System Theory ภาค2


System Theory

คุณสมบัติของระบบ
1. ความเป็นองค์รวม Holistic หรือ Wholeness

จะต้องมองในลักษณะขององค์รวม  จะมีลักษณะเป็นเอกภาพเดียวกัน (universal) ซึ่งความเป็นเอกภาพประกอบด้วย เนื้อที่(space) เวลา(time) สาระ(element) การเคลื่อนที่(movement) ความเป็นเหตุเป็นผล(causality) มีความเป็นระบบ(system)
2. ความเป็นลำดับชั้น Hierarchy

ระบบย่อยมีความสัมพันธ์กันกับส่วนประกอบของระบบ  แต่ละชั้นของระบบย่อยมีความสัมพันธ์กัน
3. ขอบเขตของระบบ
Boundary

เป็นเครื่องแสดงเขตแดนว่าระบบหนึ่งๆครอบคลุมด้วยอะไรบ้าง  อะไรบ้างที่อยู่นอกขอบเขต บางครั้งก็มีการซ้อนทับกับระบบอื่นๆ
ระบบที่พิจรณาได้ยาก   เช่น  นามธรรม  ธรรมชาติ  ระบบที่มีการซ้อนทับ  ระบบครอบครัว
ระบบที่พิจรณาได้ง่าย   เช่น   ร่างกาย (มีขอบเขต คือ เนื้อเยื่อ)
4. แบบแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
Pattern
คือลักษณะที่คงที่แน่นอนขอบระบบ  แบบแผนของระบบจะถูกกำกับโดยกฎเกณฑ์หน้าที่  เพื่อเป็นการประกันการทำงานว่าจะไม่เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายของระบบโดยรวม
5. โครงสร้างของระบบ
คือ ชิ้นส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นมาเป็นระบบ  ซึ่งจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน  อาจจะมีรูปร่าง  แบบแผน  เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ 
6. ระบบต้องมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม(interchange With Environment)
ระบบต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม  ซึ่งจะมีการ  รับเข้า ป้อนออก  และระบบจะผลิตผลลัพธ์ที่ได้ออกมาให้กับสภาพแวดล้อม
7. มีการปรับตัวกับสภาพความเปลี่ยนแปลง (Adaptation)
ในความเป็นจริงที่ระบบต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา  เพราะสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด  และระบบที่มีความซับซ้อนจะต้องมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง  และจัดระเบียบตัวเองใหม่ บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
8. มีการจัดระบบภายในตัวเองและคงทนตัวเองไว้
เนื่องจากระบบมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่มีความเปลี่ยนแปลง  เพราะฉะนั้นระบบต้องมีความสามารถในการปรับตัว  และคงสภาวะสมดุลของระบบไว้ให้ได้
9. การควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ภายในระบบโดยผ่านทางกฎและการสื่อสาร

ระบบต้องมีการควบคุมตนเองเพื่อนำระบบของตนให้บรรลุไปสู่เป้าหมายได้




แนวทางวิเคราะห์ระบบมีดังนี้ ...

1. อะไรคือปัญหาของระบบ
2. ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไร  (ใช้แนวคิดเชิงระบบในการมองปัญหา)
3. ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบถึงใคร  และส่งผลกระทบอย่างไร
4. แนวทางแก้ไขปัญหานั้น





การวิเคราะห์ระบบแบ่งเป็น  7  ขั้นตอนดังนี้คือ ...

1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition)  วิเคราะห์ให้ได้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นในองค์กรหรือในระบบนั้น    นิยามปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบนั้น
2.การวิเคราะห์ (Analysis)
จะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ระบบเก่ามาสู่ระบบใหม่เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการปฎิบัติงานปัจจุบัน  แล้วทำการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ
3. การออกแบบ (Design)
คือการเอากระบวนการออกแบบเชิงตรรกะมาออกแบบเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่ปฎิบัติงานได้จริง
4. การพัฒนา (Development)
เป็นการพัฒนาโปรแกรมด้วยการสร้างชุดคำสั่ง 
5. การทดสอบ(Testing)
ก่อนนำมาใช้งาน  เราควรที่จะตรวจสอบ  ทดสอบ  ระบบว่ามีความพร้อมเพียงใดที่จะนำไปใช้งาน  หาข้อผิดพลาดและหาข้อแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำมาใช้จริง
6. การติดตั้ง
หลังจากทดสอบแล้วก็ทำการติดตั้งระบบให้มีความถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
7.การบำรุงรักษา
หลังจากใช้งานไปอาจจะเกิดปัญหาต่างๆที่นอกเหนือจากปัญหาที่พบในการตรวจสอบ   เราจึงต้องทำการแก้ไข  โปรแกรมที่มีความผิดพลาด  เกิดBug ทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้

 

 

 

 

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ "การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น"
เขียนโดย  ผศ.ดร. ชัชวาลย์  วงค์ประเสริฐ

คำสำคัญ (Tags): #system#theory
หมายเลขบันทึก: 49112เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เดี๋ยวมีต่อนะ ไปซักผ้าก่อน ^^"

 *************************************

เสร็จเรียบร้อยแล้วจ้า

 

************************************** 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท