หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2


สวัสดีครับชาวบลอคทุกท่าน 18 มิถุนายน 2555 เป็นวันเปิดหลักสูตรวันแรกของโครงการ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2 ซึ่งจะเรียนกันทุกวันจันทร์และวันพุธตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน...
มีต่อ

ขอต้อนรับทุกท่านรุ่น 2 ที่กรุณาให้เกียรติผมมาร่วมเป็นผู้สอนรุ่น 2

ผมได้พบรุ่น 1 แล้ว 3 วัน  มีความประทับใจมาก หวังว่ารุ่น 2จะเข้มข้นเหมือนเดิมครับ

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

18 มิถุนายน 2555

Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • อยากให้คิดถึงแรงบันดาลใจที่ได้จากการมาเรียน 8 วัน
  • ค้นหาพลังภายใน คิดนอกกรอบให้กว้างว่า การเคหะในอนาคตต้องทำอะไรบ้าง
  • ค้นหาตนเอง ต้องสนใจศาสตร์อื่นนอกเหนือจากสาขาตนเองด้วย
  • ผมจะนำความเป็นเลิศของคุณออกมา
  • คุณต้องเป็นทุนมนุษย์ที่เข้มแข็งของการเคหะ
  • ต้องถามว่า เป้าหมายการเคหะในอนาคตคืออะไร
  • ผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้น
  • ภาวะผู้นำเป็นศิลปะในการให้คนอื่นทำเพราะเขาอยากทำ
  • พรแสวงยิ่งใหญ่ที่สุดของการเป็นผู้นำคือการเรียนรู้จากความล้มเหลว เช่นเรียนรู้จากเรื่องโครงการบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้นำต้องศรัทธาให้คนยอมรับ อย่าบ้าอำนาจ
  • ไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุขถ้าลูกน้องไม่ประสบความสำเร็จ
  • ต้องมีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น (ประเด็นโป๊ะเชะ)
  • ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ถามคำถามมากๆ
  • ผู้นำในการเคหะควรมองโลกให้กว้างกว่าเดิม เช่น สนใจโลกาภิวัตน์
  • อยากให้การเคหะสนใจพลังงานทดแทน
  • ต้องทายอนาคตให้ได้
  • ต้องถามตนเองว่า จะนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างไร
  • ความฉลาดเฉลียวต้องรวมวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์และ AEC เข้ามาด้วย
  • ความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบต้องนำไปสร้างนวัตกรรมแล้วจะเกิดมูลค่ามหาศาลแก่ประเทศไทยและนี่คือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของการเคหะ
  • ทำงานมีผลประกอบการแล้วมีภาวะผู้นำ จะทำให้งานของการเคหะในอนาคตดีขึ้น
  • ผู้นำ
  • เน้นที่คน
  • สร้างศรัทธา ตอนนี้ Stakeholder ภายนอกไม่เข้าใจการเคหะ ต้องนำศรัทธากลับคืนมา ต้องมีมาตรฐานชุมชนและผู้นำชุมชนให้ได้และต้องทำเป็นตัวอย่างให้แก่อาเซียนด้วย
  • สนใจระยะยาว คิดไกล ต้องวางแนวให้คนรุ่นใหม่เข้ามา
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง
  • สร้าง
  • ขยาย
  • ดึงกลับ ถ้าหายไป
  • Self Trust ตัวเราเองต้องภูมิใจในตนเอง ไม่
  • Relationship Trust ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กร
  • Organization Trust ต้องเป็นองค์กรที่คนยอมรับ มององค์กรเราดี เป็นหน่วยงานด้านความรู้ (เรื่องบ้าน)
  • Social Trust สังคมยอมรับ
    • ต้องถามตนเองว่า จะใช้วิธีใดในการพัฒนาผู้นำการเคหะ
    • ควรทำวิจัยว่า ผู้นำที่จะสร้างขึ้นมาได้ผลสำเร็จจริงๆคืออะไร
    • ผู้นำต้องเรียนรู้ทุกวินาที อย่าพอใจกับการเรียนในห้องเท่านั้น
    • ผู้นำต้องกระจายอำนาจ
    • ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา
    • ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
    • ผู้นำต้องสอนหนังสือด้วย เช่น Jack Welch สอนหนังสือเสาร์อาทิตย์
    • กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่นประยุกต์กับการเคหะฯ
  • ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้จัดการมาก่อน
  • ผู้นำที่ดีก็ต้องเป็นนักคิดที่ดี
  • ผู้นำที่ดีต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • ผู้นำที่ดีต้องมีเสน่ห์ดึงเอาความร่วมมือของคนมาได้ ต้องเป็นคนของประชาชน
  • ผู้นำในยุคต่อไปของการเคหะต้องเปี่ยมไปด้วยศรัทธาของ Stakeholder เพราะเขากำหนดชะตาชีวิตของคุณ
  • การสร้างศรัทธามี 3 ขั้นตอน
  • ควรมีการสำรวจชื่อเสียงการเคหะตลอดเวลา
  • ศรัทธามี 4 ระดับ

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

  • เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ
  •  รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก
    • ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก
    • ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)  คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

  • เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ
  • เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)  คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

  • เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก
  • เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก
  • จัดประชุม APEC 2003 ในจีน
  • นำจีนเข้า WTO
  • เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 – 2013) 

  • คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)
  • เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ
  • แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 – 2023) 

  • คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)
  • ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน
  • ควรศึกษากรณีศึกษากฟผ.ในการบริหารจัดการชุมชน
  • ก่อนเกษียณ ควรถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นใหม่
  • ควรทำ Talent Management ให้กลมกลืนกับองค์กร Target  เขาตั้งแต่อายุน้อยๆแล้วให้อยู่ในบริบทการเคหะ

 

Workshop

กลุ่ม 1

  • รุ่น 1
  • ปี 2516-2530
  • ผู้ก่อตั้งได้แก่ ท่านวทัญญู รตยา
  • ท่านเขียนพิมพ์เขียว แล้วนำเสนอดร.มาลัย นำไปหารือพลเอกประภาส จารุเสถียร
  • เรียกว่าเป็นยุค คิด เขียน เสนอรัฐบาล
  • รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้ทั้งหมด
  • รุ่น 2 ขยายการทำงาน
  • ยุคผู้ว่าดำรง-สมพงษ์
  • ซื้อที่ดินบางพลีและเริ่มทำงานด้านสลัม เปลี่ยนชื่อสลัมเป็นชุมชนแออัด
  • สร้างเมืองใหม่รองรับกรุงเทพมหานคร
  • มีโครงการภาครัฐ ส่งเสริมสร้างบ้านพักข้าราชการและบ้านพักผู้พิพากษา วางแผนระยะยาว
  • ซื้อที่ดินเมืองใหม่ลาดกระบัง ค่อยๆซื้อทีละน้อยทำให้การเมืองแทรกแซงได้น้อยที่สุด
  • ผู้ว่าสุปรีดิ์
  • พบวิกฤติต้มยำกุ้ง
    • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
    • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
    • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
    • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
    • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
    • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
    • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
    • ทำโครงการใหญ่ๆ
    • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
    • ต้องเป็นผู้นำการแก้ปัญหาน้ำท่วมสำหรับที่อยู่อาศัย
  • รุ่น3 ปี 2540-2545
  • รุ่น 4 ปี 2546-2550
  • รุ่น 5 ปี 2551-2554
  • รุ่น 6 ปี 2555 ฟื้นฟูศรัทธาประชาชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย ทำได้ละเอียดมาก ได้ความรู้

กลุ่ม 2 

โอกาส

อุปสรรค

AEC ลงทุนต่างประเทศ

การทำอาคารเช่า บ้านริมทางรถไฟ

อุทกภัยทำให้เกิดบ้านคูคลอง

พม่าเปิดประเทศ

การเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานเช่น รถไฟฟ้ามหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทย

ภาษา

ความรู้ที่หลากหลาย

ระเบียบข้อบังคับ

การแทรกแซงทางการเมือง ความไม่แน่นอน ทำให้โครงการไม่ได้รับอนุมัติ

ความไว้วางใจ

กลุ่ม 3

Character

คิดบวก

ใฝ่รู้

คุณธรรม

จุดยืนที่มั่นคง

ยืดหยุ่น

กล้าตัดสินใจ

Smart

ความคิดสร้างสรรค์นอกกกรอบ

Skills

ภาษาอาเซียน

การสื่อสารในและนอกองค์กร

ความรู้บริหารธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์

การบริหารความขัดแย้ง

การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร

Process

มีวิสัยทัศน์

มีเป้าหมาย

ให้ความสำคัญทุนมนุษย์

ไอที

ประเมินผล

Value

คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

การทำงานเป็นทีม

ความเชื่อถือ

กลุ่ม 4

  • ต้องการผู้นำมีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญ

Roadmap

  • ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  • คัดเลือกคนมาพัฒนา
  • ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา นอกเหนือจาก ที่ HR กำหนดให้
  • ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงความเห็น
  • สับเปลี่ยนหมุนเวียนสายงาน

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ทำให้รู้จักการเคหะมากขึ้น
  • โอกาสและอุปสรรคคงหนีไม่พ้นที่กลุ่ม 2 เสนอ
  • อีกอุปสรรคคือนโยบายด้านที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีหน่วยราชการดูแลเต็มๆ
  • ต้องกลับมาดูยุทธศาสตร์ว่าจะเป็นผู้นำแบบใด

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ควรจะนำการวิเคราะห์ผู้นำแต่ละรุ่นของการเคหะมาทำเป็นวิจัย
  • ควรจะมองความต้องการของคนมาอยู่บ้านมาหาเรา
  • คุณสมบัติ Smart ต้องเก่งเรื่องชุมชนด้วย
  • ต้องสร้าง Successor ขึ้นมา
  • ผู้นำต้องเข้มแข็ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ทำให้มีเครื่องมือในการพัฒนาผู้นำมากขึ้น
  • HR ต้องร่วมกับฝ่ายอื่นๆในการพัฒนา ต้องมีผู้นำระดับสูงสนับสนุน
  • ต้องคิดวิธีการทำงานในอนาคต จะช่วยคนจนหรือจะสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ปัญหาคือไม่มีคนทำงานเพราะทดแทนไม่ทัน ต้องวางแผนเป็นพิเศษ
  • การเคหะต้องมองให้รอบด้าน ต้องมองเรื่องผังเมือง
  • การแข่งกับเอกชนทำให้การเคหะเข้มแข็งขึ้น

Workshop

กลุ่ม 1

  • รุ่น 1
  • ปี 2516-2530
  • ผู้ก่อตั้งได้แก่ ท่านวทัญญู รตยา
  • ท่านเขียนพิมพ์เขียว แล้วนำเสนอดร.มาลัย นำไปหารือพลเอกประภาส จารุเสถียร
  • เรียกว่าเป็นยุค คิด เขียน เสนอรัฐบาล
  • รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้ทั้งหมด
  • รุ่น 2 ขยายการทำงาน
  • ยุคผู้ว่าดำรง-สมพงษ์
  • ซื้อที่ดินบางพลีและเริ่มทำงานด้านสลัม เปลี่ยนชื่อสลัมเป็นชุมชนแออัด
  • สร้างเมืองใหม่รองรับกรุงเทพมหานคร
  • มีโครงการภาครัฐ ส่งเสริมสร้างบ้านพักข้าราชการและบ้านพักผู้พิพากษา วางแผนระยะยาว
  • ซื้อที่ดินเมืองใหม่ลาดกระบัง ค่อยๆซื้อทีละน้อยทำให้การเมืองแทรกแซงได้น้อยที่สุด
  • รุ่น3 ปี 2540-2545
  • ผู้ว่าสุปรีดิ์
  • พบวิกฤติต้มยำกุ้ง
  • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
  • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
  • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
  • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
  • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
  • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
  • ทำโครงการใหญ่ๆ
  • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
  • รุ่น 4 ปี 2546-2550
  • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
  • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
  • รุ่น 5 ปี 2551-2554
  • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
  • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
  • รุ่น 6 ปี 2555 ฟื้นฟูศรัทธาประชาชน
  • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
  • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
  • ทำโครงการใหญ่ๆ
  • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
  • ต้องเป็นผู้นำการแก้ปัญหาน้ำท่วมสำหรับที่อยู่อาศัย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย ทำได้ละเอียดมาก ได้ความรู้

กลุ่ม 2 

โอกาส

อุปสรรค

AEC ลงทุนต่างประเทศ

การทำอาคารเช่า บ้านริมทางรถไฟ

อุทกภัยทำให้เกิดบ้านคูคลอง

พม่าเปิดประเทศ

การเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานเช่น รถไฟฟ้ามหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทย

ภาษา

ความรู้ที่หลากหลาย

ระเบียบข้อบังคับ

การแทรกแซงทางการเมือง ความไม่แน่นอน ทำให้โครงการไม่ได้รับอนุมัติ

ความไว้วางใจ

กลุ่ม 3

Character

คิดบวก

ใฝ่รู้

คุณธรรม

จุดยืนที่มั่นคง

ยืดหยุ่น

กล้าตัดสินใจ

Smart

ความคิดสร้างสรรค์นอกกกรอบ

Skills

ภาษาอาเซียน

การสื่อสารในและนอกองค์กร

ความรู้บริหารธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์

การบริหารความขัดแย้ง

การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร

Process

มีวิสัยทัศน์

มีเป้าหมาย

ให้ความสำคัญทุนมนุษย์

ไอที

ประเมินผล

Value

คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

การทำงานเป็นทีม

ความเชื่อถือ

กลุ่ม 4

  • ต้องการผู้นำมีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญ

Roadmap

  • ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  • คัดเลือกคนมาพัฒนา
  • ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา นอกเหนือจาก ที่ HR กำหนดให้
  • ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงความเห็น
  • สับเปลี่ยนหมุนเวียนสายงาน

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ทำให้รู้จักการเคหะมากขึ้น
  • โอกาสและอุปสรรคคงหนีไม่พ้นที่กลุ่ม 2 เสนอ
  • อีกอุปสรรคคือนโยบายด้านที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีหน่วยราชการดูแลเต็มๆ
  • ต้องกลับมาดูยุทธศาสตร์ว่าจะเป็นผู้นำแบบใด

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ควรจะนำการวิเคราะห์ผู้นำแต่ละรุ่นของการเคหะมาทำเป็นวิจัย
  • ควรจะมองความต้องการของคนมาอยู่บ้านมาหาเรา
  • คุณสมบัติ Smart ต้องเก่งเรื่องชุมชนด้วย
  • ต้องสร้าง Successor ขึ้นมา
  • ผู้นำต้องเข้มแข็ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ทำให้มีเครื่องมือในการพัฒนาผู้นำมากขึ้น
  • HR ต้องร่วมกับฝ่ายอื่นๆในการพัฒนา ต้องมีผู้นำระดับสูงสนับสนุน
  • ต้องคิดวิธีการทำงานในอนาคต จะช่วยคนจนหรือจะสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ปัญหาคือไม่มีคนทำงานเพราะทดแทนไม่ทัน ต้องวางแผนเป็นพิเศษ
  • การเคหะต้องมองให้รอบด้าน ต้องมองเรื่องผังเมือง
  • การแข่งกับเอกชนทำให้การเคหะเข้มแข็งขึ้น

Panel Discussion การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

       กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

       โดย คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

ดำเนินการอภิปรายโดย

       อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • สิ่งสำคัญที่สุดคือ Change Management
  • เวลาเปลี่ยนไป ต้องเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต ไม่ประมาทเรื่องสุขภาพ ต้องออกกำลังกายทุกวัน และไม่ประมาทเรื่องความรู้ มีความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์
  • การนำเสนอกรณีศึกษากฟผ. ต้องอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนบทบาทจากวิศวกรเป็นพัฒนาชุมชน ต้องเป็นแบบ win-win
  • ต้องดูว่าจะทำให้ชุมชนอย่างเดียวหรือไปแข่งกับเอกชน
  • ต้องดูภูมิสังคมด้วยเพราะมีอิทธิพลต่อการทำงานของการเคหะ

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • บทเรียนจากการชมวีดิทัศน์คือ ประเทศไทยกำลังถูกขวดโคล่าหล่นใส่ การเคหะก็โดนหลายขวด
  • ขวดโคล่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำอย่างไรจะรับมือและอยู่กับมันได้
  • ถ้าต้องการเป็นผู้นำต้องริเริ่มการเปลี่ยนแปลงเอง
  • บทบาทหน้าที่หลักของผู้บริหาร ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรไฟฟ้า เคยไปดูแลระบบให้ 80 ประเทศ ล่าสุดไปทำงานให้ซูดานและภูฏาน
  • แนวคิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ไปพบมา
  • ทุกคนมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงส่วนบุคคลตลอดเวลาอยู่แล้ว
  • ปัจจุบันแม้เราไม่สามารถใช้แหล่งพลังงานในไทย ก็ต้องไปใช้ไฟฟ้าพลังน้ำในลาว พอมีวิกฤตินิวเคลียร์ก็ไม่สามารถตั้งโรงงานนิวเคลียร์ได้
  • เราต้องเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
  • การรักษาสถานะ First Choice Energy ทำได้ลำบาก
  • สังคมก็ต่อต้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มาจากโรงไฟฟ้า ก็ทำให้กฟผ.อยู่ไม่ได้
  • ในการลงทุนโครงการใหญ่ๆ กฟผ. ยังมีความเสี่ยงเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ
  • เมื่อมี AEC ต่างชาติที่ทุนหนาจะมาลงทุนและควบคุมกิจการของภูมิภาค
  • แนวนโยบายรัฐกำหนดกรอบและการชี้วัดของกฟผ.
  • การพัฒนาทีมและองค์กร แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้ กฟผ.จะเปลี่ยนแปลงมุมมองเพื่อสร้างสมดุล ต้องดูว่ามีข้อมูลอะไร เราดูความต้องการไฟฟ้าแล้วพัฒนากำลังการผลิต แต่ไม่ยั่งยืน
  • กฟผ.กำลังเปลี่ยนมุมมองปรับทัศนคติของชาวบ้านเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
  • เดิมเราเดินตามเทคโนโลยี สร้างสมดุลระหว่าง Demand และ Supply ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
  • สิ่งสำคัญคือเปลี่ยนความคิดเพื่อเลือกความรู้ที่หลากหลายขึ้น ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลง สร้างสมดุลในการเปลี่ยน
  • ในกฟผ. ผู้ว่าท่านปัจจุบันมองว่า การนำองค์กรเป็น First Choice Energy ก็ต้องมีการปรับ mindset ของ Management Team
  • องค์กรมี Stakeholder รอบด้าน ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้หลากหลาย ใช้ความรู้เป็นปัญญา
  • ต้องสร้างค่านิยมองค์กร ให้คนทุ่มเททำงาน
  • กระบวนการสร้างผู้นำ ก็เลือกคนที่มีสมรรถนะสูง และใช้ Executive Coaching

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • เมื่อความเปลี่ยนแปลงเข้ามา จะรับมือกับมันอย่างไร หรือจะลุยเลย
  • ถ้าไม่บริหารการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น
  • เมื่อ 100 ปีที่แล้วโลกาภิวัตน์ทำให้ไทยเกือบเสียเอกราช
  • ตอนนี้ เราก็ซื้อของจากอียูแล้วเพราะห้างใหญ่ๆก็เป็นของประเทศในยุโรป
  • มองนอกและใน แล้วเลือกทำในสิ่งที่ถูก ทำอะไรเพื่อใคร อย่าทำอย่างเดิม
  • จะเป็นทหารราบสร้างที่อยู่อาศัยให้คนอยู่หรือจะเป็นทหารอากาศจุดประกายให้คนมีที่อยู่อาศัยและเมืองที่ดี ไม่ต้องสร้างเอง
  • มีกลยุทธ์อะไร Do the thing right
  • สคร.ให้ทำ SOD (Statement of Direction)
  • ถ้าจะทำบ้านเอื้ออาทรเอง ต้องดูว่าบุคลากรพอไหม อาจให้ภาคเอกชนช่วยพัฒนาบ้านคนจนอีก
  • กระทรวงการคลังให้การเคหะทำเซป้าซึ่งถือเป็นขวดโคล่า ทำให้การเคหะต้องทบทวนสภาพแวดล้อมและความท้าทายที่มีอยู่
  • ถ้านโยบายและผู้นำมุ่งไปสู่อาเซียน การเคหะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะลูกค้า ต้องหาคนมาทำงานด้านอาเซียน

Workshop

กลุ่ม 1

  • ช่วงบ้านเอื้ออาทรเหมือนขวดโค้กทั้งลังตกลงมา
  • เราเปลี่ยนแปลงโดย ให้ผู้ประกอบการสร้างให้เรา เรียกว่า เทิร์นคีย์
  • องค์กรเปลี่ยนเป็น CBU ดูว่าโครงการอยู่ที่ไหน เท่าไรที่ควรจะรับโครงการนั้น
  • อุปสรรคการขายคือ ผู้จองบ้านไม่ผ่านการพิจารณาของธนาคาร การเคหะต้องให้เขาเช่าซื้อทำให้มีหนี้ค้าง
  • ปัญหาคือ การดูแลชุมชนแบบเดิมทำได้ยากขึ้น แก้โดย Outsource มาดูแล
  • การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือ Junk Cost  ปรับปรุงจากการลดหน่วย เราต้องบริหาร Junk Cost  โดยขายมันด้วยราคาต่ำกว่าที่เราลงทุนไป
  • ปัญหาการทำบ้านเอื้ออาทรสร้างความเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควรและต้องวางแผนแก้ไขในอนาคต

กลุ่ม 2

  • เราเสียเวลามากในการทำแบบ จึงนำแบบมาตรฐานมาทำ เพื่อให้ได้แบบและราคาที่เหมาะสม จึงคัดหัวหน้าทีมกลุ่มงานมาหารือกัน แล้วหัวหน้ากลุ่มคัดเลือกทีมมาปฏิบัติ แต่เดิมให้เอกชนทำ
  • ตัวมาตรฐานนำไปต่อยอด เราได้ดำเนินการจากงบประมาณใหม่ จะนำมาทำทั้งหมดให้เป็นแนวทางเดียวกัน

กลุ่ม 3

  • เรื่องผู้บุกรุกริมคลองอาศัยอยู่นาน เราได้ทำแผนการสร้างคล้ายเอื้ออาทร แต่ไม่มีการบริหารชุมชนแล้วให้หน่วยงานอื่นรับไปดูแล เราจะสร้างได้ก็ต่อเมื่อเขายินยอมย้ายออก เราไม่มีอำนาจรื้อย้าย
  • เราต้องกำหนดกลยุทธ์ ต้องมีกรรมการระดับชาติมากำกับดูแล
  • ตอนนี้โครงสร้างเรามีฝ่ายก่อสร้าง 4 ฝ่าย แต่บุคลากรไม่พอรองรับภารกิจนี้ บุคลากรช่างเกษียณอายุมาก ไม่สามารถรับคนแทนได้
  • ต้องปรับเปลี่ยนการบริหารโครงการ กำหนดรูปแบบรับซื้อโครงการ ต้องร่วมมือกับเอกชน
  • งบมาจากเงินกู้และเงินอุดหนุน ถ้ากู้อีก รัฐบาลจะมาดูแลอย่างไร
  • การบริหารจัดการโครงการปัจจุบันให้ผู้รับเหมามาสร้างจะพอหรือไม่ ก็ยังสร้างช้า

กลุ่ม 4

  • เรื่องพ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ
  • แนวทางแก้คือ ต้องไม่กู้ จะได้ไม่ขาดทุน หรือต้องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
  • การทำโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อย รัฐต้องมีทางออกโดยหาแหล่งเงินที่ถูก เช่น โครงการเมืองใหม่บางพลี ทำให้ได้เงินกู้ต่างประเทศมาโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่มีค่าผูกพันเงินกู้ 7% แต่นี่ก็น่าจะเป็นทางออก
  • ปัจจุบัน เราปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการหารายได้เพิ่มขึ้น
  • กำหนดลักษณะโครงการ ฝ่ายโครงการเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่ม 5

  • นโยบายสร้างที่อยู่อาศัยแสนหน่วยตามรถไฟฟ้า การเคหะต้องไปทำแม้ช้ากว่าเอกชน
  • เราอาจดำเนินการเองหรือ รับซื้อหรือร่วมทุนกับเอกชน
  • ถ้าทำเอง ก็มีปัญหาคือที่ดินโดนเอกชนซื้อไปแล้ว
  • การเคหะยังไม่มีการเวนคืนที่ดินและที่ดินตาบอด
  • เรื่องเงินทุน ไม่ใช่ปัญหา รัฐเข้ามาช่วยค้ำประกันหรือเงินสนับสนุนถ้ามีประโยชน์จริง
  • ปัญหาเรื่องบุคลากร ขาดอัตรากำลังในอนาคต
  • ก่อนมีโครงการเอื้ออาทรดำเนินการได้ 3 หมื่นหน่วย ยังไม่ถึงแสน
  • ก็ต้องรับคนเพิ่ม ยืดอายุบุคลากร
  • การรับซื้อโครงการจากเอกชน มักมีปัญหาว่าเป็นโครงการไม่โปร่งใส ต้องตั้งกรรมการ
  • การร่วมลงทุนกับเอกชน ถ้าสร้างแรงจูงใจให้เอกชนมากไป ตนเองจะมีปัญหา

กลุ่ม 6

  • เรื่องเดียวกับกลุ่มที่ 5
  • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลงทุนบนพื้นฐานของรถไฟฟ้า อาจจะเช่าเซ้ง เพราะพ.ร.บ.เวนคืนที่ดินมีข้อจำกัด
  • หรือการเคหะมีที่ดินใกล้รถไฟฟ้าอาจจะขอให้ทำรถรับส่งถึงรถไฟฟ้า
  • การให้เอกชนดำเนินการแล้วเรารับซื้อ ต้องนำประสบการณ์โครงการเอื้ออาทรมาใช้
  • แหล่งเงินทุนและภาระดอกเบี้ย รัฐ
  • พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ เราจะได้ข้อยกเว้นหรือลดหย่อนไหม

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ที่ท่านพูดคือเป็นการคาดการณ์รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ยังไม่ได้คิดเชิงรุกเท่าไร
  • นำข้อผิดพลาดมาแก้ไข
  • การพัฒนาคนเพื่อสืบทอด
  • เวลาความเปลี่ยนแปลงมา ก็ต้องบริหารความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี บริหารจัดการการเปลี่ยนระเบียบสังคม
  • ต้องเปลี่ยนค่านิยมอุดมการณ์ด้วย
  • ผู้บริหารต้องทำอุดมการณ์ให้แน่วแน่คงอยู่และไปด้วยกัน
  • ต้องเริ่มจากเศรษฐกิจพอเพียงแล้วจัดระเบียบสังคมตามนั้น
  • ต้องสร้างบรรทัดฐานด้วย
  • ต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่เรื่องจิตสำนึกคิดถึงคนอื่น
  • จากตัวอย่างราชการสิงคโปร์ เน้นการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า ต้อนรับการเปลี่ยนแปลงและบริหารการเปลี่ยนแปลง

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ประเด็นปัญหาคือ นโยบายและทรัพยากร
  • นโยบายรัฐเป็นเรื่องปกติ ต้องเปลี่ยนแปลงตามเขา แต่ถ้าเรามีพลังความรู้และปัญญา ก็จะสร้างสรรค์ได้ ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมก็ได้ นำคนรุ่นอื่นมาเสริมแล้วทางออกจะเกิด
  • ถ้าบูรณาการได้ มีกลุ่มที่เราเป็นพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศทำโครงการใหญ่ๆ
  • สิ่งสำคัญคือสังคมยอมรับหรือไม่ เพราะเขามุ่งหวังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • ที่ดิน ทุน คนเป็นปัญหาทั่วไป
  • ผู้นำระดับสูงต้องมีคนกล้า Integrate, Create และกล้าตัดสินใจเพื่อความยั่งยืน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ต้องใช้ 2 C คือ Competency ความรู้ความสามารถ และ Collaboration ร่วมมือกับเอกชน

 

ประโยชน์ที่ได้รับและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาติ หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012)

  1. ให้ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะ 2558 AEC เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือ กับผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน
  2. ให้มีการทบทวน วิเคราะห์ ผลงาน วิธีการ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยทบทวน วิเคราะห์เป็นระยะๆ ในทุกๆ ด้าน เช่น ทรัพยากรบุคคล ขีดความสามารถ, ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ในเชิงปรับปรุงพัฒนาบูรณาการ
  3. เตรียมความพร้อมโดยวางแผนล่วงหน้า ด้านทรัพยากรบุคคล แต่ละกลุ่มอายุที่จะครบอายุการทำงาน กลุ่มใหม่สามารถรับช่วงติดอย่างกลมกลืนหรือไม่
  4. กลุ่มทรัพยากรบุคคลตามข้อ 3 จัดให้มีการเติมความรอบรู้พัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในงานของการเคหะแห่งชาติ

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตส่งการบ้านค่ะ เมื่อวานได้ส่งมาแล้วคร้ังหนึ่งแต่รู้สึกว่าจะมีปัญหาในการส่ง จึงขอส่งการบ้านใหม่อีกครั้งหนึ่งค่ะ ตามไฟล์ที่แนบนะคะ

อรพิณ

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร
                      ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันที่ 18 มิถุนายน 2555     วิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ คือ มีความเข้าใจองค์ประกอบของผู้นำที่ชัดเจน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและการบริหาร มีคุณธรรมและจริยธรรม สนใจเรียนรู้และทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ มองการณ์ไกล คิดอย่างเป็นระบบ มีบุคลิกภาพดี มีความสามารถในการสื่อสาร เข้าได้กับผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์กรและภายนอกองค์กร ให้เกียรติและให้ความเมตตาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                         สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาตินั้น เริ่มจากการมีความมั่นใจในความรู้เรื่องภาวะผู้นำที่ได้รับจากการอบรม และซึมซับแนวคิดดังกล่าวไว้ในจิตใต้สำนึก มีสติและมุ่งมั่นที่จะบริหารงานที่ได้รับมอบหมายทุกเรื่องให้ดีที่สุดแก่องค์กรและตนเอง
                                                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

ได้เรียนรู้ว่า ผู้นำมีหลายประเภทและ ผู้นำที่ดี สมบูรณ์แบบ ต้องมีคุณสมบัติมากมายหลายประการ การจะเป็นผู้นำได้อาจเกิดจากตัวของผู้นั้นเองคือมีพรสวรรค์ในการเป็นผู้นำ หรือเกิดจากการฝึกทักษะ พัฒนาตนเอง จนทำให้เกิดคุณค่าในตัวเองและได้รับความศรัทธาจากลูกน้องและบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่การจะเป็นผู้นำแบบใด ต้องขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรมขององค์กร นอกจากนั้น ผู้นำในยุคที่กำลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะต้องเข้าใจเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีสถานะการณ์ที่แปลกใหม่เข้ามา เพื่อความอยู่รอดขององค์กรหรือประเทศชาติ ต้องมีการปรับตัวเอง เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานใหม่ คิคค้นแผนงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน คิดนอกกรอบ ซึ่งผู้นำจะต้องทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจเรื่องการเปลื่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเกิดการยอมรับในแผนงานที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับสถานะการณ์ปัจจุบันและเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประเทศชาติ

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1)

อาจารย์ จีระ   หงส์ลดารมภ์

วันที่ 18/06/2555

ความหมายของผู้นำที่ดีคืออะไร

-  ผู้นำ เป็นผู้ มองอนาคต -  ผู้บริหาร เน้นระบบควบคุม  กำไร/ขาดทุน มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของไทย

- พระนเรศวร , ร.5 , ร.9

- อาจารย์สัญญาธรรมศักดิ์ , ดร.ป๋วย , ชวน หลีกภัย

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของต่างประเทศ

เติ้ง เสี่ยวผิง  สิ จินผิง

โอบามา เมลเดลา ดาไล ลามะ  อองซานซูจี

ผู้นำและผู้จัดการ

-  Trust หรือศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุกๆคน มิใช่แค่มีตำแหน่ง

-  Turst   มีหลายประเภท

- Self Trust  ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอย่างไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

- Relationship Trust ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

- Organization Turst การสร้าง Brand

- Sociol Trust

วิธีสร้างได้มาซึ่ง trust ระหว่างบุคคล

- พูดจริงทำจริง ยกย้องนับถือเพื่อร่วมงาน

- ทำงานด้วยความโปร่งใส่ ปรับปรุงตนเองเสมอ

วิธีได้มาซึ่ง Social Trust มีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง ความมั่นคงของคนในประเทศ

University of Washington ผู้นำต้องมี 4 วิธี

1. Leadership skill การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง ทำงานเป็นทีม

2. Charactar คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น รองเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก มีคุณธรรม

3. Leadership perecess ควรมี Vision มองอนาคตให้ออก

4. Lradeship Valur ที่สำคัญที่สุด คือ Trust ความศรัทธาให้ผู้นำนั้นๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ

แนวคิด หลักการ และวิสัยทัศน์ของผู้นำที่ดี                           

                                                                                                            นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                                                                                             [email protected]

 

สรุปวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผศ.ปัณรส     มาลากุล  ณ  อยุธยา

วันที่ 18/06/2555

 

ผู้บริหารต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยพิจารณาการณ์รอบด้าน

ต้องเข้าใจความเปลี่ยงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

มองข้างนอกและ ดูสภาพแวดล้อม  จะทำอะไรต่อไป  ต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง

 การเข้าใจด้วยกัน  จะเข้าถึงปัญหามากขึ้น

มีความไว้วางใจ  จะเกิดความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน

การระดมความคิดจากข้างใน   จะเกิดการพัฒนาสมอง มากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับ

            การมองสถานะการ์ณโดยรอบทั้งภายในและภายนอกเพื่อประกอบการตัดสินใจบริหารความเปลี่ยนแปลง                                                                            

                                                                                                นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                                                                                [email protected]

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

หัวข้อที่1: ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

  1. ประโยชน์ที่ได้รับ ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะผู้นำที่ดีควรเป็นอย่างไร จะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) และรู้จักการมอบอำนาจ (Empowerment) ซึ่งวัตถุประสงค์ของหัวข้อนี้ทำให้ผู้บริหารต้องศึกษาเรื่องภาวะผู้นำอย่างแท้จริง, การสร้างความตระหนักในการเป็นผู้นำมากกว่าการเป็นผู้บริหาร ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างผู้นำและผู้บริหาร โดยที่ผู้บริหารระดับนี้มักจะมีความชำนาญการด้านการบริหารแต่ยังขาดทักษะและการฝึกฝนในการผู้นำ ได้เข้าใจถึงชนิดของผู้นำ (Types of Leadership) ในแต่ละชนิดว่ามีอะไรบ้างเช่น Autocratic leadership, Bureaucratic leadership, Democratic leadership and Laissez-Faire leadership เป็นต้น แต่ละชนิดคืออะไร ซึ่งมีวิธีการสร้างความเป็นผู้นำในแต่ละชนิดอีกด้วย ที่สำคัญในหัวข้อนี้ยังได้เรียนรู้ถึงคุณสมบัติของผู้นำในหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก ทำให้เราได้นำคุณสมบัติหรือแบบอย่างที่ดีเหล่านั้นกลับมาพัฒนาและ/หรือเลือกคุณสมบัติที่มีความใกล้เคียงพอที่จะสร้างตนให้เป็นผู้นำได้นั่นเอง การสร้างผู้นำหลายแบบ เช่น The leadership Pipeline, by Ram Charun, The 5E’s cycle model – Engagement, Exploration, Explanation, Elaboration and Evaluation รวมถึงจากอาจารย์จาก University of Washington

  2. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาติ ได้ดังนี้ เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงว่าเราอยู่ในฐานะผู้บริหารที่กำลังจะก้าวสู่ภาวะความเป็นผู้นำ จึงต้องนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดของผู้นำ (Types of Leadership) แบบอย่างของผู้นำในหลายๆระดับตั้งแต่ระดับองค์กรไปจนถึงระดับโลก, วิธีการสร้างผู้นำหลากหลายวิธีมาปรับใช้ โดยการเลือกคุณสมบัติของผู้นำที่ได้ศึกษามาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่มีผู้นำชนิดไหนที่ดีที่สุดหรือเลวที่สุด มีแต่ผู้นำที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ เช่น หากองค์กรอยู่ในสภาวะการณ์ที่ฉุกเฉินหรือเกิดวิกฤติ เราก็จำเป็นต้องสั่งการหรือเป็นแกนหลักให้ลูกน้องทำตาม มากว่าที่จะปล่อยให้ดำเนินเรื่อยเปื่อยเหมือนในสภาวะปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำคุณสมบัติที่ได้ศึกษามาที่มีความใกล้เคียงกับตนเองมากที่สุด เพื่อเลือกวิธีการสร้างผู้นำที่ง่ายสำหรับตน และฝึกปฏิบัติตนเองทันทีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 3เดือน แล้วจึงค่อยประเมินผลอีกที

หัวข้อที่ 2 การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้มีความรู้ ความเข้าใจเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่จะกระแสโลกาภิวัตน์
2.ผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรมีปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกอะไรบ้าง
3.เมื่อกระทบต่อองค์กรแล้วเราในฐานะผู้บริหารขององค์กรจะจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่น
    - วิเคราะห์และทบทวน วิสัยทัศน์, โอกาส, ภัยคุกคาม ให้ชัดเจนในภารกิจหลักขององค์กร วัตถุประสงค์, จุดอ่อน ,จุดแข็ง ดูว่าทำอะไร เพื่อใคร
    - กำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง
    - จัดทำ Roadmap ขั้นพื้นฐานของการรับรู้ , ต้องการ, ความรู้ ,ความสามารถ
4.วิธีการบริหารเมื่อมีการปรับโครงสร้างเข้ากระบวนงานและวิธีการทำงาน
    -ปรับระบบการเงิน และงบประมาณ
    -ปรับระบบการบริการบุคคลและค่าตอบแทน
    -ปรับวัฒนธรรมและค่านิยม
    -ฯลฯ

  1. ปรับมาใช้ในการทำงานการเคหะฯ อย่างไร การปรับใช้ในการทำงาน เนื่องจากงาน HR เป็นงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรตลอดเวลาด้วย โดยจะมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
    1. การวิเคราะห์และทบทวนวิสัยทัศน์ของฝ่าย ดูโอกาส, สร้างความรู้ภายในภารกิจ, จุดอ่อน, จุดแข็ง งาน HR แล้วมากำหนดวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง 2.จัดทำ Road map และแผนปฏิบัติการทุก process 3.ที่สำคัญต้องมีการวิเคราะห์และกำหนดวิธีการที่จะบริหารการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงออกมาเป็นแผนคู่ขนานออกมารองรับ 4.ตามแผนปฏิบัติการ 5.ประเมินผล

                                     กำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง
      
      

วิเคราะห์และทบทวนวิสัยทัศน์ ภารกิจ จัดทำ Roadmap แผนปฏิบัติการ

    จุดอ่อน  จุดแข็ง ฯลฯ                                                              และแผนบริหารการต้านเปลี่ยนแปลง


       ประเมินผล                                                                        ปฏิบัติตามแผนฯ

ดังนั้นจะนำความรู้ที่ได้รับ มาปฏิบัติในงาน HR ตามเนื้อหาข้างต้น

ธวัช บุญครองเกียรติ

ส่งงาน วันที่ 18 มิย. 55

วันที่ 18 มิ.ย. 55

 

      ได้รับความรู้เกี่ยวกับผู้นำ หลายมุมมอง เช่น ลักษณะผู้นำ วิสัยทัศน์ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง ได้รับความศรัทราและความน่าเชื่อถือจากผู้อื่นความสามารถพิเศษในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เป็นต้น และมองไปถึงผู้นำในอนาคตที่ควรเรียนรู้ปัญหาเศรษฐกิจของโลก และการเมืองในประเทศที่อาจสร้างปัญหาให้กับองค์กรและลูกค้าของ กคช.ในอนาคต จากการยกตัวอย่างผู้นำที่มีชื่อเสียงในอดีตเป็นอย่างที่ดีมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับสภาพแวดล้อมและวัฒนะธรรมภายในองค์กร รวมทั้งขจัดปัจจัยภายนอกที่จะมาควบคุมหรือกำกับจนเสียขบวนการบริหารจัดการและภาวะผู้นำ

      เนื่องจากภาวะโลกมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเกิดภัยพิบัติ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้ขบวนการเปลี่ยนแปลงในอดีตไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ และเกิดแนวคิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ๆ อย่างมาก ดังนั้น กคช. ควรที่จะศึกษาภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจภายในรวมทั้งการเมืองวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จัดสัมมนาผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดทิศทาง การดำเนินงานของ กคช.ใน 10ปีข้างหน้า    

 

นายธวัช  บุญครองเกียรติ

                                                                           รองผอ.ทน.

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 เวลา 08.30 – 12.00 น. หัวข้อวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

              วันนี้เป็นการเข้ารับการอบรมเป็นวันแรก  จากการได้รับทราบถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง ได้ทบทวนความรู้ และได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม  เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง ได้เข้าใจถึงความต่างของการเป็น “ผู้นำ (Leder)” กับ “ผู้จัดการ (Manager)” อย่างชัดเจน  การเป็นผู้นำได้ต้องเกิดจากความศรัทธา 4 ประการ 1. ศรัทธาต่อตนเอง (Self Trust) 2. ศรัทธาและความสัมพันธ์ของคนในองค์กร (relationship Trust)  3. ศรัทธาในองค์กร โดยองค์กรเป็นที่ยอมรับ (Organization Trust) และ 4. ศรัทธาจากสังคมภายนอก (Social Trust)  การเป็นผู้นำสร้างได้  โดยได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาภาวะผู้นำตามทฤษฎิ 5E’s  และความแตกต่างของการพัฒนาผู้นำแบบเก่า และแบบใหม่  โดยผู้นำควรมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ความเป็นตัวตน (character)  มีทักษะ(Leadership kill) มีวิสัยทัศน์  (Leadership process) และมีความศรัทธาในผู้นำนั้น (Leadership value)  ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อคิดว่า  “ผู้นำที่ดี ต้องเป็นนักคิดที่ดีด้วย”  

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 เวลา 13.30 – 16.30 น. หัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

             ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา  องค์กรต่าง ๆ ทุกภาคส่วน ล้วนแต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งเรื่องที่คาดคิด และไม่คาดคิด  เราจึงต้องปรับตัวและมีวิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หากเราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ก็จะลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น  องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด  การอบรมในวิชานี้ ทำให้เรามีความรู้ ได้ฝึกหัดที่จะแก้ปัญหา และพร้อมรับต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่คิดท้อถอย โดยเฉพาะการเปลี่ยนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 3 ปีข้างหน้า   หากเราเตรียมพร้อมอย่างมีสติก็จะสามารถนำพาทีมงานให้พร้อมรับมือ และก้าวเดินไปกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงตลอดเวลา 

สุขุมาภรณ์ จงภักดี

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ และ การบริหารการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ลักษณะของผู้นำที่ดี เช่น มีวิสัยทัศน์ มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่รู้ กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ดีและถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถสร้างศรัทธาและการยอมรับในวงกว้าง มุ่งมั่น และมีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น สามารถกระตุ้นคนอื่นให้มีพลัง พร้อมสนับสนุนผู้ร่วมงานให้ไปสู่ความสำเร็จ ฯลฯ
  • แนวทางการสร้างภาวะผู้นำ เช่น การทำตนเป็นตัวอย่าง การเรียนรู้จากประสบการณ์ ฯลฯ
  • แนวทางการสร้างผู้นำ เช่น ค้นหาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผู้นำขึ้นมาแทนในอนาคต
  • ฯลฯ

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

  • พยายามที่จะแสวงหาความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนางานขององค์กร และนำมาพัฒนางานของ

         องค์กรให้ดีขึ้น

  • เรียนรู้ที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อดทน ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล คุณธรรม

                        จริยธรรม  ความถูกต้อง

  • เปิดโอกาส สนับสนุน และแนะแนวทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ความสามารถของตนอย่าง

                        สร้างสรรค์

  • ทำงานโดยยึดหลัก Good Governance (Accountability, Rule of Law

                Transparency, Democratization, Civil Society, Participation,

                         และ Responsibility)  เพื่อสร้างศรัทธาต่อผู้ร่วมงาน

  • เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรอง

                        การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม ฯลฯ

 

เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความเข้าใจว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้ที่จะยอมรับและบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงอย่างฉลาด โดยการวางเส้นทาง (Roadmap)ไปสู่เป้าหมาย จัดสรรทรัพยากรเพื่อการจัดการความเปลี่ยนแปลง สร้างความรู้สึกร่วมในการจัดการความเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และตัดสินในการบริหารความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์
  • เลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน

 

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

  • ยอมรับความเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและภัยคุกคาม เพื่อหาหนทางรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์
นพดล ว่องเวียงจันทร์
        ส่งการบ้านใหม่ครับ เมื่อวันศุกร์ส่งแล้วมีปัญหาเข้าระบบไม่ได้
                   สรุปบทเรียนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

  ได้ทราบข้อแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร เพราะมีหลายข้อที่เคยคิดว่า ผู้นำต้องทำ

แต่นั่นกลายเป็นงานของผู้บริหารไม่ใช่หน้าที่ของผู้นำ ผู้นำจะต้องมองไปไกลกว่า เช่น 1) ผู้บริหารจะเน้นระบบ แต่ผู้นำจะเน้นเรื่องคนให้ความสำคัญในเรื่อง HR 2) ผู้บริหารจะเน้นการควบคุม ผู้นำจะเน้นเรื่องความศรัทธา (ลูกน้องศรัทธาดีกว่าต้องควบคุมลูกน้องด้วยกฎเกณฑ์) 3) ผู้บริหารมองระยะสั้นแต่ผู้นำต้องมองยาวๆ 4) ผู้บริหารจะเน้น ทำเมื่อไร ทำอย่างไร แต่ผู้นำจะเน้น ทำอะไร และทำไมต้องทำ 5) ผู้บริหารจะมอง แค่กำไร ขาดทุน ทุก 3เดือน แต่ผู้นำต้องมองถึงอนาคต ภาพลักษณ์ 6) ผู้บริหารจะเน้นแค่ทำให้เสร็จทันเวลาและมีประสิทธิภาพแต่ผู้นำจะเน้นว่าจะหานวัตกรรมอะไรมาพัฒนางานนี้ได้อีก 7) ผู้บริหารเน้นความมั่นคง ปลอดภัย ผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลง (ชอบท้าทาย)

    ข้อต่อมาได้ทราบคุณสมบัติของผู้นำ ของ Jack  Welch คือ 4E’s Leadership คือ
  Energy (มีพลัง)  Energize ( กระตุ้น) Edge ( เด็ดขาด) Execution (ลงมือทำ)
    และทฤษฎีสร้างผู้นำ 5E’s คือ  Example ( เป็นตัวอย่างที่ดี)  Experience ( ถ่ายทอดประสบการณ์)  Education ( ให้การศึกษา)  Environment (สร้างบรรยากาศที่ดี ) 

Evaluation ( ประเมินผลต่อเนื่อง)

                       ( ก่อนหน้านี้ รู้จักแต่การตลาด 4Ps  : Price Place Product Promotion

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

 ได้เห็นความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะจะทำให้องค์

ปรับตัวทัน เห็นโอกาส ไม่ติดขัด ไม่สับสน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 ตัวอย่าง “ขวด” ที่ยกตัวอย่างมา เปรียบเหมือนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลก

ตลอดเวลา ทั้งในเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง นวัตกรรม การศึกษา พฤติกรรม การทำงาน ฯลฯ ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะ ศึกษา แก้ไข หรือเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เราก็จะ ประสบปัญหา เหมือนเผ่าคนป่าในหนัง ที่มี “ขวด” คือความเปลี่ยนแปลงที่วันหนึ่ง จู่ๆ ก็เดินทางเข้ามาในสังคมของพวกเขา โดยยังไม่ทันตั้งตัวและสร้างปัญหามากมาย คนในเผ่าก็ไม่มีองค์ความรู้เพียงพอที่จะอธิบายและแก้ปัญหา “ขวด” ได้แต่ใช้วิธีง่ายๆคือ ให้ลืมๆ มันไปเสีย (โดยเอาไปฝัง) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบขอไปที ไม่ได้แก้แบบบูรณาการ และในที่สุด ปัญหาที่ถูกซุกไว้ใต้ดิน (ขวดอยู่ใต้ดิน) ก็ถูกขุดขึ้นมาอีก กลายเป็นปํญหาใหญ่ ที่ต้องแก้หนักกว่าเดิม ต้องเอาขวดไปทิ้งถึงขอบโลก???!!....

           มีความเข้าใจเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงจากหนังเรื่องนี้ดีมาก (จำได้นาน)
 ตอนนี้ “ขวด”  ทางการเมืองของประเทศไทย ก็คือ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องปรองดอง
             “ขวด” เรื่องประชาคมอาเชี่ยนในปี 2558 
             “ขวด”  ของ กคช แก้ปัญหาเอื้ออาทร / พนง เกษียณอายุ ขาดบุคลากร/รายได้องค์กร/

ทิศทางองค์กรในอนาคต…จึงเป็นเรื่องท้าทายมากดังนั้น จึงต้องเข้าเรียน course นี้อย่างต่อเนื่องจะได้มีองค์ความรู้มาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

                                                                                   นพดล  ว่องเวียงจันทร์
                                                                                  รองผู้อำนวยการฝ่าย พส2

นายดารนัย อินสว่าง

ได้รับความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างมากในเรื่องของภาวะผู้นำ ทำให้ทราบภาวะผู้นำในแต่ละยุค ไม่เหมือนกัน ผู้นำบางยุคอาจเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว ผู้นำบางยุคอาจเป็นผู้นำ ที่มองการไกล และผู้นำบางยุค อาจมองในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเรียนรู้เรื่องของภาวะผู้นำทำให้ทราบถึงคุณสมบัติและวิสัยทัศน์ของแต่ละบุคคลก็มีความหลากหลายและแตกต่างกันทั้งผู้นำภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ 

ควรได้รับการศึกษาและนำมาใช้ประกอบการทำงาน ผู้นำบางคนอาจเก่งทางด้านเศรษฐกิจ ผู้นำบางคนอาจเก่งทางด้านสังคม แต่ผู้นำที่น่าสนใจมากที่สุดน่าจะเป็นผู้นำของจีน ที่แต่ละยุคมีความแตกต่างกันและปัจจุบันผู้นำของจีนสามารถพัฒนาประเทศให้มีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ

ส่วนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบถึงการบริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องมีการคิดนอกกรอบ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำต้องสร้างระบบงานใหม่เพื่อการพัฒนาให้ทันกับสังคมในโลกยุคใหม่ ส่วนการทำงานในองค์กร ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีทำงาน ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ

บรรยากาศวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555

25 มิถุนายน 2555

Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โปรดอ่านหนังสือ

1.ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

2.8K’s+5K’s

3.หนังสือคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ใน Harvard Business Review บอกว่า

1.ถ้าคุณขึ้นเป็นผู้นำ ต้องทิ้ง Silo มาเป็นผู้บริหาร Silo เปลี่ยนจาก Specialist เป็น Generalist

โครงการกฟผ. รุ่น 8 บอกว่าสิ่งที่น่ากลัวคือการยึดติด Silo และการขาดการเอื้ออาทรลูกน้อง

2.ในองค์กรมีความแตกต่าง ระหว่าง Tactic กลยุทธ์ และ Strategy ยุทธศาสตร์ ต้องบริหารจัดการให้ดี

สำรวจ

  • Where are we?
  • Where do we want to go?
  • How to get there?
  • How to overcome obstacles and difficulties?
  • องค์กรที่ประสบความสำเร็จในอนาคตต้องมีวิศวกรประจำองค์กร
  • ต้องคิดวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับอีก 10 ปีข้างหน้า
  • ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่ Realistic โดยต้องมีการปรึกษาหารือกับคนข้างนอกการเคหะ
  • วิสัยทัศน์การเคหะตอนนี้ยังไม่เน้นความเป็นสากล
  • วิสัยทัศน์ต้องชัดเจน ยุทธศาสตร์จะได้ทราบว่าจะไปไหน
  • การที่วิสัยทัศน์สำเร็จได้ต้องมีแก่นนิยมหล่อหลอมองค์กรเข้าด้วยกัน
  • กำหนดทิศทางแล้วต้องมีคุณสมบัติความเป็นเลิศด้วย
  • เราจะแบ่งปันวิสัยทัศน์กัน
  • จากการวิจัยของ James Collins สิ่งที่ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา
  • แต่ Vision without action ก็ไม่ได้ประโยชน์
  • ภารกิจต้องตอบสนองเป้าหมาย
  • อยากให้มีแก่นนิยมนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กร มีความแม่นยำ สร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่มและความสุขในการทำงาน
  • คนที่จะเป็นผู้นำการเคหะต้องมองกว้าง (ข้ามศาสตร์) และลึก
  • ต้องมีการระดมความคิดและรับฟังความคิดเห็นอย่างบ้าคลั่ง
  • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยแนะนำ
  • ต้องมีการผสมผสานระหว่างคนในและคนนอก
  • การเคหะอาจจะเป็นผู้นำในบางเรื่องของ AEC ได้ ต้องมีมาตรฐานนักการเคหะอาเซียน
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ โครงสร้างประชากร
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งและจุดอ่อน
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องดูว่าอะไรที่ทำได้ดี และอะไรที่เรายังทำไม่ดี
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องดูว่าลูกค้าที่สำคัญคือใคร

Workshop

กลุ่ม 1

ปัจจัยภายนอก

โอกาส

อุปสรรค

การเมือง

  • แม้มีการเปลี่ยนแปลง แต่ทุกรัฐบาลก็สนับสนุนการเคหะ
  • ทำให้ได้งานทำ

สังคม

  • สังคมผู้สูงอายุ
  • ขนาดครัวเรือนเล็กลง มีความต้องการบ้านมากขึ้น
  • การเคลื่อนย้ายประชากร สร้างโอกาสการทำงาน ทำให้ไปสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยรอบๆอุตสาหกรรม

วัฒนธรรม

  • ทำให้มีแบบบ้านที่หลากหลาย
  • มีชาวพม่าย้ายเข้ามาอาศัยมากขึ้น ทำให้ขายบ้านดีขึ้น เพราะมีเจ้าของคนไทยแต่พม่าเช่าอยู่
  • อาจจะขยายชุมชนได้

เศรษฐกิจ

  • AEC ขยายเศรษฐกิจ
  • ค่าแรงเพิ่มรายได้

 

 

เทคโนโลยี

  • ได้งานทำมากขึ้น
  • ลดต้นทุน รัฐบาลสนับสนุน
  • ประสิทธิภาพ

กฎหมาย

  • กคช.ได้รับการยกเว้น  
  • กฎหมายจัดสรร
  • ใช้กฎหมายจัดรูปที่ดิน
  • ไม่ต้องเข้าพ.ร.บ.ที่อยู่อาศัย

สิ่งแวดล้อม

  • ภัยพิบัติทำให้มีความต้องการที่อยู่เพิ่มขึ้น
  • การบุกรุก

 

  • นโยบายเปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ค่อยต่อเนื่อง

 

 

 

  • ประชากรลดลง ทำให้ต้องปรับตัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • น้ำมัน
  • วิกฤติยุโรป
  • เพิ่มคู่แข่ง
  • ค่าแรงเพิ่มต้นทุน

 

  • ลงทุนสูง

 

 

 

  • การจัดซื้อจัดจ้าง
  • ข้อจำกัดในการทำโครงการผ่านหลายหน่วยงาน
  • พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ

 

  • พื้นที่ในเขตภัยพิบัติถูกระงับโครงการ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรวิจัยระหว่างประเทศ เช่น ทุนทางวัฒนธรรม หรือจำนวนบ้านที่คนไทยซื้อไปให้คนพม่าเช่า
  • ต้องถามว่าคนไทยได้อะไร
  • ความสุขในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญ

กลุ่ม 2

ปัจจัยภายใน

โอกาส

อุปสรรค

ประกาศคณะปฏิวัติ เกิดพ.ร.บ. การเคหะ

  • ทำให้เข้าไปในที่ดินตาบอดได้

การเมือง

  • ได้นโยบายมาโดยตรง

บุคลากร

  • มีสหวิชาชีพ

ระบบการบริหาร

  • ตรวจสอบง่าย

 

 

  • ยังไม่ได้ปฏิบัติ

 

 

  • ขาดวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

 

  • ขาดการพัฒนา

 

  • ช้า ไปต่อไม่ได้

ข้อเสนอแนะ

  • ควรมีการประเมินผลทุกระยะ
  • ควรใช้ระบบบริหารแบบเมตริก นำงานวางไว้แล้วมีหน่วยงานวิ่งมาหางาน

กลุ่ม 4

Stakeholders

1.รัฐบาล นโยบายส่งมอบมาที่การเคหะ

2.นักการเมือง

3.หน่วยราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.รัฐวิสาหกิจต่างๆ และหน่วยงานที่มีที่ดิน Land Bank

5.สถาบันการเงิน

6.ลูกค้า

7.ผู้รับเหมา

8.ชุมชนรอบๆ

9.องค์กรมหาชน

10.บริษัทออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง

สิ่งที่ทำได้ดี

  • การพัฒนาที่อยู่ให้ผู้มีรายได้น้อย
  • สร้างชุมชนให้มีคุณภาพ เช่น เมืองใหม่บางพลี
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในการเคหะ
  • คณะกรรมการที่อยู่อาศัย การเคหะริเริ่มและผลักดัน
  • ถ่ายทอดความรู้ให้อบต.

สิ่งที่ทำได้ไม่ดี

  • บ้านเอื้ออาทร
  • พัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนมีรายได้ปานกลาง

ข้อเสนอแนะ

  • ควรให้การเคหะเป็น Regulator ด้านที่อยู่อาศัย

กลุ่ม 3

Vision

  • จะเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยน่าอยู่อย่างยั่งยืนรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Mission

  • พัฒนาที่อยู่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและนโยบายรัฐ
  • ทำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
  • บริหารและพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับที่อยู่อาศัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เสนอแนะและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • พัฒนาและเผยแพร่วิชาความรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับอาเซียน
  • พัฒนาศักยภาพคนภายในให้มีความมั่นคง
  • ประสานและร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องพัฒนาที่อยู่อาศัย

Core Values

  • ใฝ่รู้ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน
  • องค์กรการเรียนรู้
  • นวัตกรรมในการทำงาน
  • เน้นคุณภาพ
  • ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
  • ทำงานอย่างมีความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องบริหารจัดการการเมือง
  • ต้องมีกลไกปกป้องจากการเคหะจากการเมือง
  • ต้องรักษาทุนทางจริยธรรมไว้
  • ต้องมี Shared Values เพื่อตัดผ่านไซโล
  • ควรนำสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังมาเรียนด้วย
  • ควรจะมองสื่อเป็น Stakeholder
  • ต้องมี Informal Network และบูรณาการเรื่องประหยัดพลังงาน
  • สุดยอด Core Values
  • ต้องเน้น demand-driven

 

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • วิสัยทัศน์สิ่งสำคัญ การสร้างที่อยู่อาศัยเป็นสุขและยั่งยืน ครอบคลุมเรื่องภัยธรรมชาติแล้ว
  • เรื่องสังคมผู้สูงอายุ ควรมีมาตรการสำหรับกลุ่มนี้
  • ตัวบุคลากรต้องเป็น Learning person และ sharing
  • ถ้าเน้นกลุ่มล่างและปานกลาง ต้องปรับแบรนด์ เพราะยังเกาะกลุ่มล่างอยู่

 

 

Panel Discussion  การบริหารกลยุทธ์องค์กร

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

 

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

3 กลยุทธ์ทำเงิน ในอสังหาริมทรัพย์

1.เป็นนักล่าของถูก (The Bargain Hunter)

  • เน้น “ซื้อมา ขายไป” หรือ “ฟลิบปิ้ง (Flipping)” นิยมทำกันมากในกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจ เนื่องจากใช้ระยะเวลาลงทุนไม่มาก ลงทุนแล้วไม่ยุ่งยากไม่ต้องเสียเวลาในการบริหารจัดการทรัพย์สินแต่อย่างใด
  • แนวคิดพื้นฐานคือพยายามล่าหาซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้ได้ในราคาต่ำกว่าตลาดมากๆ กฏกำปั้นทุบดิน คือจะต้องซื้อต่ำกว่าราคาตลาดให้ได้มากกว่า 20% ยิ่งได้ราคาต่ำกว่านี้เท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น เพราะ จะส่งผลดีในเรื่องสภาพคล่อง และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในการขายต่อให้เพิ่มขึ้นได้
  • ปัญหาสำคัญของกลยุทธ์นี้ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ราคาถูก มักหาได้ยากมาก
  • เป้าหมายของผู้เลือกใช้กลยุทธ์นี้ ส่วนใหญ่ได้แก่บ้านเก่าหรือบ้านมือสอง บ้านเก่าที่ซื้อมาจากผู้ร้อนเงิน หรือผู้มีความจำเป็นต้องรีบขาย รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่หลุดขายฝาก เป็นหลัก

2.นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ (The Value Enhancer)

  • แนวคิดตามกลยุทธ์นี้ ก็คือเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพพื้นๆ หรือทรุดโทรม มาทำการปรับปรุงตกแต่งให้เกิดการเพิ่มค่าขึ้นในสายตาคนทั่วไป จากนั้นก็จะทำการขายต่อทำกำไรต่อไป
  • อสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะกับการใช้กลยุทธ์นี้มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเก่าที่ถูกทิ้งร้าง หรืออาคารที่ถูกละเลยไม่นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรากฐานหรือโครงสร้างพื้นฐาน ยังคงดีอยู่
  • ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ใช้กลยุทธ์นี้ได้ดี มักได้แก่ สถาปนิก วิศวกร หรือผู้มีความรู้ในด้านสถาปัตถ์ หรือออกแบบภายใน รวมถึงคนในวงการก่อสร้าง ที่สามารถซ่อม ปรับปรุง รีโนเวทได้ดี ในต้นทุนที่ต่ำ

 

3.นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า (The Rental Property Investor)

  • เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับคนทั่วไป จุดเด่นสำคัญ ก็คือลงทุนแล้ว มีโอกาสทำเงินได้ถึง  2 ช่องทางด้วยกัน โดยช่องทางแรก เป็นผลตอบแทนจากค่าเช่าในระหว่างการถือครอง และช่องทางที่สอง คือมีโอกาสได้กำไรจากการเพิ่มค่า (Appreciation) เมื่อถือครองไปนานๆ ด้วย
  • อสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์นี้ ที่โดดเด่นสุด ก็คือ คอนโดฯ และอพาร์ตเม้นต์ เพราะปล่อยเช่าง่าย และให้ผลตอบแทนค่าเช่าได้สูงสุด ทั้งนี้ในทางการเงินแล้ว ถึงกับจัดให้ เป็นแหล่งรายได้ทางอ้อม(Passive Income) ชั้นดีอันดับต้นๆ ที่แนะนำให้ทุกคนจะต้องมีกัน เพื่อกรุยทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom)  ในอนาคต

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องกำหนดก่อนว่าเราเป็นใคร จะได้กำหนดกลยุทธ์ได้เหมาะสม

กรณีศึกษาของ สวทช. โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • ผมเข้าไปองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กร
  • สวทช.เป็นองค์กรภาครัฐที่เปลี่ยนองค์กรไปเป็นเอกชน และเป็นต้นแบบของการออกนอกระบบราชการ
  • ต้องถามตนเองว่า จำเป็นไหมที่ต้องปรับเปลี่ยนองค์กร
  • เด็กรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีไวแต่ไม่ค่อยอดทน
  • การเคหะมีคุณค่าสูงมาก ดูแลปัจจัยสี่ เมืองขยายขึ้น ความต้องการที่อยู่มากขึ้น จะตอบสนองอย่างไร
  • ต้องพัฒนาคน
  • ต้องตอบสนองนโยบายภาครัฐแต่ต้องมีจุดยืน
  • ต้องกำหนดตัวชี้วัดขององค์กร
  • การเคหะสามารถเปลี่ยนวิสัยทัศน์มาเป็นนักธุรกิจได้
  • 10 สุดยอดนักธุรกิจโลกมาจากอสังหาริมทรัพย์
  • สามารถนำที่ดินไปหมุนเวียนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
  • ต้องทำให้การเคหะเป็นองค์กรเรียนรู้ ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมเป็นความรู้ที่ได้เรียนรู้มา ถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่
  • ต้องเป็นองค์กรนวัตกรรม
  • ต้องมีการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับองค์กรที่มีศักยภาพ
  • ต้องรักษาคุณภาพ

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องวางตำแหน่งองค์กร และต้องไม่ลืมพัฒนาคน

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • การเคหะมีผู้บริหารจำนวนมากที่ได้รับการพัฒนา
  • ผมได้รู้จักผู้ว่าการเคหะหลายท่านตั้งแต่สมัยท่านชวนพิศ ทำให้ได้ทราบความเคลื่อนไหว คนมักมีความคิดว่า การเคหะทำที่อยู่สำหรับคนระดับล่าง
  • ควรนำความคิดคนอื่นมาปรับปรุงให้เหมาะกับกิจการของเรา
  • การเคหะมีวิสัยทัศน์อยู่แล้ว ก็ต้องทำให้ถูก จะได้ขยายตัวได้
  • วิสัยทัศน์จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา
  • ต้องดำเนินการตามภารกิจ
  • ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  • ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (ดูแลรายได้ประชาชาติ การเมือง รัฐบาล)
  • วิเคราะห์องค์กร
  • มีระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องเปรียบเทียบวัดกับคู่แข่ง ต้องเลือกระบบที่เป็นกลางในการวัด
  • ควบคุมและประเมินผลองค์กร

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตนเอง ระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบควบคุมและประเมินผลองค์กร

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • กุญแจคือ Competitive Advantage ต้องเอาจุดเด่นไปจับคู่กับโอกาส
  • จุดเด่นการเคหะคือ
  • ความเชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์
  • การมีรัฐสนับสนุน (เป็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อย)
  • ไม่ขาดบุคลากร
  • การเมืองแทรก (แปลงเป็นจุดเด่นได้) ก็ขอให้การเมืองช่วย เรื่องที่ตั้งทำเลต่างๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าเราทำงานยุคใหม่ นอกจากมีวิธีการเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ต้องคิดในเชิง Creative Thinking

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • การเคหะต้องตอบสนอง Emotional Value ของลูกค้าให้ได้
  • ต้องกำหนดให้ได้ใครคือลูกค้าในแต่ละกลุ่ม
  • คุณค่าที่สร้างขึ้นต้องเป็นคุณค่าแท้
  • เมื่อเปรียบเทียบกับอาเซียน การเคหะยังสู้ได้ เพราะมีความรู้ดี แต่ต้องสร้างแบรนด์เพิ่มขึ้น
  • สิงค์โปร์เป็นต้นแบบที่ควรเรียนรู้ และเป็นต้นแบบให้จีนสร้างคอนโดมีเนียมหรูสำหรับคนชั้นกลางได้
  • ต้องนำความคิดสร้างสรรค์เข้ามาแล้วนำนวัตกรรมดันออกไป

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • การเคหะมีแบรนด์อยู่แล้ว
  • การทำให้มีความก้าวหน้าขึ้น อาจจะหา Shareholder เพื่อหารายได้เข้า
  • บางจุดไม่ควรสร้างสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพราะค่าที่ดินแพงกว่านั้น แต่ก็ไม่ควรจะทำแพงเกินไป
  • ในราคาถูก ก็ต้องมีคุณภาพดีด้วย เช่น เดินทางสะดวก สะอาด สภาพแวดล้อมที่ดี
  • การเคหะฮ่องกงสร้างได้มาตรฐานดี มีรถสาธารณะ

ช่วงคำถามและแลกเปลี่ยนความเห็น

คนที่ 1

  • เห็นด้วยกับการ Positioning ตนเอง แต่มีหลายหน่วยงานมาเกี่ยวกับการเคหะมากจึงทำให้ Positioning ผิด ควรจะ Benchmark กับการเคหะประเทศอื่นๆเช่น อังกฤษ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ในการที่ทำใหญ่ได้ ที่ดินเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์ ในเรื่อง Branding เราทำที่อยู่หลายรูปแบบ มีชุมชนที่การเคหะเตรียมตัวไว้ทุกอย่าง แต่อาจจะไม่ได้มีการสื่อสารออกไป ต้อง Rebranding ว่า ชุมชนการเคหะไม่ใช่สลัม

 

 

 

คนที่ 2

  • กรณีเราสร้างบ้าน วัตถุดิบเป็นองค์ประกอบในการบริหารกลยุทธ์ด้วยใช่ไหม เรามีที่ดินกระจาย ไม่ติดกัน เราได้ที่ดินมาจากการเมือง จึงไม่มีศักยภาพในการทำโครงการ

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ในความเห็นส่วนตัว ที่ดินจากการเมืองบางส่วนก็เป็นจุดเด่นและไม่ใช่จุดเด่น สิทธิ์การเช่าทำประโยชน์ได้ด้วยเหมือนกัน
  • ต้องสร้างให้คนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งหมด ทำให้เจรจาง่าย
  • ควรเจรจาขอจากฝ่ายการเมือง ถ้าการเคหะทำสำเร็จ การเมืองก็ได้หน้า

ผู้แทนการเคหะ

  • ผมทำงานฟื้นฟูเมืองตรงดินแดง คนอยู่เขาต้องการอยู่ในที่อยู่ใหม่ในราคาที่เขาจ่ายได้ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ แต่มันมีปัญหาลึกๆเชิงนโยบาย
  • ผมได้ไปขอความร่วมมือจาก Stakeholder

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ต้องให้ทุกคน win-win
  • แต่ปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยมีคุณค่ามาก ควรให้ทุกฝ่ายได้หน้า

คนที่ 1 (อีกครั้ง)

  • การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยไม่เคยได้รับความสนใจจากรัฐบาล
  • มันยากที่จะจัดสรรผลประโยชน์ลงตัว
  • เราได้ร่วมมือกับ JICA ทำแผนแม่บทดินแดง ทำทุกอย่าง แต่แพ้การเมือง

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ควร Lobby นักการเมือง เพราะหน่วยราชการยอมนักการเมือง

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • ทางยุทธศาสตร์ เราต้องมี Value Change Analysis ต้องปรับเปลี่ยนมูลค่า land bank ที่เรามี
  • ที่ดินที่ทำประโยชน์ไม่ได้ ต้องกำจัดออกไป ยอมขาดทุน แล้วนำส่วนที่ได้มาหาวัตถุดิบตรงอื่นที่เราต้องการ
  • เวลาโยกย้ายผู้อาศัยเดิม ก็ต้องให้ประโยชน์ที่เขาพอใจ

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ สร้างนาโกยาเป็นเมืองอิเลคทรอนิกส์ สร้างซูกุบะ โดยมีการคมนาคมต้นทุนต่ำไปเชื่อม
  • ต้องพร้อมยกผลงานการเคหะให้เป็นผลงานของฝ่ายการเมืองเพื่อความก้าวหน้า
  • ต้องมองภาพรวม

คนที่ 1 (ครั้งที่ 3)

  • การเคหะกับประชาชนไม่เคยสามารถพบกันครึ่งทางได้เลย ต้องนำภาษีประชาชนมาใช้อุดหนุน นี่คือเรื่องที่หน่วยงานรัฐต้องคิด

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • บางทีตีค่าในมุมอื่นไม่ออก
  • ต้องหาจุดคุ้มทุนให้ได้ โดยให้คนกลางมาทำ

ขอแสดงความยินดีกับคุณอรรคชัย ยืนยงอนันต์ที่ได้เป็นประธานรุ่น 2 ครับ

25 มิย. 55

ได้แนวคิด มุมมอง ทักษะในการคิดวิเคราะห์ การทำ SWOT. จุดอ่อน จุดแข็ง ภายในภายนอก 

ได้วิธีคิด การกำหนด การได้มาของ Vision, Mission, Core Value และได้เรียนรู้จากากรถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมการฝึกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับ Vision Mision Core Value ของ กคช. ในอนาคต

จากการถ่ายทอดประสบการณืด้านบริหารกลยุทธ์องค์กรฯ ในมุมมองภายนอกของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน

ที่สะท้านภาพให้เห็นจุดเด่นจุด้อยของ กคช. เช่น การเมืองแทรกแซง บุคคลากรเชียวชาญเพียงพอ ภาพลักษณ์ไม่สะท้อนภาพความน่าอยู่อาศัย เป็นต้น ทำให้ กคช. ได้แนวทาง ในการทบทวน ปรับปรุงบทบาทหน้าที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กคช. ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป

                                                                                                         ธวัช บุญครองเกียรติ

              สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้ (18 มิ.ย.2555) เป็นวันแรกที่ผมได้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารของ การเคหะแห่งชาติ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) และวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างมากและการอบรมในลักษณะการเสวนาเป็นเรื่องที่ไม่ได้ดำเนินการมานานแล้ว สำหรับตัวผมเองเป็นผู้ที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือมากนักแต่เมื่อได้ฟังอาจารย์บรรยายก็รู้แล้วว่าต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการอ่านมากยิ่งขึ้นในอดีตที่ผ่านมากผู้บริหารระดับสูงของการเคหะฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนค่อนข้างน้อยเมื่อไรก็ตามที่มีปัญหาในการทำงานแล้วจะต้องใช้คนเพิ่มขึ้น ผู้บริหารก็จะบอกว่าคุยเรื่องใดก็คุยได้แต่ถ้าคุยเรื่องเพิ่มคนไม่ต้องมาคุย การพัฒนาคนจึงเป็นเพียงการจัดอบรมระยะสั้น ๆ เหมื่อนเป็นการนำความรู้มาใส่คนรับได้บ้างไม่ได้บ้างไม่มีการติดตามผมมีข้อคิดเป็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พบในการปฏิบัติงานก็คือ ผู้บริหารมักจะตัดบทไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกว่าเด็กเสนออะไรไปก็ผิดหมดนายถูกเสมอนอกจากนี้ยังมีผู้บริหารบางคนก็ติทุกเรื่องไม่ว่าจะเขียนอะไรไปก็จะติ 360 องศา เรียกว่าเจอภาวะผู้นำแบบนี้ทำให้หมดอารมณ์ในการทำงานและไม่อยากเข้าใกล้ แต่มีไม่มากหลอกนะครับ ในส่วนของการบริการการเปลี่ยนแปลงผมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมามาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงาน(พ.ศ.2520) ซึ่งความเป็นพี่เป็นเพื่อนมีมากแต่ยิ่งนานวันกลับน้อยลง พี่กลายเป็นเพื่อน (ชักไม่เกรงใจ) เพื่อนกลายเป็นคู่แข่งกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ดี นอกจากนี้ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงด้าน IT เดิมใช้เครื่องพิมพ์ดีด เมื่อเปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์บรรดาผู้สูงวัยก็พยายามเลี่ยงที่จะใช้ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีให้ใช้กันทุกคนก็ยังมีผู้ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เลยหลงเหลืออยู่อีกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงมุมมองเล็ก ๆ ที่ยังไม่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่มองเห็นได้ในปัจจุบันคือการปฏิบัติงานที่รวดเร็วขึ้นเช่น ผู้รับบริการ (ลูกค้า) ได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นที่เห็นได้ชัดเจนคือการชำระเงินค่าเช่าซื้อเดิมลูกค้าต้องรอชำระเงิน1 รายนานถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง (ถ้าชำระเงินในวันสุดท้าย)เพราะเป็นการออกใบเสร็จด้วยการเขียน แต่ปัจจุบันสามารถชำระเงินได้หลายช่องทางทั้งการชำระเงินผ่านธนาคารหรือ Counter serviceและการเปลี่ยนแปลงของการเคหะฯคงไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้และจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นต่อไปอีก วันนี้ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพียงสั้นๆ ก่อน ผมจะพยายามเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกถึงแม้จะเหลือเวลาทำงานอีกเพียงปีเศษก็ตาม

ขอบพระคุณมากครับ

นพพร แจ่มสว่าง

รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ภาวะผู้นำเชิงวัสัยทัศน์ (2) 25 มิ.ย.2555

วันนี้ผู้เข้าใจคำว่าผู้นำกับผู้บริหารได้มากยิ่งขึ้นท่านอาจารย์จีระ ได้กรุณาอธิบายว่าผู้นำจะต้องพยายามทิ้ง Silo ให้ได้ ผมได้พยายามหาความหมายของคำว่าผู้นำซึ่งมีผู้รู้หลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลาย แต่โดยสรุป ผู้นำ คือ บุคคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ผู้นำจึงเป็น Specialist มีความรู้ในทางลึกมาก ส่วนผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่จะต้องทำงานในเชิงกว้าง Generalist มีความเอื้ออาทรต่อลูกน้องสนใจปัญหาของคน ซึ่งผมได้หาความหมายของผู้บริหารซึ่งมีผู้สรุปความหมายไว้พอสรุปได้ว่าผู้บริหารคือผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการควบคุม เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร ความสามารถของผู้บริหาร สามารถวัดได้จากประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงานที่เกิดขึ้น ผู้ที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีจะต้องเข้าใจชั้นเชิง tactic และ กลยุทธ์ Strategy ได้เป็นอย่างดีจึงจะนำพาองค์กรไปได้ดี
สิ่งที่ได้รับในเรื่องผู้นำและผู้บริหารนี้ในอดีตผู้บริหารของ กคช.มักทำตัวเป็นผู้นำคือพยายามลงมือทำงานหรือขอรู้ในรายละเอียดเชิงลึกในเกือบทุกเรื่อง และมักไม่เห็นอกเห็นใจลูกน้อง การทำงานจึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันความเป็นนักบริหารเริ่มมีมากขึ้น คือ พยายามให้ลูกน้องมีอิสระในการทำงานมากขึ้น
การจัดทำกลุ่มโดยสรุปเห็นว่า การเคหะฯ จะได้ประโยชน์จากแนวความคิดของกลุ่มผมเห็นด้วยกับสิ่งที่ควรทำวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งโครงการเคหะชุมชนและโครงการบ้านเอื้ออาทรในจังหวัดสมุทรสาครมีแรงงานชาวพม่าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ การเคหะฯ นำอาคารไปให้เช่าเหมาซึ่งการเช่าลักษณะดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม เพราะแรงงานเหล่านั้นพักอาศัยอยู่รวมกับคนไทย และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารก็เป็นปัญหากับคนไทยเพราะฟังภาษาพม่าไม่ออก แต่ชาวพม่าฟังภาษาไทยได้ 
การจัดทำโครงการที่เป็น Eco village คือใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงานหรือใช้นวัตกรรมใหม่ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น Green community ก็เป็นเรื่องใหม่ที่ควรกระจายให้สื่อต่าง ๆ ช่วยเผยแพร่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ การเคหะฯ 
ประเด็นการแทรกแซงทางการเมืองที่ผ่านมาส่วนใหญ่สนับสนุนการเคหะฯ ให้มีงานทำเพราะในช่วงก่อนทำโครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น การเคหะฯ กำลังมีปัญหาในเรื่องไม่มีโครงการออกขาย โครงการบ้านเอื้ออาทรที่เกิดขึ้นช่วยให้การเคหะฯ ผ่านวิกฤตมาได้ แต่การขาดการต่อรองที่ดีจึงมีปัญหาตามมาหลายประการ
วิสัยทัศน์ของ กคช.ในอีก 10 ปีข้างหน้า การเคหะฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์การกำหนดวิสัยทัศน์ต้องให้ผู้ปฏิบัติงาน กคช.มีส่วนร่วมในการกำหนดมิใช่เกิดจากผู้บริหาร หรือจ้างผู้อื่นทำ ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เมื่อเข้าสู่ AEC ก็ต้องมีความพร้อมที่เปิดตัวรับกับสถานการณ์ได้ โดยสรุปวิสัยของ กคช.คงหนีไม่พ้น
AEC + การเตรียมการป้องกันภัยธรรมชาติ + การรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน

นอกจากนี้ Brand ของ กคช.คงต้องปรับเปลี่ยนจุดยืน positioning ของตัวเองใหม่ว่าจะยังเป็นองค์กรที่มีไว้เพื่อคนจนต่อไปหรือไม่ โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าการช่วยเหลือคนจนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่ทิ้งไม่ได้เพราะถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ สิ่งที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นคือการย้ายถิ่นฐานแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศไทยคนเหล่านั้นควรได้รับการดูแลอย่างมีศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์

โดยสรุปแล้วผมเห็นว่าประโยชน์ที่การเคหะฯ ได้รับนั้นเป็นเรื่องที่ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมมีมุมมองเห็นอนาคตของ การเคหะฯ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปให้ทันต่อเหตุการณ์ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารระดับสูงก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารรุ่นใหม่เหล่านี้ด้วย สำหรับข้อคิดเห็นในการอภิปรายนั้น การเคหะฯ ทำแล้วเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องโครงการดินแดงหากไม่มีความขัดแย้งของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มแล้วคงทำโครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว ส่วนของตัวผมเองที่ได้รับฟังการบรรยายและการอภิปรายก็ได้รับความรู้และความคิดเห็นจากมุมมองของบุคคลภายนอกมากขึ้นสามารถปรับเปลี่ยนแนวความคิดบางเรื่องได้

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 เป็นวันที่ 2 ของการอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงโดยภาคเช้าอ.จิระได้พูดถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (VISON) ซึ่งทำให้เข้าใจว่าวิสัยทัสน์ที่ดีนั้นจะต้องเป็นวิสัยทัสน์ที่ชัดเจนถึงทิศทางขององค์กรที่มุ่งไปในอนาคตและการที่วิสัยทัสน์จะเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรจะต้องเปิดโอกาศให้คนในองค์ได้มีส่วนในกระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ ในประเด็นการมีส่วนร่วมนั้นกคช.ยังขาดในส่วนนี้เนื่องจากวิสัยทัศน์จะถูกชี้นำโดยผู้บริหารระดับสูงและสุดท้ายจะถูกแก้ไขโดยคณะกรรมการกคช. พนักงานจึงจำได้เพียงว่าวิสัยทัสน์ กคช.กำหนดไว้อย่างไร

ภาคบ่ายเป็นการรับฟังมุมมองการบริหารจากภาคเอกชน ซึ่งทำให้ได้มุมมองใหม่ในเชิงบวกต่อฝ่ายการเมือง โดยปกติจากประสบการณ์เรามักจะมองว่าฝ่ายการเมืองเป็นอุปสรรคก่อการดำเนินงานของกคช.แต่เราต้องยอมรับความจริงว่าเราหนีการเมืองไม่ได้ เราจึงควรมีกลยุทธ์ที่จะนำการเมืองมาให้สนับสนุนการดำเนินงานของกคช.เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เรา.อยากทำได้บรรลุ 

25 มิถุนายน 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :- 1. การระดมความคิดจากผู้มีประสบการณ์ต่าง ๆ จะพบประเด็นดี ๆ มากมาย โดย Vision ไม่เคยประสบความสำเร็จจากความคิดของผู้นำผู้เดียว 2. การจับประเด็นจากการเปลี่ยนแปลง External – Internal Environment มาเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการวางแผนการรับมือใน 10 ปีข้างหน้า หรือกว่านั้น 3. ให้มีการวิเคราะห์วางแผนความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยประมวลจากปัจจัย ณ วันนี้ 4. ให้มีการมองปัญหาเชิงกว้าง ไม่ใช่ไซโล เพื่อผลักดันให้ดำเนินการต่อไปได้ 5. ให้มีการพิจารณาทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรม ปัจจัยความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาปรับใช้เพื่อวางแผนรับมือ 6. ให้มีการพิจารณาทุนแห่งความยั่งยืน อยู่ได้นาน อยู่ได้ตลอดไป ให้มีการต่อรองเพื่อความยั่งยืน มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้รอดพ้นจากอันตรายด้วยวิธี Defense Mechanism รองรับการเปลี่ยนแปลง 7. ให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และอย่างถูกต้อง เป็น Learning Organization และมีความ Dynamic 8. ให้มี Net Work มีแนวร่วมกับทุกหน่วยงานที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกัน เช่น สำนักงบประมาณ, กรมบัญชีกลาง, กทม., กรมธนารักษ์, กรมเจ้าท่า ฯลฯ

                                                               -------------

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) อ. จิระ หงส์ลดารมภ์ วันที่ 25/06/2555 เวลา 0830 - 1300 น. หนังสือแนะนำจาก Harvard Business Review กล่าวถึงผู้นำที่ดีคืออะไร

          ผู้นำ เป็นผู้ มองภาพเป็นองค์รวม ต้องสลัด กล่องไซโลของแต่ละฝ่ายออก มองอนาคตวิสัยทัศน์ต้องชัดเจน ยุทธศาสตร์จะไปทิศทางไหน การที่วิสัยทัศน์สำเร็จได้ต้องมีแก่นนิยมหล่อหลอมองค์กรเข้าด้วยกัน กำหนดทิศทางแล้วต้องมีคุณสมบัติความเป็นเลิศ 

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของไทย คุณเกษม จาติกวนิช แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การทำ work shop แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่ม 1 เสนอ ปัจจัยภายนอกที่กระต่อการดำเนินงานของ กคช. กลุ่ม 2 เสนอ ปัจจัยภายในที่กระต่อการดำเนินงานของ กคช. กลุ่ม 3 เสนอ Stakeholders ของ กคช. กลุ่ม 4 เสนอ วิสัยทัศน์ของ กคช. ใน 10 ปี ข้างหน้า ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม 1.แนวความคิดของผู้นำ 2.การมองอนาคตของการเคหะแห่งชาติใน 10 ปี ข้างหน้า 3.ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้กำหนดอนาคตของการเคหะแห่งชาติ ใน 10 ปีข้างหน้า

                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                                          [email protected] 

สรุปวิชาการบริหารกลยุทธ์องค์กร อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี อ.สมชาย สาโรวาท อ.กิตติ ชยางคกุล วันที่ 25/06/2555 เวลา 1345 – 1700 น. อ.อนุชา เสนอแนวคิด 3 กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.เป็นนักล่าของถูก เน้น “ซื้อมา ขายไปโดยเร็ว” หรือ “ฟลิบปิ้ง (Flipping)” 2.นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ คือเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพทรุดโทรม มาทำการปรับปรุงตกแต่งให้เกิดการเพิ่มค่าขึ้น จากนั้นก็จะขายต่อทำกำไร 3.นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า คือลงทุนแล้ว ได้ประโยชน์ 2 ทาง 1 เป็นผลตอบแทนจากค่าเช่าในระหว่างการถือครอง 2 มีโอกาสได้กำไรจากการเพิ่มค่า เมื่อถือครองไปนานๆ อ.สมชาย สาโรวาท เสนอแนวคิด กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิสัยทัศน์จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา ต้องดำเนินการตามภารกิจ ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิเคราะห์องค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และควบคุมและประเมินผลองค์กร อาจารย์กิตติ ชยางคกุล เสนอแนวคิด กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม /ตนเอง/ ระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและควบคุมและประเมินผลองค์กร ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ต้องกำหนดให้ได้ใครคือลูกค้า การเคหะต้องตอบสนอง Emotional Value ของลูกค้าให้ได้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม กรณีศึกษาโครงการฟื้นฟูเมืองตรงดินแดง ต้องให้ทุกคน win-win การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยไม่เคยได้รับความสนใจจากรัฐบาล มันเป็นการยากที่จะจัดสรรผลประโยชน์ลงตัว JICA ทำแผนแม่บทดินแดง ทำทุกอย่าง แต่แพ้การเมือง ควร Lobby นักการเมือง เพราะหน่วยราชการยอมนักการเมือง

                                                                                                        นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ 18 มิย.2555 อาจารย์นำเสนอให้ผู้เข้าอบรมทุกคนตระหนักถึงการคิดสร้างสรรค์ นำเสนอผ่านการเรียนรู้จากตำราและการแลกเปลี่ยน โดยผ่านมุมมอง บทเรียนจากองค์กร บุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจากการทำ Workshop สรุปได้ดังนี้ - การแบ่งรุ่นของผู้ว่าการ จะเห็นภาระงานของ กคช. ในอดีตและสรุปบทเรียนเพื่อวางจุดยืนขององค์กรในอนาคต - โอกาสและอุปสรรคขององค์กรเพื่อกำหนดบทบาทในอนาคตได้อย่างเหมาะสม - ลักษณะของผู้นำรุ่นใหม่ที่ดีของ กคช. คุณสมบัติที่ควรจะเป็น - การสร้างผู้นำในอนาคต

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา 18 มิย.2555 อาจารย์นำเสนอได้ชัดเจนและสื่อสารได้ง่ายผ่านทฤษฏีขวดโค้กและจักรยาน ซึ่งสาระหลักสรุปได้ดังนี้ 1.ขวดโค้ก เป็นเหมือนปัญหาอุปสรรคและโอกาสที่เกิดขึ้นต่อองค์กร ซึ่งองค์การต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านการเรียนรู้ เหตุผลการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงและวิธีบริหารการเปลี่ยนแปลง 2.การปั่นจักรยาน มีผู้นำ ผู้ตาม ซึ่งเปรียบเสมือนองค์กรที่ต้องทบทวนระบบและเครื่องมือที่จะรับการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์กิตติ เพ็ชรสันทัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 18 มิย.2555 เสนอกรณีตัวอย่างซึ่งอาจารย์จิระได้ย้ำถึงการปรับปรุงองค์กรด้วยกระแส CG/CSR การหาพลังงานเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าจำเป็นที่คนการไฟฟ้าต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อการทำงาน ตัวอย่างเช่น วิศวกรจำเป็นต้องเรียนรู้งานมวลชน งานชุมชน เพื่อทำความเข้าใจและบริหารการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำงานเฉพาะส่วนเป็น SILO ซึ่งจะสามารถทำงานแบบเชื่อมโยงองค์รวมขององค์กรเพื่อประโยชน์สูงสุด

18 มิ.ย. 2555

ภาวะผู้นำ

            ผู้นำที่ดี คือ ผู้ที่คนทั่วไปเชื่อถือ ศรัทธา ว่าจะทำประโยชน์ให้แก่คนหมู่มากได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้นำคนนั้น ซึ่งการที่คนๆ หนึ่งจะไปถึงจุดที่เรียกว่าผู้นำได้นั้น เขาจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษกว่าคนทั่วๆ ไป เช่น จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม มีพรหมวิหาร  4 มีสัมมาทิฐิ มีความใฝ่รู้ มีความกล้าหาญ เป็นผู้ที่เวลามองสิ่งใดจะมองเป็นภาพใหญ่ไม่มองแบบแยกเป็นส่วนๆ

            โดยปกติความเป็นผู้นำมักจะได้มาจากพรสวรรค์ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ในปัจจุบันผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนได้ แต่บางองค์กรผู้นำไม่มีพรสวรรค์ ไม่ใส่ใจเรียนรู้ ไม่พัฒนาตนเอง ได้ตำแหน่งนายใหญ่ขององค์กรมาโดยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ตอบแทนบางประการ จึงไม่ได้ศรัทธาจากผู้ร่วมงาน องค์กรจึงไม่เจริญรุ่งเรือง ลักษณะเช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้นำ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

            การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรมเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเสมอ แม้ในหลักพระพุทธศาสนาก็ระบุว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราไม่ชอบไม่อยากแล้วเราจะเป็นทุกข์ ธรรมะสอนให้เราคิดพิจารณาว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์มากหรือทำอย่างไรที่จะไม่เป็นทุกข์เลย (อรหันต์) เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในทางธุรกิจก็เช่นกัน ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงในทางลบนั้นจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกหากเรายอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นนั้นโดยไม่แก้ไข ความเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมนำมาซึ่งความเสียหายขององค์กรตั้งแต่เล็กน้อยหรือจนถึงเลิกกิจการได้  ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีวิธีการที่จะจัดการกับความเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องมีการปรับ vision  mission strategies มีการนำเทคโนโลยี มีการปรับการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดค่านิยม มีการสร้าง brand หรือดึง brand ที่เคยมีอยู่กลับมา และที่สำคัญที่สุดคือ พัฒนาบุคลากรทั้งองค์กรตั้งแต่ผู้นำลงมาจนถึงผู้ร่วมงานในระดับเล็กสุดให้สามารถทำงานได้อย่างมีผลิตภาพ (productivity) โดยมีความสุขในขณะทำงาน 

25 มิ.ย. 2555

         Vision ที่ดีต้องให้คนทั้งองค์กรร่วมกันกำหนด และต้อง realistic นำไปปฏิบัติได้ vision ของ กคช. “การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน”   

         ยังมีการพูดถึง ยังมีความสงสัยของพนักงานในองค์กรที่ต่ำกว่าระดับ top team ลงมาว่าvision ของ กคช.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองนั้น กคช.ทำอะไร อย่างไร ดูเหมือนไม่สามารถจับต้องได้หรือฟังดูไม่ชัดเจนตามที่กล่าวอ้างถ้าจะพูดถึงในการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็น่าจะแยกประเภทออกไปว่าประเภทผู้มีรายได้น้อยให้ชัดเจนเลยมั้ยเพราะจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ กคช.มีส่วนในการจัดหาให้ประชาชนนั้นส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อคนยากจน ส่วนการพัฒนาเมืองใน vision หมายถึงอะไร หมายถึงการทำโครงการเมืองใหม่บางพลีหรือชุมชนขนาดใหญ่ที่โครงการร่มเกล้าในอดีตที่ผ่านมา หรือหมายถึงการพยายามจะ renovate โครงการดินแดง ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์กับท้งประเทศแล้วจำนวนหน่วยที่ กคช.ทำแทบไม่มีนัยสำคัญเท่าใด

            การกำหนด vision จึงควรจะพิจารณาถึงศักยภาพของคนในองค์กรด้วยว่าจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำงานให้ไปถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่และปัจจัยอื่นๆ เช่น กฎหมาย หรือหน่วยงานที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของ กคช.ตลอดจนถึงความพึงพอใจของลูกค้า

            ซึ่งเมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แค่เพียงเรื่องการก่อสร้างให้ลูกค้าได้รับสินค้าตามที่ประกาศไว้ กคช.ยังไม่เคยดำเนินโครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลอดอายุของ กคช.39 ปี ไม่มีบุคลากรของ กคช.ทำงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างด้วยตนเองจนถึงขั้นที่จะนำมาใช้ในการจัดทำโครงการแม้แต่โครงการเดียว  กคช.ยังไม่มีบุคลากรที่มีความเป็นเลิศในด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม การที่เป็นอย่างนี้ กคช.ยังไม่ได้วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเหตุใดแล้วทำการแก้ไขปรับปรุง

         เมื่อพิจารณาในเบื้องต้นเท่านี้จึงยังไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่ชัดเจนกับ vision ที่ถูกกำหนดขึ้นซึ่งดูน่าภูมิใจ ท้าทายแต่ไม่ realistic จึงเห็นว่า กคช.น่าจะร่วมกันกำหนด vision ขึ้นใหม่เป็นระยะสั้นๆ เป็นเรื่องที่ กคช.ทำได้ดีหรือมีปัจจัยเกี่ยวข้องที่ กคช.สามารถควบคุมได้ คนในองค์กรเข้าใจและพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจทำหน้าที่ให้บรรลุ vision นั้นได้

การบริหารกลยุทธองค์กร

            การวาง position องค์กรถูกหยิบยกว่าเป็นเรื่องสำคัญเสมอมา กคช.เป็นผู้เลือกที่จะ positioning ตัวเองหรือเปล่า ตั้งแต่ปี 2546 เป้นต้นมา กคช.ทำงานหน้าเดียวคือโครงการบ้านเอื้ออาทรขายคนจนในราคา 390,000 บาท (มีรัฐบาลอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค 80,000 บาทต่อหน่วย)                       

 ปัจจุบันเพิ่งเริ่มเสนอโครงการใหม่ๆ ให้รัฐบาลพิจารณา  ไม่ได้ตำหนิติเตียนใครเพียงแต่ต้องการแสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริงบางทีทฤษฎีต่างๆ ก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ห้เกิดประโยชน์ได้

 

18 มิถุนายน 2555 ทำให้ทราบความหมายของลักษณะผู้นำกว้างขวางขึ้น จากความคิดเห็นของตัวเอง และได้นำความรู้ทีได้รับจากอาจารย์มาพิจารณาเทียบกับตัวเองว่า ตัวเรามีลักษณะใดบ้างที่จะมาเติมเต็มความเป็นผู้นำในตัวเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่ การประยุกต์เพื่อนำไปใช้กับการเคหะแห่งชาติ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่หน่วยงานจะต้องมีผู้นำทีมีความสามารถ รอบรู้ แก้ปัญหาต่างๆได้ เพราะตัวจักรสำคัญของการทำงาน คือ ผู้นำที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจการต่างๆเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะของความเป็นผู้นำกคช. เป็นไปในทางที่ดี แต่ปัจจุบันหน่วยงาน กคช.ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองจนทำให้ผู้นำไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นคุณสมบัติของผู้นำที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดให้พวกเราได้รับฟัง สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพ ถ้า กคช. มีความเป็นไทอย่างเต็มตัว

             ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  (2) ศ.ดร.จีระหงส์  ลดารมถ์
25  มิถุนายน  2555  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำ  Work  Shop  เพื่อร่วมกันคิดและเปลี่ยน  โดยเริ่มจากวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก  จุดอ่อนจุดแข็งของการเคหะฯ  ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็ง  และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียกับการเคหะฯ  และเสนอจุดแข็งของตัวเอง  เช่น  อะไรที่ กคช.ทำได้ดีที่สุดเพราะอะไร  อะไรที่ทำไม่ดีแต่ยังต้องทำต่อไป  เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และ  Core  Value  ของ  กคช.ในอนาคต

             ความเห็น   การวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น  กคช.เองได้ดำเนินการมาตลอด  แต่ไม่ได้ถือปฏิบัติจริงจัง  ซึ่งควรจะเป็นวาระของการเคหะฯ  ที่ต้องทบทวนทำความเข้าใจกับพนักงานทั้งองค์กรเพื่อมองไปในทิศทางเดียวกัน  และเป็นจุดยืนของการเคหะฯที่จะดำเนินการจากส่วนที่การเคหะฯกำหนดได้เองในแต่ละเรื่อง  ใสส่วนที่ไม่สามารถกำหนดได้เอง  เช่น  จากภายนอก  

การเมือง ก็ต้องกำหนดจุดยืนที่เหมาะสม องค์กรต้องไม่เสียหาย

    การบริหารกลยุทธ์องค์กร  อ.อนุชา,  อ.เฉลิมพล,  อ.สมชาย

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรม

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555

 1ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

  • ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่า ผู้นำรุ่นใหม่ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
  • การทำ workshop ได้กรอบแนวคิด และวิธีคิด รวมถึงมุมมองในเบื้องต้นของ “ผู้นำรุ่นใหม่” ในอนาคตของ กคช. ว่า ควรมีคุณสมบัติหลัก ๆ อะไรบ้าง  และจะมีปัจจัย +/-  หรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง ที่สกัดกั้นหรือสนับสนุน “ผู้นำรุ่นใหม่” ซึ่งหน่วยงาน HR ควรที่จะสนใจและนำไปเป็น “เชื้อ” ไว้ก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนด้าน HRD ในการพัฒนาผู้บริหารและพนักงานที่เป็น talent ให้เป็น “ผู้นำรุ่นใหม่”
  • ผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องภาคภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้นว่า  เกิดจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของพนักงานทุกคน ซึ่งเห็นว่าในองค์กรควรจะกระทำบ่อย ๆ  เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานฮึกเหิมที่จะทำงานให้องค์กรอย่างเต็มความสามารถ  และควรจะเป็นบทบาทของผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่ต้องแสดงให้เห็นเด่นชัด  อย่าแอบ ๆ ชมกันสองสามคน  เพราะต้องการ promote
  • ผู้นำที่ดีควรเรียนรู้จากความล้มเหลวหรือความผิดพลาดในอดีต ที่เรียกว่า  “ผิดเป็นครู”  และจะต้องไม่ให้เกิดซ้ำอีก พึงระวัง  เพราะสถานการณ์ปัจจุบันวงจร  “ผิด/ล้มเหลวซ้ำซาก” อาจหวนคืนกลับมาเกิดซ้ำอีก  เพราะ กคช. ต้องทำงานตามนโยบายรัฐ

 2.   การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • เอกสารอบรมมีเนื้อหาครอบคลุมดี และสามารถใช้เป็นองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ตลอดเวลา  ไม่ล้าสมัย
  • Case study  ของ กฟผ.  ทำให้เห็นความมุ่งมั่น  ตั้งใจ  และทุ่มเทในการทำงานของ “ผู้นำ”  ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง  และบางเรื่องบางประเด็นสามารถนำมาปรับใช้กับ กคช. ได้  โดยเฉพาะแนวคิดและการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากวิศวกรเป็นนักพัฒนาชุมชน  ซึ่งทำได้สำเร็จ  เพราะภารกิจหลักของ กคช. ประการหนึ่งคือ  การบริหารและพัฒนาชุมชน ซึ่งหากพนักงานสายวิชาชีพ เช่น วิศวกร  สถาปนิก หรืออื่น ๆ หันมาเป็นนักพัฒนาชุมชน  เชื่อว่าจะทำได้ดีมาก
  • บทบาทหน้าที่หลักของผู้บริหารคือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง  ต้องรู้เท่าทันโลก  ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วและทันกาล  ซึ่งการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีภาวะผู้นำในการนำองค์กร  และต้องปรับ mindset  ของ  management  team
  • ค่านิยมขององค์กรในปัจจุบันอาจต้องทบทวนและสร้างค่านิยมใหม่ให้สอดรับกับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก  ค่านิยมจึงควรทันสมัย  สั้น  กระชับ  จดจำและเข้าใจง่าย  และต้องมีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน  เพื่อให้คนในองค์กรทุ่มเมทำงานอย่างผาสุกเพื่อองค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

 

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรม

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555

1. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

  • รู้ที่มาของการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ (Vision & Mission)

       -          ต้องรู้เขา  รู้เรา

       -          ต้องรู้ suppliers   customers   stakeholders

  • ได้ฝึกคิด ระดมสมอง และ แบ่งปันความคิดกันภายในกลุ่ม  แต่ให้เวลากลุ่มน้อยเกินไป
  • กคช. ควรต้องปรับวิสัยทัศน์ใหม่ให้มองไปอีก 10 ปีข้างหน้า  ที่เน้นความเป็นสากลมากขึ้น  และต้องครอบคลุมถึง AEC ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ด้วย
  • เรามักจะเข้าใจว่า วิสัยทัศน์ตั้งแล้วอย่าไปปรับบ่อยนัก  แต่ James Collins บอกว่า สิ่งที่ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน  ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา  นั่นแสดงว่า วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้จะกี่ปีก็ตาม  ต้องมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เป็นผู้นำ........... เป็นเลิศ.............เป็นต้น  และต้องมี action มารองรับอย่างเป็นรูปธรรม  ประการสำคัญคือ ต้องแบ่งปัน (share) วิสัยทัศน์ให้กับพนักงานทุกระดับทั่วทั้งองค์กร
  • การกำหนดวิสัยทัศน์ 10 ปี ข้างหน้า ต้องมองอย่างรอบด้าน อาจต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำ จะทำให้เป้าหมายและทิศทางขององค์กรไม่หลงทาง และบรรลุความสำเร็จได้

2. การบริหารกลยุทธ์องค์กร

  • ต้องรู้ตัวเองอย่างชัดเจนก่อน (positioning)  ว่าทำอะไรอยู่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ    กลยุทธ์องค์กรยุคใหม่หากจะปรับเปลี่ยนองค์กร ต้องเข้าใจ culture องค์กรก่อน และปรับเปลี่ยนวิธีคิด --->  พัฒนาคนให้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้  และการทำงานต้อง

        ปรับปรุง    --->     พัฒนา        --->        innovation

  • หลักเกณฑ์ในการบริหารกลยุทธ์องค์กรบางครั้งต้องใช้ model  การเรียนลัดบ้าง  หมายถึง การลอกความคิดผู้อื่น/หน่วยงานอื่นที่เป็น best practice  มาปรับปรุงและใช้กลยุทธ์ต่อยอด  ซึ่งบางเรื่อง กคช.ควรทำ  โดยเฉพาะถ้าทำเองตั้งแต่ต้นต้องใช้ resource สูง
  • การบริหารกลยุทธ์ท่ามกลางความไม่แน่นอน เช่น อุทกภัย        กคช.จะบริหารกลยุทธ์อย่างไร ต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
  • ระบบประเมินผล  ควรมีการวัด ติดตาม และประเมินผล ทั้งในระหว่างดำเนินการ และแล้วเสร็จ จึงควรกำหนดเป้าหมายเป็น milestone ให้ชัดเจน และนอกจากเทียบกับเป้าหมายของ กคช.เองแล้ว  ควรเทียบเคียงกับคู่เทียบ (benchmark) และคู่แข่งด้วย  ซึ่ง กคช.ยังไม่เคยทำ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาไปสู่สากลได้
  • ในมุมมองของวิทยากรถึงปัจจัยที่ทำให้ กคช. ทำงานสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ซึ่งเห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญอย่ามองข้าม ได้แก่

ปัจจัยที่ทำให้ทำงานสำเร็จ

1)    ต้อง positioning  ตัวเองให้ชัดเจน

2)    ต้องปรับมุมมองและวิธีคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องยุ่งหรืออุปสรรค ซึ่งจะทำให้ทำงานแบบตั้งรับอย่างเดียว ควรมองให้เห็นโอกาสจากการเมือง  และหาวิธีใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

ปัจจัยที่ทำให้ทำงานไม่สำเร็จ

1)     การทำงานโดยขาดสำนึกความเป็นเจ้าของ  มักทำงานตามหน้าที่

2)     มองเพียงด้านเดียวว่าการเมืองเป็นอุปสรรค จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเมือง

3)     กคช. มีผู้บริหารและพนักงานที่เก่งบริหารและเชี่ยวชาญงาน แต่ยังขาดความเป็นผู้นำ

  • case study สวทช. ซึ่งมีความกล้าหาญที่ปรับเปลี่ยนองค์กรจากรัฐเป็นเอกชน  ออกนอกระบบราชการ  และสามารถอยู่ยั้งยืนยงอย่างมีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน  เป็นความท้าทายที่น่าสนใจมาก  แต่การเสวนายังไม่เห็นภาพชัดเจนว่า ทำอย่างไร ใช้กระบวนการและวิธีการใด  ปัจจัยเกื้อหนุนและขัดขวางมีอะไรบ้าง และใช้เวลานานเท่าไรจึงสำเร็จ อาจเป็นเพราะเวลาจำกัด หากมีโอกาสในการอบรมวันต่อ ๆ ไป  น่าจะ clear cut เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
                  การบริหารกลยุทธ์องค์กร อ.อนุชา,  อ.เฉลิมพล,  อ.สมชาย วันที่  25  มิ.ย. 2555
                  โดยสรุป อ.อนุชา นำเสนอการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 3 กลยุทธ์ในการทำเงิน  ซึ่งไม่ตรงประเด็นกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่การเคหะฯดำเนินการอยู่ และ อ.อนุชา ได้นำเสนอการเชื่อมโยงด้านการเงินให้สู่  กคช. ดึงจุดเด่นมาใช้ประโยชน์ให้ได้และที่สำคัญที่สุด  กคช. ต้องวางตำแหน่ง Position ตัวเองให้ชัดเจนในอนาคต

       อ.เฉลิมพล นำเสนอ กคช. ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง  โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างต่างๆและเน้นเหมือน  อ.อนุชา  คือ การวางบทบาทตัวเองให้ชัดเจน อ.สมชาย นำเสนอกลยุทธ์ด้วยการต่อยอดสามารถลอกแบบ Copy  วิธีคิดมา  แล้วปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง

                  ความเห็น   สาระสำคัญอยู่ที่  กคช.  ต้องทบทวนบทบาทตัวเองให้ชัดเจน  เพื่อ กำหนอเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายต่างๆในอนาคต

การประเมินผล

การประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย

1) ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า

    ร้อยละ 80 ของระยะเวลารวมของหลักสูตร

2)  ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีคะแนนสะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากกิจกรรม

     และงานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment) ในระหว่างการอบรม            

     โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               

รายการที่ประเมิน

คะแนน (%)

กำหนดส่งรุ่นที่ 1

กำหนดส่งรุ่นที่ 2

(1) การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน Blog                      

     ประกอบด้วย

     (1.1) การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวัน ทุกวัน (8 วัน)

     (1.2) การบ้านเพิ่มเติมจากอาจารย์จีระ

            (อ่านหนังสือต่อไปนี้แล้ววิจารณ์ขึ้น Blog)

-          หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

-          หนังสือ 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

-          หนังสือทำดีที่พ่อทำ

 

20

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 26 ก.ค. 55

(2) บทความทางวิชาการ (5 หน้า)                                              

    เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

40

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 31 ก.ค. 55

(3) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: วิเคราะห์กรณีศึกษา (ในห้องอบรม)        

(4) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: ประเด็นท้าทายของการเคหะ 

     ** รวมเป็นงาน  1 ชิ้น (รายกลุ่ม) คือ การจัดทำรายงาน(ไม่เกิน 20 หน้า) และนำเสนอผู้บริหารรวบยอดประเด็นท้าทายและกรณีศึกษาในหัวข้อที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะเป็นผู้กำหนด หรือ อาจเปลี่ยนหัวข้อตามความเหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมวิทยากร

     ** หัวข้อของการศึกษา (เอกสารแนบ 1) – กรุณาลงชื่อเพื่อเลือกหัวข้อการศึกษาที่คุณภัทรพร (น้องยานี)

40

 

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 6 ส.ค. 55

 

หัวข้อสำหรับการศึกษา (สำหรับงานกลุ่มเพื่อเตรียมนำเสนอสำหรับผู้บริหาร)

รุ่นที่ 1 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.                

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

รุ่นที่ 2 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.  

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

 

หัวข้อที่ 1       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาคน” ของ SCG – EGAT

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 2       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนานวัตกรรม” ของ Apple - SCG

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 3       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนากิจการการเคหะแห่งชาติ” ของ ประเทศสิงคโปร์และ                                      ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 4       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน” ของสิงคโปร์และ                                       ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 5       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการสร้างบ้านน่าอยู่” ของ

-                   บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

-                   บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ลุมพินี)

-                   หรืออื่น ๆ

เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 6       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของการพัฒนาที่                                       ยั่งยืน และเสนอแนะยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเคหะแห่งชาติ

 

หรือ              หัวข้อที่ท่านสนใจอื่น ๆ โปรดเสนอต่อทีมวิทยากรภายใน วันศุกร์ที่ 29 มิ.ย.55 (สำหรับกลุ่ม 1)  และ ภายใน วันจันทร์ที่ 9 ก.ค. 55 (สำหรับกลุ่ม 2 )   

27 มิถุนายน 2555

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ (ด้านการตลาด /การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต)

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

       ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

       ผู้อำนวยการ

       ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์

       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

       ดำเนินการอภิปรายโดย

      คุณสุภวัส วรมาลี

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • หลังฟองสบู่แตก ผมได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจ
  • วัฒนธรรมองค์กรมี Spirit เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ
  • ต้องจับจุดคานงัดให้ได้จะได้เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้บ้าง
  • คนเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร
  • เวลาส่งไม้ต่อให้ผู้สืบทอด ต้องดูว่าวัฒนธรรมองค์กรใดที่ต้องเปลี่ยน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ผมจะมองความท้าทายจากมุมมองคนนอก
  • จากประสบการณ์ไปทำงานกับรัฐวิสาหกิจ ทำให้ทราบวัฒนธรรมองค์กรว่า คนของรัฐวิสาหกิจมีลูกหลานอยู่ในรัฐวิสาหกิจเดียวกันด้วย แล้วยังต้องมารับภาระหนี้อีก
  • พันธกิจการเคหะตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้วคือสร้างที่อยู่ให้ผู้มีรายได้น้อย
  • ตอนหลัง มีน้ำท่วม คนย้ายไปอยู่ที่อื่น
  • ตอนหลังมีที่อยู่จากเอกชนตามแนวรถไฟฟ้ามาเป็นคู่แข่ง
  • ต้องทำให้ประชาชนเกิดความอยาก เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
  • ต้องมีการวิเคราะห์ทางการตลาด
  • การเคหะต้องเข้าใจช่องว่างทางการตลาด จะได้สร้างผลิตภัณฑ์การเคหะขึ้นมาแล้วตอบสนองช่องว่างการตลาดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเคหะ
  • ตอนนี้ พฤกษาเข้ามาแข่งในด้านที่อยู่ผู้มีรายได้น้อยราคาต่ำกว่า 1.2 ล้านบาท และได้ BOI ด้วย เพราะมีการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแล้วว่า มีการเคหะมีคู่แข่ง
  • ผลิตภัณฑ์ที่การเคหะ (NHA) เสนอให้แก่ลูกค้า Boom หรือไม่ เวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนไป คนไทยอาจรวยขึ้น เราอาจไม่ได้ตอบโจทย์นั้น
  • เราเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้

4C จะเปลี่ยนองค์กร

  • Customer/Consumer มีการเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนตามเขา เขาจะได้ซื้อเรา
  • Competitor คู่แข่งเปลี่ยนไป ถ้าเราไม่เปลี่ยน เขาก็พังเรา เขาเปลี่ยนตามลูกค้า
  • Competitive Environment การรับรู้ของคนจะเปลี่ยน
  • C ที่ 5 ผู้นำในองค์กรคิดให้เปลี่ยน บริษัทนั้นต้องเป็นผู้บุกเบิก บริษัทนั้นอาจมีการเปลี่ยน Generation

พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อบ้าน สนใจ

1.ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ จะมีการ Infrastructure คมนาคมไปถึงในอนาคต

2.แหล่งความเจริญ เป็นแหล่งที่มี Infrastructure อยู่แล้ว

3.ความสะดวกในการคมนาคมและเดินทาง

4.คุณภาพชีวิตและสังคม บางคนซื้อบ้านเกินตัวแต่ซื้อสิ่งที่แพงกว่า ผ่อนนานๆ แต่ซื้อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีกว่า

5.ภาพลักษณ์ทางสังคม เปลี่ยนไป คนไปพักที่ชุมชนเกิดขึ้น คนก็คิดถึงสโมสร ส่วนกลาง Facility Fitness สระว่ายน้ำ ควรมีสิ่งที่ทดแทนสิ่งที่ขาดหายเพื่อให้คนใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในชุมชน

6.ต้นทุนการลงทุน ปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคใจกล้า ขอให้ตั้งราคาผ่อนรายเดือนมา แล้วเขาจะซื้อ เขาคิดว่า ในอนาคตเขาจะขายต่อได้แพงขึ้น

7.ต้นทุนครองชีพ

8.มูลค่าสินทรัพย์

  • การเคหะมีศักยภาพในการหาการขนส่งเข้าไป และเข้าไปสร้างความเจริญในพื้นที่นั้น หลายแห่งทำเลดี ขายหมด ลูกค้าปัจจุบันคือ คนระดับกลางซื้อเพื่อปล่อยเช่า การเคหะได้เปรียบมีการดูแลติดตามชุมชนและลูกค้า
  • ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเคหะมีทั้งสร้างแล้วค่อยขายและขายแล้วค่อยสร้าง การเคหะปล่อยให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าซื้อ การขายแล้วค่อยสร้างช่วยลดความเสี่ยง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การเคหะขาย Community (Home ความมีหลักแหล่ง) ต่างจากที่อื่นที่ขายบ้าน

ในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

  • ต้องดูว่า บทบาทและจุดยืนการเคหะเปลี่ยนไปไหม
  • ต้องดูว่า การเคหะจะไปไหน
  • ต้องดูว่า อะไรที่การเคหะทำได้และทำไม่ได้
  • ต้องแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนปฏิบัติ
  • ต้องถามว่าเจ้าของเงินต้องการอะไร เช่น คนผ่อนบ้าน
  • ต้องคิดล่วงหน้า จะได้ไม่ตกใจเวลาเจอของจริง
  • ต้องหารือข้ามฝ่าย แล้วเลือกปฏิบัติให้เหมาะสม
  • การเคหะมีจุดแข็งเรื่อง Hospitality การต้อนรับขับสู้
  • การเคหะอย่ากลัวการทะเลาะ เดี๋ยวคนสั่งได้ใจ การเคหะต้องมีภูมิคุ้มกัน
  • การเคหะต้องมีพรรคพวก เช่น กทม. การประปา
  • ในองค์กรต้องมี Infra และ In flow
  • การเคหะอยู่มานาน ต้องเก็บประสบการณ์ผู้บริหารเก่าๆไว้ (Knowledge Management)
  • การเคหะต้องออกหาปลาตอนน้ำลงได้ ต้องทำให้คนซื้อบ้านแม้เศรษฐกิจไม่ดี
  • ต้องฝึกลูกน้องให้ทำได้หลายหน้าที่
  • ต้องสอนให้ลูกน้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น
  • การเคหะต้องเน้นขายความสุขเพราะมีไมตรีจิตอยู่แล้ว

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ก่อนปี 2540 โมเดลอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบสร้างแล้วขาย การเคหะสร้างประสบการณ์ Hospitality, Friendly, Warmness ถือเป็น Customer Experience
  • แต่เดิมไม่ตั้งในเมืองแต่ตั้งรอบเมืองเพราะแพง
  • ต่อมา ขายแล้วสร้าง
    • ทำความเข้าใจลูกค้าแล้วออกแบบบ้านตอบสนองความต้องการ
    • มีความหลากหลายของแปลงที่ดินและแบบบ้าน
    • เน้นผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง
    • ในการวิจัยตลาด
      • ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า
      • กำหนดลูกค้าเป้าหมายของโครงการที่ชัดเจน
      • กำหนด Segment เพราะทำให้ทราบเหตุผลที่แท้จริงของการซื้อ การเคหะยังไม่นำจุดแข็งมาโปรโมท
      • พัฒนาสินค้าที่แตกต่างกันทั้งในด้านทำเล รูปแบบ ตรายี่ห้อ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ยุทธศาสตร์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • Holistic เป็นองค์รวมขององค์กร
  • Longterm  มากกว่า 1 ปี ทั้งด้านผลและกระบวนการ
  • Cross Function ข้ามสายงาน
  • Selective คัดสรร เลือกคน เลือกทำบางโครงการ
  • Change เปลี่ยนแปลง

Workshop

กลุ่มวัฒนธรรมองค์กร 1

นำเสนอโดย นันทนา

  • พิธีกรรม วันสถาปนา
  • การเคหะเน้นการประหยัด ใช้ระบบพี่สอนน้อง ทำเป็นคู่มือสอนรุ่นต่อไป
  • ผู้นำตัวอย่าง คือ คุณถวัลย์ สุนทรวินิจ เป็นกันเอง อบอุ่น สุภาพ โปร่งใส ซื่อสัตย์
  • ก๊วน จากการเข้ารับการอบรมได้เพื่อนร่วมรุ่นมาประสานงานร่วมกัน
  • การสื่อสาร e-mail, internet, ข่าวลือ, ข่าวปล่อย
  • การจัดการปัญหา สู้ตาย สู้ๆ แบบมีกระบวนท่า เช่น มีม็อบ ต้องถอยหลังมาดูปัญหาแล้วค่อยจัดการ
  • การตัดสินใจมีหลายระดับ มีคณะทำงานตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจตัดสินใจ แต่คนมีอำนาจสูงสุดตัดสินใจ

กลุ่มวัฒนธรรมองค์กร 2

  • พิธีกรรม เรื่องวันสถาปนา พนักงานให้ความร่วมมือเพราะถือเป็นวันสำคัญ มีแจกรางวัลพนักงานดีเด่น ตอนเย็นมีสังสรรค์
  • วิธีการทำงาน เน้นกระบวนการ หนังสือเวียนต้องมีใบปะหน้า
  • ผู้นำตัวอย่าง คือ เราดึงข้อดีแต่ละคนมา เช่น ให้โอกาสลูกน้องแสดงความคิดเห็น ให้ความสนิทสนมกับลูกน้อง ให้คำปรึกษาได้
  • ก๊วนที่จะมีผลต่อการเคหะคือ ชมรมผู้สูงอายุ พอรุ่นพี่เกษียณกลับมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้รุ่นน้อง
  • การส่งข่าว ถ้าต้องการให้เร็ว ก็โทรศัพท์
  • การแก้ปัญหา สู้ เช่น แก้ปัญหาเอื้ออาทร การขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี พยายามหางานเข้าองค์กร
  • การตัดสินใจ ทำร่วมกัน

คุณสุภวัส วรมาลี

  • มี Unity, Loyalty เช่นการมีชมรมผู้สูงอายุ ร่วมฟันฝ่าอุปสรรค และถ่ายทอดประสบการณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • คนของการเคหะน่าจะเป็นคนที่รักและหวงแหนองค์กร เคารพผู้อาวุโสในระดับหนึ่ง ภูมิใจในงานที่ทำเพราะสู้ๆ
  • แต่บางอย่างสะกิดใจ เหมือนมีแต่ละกลุ่มของตนแต่อาจจะไม่มีการ cross กลุ่ม พอข้ามกลุ่มต้องแทงหนังสือ ถ้าไม่ข้ามกลุ่ม พี่น้องช่วยกันสู้ๆ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องคนในทราบ และทำให้ทราบว่าทำอะไร
  • Strong Culture คือการคิดเหมือนกันทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน คนโจมตียาก แต่ทำให้เปลี่ยนยาก
  • ต้องการผลัดใบเสมอ

กลุ่ม Rebrand

จุดแข็ง

จุดอ่อน

  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน
  • โครงการมีองค์ประกอบชุมชนครบ
  • ได้แหล่งเงินทุนจากรัฐ
  • สามารถไปร่วมมือกับรถไฟฟ้า ขสมก. ไฟฟ้า ประปา
  • มีความมั่นใจว่าได้บ้าน
  • วัสดุ
 
  • ทำเล
  • ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • กลุ่มเป้าหมายรายได้น้อย
  • อ่อนประชาสัมพันธ์

วิธี Rebrand

  • ประชาสัมพันธ์ผ่านทีวี วิทยุ
  • เน้นลูกค้าครอบครัวขยาย กลุ่มอายุ 30-45 ปี
  • เพิ่มความตระหนักรู้ในสิทธิในการซื้อเพื่อให้ได้การอุดหนุน

กลุ่มกลยุทธ์แข่งกับพฤกษา

  • มองการเคหะเป็นแบบ Holistic
  • เปลี่ยนไปเป็น (Leader, Facilitator) เป็นผู้นำในการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่
  • Gap Filller ทำในสิ่งที่เอกชนไม่ทำ
  • Housing Fund
  • Shared ownership scheme ตอบสนองผู้มีรายได้น้อย
  • เปลี่ยนคู่แข่งเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยจะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่
  • ปรับโครงสร้างองค์กร Privatize บางฝ่ายไปเป็นบริษัทลูก ลดขั้นตอน ทำให้จ้าง CEO เก่งๆมา แล้วส่งรายได้คืนกลับมาให้การเคหะ
  • บริษัทลูกสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นพันธมิตรกับบริษัทก่อสร้าง
  • เน้นบริการหลังการขยาย เน้นสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณภาพ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • ทั้งสองกลุ่มตรงกันมาก
  • ต้องกรองค่านิยมหลัก
  • ต้องทำงานเน้นคุณภาพ
  • Business+Spiritual Culture จะทำให้ Strong ขึ้น
  • ควรจะคิดว่าจะส่งมอบงานให้คนรุ่นต่อไปอย่างไร
  • การเคหะไม่ได้แข่งกับใครแต่ลูกค้ามีทางเลือก
  • หลายองค์กรผูกขาด แต่ก็ตายซากเพราะลูกค้าไม่ใช้

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • บางประสบการณ์ในอดีตอาจทำให้มีความสุขแต่ไม่อาจทำให้ก้าวไปข้างหน้าได้
  • สมัยนี้นักการเมืองท้องถิ่นพร้อมดูแลชุมชน การเคหะควรเป็นพี่เลี้ยงช่วยอย่างมีขอบเขต
  • การเคหะมีปัญหาคือไม่มีกระบวนการการกลั่นกรองทำให้เกิดต้นทุนมากมาย สร้างไม่เสร็จแต่ว่าต้องจ่ายต้นทุนทุกวัน
  • การเคหะมีหนี้ที่ต้องชำระที่จะครบกำหนดชำระในปี 2556 เกือบ 2 หมื่นล้านบาท
  • จะบอกว่าไม่มีคู่แข่งไม่ได้ เพราะของที่การเคหะผลิตต้องขายได้หมด
  • ตอนนี้ คู่แข่งการเคหะน่ากลัวมากคือองค์กรด้านการเงิน

ผู้แทนการเคหะ

  • ข้อมูลที่อาจารย์ได้คือปี 2553 ส่วนปี 2554 งบการเคหะดีขึ้น
  • การเคหะได้รับรางวัลวิสาหกิจดีเด่นด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงและพลิกฟื้นองค์กร (มีหนี้น้อยลง)

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • การเคหะมีสินค้าคงค้างก็ต้อง Haircut หยุดโครงการที่ควรจะหยุด
  • ควรเพิ่มสัดส่วนเชิงพาณิชย์กับเชิงสังคมมากขึ้น
  • ต้องซื้อ Prime Area แล้วสร้างให้เกิดรายได้
  • ต้องดูสัดส่วนสินทรัพย์กับหนี้สินรวมของการเคหะเพื่อทำภูมิคุ้มกัน
  • ต้องดูสัดส่วนยอดจองกับยอดโอน ยอดจองไม่จำเป็นต้องเป็นยอดโอน
  • ต้องดูสัดส่วนอัตราหมุนเฉลี่ยของสินทรัพย์และผลตอบแทนเฉลี่ย
  • การเคหะต้องหามืออาชีพมาช่วยทำงานในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป

 

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 ได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายหัวข้อวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) ได้เห็นตัวอย่างของผู้นำหลายๆ แบบซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง รวมทั้งได้ทราบถึงองค์ประกอบของผู้นำที่ดีว่าควรมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้นำที่เพียบพร้อมเช่นนั้น เป็นผู้นำในฝันของพนักงานการเคหะแห่งชาติทุกคน ขอเรียนตามตรงว่าเมื่อฟังการบรรยายแล้วเกิดความหดหู่ ท้อแท้ใจในบางช่วง เนื่องจากฝันอยู่เสมอว่าอยากให้การเคหะแห่งชาติที่เรารักและเปรียบเสมือนบ้านที่ 2 ได้มีผู้นำที่แข็งแกร่ง กล้าตัดสินใจ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่รู้ มองเห็นวิกฤติเป็นโอกาส และเข้าใจเข้าถึงพนักงานทุกระดับชั้น

และเมื่อนึกไปถึงการก้าวสู่ประชาคมอาเซี่ยนในอีก 3 ปีข้างหน้า พนักงานของการเคหะแห่งชาติจะมีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ที่จะขึ้นเป็นผู้นำในอนาตค เนื่องจาก ณ วินาทีนี้ยังไม่มีการเตรียมพร้อมเป็นรูปธรรมอย่างใดเลย ซึ่งก็จะเหมือนกับปัญหาที่การเคหะฯ กำลังประสบอยู่ปัจจุบันคือจะขาดช่วงเรื่องบุคลากรในหลายๆ ระดับ ทั้งๆ ที่ทราบมาหลายปีแล้วว่าปัญหานี้จะต้องเกิดแต่แก้ปัญหาไม่ทัน ส่วนหัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ข้อคิดว่าต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลก ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่ไม่ได้ ต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า การมีความรู้เฉพาะด้านจะไม่ประสบความสำเร็จอีกต่อไป ต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ และต้องเลือกผู้นำให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดขององค์กรและเพื่อ balance การเปลี่ยนแปลง

อรชร กิจสุบรรณ okitsubun@gmailcom

แนวคิดที่ได้จากการการรับฟังการบรรยายและอภิปรายหัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 มีดังนี้ 1. ผู้นำจะต้องเป็นผู้บริหาร เปลี่ยนตัวเองจาก specialist เป็น generalist หันมาสนใจการบริหารมากกว่าการปฏิบัติ สนใจปัญหาของมนุษย์ มีความเอื้ออาทรไต่ถามทุกข์สุข ของผู้ใต้บังคับบัญชา

  1. การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้อง
    • มีทิศทางที่จะไปโดยต้องสำรวจก่อนว่า where are we และ where we want to go เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ พร้อมวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ต้องเป็นแบบ realistic และเป็นสากล
    • ควรเป็น shared vision ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว คนที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมและเห็นด้วย
    • ต้องศึกษา external environment ซึ่งได้แก่ การเกิดแรงงานย้ายถิ่น ปัญหาปริมาณผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น,steakholder ฯลฯ, รวมทั้ง internal environment ได้แก่ ระบบ วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพของคน ฯลฯ
    • มีการกำหนดพันธกิจเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • ต้องมี core value เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่ง core value ต้องมีองค์ประกอบคือ แม่นยำ สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่ม และมีความสุขในการทำงาน

ในภาคบ่ายในหัวข้อการบริหารกลยุทธ์องค์กร ได้รับแนวคิดในเชิงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการอภิปรายของท่านวิทยากร ทั้ง 3 ท่าน ดังนี้ 1. ควร positioning ตัวเองให้เป็น เช่น จะลงทุนในอสังหาฯ ให้ถามตัวเองว่ากำลังจะทำอะไร เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับที่ควรจะเป็น 2. ถามตัวเองว่าเรามีจุดเด่น เชี่ยวชาญอะไร หาคุณค่าของตัวเองให้เจอ และมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมาย 3 .เมื่อโลกภายนอกเปลี่ยน ให้ตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา เราจะอยู่ได้หรือไม่และถ้าจะต้องเปลี่ยน จะเปลี่ยนอย่างไร improve ,develope หรือ innovation 4. การทำงานในยุคหน้านอกจากจะมีกลยุทธ์แล้ว จะต้องมี creative thinking ด้วยเพื่อให้เกิด value added 5. การเคหะแห่งชาติต้องสร้าง brand ของตนเองให้ได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าของเรา 6. การเคหะฯ ควรพัฒนาอย่างไรให้สินค้าของเราแม้จะถูกแต่ก็มีคุณภาพดีด้วย 7.การเคหะฯ ควรคำนึงถึงปัญหาอุทกภัย, การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ, AEC ว่าเราจะตั้งรับอย่างไรในเชิงการวางแผนกลยุทธ์

อรชร กิจสุบรรณ

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 การบริหารยุทธศาสตร์องค์กร 1. เสริมสร้างให้เกิดมุมมองต่างๆ เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน การเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง ทั้งภายในและภายนอก

มุมมองในเรื่องส่วนแบ่งการตลาด การเป็นพันธมิตรส่วนแบ่งการตลาด การเป็นพันธมิตรส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ 
สื่อมวลชนที่หน่วยงานมักจะลืม
  1. การปรับเปลี่ยนบุคลากรที่จะเกษียณอายุใน 2-3 ปี จะต้องคัดสรรบุคลากรที่มีอยู่มาทดแทน, นำมาพัฒนา ความพร้อม, คัดกรอง ภาวะผู้นำการบริหาร
  2. การเตรียมความพร้อมองค์กร เพื่อรองรับ AEC ในปี พ.ศ.2558 ทุกกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับ External ซึ่งในฝ่าย พส.1 ได้เริ่มวางยุทธศาสตร์ในส่วนนี้ไว้พอสมควร

วันที่ 28 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง จากการสัมมนาระดมความคิดของพวกเราในรุ่นที่ 2 1. ความเป็นมาในยุคต่างๆ ตั้งแต่ก่อตั้ง สร้างรากฐาน ทำโครงการของตนเอง ขยายตัวทำโครงการขนาดใหญ่ ยุคตกต่ำ (ต้มยำกุ้ง) สู่ยุคขยายตัวอย่างก้าวกระโดด จนเกิดความเสียหายมาสู่ยุคแก้ไข จนปัจจุบันยุคฟื้นฟู และยุคต่อไป เป็นยุครอยต่อของคนรุ่นเก่าที่ต้องเร่งพัฒนาองค์กร สู่ยุคคนรุ่นใหม่ เพื่อรองรับการเปิดเสรี สมาคมอาเซี่ยน 2. เมื่อเราทราบตัวของเราในรูปแบบองค์กรแล้ว เราควรทำอย่างไรเพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความพร้อมที่จะเป็น

ผู้นำองค์กรให้ยั่งยืนรับภารกิจในอนาคต 2-3 ปี ข้างหน้าได้  การเปลี่ยนแปลงให้คนรุ่นใหม่สามารถตั้งรับ
และพัฒนาสู่เชิงรุก จะทำอย่างไรให้พวกเราเกิดแรงกระตุ้นสู่อุดมการณ์ไปจนถึงค่านิยม ที่จะขับเคลื่อน
ไปพร้อมกัน สร้างคนชงกาแฟให้เป็นผู้บริหารร้านกาแฟ
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาประเด็นท้าทายของ กคช. ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ศจ.ภิชานไกรฤทธิ์ บุญเกียรติ อ.สุภวัส วรมาลี วันที่ 27/06/2555 เวลา 0830 - 1700 น. ประเด็นท้าทายของ กคช.ได้จากการวิเคราะห์องค์กร กคช.ได้แก่ 1.การวิเคราะห์องค์กรจากงบการเงินของ กคช.

 รายรับ  รายจ่าย  ต้นทุนการก่อสร้าง รายได้จากการบริหารสินทรัพย์ 
 ค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อรายได้     หนี้สินและทุนของ กคช.  

2.การวิเคราะห์องค์กรจากวิสัยทัศน์และพันธกิจของ กคช.

 ยุทธศาสตร์ กคช. พันธกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ทางไหน อะไรและอย่างไร

3.การวิเคราะห์องค์กรจากผลิตภัณฑ์(บ้าน)ของ กคช.

 แนวคิดสินค้าสร้างก่อนขาย และแนวคิดสินค้าขายก่อนสร้างกับการบริหารความเสี่ยงของ 

4.การวิเคราะห์องค์กรจากผู้บริโภค(ลูกค้า)ของ กคช.

 การตัดสินใจซื้อของลูกค้ามีผลต่อ สินค้าของ กคช.ที่มี ทำเล ราคา แหล่งงาน การคมนาคม

5.การวิเคราะห์องค์กรจากการเปลี่ยนแปลงภายในของ กคช.

 การปรับโครงสร้างภายใน กคช. เป็นเชิงพานิชย์และเชิงสังคม ตามสัดส่วนมีผลกระทบ

6.การวิเคราะห์องค์กรจากวัฒนธรรมองค์กรของ กคช.

 พฤติกรรมของผู้คนใน กคช.ที่ปฏิบัติต่อกันในองค์กร และต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอกได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรไปในทิศทางใด ดีขึ้นหรือไม่ 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม 1.แนวความคิดของการนำผลการวิเคราะห์มาประยุกใช้ในอนาคตของ กคช. 2.การมองอนาคตของการเคหะแห่งชาติใน 10 ปี ข้างหน้าต้องประกอบด้วยนโยบายชัดเจน ตำแหน่งของสินค้า แผนปฏิบัติที่สอดคล้องกัน นำไปสู่ภาคปฏิบัติที่ทุกคนในองค์กรต้องรับรู้ร่วมกัน 3.การทำ work shop * ระดมความคิดในการค้นหาวัฒนธรรมองค์กร

                         * การค้นหาตำแหน่งขององค์กรในอนาคต

                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                                         [email protected] 
                                        วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ
                     ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์  และ ผศ.ดร. พงษ์ชัย  วันที่  27  มิ.ย.  2555วิทยากรทั้ง  2  ท่าน  นำเสนอประเด็นได้ตรงกับปัญหาของการเคหะแห่งชาติมาก  ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  กคช.  เราที่ต้องทบทวนบทบาทจุดยืน  เพื่อกำหนดอนาคต  สรุปได้ดังนี้
                      อ.ไกรฤทธิ์  นำเสนอประเด็นในภาพรวมระดับ วิสัยทัศน์  พันธกิจ  นโยบาย  กลยุทธ์  โดย กคช.  ต้องตอบ

คำถามตัวเองจะนำองค์กรไปสู่หนใด สถานะที่เป็นอยู่ในจุดไหน จะทำธุรกิจอะไรไม่ทำธุรกิจอะไรโดยต้องชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ได้ถูกต้องไปจนถึงได้แผนปฏิบัติการที่ดี โดยพิจารณาถึงปัจจัยทั้ง ภายนอก ภายใน จากการสรุปบทเรียน

                      อ.พงษ์ชัย  นำเสนอในภาพที่ลงรายละเอียด  โดยให้พิจารณาถึงการตลาด วิเคราะห์วิจัยตลาดพฤติกรรม

ผู้บริโภค จุดอ่อนจุดแข็งของ กคช. หากต้องสู้กับเอกชน และมองโลกในความเป็นจริงกับสถานะขององค์กร สิ่งสำคัญของอาจารย์ที่ กคช. ต้องฉกคิดหากไม่มีนโยบายภาครัฐ กคช. จะดำเนินการอย่างไรในอนาคต

วันที่ 27 มิถุนายน 2555 เป็นวันที่ 3 ของการอบรมในหัวข้อประเด็นท้าทายของการเคหะในด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรม โดยในประเด็นการตลาดสิ่งที่ได้รับคือเมื่อคิดจะทำโครงการต้องหาคำตอบว่าลูกค้าเราเป็นใครและเราจะผลิตสินค้าอะไรเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเรา การจะตอบคำถามได้ต้องมีการวิเคราะห์เพื่อหาช่องว่างของตลาดและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าให้ตอบสนองของความต้องการของลูกค้า ซึ่งจริงๆ แล้วเวลาคิดโครงการ กคช.มีการวิเคราะห์เช่นกันแต่ไม่แม่นยำเช่นเอกชน บางครั้งวิเคราะห์โดยสมุมติฐาน ไม่ได้วิเคราะห์จากข้อมูลจริง และการเก็บข้อมูลภาคสนามยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ

ในประเด็นวัฒนธรรมองค์กร อ.ให้ตอบคำถามใน7หัวข้อ 1.พิธีกรรมอะไรในกคช.ที่ท่านนึกถึง 2.วิธีทำงาน(อย่างไร) 3. HERO ยกตัวอย่างบุคคลในองค์กรที่เห็นว่าสามารถเป็นแบบอย่างในองค์กร 4. กลุ่ม ใน กคช. มีการจัดความสัมพันธ์แบบกลุ่มหรือไม่ 5. การสื่อข่าวในองค์กรอย่างไม่เป็นทางอะไร ใช้วิธีอย่างไร6. การจัดการปัญหา (วิธีการ สู้ หนี เลี่ยง โยนกลอง) 7. การตัดสินใจครั้งสำคัญ อะไรที่คิว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ จากคำตอบในworkshop กคช. มีวัฒนธรรมการทำงานที่รวมกันตัดสินใจและร่วมแรงร่วมใจเมื่อเมื่อภัยมาถึง อันนี้ผมเห็นว่าอาจจะช้าไปสำหรับสภาวะที่มีภาระหนี้เงินกู้เป็นหมื่นล้าน
สำหรับประเด็นด้านการเงิน อ.ได้ชี้ให้กคช.เห็นว่าการเงินเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร องค์กรย่อมอยู่ไม่ได้หารายจ่ายมากกว่ารายรับ ซึ่งรายรับหลักของกคช.อยู่ที่การขายที่อยู่อาศัยและรายได้จากค่าเช่า ควรหาช่องทางเพิ่มรายได้ ในขณะที่มีรายจ่ายประจำปีละ 800 ล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ หากรายรับไม่เป็นไปไปตามแผนย่อมส่งผลให้องค์กรประสบภาวะขาดทุน ดังนั้นทุกคนในองค์กรต้องตระหนักช่วยองค์กรประหยัดด้วยการลดต้นทุนการผลิต เพื่อที่กคช.จะได้ไม่ต้องอยู่ในสภาวะการขาดทุนต่อเนื่องสามปีเช่นในอดีต 

วันที่ 2 ของการอบรมได้เรียนรู้เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (vision) ต่อเนื่องจาก การอบรมวันแรก วิธีการกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับองค์กรจะต้องมีความชัดเจน ต้องรู้ว่าองค์กรจะไปในทิศทางใด ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องเห็นด้วย มีส่วนร่วมในการกำหนด เมื่อกำหนดวิสัยทัศน์แล้วก็ต้องกำหนดพันธกิจ (mission)หรือภารกิจเพื่อทำให้เป้าหมายของวิสัยทัศน์เกิดผลสำเร็จ และต้องมีค่านิยม (core value)เพื่อหล่อหลอมคนในองค์กรให้ช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้มี่การทำ workshop วิธีการกำหนดวิสัยทัศน์ของการเคหะ ในอีก 10ปีข้างหน้า ทำให้รู้ว่าการเคหะ มีจุดอ่อนจุดแข็งอะไร มีผู้เกี่ยวข้องใครบ้างที่มีผลกระทบต่อการเคหะ การเคหะทำอะไรได้ดีมาก และทำอะไรไม่ได้ดี ควรจะทำต่อไปหรือไม่ ทำให้มองเห็นภาพการเคหะได้กว้างขึ้น ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้นำไปกำหนดวิสัยทัศน์ต่อไป
ภาคบ่ายเป็นการอบรมเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร ด้านอสังหาริมทรัพย์ เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์การปฏิบัติงาน วิเคราะห์คุณค่างาน ประเมินผลและเปรียบเทียบผลงาน สำหรับการเคหะ ต้องมีการวิเคราะห์ตัวเอง ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ การเคหะไปสู่ความสำเร็จ ปัจจัยอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ต้องวิเคราะห์ว่าการเคหะกำลังทำอะไรอยู่ ควรมี่การเปลี่ยนแปลง องค์กรหรือไม่อย่างไร หรือต้องปรับปรุง พัฒนาหรือ ทำสิ่งใหม่ๆ การเคหะควรเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นกลไกที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป

วันที่ 3 ของการอบรมได้รับความรู้เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ ต้องมีการวิเคราะห์ด้านต่างๆหลายด้าน เช่น วิเคราะห์วัฒนธรรมของการเคหะ วิเคราะห์ด้านการตลาด กลุ่มลูกค้า คู่แข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์การผลิต การพัฒนาแบบบ้าน การสร้างบ้านหรือคอนโดให้เสร็จก่อนแล้วจึงขาย หรือ ขายก่อนสร้าง วิเคราะห์ราคาขาย วิเคราะห์การเคหะด้านการเงิน รายรับรายจ่าย แหล่งที่มาของเงินทุน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 40 ปีก่อน มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คู่แข่งด้านอสังหาริมทรัพย์ และควรใช้กลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้านใดบ้าง เช่น กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ การสรรหาที่ดินในทำเลที่เหมาะสม กลยุทธ์ด้าน rebranding กลยุทธ์การชนะคู่แข่ง

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 27 มิถุนายน 2555

              การเข้าร่วมสัมนาในวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ทำให้พวกเรามีความคุ้นเคยกันมากขึ้น การระดมความคิดทั้งผู้ร่วมสัมนา และอาจายร์ทำให้เห็นภาพจุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์กร และของคนในกลุ่ม  ผมมีความมั่นใจและภาคภูมิในการทำงานตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา ที่สามารถรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ความเป็นพี่น้อง ความร่วมมือร่วมใจในการทำงานทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แนวทางมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์กรให้แข็งแรง และรองรับกับ AEC ใน 2-3 ปี ข้างหน้า  กำลังคน และระบบงานที่แข็งแรงจะถูกกระตุ้นให้กลับมาแข็งแกร่งดังเดิม
นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 ได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมจากท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ตอนที่ 2 หลังจากที่ได้เรียนในตอนที่ 1 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ซึ่งในวันนี้ได้มีการระดมสมองเพื่อให้ทุกคนได้มีการคิดงานใหม่ แนวทางวิธีการ โดยการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร และยุทธวิธี ในรูแบบใหม่ เพื่อองค์กรสามารถพัฒนารูปแบบงานใหม่ โดยเฉพาะงานของการเคหะแห่งชาติอีก 10 ปีข้างหน้าควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งการอบรมในวันนี้ยังได้นำ Workshop เพื่อให้ทุกคนได้ระดมสมอง โดยการเน้นในเรื่องของการดูแลประชากรทุกระดับ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม

นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 27 มิถุนายน 2555 ได้มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทาย ของการเคหะแห่งชาติ ด้านการตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร อาจารย์ได้สอนให้ผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องเป็นผู้บริหารในอนาคต จะต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และจะต้องคิดหากลยุทธ์ ด้าน Branding ใหม่ในการนำเสนอลูกค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจ และได้มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของสินค้า ของการเคหะแห่งชาติ

อาจารย์ได้วิเคราะห์สถานะทางการเงินของการเคหะแห่งชาติ แล้วรู้สึกตกใจเมื่อเห็นภาพค่าใช้จ่ายการเคหะแห่งชาติ และรายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการเคหะแห่งชาติจำเป็นที่จะต้องมีโครงการที่จะต้องสร้างให้เกิดรายได้เพื่อลดการขาดทุนในอนาคต
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมวันที่ 25 มิถุนายน 2555

        “ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ( 2 ) และ Panel Discussion ” ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การเขียนวิสัยทัศน์ที่สะท้อนถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กรจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและมีวัตถุวิสัย รวมทั้งเข้าใจคำว่า “ Core Value ” ดีขึ้น ในโอกาสนี้ขอนำเสนอวิสัยทัศน์ของการเคหะแห่งชาติ ดังนี้ 
         “ การเคหะแห่งชาติเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ” 
          สำหรับในภาคบ่ายซึ่งเป็นการอบรมเชิงอภิปรายได้ข้อคิดในการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยตัวเราหรือองค์กรจะต้องรู้สถานะของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจวางอนาคต ซึ่งการวิเคราะห์และกำหนดทิศทางการดำเนินงาน จะต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงศาสตร์ และข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานบริหารสินทรัพย์และอาคารเช่าได้
                                                                                                            ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

27 มิถุนายน 2555

จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

  1. องค์กรต้องหาตัวตนให้พบ ในด้านการตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร ด้านการผลิต

  2. ด้านการตลาด ค้นหาสินค้านำเสนอให้ลูกค้าเห็นแล้วเกิดความอยาก อยากรู้ อยากได้ โดยการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรม, จัดมหกรรม ฯลฯ

  3. ค้นหาช่วงว่างทางการตลาดให้สินค้าที่จะนำเสนอสอดแทรกในช่องว่างทางการตลาดนั้น

  4. พลิกแพลงปรับปรุงผลิตภัณฑ์/สินค้า ให้ถูกยุคสมัย เป็นที่ต้องตาต้องใจ ไม่มีใครผลิตในลักษณะนี้มาก่อน หรือผลิตสินค้าที่ Boom ขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยม

  5. วิเคราะห์ความอยากของคน ณ ขณะนั้น พร้อมทั้งหาปัจจัยสนับสนุน เช่น ช่วงเศรษฐกิจดี ประชาชนมีรายได้สูง นิยมบ้านพักตากอากาศในเมืองท่องเที่ยว และอยู่ในช่วงจ่ายโบนัส หรือตกเบิก เป็นต้น

  6. วิเคราะห์ดูตนเองว่ามีความถนัด มีโนฮาว/เก่ง ที่จำทำกิจการใดสิ่งใด มีความรอบรู้ มีประสบการณ์ในการผลิตสินค้านั้น ๆ มานาน มีความเชี่ยวชาญ

  7. หาจุดแข็งตัวสินค้าว่าเหมาะสมกับยุคสมัย มีคุณประโยชน์สูง เป็นสิ่งจูงใจ

  8. วิเคราะห์ตลาดว่าขณะนั้น มี DEMAND มากน้อยเพียงใด เป็น DEMAND ที่แท้จริง หรือตามกระแส และมีสินค้าสนองตอบแล้วเท่าใด

  9. ระดับราคาเป็นเครื่องชี้สำหรับการตัดสินใจว่า สินค้าเกรดดีราคานี้ เปรียบเทียบกับคู่แข่งขันแล้วได้เปรียบ ดีเด่นกว่าหรือไม่ ผู้บริโภคเลือกเราหรือไม่

  10. วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ดูกลุ่มลูกค้า ความสามารถทางการเงินเทียบกับราคาสินค้า ผู้บริโภคซื้อสินค้า มีเจตนาลำดับอื่นหรือ เช่น เก็งกำไร ซื้อดักรออนาคตของบ้าน/เผื่อลูกโต, เผื่อย้ายแหล่งงาน หรืออยู่อาศัยเอง จึงพัฒนาสินค้า ให้สอดคล้องโดนใจกัน

  11. พิจารณาขีดความสามารถทางการเงินของตนเอง เช่น ผลิตมาก ๆ ขายไว ๆ กำไรต่อหน่วยน้อย หรือผลิตสินค้าไฮเอน สินค้าชิ้นใหญ่ คุณภาพดีในการขายต่ำ แต่ได้กำไรสูง แต่ต้องลงทุนสูงและใช้เวลานาน เปรียบเทียบกัน

จึงสรุปได้ว่าต้องวิเคราะห์ตอนเองในด้าน :-

• ด้านผลิตภัณฑ์

• ลูกค้า

• สภาพแวดล้อม

• พฤติกรรมผู้บริโภค


27 มิถุนายน 2555

18 มิ.ย. 55

 

            ทำให้เราทราบถึงความแตกต่างระหว่างผู้บริหาร กับผู้นำมากยิ่งขึ้น สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้นำ ที่เหนือกว่าผู้บริหารก็คือ ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรและนักสร้างนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ ต้องรู้จัก
การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ผู้นำนั้นขาดไม่ได้ คือ การแรงศรัทธาจากคนภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร จึงจะถือได้ว่าเป็นผู้นำที่แท้จริง อีกทั้งผู้นำต้องสอนหนังสือด้วย จึงจะถือได้ว่าเป็นผู้เพียบพร้อมและเต็มเปลี่ยมด้วยความรู้  ความสามารถ เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ถือเป็นการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ หรือ ทุนมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ยิ่งๆขึ้นไปอีก จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ

            ส่วนคุณสมบัติของผู้นำประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น คุณ Nelson Mandela เป็นคนกล้า ทำงานเงินรุก มีความประนีประนอม ยืดหยุ่น รู้จักบริหารศัตรู คนที่ไม่ชอบต้องยิ่งใกล้ชิด   ส่วน คุณ Obama  สร้างศรัทธาและความมั่นใจ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเครือข่ายในทุก ๆ แห่ง และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม และคุณ Hillary Climton ชอบการเรียนรู้ ก็ต้องเรียนข้ามศาสตร์และคิดนอกกรอบ

Finance for Non finance ดร.กุศยาฯ 29 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่านอ.จีระ

          วันนี้ได้ฟังบรรยายภาคเช้าจากดร.กุศยา เรื่อง Finance for Non-Finance ท่านอาจารย์ได้พูดถึงลูกค้าของการเคหะฯ สิ่งสำคัญคือความสามารถในการผ่อนชำระเพราะส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจะซื้อเงินสดทั้งหมดได้ การเคหะฯจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้เป็นสำคัญ ผู้บริหารฯ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงิน การลงทุนและงบประมาณ ซึ่งตลาดการเงินจะแบ่งเป็นในระบบและนอกระบบโดยแบ่งเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดเงินและตลาดทุนจะแบ่งตามระยะเวลามิใช่แบ่งตามจำนวนเงิน ถ้าระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จะเป็นตลาดเงิน แต่ถ้าเกิน 1 ปีจะเป็นตลาดทุน

          ธนาคารที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะไม่ถือว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ธนาคารอิสลาม เป็นต้น

          ช่วงบ่าย เป็นการเสวนาของภาคเอกชนประกอบด้วย อ.ณรงค์ฯ อ.รุ่งโรจน์ฯ จากหมู่บ้านซื่อตรงและอ.อนุชา เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการจัดสร้างโครงการ โดยให้แนวทางว่า

          1.การเคหะจะต้องรู้จุดแข็งของตนเอง เช่นการสร้างสังคมเมืองมิใช่ทำบ้านขายกับเอกชน

          2.การเคหะน่าจะได้เปรียบเอกชนในเรื่องความน่าเชื่อถือเพราะเป็นองค์กรของรัฐ และต้องใช้การเมืองมาปรับให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

          3.เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ คิดโครงการใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่องค์กร

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

25 มิย. 55 08.30-12.00 น. หัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

การเคหะแห่งชาติมีหน้าที่จัดสร้างที่อยู่อาศัย โดยเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลาง  โดยที่การเคหะไม่ได้สร้างบ้านแต่การเคหะสร้างชุมชน  ผู้ซื้อไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของบ้าน แต่ทุกคนเป็นเจ้าของชุมชน ทำอย่างไรให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการของการเคหะมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้  นี่คือสิ่งที่พวกเราชาวการเคหะทุกคนพยายาม 

จากผลการวิจัยของ James Collins ที่กล่าวไว้ว่าสิ่งที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา ดังนั้นคนที่เป็นผู้นำ(ทุกระดับ)ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย จากการเป็น Specialist มาเป็น Generalist ทุกอย่างเริ่มที่คน โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำที่มีความหลากหลายทั้งทัศนคติ ทักษะ ความรู้ และองค์ประกอบอื่นที่รวมเป็นทุนมนุษย์ของแต่ละคน มาร่วมกันทำงานในองค์กร ภายใต้กฎ ระเบียบ เดียวกัน แต่การที่วัฒนธรรมในแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์องค์กร จึงควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วย (Shared Vision) ซึ่งต้องเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กรด้วย นอกจากการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ แล้ว ควรกำหนด Core Value ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามที่การเคหะกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าจะเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย 13.00-16.30 น. หัวข้อ การบริหารกลยุทธ์องค์กร

การบริหารองค์กรยุคใหม่ ต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรม ค้นหาจุดเด่น และความเชี่ยวชาญขององค์กรให้พบ เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือกับการขยายตัวของเมือง และความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของการเคหะ  โดยการกำหนดกลยุทธ์ต้องบริหารแล้วให้เกิดความคุ้มทุนระหว่าง งาน-คน-เงิน  ทั้งนี้ Brand เป็นสิ่งสำคัญ ในยุคนี้การเคหะไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางเพียงหน่วยงานเดียว เอกชนหลายกลุ่มเข้ามามีบทบาทและทำได้ดี การเคหะจึงต้องสร้าง Brand ของตัวเองให้ได้ ที่ตอบสนองความรู้สึก (Emotion) ของลูกค้าและเมื่อใดที่ลูกค้า คิดถึงบ้าน ต้อง คิดถึงการเคหะ
ในประเด็นที่มองว่าการเคหะมีการเมืองแทรก  ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน หน่วยงานของรัฐต้องทำงานร่วมกับการเมืองอยู่แล้ว เนื่องจากมีประชาชนเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน  การเคหะน่าจะถือเป็นโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงในส่วนของสายงานชุมชน การเมืองมักจะนำประโยชน์เข้ามาในชุมชนมากกว่า แต่ก็อาจะจะทำงานยากบ้าง เพราะอาจจะถูกมองว่าไม่เป็นกลาง  ประเด็นสำคัญคือ เรื่องของคน การเคหะต้องพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นบุคคลากรที่ใฝ่รู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณภาพ อีกทั้งองค์กรควรให้ความมั่นคงแก่บุคคลโดยพร้อมช่วยเหลือยามเมื่อเกิดความผิดพลาดบุคลากรก็จะเกิดขวัญและกำลังใจที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้นเอง

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 2 ค่ะ

อรพิณ

สรุปผลการเรียน วันที่ 27 มิถุนายน 2555

วัฒนธรรมองค์กร

                วัฒนธรรมคือสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน (โดยไม่ได้เขียนเอาไว้) วัฒนธรรมเกิดจากคนในองค์กร โดยวัฒนธรรมมีทั้งสิ่งที่ช่วยเอื้อและสิ่งที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผู้บริหารต้องพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดควรคงไว้ วัฒนธรรมใดควรปรับเปลี่ยน โดยเราต้องค้นหาให้ได้ว่าอะไรปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้  และในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรต้องให้สอดคล้องกับบทบาทและทิศทางที่เราจะเดินไป

             อ.ไกรฤทธิ์เห็นว่าบุคลากรของการเคหะเด่นในเรื่องต้อนรับขับสู้มาตลอดไม่เคยเปลี่ยน แต่สิ่งที่ควรเปลี่ยนคือต้องรู้เท่าทันคนนอก  เราต้องทะเลาะกับคนอื่นบ้างไม่ใช่ยอมตลอด

 

ด้านการตลาด

                การตลาดคือทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้คนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าของเราเกิดความอยาก เราต้องสร้าง Brand ของเราเองให้ได้ ซึ่งทำได้โดยการวิเคราะห์ทางการตลาด เวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนไป การเคหะต้องเข้าใจช่องว่างทางการตลาดจะได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้วตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้  ต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของคู่แข่งขัน  ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อบ้าน เช่น  ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ ความสะดวกในการคมนาคม  คุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ทางสังคม รวมทั้งมูลค่าของทรัพย์สินในอนาคต เป็นต้น ทำสินค้าให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน เช่น สื่อให้ลูกค้ารู้ว่า เราขาย Home ไม่ใช่ House

 

ด้านการเงิน

                อาจารย์เห็นว่าควรวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุน  , ความมั่นคงทางการเงิน (D/E Ratio) อัตราหมุนเวียนเฉลี่ยของทรัพย์สิน เป็นต้น

ด้านการผลิต

                อาจารย์ให้พิจารณาระหว่างผลิตก่อนขาย หรือขายก่อนผลิต  และเราต้องควบคุมต้นทุนการผลิตให้ดี

หาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต เพื่อภาพลักษณ์ของสินค้าและประหยัดต้นทุน

 

ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม

  1. ทำให้เข้าใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กรว่ามีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย
  2. เข้าใจว่าการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กร และเป็น Dynamics เราต้องปรับตัวให้ทันตลอดเวลา
  3. ด้านการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องรอบคอบและวางแผนระยะยาวให้รัดกุม
  4. ด้านการผลิตก็สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมให้บรรลุเป้าหมาย ด้านการตลาดและการเงิน
  5. ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องทำงานต้องเป็น Generalist ไม่ใช่ specialist ต้องบริหารงานแบบข้ามศาสตร์ ไม่ใช่แบบ Silo  และต้องเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้มาก ๆโดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสาร

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 27 มิ.ย.55 08.30-16.30 น. การอบรมในวันนี้ เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กรและการผลิต
- โดยภารกิจของการเคหะ ควรเน้นในเรื่องของการตลาดเป็นลำดับแรก และตามด้วยการผลิต การเงิน และการบริหารบุคคล เพราะการเคหะเป็น Service Org. - เน้นการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุน - ในเรื่องของการขาย ต้องคิดว่าจะขายบ้านอย่างไรตอนเศรษฐกิจไม่ดี - การเคหะต้องมีพันธมิตร เช่น กทม. การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น ซึ่งต้องเข้ามาร่วมทำโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะปัจจุบันการเคหะเปรียบเสมือนผู้ประกอบธุรกิจอสังหาฯ ทั่ว ๆ ไป ซึ่งในโครงการที่ทำเพื่อผู้มีรายได้น้อยตามนโยบายรัฐ รัฐก็ควรให้องค์กรภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนอย่างจริงจังด้วย โดยเฉพาะโครงการใน กทม. ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ที่ดินอย่างมาก ติดขัดเรื่องกฎ ระเบียบของ กทม. ไปหมด - การเคหะต้องเอาจุดแข็งมาเป็นจุดเด่น เช่น Friendliness, Happiness - จากการวิเคราะห์งบการเงินของอาจารย์ ซึ่งมองว่าการเคหะเป็นเรือที่กำลังจะจม เนื่องจากไม่มีรายได้ระยะยาวที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจในองค์กร แต่ข้อเท็จจริง ในการบริหารทรัพย์สินที่มีอยู่เช่นที่ดินบางแปลง หรือที่ดินแปลงย่อยในชุมชนที่ไม่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อจัดทำโครงการได้ และการเคหะก็ไม่สามารถขายได้ เนื่องจากถูกกระแสสังคมคัดค้าน และบางครั้งก็มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
- ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร การเคหะก่อตั้งมา 38 ปี มีวัฒนธรรมบางอย่างที่ฝังลึก อาจจะยากที่จะเปลี่ยนแปลง และมีช่องว่างจากการเว้นช่วงบรรจุพนักงาน - ในการทำ Workshop สนุกสนาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้จักสนิทสนมกันมากขึ้น โอกาสเช่นนี้ไม่มีบ่อย ๆ ในการเคหะ เท่าที่จำได้บรรยากาศแบบนี้เกิดตอนเราอบรม Mini MBA. รุ่น 6 ประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว - สุดท้ายต้องคิดให้ได้ว่า การเคหะเป็นใคร ทำอะไรอยู่ และจะก้าวไปทางไหน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันเปิดโครงการ จันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555 เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ โดย อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

เช้านี้ อาจารย์ แจ้งวัตุประสงค์ของการอบรม เพื่อค้นหาผู้นำ  และเป็นการพัฒนาผู้นำในอนาคตของ กคช.  ดังนั้นในวันนี้ จึงขอฝากผู้นำยุคใหม่ไว้ 3 สิ่ง คือ แรงบันดาลใจที่ได้เกิดขึ้นจากเรียน   สิ่งที่สองคือค้นหา Energy ที่เป็นพลังโดยคิดนอกกรอบ   และสิ่งสุดท้ายการค้นหาตัวเองระหว่างที่อยู่กับ อ.จีระ/อ.ปัณรส และอ.กิตติ

อาจารย์จีระฯ ได้แลกเปลี่ยนทัศนความรู้ และความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ผู้นำ นั้นต่างกับ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ควบคุม จัดการระบบและควบคุมให้สำเร็จตามเป้าหมายให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้น ส่วน ผู้นำ จะจัดการที่เน้นคนหรือองค์กร โดยจับหลักการความสำคัญว่าจะมีวิธีการ (what) และ How ทำอย่างไรให้สำเร็จ และเกิดศรัทธาจากองค์กร ภาวะผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่นั่นหมายถึง Vision Mission Strategies และ Core Value ในอนาคต พร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และองค์กรมีความสุข ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สามารถมาจาก การเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดเวลาและไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุข จากลูกน้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ การพัฒนาภาวะผู้นำ ใช้หลักทฤษฎี 5E’s คือ Example Experience Education Environment และ Evaluation เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง ช่วงบ่ายวันนี้ อาจารย์ ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา ได้กล่าวถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเปรียบเทียบในการขี่จักรยานคันเดียวที่มีผู้ขี่ 2 คน คนแรกคือผู้นำ ที่ต้องขับเคลื่อนองค์กรว่าจะไปอย่างไร ทิศทางไหน และตัวอย่างของหนังเรื่องเทวดาท่าจะบ๊องส์ เมื่อมีขวดโค๊กใบหนึ่งดตกในหมู่บ้านคนป่าที่อยู่อย่างสงบในดินแดนห่างไกลอารยธรรม นิเชาเก็บและนำกลับบ้านโดยเข้าใจว่าเป็นของขวัญจากพระเจ้า นับตั้งแต่นั้นมาทุกคนในหมู่บ้านก็เปลี่ยนไป เริ่มจากการมีทรัพย์สิน จากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีแต่การแบ่งปัน ก็เริ่มมีการอิจฉาริษยา การทะเลาะเบาะแว้ง ความโกรธเคือง ความรุนแรง จึงตัดสินใจว่าขวดโค๊กเป็นสิ่งชั่วร้ายที่นำความขัดแย้งมาสู่หมู่บ้านของเขาโดยอาสาเดินทางอันแสนไกลเพื่อนำไปคืนพระเจ้า สรุปบทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการบริหารการปฏิบัติงานประจำ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก-ภายใน ผลกระทบ และโอกาสเพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดี ทำให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่อย่างยั่งยืน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่สองของโครงการ จันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ • รู้และให้เข้าใจในความหมาย Vission – Mission • Vission ของ กคช.ที่กำหนดไว้ว่าใช้ในปี 2554-2558 ดูแล้วเป็นบทบาทมากกว่าที่จะเป็นทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทำให้เราอยู่รอด หรือทำให้เก่งกว่าคนอื่น และทำให้เราดูแลลูกค้าของเราได้ นอกจากนี้ ไม่เห็นภาพถึง 10 ปี ดังเช่นความหมายของ Vission • หนังสือ BUILT TO LAST โดย JAMES COLLIN ได้วิเคราะห์ว่า ธุรกิจจะอยู่อย่างยั่งยืน ผู้นำและคนในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา • การฝึกความคิดความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้นำยุคใหม่ ให้ทบทวน-กำหนดวิสัยทัศน์ของ กคช. โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ภายใน Stakehoders เพื่อรองรับการเปลี่ยนในอีก 10 ปี

การบริหารกลยุทธ์องค์กร ทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ในการบริหารกลยุทธ์จากหน่วยงานอสังหาฯ โดย อ. อนุชา กุลวิสุทธิ์ อ.เฉลิมพล เกิดมณี และอ.สมชาย สาโรวาท ซึ่งมุ่งเน้นของการทำเงิน แต่ กคช. เพื่อสังคม หรือประชาชนผู้ด้อยโอกาศได้มีที่อยู่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั่นก็คือ การมองตัวเองว่าอยู่ในPosition ตรงไหน จึงจะคุ้มทุนหรือจุดผ่าน

วัฒนธรรมองค์กร 27 มิ.ย.2555

วัฒนธรรมองค์ขึ้นอยู่กับ คน และเรื่องของ คน จะไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเป็นหนึ่งอย่างเดียว SPIRIT ของการเคหะฯ ก็เป็นตัวหนึ่ง แต่การเคหะฯ ก็ต้องดูว่าวัฒนธรรมใดบ้างที่ต้องปรับแต่งและจะปรับแต่งอย่างไรคนในองค์กรนั้นเท่านั้นที่จะรู้ได้ แต่จุดเด่นของการเคหะฯ ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร คือ มีความรักองค์กรอย่างเหนียวแน่นมีการตั้งชมรมผู้สูงอายุทำให้ผู้เกษียณอายุยังคงช่วยการเคหะฯ เหมือนเป็น back up มีความเคารพในรุ่นพี่รุ่นน้อง ภูมิใจในการทำงาน รักงานและต่อสู่กับปัญหามาโดยตลอด การที่คิดเหมือนกันมากๆ ก็ต่อสู่กับคนอื่นได้ ปัญหาของการเคหะฯ ที่เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ เรื่องหนึ่ง คือ มี ผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นผู้บริหารอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อผู้บริหารรุ่นนี้เกษียณอายุ ผู้ที่จะทดแทนเป็นรุ่น 40-45 ปี การเคหะฯ ต้องศึกษาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้ดีว่าผู้บริหารรุ่นใหม่จะขึ้นมาทดแทนได้อย่างไร

วิเคราะห์ความท้าทายของการเคหะฯ มุมมองของคนภายนอกเห็นว่าเดิมการเคหะฯ ทำธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งขันเพราะทำงานช่วยคนจนมาโดยตลอด ปัจจุบันมีคู่แข่งแล้วจึงควรมองปัญหาอุปสรรคของตนเอง เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง พรบ.ร่วมลงทุน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการเงินที่ต้องกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนแม้จะมีรัฐบาลค้ำประกันแต่มีหนี้สิ้นที่จะต้องชำระในระยะเวลาอันใกล้เป็นจำนวนมาก

วิเคราะห์ทางด้านการตลาด การเคหะฯ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องค้นหาช่องว่างของตลาดว่าการเคหะฯ จะมีผลิตภัณฑ์อะไร ผลิตภัณฑ์ของการเคหะฯ ที่อยู่ในตลาด Boom หรือไม่ มีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด จุดยืนทางการตลาดของการเคหะฯ อยู่ตรงไหน วันนี้มีการดำเนินงานช่วยคนจน 80% หารายได้ 20% จุดยืนที่เป็นการหารายได้ใน Location นั้นคู่แข่งขายถูกกว่าหรือไม่ คู่แข่งที่เห็นว่าลงมาขายในตลาดผู้มีรายได้ปานกลางคือ Pruksa real estate ที่ทำบ้านขายราคาต่ำกว่า 1.2 ล้านบาทวันนี้การเคหะฯ มีความคิดที่จะต่อสู้แล้วอย่างไร ทั้งนี้ข้อได้เปรียบของ Pruksa ที่เห็นได้อย่างหนึ่งก็คือได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการลงทุน BOI ปัจจุบันบ้านเอื้ออาทรไม่ได้ Boom เหมือนก่อน เพราะคนเข้ามารู้จักสินค้าแล้ว จึงควรดูว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรอีกที่เป็นความต้องการของลูกค้า Brand ของการเคหะฯ มีการเปลี่ยนแปลงแล้วสื้อความหมายได้ตรงกับ Brand หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการเมืองเข้ามาชี้นำการบริหารประกอบกับผู้บริหารไม่มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งจึงทำให้การเคหะฯ ได้ที่ดินทำเลที่ไม่เหมาะสมเป็น Land bank มากและต้องแก้ปัญหาที่ดินเหล่านั้น การขายในปัจจุบันมิใช่เป็นการขายเฉพาะขาประจำ ส่วนใหญ่ลูกค้าของการเคหะฯ เป็นขาจรซึ่งก่อนจะซื้อมักศึกษาข้อมูลใน Website ก่อน การเคหะฯ ควรสือให้เห็นว่าการเคหะฯ ไม่ได้เป็นผู้เพียงแต่ขายบ้านเท่านั้น แต่ยังขายความเป็นชุมชน Community ด้วย ซึ่งถือเป็น Mission ของการเคหะฯ หน่วยงานที่ไม่เปลี่ยน Mission อาจเป็นเพราะ Mission เดิมดีอยู่แล้ว หรือผู้บริหารดื้อมาก การจะเปลี่ยนก็ต้องดูจุดยืนด้วยว่าเปลี่ยนหรือไม่ รอบ ๆ ตัวเราเปลี่ยนหรือไม่ แล้วจึงดูว่าเราจะไปในทิศทางใด หัวหน้าหน่วยยังคงมีความเฉียบคมหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของ กคช.ในมุมมองของอาจารย์ไกรฤทธิ์ เห็นว่าการต้อนรับขับสู้ยังคงดีเหมือนเดิม ส่วนที่เปลี่ยนคือรู้เท่าทันคนนอก เช่น กฟน. กทม. การเคหะฯ อย่างใจดีเกินไป คนไม่ดีก็ไม่ต้องไปกลัว เครื่องมือเครื่องใช้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มีวิธีการจัดเก็บความรู้ที่เป็น KM เป็นอย่างดี พี่ๆ ต้องให้ความรู้แก่น้องๆ

ในมุมมองของผมเห็นว่าจุดยืนของการเคหะฯ ในอนาคต 10 ปี ข้างหน้าคงเปลี่ยนแปลงบ้างแต่ไม่มาก อย่างไรก็คงทิ้งภาพการเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ช่วยเหลือคนจนไปไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำก็คงไม่มีหน่วยงานไหนทำ การเคหะฯ มีพื้นที่ที่ต้องเช่าที่ดินของหน่วยงานของรัฐทำอาคารแฟลตเช่าเพื่อช่วยเหลือคนจนไม่ว่าจะเป็นการท่าเรือฯ โครงการแฟลตเช่าคลองเตย การนิคมอุตสาหกรรมฯ โครงการแฟลตเช่าบางชัน เดิมค่าเช่าที่ดินมีราคาถูกการเคหะฯ ให้เช่าแฟลตเดือนละ 300 -1,000 บาท ปัจจุบันหน่วยงานเหล่านี้ก็ขึ้นค่าเช่าจนการเคหะฯ บริหารงานต่อไปไม่ได้แฟลตเช่าคลองเตยต้องส่งคืนการท่าเรือไป แฟลตเช่าบางชันก็กำลังพิจารณาจะส่งคืนการนิคมอุตสาหกรรมฯ เช่นเดียวกัน คำถามของสังคมก็คือถ้าหน่วยงานของรัฐคิดกันแต่เพียงการหารายได้คนจนจะอยู่ในสังคมได้อย่างไร ในอนาคตอันใกล้การเคหะฯ มีงานที่ต้องรีบดำเนินการคือการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้บุกรุกพื้นที่คูคลองเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม กทม. คนของการเคหะฯ รู้ดีเลยว่าไม่ใช้เรื่องง่ายทำปีนี้อีกกี่ปีจะเสร็จ ประสบการณ์การรือย้ายแบบนี้การเคหะฯ เคยทำมาแล้ว รือแล้วจะควบคุมไม่ให้มาสร้างใหม่ได้อย่างไร กทม.มีแผนรองรับแล้วหรือยัง การก่อสร้างโครงการในอนาคตจะเป็นโครงการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีแผนการทำโครงการที่ใช้วัสดุที่ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น อาคารแฟลตมีการศึกษาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการบำบัดน้ำเสียของอาคาร ปัญหาที่ดิน Land bank ผมไม่มองว่าเป็นปัญหาไปเสียทุกแปลงในอดีตการเคหะฯ ซื้อที่ดินบางพลี และร่มเกล้า ราคาเฉลี่ยไร่ละ 20,000 กว่าบาท ในวันนั้นคนด่ากันทั้งเมืองว่าแพง ในวันนี้ที่ดินทั้ง 2 แปลงทำรายได้ให้การเคหะฯ มากมายมหาศาล การได้รับฟังการอบรมในวันนี้ทำให้ผู้บริหารในอนาคตตระหนักถึงแนวคือของบุคคลภายนอกที่เป็นห่วงอนาคตของการเคหะฯ ว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร สิ่งที่การเคหะฯ จะดำเนินการต่อไปคงได้นำข้อคิดเห็นไปวิเคราะห์ปัญหาได้ ผู้นำของการเคหะฯ ในอนาคตต้องมีความกล้าหาญ ต้องมีความเฉียบคมเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานจึงจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ธวัช บุญครองเกียรติ

วันที่ 27 มิย. 55

จากการนำเสนอ ชี้แนะ ให้ข้อคิดเห็น ประเด็นวิเคราะห์ วิสัยทัศน์ พันธะกิจ กลยุทธย์ วัฒนธรรมองค์กร การตลาด การเงิน และการผลิต ของ กคช. จากมุมองภายนอกของ วิทยากรทั้ง 3 ท่าน ที่ คอยๆกระตุ้น เปิดโอกาสให้พนักงานทุกท่านได้ช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ หรือเป็นการดึงศักยภาพโดยรวมของพนักงาน ให้แสดงออกโดยแชร์ความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นใหม่ในประเด็นท้าทาย กคช.หลายมุมมอง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว ถือว่าเป็นการจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไปของ กคช.และสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์


                                                                         ธวัช บุญครองเกียรติ
ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันพุธที่ 27 มิย.55 วันนี้เป็นหัวเรื่อง การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. ในด้านวัฒนธรรม การตลาด การผลิต และการเงิน

วัฒนธรรมองค์กร ถูกสร้างขึ้นด้วยคน แต่ก็ยังไม่เป็นคำตอบที่ถูกนัก ต้องมี Spilrit ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ส่วนของ กคช. มุมมองของ อ.ไกรฤทธิ์ฯ ในฐานะที่ได้สัมผัสกับองค์กรมาหลายยุค โดยได้เข้ามาหลายครั้ง คนในองค์กรต้อนรับขับสู้เหมือนเดิมซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ดีสืบทอดกันมา แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นสมควรเปลี่ยน คือการรู้เท่าทันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

วัฒนธรรม กคช. ที่หลายคนรับรู้ และดำเนินอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้แก่ กิจกรรมวันสถาปนา กคช. วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอนนำเสนอตามลำดับสายการบังคับบัญชา การเคารพผู้อาวุโส

ด้านการตลาด อ. พงษ์ชัยฯ ให้ความหมายไว้ว่า การทำอย่างไรหรือวิธีไหนก็ได้ให้เกิดความอยาก เมื่อ 40 ปีก่อน กคช. ไม่มีคู่แข่งการทำบ้านราคาถูก เพราะส่วนหนึ่งรัฐอุดหนุน แต่ขณะนี้ มีหลายบริษัทที่ทำอสังหาฯราคาที่ถูกกว่า กคช. ดังน็น กคช. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องหาช่องว่าของตลาดให้ได้ว่า ควรจะผลิด หรือมีผลิตภัณฑ์อะไรกันแน่ ที่จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหรือไม่ หรือมีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด

 วิเคราะห์การผลิต เป็นการสร้างจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนผลิต และรูปแบบบ้านไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบชานเมือง เป็นการสร้างแล้วขาย หากขายแล้วสร้างจะเน้นระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

วิเคราะห์การเงิน กคช.จะมีรายรับจากการโอนที่อยู่อาศัย และบริหารสินทรัพย์เช่า แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ รวมถึงต้นทุนสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นกัน จึงมีความเสี่ยงทางการเงินในสินค้าคงค้าง และภาระหนี้ระยะยาวที่ค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่างบการเงินในปี 2553 กคช. ไม่ติดลบก็ตาม และในอนาคตงบการเงินเป็นอย่างไร หากติดลบ เป็นด้วยปัจจัยอะไร ที่ทุกคนจะต้องแก้ปัญหา

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555 หัวข้อ “ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ ”

        ( ด้านการตลาด / การเงิน / วัฒนธรรม / การผลิต )
                ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร โดยประเมินจากหัวข้อ 
    ดังนี้
         1. พิธีกรรม
         2. วิธีการทำงาน
         3. Hero
           4.ก๊วน
         5. การสื่อสาร
         6. การจัดการปัญหา
         7. การตัดสินใจ
               โดยการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ถ้า 2 กลุ่มมีข้อสรุปที่ตรงกันมาก แสดงว่าองค์กรมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
                นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการสร้างแบรนด์ใหม่ ( rebrand )
                   สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน คือ ทำให้เกิดแนวคิดเชิงบริหาร และแนวคิดทางการตลาด ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้งมีความเข้าใจดียิ่งขึ้นว่าทุกกระบวนการในการทำงานขององค์กรมีความเกี่ยวข้องกับการตลาด สอดคล้องกับระบบการประเมินผลรูปแบบใหม่ ( SEPA ) ซึ่งเน้นด้านการตลาดและลูกค้า เป็นสำคัญ
                                                                                                            ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

    ผู้นำ ถือว่ามีส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กร สถาบัน ชุมชน หรือครอบครัว อยู่รอด ให้เจริญเติบโต อย่างยั่งยืน ให้ได้ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
    จากการอบรม ได้เรียนรู้สไตล์ หรือรูปแบบของผู้นำแต่ละท่านที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแต่ละท่านจะต้องสร้างเสริมศรัทธา บารมี อำนาจ ความน่าเชื่อถือ ความนิยม (เสน่ห์) สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน 
    ผู้นำต้องเป็นนักคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Thinking) ประเมินสถานการณ์ (Swot Analysis) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย (Goals) การทำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Implementation) การควบคุมและประเมินผล (Evaluation and Control) ผู้นำต้องมีทักษะในการตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ให้กับผู้ตาม 
    การที่จะเป็นผู้นำของการเคหะแห่งชาติ สามารถนำองค์กรให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ในสภาพการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานเหล่านี้ และพัฒนาการให้เกิดทักษะ (Skill) ที่สามารถกระจายไปสู่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร (Share Value) หรือ Knowledge Management

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลง

    การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะขององค์กร และบุคลากร รวมทั้งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ เริ่มจากการมองภาพภายในองค์กร (Inside out) และมองภาพจากภายนอกองค์กร (Outside In) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่าแต่ละช่วงนั้นมีค่านิยม วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ มีความชัดเจน มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง และมีส่วนร่วมของบุคลากร ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย ได้มากน้อยเพียงใด
หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่สำคัญ
    1. การบริหารจัดการทิศทางการเปลี่ยนแปลง
    2. การพัฒนาความสามารถของบุคลากร
    3. การพัฒนาปรับปรุงบุคลากรให้เข้ากับองค์กร
    4. การพัฒนาความพร้อมขององค์กร
วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง
               - การสร้างความภาคภูมิใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร
       - การปรับวัฒนธรรมที่ต้องเสริมการทำงานร่วมกัน
       - การทำงานที่มุ่งผลสำเร็จร่วมกัน
       - การมุ่งเน้นการทำงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
กิจกรรมที่จะผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน
        - การจัดกิจกรรม Team Builling 
        - การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
        - การมอบหมายบทบาทและหน้าที่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
        - การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
                - การขยายผลการจัดทำ Workshop ของ Change Agent Team จากระดับบนสู่ระดับกลางและระดับล่าง
กระบวนการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง
1. พิจารณาวิสัยทัศน์ขององค์กร ว่ามีภาพอนาคต หรือปลายทางที่หวังให้เป็น หรือให้ไปถึงอย่างไร ต้องเป็นภาพที่ชัดเจนแน่นอน สามารถไปถึงได้ และทุกคนในองค์กรต่างรับรู้ร่วมกัน 
    2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ / กิจกรรม / โครงการ ที่สามารถบรรลุวิสัยทัศน์
3. กำหนดเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ว่า องค์กรมีความคาดหวังอะไร
4. สังคมวิเคราะห์ จากประเด็นยุทธศาสตร์ ว่ามีกระบวนการ หรือวิธีการดำเนินการอย่างไร ที่สามารถผลักดันให้ประเด็นยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จ

การวิเคราะห์ต้านการตลาด และประเด็นท้าทายที่กระทบ การเคหะแห่งชาติ

Marketing Research การค้นหาความต้องการของลูกค้าในมุมมองของวิทยากร ต่อ กคช. ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ส่งผลให้การจัด Segment และกำหนด Tarket Market ไม่ชัดเจน การวาง Positioning เพียงเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น จึงไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ หรือเกิดความเสี่ยงสูงมากในการประกอบการของ กคช.
เพราะฉะนั้น กคช. ควรจะกำหนด Segment tarket Market และ Positioning ให้ชัดเจนกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ามีทางเลือกมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้สินค้าคงเหลือมียอดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบทางไม่ดีต่อการประกอบการของ กคช.
ที่ผ่านมา กคช. มีข้อเสนอที่ดีที่เห็นเด่นชัดคือ Price ในอนาคต ควรจะเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ สถานที่ทั้งโครงการ รูปลักษณ์ของตัวอาคาร หรือมีลูกเล่นทางด้าน Emotion ด้วย แทนที่จะเน้นแต่ Function อย่างเดียว เงื่อนไขที่ดี และหลากหลายพร้อมด้วย Pricing ก็ควรจะคงไว้ แต่เพิ่มเติมด้าน Place และ Emotion ให้มากขึ้น เพื่อการเจาะหาลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น
การกำหนด Strategies ให้สอดคล้องกันทั้งระดับ Corperat Policy Business Unit และ Fuction เพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำ Actionplan และ Implementation 
Evaluation and Control ควรนำระบบ BSC และ KPi มาใช้และกระจายหัวข้อ หรือประเด็นที่จะวัดให้มากขึ้นกว่านี้
ประเด็นท้าทายของ กคช. 
* ภัยธรรมชาติ , เศรษฐกิจ , การสื่อสารไร้พรมแดน , วัฒนธรรม , สังคม , การเมือง , กฎหมาย , การเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีมากขึ้น , การรวมตัวของอุตสาหกรรม , การเพิ่ม/ลดการแทรกแซง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์
การบริหารจัดการการตลาดในอนาคต ควรจะให้ความสำคัญกับตลาดบูรณาการ (Folistic Marketing) 
การตลาดภายในองค์กร (Internal Marketing) คือ การประสมเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ระดับบน กลาง ล่าง ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร    ให้บรรลุเป้าหมาย
* การตลาดภายนอกองค์กร (External Marketing) เน้นการสื่อสาร ปริมาณลูกค้า และตัวแทนจำหน่าย ให้เกิดความเชื่อมั่น (Royalty Brant)
* การตลาดที่มีความสัมพันธ์ภาพ (Relationship Marketing) คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเก่า ตัวแทนการจัดจำหน่าย และผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดทำ CRM อย่างสม่ำเสมอ
* การตลาดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Responsibility Marketing) ให้ความสำคัญกับชุมชน สถานที่ตั้งโครงการ ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าเราในอนาคต ลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์กร เงินให้ทุน ปลูกฝังเพื่อสร้างความศรัทธาและให้ชาวชุมชนสนับสนุน (CSR)
Workshop การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ :โดยการเขียนMind Map
1) วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร
2) ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น LC – Learning Culture และ LO – Learning Organization
3) การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
4) การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ “Cross Functional Team” กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

กลุ่ม 1 วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร

ความสำเร็จขององค์กร มาจากรากฐานที่สำคัญ คือการมีคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน

คุณสุทธิเดช    คุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืนเป็นนามธรรม การจะทำต้องมีตัวอย่างให้ดู มีคนนำในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์

อาจารย์ธัญญา  กลุ่มนี้เลือกคนนำเสนอได้ดีมากให้คะแนนเต็ม  ฝากให้ดูภาพยนตร์อินเดีย เพราะสอดแทรกเรื่องจริยธรรมได้ดีมาก

อาจารย์รวิภาส  เรื่องคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ  คุณธรรมจริยธรรม อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำควบคู่กับระบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วย  

อาจารย์ทำนอง  คุณธรรมและจริยธรรม เป็นรากฐานที่สำคัญ ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

กลุ่ม 2 ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น LC – Learning Culture และ LO – Learning Organization

อาจารย์ทำนอง  สามารถเพิ่มเติมประเด็นได้มากกว่านี้อีกหรือไม่ในอนาคต

กลุ่ม 2  ในอนาคตต้องดูว่าจะทำให้ลึกว่านี้ได้มากเพียงใด เพราะจุดนี้เป็นแค่กรเริ่มต้น คงต้องรออีก 2-3 ปี

อาจารย์รวิภาส  ต้องเขียนว่าอะไรเป็นยุทธศาสตร์ในส่วนของ LC นอกจากการสร้างความผูกพันในองค์กร แล้วควรเพิ่มอย่างอื่นอีก

อาจารย์ธัญญา  mind map ยังมีรูปน้อยไป  แต่ควรเพิ่มจากสมองซีกขวาให้มากกว่านี้  ควรเขียน 2 ใบ ใบแรกควรใส่สิ่งที่คิดลงไปทั้งหมดก่อน แล้วใบที่สอง ค่อยเน้นเรื่องความสวยงาม ในเรื่องพี่สอนน้อง อาจได้แค่เรื่องประสบการณ์จริง ควรสอนเรื่องใหม่ๆด้วย

คุณสุทธิเดช   เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่จะสามารถทำ LOได้ง่าย ควรสร้างความเป็นทุนมนุษย์ของบุคคลากรภายใน เรื่องของจริยธรรม ของคนในองค์กร เพื่อสร้างให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง

กลุ่ม 3 การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Talent Management คือ

คุณสุทธิเดช  การหาTalent group ต้องให้กลุ่มที่มีระดับเดียวกันให้ความเห็นเบื้องต้นว่าจะคัดเลือกใคร 

อาจารย์ธัญญา  Talent Management ในเรื่องการบริหารค่าจ้าง จะทำให้การบริหารคนเก่งทำได้ยาก ระบบญี่ปุ่น มีการจ่ายเงินเดือนตามความต้องการของแต่ละคน เช่น คนมีบุตรจะได้เงินเดือนต่างจากคนที่ไม่มีบุตร

อาจารย์รวิภาส เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร บทสรุปของยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่ Talent Management ยังไม่ชัดเจน  ต้องมีการจัดการกระบวนการให้ดี ว่ากระบวนไหนเป็น Talent และต้องที่ยอมรับของคนในองค์กรได้  และต้องมีวิธีการที่จะรักษาคนเก่งไว้ให้ด้วย

กลุ่ม 4 การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ “Cross Functional Team” กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

การกำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม ต้องมีการมองปัญหาในองค์กรให้ได้ก่อน ถึงจะสามารถกำหนดยุทธวิธีได้

อาจารย์รวิภาส  มีการวิเคราะห์ปัญหาก่อน แล้วค่อยทำ Cross Functional Team ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ดีมาก

อาจารย์ธัญญา  เป็นกลุ่มที่มีการเขียน Mind Map ที่ดีมาก ทั้งเรื่องเนื้อหา และวิธีคิด

คุณสุทธิเดช  เรื่อง Cross Functional Team เป็นเรื่องที่ยาก แต่กลุ่มนี้สามารถเขียนออกมาได้ดีมาก

ในการเข้ารับการอบรมในวันที่ 27 มิถุนายน 2555 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ (ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต) ได้แนวคิดจากการฟังการบรรยายของดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล เป็นการเปิดมุมมองทางด้านการตลาดในเชิงธุรกิจภาคเอกชนซึ่งสามารถมาปรับใช้กับองค์กรของเราได้ ดังนี้ 1. สิ่งที่การเคหะฯทำอยู่ตอบสนองช่องว่างทางการตลาดหรือไม่ ถ้าไม่ ควรหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้า 2. ทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่นิยมของตลาด 3.ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

ในความเห็นส่วนตัว ณ ขณะนี้การเคหะฯ ควรมุ่งเน้นทางด้านการตลาดมากกว่าเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลงานของการเคหะฯ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัย สร้างบ้านของลูกค้าเป็น home มากกว่า house เพราะที่ผ่านมา การเคหะฯ สร้างผลงานมากมายด้านการดูแลหลังการขาย แต่มิได้สื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบมากเท่าที่ควร

ส่วนในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร เมื่อได้ทำ workshop แล้ว ในกลุ่มที่ทำเรื่องเดียวกัน ได้แนวคิดออกมาคล้ายๆ กัน แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรของเราได้เข้มแข็ง น่าปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็น่าจะมีผลเสียอยู่บ้างคือแนวคิดที่ฝังรากลึกอาจเปลี่ยนแปลงยากหากต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในยุค AEC

อรชร กิจสุบรรณ

27 มิ.ย. 2555 สรัญญ์ โสภณ การบริหารกลยุทธองค์กร

ในการดำเนินงานขององค์กร โดยทั่วไปสิ่งที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนหลักๆ มีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ การตลาด การผลิต การเงิน  และการบุคคล โดย 4 องค์ประกอบนี้จะทำได้ดีเพียงใดจะต้องมีหน่วยสนับสนุนที่ดีด้วย
ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ กคช.ในยุคแรกๆ เรียกได้ว่ามีการตลาดนำก็ว่าได้ คือ กคช.มีการศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยในภาพรวมของประเทศ โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติประชากรที่เพิ่มขึ้น การรื้อถอนบ้านพักอาศัยและการปลูกบ้านใหม่ ฯลฯ ว่าในระยะเวลา 5 ปี ประเทศจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเท่าใด จากนั้นจะวิเคราะห์ว่าภาคเอกชนจะเข้ามารับจัดหาที่อยู่อาศัยไปเท่าใดเป็นประชากรที่มีระดับรายได้เท่าใด กคช.จะรับหน้าที่จัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับประชากรที่มีรายได้น้อยจำนวนเท่าใด ซึ่งก็เหมือนกับว่ามีความชัดเจนว่าจำนวนที่อยู่อาศัยในส่วนของผู้มีรายได้น้อยนี้จะหน้าที่จะเป็นตลาดของ กคช.โดยไม่มีคู่แข่งเนื่องจากในแง่ของธุรกิจแล้วที่อยู่อาศัยที่ กคช.รับภาระนี้จะไม่สร้างกำไรที่น่าพึงพอใจให้กับนักลงทุน โดย กคช.มีบุคลากรที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ในจำนวนที่เหมาะสมกับภารกิจที่จะดำเนินการ
ต่อมาเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนที่ลูกค้าของตนคือผู้มีรายได้สูงเริ่มอิ่มตัวประกอบกับมี การแข่งขันสูง ทำให้ภาคเอกชนเริ่มหันเข้ามาหาผู้ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูก ทำให้ดูเหมือนว่าผู้มีรายได้น้อยมีทางเลือกในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น หรือ กคช.ถูกภาคเอกชนเข้ามาแย่งตลาด แต่ในความเป็นจริงลูกค้าส่วนใหญ่ของภาคเอกชนยังเป็นผู้ที่มีรายได้สูงกว่าลูกค้าของ กคช.โดยสามารถพิจารณาได้จากการเข้าถึงสถาบันการเงินได้ไม่ยากนัก ดังนั้น การที่เห็นว่าที่อยู่อาศัยของ กคช.ขายไม่หมดมีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก ไม่ใช่มีผลพวงมาจากคู่แข่งภาคเอกชนของ กคช.เท่านั้น แต่เป็นผลพวงมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ทำเลที่ตั้งโครงการไกล ส่งผลต่อความไม่สะดวกในการเดินทางไปทำมาหากินและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง  ส่งผลต่อการการขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการบางประการ ฯลฯ ตลอดจนการดำเนินโครงการของ กคช.ที่ล่าช้าไม่แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดไว้ทำให้ผู้สนใจต้องขวนขวายหาซื้อที่อยู่อาศัยจากภาคเอกชนแทน ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้มีปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่อิทธิพลทางการเมือง ต้นทุนที่อยู่อาศัยต่อรายได้ของผู้มีรายได้น้อย การที่รัฐไม่สามารถจัดการให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ในปัจจุบันยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของ กคช.
อย่างไรก็ดี กคช.ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและมีความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ โดยได้ผลักดันให้องค์กรเดินไปข้างหน้าโดยมีการวางตำแหน่งขององค์กรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของชาติ มีการพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบ  ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเมือง  เศรษฐกิจทั้งในระดับชาติหรือภูมิภาค สังคม เทคโนโลยี นิเวศวิทยา และกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือช่วยกันให้กลยุทธ์ที่วางไว้บรรลุผลให้ได้

2 กรกฎาคม 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

1. ได้เข้าใจตรงกันในความหมายของทุนมนุษย์ คือ ผู้ที่อยู่ในองค์กรมองว่าเป็นทุน เป็นแรงงานของคนในองค์กร เป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า นำไปต่อยอดบูรณาการได้ทุกเรื่อง

2. ให้เข้าใจตรงกันในความหมายของคำว่ากลยุทธ์ Strategy เป็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์เป็นสิ่งที่เป็นกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย หรือเป้าหมายมีลำดับความเป็นไป

3. การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือ การเอาศักยภาพของมนุษย์ในองค์กรมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทำให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ (ที่กำหนดไว้) ขององค์กร (ACTION PLAN)

4. เมื่อทราบความหมายที่แท้จริง และตรงกันแล้ว จึงสามารถดำเนินการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นกระบวนการต่อไป

5. กระบวนการจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของ กคช. สามารถดำเนินการได้เป็นลำดับ ดังนี้

• วิเคราะห์ภาวะภายในองค์กร และภายนอกองค์กร หาจุดอ่อนจุดแข็งโดยใช้ SWOT ANALY SYS หาขนาดประชากร ลูกค้า เป้าหมายวิเคราะห์ปัญหาที่คาดว่าจะมีมาในอนาคต เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหานั้น ๆ

• เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้มากำหนดทิศทางอนาคตองค์กร กำหนด VISION 10 ปีโดยประมาณ

• วิเคราะห์ทุนมนุษย์ในองค์กร วิเคราะห์ส่วนงานแต่ละส่วนถึงความมีอยู่ ความเหมาะสม ลดขนาด แบ่งส่วนเพิ่มขนาดของแต่ละ UNIT

• พัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

• กำหนด Action Plan

• ปฏิบัติให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ 6 แผนที่กำหนดไว้

6. ทำให้ทราบว่าการสู่ความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ของ กคช. จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้

6.1 ความเป็นผู้นำในองค์กรต้องมีการพัฒนาสมรรถนะของคน และต้องพัฒนาต่อเนื่อง มี Leader Ship ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์

6.2 มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์ครบถ้วนถูกต้องตามกระบวนการ เช่น การวิเคราะห์ นำปัญหามาสังเกต วิเคราะห์ความสามารถของคนในองค์กร มาเป็น Action Plan และ นำไปปฏิบัติ

6.3 ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ มีการพัฒนา มีการจ้างเพิ่ม มีวิธีการรักษาคนเก่าไว้ในองค์กร

6.4 การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร เน้นหวังผลลัพธ์ ต้องนำไปสู่เป้าหมายได้ผลตรงตาม วัตถุประสงค์ขององค์กร

ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารทุนมนุษย์ ณ ปัจจุบันสู่กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ของ กคช. ได้ทุก ๆ กระบวนการ เพราะทุนมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชาติ ต้องจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพมากำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อรับมือและแก้ปัญหาที่จะมีมาในอนาคต

-------------

2 กรกฎาคม 2555

อรพิณ สุขทรงศิลป์

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตส่งการบ้านคร้ังที่ 4 ค่ะ

อรพิณ

นายดารนัย อินสว่าง
              เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ได้รับคณะอาจารย์มาให้ความรู้ในเรื่องการบริหารทุนมนุษย์ เชิงกลยุทธ์  ซึ่งจากการรับฟังของคณะอาจารย์ทั้ง 4 ท่าน ทำให้เราได้เข้าใจถึงทุนมนุษย์ที่แท้จริง 

การดำเนินการเพื่อจะทำกิจกรรมอะไรก็ตามจะต้องมีต้นทุน ต้นทุนที่สำคัญก็คือคน คนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานจึงจะทำให้องค์กรมีความเจริญ การบริหารมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือ การบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยการทำแผนตามยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งการเคหะแห่งชาติมียุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์

การอบรมในวันนี้นับได้ว่าได้ประโยชน์อย่างมาก และช่วงบ่ายได้มีกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มได้มีการระดมสมองในเชิงวิชาการให้ได้ความรู้ความเข้าใจในการทำแผนงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในอนาคต
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ อ.ทำนอง ดาศรี อ.วิภาส กล่ำทวี อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ อ.ธัญญา ผลอนันต์ วันที่ 02/07/2555 เวลา 0830 - 1700 น.

   ทุนมนุษย์ คือ บุคลากรที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูง มีจิตผูกพันรักในองค์กร

และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มุ่งแสวงหาโอกาสเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรอย่างยั่งยืน

   ความหมายของทุนมนุษย์ที่นำไปสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์
      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
      ความคิดใหม่มุ่งเน้นไปที่พนักงานแต่ละคน
      การลงทุนคือกุญแจสำคัญ

MIND MAP คือเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองทั้ง2ซีกของมนุษย์ในการคิด เขียนเรื่องราว เพื่อที่จะสามารถจด จำ ได้อย่างแม่นยำ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม การทำ work shop แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เพื่อทำ mind map ตามหัวข้อ 1.วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร 2.การเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3.การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management 4.การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีม “Cross Functional Team”

                                                                                   นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 หัวข้อ “ การบริหารมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ”

           ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรมคือ ได้รับรู้เครื่องมือการสร้างทุนมนุษย์ ของ กฟภ. ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย
         -  Learning  Organization
           -    Balanced  Scorecard
           -    Multi-Level  Marketing
           -    Best  Practices
           -    Walk  Rally @ Org.Level
              นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้การทำ  Mind  Map  ซึ่งเป็นเครื่องมือแปลงความคิดออกมาเป็นภาพอย่าง

เป็นระบบ ครอบคลุม และมีเหตุผล

            สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างทุนมนุษย์ในระยะแรก คือ การเสนอให้จัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนความรู้จากการจัดทำ Mind Map จะนำไปใช้ในการจัดทำรายงานกลุ่ม และบทความทางวิชาการเรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการทำงานของการเคหะแห่งชาติต่อไป
                                                                                                                          ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
วิญญา สิงห์อินทร์
                                                        สรุปหนังสือ 8 K's + 5K's
                                               8 K's ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์
                K1  ทุนมนุษย์ (Human Capital) มาจากการศึกษา/ โภชนาการ/ ฝึกอบรมการศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบ  เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของทุนมนุษย์จากสมรรถนะ,  ทักษะเป็นต้น
                K2  ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) มาจากการคิดวิเคราะห์  เพื่อแก้ปัญหาสำคัญที่การคิดเป็น  ซึ่งสามารถได้จากการเรียนรู้ได้โดย - วิธีการเรียนรู้/  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้/  สร้างโอกาสการเรียนรู้/  สร้างชุมชนการเรียนรู้
                K3  ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม (Ethical Capital)  มาจากการคิดดีทำดีมีจิตสาธารณะ
                K4  ทุนแห่งความสุข (Hapiness Capital) เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ควรให้สอดคล้องสมดุลกับการดำเนินชีวิตการทำงาน  เพราะถ้าคนเราทำงานอย่างมีความสุขคุณภาพงานก็จะดี
                           4K แรกเป็นส่วนบุคคล (ปัจเจก)  4K หลังเกี่ยวกับสังคม/  สิ่งแวดล้อม
                K5  ทุนทางสังคม (Social  Capital ) เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุนอย่างดีในการทำงาน  การมีเครือข่ายที่ดีจะเสริมการงานให้ประสบความสำเร็จ
                K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability  Capital)  ปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                      -  มองระยะยาว
                      -  สอดคล้องสภาพแวดล้อม
                      -  มีคุณธรรมจริยธรรม
                      -  คิดเป็นวิทยาศาสตร์
                      -  กระจายอำนาจและทรัพยากร
                      -  พึ่งพาตัวเองได้
                K7  ทุนทางเทคโนโลยี (Digital  Capital) ให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่จะให้ความรู้ความสามารถ  เพื่อพัฒนาด้านต่างๆ
                K8  ทุนทางอัจฉริยะ (Talented  Capital) คนที่ต้องมีเพื่อความสำเร็จ 
                      -  ทักษะ
                      -  ความรู้
                      -  ทัศนคติ  

                                              5 k’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพ
                K1   ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)  มาจากการคิดนอกกรอบมีจินตนาการ
                K2  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  ต้องรู้ตามความเป็นจริงและตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ 

(มีข้อมูลเอกสารที่จำเป็นและสำคัญอย่างเพียงพอ)

                K3 ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆให้มีคุณค่ามี  3  องค์ประกอบสำคัญ
                      -   คิดใหม่สร้างสรรค์และนำมาผสานความรู้
                      -   นำไปปฏิบัติได้จริง
                      -   ทำให้สำเร็จ
                 K4  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital) ตระหนักในความสำคัญทางวัฒนธรรม  ซึ่งสำคัญในการสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคม
                 K5  ทุนทางอารมณ์ (Emotional  Capital) รวมถึงภาวะผู้นำในระดับบุคคล ชุมชนประเทศชาติ
วรุณพร กาญจนวัฒน์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 เป็นวันที่ 4 ของการอบรม ได้รับความรู้เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ทำให้เข้าใจว่าเรื่องทุนมนุษย์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่สำคัญขององค์กร แต่ไม่ใช่ต้นทุน องค์กรต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของคนในองค์กรให้มากที่สุด ต้องมีกลยุทธ์ที่จะเค้นหรือคั้นเอาศักยภาพ ทักษะ ความสามารถ ภูมิปัญญา สติปัญญา ของคนออกมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน เพื่อทำให้ วิสัยทัศน์ขององค์กรประสพผลสำเร็จ โดยองค์กรจะต้องมีการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญๆที่เป็นจุดอ่อนซึ่งก็คือ คน ทำอย่างไรเพื่อให้ทุนมนุษย์มีศักยภาพ เตรียมจัดทำแผนระยะสั้นระยะยาว วิเคราะห์แรงงานในองค์กรว่าควรจะเพิ่มหรือลด วิเคราะห์ทักษะความสามารถของคน ต้องเสริมเพิ่มเติมทักษะด้านใด เช่นด้านภาษาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ ทักษะด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อวิวํฒนาการของโลก โดยเฉพาะบุคคลที่จะเตรียมเป็นผู้บริหารในอนาคต เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วว่าจะรับคนเข้ามาอย่างไรก็ต้องมีแผนพัฒนาคนทั้งคนใหม่และคนเก่า เพื่อทำให้เขาทำงานอย่างมีศักยภาพ ยาวนาน จนเกษียนอายุ และต้องมีการติดตามประเมินผล ปรับเปลี่ยน และแก้ไขตามสถานะการณ์ต่างๆ มีการยกตัวอย่างการบริหารองค์กรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้รู้และเข้าใจโครงสร้างและการบริหารงาน ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องทุนมนุษย์เช่นกัน เป็นองค์กรหนึ่งที่ประสพความสำเร็จและเป็นองค์กรตัวอย่างที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เรื่อง mind map เป็นการช่วยบันทึกความคิดลงในกระดาษเพื่อสามารถนำไปใช้งานต่อได้ ทันทีทุกครั้งที่ต้องการ เป็นการทบทวนเรื่องที่ทำแล้ว หรือเพื่อนำไปเขียนรายการโครงการต่าง ๆ ช่วยให้สมองของเราอย่างสนุกสนานกับมันเสมอ ทำให้ความคิดไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับความคิดใหม่ ๆ ไม่มีกรอบมากั้นโดยวิธีให้คิดเป็นภาพ ด้วยการลากเส้นจากแก่นแกนที่เปรียบเหมือนต้นไม้ ตรงแก่นแกน จะเน้นความสำคัญของประเด็นหลัก และลากเส้นที่เรียวโค้งคล้ายกิ่งของต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขา ตรงกิ่งก้านที่แตกแขนงออกมา จะลงรายละเอียดประเด็นย่อยที่เชื่อมโยงกับประเด็นหลัก แยกย่อยไปเรื่อยๆ เท่าที่จะคิดได้ และแต่ละกิ่งก้านก็ลงสีสันต่าง ๆ พร้อมทั้งเน้นความหนาบาง เพื่อให้เด่นและจำง่ายขึ้น ช่วยในการวางแผนงาน บริหารงานและการตัดสินใจ

วิญญา สิงห์อินทร์
                    การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์   2 ก.ค. 2555   อ.ธัญญา,  อ.ระวีภาส,  อ.สุทธิเดช
              อ.ระวีภาส  นำเสนอทุนมนุษย์เป็น Asset มีมูลค่านำไปต่อยอดได้  สำคัญที่ต้องเค้นเอาศักยภาพในแต่ละคนมาตอบสนองแผนตามยุทธศาสตร์ที่องค์กรวางไว้  กลยุทธ์ที่ดีต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายคือเป้าหมาย  ฉะนั้นกระบวนการจึงสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์  โดยเริ่มจาก Vision → Mission → Action โดยเริ่มวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนทำ SWOT ปัจจัยภายในภายนอก  ซึ่งจุดอ่อนส่วนมากเป็นเรื่องของคน
              อ.สุทธิเดช  นำเสนอเน้นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับ กฟภ. ทุนทางปัญญา/  ความสามารถ/  ความผูกพันองค์กร   

ความสามารถมาจาก - ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน/ ประชุม/ สัมมนา ความผูกพันมาจาก - เข้าใจ ใส่ใจ เอาใจ ได้ใจ เข้าใจ ตัดใจ เป็นต้น ส่วนที่น่าจะปรับใช้กับ กคช. การจัดกลุ่มแนวขวางคือ จัดพนักงานข้ามสายงานอบรมด้วยกันทั้งองค์กรกลุ่มละ 70 – 80 คน เพื่อให้ผูกพันเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรในอนาคต

   อ.ธัญญา  เน้นการใช้  Mind map  ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยเสริมวิธีคิดและจินตนาการ  ซึ่งทำให้ง่ายในการแยกแยะประเด็นและการหาทางแก้ไข
จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ ขอส่งการบ้านวันที่ 25 มิ.ย. 55 ค่ะ

  1. เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ครั้งที่ 2 (เช้า) วันนี้ได้ความรู่ความเข้าใจเรื่องความหมายของ Mission , Mission , Vision, Core Value วิทยากรได้เน้นความรู้เกี่ยวกับ Mission , Vision, Core Value ที่ดีเป็นอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง US ARMY มหาดไทย ฯลฯ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์สิ่งแวกล้อมภายในภายนอก จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์ Stakeholder ขององค์กร ฝึกกำหนด Mission , Vision, Core Value ขององค์กรในอนาคต อีก 10 ปีข้างหน้า เอามาปรับใช้อย่างไร หลังจากฝึกอบรมแล้ว ก็จะดำเนินการกำหนด Mission , Mission , Vision, Core Value ตามกระบวนที่ได้ฝึกทำใน Workshop ทั้ง 4 กลุ่ม โดยผ่านกระบวนการคิดที่เป็น Creative Thinking

  2. เรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร (บ่าย) สิ่งที่ได้ ได้เปิดรับกลยุทธ์การบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้ให้เสนอแนะให้การเคหะ Positioning ตัวเองให้ชัดเจน ว่ากคช. จะทำอะไร และขณะนี้ทำอะไรอยู่ รวมทั้งให้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดค้องกับการ Positioning ตัวเองเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน ถ้าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งปรับเปลี่ยน Mind Set ของคนในองค์กรก็ต้องทำ รวมทั้งเสนอ ให้ศึกษา Benchmarking ขององค์กรที่ใกล้เคียงกัน แล้วนำมากำหนดกลยุทธ์ของตนเอง เอามาปรับใช้อย่างไร ขั้นต้นต้องคิดว่า จะต้องกำหนด Positioning องค์กรตัวเองให้ชัดเจนและกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน แล้วมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง แล้วมาหากลยุทธ์ แนวทางกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งของตนเอง จะนำมาดำเนินการในแผนยุทธศาสตร์ปี 2556 -2559

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ ขอส่งการบ้านวันที่ 27 มิ.ย. 55 ค่ะ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ - การวิเคราะห์การตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร และการผลิต ของการเคหะแห่งชาติ สิ่งได้มีความรู้ความเข้าใจจากการวิเคราะห์ การตลาด การเงิน การผลิต และองค์กร จากวิทยากรทั้ง 2 ท่าน รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์ การตลาด การเงิน การผลิต เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน และกคช. จะเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างไร

เอามาปรับใช้อย่างไร

ซึ่งะนำความรู้ที่ได้มาฝึกให้ผู้บริหารการเคหะฯ ได้วิเคราะค์ การตลาด การเงิน การผลิต เปรียบเทียบกันคู่แข่งขัน เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

ขอส่งการบ้านวันที่ 2 ก.ค. 55 ค่ะ

เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

สิ่งได้จากการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจความหมายทุนมนุษย์ แนวคิดของทุนมนุษย์ กระบวนการสร้างทุนมนุษย์ ได้รับทราบกรณีศึกษากระบวนการสร้างทุนมนุษย์ในกฟภ. เครื่องมือในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยการใช้ Mind Mapping พร้อมทั้งได้ฝึกทำWork Shop โดยใช้สมองทั้งสองซีกทำ Mind Mapping ตามโจทย์ที่ได้รับคือ วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร ซึ่งอาจารย์เสนอว่าจะทำต้องมีตัวอย่างให้ดู มีคนนำในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์ และคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ คุณธรรมจริยธรรม อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำควบคู่กับระบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วย การจะให้คุณธรรม จริยธรรมเป็นรากฐานที่สำคัญ ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

เอามาปรับใช้อย่างไร

เอามาปรับใช้ดดยการฝึกใช้สมองทั้งสองด้าน โดยการทำ Mind Mapping ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกค้นคว้า คิด คุย เพื่อหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ฝึกคิดให้กว้างและลึก รู้จักจับประเด็น และวิเคราะห์ประเด็น และนำแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์มาใช้ในกคช. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ 2 กรกฎาคม 2555 รายงานจากนายอรรคชัย ยืนยงอนันต์ ทุนมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งต่อองค์กร ผู้นำและผู้บริหารจะต้องให้ความใส่ใจและจัดทำนโยบายและแผนให้เป็นยุทธศาสตร์หลัก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและทันต่อการเปลี่ยนแปลง การอบรมในช่วงเช้า เป็นการปรับกระบวนการคิด เมื่อผ่านการอบรมในช่วงเช้า ในช่วงบ่ายก็มีการทำ Work Shop ใน 4 หัวข้อ 1. วิเคราะห์การสร้างความสำเร็จขององค์กร โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน 2. องค์กรแห่งการเรียนรู้ 3. Talement Management 4. ทีมแบบข้างสายงาน Gross Eunelion หลังจากอบรมวันนี้ก็นำมาประมวลผลเปรียบเทียบกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ

การเรียนรู้   คัดสรร  การรักษาให้อยู่กับองค์กร

ผู้นำ 14 ท่าน อบรมร่วมหน่วยงานภายนอก เชื่อมโยง คุณธรรม จริยธรรม

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน 

ผู้บริหารระดับสากล อบรมภาวะผู้นำ การบริหารติดตาม ภาษาสากล ความโปร่งใส คุณธรรม การยอมรับ สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน ผู้บริหารระดับต้น Mini MBA ความรู้ ความสามารถ ความทุ่มเท สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นความรัก ต่อองค์กร ในยุคปัจจุบันของการเคหะแห่งชาติ เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคคลากรรุ่นเก่าที่จะออกไปเกือบหมดในปี ๒๕๕๘ และสมาคมอาเซียน (AEC) ที่จะเข้ามา จึงต้องมียุทธศาสตร์หลายรูปแบบให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง 1. ยุทธศาสตร์แห่งการเรียนรู้ เมื่อมีการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ที่เรามีอยู่ เราจึงต้องคัดสรรกลุ่มคนมาเสริมปัญญาด้วยการเรียนรู้ในแนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร การเรียนรู้การเป็นผู้นำ ผู้บริหารที่ดี การเรียนรู้ให้สามารถตั้งรับกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ เมื่อเรียนรู้ทางปัญญาแล้วก็ต้องเสริมสร้างจิตใจ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานด้วยความโปร่งใส ที่สำคัญต้องรักษาไว้ให้ดี ทุนมนุษย์เหล่านี้เราต้องสร้างเพราะการนำเข้ามา จะได้บุคคลากรที่ไม่รักองค์กรเท่าที่ควร มักแสวงหาแต่ผลประโยชน์ 2. ยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันหลายๆฝ่าย ต้องละลายพฤติกรรมคน ที่ทำงานแบบไซโล ปลุกเค้นความรู้สึกในการพัฒนาองค์กร โดยทำงานร่วมกันในทุกฝ่ายทุกสาขาอาชีพ ทำงานเพื่อทุกไซโล

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

แก้ไขรายงานชุดที่ส่งไม่ถูกต้อง

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ

2 กรกฎาคม 2555

รายงานจากนายอรรคชัย  ยืนยงอนันต์

ทุนมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งต่อองค์กร  ผู้นำและผู้บริหารจะต้องให้ความใส่ใจและจัดทำนโยบายและแผนให้เป็นยุทธศาสตร์หลัก  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การอบรมในช่วงเช้า  เป็นการปรับกระบวนการคิด  เมื่อผ่านการอบรมในช่วงเช้า  ในช่วงบ่ายก็มีการทำ Work Shop ใน 4 หัวข้อ

  1. วิเคราะห์การสร้างความสำเร็จขององค์กร โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน
  2. องค์กรแห่งการเรียนรู้
  3. Talent  Management
  4. ทีมแบบข้างสายงาน Cross Functional Team

หลังจากอบรมวันนี้ก็นำมาประมวลผลเปรียบเทียบกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ

 

การเรียนรู้

คัดสรร

การรักษาให้อยู่กับองค์กร

ผู้นำ 14 ท่าน

อบรมร่วมหน่วยงานภายนอก  เชื่อมโยง

คุณธรรม จริยธรรม

 

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน

ผู้บริหารระดับสากล

อบรมภาวะผู้นำ

การบริหารติดตาม

ภาษาสากล

ความโปร่งใส

คุณธรรม

การยอมรับ

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน

ผู้บริหารระดับต้น

Mini MBA

ความรู้

ความสามารถ

ความทุ่มเท

สร้างแรงจูงใจ

กระตุ้นความรัก

ต่อองค์กร

ในยุคปัจจุบันของการเคหะแห่งชาติ  เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคคลากรรุ่นเก่าที่จะออกไปเกือบหมดในปี ๒๕๕๘  และสมาคมอาเซียน (AEC) ที่จะเข้ามา  จึงต้องมียุทธศาสตร์หลายรูปแบบให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง

1.  ยุทธศาสตร์แห่งการเรียนรู้  เมื่อมีการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ที่เรามีอยู่  เราจึงต้องคัดสรรกลุ่มคนมาเสริมปัญญาด้วยการเรียนรู้ในแนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร  การเรียนรู้การเป็นผู้นำ  ผู้บริหารที่ดี  การเรียนรู้ให้สามารถตั้งรับกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ  เมื่อเรียนรู้ทางปัญญาแล้วก็ต้องเสริมสร้างจิตใจ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานด้วยความโปร่งใส  ที่สำคัญต้องรักษาไว้ให้ดี  ทุนมนุษย์เหล่านี้เราต้องสร้างเพราะการนำเข้ามา  จะได้บุคคลากรที่ไม่รักองค์กรเท่าที่ควร  มักแสวงหาแต่ผลประโยชน์

2.  ยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันหลายๆฝ่าย  ต้องละลายพฤติกรรมคน ที่ทำงานแบบไซโล ปลุกเค้นความรู้สึกในการพัฒนาองค์กร  โดยทำงานร่วมกันในทุกฝ่ายทุกสาขาอาชีพ  ทำงานเพื่อทุกไซโล

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 การบรรยายหัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ ด้วยแนวคิดที่ว่าทุนมนุษย์มิใช่ต้นทุนแต่เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าต่อองค์กร ดังนั้น บุคลากรในองค์กรจึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ควรได้รับการเอาใจใส่ ให้เขาเหล่านั้นมีจิตผูกพันรักองค์กร โดยส่วนตัวแล้ว ตลอดชีวิตการทำงานร่วม 30 กว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นการมุ่งเน้นด้านการพัฒนาคนอย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะขาดงบประมาณสนับสนุน หรือขาดมุมมองเชิงธุรกิจ แต่ก็ยังแอบหวังว่าในอนาคต การเคหะฯ อาจมีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเสริมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากรเป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย

ส่วนภาคบ่าย มีการให้ความรู้เรื่องการใช้ mind map เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกโดยใช้สมอง 2 ซีกทั้งซ้ายและขวาอย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิดที่ว่าธรรมชาติสร้างมาให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานร่วมกันเพื่อเกิดผลงานเต็มร้อย ได้มีการแบ่งกลุ่มทำ work shop กันอย่างสนุกสนาน มีการวาดรูปประกอบในการฝึกทำ mind map ด้วย นอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานแล้ว ยังแอบคิดจะนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวด้วย เช่น การวางแผนใช้เงินในยามเกษียณ ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อรชร กิจสุบรรณ

ธวัช บุญครองเกียรติ

วันที่ 2 กค. 55 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

การอบรมครั้งนี้ ทำให้เข้าใจเรื่องทุนมนุษย์มากฃึ้น เช่น เป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า เป็นแรงงานในองค์กร เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่าเสื่อม และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการส่งเสริมสนับสนุน ให้การเรียนรู้ ศึกษา อบรม  สัมมนา ดูงาน

เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นของทุนมนุษย์อีก เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีประสบณ์การที่สั่งสมในตัวเองตั้งแต่เกิด มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจผูกพันรักองค์กร ถ่ายทอดพลังจิตใจและสติปัญญาเพื่อองค์กร มุ่งแสวงหาโอกาศเรียนรู้อยู่เสมอและ มีความสร้างสรรค์ใหม่ๆอยู่เสมอเป็นต้น

กลยุทธ์ จะมีจุดเริ่มต้นที่ดีและบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้สำเร็จ จะต้องดึงขีดความสามารถของทุนมนุษย์

มาปรับให้สอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์ขององค์กรอย่างเหมาะสม โดย ดึงศักยภาพของทุนมนุษย์มาร่วมวิเคราะห์ กำหนดทิศทางองค์กร เช่น ช่วยกันวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ภายใน ภายนอก ประเทศ กำหนดทิศทาง ดำเนินธุรกิจหลัก วิเคราะห์แรงงาน ความรู้ ความสามรถ ทักษะ การเพิ่ม/ลดคน จัดลงให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยงาน ตามแผนยุทธ์องค์กร

Mind Map ได้ความรู้มากกว่าที่เคยรู้มาก่อน เช่น เป็นการคิด เชื่อมโยง จัดกลุ่ม ไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน เป็นการถ่ายทอดทุนปํญญาอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง เป็นการบูรณาการของสมองสองซีก และเป็นการย่อความจากตัวอักษร ถ่ายทอดออกมา เป็น เส้น สี  สัญญาลักษณ์ หรือ คำผสมภาพ เป็นภาพหนึ่งภาพในหน้าเดียว 

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการ วิเคาระห์ปัญหา วางแผน การตัดสินใจ การนำเสนอ ได้อย่างรวดเร็ว

                            ธวัช บุญครองเกียรติ
                                                                                                                                      8 กค. 55

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ อบรมวันที่ 2 ก.ค. 2555

ความหมาย ทุนมนุษย์ (Human capital) ข้อมูลจากบทความ รองศาสตราจารย์เทื้อน ทองแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต หลักคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ “เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งไม่มีตัวตน (Intangible) ตามปกติแล้วไม่สามารถวัดเทียบค่าทางธุรกิจ แต่สามารถแปรสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถวัดเทียบคุณค่าออกมาได้ เมื่อเทียบคุณค่าออกมาได้สามารถวัดได้และก็สามารถจัดการได้ การจัดการในทุนมนุษย์ คือ การลงทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (Becker.2006,P1) ในการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ คนงานได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้จากภายนอกโรงเรียน โดยทักษะจากการทำงาน เป็นการเพิ่มประสบการณ์ จึงเป็นการสะสมทุนมนุษย์ นอกจากนั้น การดูแลรักษาทางการแพทย์ถือว่าเป็นการรักษาสุขภาพส่วนบุคคลให้สมบูรณ์ ทุนมนุษย์จึงประกอบด้วยทั้งศักยภาพและสุขภาพของมนุษย์” สิ่งที่ได้รับจากการอบรมวิทยากรได้ให้ความเห็นว่าเรื่องทุนมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของต้นทุน เพราะว่าคนถือเป็นสินทรัพย์ Asset เป็นสิ่งที่มีคุณค่า พัฒนาได้ ต่อยอดได้ เป็นความสำคัญที่ผู้บริหารทั้งโลกคิดถึงก่อนเสมอ กลยุทธ์ ก็คือแผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่าหากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ นั้น เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบรรลุวัตถุประสงค์กลยุทธ์ การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ สรุปโดยง่ายก็คือการเค้นเอาความสามารถของบุคลากรในองค์กรออกมาทำกิจกรรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์สำเร็จตรงตามวิสัยทัศน์ขององค์กร การวิเคราะห์ความเข้มแข็งขององค์กรใน SWOT เป็นตัววิเคราะห์ สิ่งที่ กคช.ควรวิเคราะห์ต่อไป คือ จุดแข็ง : ประชาชนรักใคร่ ชื่นชม ศรัทธา มีความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนได้ดีกว่าหน่ายงานอื่น จุดอ่อน : โครงสร้างขององค์กรที่ทำงานอย่างราชการ การเมืองแทรกแซง คนขององค์กรไม่มีภูมิคุ้มกัน กคช.จะทำยุทธศาสตร์ก็ต้องหาวิธีการควบคุมจุดอ่อนให้ได้ กคช.ต้องวิเคราะห์บริบทในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องแรงงานที่ไหลเข้า ไหลออก มีมากน้อยเพียงใด ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยเป็นอย่างไรและต้องมองไปข้างหน้า 5 – 10 ปี ก็จะจัดการกับปัญหาระยะยาวได้ ในส่วนของการบริหารทรัพยากรบุคคลไม่ใช่เป็นงานของ HR โดยลำพัง ผู้บริหารระดับสูงต้องร่วมกันพิจารณา คนที่มีอยู่ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ผู้ที่รับเข้ามาใหม่ก็ต้องรักษาให้อยู่นาน ๆ ต้องเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้ทันกับ AEC ความรู้ทางด้าน Technology ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องหาแรงจูงใจให้คนเก่งและดีอยู่กับหน่วยงานเป็นเวลานาน สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนคือ การปรับปรุงกฎเกณฑ์ ระเบียบ วิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับทุนมนุษย์ ซึ่งรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก เช่น กฟภ. การเคหะฯ เองก็น่าจะพัฒนาไปในแนวทางเดียวกันได้ การวิเคราะห์กระบวนการทำงานมีรูปแบบการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Mind map แผนที่ทางความคิด ซึ่งเป็นการทำการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ โดยการวาดแผนทางทางความคิดซึ่งสามารถใช้ความสามารถของสมองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถนำศักยภาพที่ไม่เคยได้ใช้นำมาใช้ได้อย่างคาดไม่ถึง โดยส่วนตัวเห็นว่า Mind map เป็นเรื่องที่เพิ่งเคยนำมาใช้ ในความเป็นจริงแล้วควรได้ทำการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กพัฒนาสมองได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเราที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่ว่าจะนำมาใช้ไม่ได้ เพียงแต่อาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าผู้ที่เคยใช้บ่อย ๆ เท่านั้น

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

2 กค. 2555 การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ทุนมนุษย์ คือบุคลากรที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูง มีจิตใจผูกพันรักองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม มุ่งแสวงหาโอกาสที่จะได้ถ่ายทอด และปลดปล่อยพลังสติปัญญา และพลังจิตใจ เพื่อประโยชน์ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องยั่งยืน กลยุทธ์ เป็นกระบวนการ มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดที่เป้าหมายขององค์กร จึงสรุปได้ว่า มนุษย์เป็นสิ่งที่มีมูลค่า เป็นสินทรัพย์ ไม่ใช่ภาระที่ไปเพิ่มต้นทุน การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือการค้นหาศักยภาพ ขีดความสามารถของมนุษย์ในองค์กร เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องตามแผนและยุทธศาสตร์และบรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้การบริหารทุนมนุษย์ประสบผลสำเร็จประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก-ภายใน การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง วิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมแผนรองรับ กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล ตลอดจนการเพิ่มทักษะทางความคิดทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ที่มีความเป็น Generalist มากกว่าความเป็น Specialist และต้องเป็นผู้มีความสามารถ (Ability) ถ้าจะกล่าวว่าคนทุกคนมีศักยภาพ องค์กรจะต้องดึงเอาศักยภาพของคนเหล่านั้นออกมาให้ได้ จริง ๆ แล้วมันเริ่มต้นตั้งแต่การอบรม เลี้ยงดู และประสบการณ์(ดีๆ)ที่สั่งสมมา จึงจะเป็นคนดี คิดดี และคิดเป็น แต่เมื่อองค์กรมีทั้งคนที่มีศักยภาพสูงและคนที่มีศักยภาพน้อย องค์กรจึงต้องอบรม พัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้การศึกษา(ให้ทุนไปเรียนเพิ่มเติม) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้ได้ตามที่องค์กรต้องการ แล้วดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนออกมาให้ได้ แต่บางครั้งอาจจะต้องคัดสรรคนดี คนเก่ง จากภายนอกเข้ามาบ้าง เมื่อองค์กรได้คนดีแล้ว ก็ต้องรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรตลอดไป ช่วงสุดท้ายคือการทำ Workshop โดยใช้ Mind Map ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ทำให้เรารู้จักคิด และคิดโดยต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ เกิดความเชื่อมโยงทางความคิด สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ทุกเรื่อง

2 กค. 2555 สรัญญ์ โสภณ ทุนมนุษย์ (Human Capital)

มนุษย์ เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กรตั้งแต่เริ่มตั้งองค์กรและเป็นเฟืองสำคัญที่ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน
องค์กรที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมา 4 ทศวรรษบางองค์กรเรียนรู้อะไรจากเดือนปีที่ผ่านมาบ้าง บางทีอาจจะเป็นโชคช่วยก็ได้ที่ทำให้องค์กรนั้นยังอยู่มาได้ถึงวันนี้ อาจเป็นเพราะผู้นำและทีมในยุคก่อนหน้านี้มีศักยภาพสูงและร่วมมือช่วยกันทำให้องค์กรมีอายุมาได้จนถึงปัจจุบัน  แต่ในช่วงปลายๆ ของทศวรรษที่ 4 นี้ องค์กรได้หยุดพิจารณาถึงตัวคน (บุคลากร) ในองค์กรซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งบ้างหรือไม่ว่าศักยภาพของคนในองค์กรได้ลดลงหรือหายไปมาก  ได้มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะเค้นเอาศักยภาพของคนในองค์กรปัจจุบันออกมาเพื่อทำภารกิจต่างๆ ขององค์กรให้ได้ผลลัพธ์ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้หรือไม่ ได้มีการพัฒนาคนในองค์กรอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หรือจะเห็นว่าการลงทุนในการพัฒนาคนเป็นภาระเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับองค์กรจึงดูเหมือนว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพ มีการพูดถึงการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  เหมือนกัน แต่ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนว่าได้มีการนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมหรือสามารถนำผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับการทำงานขององค์กรอย่างจับต้องได้บ้างหรือไม่
โดยปกติเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงานในองค์กร นอกเหนือจากการพิจารณาความรู้ความสามารถจากการศึกษาที่สำเร็จมาแล้ว การเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะ การสร้างให้เขามีจิตใจผูกพันรักองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม ฯลฯ การรักษาคนๆ นั้นไว้ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คนที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูงนั้นๆ มีโอกาสมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้และสั่งสมไว้ให้แก่องค์กรด้วยจิตใจที่ผูกพันต่อองค์กรเพื่อให้องค์กรได้มีความยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
กคช.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของคนยากไร้ แต่ภารกิจขององค์กรที่ได้รับมอบจากรัฐบาลก็มีมูลค่าทางการเงินมหาศาล จึงมักมีเรื่องของผลประโยชน์เกี่ยวข้องมากมายโดยเฉพาะกับทางการเมือง  ดังนั้น นอกจากการสร้างคนในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถแล้ว การทำให้คนดังกล่าวเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งด้วย โดยแรกที่สุดผู้นำองค์กรต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นตัวอย่าง  ส่งเสริมคนดีให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานในองค์กร ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีขึ้นมาเป็นใหญ่ ทำให้คนในองค์กรเห็นจริง เชื่อมั่น ศรัทธาว่าการเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมจะทำให้คนในองค์กรทำงานอย่างมีความสุข ประชาชนมีความสุขจากผลงานขององค์กร และประเทศชาติเจริญก้าวหน้าโดยมีที่มาส่วนหนึ่งจากองค์กรของเรา และนั่นจึงจะเป็นทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค AEC

บรรยายโดย รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555

 

ในปี 2015 จะเกิดอะไรขึ้น

การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน

  • ยกตัวอย่างการสร้าง Learning Organization – การเน้น The Fifth Discipline  คือ Systematic Thinking  คือการคิดอย่างเป็นระบบ
  • Knowledge Management คือการรู้ให้รอดต้องรู้จริง
  • System Thinking – Input ออกมาเป็น Out Put

ความคิดในเชิงระบบแบ่งเป็น 2 ความคิด คือ

1.Systematic Thinking

2. System Thinking

ระบบความคิด

คนที่คิดเป็นระบบสามารถสร้างทฤษฎี และพัฒนาอย่างเป็นระบบ สามารถบริหาร AEC ได้

  1. รู้อย่างเดียวไม่รอด
  2. ต้องรู้จริง
  3. ต้องตระหนัก
  4. สามารถนำสิ่งที่รู้ไปใช้

Learning  Process กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบ

เริ่มจากรู้  รู้จริง ตระหนัก ส่งผลถึงการเห็นสิ่งที่รู้จริงภายใต้ความแตกต่าง

ระบบ System Thinking คืออะไร

-          มีองค์ประกอบคือ วงกลม   แต่ละวงกลมมีฟังก์ชั่น   เกิดความร่วมมือและมีการปฏิสัมพันธ์   

-          การคงอยู่ของระบบ ขององค์กร

 

-          ความคงอยู่ขององค์กร อธิบายด้วยการมีกำไรต่อเนื่อง ทำให้คนที่อยู่ในองค์กรมีความสุขด้วย  สามารถใช้กับชีวิตของคนเราได้ และเมื่อไรมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ เชื่อมชีวิตส่วนตัวและการทำงาน จะทำให้ทุกวันมีความสุข

-          การบูรณาการในการบริหารการจัดการ

Systematic Thinking  คือ เป็นคนที่รู้จักการจัดระบบความคิด เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน  เป็นลักษณะ Think Forward คนที่ฉลาด ทุกอย่างต้องชัดเจน ห้ามมั่ว ต้องตรงประเด็น

มีคน 2 ประเภท คือที่มาของการบริหาร AEC

  1. 1.      คนที่สมองมีแต่ขี้  การรับข้อมูลเยอะมากเกินไป ถ้าบริหารข้อมูลไม่เป็นจะเกิดอาการยิ่งเรียนยิ่งโง่ คือ IOKO
  2. 2.      คนที่มีความคิดแตกต่างจากคนทั่วไป

-          ระบบของชีวิตเป็นกระบวนการที่มาจากอดีต แต่ต้องวางแผนกระบวนการในอนาคตเพื่อความอยู่รอด ต้องเข้าใจว่ามาจากไหน และไปที่ไหน

-          การขยายตัวของเขตการค้าเสรี รวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สิ่งแรกที่เป็น Key Success Factor คือ จะบริหารการจัดการข้อมูลอย่างไรบ้าง

-          เริ่มต้นการมองศักยภาพตนเอง และศึกษาการขยายได้  การเป็นได้มากกว่าสิ่งที่ตนเองเป็น คืออะไร แต่อย่าเป็นได้ทุกอย่าง ต้องรู้ทิศทางตัวเองว่าจะไปทางไหน

-          องค์ประกอบของความสำเร็จในการบริหารองค์กร 35-40% มาจาก Passion  เป็นการเรียนเพื่อค้นพบตัวเองเจอ  ดูตัวอย่าง Bill Gate ,Steve Job ,Mark Zuckerberg

นักคิดเชิงกลยุทธ์

-          ต้องเปลี่ยนจากโง่เป็นฉลาด

-          รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

-          ต้องไม่เป็นโรค IOKO

-          ต้องทำงาน และคิดเป็นระบบ

-          สามารถทำนายอนาคตได้

-          ต้องรู้จริง

-          การบริหารไม่มีทางรอด ถ้าปรับ Mindset เป็นระบบคิด ทุกอย่างในโรคนี้จะเป็นกระบวนการ

-          ของจริงต้องเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

วิธีการปรับ

  1. ต้องรู้จริง ตระหนัก เป็นกระบวนการ
  2. อยากจะพัฒนาตรงนี้ได้ ทุกอย่างต้องตรงประเด็น ไม่มั่ว
  3. เปลี่ยนวิธีการตั้งคำถาม จากอะไร ทำไม ทำอย่างไร
  4. ถ้าทำได้จะทำให้บริหารเยี่ยมมาก ๆ
  5. ทำงานเพื่อความอยู่รอด
  6. ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากันหมด บางเรื่องตัดได้ บางเรื่องต้องเก็บไว้ เพื่อไม่ให้เป็นโรค IOKO
  7. ต้องรู้ว่าจะไปอะไร ทิศทางไปตรงไหน ทิศทางต้องรอด วิเคราะห์อาชีพที่เรารัก  เลือกอาชีพที่ตรงกับอนาคต ตรงกับการเปลี่ยนแปลง บางเรื่องขยายได้ บางเรื่องทำได้
  8. ข้อมูลที่สำคัญนิดเดียวก็ชนะแล้ว 5% สามารถชนะ 95% ได้

การบริหารการจัดการที่ดีควรทำอย่างไร

  1. การปรับวิธีคิด เปลี่ยนระบบคิดเป็นตอบคำถาม Why ? กับ How to ? ช่วยในการมองเป็นองค์รวม (องค์รวมเหนือกว่าระบบ เพราะเห็นทั้งระบบ) ต้องทำตัวเหมือน Google เห็นทั้งโลกภายในเวลานิดเดียว  เอาเฉพาะสิ่งสำคัญ บริหารเฉพาะขั้วสำคัญ
    1. บริหารสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง 

เช่น Bank เอากลยุทธ์ของเคี้ยงเอมไพน์ กับ MK สุกี้มาใช้ในการบริหาร Bank

คือเครือข่าย ต้องอยู่ในบริเวณมีคนหนาแน่น จึงไปเปิด Bank ใน Department store ได้

สิ่งที่แตกต่างกันคือ เป็นธุรกิจลูกชิ้น  สุกี้  แบงค์

สิ่งที่เหมือนกันคือ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนต้องการ One Stop Service

สรุปเวลาเข้าใจ AEC ต้องรู้จริง คิด และทำนายต่อได้

Systematic คือการเปลี่ยนจากยากไปง่าย เรียนหนังสือไม่จำเป็นต้องหลายปี

 

AEC คืออะไร

  1. ตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

AEC ลอกมาจาก EEC

-          ประชาคมเศรษฐกิจทุกแห่งในโลกคือมีความหมายเหมือนกันคือการเป็นตลาดร่วม

-          ตลาดร่วมที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ ตลาดร่วมยุโรป ประสบความสำเร็จในปี 1992

-          ประชาคมเป็นเรื่องเดียวกับตลาดร่วม เป็นเรื่องเดียวกับ AEC

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 แบบ

  1. แบบหลวม ๆ
  2. แบบเข้มข้น

AEC คือกระบวนการ

-          เขตการค้าเสรี คือแบบผสม

ตัวอย่าง บุหรี่ เป็นอัตราภาษีของประเทศที่ใช้ความอนุเคราะห์  จึงมีความจำเป็นต้องรู้เรื่อง WTO  การเปิดเสรีในการค้าและบริการ ถ้าไม่อยู่ใน WTO จะเสียมากกว่า 10 %

-          เรื่องอาเซียนเสรี เริ่มตั้งแต่ปี1993 มีการตกลงกันแล้ว แต่ยังไม่เริ่มจริงจัง

-          อาเซียนคือการรวมตัวที่ลึกซึ้งกันมานานแล้ว

-          ข้อตกลงร่วมพิกัดอัตราภาษี  ถ้าเป็นสินค้ารวมทั้งบุหรี่ จะเก็บในอัตราน้อยกว่าเดิมเช่นจาก 20% เหลือ 15% เป็นต้น แต่ข้อตกลงประเภทนี้หลังจากประชุมรอบอุรุกวัยบอกว่าห้ามทำเนื่องจากเป็นการเลือกปฏิบัติ

-          ทฤษฎีเกมส์ บางครั้งแกล้งโง่เพื่อให้ได้มากกว่าเก่าเช่น อเมริกา ยอมให้เปิดเสรีทางการเกษตรแลกกับเปิดเสรีทางการเงินเป็นต้น

เขตการค้าเสรี หมายถึงรวมตัว เปิดเสรีการค้าอย่างเดียว ความหมายจริง  ๆ ของการเปิดการค้าเสรี คือเปิดเฉพาะสินค้า ลดกำแพงภาษีนำเข้าจนถึง 0  รวมถึงบุหรี่ด้วย

การบริหารจัดการ

  1. ต้องมองเป็นระบบ
  2. ต้องมองหลังปี 2015

AEC

-          คือสินค้า บริการ และเงินทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี

-          ถ้าเป็นเรื่องสินค้า 99 % ภาษีเหลือ 0 แล้ว มีตัวอย่างใน 4 ประเทศ ที่กำแพงภาษีเหลือ 9%

สหภาพศุลกากรคืออะไร

-          มีการเปิดเสรีทางสินค้า

-          มีการปรับภาษีนำเข้าของสินค้าแต่ละประเทศให้กับประเทศนอกกลุ่ม

-          ตัวอย่าง National Treatment เป็นการเปิดเสรีให้ต่างชาติที่สนิทมาก ปฏิบัติเยี่ยงชาติเช่น การอำนวยความสะดวก การส่งเสริม

การเปิดเสรี 2015

-          เกิดจากการกำหนดอุตสาหกรรม 12 ประเภท

-          อาเซียนเป็นเจ้าของได้ 70% หลังปี 2015 จะเพิ่มจาก 71-72 สู่ 100%

-          เงินทุน ถ้าเป็นนักวิชาการจะมีปัญหา

การเปิดเสรีทางการลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน

-          เงินทุนเสรี คือการเอาเงินออกเท่าไหร่ก็ได้ แลกเป็นเงินสกุลอะไรก็ได้ 

-          ในส่วนของ AEC จะเอาเงินเราออกไปได้มากขึ้น แลกเงินได้มากขึ้น ซื้อของได้มากขึ้น

-          ไทย มีอาเซียน +3+6

การรวมเงินสกุลเดียวกัน

  1. ต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนในระดับเดียวกัน
  2. ต้องปรับเงินงบประมาณให้ขาดดุล 3% ของ GDP

สำหรับ AEC ในอนาคตคาดว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย ใช้เงินบาทมากขึ้นเนื่องจากจะลดดอลล่าร์ บทบาทของหยวน เยน วอน มากขึ้น

วิธีการการเปิด AEC

1.ขจัดอุปสรรค คือการเปิดด่าน

2. การประสานนโยบาย

3. การทำให้ครบวงจร

การปรับ Mindset เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดขององค์กร

ต้องมีความชัดเจนว่าลูกค้าคือใคร

  1. ต้องมีความชัดเจน แพงไม่ว่า แต่ต้องบริหารให้ดี เป็น Value Chain
  2. ต้องรวดเร็ว และสามารถบริการอย่าง One Stop เป็นลักษณะ Hospitality เช่น บำรุงราษฎร์

การเข้าสู่ AEC ต้องทำอย่างไร ?

  1. การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน
  2. ปรับกฎเกณฑ์
  3. ปรับโลจิสติกส์
  4. การสร้างความสัมพันธ์ของ อาเซียนกับประเทศอื่น ๆ
นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบ้าน 1.2 หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ 2 รอบ  รอบแรกอ่านข้ามๆ  ในรอบที่ 2 อ่านให้ละเอียดแล้วทำการวิเคราะห์กับองค์กร ก่อนที่ได้รับการอบรมถึงครั้งที่ 4 ผมคิดว่าหลายๆ เรื่อง ผมอยากให้องค์กรในส่วนที่ผมอยู่เป็นอย่างไร ผมก็พัฒนาน้องๆ ที่อยู่ในกองให้พัฒนาตามแนวทางนั้นซึ่งก็ตรงกับที่ทางอาจารย์ ได้ทำไว้กับปูนใหม่
เมื่ออบรมผ่านไป 4 ครั้งแล้วกลับไปอ่านหนังสือใช้แนวทางวิธีคิดตามที่อบรม ทั้ง MILP MAP, การมององค์กรในแนวดิ่งและแนวระนาบ, การจัดแบ่งคนเป็น A, B, C การคัดสรรค์เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่  และเค้นคนรุ่นเก่าให้ช่วยในฐานที่เป็นพี่ นี่คือประเด็นที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้  และที่สำคัญทำให้เกิดกระบวนการคิดย่างต่อเนื่อง
หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง ผมมองภาพเป็น 2 แนวทาง 

แนวทางที่ 1 วิธีการสัมภาษณ์ ที่สามารถเก็บรายละเอียดเพื่อการเรียนรู้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้

             สามารถนำมาใช้ร่วมกับการฝึกอบรมเป็นมุมมอง กว้างๆ จนเจาะลึกลงไปกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ
                ในแง่มุมต่างๆ เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคลากรที่ขาดตอน และในรูปแบบ AEC

แนวทางที่ 2 มีตัวอย่างบุคคลมากกว่า 2 ท่าน ที่ทรงคุณค่าไม่เคยหมดไฟ ยังคงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

             เพื่อให้เป็นรากฐานของชาติ เป็นภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน, ทำให้ผมเกิดมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานต่อไป
               หลังเกษียณอายุกับงานที่ผมเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ในด้านที่ผมถนัดมีประสบการณ์ 
      30 ปี

หมายเหตุ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่มอบหนังสือที่มีคุณค่าให้อ่าน, วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้

                                                  ขอบคุณครับ
                    นายอรรคชัย  ยืนยงอนันต์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบ้าน 1.2 หนังสือ 8K’S+5K’s K1. ทุนมนุษย์ คนเมื่อได้รับทรัพยากรต่างๆ เข้าไปเท่ากันหรือน้อยกว่าแต่คนๆ นั้น สามารถดูดซับ ประมวลผล

 และนำมาปฏิบัติดีกว่ากัน ก็ได้ผลที่สูงกว่ากัน

K2 ทุนทางปัญญา ปัญญาไม่ใช่มาจากกระดาษแผ่นเดียว นับเป็นขบวนการที่น้อยเกินไป ปัญหาต้องมาจาก

  การรับรู้ มองในเชิงวิเคราะห์ การต่อยอดนำมาปฏิบัติ

K3 ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม ข้อนี้นับว่าสำคัญที่สุด ทุนมนุษย์ดี ทุนปัญญาดี แต่ขาดคุณธรรมจริยธรรมก็จะ

  สร้างปัญหาให้สังคมคนขี้โกงที่อันตรายที่สุดเพราะมีพลังใน 2 ข้อแรก ดังนั้น ต้องใช้ 4 เก่ง 4 ดี เข้าไป
  ให้เป็นระบบ มีคุณธรรมจริยธรรมไม่ทำอะไร, ไม่ถ่ายทอดให้ใคร, ไม่คิดพัฒนาต่อ, ไม่เรียนรู้ให้ทันกับยุคสมัย 
  หรือสภาพแวดล้อมก็ไม่สร้างประโยชน์

K4 ทุนแห่งความสุข ความสุขที่แท้จริงน่าจะมาจากเป็นผู้ให้ ทำในสิ่งที่ตนเองและรอบข้างมีความสุข หมอรักษาโรค

  ที่คิดการรักษาแพงๆ ความสุขของตนมีแต่ก็ไม่ภาคภูมิใจ ชีวิตที่เกิดมาไม่สร้างสรรค์ น่าจะขาดทุนมากกว่า

K5 ทุนทางสังคม เมื่อทั้ง 4 ทุนดี มีประสิทธิผล แน่นอนทุนทางสังคมก็จะดี สภาพภายนอกจากสมาคม

  โลกที่มองกลับมาจะเป็นเชิงบวก น่าคบหาสมาคม  มีความไว้วางใจกัน

K6 ทุนแห่งความยั่งยืน ความยั่งยืนมิใช่มาจากรวยที่สุด เพราะไม่แน่นอนมีเงินก็ไม่มีความสุข ความสุขที่มีก็

  เป็นช่วงระยะสั้นๆ  ไม่มีความยั่งยืน ถ้ามีทุนทั้ง 6 ทุนที่ 6 ก็จะเกิด

K7 ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศหรือ IT ผมขอกล่าวในข้อนี้ก่อนทุนยังยื่น ถ้าทุนข้อนี้ตามไม่ทัน ความเติบโต

 ก็จะหยุดชะงัก เพราะการสื่อสารจะขาดตอน ความต่อเนื่องก็จะไม่มีความยั่งยืนก็จะหมดไปจึงเห็นว่า
 น่าจะมาก่อน

K8 ทุนอัจฉริยะ ผมมองในมุมเพิ่มขึ้นจากที่ควรเป็นทักษะ และความรู้ อัจฉริยะจะเกิดได้ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

  ยิ่งกว่านั้นต้องฝึกฝน และถ่ายทอด  ผมเห็นว่าผู้เป็นอัจฉริยะได้ต้องเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และทัศนคติ
   ที่ดีของคนคนนั้นต้องเป็นเชิงบวก

5K ในยุคใหม่ K1 ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จินตนาการนั้นต้องนำมาปฏิบัติ

  แล้วต่อยอด คิดแล้วต้องรีบจดไว้เดี๋ยวจะลืม  พรุ่งนี้ลองทำแล้วต่อยอดต่อรากฐานจากจินตนาการนั้น  
  เช่น การทำอาหารแปลกใหม่ การคิดสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งจิตใจและทรัพย์สิน

K2 ทุนแห่งความรู้ ผมชอบทฤษฎีของอาจารย์จิระ ทีต้องสร้างให้เป็น Learning Culture วัฒนธรรมการเรียนรู้

 ที่ถูกสร้างขึ้นจนเป็นนิสัย เรียนรู้ทุกวันทุกเรื่อง แต่ K2 นี้ต้องเพิ่มขึ้นอีก  ต้องสังเคราะห์จากความรู้ที่ได้รับ 
มาสู่ความเป็นจริงเป็นที่ยอมรับ เพราะจะเกิดเป็นทฤษฎีใหม่ๆ  ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

K3 ทุนทางนวัตกรรม ผมว่าเกิดจาก K1 และ K2 ที่ถูกนำมาทำให้เป็นจริง เช่น หลักสูตรใหม่ๆ ที่จะตอบสนอง

  ความต้องการที่ไม่สิ้นสุด  สิ่งที่คิดค้นนำมาทำ  เช่น หลักสูตรที่จะต้องสอนให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง

K4 ทุนทางวัฒนธรรม ผมคิดว่าวัฒนธรรมที่ดีของเราควรรักษาไว้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอดเวลา ส่วน

  วัฒนธรรมของชาติอื่นที่ดีก็ควรนำมาปฏิบัติต่อยอด เช่น วัฒนธรรมในการเรียนรู้ วัฒนธรรมในระเบียบ
  วินัย วัฒนธรรมความซื่อสัตย์

ทุนที่ 5 ทุนทางอารมณ์ ผมคิดว่าข้อนี้สำคัญมากเกือบจะพอกับความซื่อสัตย์ เพราะเราขาดอยู่มากไม่มี

       การเรียนรู้ในเด็กเลย  เราขาดอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้  เป็นเหตุ
       ให้เกิดการป้องกันตนเองและผู้อื่น  ยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารหรือผู้นำถ้าไม่มีทุนเดิมก็จะเป็นปัญหาในระดับ
       องค์กร หรือระดับชาติได้
ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย Panel Disscussion

การบริหารธุรกิจไทยในยุค ASEAN Economic Community

โดย  คุณอรุณี พูลแก้ว ผู้บริหารของกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์   

        ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

        ดร.โสภณ พรโชคชัย   ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัย และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย

ดำเนินการอภิปรายโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

คุณอรุณี พูลแก้ว:   การเคหะควรเน้นเรื่องการพัฒนาชุมชนของประเทศไทย  

              

4 เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน

  1. 1.      การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. 2.      การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน
  3. 3.      การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. 4.      การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

AEC  โดยสรุป

  1. ภาษีต้องเป็นศูนย์
  2. คนเข้ามาลงทุนอย่างเป็นเสรีมากขึ้น ต่างชาติมาลงทุนได้ 70%
  3. มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี  มีสิทธิเข้ามาขอใบอนุญาต ในอาชีพ 7 อาชีพ
  4. เคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้อย่างเสรี

การบริการอสังหาริมทรัพย์

หมายถึง บริการเกี่ยวกับการขาย การเช่า และการจัดการสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์

อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

ความสามารถในการแข่งขันของบริการก่อสร้างไทย  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนก็ติดอันดับต้นๆ

โอกาสและความท้าทายต่อการเคหะ

-         พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในและต่างประเทศ

-         แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น

-         ทางเลือกสินค้า บริการที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น และถูกลงด้วย

-         การขาดแคลนแรงงาน จะทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น  ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล และการตัดสินใจของผู้บริหารของการเคหะ

  • อาจารย์จีระ   บอกว่าต้องมีทัศนคติที่จะมองโลก อาเซียนเสรีให้กว้างขึ้น บทบาทของการเคหะไม่ได้เป็นธุรกิจตรงเพียงอย่างเดียว แต่จะมีผลกระทบเรื่อง ชายแดน  การเงิน แรงงาน การก่อสร้าง  ต้องให้ความสำคัญเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย  ผู้บริหารควรเพิ่มศักยภาพของตัวเอง ทั้งด้านภาษา ด้านทัศนคติ ให้ความรู้ชุมชนให้เข้าใจเรื่อง AEC

 

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล:  

ประเด็นสำคัญในการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน

เราจะได้ประโยชน์จาก AEC อย่างไร

  1. สิ่งก่อสร้างจะถูกลง ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกลง สามารถแข่งขันในประเทศเพื่อนบ้านได้เร็ว
  2. การรวมอาเซียนแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ยอดปิรามิด  (สิงคโปร์ มาเลฯ บางส่วน) กลางปิรามิด (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์) ต้นปิรามิด (ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว)

ถ้ารวมกันได้ทั้ง 3 ส่วน จะได้ประโยชน์อย่างมากจากการรวมตัวเป็นอาเซียน

อาจารย์จีระ อยากให้ดูในเรื่อง Production ภาษี วัตถุดิบต่าง ๆ ด้วย

-          คนแก่ในเมืองไทยไม่เปลี่ยน แต่ Youth เปลี่ยนแน่นอน เนื่องจากอยู่ในสังคม วัฒนธรรมเดียวกัน

-          การเคหะอยู่ที่ปลายน้ำเป็นหลัก  ถ้ามองไปที่กลางน้ำ ต้นน้ำได้ จะช่วยประโยชน์จาก AEC ได้เยอะ

เปิดอาเซียนจะช่วยเปิดตลาดให้ใหญ่ขึ้น 

-         มี เส้นทางสายไหม East West Economic Corridor

-         การท่าเรือ อยากให้ดูตัวอย่างของการท่าเรือสิงคโปร์เป็นหลัก  

สรุปคืออยากให้การเคหะดูภาพที่ใหญ่ขึ้นเพื่อฉกฉวยแหล่งเงินทุนต่าง ๆ

-          ในมุมมองของการปรับตัวอาเซียน เป็น Globalization มากขึ้น ต้องกล้าคิดให้ถึงชายแดน และเมืองชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าสร้างการเคหะชายแดนจะมีคนใช้ Facility  เพิ่มขึ้นด้วย

การ Shaking

  1. ทุกคนจะวิ่งหาความเจริญ  เกิดเมืองชายแดนเป็นลักษณะเศรษฐกิจ
  2. เกิดสำนักงานการลงทุน ธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น
  3. เกิดชุมชนคนต่างชาติมากขึ้น  ฐานปิรามิดจะเป็นคนนำเข้ามา  นักธุรกิจฮ่องกงจะขยับฐานปิรามิดขึ้น
  • อาจารย์จีระ บอกว่า การเคหะมีภารกิจอย่างหนึ่งที่เด่นมากคือการบริหารชุมชน  คนในการเคหะที่เก่งมากในอดีตคือดูแลชุมชนทางการเคหะ สิ่งหนึ่งที่การเคหะต้องคิดให้ดีคือบริหารชุมชนที่มี Diversity มากขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น เวลาศึกษาอาจไป Benchmark กับชุมชนที่เกิดแล้ว เช่น EU หรือที่อื่น ๆ เป็นต้น
  • ต้องมี Professionalism, Internationalism, เป็นคนไทยแต่ต้องอยู่ในอาเซียนให้ได้

ความคิดเห็นจากการเคหะ ฯ

ชุมชนทางการเคหะ สิ่งที่การเคหะเข้าไปดำเนินการคือเรื่องเงินอุดหนุน สามารถได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติได้หรือไม่

บทบาทของการเคหะอยู่ใน 2-3 แท่งเรื่องการตกลง

1.ความมั่นคง 2. การค้า และเงินทุน 3.การช่วยสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

อาจารย์จีระ บอกว่าต้องมีการพัฒนาคน ควรมีการทำวิจัย และมีการทำ In depth interview และการทำ Focus group เน้นประเด็นเรื่องการพัฒนาชุมชน

คนในการเคหะฯ ต้องดูแลชุมชน

Financial กับ Investment Capability

  • อาจเป็นจุดอ่อนของการเคหะ
  • การทำ Financing ของตนเองอย่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์ อาจเป็นประโยชน์ในการหาเงินได้มากขึ้นเยอะ
  • การระดมทุนต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ

Professional  Management  and  Marketing Team  

  • ต้องมี New Business Plan ใหม่ ๆ
  • Network กับ Alliance ต่าง ๆ
  • ต้องมีพันธมิตรต่าง ๆ วิเคราะห์ Supply Chain มีบริษัทลูกที่คล่องตัว

ดร.โสภณ พรโชคชัย   

  • ยกตัวอย่างเรื่องภาษีที่ดิน เมืองนอกมีภาษีมรดก  แต่ประเทศไทยไม่มี
  • มีมาตรการการขึ้นภาษีคอนโดฯอย่างเช่นต่างชาติจะมาซื้อต้องเสียภาษีเยอะขึ้น

อาจารย์จีระ บอกว่า การเคหะฯ ควรมีการวางแผนการทำบริษัทลูก ซึ่งเป็นประเด็นที่ดีมาก

  •  สิงคโปร์ขาดความมั่นคงทางการเมือง การสร้างบ้านต่าง ๆ ยังไม่ค่อยให้มากเท่าไหร่
  • การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามีการขยายไปมากขึ้น อาจกลับมาที่กรุงเทพฯ  การขยายตัวอาจไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นการขยายตัวอาจไปต่างประเทศมากขึ้น แต่อย่างเวียดนาม พบว่าการขยายตัวอยู่ในขาลง  ในสิงคโปร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาบูมมากแต่ช่วงระยะหลังเมื่อเศรษฐกิจถดถอยการขยายตัวก็ลดลงเช่นกัน 
  • การทำแบบสอบถามประเมินอาเซียน เมื่อปีถึง2ปีที่แล้วพบว่า มีอัตราขยายตัวดีขึ้น และคาดว่า 2 ปีถัดไปจะดีขึ้นกว่านี้เยอะ  ปัญหาจากต่างประเทศมองว่าดีขึ้น มีเพียงประเทศไทยที่มองว่าเท่าเดิมหรือดีขึ้นไม่มาก
  • ความท้าทายของการสร้างท่าเมืองทวายในพม่ามีการคาดการณ์ว่าใหญ่กว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า นับเป็นสิ่งที่ท้าทายของการสร้างการก่อสร้างบ้านจัดสรร อาจมีแนวทางในการสร้างบ้านให้ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ เป็นต้น
  • ลักษณะที่ดินของการสร้างที่พม่าจะเป็นลักษณะการเช่า 10 ปี  แต่ที่กัมพูชาอาจเป็นลักษณะของการใช้สิทธิ
  • สรุปคือเราต้องมี Partner ที่ดีเพื่อสามารถคัดเลือกสถานที่ และที่ดินได้ถูกต้อง
  • Housing Finance Mechanism    
  • ถ้าไปต่างประเทศต้องเน้นการสร้าง Brand ให้ดี จะเลือกร้านไหนขึ้นอยู่กับการสร้าง Brand  ตัวอย่างเช่น SCG  หรือ NHA ต้องทำแบรนด์ให้เป็น Inter  Brand  เช่น Intel Inside

วิธีการสร้าง Brand คือ           

-    ต้องมีการทำ Promotion ด้วย 

-          มีการทำ Corporate Goodwill, Personal Goodwill

 

Workshop

  1. วิเคราะห์ AEC – จุดแข็งของการเคหะฯ – โอกาส (Opportunities) – ยุทธวิธีในการฉกฉวยโอกาสจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะ ฯ
  2. วิเคราะห์ AEC - จุดอ่อนของการเคหะฯ – ความเสี่ยง (Opportunities) – ยุทธวิธีในการลดความเสี่ยงจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะฯ
  3. เสนอโครงการเตรียมความพร้อมเรื่อง “ทุนมนุษย์และการบริหารจัดการ”ของการเคหะฯ พร้อมรับ AEC
  4. เสนอโครงการ 2 โครงการที่น่าสนใจเชิงรุกในการเชื่อมโยงการเคหะฯ สู่ AEC และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เสนอว่าควรสร้าง Institutional  Building

กลุ่ม 1วิเคราะห์ AEC – จุดแข็งของการเคหะฯ – โอกาส (Opportunities) – ยุทธวิธีในการฉกฉวยโอกาสจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะ ฯ

จุดแข็ง

  1. ระยะเวลา 39 ปี ทำให้มีความรู้ในการสร้างบ้าน
  2. การพัฒนาในชุมชนการเคหะฯ  องค์กรในประเทศไทยยังไม่มีภาคเอกชนที่ดูแล
  3. การเคหะฯ เชี่ยวชาญการสร้างบ้านผู้อยู่อาศัยรายได้น้อย

จุดอ่อน

  1. ต้องสร้างเครือข่าย
  2. ความเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องปรับตัวให้รับกับการดำเนินงานต่าง ๆ
  3. บุคลากรยังไม่มีความพร้อม ถ้าร่วมมือและให้เชิญผู้มีความรู้อบรมพัฒนารองรับกับ 3 ปีที่เกิดขึ้น

โอกาส

  1. ได้ทุนต่ำลง
  2. เรามีโอกาสได้ความรู้ใหม่ ๆ จากวิศวะ หรือสถาปัตย์
  3. การไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศจะได้ Partnership ใหม่ ๆ  ถ้าเรียนรู้และพิจารณารอบคอบ การล้มจะไม่มี
  4. การแบ่งกลุ่มใหม่ ๆ เป็นตัวสำคัญ  ทำให้เติบโตได้ช้า

 

อาจารย์จีระ

บอกว่าต้องให้นักการเมืองเข้าใจว่าโอกาสทางการเคหะของต่างประเทศนับเป็นวาระแห่งชาติ 

ถ้าเอาจริงกับการเคหะฯ ต้องส่งเรื่องนี้ไปให้ผู้มีอำนาจกับรัฐบาล  ถ้ามีข้อมูลจะเป็นประโยชน์

 

กลุ่ม 2 วิเคราะห์ AEC - จุดอ่อนของการเคหะฯ – ความเสี่ยง (Opportunities) – ยุทธวิธีในการลดความเสี่ยงจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะฯ

 

จุดอ่อน

1.กระบวนการทำงานค่อนข้างล่าช้า กว่าจะได้รับอนุมัติโครงการช้ามาก

2.แบบบ้านไม่เป็นแบบมาตรฐาน เราต้องทำให้เป็นมาตรฐานเพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง

3.โครงการไม่ตอบสนองต่อผู้ใช้แรงงาน มีการทำอาคารชุดชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อได้ ถ้าให้อยู่ต่าง ๆ ต้องทำอาคารเช่า

4. กฎระเบียบ ไม่รองรับชาวต่างชาติ

5.งบประมาณของรัฐ 

6.ไม่มีนโยบายที่แน่นอน

ความเสี่ยง

1.ไม่มีสินค้าส่งตามเป้าหมาย

2.ความล้าช้า ส่งไม่ตรงเวลา

ยุทธวิธี

  1. ปรับปรุงกฎระเบียบ แบบบ้านให้เป็นแบบมาตรฐาน
  2. ขึ้นทะเบียนผู้รับจ้าง
  3. การสร้างอาคารมากขึ้น
  4. นโยบายรัฐบาลในการอุดหนุนต้องชัดเจน

 

กลุ่มที่ 3 การไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศจะได้ Partnership ใหม่ ๆ  ถ้าเรียนรู้และพิจารณารอบคอบ การล้มจะไม่มี

  • การเคหะมีทุนมนุษย์ที่ไม่ธรรมดา แต่ยุทธวิธีไม่ได้มีการพัฒนาทุนมนุษย์เลย
  • อันดับแรกวิสัยทัศน์ พันธกิจ กับบุคลากรที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่ ยังไม่เพียงพอ บุคลากรเก่าทำอย่างไร ใหม่ทำอย่างไร

บุคลากรเก่าต้องเตรียมความพร้อมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ภาษา วัฒนธรรม จริยธรรม เทคโนโลยี การพัฒนาข้ามศาสตร์ คิดนอกกรอบ การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างประเทศ ต้องให้ทุนในการเพิ่มพูนความรู้ ทำวิจัยส่วนไหนที่ขาด เช่นให้คนรุ่นใหม่ไปเรียนปริญญาโทมากขึ้น

  • การปรับโครงสร้าง เพื่อมุ่งไปสู่ AEC ได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น
  • การบริหารแบบมีส่วนร่วม ต้องมีการกระจายอำนาจในหลาย ๆ เรื่อง ผู้นำต้องเป็นผู้นำที่รอบรู้ นำสู่ AEC ได้ ต้องมีแผนชัดเจน มีระยะเวลาปฏิบัติตามแผน ในอนาคตจะรับคนใหม่ ต้องรับคนเก่งเข้ามาไม่ใช่เส้น ต้องรักษาคนเก่งไว้ให้ได้ เช่น แรงจูงใจ ค่าตอบแทน การหาความรู้เพิ่มเติม

 

  • การสร้างพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทุนมนุษย์
  • จริยธรรมต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วย

อาจารย์จีระ บอกว่า การเข้าสู่ AEC ต้องเตรียมความพร้อม วิสัยทัศน์ต้องมี Action ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นแค่ Dream  , ต้องมีการนำไปสื่อสารกับผู้ใหญ่  มีโต๊ะอาเซียน ต้องรู้ให้จริง ต้องพัฒนาคน และทำวิจัยด้วย

 

กลุ่มที่ 4 เสนอโครงการ 2 โครงการที่น่าสนใจเชิงรุกในการเชื่อมโยงการเคหะฯ สู่ AEC และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านที่อยู่อาศัย

  • อาจารย์จีระยกตัวอย่าง Sport Academy ที่ มศว. อย่าง การเคหะฯ อาจมีการทำ Housing Academy เป็นต้น อยากให้เริ่มต้นด้วยการมี International Dialogue

2.มีการเคลื่อนย้ายประชากรในประชาคมอาเซียน ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่เช่น แรงงานที่บ้านชายแดนติดกับเรา

 

ดร.พงษ์ชัย

จากที่กลุ่ม 2 พูดเรื่องพันธกิจของการเคหะ จากโอกาสกลุ่ม 1 นั้นต้องไปแก้พันธกิจบางอย่าง

จุดอ่อน มีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อคือ 1.พันธกิจของตัวการเคหะเอง 2. กฎระเบียบ 3.วิธีการทำงานที่ช้าไม่ได้มาตรฐาน

เสนอว่า ถ้านำทุกอย่างมาเรียงร้อยกันที่ติดใน พ.ร.บ. กับกฎระเบียบต่าง ๆ  ต้องขยาย Scope เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นประเด็นหลัก ๆ ที่เชื่อม

จากที่กลุ่ม 1 จุดแข็งพูดมาไม่สะท้อนภาพลักษณ์ปัจจุบัน อาจต้องมีการ Rebrand ใหม่

แหล่งเงินทุน ถ้ามีการเปลี่ยนพ.ร.บ. อาจต้องมีการนั่งคุยกันว่าจะปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.รูปแบบไหนให้เดินไปได้มากขึ้น  ต้องมี SBU ที่ชัดเจน  อาจมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อระดมทุนได้

กลุ่ม 3 โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ

หน่วยงานคล้ายเราคือสิงคโปร์ การที่การเคหะฯ ลุกขึ้นมาเป็น Leader  ต้องทำหน้าที่เป็นคนชงในเรื่อง Agenda ที่เราต้องการเสนอต่อผู้นำระดับประเทศ ไม่ใช่แค่เรื่องสัมมนา แต่เป็นการยิงเป็น 1 กิจกรรม ที่เราต้องแสดงออกมาให้เห็นว่าเมื่อเป็น Low Income Housing ต้องนึกถึงการเคหะอันดับแรก สรุปคือคิดมากกว่าสัมมนา แต่ต้องคิดว่า 2-3 ปีจะเป็นองค์กรชั้นนำ ด้าน Low Income Housing อย่างไร และมีกิจกรรมอะไรบ้าง

กลุ่ม 4

อยากให้คิด Business Model ให้ชัด กำไรขาดทุนให้ชัด ให้คิดว่าสุดท้ายเป็น Brand ของการเคหะฯ ต้องให้เรายืนอยู่ได้ด้วยตนเอง

ดร.โสภณบอกว่า

  • การมี National Housing Authority สามารถขยายตัวได้
  • อาคารเช่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร วางแผนอย่างไร
  • Cross Subsidy ต้องสร้างบ้านราคาแพงหน่อย รู้ว่าเพื่อช่วยในการสร้างบ้านคนจน

อาจารย์จีระ บอกว่าการเคหะฯ ต้องเปลี่ยนจากปลามาเป็นไก่ เคลื่อนจากความรู้สึกจากลบมาอยู่ตรงกลาง  เปลี่ยนจาก Quantity เป็น Quality

  • ต้องคิดที่จะเสนอปรับปรุง Amendment  พัฒนาสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร
  • การพัฒนายั่งยืน ระยะสั้นต้องช่วยให้ระยะยาวอยู่รอด  เนื่องจากเราต้องอยู่ใน Community ให้ได้ เราต้อง Collaborate กับเพื่อนบ้าน เราต้องเข้มแข็งและอยู่กับต่างประเทศให้ได้ เราต้องสามารถพึ่งตนเองได้
  • ต้องเขียน Project proposal ,Project Document ให้เป็น

ดร.โสภณ    

  • ตัวอย่าง Model ที่มีอยู่แล้วต้องลองให้คนอยู่ฟรี
  • บุคลากร ต้องดูแลบุคลากรให้ดีตัวอย่างเช่น สายการบินต่าง ๆ ธนาคารต่างๆ
  • ปัจจัยการผลิตแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ต้องเลือกคนดี ๆ มาทำงาน ให้สวัสดิการดี ๆ รักษาคนดีให้อยู่กับเรา เพื่อสร้างทางเลือก

ผอ.อรุณี

  • จุดแข็งของการเคหะฯสมัยก่อนดังกว่านี้ แต่ปัจจุบันเริ่มเลือนไป จุดแข็งเอาใครเป็น Benchmark เก่งในประเทศไทย เก่งเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ มาเลเซีย เขารู้จักเราหรือเปล่า
  • การชงเรื่องอย่าง Bottom Up เราต้องวิเคราะห์อย่างดีแล้ว ถ้าเด็กข้างล่างไม่เอาด้วย ข้างบนจะไปไม่รอด
  • โครงการฯ เรื่องลดความยากจน กับการศึกษาสามารถมองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประชุมสัมมนา และเสนอข้อมูล
  • ตัดมาเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยได้

 

 

 

 

ธวัช บุญครองเกียรติ

2 กค. 55 การบริหารธุรกิจในประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) มีข้อสรุปดังนี้ - AEC มีความเป็นมาอย่างไรและมีทิศทางต่อไปอย่างไร - มองภาพ AEC เป็นองค์รวม และไกลไปถึง AEC+3 , AEC+6
- มองจุดสำคัญที่หน้าสนใจด้านอื่นๆ ในตลาดของ AEC เป็นการเพิ่มช่องทางขยายสินค้า บริการ - AEC เป็นตลาดร่วมมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี เช่น สินค้า เงินทุน บริการ แรงงาน และมีการแข่งขันมากขึ้น - คิดเป็นระบบ มองการเชื่อมโยงของ AEC กับ FTA , WTO มีผลกระทบภาษีนำเข้า ส่งออก - ต้องรู้เขารู้เราและรู้จริงจึงรอด - หาจุดประสงค์กลุ่มเป้าหมายลูกค้าใน AEC เกี่ยวกับการอยู่อาศัย - ประชากร AEC มีไม่น้อยกว่า 600 ล้านคน กคช. ได้รับผลกระทบจาก AEC อย่างไรบ้าง - เป็นการเปิดธุรกิจการผลิตและบริการ ใน AEC ให้ใหญ่ขึ้น - ต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่แข็งแรง - การนำเข้าของวัสดุก่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ มีการเสียภาษีน้อยลง ระยะเวลาการก่อสร้างลดลง ราคาถูกลง - ต้องใช้มืออาชีพที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ยอมรับมาตรฐานวิชาชีพใน AEC - ต้องมีการปรับปรุงกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การบริการชุมชน ที่เกี่ยวข้องให้รองรับ AEC - ใช้จุดแข็ง ปรับจุดอ่อน ดึงทุนมนุษย์มาใช้ในการก้าวไปสู่ AEC - ต้องมี MODEL ใหม่ๆมากขึ้น - ฐานรายได้ต่างกันมาก - มีการเชื่อมโยงระบบคมนาคมระหว่างประเทศมากขึน เพื่อรองรับระบบขนส่ง

                                                                                             ธวัช บุญครองเกียรติ
                                                                                                    9 กค. 55

สวัสดีครับทุกท่านในรุ่น 2 วันที่ 9 มิถุนายน 2555 เราเรียนเรื่องเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งก่อนเรียนผมมีคำถามในใจว่าทำไม่เราต้องสนในเรื่องประชาคมอาเซียนในขณะที่ข่าวจากหนังสือพิมพ์กำลังวิพากษ์วิจารย์ปัญหาของอียูที่เกิดในกรีก สเปน อิตาลี จะทำให้อียูต้องล่มสลายหรือไม่ แล้วประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเริ่มต้นในปี 2015 จะมีปัญหาในอนาคตแบบอียูหรือไม่ อ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ซึ่งได้มาบรรยายในภาคเช้าได้ให้คำตอบผมว่าประชาคมอาเซียนนั้นไม่เหมือนอียูเพราะประชาคมอาเซียนเป็นการรวมกันเป็นเขตการค้าเสรี แต่อียูได้มีการพัฒนาจากเขตการค้าเสรีไปจนถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน ปัญหาที่เกิดในอียูจะไม่เกิดกับประชาคมอาเซียนเพราะเป็นเพียงการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งจะมีการเปิดเสรีทางการค้าโดยมุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียนในด้านสินค้า/แรงงาน/บริการ/เงินทุน นอกจากนี้อ.สมชายได้นำเสนอว่าการมองโลกเศรษฐกิจปัจจุบันให้มองเป็นโลกในแนวราบ(มองจากกูเกิลใช้ไม่ได้) อีกทั้งปัจจุบันโลกเราเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารมากมายแต่เดิมเราเรียนกันตรี/โท/เอกเพื่อหาความรู้ ซึ่งใช้ไม่ได้ในปัจจุบันเพราะการเรียนมากอาจทำให้เรากลายเป็นคนโง่และเราไม่สามารถเรียนรู้ได้หมด (อันนี้ท่าจะจริงเหมือนองค์กรเราแสวงหาเครื่องมือหรือต้องถูกบังคับให้ทำ และมีที่ปรึกษามากมายมาช่วยในการบริหารแต่ทำให้พวกเราต้องทำงานหนักเพื่อตอบคำถามเครื่องมือเหล่านั้น) ดังนั้นเทคนิคในการบริหารจัดการยุคโลกภิวัฒน์ การมองต้องมองอย่างเป็นองค์รวม คิดเป็นระบบ จัดระบบความคิด ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูล ข้อมูลอะไรควรศึกษาอย่างลึกซึ้ง หรือข้อมูลอะไรควรปล่อยผ่านและทิ้ง(อันนี้ปฏิบัติได้ทันที) และการบริหารจัดการที่ดีต้องคิดอย่างเชิงกลยุทธ์ รู้เข้ารู้เรา มองให้เป็นระบบ และทำนายอนาคต

สำหรับภาคบ่ายมีอ.อรุณี พูลแก้ว จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาบรรยาเพิ่มเติมในรายละเอียดของการเป็นประชาคมอาเซียน และอ.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุลมาพูดถึงแนวโน้มและการปรับตัว โดยแนวโน้มที่อ.พงษ์ชัย คาดการณ์ประการหนึ่งผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับการเคหะฯ คือจะมีคนจนในเมืองใหญ่ๆ มีมากขึ้น ปัญหาชุมชนมีมากขึ้น และความต้องที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น ( เหมือนกับเวลาที่การเคหะฯ นำเสนอโครงการที่อยู่อาศัยจะมีคำพูดแบบนี้) ซึ่งนำไปสู่การทำ workshop ในการวิเคราะห์การเคหะฯว่าจะทำอะไรเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน โดยส่วนตัวผมยังมองไม่เห็นถึงผลกระทบของการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนกับการดำเนินงานของการเคหะฯ หรือการแสวงหาโอกาสในการดำเนินงานใหม่เพราะในชั่วโมงก่อนหน้านี้ อ.พงษ์ชัยได้มาเน้นย้ำแล้วว่าสถานะทางการเงินของการเคหะฯ เป็นอย่างไรเมื่อมีรายจ่ายประจำสูงถึงปีละ 800 ล้านบาท  ดังนั้นผมยังมองไม่เห็นโอกาสครับเพราะการจะทำอะไรต้องลงทุนจะหวังพึงเงินอุดหนุนจากรัฐคงไม่เพียงพอ ซึ่งอ.จิระพยามแนะนำให้คิดโครงการให้โดนใจฝ่ายการเมืองเพื่อได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมทำ แต่เงินอุดหนุนไม่ได้เป็นแหล่งรายได้ที่เราจะนำมาแก้ไขปัญหาเรื่องรายรับ-รายจ่ายของทุกๆปี น่ะครับ

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 อบรมในหัวข้อการบริหารธุรกิจในยุค AEC ขอเรียนว่าเป็นหัวข้อที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมมากที่สุดเพราะในฐานะบุคลากรขององค์กร ก็อยากทราบว่าองค์กรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร และต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง ซึ่งท่านวิทยากร ประกอบด้วย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, คุณอรุณี พูลแก้ว , ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และดร.โสภณ พรโชคชัย ได้กรุณามาให้ความรู้และแนวคิดในรูปแบบการอภิปราย ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยอมรับว่าการอบรมวันนี้ไม่มีอะไรมารบกวนสมาธิได้ มีสิ่งมองแล้วน่าจะเป็นโอกาส และภัยคุกคามควบคู่กันไป เนื่องจากการเข้าสู่ AEC ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่มีความพร้อม และไม่ปรับเปลี่ยนก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าพร้อมจะมองเห็นโอกาสมากมาย

สิ่งที่การเคหะแห่งชาติต้องเตรียมพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก มองภาพใหญ่ ๆ เป็น 2 เรื่อง คือการพัฒนาทุนมนุษย์ และการบริหารจัดการองค์กรรองรับ AEC ซึ่งในกลุ่มได้รับโจทย์หัวข้อนี้พอดี และได้รับความกรุณาจากท่าน ศ.ดร.ย์จีระฯ และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย ชี้แนะให้เห็นแนวทาง ดังนี้ การพัฒนาทุนมนุษย์เน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ การให้ทุนศึกษาต่อ การเน้นทักษะทางด้านภาษาของสมาชิก AEC การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศ อาจจะเป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างชาติในเนื้องานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของกันและกัน การบริหารจัดการ อาจต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อรองรับ AEC ,การบริหารแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่แบบ top down เพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ AEC อาจมีผลกระทบกับการเคหะฯ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ กรณีที่มีบุคลากรขององค์กรที่มีฝีมือและประสบการณ์สูง อาจถูกซื้อตัวไปอยู่ต่างประเทศซึ่งมีแรงจูงใจที่ดีกว่า หรือ หากมีแรงงานข้ามชาติเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าขอเช่าบ้าน บุคคลต่างชาติที่ประสงค์จะเข้าทำงาน หรือต้องการมายื่นซองเสนอราคา ฯลฯ การเคหะแห่งชาติจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการสื่อสาร กฏ ระเบียบข้อบังคับ ก่อนล่วงหน้าพอสมควร

ประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN อบรมวันที่ 9 ก.ค.2555

                ผู้บริหารที่เก่งต้องรู้ว่าทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมข่าวสาร สังคมแห่งความรู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ KM (knowledge Management) สำหรับเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ Peter M. Senge เป็นชื่อที่หลายคนคงคุ้นหู โดยเฉพาะผู้ที่รักการเรียนรู้และแสวงหาแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นคนเก่งคนดี มีวินัยในการพัฒนาและต่อยอดความสามารถของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้พื้นฐานวินัย 5 ประการ ที่ทุกคนจะต้องศรัทธาและร่วมถือปฏิบัติ โดยเชื่อว่าบุคคลสามารถผสมผสานความใฝ่ฝันของตนเองเข้ากับการทํางานที่ดีขึ้นในระยะยาว และผลจากความพยายามดังกล่าวจะนําไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด พื้นฐานวินัยดังกล่าว ได้แก่
                1. Personal mastery เพิ่มศักยภาพของตนเองได้ เพื่อผลสําเร็จที่ดีกว่าโดยมุงมั่นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีการกําหนดจุดมุ่งหมายในตัวเอง
                2. Mental models มุ่งสะทอนความคิด ทัศนคติ และการยอมรับทั้งของตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งจะพัฒนาต่อเป็นพื้นฐานด้านอารมณ์ (EQ) ของคน
                3. Share vision มุ่งเน้นการมีสวนร่วมทางความคิด การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวคิดที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับของทุกคน
                4. Team learning มุ้งเน้นการทํางานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
                5. System thinking การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ มีเหตุและผล ซึ่งการคิดอย่างเป็นระบบนี้จะพัฒนาขึ้นตามวัย ส่วนจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

                สำหรับวินัยข้อที่ 5 หรือเรียกว่า The Fifth discipline การคิดอย่างเป็นระบบมีความแตกต่างกันระหว่างคำว่า Systematic thinking กับคำว่า Systemic thinking หรือ System thinking
                Systemic thinking หรือ System thinking เหมือนกัน คือ การคิดเชิงระบบเป็นกระบวนการในการเรียนรู้มีหลักอยู่ 4 ประการ คือ
                (1) รู้
                (2) รู้อย่างเดียวไม่รอดต้องรู้จริง
                (3) ตระหนัก
                (4) นำสิ่งที่รู้ไปใช้ได้เป็นล้าน ๆ ครั้ง

                Systematic thinking คือ การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่คนมีความสามารถในการจัดระบบความคิดทำให้สิ่งที่ยากกลายเป็นสิ่งที่ง่าย คนพวกนี้จะมีความคิดต่อไปข้างหน้า  

                สมองของคนเรามีความจำกัดในเรื่องที่จะจดจำ การทำงานต้องวางแผนล่วงหน้าให้แก่ตนเอง ถ้าวางแผนดีจะมองเห็นทั้งโลกในเวลาเพียงเล็กน้อย สมองจึงควรจดจำในสิ่งที่ควรจดจำ ถ้าไม่ใช่ก็ตัดออก คนที่ทำงานเก่ง คือ พวกที่ทำงานด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ ทำให้ค้นพบตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญอย่าทำอะไรที่เป็นแต่ Core competency เพราะจะไม่ประสบความสำเร็จ ควรค้นหาตัวตนว่ามีความชำนาญในเรื่องอื่น ๆ จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าอยากทำแต่ทำเองไม่ได้เพราะไม่ชำนาญก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยและคิดอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดกำไรได้ ตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คือ การทำงานของ Bank มีการเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของลูกค้าที่ชอง one stop service จึงมีการเปิดทำการในห้างสรรพสินค้า ทำงานนอกเวลาปกติ มีธุรกรรมอื่น ๆ เช่น ให้สินเชื่อรถยนต์ การให้บริการประกันภัย บัตรเครดิต

                ประชาคมเศรษฐกิจ ทุกแห่งในโลกจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ สินค้า บริการ แรงงาน และเงินทุนเสมอ นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นตลาดร่วม และเป็นตลาดเดียว
                ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน พื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) Asean จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากจนคิดไม่ถึง

                AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
                1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
                2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
                3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
                4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

                เมื่อเปิดเสรีการเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆ ประกอบด้วย การลงทุนจะเสรีมากขึ้นใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการบินเพราะว่าอยู่กลาง Asean การค้าขายจะขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมาก ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้จะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหารเพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง

                การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง East-West Economic Corridor (EWEC) การขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศ ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก การที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้  ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้น
                พม่า มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่) ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดีย หรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน

                การเคหะฯ ควรมีบทบาทยกระดับสู่ AEC และต้องพิจารณาว่าอะไรมีผลกระทบกับ กคช.ทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ควรกำหนดยุทธศาสตร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า เรื่องที่ควรจะมีบทบาทมากที่สุดคือควรเป็นผู้นำในเรื่อง Low income Housing ของภูมิภาค Asean เรียกได้ว่าเมื่อจะพูดถึง Low income Housing ต้องนึกถึงการเคหะฯ พื้นที่บริเวณชายแดนมีอยู่หรือไม่จะทำอะไรกับพื้นที่เหล่านั้นควรคิดโครงการได้แล้ว

                พันธกิจของ กคช.ต้องตอบสนองจุดแข็งได้โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถของคนของ กคช.ที่มีความเชี่ยวชาญควรรักษาไว้ ในเรื่องของจุดอ่อนคือกฎระเบียบ (พรบ.การเคหะฯ) การทำงานล่าช้าทำให้ส่งสินค้าไม่ทันเวลาควรได้รับการแก้ไข การทำบ้านพักแรงงานประเภทเช่าควรพิจารณาดำเนินการเพราะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ แหล่งเงินทุนก็เป็นเรื่องที่สำคัญต้องมีความคล่องตัวแต่ไม่ถึงกับแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาจทำเป็น SBU (Strategic Business Unit) เพื่อให้ทำการระดมทุนได้ง่ายขึ้น การขายบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยต่อไปก็ต้องคิดถึงกำไรไว้ด้วย 

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

10 กรกฎาคม 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 เรื่องการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

1. ได้ทราบถึงที่มาตั้งแต่เริ่มแรกการจัดตั้งวิวัฒนาการ STEP ต่าง ๆ ของ AEC การรวมตัวที่ผ่านมา และทราบถึงอนาคตว่ามีข้อตกลงในด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานได้ การปรับเปลี่ยนพิกัดภาษีของสินค้า ทราบชนิดสินค้าที่จะมีการปลด/ยกเลิกภาษี เป็นต้น

2. เมื่อทราบถึง STEP ต่าง ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วให้พิจารณาสถานภาพความสามารถ ศักยภาพ จุดแข็งจุดอ่อนของเราเองในทุก ๆ ด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ เพื่อให้ชนะในตลาดได้

3. วิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างของความสามารถในการแข่งขันทุก ๆ ด้าน วิเคราะห์ความต้องการ แนวโน้ม ทิศทางการลงทุน การเคลื่อนย้ายทรัพยากร นำมาปรับกลยุทธ์ กำหนดยุทธศาสตร์ของ กคช. เพื่อการรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงและการรุกไปข้างหน้าอย่างมืออาชีพ

4. ให้มีการเฝ้ามองและติดตามการเปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์เพื่อทราบก่อน และเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต

5. ให้ตระหนักว่าต้องรอบรู้จริงเชิงลึก และต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ที่ได้รับการฝึกฝนมาดีด้วยวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงจะเข้าสู่การแข่งขันระห่าง AEC อย่างผู้ชนะได้

6. การเคหะแห่งชาติมีความชำนาญในการพัฒนาชุมชนสร้างชุมชนใหม่ ชำนาญการบริหารการก่อสร้าง มีวิศวกร และสถาปนิก ช่างเทคนิค ที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์จำนวนมาก สามารถพิจารณาหาแนวทางสร้างที่อยู่อาศัย สร้างชุมชน เพื่อรองรับบริการย่านการค้าชายแดน และเส้นทางคมนาคมหลัก เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายประชากร และการเคลื่อนไหวของผู้คนในทิศทางต่าง ๆ ได้

7. การเคหะแห่งชาติสามารถแลกเปลี่ยน/ส่งออกเทคโนโลยีและวิศวกรรมการบริหารการก่อสร้าง การบริหารชุมชน โดยแลกเปลี่ยน/ส่งออกไปยังประเทศสมาชิกได้

8. การเคหะแห่งชาติสามารถเข้าสู่การแข่งขัน AEC ได้ โดยต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลง เช่น ปรับโครงสร้างตั้งหน่วยงานรองรับการมุ่งไป AEC จัดการให้มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้านผู้นำต้องรอบรู้ ให้ความสำคัญและพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง มียุทธศาสตร์ชัดเจน มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน การรับบุคลากรใหม่ต้อง RECRUDE อย่างมีทิศทาง หรือรับคนเก่ง ๆ มาเป็นพนักงาน มีความสัมพันธ์/แลกเปลี่ยนทุนมนุษย์กับสมาชิกในกลุ่ม AEC

9. จัดทำโครงการร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย

10. เสนอแนะรวบรวมและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง/ชุมชน/ที่อยู่อาศัย ที่ล้าหลัง เป็นอุปสรรค และทำให้เปิดกว้างสู่ปฏิบัติการระหว่างประเทศได้

-------------

10 กรกฎาคม 2555

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 อ.รวิภาส กล่ำทวี โดย สุพจน์ มัฆวิบูลย์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

ทุนมนุษย์ ในที่นี้หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร สามารถพัฒนาต่อยอดได้

ขีดความสามารถเชิงกลยุทธ์

หมายถึง ขีดความสามารถ ศักยภาพของมนุษย์ในองค์กร ที่นำมาทำกิจกรรมในองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในความเห็นของ อ.รวิภาส จุดอ่อนในองค์กร เกิดจากคนในองค์กร และโครงสร้างองค์กร การวิเคราะห์ SWOT ต้องวิเคราะห์ปัญหาทั้ง ระยะกลาง และระยะยาว 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ เอาผลวิเคราะห์จาก SWOT ซึ่งต้องนำทั้งภายใน – ภายนอก พิจารณา / การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ต้องพิจารณาแต่ละหน่วยงานในองค์กรหน่วยงานใดต้องเพิ่มความสามารถที่เหมาะสม เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ทางด้านเทคนิคในงาน 3. กำหนดแผนงานที่ชัดเจน 4. การนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เช่น การรับพนักงานเพิ่มในกรณีขาดแคลนพนักงาน 5. การติดตามผล และการควบคุมดูแล ปรับปรุง แลประเมินผล ทุนมนุษย์ จะประกอบด้วย 1. ความรู้ 2. ทักษะ 3. สมรรถนะ / ศักยภาพในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่ทำให้การบริหารทุนมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 1. ความเป็นผู้นำในองค์กรจะต้องเกิดขึ้น และมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด 2. ต้องมีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์ให้รอบด้าน โดย

 2.1  วิเคราะห์การบริหารองค์กร

2.2 เอาปัญหามากำหนดเป็นทิศทางองค์กร 2.3 เขียน / จัดทำแผนปฏิบัติการ 2.4 นำไปปฏิบัติ 2.5 ติดตาม / ประเมินผล ข้อเสนอแนะ 1. การสร้างมนุษย์ควรเป็นวาระแห่งชาติ 2. ต้องมีระบบการศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างมนุษย์เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ สี่ ของการเข้าโครงการ ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ของคำว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ให้หมายถึง ทรัพย์สิน โดยมีความเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ จากการบริหารจัดการหลัก ๆ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์ กับกลยุทธ์ กลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง 3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น 4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN 6. MORNITOR , EVALUATE , AND REVISE PLAN การสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความรู้ความสามารถ ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ LEADERSHIP หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์ นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด กิจกรรมนี้ชอบมาก รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ สี่ ของการเข้าโครงการ ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ของคำว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ให้หมายถึง ทรัพย์สิน โดยมีความเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ จากการบริหารจัดการหลัก ๆ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์ กับกลยุทธ์ กลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง 3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น 4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN 6. MORNITOR , EVALUATE , AND REVISE PLAN การสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความรู้ความสามารถ ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ LEADERSHIP หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์ นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด กิจกรรมนี้ชอบมาก รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 5 นะคะ

อรพิณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท