ว่าด้วยเรื่องของไข้ ตอนที่ ๑


      ว่าด้วยเรื่องของไข้

           วันนี้ขอนำเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เรามักมองข้ามมา เล่าสู่กันฟัง ก็คือ เรื่อง "ไข้"  นั่นเอง

         ทุกวันที่ซักประวัติผู้ป่วย  นั้น ประมาณร้อยละ 80  ขึ้นไปที่ให้ประวัติเรื่องไข้  แล้วได้กินยาลดไข้ก่อนมา เกินกว่า 6 ชั่วโมง  แม้แต่ในกลุ่มข้าราชการเอง  ก็ตามถามรายไหนรายนั้น ว่า ยังไม่ได้กินยาลดไข้  ทำให้ชลัญสงสัยยิ่งนักว่า

      “ อ้าว !   รู้ว่า เป็นไข้ทำไมไม่กินยาลดไข้มา”

ที่ตอบคล้ายๆกันคือ “กลัวหมอวัดไข้ไม่เจอ” “ก็เห็นว่าจะมาตรวจแล้วก็เลยไม่กิน” บ้างก็บอก  “ยังไม่ได้กินข้าว”

       ชลัญก็งง ซิ เกี่ยวกันตรงไหน อ้าวตกลงอยากหายหรืออยากป่วย

แต่ไม่กล้าถามคนไข้ หรอกนะ ประโยคเมื่อกี้น่ะ เดี๋ยวโดนสวนกลับ

       ยกตัวอย่างมี Case  หนึ่งเด็กอายุ 5 เดือน  มาด้วยไข้สูงซึม เป็นมา 4 วัน  พ่อ เป็นตำรวจ   แม่เป็นนักกายภาพบำบัด พามตรวจตอน 18.00 น.  วัดไข้ได้ 40.2’C  สอบถามกินยาลดไข้ครั้งสุดท้ายบอก  ตอนเที่ยง  หา!  ทำไมไม่ให้กินยาลดไข้ล่ะ  ตอบก็เห็นว่าจะมาหาหมอก็เลยยังไม่ให้กิน อีกอย่างให้อยู่กับยาย

    กรรมล่ะคร้าบ แกจะรอให้ลูกชักก่อนหรืองาย...ให้ตายเถอะนี่ขนาดว่าเป็นบุคลากรที่พอจะมีองค์ความรู้นะนี่  แถมยังใกล้กับงานทางการแพทย์อีกต่างหาก  ยังตอบแบบนี้มิแปลกใจเลยว่า ทำไมชาวบ้าน ถึงตอบให้ พบ.ของขึ้นอยู่เรื่อย

    ชลัญจึงขอนำเรื่องบ้านๆ คือเรื่องไข้นี่แหล่ะมาให้ รู้กันกับการปฏิบัติเมื่อเป็นไข้  จริงๆชลัญอยากให้ทุกบ้านมีปรอทวัดไข้ไว้ที่บ้านด้วยซ้ำ เพื่อที่จะประเมินความรุนแรงของไข้ได้  จะได้ไม่ต้องกระต่ายตื่นตูมเวลาที่สมาชิกในครอบครัวเป็นไข้  หอบหิ้วกันมาโรงพยาบาล นั่งรอหมอ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ได้ยาพาราไปซองเดียวแล้วไม่พอใจว่า  

         “หมอเห้ จ่ายได้ไงฟ่ะ พาราน่ะมีปัญญาซื้อ  โรงพยาบาลนี้รักษาไม่ดีเขียนใบร้องเรียนดีกว่า” ซะงั้น

         “ นี่ถ้าหมอแกได้ยิน แกก็คงของขึ้น ว่าตูน่ะจ่ายยาดีที่สุดแล้ว ปลอดภัยสุดในขณะนี้ เพราะตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ อาจเป็นอาการนำของโรคอย่างอื่นเช่นไข้เลือดออก หรือไม่ก็เป็นเพียงไข้ธรรมดาเท่านั้น  แต่เป็นวันแรกมันตรวจอะไรไม่ค่อยเจอหรอก แล้วก็บอกอยากว่า จะเป็นโรคอะไร save สุดก็พารานี่แหล่ะ โว๊ย”

         ด้วยความไม่พอใจ ที่ได้ยาพาราอย่างเดียว พี่ท่านก็เลยทัวร์รักษา ไปต่อที่คลินิก แถมด่า รพ. ให้คลินิก ฟัง คลินิกก็ร่วมด้วยช่วยโหมโรง จ่ายยาลดไข้ดีกว่า พารา คือจ่ายยากลุ่มแอสไพริน ซึ่งช่วยลดไข้ได้ดีทีเดียว  แถมลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ด้วย  ปรากฏว่ากินไปถูกใจพี่ท่านไข้ลดเพราะเป็นไข้ธรรมดา  ไม่ต้องถึงคลินิกหรอกพาราก็หาย  แต่ต้องอาศัยเวลา  ก็ธรรมดาใกล้ครบเวลาของได้จากร่างกายสร้างภูมิได้เอง  ไปตรวจที่คลินิกหาย ถูกใจคลินิกนั้นโคตรเก่ง ชื่นชมกัน   แพทย์คลินิกหน้าบาน แต่คิดในใจ “ไม่มาหาตูก็หาย” แต่ไม่เป็นไรได้ลูกค้าประจำอีก หนึ่ง

       แต่ถ้าไม่ใช่ไข้ธรรมดาล่ะ  ไข้ลงเหมือนกัน เช่นไข้เลือดออก  แต่ไอ้ที่ลงน่ะคนไข้ก็ซึมลงด้วยเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร  หรือในอวัยวะอื่นๆ สุดท้าย shock หามเข้าโรงพยาบาลแทบไม่ทัน  มาถึงหมอแก้ shock ไม่ทันคนไข้แย่กว่าเดิม ด่าอีก

           “หมอเห้ ! ไม่มีปัญญารักษาคนไข้ เสียงบหลวงส่งเสียเล่าเรียน จะมาเป็นหมอทำบ้าอะไรว่ะ”

           ถ้าหมอได้ยินก็จะตอบว่า “ ก็แกเล่นให้กินแอสไพริน ซึ่งมันต้านการแข็งตัวของเลือด นี่ ไข้เลือดออกด้วยพยาธิสภาพเลือดมันออกในอวัยวะอยู่แล้ว  แกเล่นให้กินแอสไพรินมา เลือดยิ่งไหลไม่หยุด  ต่อให้เทวดา ก็ต้องนั่งสวดมนต์ล่ะคร้าบ”  

           ช่วยได้ไม่มีคำขอบคุณ  แถมบ่น โรงพยาบาลบ้าอะไร ห้องพิเศษ ก็มีไม่พอ ให้นอนรวมกันเน่าหนอน   พยาบาลก็หน้างอ รอก็นาน  ร้อนก็ร้อน  ไม่มีดีสักอย่าง  แต่ญาติพี่ท่านขี้แตกเรียกพยาบาลเช็ดให้หน่อย  พบ.คิดในใจแค่ขี้แตกตกลง ญาติแกหรือญาติฉันนี่ ช่วยหน่อยก็ไม่ได้  ทำงานหัวเป็นเกลียว ตัวเป็นน็อตอยู่แล้ว จะให้ พบ.ยิ้มดีใจ อ้อ!คนไข้ขี้แตกหรือค่ะ ญาตินั่งเฉยๆ เดี๋ยว พบ.ทำให้   โอ๊ย! มีแต่นางเอกหนังไทยที่ทำได้  ชลัญคนหนึ่งล่ะไป๊ขอญาติมาช่วยแจมเช็ดขี้ เช็ดตัวลดไข้หน่อย  ยังไง ๆ ก็ญาติแก ช่วยกันดูแลจะได้หายไว ๆ 

           ขอโทษบ่นนอกเรื่องไปหน่อย นึกถึงเมื่อไรของขึ้น

            มาต่อด้วยเรื่องไข้ ที่อยากให้มีปรอทน่ะคืออยากให้ประเมินอาการไข้เป็นกัน

           แรกเลยควรรู้ระดับของไข้ ซึ่งไข้แบ่งออกเป็นระดับดังนี้

1.   ไข้ต่ำ (Low fever) มีอุณหภูมิระหว่าง 37.5 °C – 38.4 °C

 

2.   ไข้ปานกลาง (Moderate fever) มีอุณหภูมิระหว่าง 38.5 °C – 39.4°C

 

3.   ไข้สูง (High fever) มีอุณหภูมิระหว่าง 39.5 °C – 40.5 °C

 

4.   ไข้สูงมาก (Hyperpyrexia) มีอุณหภูมิตั้งแต่ 40.5 °C ขึ้นไป

       เดี๋ยวรออ่านตอน ต่อไปจะมาเล่าให้ฟังว่า  เราจะจัดการไข้แต่ละระดับอย่างไร

        ตอนนี้ขอไปทำหน้าที่ แม่บ้านที่ดีก่อน เดี๋ยวจะถูกคุณป๊าทิ้งเพราะ พบ.ติดโกว์ 5555555555

 

Chalunthorn  Teeyamaneerat

 

 

       

 

หมายเลขบันทึก: 491332เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยทุกอย่างครับ โดยเฉพาะประโยคนี้ครับ......"ชลัญอยากให้ทุกบ้านมีปรอทวัดไข้ไว้ที่บ้านด้วยซ้ำ เพื่อที่จะประเมินความรุนแรงของไข้ได้ จะได้ไม่ต้องกระต่ายตื่นตูมเวลาที่สมาชิกในครอบครัวเป็นไข้ หอบหิ้วกันมาโรงพยาบาล นั่งรอหมอ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ได้ยาพาราไปซองเดียวแล้วไม่พอใจ....."

"มาตรวจครั้งก่อน.. ไข้สูงกินยาลดไข้มาถึงโรง'บาลวัดไม่มีไข้.. หมอพูด ไม่เห็นมีไข้เลย" ก็เลยต้องเอาไข้มาโชว์ (อันนี้คุณพี่พูดเอง).. คำพูดบางคำของทีมงานสธ.อาจทำให้คนไข้ของเราปรับเปลี่ยนตาม.. แบบไม่รู้จริง

 

ชอบบันทึึกแบบนี้จังค่ะ ได้แง่คิดและเกร็ดความรู้แบบไม่เครียด

เรื่องไม่กินยาลดไข้ เพราะกลัวหมอหาไข้ไม่เจอ เลยไม่รู้สาเหตุ แล้วไม่หาย ทำให้คิดถึง คนป่วย ที่ไม่ยอมกินยาแก้ปวด เพราะกลัวหมอหาปวดไม่เจอ แล้วไม่หาย บางทีคนไข้ Palliative บางคนอาจคิดแบบเดียวกันก็ได้

ชอบตรงที่บ่นนี่แหละ 55

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท