรื่อง 4 L’s และเรียนรู้ตลอดชีวิต และเรียนรู้เชื่อมศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์

การมองทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ การวางแผนเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

อ.จีระ ให้รัฐบาลลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

อ.จีระ มีปรัชญาชีวิตว่า ต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้ (Born to learn) และเรียนรู้ (learn) อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์

อ.พารณ ไม่ได้ทำให้เกิดแรงจูงใจโดยตรง เพราะ ไม่เคยกล่าวชมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยคำหวาน แต่จะแสดงอาการชื่นชม แสดงความกระตือรือร้นเมื่อได้เห็นผลงานของลุกน้องทุกครั้งเมื่อได้รับมอบหมายงาน ลูกน้องจึงเกิดความรู้สึกว่าจะต้องทำงานให้เจ้านายคนนี้ได้ชื่นใจ แต่ถ้าจะชมใครก็จะชมต่อหน้าคนอื่น ๆ เลยทำให้ลูกน้องกลายเป็นคนบ้างานเอามาก ๆ

การทำงาน คือ การพักผ่อนไปในตัว ไม่ถือว่าเป็นภาระ การทำงาน คือ ความสุข คนที่มีความสุข คือ คนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง การสร้างเด็กไทยให้พร้อมสู่การเป็น Global Cityzen ผ่านระบการเรียนรู้แบบ Constructionnism ในบรรยากาศของ Learning Organization

เวลาทำอะไรต้องมี ความเชื่อก่อน จึงทำ จะไม่ทำตามที่เขาว่ากัน หรือทำตามกันมา หรือทำเพราะกระแสสังคมหรือแฟชั่นเมื่อทำตามความเชื่อ ผลจึงออกมาดี

คนเก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน คนดี 4 คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

การโปรโมทคนจะดู 2 ตัว คือ capability (การทำงาน) ไม่ใช่เรียนเก่งอย่างเดียวแต่ต้องมีความสามารถในงานที่ทำงานในหน้าที่ acceptabitity (การยอมรับ) มีคุณสมบัติอย่างรวดเร็วทั้งด้านคุณธรรมเป็นที่ยอมรับจากคนทุกระดับ

ที่เครือซีเมนต์จะมีการฝึกอบรมพนักงานแต่ละระดับ คือ ระดับล่างอบรมปีละ 7 วัน ระดับกลางปีละ 10 วัน ระดับบนปีละ 10 วัน

คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทอนอย่างเดียว แต่ยังการผลตอบแทนทางใจ

การแก้ปัญหาให้พนักงานเสียเนิน ๆ ไฟก็จะไม่ลุกลามใหญ่โต

พันธุ์แท้ ต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้องทำให้สำเร็จ ต้อมีบารมี และต้องยั่งยืน

คนที่องค์กรส่งไปสร้างธุรกิจใหม่ให้เครือ โดยยอมออกไปทำงานอย่างลำบากกับบริษัทต่างชาตินอกเครือนั้น ถ้าไม่ดูแลให้ดี คนเหล่านั้นจะมีความคับแค้น ความเดือดร้อนใจ มีเสียขวัญและกำลังใจ

บุคคลเจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินชีวิตฉันใด บริษัทก็เจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจฉันนั้น

การบริหารคนแบบญี่ปุ่น ต้องมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อุทิศตัวต่อตัวองค์กร

ความพึงพอใจในงานที่ทำ มีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีนักบริหารที่ดี ไม่ใช่เรียนจบ MBA อย่างเดียว

เครื่องชี้วัดด้านคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของ World Economic Forum ประกอบด้วย คุณภาพด้านคน, คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การเข้าสู่ภาวะ โลกาภิวัตน์ และการบริหารจัดการ

ทำไมปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถึงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากในสังคมไทย คือ 1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลา ผู้นำที่จะพัฒนาคนได้

จะต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และมองอนาคตได้ชัดเจน

  1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ผู้นำจะต้องสามารถบริหารจูงใจให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจที่จะกลับมาอยู่กับองค์กร

ถ้าเป็น HR พันธุ์แท้ ต้องใช้คำว่า Cultivation is not as important as harvesting การเพาะปลูกจำเป็นก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวจำเป็นกว่า การลงทุนมนุษย์ ควรจะมีการลงทุนทางปัญญา การลงทุนทางจริยธรรม รวมไปถึงระบบบรรษัทภิบาลด้วย

ไม่ว่าจะทำอะไรก้อตาม เราจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน ถ้าคุณมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งดีและเป็นประโยชน์ มันจะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจ และจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ

คนเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรและเป็นสมบัติที่มีคุณค่าตรงข้ามกับเครื่องจักรอุปกรณ์ เพราะเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น คุณค่าของมันจะค่อย ๆ เสื่อมถอยลง ๆ จากการชำรุดสึกหรอเมื่อกาลเวลาผ่านพ้น แต่คุณค่าของคนกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ถ้าเราสามารถเรียนรู้ที่จะมีทักษะความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคนแล้ว ย่อมสามารถที่จะดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้

ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 2. ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา 3. ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้ง ราคา และคุณค่าที่สอดคล้องกัน

ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันในประเทศ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแนวทาง ดังนี้ 1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาแนวโน้มในอนาคตว่าโลกจะเป็นอย่างไรจะเตรียม ทรัพยากรมนุษย์อย่างไร จะสร้าง พัฒนา และเก็บรักษาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร 2. ลงทุน เน้นให้เกิด Competencies ใหม่ ๆ ได้แก่การพัฒนาและสร้างศักยภาพให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งควรจะเน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ผล Attitude หรือ ค่านิยม / การปรับทัศนคติ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยความรู้ต้องทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่จะเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ได้ จะต้องมี Global Knowledge ได้แก่ ภาษาต่างประเทศ การวิเคราะห์วิจัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานที่เป็นวัฒนธรรมนานาชาติ การตัดสินใจ การวิเคราะห์แบบ Rational Systematic Thinking การทำงานให้องค์กรมีคุณภาพจะต้องเน้น การทำงานเป็นทีม สร้างผู้นำ สร้างความจงรักภักดี การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันต้องคงไว้ซึ่งคุณธรรม และองค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคนก็คือ องค์กรที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถสื่อสารถ่ายทอดวิสัยทัศน์นั้นให้แก่ผู้ร่วมงานได้สำเร็จและเป็นต้นแบบทั้งการเป็น คนเก่ง และคนดี K แทนคำว่าทุนนั้น เพราะ K มาจำคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า ทุน หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี Kapital ไว้กว่าร้อยปี ทฤษฎีการสร้างฐานความรู้สู่มูลค่าเพิ่มของ อ.จีระ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จของเครือซีเมนต์ไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1. คุณภาพของคนดูกันตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงานของบริษัทมีอิสระในการคัดเลือกคนเก่ง คนดี เข้ามาทำงานหรือไม่ หรือยังมีความจำเป็นต้องรับเด็กเส้นเด็กฝากอยู่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น การพัฒนาฝึกอบรมก็คงหวังผลได้ยาก 2. ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ผู้บริหารของบริษัทระดับบนจะต้องมีความเชื่อว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือหลักการทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง และต้องลงมาดำเนินการในเรื่องการพัฒนานี้อย่างจริงจัง การพูดเฉยๆ นั้น ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่การลงมือทำอย่างจริงจังนั้นสำคัญกว่า 3. ทัศนะคติของฝ่ายจัดการ ต้องเข้าใจว่าการพัฒนาฝึกอบรมไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป แต่แท้จริงแล้วเป็นการลงทุนระยะยาว 4. การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง พนักงานต้องจูงใจตนเองอย่างมีไม่หยุดหย่อนในการพัฒนาตนเอง ต้องอุทิศตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากหลักการฝึกอบรม และต้องพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะเพิ่มพูนความสามารถและประสบการณ์ให้สูงสุด

บันไดแห่งความเป็นเลิศในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4 ขั้น ดังนี้ 1. ลองทำอะไรที่เริ่มจาก Good ideas Action สู่ผลสำเร็จ (Plan, Do, Check, Act) 2. อย่าทำอะไรโดยไม่มี priority ลำดับความสำเร็จเริ่มก่อนมุ่งมั่นให้ดี (คือ ต้อมี Focus) 3. ทำโดยให้มี participation ของทุกคน ทุกระดับ (คือการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม) 4. ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของ (คือ มี Ownership)

การทำให้มีความจงรักภักดี (Loyalty) ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ – ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา – ความจงรักภักดีต้องใช้เวลาในการสร้าง – ผู้ที่มีบทบทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดีนั้น จะต้องเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อน ถึงจะทำงานด้านนี้อย่างประสบผลสำเร็จ

หลังวิกฤตองค์กรธุรกิจบ้านเราเห็นชัดว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านแรงจูงใจมากขึ้น โดยเน้นใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1. สร้างให้คนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้น คนไทยที่ฉลาด จะต้องพาตัวเองไปอยู่ในองค์กรที่เขาได้เรียนรู้มากไปกว่าเลือกอยู่ในองค์กร ที่ได้เงินแต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือสร้างเสริมภูมิปัญญาให้ตัวเองแต่อย่างใด 2. การประเมินคุณภาพตามความสามารถได้มีการเปลี่ยนแปลงมีเครื่องชี้บางประการ เช่น นอกจากวัดในเชิงปริมาณแล้วยังต้องสามารถวัดในเชิงคุณภาพของคนด้วย

คุณสมบัติ 3 ประการที่เป็นเสมือนตั๋วเดินทางสำหรับคนไทยก้าวสู่ระดับโลก ได้แก่ 1. ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2. เทคโนโลยี 3. คุณธรรม

เป้าหมายของดรุณสิกขาลัย ได้แก่ 1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารโรงเรียนแบบใหม่ที่ตั้งอยู่พื้นฐานของ Learning Organization 2. พัฒนาการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ 3. พัฒนาวิธีการเรียนการสอนใหม่ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองเรียนรู้ไปด้วยกัน และต่อไปจะประสานเอา ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ด้วย

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ปกครองและชุมชนถึงวิธีการเรียนรู้แบบ Constructionism และ Learning Organization โดยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงในครอบครัวด้วย

การพัฒนาระบบการเรียนของดรุณสิกขาลัย คือ การปฏิบัติจริงในรูปแบบโครงงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิดเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีหลักการ รู้จักการวางแผน ทำงานเป็นทีม และเริ่มเรียนรู้วิธีการจัดการตั้งแต่เล็ก ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่องค์กรต้องการ และยังพัฒนาทักษะทั้ง 5 คือ – IQ (Intelligence Quotient) กระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง –EQ (Emotional Quotient) รู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางอารมณ์ –AQ (Adversity Quotient) แก้ปัญหาและเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี – TQ (technology Quotient) มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี เลือก

การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism เป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้ – ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็ก ๆ สนใจ – ขั้นตอนที่ 2 ครูจะบูรณาการวิชาการ – ขั้นตอนที่ 3 ครูและเด็กจะวางแผนการเรียนรู้ด้วยกัน - ขั้นตอที่ 4 เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง – ขั้นตอนที่ 5 สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน – ขั้นตอนที่ 6 จัดเตรียมนิทรรศการจากการเรียนรู้ – ขั้นตอนที่ 7 วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา – ขั้นตอนที 8 การต่อยอดองค์ความรู้

นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา 2. ต้องลงมือทำ 3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง

ประเทศไทยต้องมีการเรียนรู้อยู่ 4 เรื่อง คือ Village that learn เรียนรู้ระดับหมู่บ้าน School that learn เรียนรู้ระดับโรงเรียน Industry that learn เรียนรู้ระดับอุตสาหกรรม Nation that learn เรียนรู้ระดับประเทศ

ความคล้ายคลึงของ อ.จีระ กับ อ.พารณ 1. เดินทางสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ 2. หยัดอยู่ มุ่งมันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน 3. จากการความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4. มีบุคลิกลักษณะแบบ Global Man ทำให้เป็นคนวิสัยทัศน์ 5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ทั้งความรู้ และความรักแก่คนใกล้ชิด 6. มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือการเชิดชูเกียรติจากใคร

สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ อ. จีระ และ อ.พารณ เป็นทฤษฎีประสบการณ์ที่ผ่านมาการนำมาใช้ปฏิบัติจริงในองค์กรชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้นทุกหน่วยงานสามารถนำแนวคิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจว่าถูกทางแล้ว


จากหนังสือ : ธรรมดีที่พ่อทำ 1. คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ 2. เมื่อมี Idol แล้งเราต้อง I do! • I do คือ • บุญเก่า บุญเก่า นำเราส่งเป็น “คนไทย” ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้คนไทยทั้งชาติต้อง “ลุก” ขึ้นมาสร้าง “บุญใหม่” ตามรอยพระองค์ทางเพื่อไม่ให้โอกาสทองของชีวิตได้ผ่านเลยไปนี่คือ ช่วงเวลาสำคัญที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในสังสารวัฎไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก และไม่สามารถเกิดซ้ำได้อีกหน 3. หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยให้ใจสีขาวของพวกเราทุกคน
“หลักการทำงาน” 1. ฉันทะ (การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ) 2. วิริยะ (ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน) 3. จิตตะ (ความจดจ่อใส่ใจในวาน) 4. วิมังสา (คิดใคร่ครวญอย่างรอบครอบ / ตรวจสอบ หลัก 23 ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 2. ระเบิดจากภายใน สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำมิใช่ส่งให้ทำ 3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก มองภาพรวม แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ 4. ทำตามขั้น เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน 5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ 6. ทำงานแบบองค์กรรวม โดยคิดความเชื่อมโยง 7. ไม่ติดตำรา 8. ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 9. ทำให้ง่าย 10. การมีส่วนร่วม 11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 12. บริการจุดเดียว 13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14. ใช้อธรรมปราบอธรรม 15. ปลูกป่าในใจคน ปลูกที่จิตสำนึกก่อน 16. ขาดทุนคือกำไร บางครั้งเราได้กำไรจากการขาดทุน 17. การพึ่งตนเอง 18. พออยู่พอกิน 19. เศรษฐกิจพอเพียง 20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 21. ทำงานอย่างมีความสุข 22. ความเพียร 23. รู้จักสามัคคี 1. ทำด้วยใจ หมายถึง ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ 2. รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ 3. หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ 4. ความเลวร้ายของคนเราก็ คือ การชอบที่จะพูดความผิดพลาดของคนอื่น ความโง่เขลาของเราก็ คือ การไม่ชอบที่จะฟังถึงความผิดพลาดของตนเอง 5. อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ 6. ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ความรักที่ภักดี ยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน 7. มนุษย์นั้นอยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม 8. การพัฒนาคนให้เป้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน 1. ร่างกาย 2. ความรู้สึก 3. สติปัญญา 4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก คุณสมบัติของ “กัลยาณมิตร” ผู้เป็นมิตรแท้แบะผู้นำทางปัญญามี 7 ประการ 1. น่ารัก 2. น่าเคารพ 3. น่ายกย่อง 4. มีวาทศิลป์ 5. มีความอดทนต่อถ้อยคำ 6. ทำเรื่องยากให้ง่าย 7. ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร 8. คนดีทำให้คนอื่นดีได้ 1. มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีจิตใจสูง 2. “ความดี” ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ที่ศีลห้า 3. เกิดเป็นมนุษย์ควรแข่งกันสูง ไม่ใช่แข่งกันต่ำ 4. “ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” 5. ทำให้ประเทศไทยของเรามีความสบายมั่นคงที่สุดในโลก เป็นประเทศที่คนไทยช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยน้ำใจไมตรีที่ดีงาม และเป็นเทศมหาอำนาจแห่งความดีบนวิถีชีวิตที่สงบและพอเพียง มีรอยยิ้มให้กันเหมือนแต่ก่อนจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 6. “ธรรมดี” ที่พ่อทำควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต 7. ความกตัญญู 8. ความอ่อนน้อมถ่อมตน 9. ความพอเพียง พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ 10. ความซื่อสัตย์ 11. ระเบียบวินัย 12. ความอดทน 13. ทำความดี หลักปฏิบัติ จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี ตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตัวเอง รักษาความดี

  1. อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มี่ความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องทำ มีความรักความ เมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และให้มีมีความสมัครสมานสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกภาพ
  2. ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวมี 2 ประการ คือ ธรรมชาติ และ ธรรมดา ทศพิธราชธรรม
  3. เป็นผู้ให้
  4. เป็นผู้มีจริยวัตรงดงาม
  5. เป็นนักเสียสละ
  6. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
  7. เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
  8. เป็นผู้มีความเพียร
  9. เป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ
  10. เป็นผู้ไม่ใช่ความรุนแรง
  11. เป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม
  12. อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรมอย่างเคร่งครัด

การสร้างนวัฒนกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ จากกรณีศีกษา “เรื่องการพัฒนานวัฒกรรม ของ Apple และ SCG เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักในการจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่น่าอาศัย โดยมีการพัฒนาทั้งด้านการภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประเพณี ดังนั้น การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ คือ การเป็น “Happiness Provider” เป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์ความสุขให้กับสังคม โดยมีแนวทางการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ตามทฤษฎี 3C’S ประกอบด้วย
  1. Customers คือ วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งลูกค้าภายในและภายนอก
  2. Change Management คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง
  3. Command and Control (-) คือ ลดการสั่งการ การควบคุม แต่พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Partici pation) และทำงานเป็นทีม (Teamwork) ทั้งนี้นวัตกรรมมีหลายรูปแบบ เช่น
  4. สินค้าและบริการใหม่ (Product and Service Innovation)
  5. การบริหารจัดการแบบใหม่ (Management Innovation)
  6. นวัตกรรมกทางสังคม (Social Innovation) เช่น กิจกรรมใหม่เพื่อพัฒนาชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การรักษาสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหา อาชญากรรม สำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่ชาติประกอบด้วย
  7. Customers แยกเป็น 1.1 ภายใน หมายถึงผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร มีความต้องการหรือมีเป้าหมายในการทำงานในองค์กรแยกเป็น 2 กลุ่มเป็น 1.1.1 ผู้นำ มีเป้าหมาย หรือ ความต้องการจากการงาน คือ • ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ • ทำให้องค์กรมีผลประกอบการด้านการเงินที่ดีกำไรทุกปี ซึ่งจะส่งผลถึงตอบแทนของผู้นำด้วย • ทำให้องค์กรมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคมได้รับการยกย่องจากสังคม 1.1.2 พนักงาน มีเป้าหมาย หรือ ความต้องการจากการทำงาน คือ • ได้รับผลตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมตามผลงาน เช่น เงินเดือน โบนัส • รู้สึกภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีชื่อเสียง และเป็นประโยชน์กับสังคม • มีความสุขในการทำงาน ได้รับการดูแลจากองค์ด้านส่งเสริมความรู้ โดยการฝึกอบรมสัมมนาดูงานมีโอกาสก้าวหน้า มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ 1.2 ภายนอก ประกอบด้วย 1.2.1 คู่แข่ง ซึ่งเป็นเอกชนมีการประกอบธุรกิจด้านที่อยู่อาศัยและบริหารชุมชน เช่นเดียวกับการเคหะแห่งชาติ

• Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลประกอบด้วย 2.1 โลกาภิวัตน์ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จะต้องปรับองค์กรให้สอดคล้อง เช่น • Command and Control (-) การลดการสั่งการและการควบคุมประกอบด้วย 3.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ

บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

คนเก่งที่ทำถูกวิธีใช้ Cost ต่ำที่สุด ถือว่ามีสมรรถนะ (Efficiency) แต่มีสมรรถนะอย่างเดียวยังไม่พอต้องทำให้ได้สัมฤทธิ์ผล (Effectiveness) ด้วยเรียกได้ว่าทำทุกอย่างถูก Do the right thing การทำงานเรื่องเดียวกันนั่นมิได้วิธีที่ถูกต้องเพียงวิธีเดียว การทำงานจึงควรมีการสอบทานวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอน

Peter Drucker ได้กล่าวถึงการเลือกสิ่งที่ถูกต้องทำ (Do the right thing) คนที่ทำอะไรสำเร็จมีคุณสมบัติ 5 ประการ ถ้าไม่มีก็ให้พัฒนาสมบัติ ดังนี้

  1. Time ต้องบริหารเวลาเป็น (Time Management) วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างได้คือ การบันทึกการทำงานใน Diary 3 เล่ม เล่มที่ 1 บันทึกเองว่าวันนี้เราทำอะไร เล่มที่ 2 บันทึกก่อนนอนที่บ้านว่าวันนี้เราทำอะไร เล่มที่ 3 ให้เลขาบันทึกว่าวันนี้เราทำอะไรบ้าน เมื่อครบ 1 ปี นำบันทึกมา Review จะพบว่าไม่ตรงกัน ถ้าตรงกันก็ถือว่ามีการบริหารเวลาได้ดี
  2. Priority จัดลำดับอะไรควรทำก่อน ให้ทำสิ่งที่สำคัญก่อน เรื่องอื่น ๆ เอาไว้ทีหลัง หรือจะไม่ทำลำดับรองลงมาเลยก็ได้
  3. Contribution เป็นลักษณะของการร่วมทุกข์ร่วมสุข ในบางครั้งเพียงแค่การร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขาก็เพียงพอโดยไม่ต้องจำเป็นเข้าไปแก้ไขปัญหาให้เข้าก็ได้ เราต้องนึกดูว่าวันนี้การเคหะฯ จ้างให้เรามาทำอะไร
  4. Strength ดูที่จุดแข็งในบางครั้งคนมีจุดแข็งเพียงเรื่องเดียวแต่เป็นเรื่องที่สำคัญแก่การปฏิบัติก็ถือว่าเพียงพอแล้ว จุดอ่อนที่ไม่เกี่ยวกับงานก็ไม่มีความสำคัญอะไร
  5. Problem solving and decision making ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จควรมีคุณสมบัติที่สำคัญ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาก็คือ การคิด วิเคราะห์และการตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และต้องใช้ปัญญาหรือการมองไปถึงอนาคต คนบางคนทำอะไรถูกต้องตลอดเวลาแต่ไม่มีความเติบโต อาจเป็นเพราะไม่เลือกสิ่งที่ถูกทำ

Creative thinking

การเคหะฯ ควรดูทุนเดิมของตนเองว่ามีอะไร อะไรที่เป็นอัตลักษณ์ เรามีแล้วลืมไปหรือเปล่า วันนี้เราอยู่ตรงไหน เดิมงานจะเป็น Modern คือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทหาร แต่วันนี้เป็น Post modern เป็นยุคแห่งการแข่งขันจำเป็นต้องเป็นสหวิทยาการต้องรู้ในหลาย ๆ ศาสตร์ แต่เดิมเป็น Functional นำ กคช. หากจะพลิกฟื้นจำเป็นต้อง Rebrand เอาความเก่งของเรานำกลับมาให้คนรับรู้ การทำงานก็จำเป็นต้องให้ตรงตามวัตถุประสงค์ (Objective) แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองเป้าหมายเป็นหลัก ถ้าจะจับความพอเพียงมาใช้ หากจะให้ Technology ก็ต้องเป็น Technology ที่พอเพียง
โอกาสที่การเคหะฯ น่าจะมองไปข้างหน้าอาจเป็นเรื่อง หมู่บ้านที่เป็น Wireless ทั้งหมู่บ้าน หรือมีประชากรหลักเกษียณอายุมากก็สร้างบ้านเพื่อผู้สูงอายุหลังเกษียณ การ Rebrand  มีสิ่งที่ควรทบทวย คือ
  1. Brand building ต้อทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าตรงใจอย่างชัดเจนก็ถือว่าทำสำเร็จ เราก็สามารถขายสินค้าราคาสูงได้
  2. Art of living and Technology of the self ถ้ารู้ความต้องการของลูกค้าก็ตองสนองความต้องการได้

การเคหะฯ ควรดำเนินการ ดังนี้ 1. ควรตั้งคำถามแก่ตัวเองหลาย ๆ ด้าน และมีความคิดที่แตกต่าง 2. ผู้บริหารควรเป็นผู้สนับสนุน ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์มากเกินไป 3. Stakeholder จะต้องเป็นวิชาการ + สื่อ 4. ชื่อ “การเคหะแห่งชาติ” ต่อไปจะใช้ไม่ได้ใน ACE 5. ผู้เข้ารับการอบรมวันเมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคตต้องนำสิ่งที่พูดในวันนี้ไปทำให้สำเร็จ 6. การนำเสนอผลงานของทั้ง 4 กลุ่มเป็นเรื่องที่ต้องนำมา Intergrades แล้วจะเกิดการ Rebrand ที่สมบูรณ์

การสร้างบรรยากาศในการทำงานของ Apple ที่ การเคหะสามารถนำมาใช้ได้ประกอบด้วย 1. Community = การตั้งก๊วนต่าง ๆ ในการทำงาน 2. Next door = เปิดประตูอีกบานเมื่อเจอทางตัน 3. Dialogue = สุนทรีสนทนา 4. Hunch = ลางสังหรณ์ 5. Serendipity = การพลัดหลงและค้นพบ, โชคดีที่บังเอิญเจอ 6. Error = ความผิดพลาด 7. Borrow = การยืมความคิดของคนอื่นมาใช้ 8. Platform = มีจุดยืนที่มั่นคง 9. Network = มีเครือข่าย


ประชาคมอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY = ACE)

  1. การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
  2. การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
  3. การเคลื่อนย้ายการบริการอย่างเสรี
  4. การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
  5. การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่าเสรี จำนวน 7 วิชาชีพแรก ที่ประกอบด้วยวิชาชีพ สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมอยู่ด้วย นั้น กคช. เป็นองค์กรจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทีมีสถาปนิกและวิศวกรที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านนี้ รวมทั้งบุคลากรด้านสมาชิกใน ACE ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจน

เรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) ร่วมวิเคราะห์และให้ความเห็น โดยศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์, อาจารย์ณรงศักดิ์ ผ้าเจริญ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ -:
  1. ทำให้ทราบว่าการบริหารให้สัมฤทธิผลนั้น เนื่องจากในองค์กรมีวาระที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก จึง จำเป็นต้องจัดลำดับ และคัดเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาทำก่อน ต้องทำเรื่องเดียวหรือทำครั้งละ 1 เรื่องที่สำคัญที่สุด ความยากคือการเลือกเรื่องที่จะทำ เลือกข้อที่ถูกต้องมาทำก่อน และหาวิธีที่ถูกต้องมากระทำ จึงตอบโจทย์ว่า ทำอะไร และทำถูกวิธี

  2. EFPECTIVE – RESULT พิสูจน์ผลลัพธ์ 5 ข้อ ดังนี้ 2.1. TIME 2.2. PRIOFITY ทำอะไรก่อน อะไรคือข้อที่ถูกต้องถูกทำก่อน เรียงลำดับให้ได้ 2.3. CONTIBUTION หาคำตอบว่า จ้างมาทำอะไร มีหน้าที่ทำอะไร เอาไว้ทำอะไร คุ้มค้าหรือไม 2.4. STRENGTH พิจารณาเฉพาะจุดแข็ง หาจุดเพียงพอมาใช้ให้เป็นประโยชน์ 2.5. PROBLEM SOLVING DECISION MAKING การมอง / อ่านปัญหา วิเคราะห์แล้วตัดสินใจ ฟังธงอย่าง ถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ที่ดี ต้องเลือกอันที่ถูก ทำให้ถูกเท่านั้น จึงสัมฤทธิ์ผล

  3. บทเรียนเพื่อการพัฒนานั้น ต้องหาตัวตนของตนเองให้พบอย่างแท้จริงก่อน เช่น การเคหะแห่งชาติมีทุน เท่าใด (อย่างไร) ที่เป็นทรัพย์สิน เช่น ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง หรือความรอบรู้ การจัดการชุมชน มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ เหล่านี้เป็นต้น ซี่งเป็นสิ่งที่จะตอบได้ว่า เราควรทำอะไรอย่างไร และ MAKING DECISION

  4. อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ได้นำเสนอการวิเคราะห์การบริหารธุรกิจ บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะ แห่งชาติในยุค POST MODEN ที่การแข่งขันมีความเข้มข้นร้อนแรงมาก เป็นสหวิทยาการ กล่าวคือต้องรอบรู้จริว รู้ลึก รู้กว้าง รู้มาก ทุก ๆ ด้าน ในทุก ๆ สาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นบริบท EMOTIONMAL นำหน้าทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

    เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเคหะแห่งชาติต้องหาตัวตนให้พบเสียก่อน แล้วเอาความต้องการของลูกค้า (ผู้จะมาซื้อบ้าน) มาเป็นปัจจัยนำหน้า เช่น

• กคช. ต้อง RE-BRAND เพื่อ RE-BORN

• เอาความเก่าเก็บขึ้นมาทบทวนวิเคราะห์ให้ลงตัว เหมาะสมกับยุคนี้

• ให้ตระหนักถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการเคหะแห่งชาติโดยตรง

• ทบทวนวัตถุประสงค์ว่ายังเหมาะสมกับตลาดปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสม ตกยุค ผิดเป้าหมาย จะปรับเปลี่ยน/แก้ไขอย่างไร

• วิเคราะห์โครงสร้างประชากร หากกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มใหม่ เหล่านี้เป็นต้น

  1. ในการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีปฏิบัติจะอยู่ในกรอบ หรือวิธีเดิม ๆ ไม่ได้ ต้องหากลยุทธวิธีการ ทั้งการคิดเป้าหมาย และกรรมวิธีใหม่ ๆ มาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ และ IT ให้เกิดประโยชน์

  2. การเข้าสู้ NET WORK เช่น ประสานร่วมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กระทรวง, หน่วยงานใหม่ ๆ เพื่อเติมเต็ม หรือ ลดช่องว่างทางการตลาด หรือให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ต่อไป


การบริหารความเสี่ยง

การเคหะแห่งชาติ ถูกกำกับดูแลและประเมินผล โดยกระทรวงการคลังได้ให้ที่ปรึกษา บ.ทริส เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งช่วงแรก ๆ เป็นช่วงทำความเข้าใจ จนปัจจุบันได้มีการประเมินอย่างเข้มข้นและวัดผลอย่างละเอียด ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและลดความเสี่ยง โดยผล KPI และเริ่มใช้ระบบ SEPA เข้ามาในองค์กร การวัดจะวัดประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล และคุณภาพการบริหารองค์กร เราควรทำความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงกับทุก ๆ คน ในองค์กร ความเข้าใจผิดในเรื่องความเสี่ยงมีอยู่ 3 ลักษณะคือ

  1. ความเสี่ยงเป็นเรื่องเลวร้ายมาจัดการควบคุม, ป้องกัน, ลดความรุนแรงที่จริงปละ อาจไม่ใช่บางสิ่งมิได้เลวร้ายเสมอไป บางเรื่องเป็นความเคยชิน
  2. ความเสี่ยงต้องหาวิธีลดลงให้เป็น 0 สิ่งนี้ก็ไม่จริง ที่จริงเป็นการลดความเสี่ยวให้เหลือพอที่จะรับได้ในระดับหนึ่ง
  3. ทำงานแบบ PLAY ทำไปเรื่อย ๆ ไม่พัฒนาตนเอง จนถึงจุดหนึ่งอาจเสียหายรุนแรง หรือคิดว่าความเสี่ยงมากจะส่งผลกำไรมาก ความเสี่ยงภายใน ความเสี่ยงภายนอน
  4. ความเสี่ยงด้านการเงิน – ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
  5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (คู่มือ) – ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ
  6. ความเสี่ยงทรัพยากรบุคคล (อบรม) – ความเสี่ยงความปลอดภัย
  7. ความเสี่ยง IT (Bcm, Bcp) และสิ่งแวดล้อมภัยธรรมชาติ การประเมินความเสี่ยง
  8. อะไรเป็นความเสี่ยงที่แท้จริง
  9. โอกาสที่เกิดมากน้อยระดับไหน
  10. ความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้น
  11. ความเสี่ยงเชิงนโยบายและการเมือง การบริหารความเสี่ยง 5T (ยอมรับได้ระดับไหน, ลดความเสี่ยง, กระจายความเสี่ยงหรือโอน, หลีกเสี่ยง, หาประโยชน์จากความเสี่ยง) เครื่องมือที่ใช้ “ควบคุมภายใน”
  12. การประเมินตามเกณฑ์แบบวัดระดับและแบบเกณฑ์ย่อย

ธรรมดีที่พอทำ เป็นหนังสือที่เมื่ออ่านแล้วต้องเปรียบเทียบกับงานของเรา เพราะจะเป็นปรัชญาที่กล่าวสั้น ๆ แต่จะตีความหมายได้อย่างมากมาย ดังนั้น การที่จะนำมาเขียนจึงทำให้เพียงเปรียบเทียบกับงานของตนเองเท่านั้นจะมองในมุมใดก็ได้ แต่จะเป็นแนวทางที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้และผลพิสูจน์แล้ว ถึงผลงานอันยิ่งใหญ่แต่สำเร็จได้ด้วยศรัทธา พอเทียบเคียง 23 ข้อ ที่ท่านทรงทำงานไว้

  1. ศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องค้นหา และแยกข้อมูลให้เป็นระบบ เป็นข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน ให้ระวังข้อมูลที่ตกแต่งเพื่อให้ดูดี
  2. ระเบิดจากภายใน ทีมทำงานต้องเข้าใจสนใจจะทำ แยกให้ออกระหว่างคุณค่ากับมูลค่า งานที่สร้างคุณค่าต่อไปก็จะมีมูลค่า มีมูลค่าต่อไปก็จะไม่มีคุณค่าก็ได้
  3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก อะไรที่ทำได้ทำซะ คิดแต่สิ่งที่ยากมีโจทย์มาก ๆ ทำยาก ทำซ้ำเสียเวลา แก้ทีละเปราะจากต้นเหตุ งานไม่เดินใช้คนผิดงานจะเดินได้อย่างไร
  4. ทำตามลำดับขั้นตอน ปัญหาหรือขั้นตอนการทำจะถูกเรียงลำดับจะทำอะไรก่อนหลัว อะไรทำงานหรือยาก ถ้าไม่เป็นตามขั้นตอนจะไม่สำเร็จหรือเกิดปัญหาภายหลัง
  5. ภูมิสังคม, ภูมิศาสตร์, สังคมศาสตร์, รู้เขารู้เราจะทำอะไรในสถานที่ใดต้องรู้สถานที่นั้นสังคมนั้น เป็นอย่างไร และสังคมเราเป็นอย่างไรต้องปรับไปตามภูมิประเทศและสังคม ออกแบบบ้านก็ต้องตามใจผู้อยู่ ไม่ใช่ตามใจผู้ออกแบบ
  6. ทำงานองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง ทำโครงการก็ต้องการลูกค้า ดูนโยบาย ดูภูมิประเทศ ดูวัฒนธรรม เมื่อดูทั้งหมดแล้วจะทำอย่างไรก็ทำตามองค์รวมนี้
  7. ไม่ติดตำรา คิดตามตำราบางครั้ง นำมาใช้กับงานบางประเภทไม่เหมาะสมก็ต้องทำตามที่ถนัดแล้วร่วมกันพัฒนา ฝืนให้ทำตามตำรา ผลสุดท้ายก็จะล้มเหลว
  8. ประหกยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด บางครั้งเราขาดความใส่ใจ ทำให้ทำงานยากต้องใช้ต้นทุนสูงเมื่อนำไปทำงานปริมาณมาก ๆ ยิ่งเสียหายมาก ก็ไม่ประงบประมาณ และเวลา ก็ต้องสร้าวทุนทางมนุษย์ให้วิเคราะห์ออก อย่าปล่อยให้ทำผิดซ้ำ ๆ วัน
  9. ทำให้งาย บางครั้งคนที่ทำกับคนที่วางแผนการทำต้องคุยกันให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ของดี ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ
  10. การมีส่วนร่วม ปัญหาจะแก้ไม่ได้ถ้าไม่ให้คนทำมีส่วนร่วมระดมความคิดหาวิธีทำแล้วทำร่วมกัน จะโทษกันช่วยกันกันทำ
  11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม ถ้าพวกเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ของพวกเขาของครอบครัวของเขาก็ยินดีที่จะทำให้สำเร็จ ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนหากไม่มีความรักต่อองค์กร คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ดูประโยชน์ส่วนร่วมก็จะเกิดปัญหา ดังนั้น ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง
  12. บริการจุดเดียว อะไรทีเป็นโครงข่าย ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ก็สามารถนำไปรวมจุดเดียวกัน จะสร้างประโยชน์สูงสุด
  13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ใช้ข้อดี ใช้คนดี ปรับข้อเสีย คนไม่ดีให้เจือจาง ลดลงไปตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา ให้เป็นตัวอย่างเป็นแนวทางผลสุดท้ายทุกคนที่เห็นว่าดีก็จะทำตาม
  14. ให้ธรรมปราบอธรรม เมื่อทุกคนตระหนักอะไรดี ให้เขาแยกแยะให้ออก ทำให้เป็นแนวร่วม ทำให้เป็นตัวอย่าง สิ่งที่ไม่ดีก็จะไม่กล้า หยุดแล้วลดลงไปเอง ถ้าใช้วิธีปราบทันทีบางครั้งดีแต่บางครั้งจะไม่ได้ผล ผลสุดท้ายสิ่งที่ไม่ดีทำง่ายทุกคนจะทำแบบนั้น
  15. ปลูกป่าในใจคน จิตสำนึกที่ทุกคนเห็นว่าดีต้องปลูกฝัง 1 ให้ขยายเป็น 2 ต้องขยายเป็น 3 ถ้าทุกคนรู้สำนักที่ถูกปลูกฝัง ผลก็จะขยายเป็นทวีคูณได้
  16. ขาดทุนคือกำไร
  17. บางอย่างวัดเป็นเงินไม่ได้ มนุษย์เป็นการลงทุนที่ต้อวค่อยเป็นค่อยไปจะหวังกำไรไม่ได้ แต่เมื่อมนุษย์มีปัญหารู้วิธีการคิด กระตุ้นให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี นำคน 36 คนมา Input ผ่าน Process ได้ผู้นำที่ดีมา 1 – 5 คน ก็เป็นกำไรแล้ว จะนำมาเปรียบเทียบตัวเลขไม่ได้ เพราะทุนมนุษย์ที่ไม่เท่ากันผลที่ได้ย่อมต่างกันจะเทียบทางสถิติคงเป็นไปได้ยาก แต่ควรใช้วิธีการคัดสรรไปพัฒนาแล้วค่อยต่อยอดอีกครั้ง
  18. การพึงตนเอง ถ้าเราคิดว่าต้องนำเข้ามาเป็นหลัก แทนที่เราจะมองหาการพึ่งตนเองเป็นหลัก แล้วเราจะรู้ปัญหาได้อย่างไร เราต้องพึ่งพากันและกันพี่ต้องสอนน้อง ต้องหาคนเก่ง ๆ เข้ามาช่วยแนะนะแต่หวังว่าคนที่มาแนะนำจะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ถ้าพี่น้องไม่พึ่งพากัน พี่ไม่ดุไปทุบบ้างน้องจะดีขึ้นหรือ
  19. พออยู่พอกิน พออยู่พอกินมิใช่ใช้น้อยกินน้อย แต่ต้องให้ทุกคนรู้ในสำนึกทำงานน้อยมีรายได้น้อย ถ้าอยากกินดีอยู่ดีก็ต้องทำงานให้เพียงพอให้สมดุลกัน ถ้าทำให้ทุกคนเข้าใจเราก็คงเจริญไดอย่างเยอรมัน ญี่ปุ่น ถ้าคิดอย่างคนไทยอีกหน่อยแพ้เวียดนามแน่ ๆ เพราะเข้าเป็นวัฒนธรรม ความขยันจนกลายเป็นนวัตกรรมอันแข็งแกร่งของเขา
  20. เศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรของเราถ้าไม่รู้จักพอเพียงกับรายได้ของตนเอง ผลสุดท้ายก็จะไปทำในสิ่งที่ผิด นอกจากตนเองพอเพียงแล้ว ถ้าครอบครัวไม่พอเพียง สังคมไทยที่ทำงานไม่พอเพียงก็จะเกิดการแข่งขันทำลายกัน ผลสุดท้ายครอบครัวนั้น สังคมนั้นก็เหมือนคนติดยาเสพติดและจะเหลืออะไรในสังคมในครอบครัว

  21. ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน จริงใจต่อกันถ้าไม่สุจริต ไม่ซื่อสัตย์ จะเป็นกลุ่มก้อนที่สร้างความเสียหาย เช่น ชุมชนที่ดูแลบ่อน จริงใจกันมากผลสุดท้ายชุมชนอื่นครอบครัวอื่น ก็จะหายนะได้ ดังนั้นการได้ใจคนทำให้คนยอมรับในสิ่งที่ผิดไม่แยกแยะ ผลสุดท้ายก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ชุมชนผมเสียหาย ประเทศผมเสียหายก็ต้องต่อสู้กัน

  22. ทำงานอย่างมีความสุข ลูกจ้างที่ทำงานอยู่การเคหะแห่งชาติ บางท่านอยู่มาแล้ว 8 – 10 ปี เขาเหล่านี้เงินเดือนก็ไม่ขึ้นถามเขาดูเขาบอกว่าอยู่แล้วความสุข แต่ดูแล้วเราเอาเปรียบพวกเขา ถ้าเราไม่ใส่ใจต่อเขาสักวันที่อื่นมีความสุขกว่าเขาเห็นว่าเราไม่จริงใจเขาก็จะจากไป เขาพิสูจน์มา 10 ปี เรายังรับคนใหม่ได้คงต้องถาม ทรีส หรือ ทรัพยากรบุคคลว่าถูกต้องแล้วหรือ
  23. ความเพียร ความเพียรความพยายาม มุมานะจะช่วยให้คนนั้น กลุ่มคนนั้น สังคมนั้น ประเทศนั้น เจริญก้าวหน้าทันที ยิ่งกว่าสิ่งใด
  24. รู้สามัคคี ต้องสร้างทุนมนุษย์ทั้งหมดที่เรามีอยู่มีอยู่ ต้องมีความรู้ที่ไม่ใช่ไปเรียนหนังสือท่องจำแต่อย่างเดียว รู้แล้วต้องคิดเป็น คิดเป็นแล้ว จิตใจไม่ดี ไม่รักกัน เกียจชังกันไม่ให้อภัยกัน ปัจจุบันเราพบปัญหานี้อย่างมาก ความสามัคคี ถ้าเราแตกแยกกันเราจำทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างไร เมื่อแต่ละคนไปคนละทิศละทางนี่เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานการการทำการใช้สมองการใช้ปัญญา พระองค์ท่านสร้างมนุษย์ด้วยจิตใจ ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องนำมาปฏิบัติ หลักการของมนุษย์ต้องทำด้วยใจ (จิตใจ) ตั้งใจให้เกิด ใส่ใจในการติดตาม จริงใจต่อองค์และเพื่อมนุษย์ทุกคน ผลลัพธ์ภูใจ “ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านคงภูมิใจที่ทำ ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพวกเรา และท่านก็คงสุขใจที่ได้เห็นพวกเราเป็นคนดี สืบทอดความดีนี้ได้ ต้องตั้งคำถามทำไมมีคนบางคนยังสร้างความทุกข์ใจให้ท่าน

การทำงานให้มีสมรรถภาพ (Efficiency) คือ “Doing things right” และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล (Effectiveness)

คือ “Doing the right things” ซึ่งกระบวนการทำงานให้ดีประกอบด้วย

  1. Time การบริหารเวลาเป็น
  2. Proiority การเรียนลำดับทำอะไรก่อนหลัง
  3. Contribution มองถึงความคุ้มค่า และการทำงานอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุข
  4. Strength มองที่จุดแข็ง
  5. Problem Solving and Decision Making วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างถูกต้องโดยต้องมีความเชื่อมั่นว่ามนุษย์มีความเป็นเลิศที่ซ่อนอยู่ใน และความเป็นเลิศของมนุษย์ต้องมีอิสระ

วิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

  • Jack Welch กล่าวไว้ว่า “ท่านต้องเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน”
  • การตัดสินใจไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับเหตุ และ ผล
  • การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องมีผู้นำและประเมินการเปลี่ยนแปลงให้ดีที่สุด
  • ผู้บริหารจะเก่ง (Smart) ต้องรู้จักคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
  • การเป็นผู้นำต้อง บริหาร จัดการ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยปละละเลยตามยถากรรม เพราะโอกาสจะเกิดผลเสียมีมากกว่า
  • ผู้นำต้องสร้างความต้องการร่วมกัน (Shared need)
  • การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องดีขึ้น หรือ แย่ลง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • แรงผลักดันที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการคือ
  • องค์ประกอบภายนอก (External) เช่น ภัยธรรมชาติ การเมือง
  • องค์ประกอบภายใน (Internal) เช่น เทคโนโลยี นโยบาย บุคลากรเกษียณอายุ จากการเรียนรู้ได้เทคนิคการทำงานหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะการวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) อย่าเพิ่งด่วนสรุปและตัดสินใด ๆ จนกว่าจะได้มีการพูดคุย ซักถาม ลูกน้องก่อน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในทุกเรื่องทุกสถานการณ์

กรณีศึกษาต่าง ๆ ด้านการบริหารธุรกิจ (เพื่อการพัฒนาการเคหะฯ)

- ในการบริหารองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ผู้บริหารนั้นเป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ (EFFECIENCY) และมีสัมฤทธิ์ผล (EFFECTIVENESS) ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการดำเนินงานที่ต้องทำอะไรให้ถูกวิธี ซึ่งในทฤษฎีของ Peter Drucker ว่าการบริหารของผู้บริหาร ต้อง Doing the Righting ในการเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ 5 ประการ คือ
  1. Time การบริหารกาลเวลาให้เป็น ตัวอย่างเช่น จัดหาสมุดบันทึก 3 เล่ม ไว้ที่ โต๊ะ, เลขา และ หัวเตียงนอน โดยให้จดบันทึกของแต่ละวัน จะพบว่า ทั้ง 3 เล่มมีเนื้อเรื่องไม่ตรงกัน
  2. Priority วางแผนว่าจะต้องทำอะไร และให้เลือกว่าจะทำอะไรก่อน
  3. Contribution หมายถึง การถามตนเองว่า องค์กรจ้างมาให้ทำอะไร แล้วคุ้มค่าหรือไม่
  4. Strength ให้มองแต่จุดแข็งของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ความสามารถการปฏิบัติงานมีเพียง 10% ก็เพียงพอแล้ว
  5. Problem Soving Decision Making การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เป็นระบบ
    • แนวคิด Creative Thinking ของอาจารย์ มาร์ค ก็คือ การมองภาพ กคช. ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร การทำไปวิเคราะห์ไป การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน และสิ่งสำคัญ การเล่นและการเรียนรู้ อาจารย์ได้สอนให้ผู้บริหารรู้จักการมองความเป็นตัวตน (Self) เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ต่อไป หรือ คิดกลับด้านจากผลงานในอดีตเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสัมฤทธิ์ผลไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึง วัตถุประสงค์ ขององค์กรว่าเพื่ออะไร และการเข้าสู่ AEC ถ้า กคช. ไม่ขยับ หรือคิดหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้องค์กรเสียประโยชน์ได้

ส่งการบ้านการบริหารการเป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท