เลี้ยงโคอย่างพอเพียง


การเลี้ยงโคให้ประสบความสำเร็จเกษตรกรควรมีการวมกลุ่มจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดพลังในการทำงานและเกิดผลอย่างมั่นคงยั่งยืน

การเลี้ยงโคเนื้อของชาวบ้าน

ลูกผสมชาโรเลส์ที่ฟาร์มคุณเจริญ

              จากที่ได้ไปประชุมร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงที่อำเภอสตึกใน 2 วันที่ผ่านมาพบประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง เช่น
  1. ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงที่เป็นข้อมูลทางวิชาการนั้นยังมีไม่พียงพอ เพราะเกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรม (ลูกค้า ธกส.) ยังไม่รู้จักแม้แต่อาหารข้น รู้จักพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ชาวบ้านรู้แค่ว่าโคกินแค่หญ้ากับฟางข้าว ดีขึ้นมาหน่อยก็ใช้ฟางผสมกากน้ำตาลและชาวบ้านจะเข้าใจผิดคิดว่ากากน้ำตาลจะไปเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้ฟาง ซึ่งความจริงแล้วกากน้ำตาลนั้นทำให้ฟางนุ่มโคทานได้ง่ายแต่ให้คุณค่าทางอาหารน้อย หรือไม่รู้ว่ามันเส้น และใบมันสำประหลังที่แห้งแล้วสามารถนำมาเป็นอาหารให้กับโคได้
  2. ความรู้ด้านการคัดเลือกพันธุ์ ส่วนหนึ่งเกษตรกรจะเลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองอย่างเดียว ทำให้ได้โคที่มีคุณภาพซากต่ำ ขายได้ราคาต่ำด้วย และส่วนพันธุ์ลูกผสมก็นิยมเลี้ยงพันธุ์หูยาว (ฮินดูบราซิล) ซึ่งเป็นวัวตามความนิยมทำให้เกษตรกรที่ลงทุนเลี้ยงพันธุ์นี้ประสบปัญหาขาดทุนได้
  3. เกษตรกรยังขาดการรวมกลุ่ม ต่างคนต่างเลี้ยง เวลาประสบปัญหาทำให้ไม่มีที่ปรึกษา และไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกัน

              ส่วนวิธีการเลี้ยงโคที่ทำแล้วได้ผลดีนั้น คุณทูล และคุณเจริญ ได้อธิบายเป็นด้าน ๆ ดังนี้

      โคที่คัดมาขุน        

            1. การเลือกซื้อโค ทั้งนำมาเลี้ยงเพื่อทำพันธุ์และขุน

                   การเลือกแม่พันธุ์
  • ต้องสูงยาวเข่าดี
  • ควรเป็นลูกผสมบราห์มัน เพราะพันธุ์นี้มีความเป็นกลางทางสายพันธุ์และเป็นแม่พันธุ์ที่ดีที่สามารถถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของพ่อพันธุ์ที่ได้ดี
  • เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะสูงยาวเข่าดีจากนั้นค่อยนำมาผสมกับพ่อพัน์บราห์มัน และผสมต่อกับชาโรเลส์ จะโคเนื้อที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด
  • โคที่มีลักษณะเป็นแม่พันธุ์ที่ดีนั้นเมื่อผสมกับพ่อพันธุ์ไหนแล้วลูกที่ได้จะต้องมีลักษณะเหมือนพ่อพันธุ์โดยเฉพาะสีซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดจะต้องเหมือนพ่อพันธุ์
                   การเลือกโคเข้าขุน
  • ซื้อโคตามน้ำหนักไม่ซื้อราคาเป็นตัว เพราะการซื้อตามน้ำหนักจะถูกกว่า โดยใช้การวัดรอบออกเพื่อเทียบน้ำหนัก (จะนำเสนอเทคนิคการวัดในวันต่อไป)
  • โคต้องโตตัวยาว กระดูกใหญ่ ขนเรียบนุ่มเป็นมันสังเกตจากการมองเห็นเป็นมันสะท้อนกับแสงอาทิตย์ หนังหนา ขาตรง หลังตรง ท้องไม่ป่อง สะโพกกว้างและยาว ให้ค่อนข้างผอม โคที่ผอมเมื่อขุนแล้วจะได้กำไรมากกว่า เพราะต้นทุนถูกกว่า
  • การซื้อแบบเหมา จะต้องประมาณน้ำหนักให้ถูกต้อง โดยฝึกการวัดรอบอกให้ชำนาญ ถ้ายังไม่ชำนาญต้องมีให้ผู้ที่มีความชำนาญแล้วไปช่วยเลือกซื้อ
  • โคโครงร่างใหญ่และผอมจะเติบโตเร็วมาก
  • ควรซื้อโคขุนที่อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าอายุมากจะรบกันไม่เลิกแย่งกันเป็นใหญ่ในฝูง
              2. การทำคอกเลี้ยงโคขุน
  • โคขุน 1 ตัว ต้องการพื้นที่ 8 ตารางเมตร จะพอเหมาะกับการเจริญเติบโตไม่แออัดโคสุขภาพจิตดี ซึ่งต่างจากข้อมูลของกรมปสุสัตว์ที่กำหนดพื้นที่ 3 ตารางเมตรต่อโค 1 ตัว
  • ใชวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะไม้ไผ่จะราคาถูกและแข็งแรงทนทาน รวมทั้งต้นตาล ต้นมะพร้าว ต้นหมาก จะมีความคงทุนแข็งแรงและไม่เป็นเสี้ยนตำผิวหนังของโคยิ่งโคถูกตัวบ่อยเปลือกต้นหมากจะขึ้นมัน
  • หลังคาส่วนที่ต่ำที่สุด ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 เมตร แต่ไม่ควรสูงเกินไปเพราะจะกันแดดกันฝนไม่ได้ เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทสะดวก โคขุนไม่ชอบอากาศร้อน ถ้าอากาศร้อนโคจะกินอาหารได้น้อยและน้ำหนักตัวไม่เพิ่ม ไม่ควรนำโคไปผูกไว้ตามที่โล่ง เพราะเมื่อโคกินอิ่มจะชอบนอนพักทั้งในที่ร่มและแดดรำไรจะไม่ชอบแดดร้อนมาก เพราะแดดที่ร้อนจัดจะเผาผลาญไขมันในเนื้อและหนังวัว ทำให้ได้เนื้อไม่มีคุณภาพ
  • รางอาหารควรมีช่องให้เพียงพอกับจำนวนโคที่เลี้ยง
  • วางรางน้ำไว้ที่ต่ำที่สุดและให้เพียงพอต่อโค เพราะโคขุนต้องการน้ำมากกว่าโคที่เลี้ยงตามปกติ
  • รางอาหารควรกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้าแคบอาหารจะตกหล่นเสียหาย

        พรุ่งนี้มีต่อ

        ขอบคุณค่ะ

        พันดา  เลิศปัญญา

หมายเลขบันทึก: 49105เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2006 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     วันนี้ที่เวที "ครอบครัวเข้มแข็ง จว.พัทลุง" ได้ ลปรร.กับ ประธานชมรมข้าว จว.พัทลุง ท่านพูดถึงเรื่องการเลี้ยงโค ว่าอยากมีความรู้เพื่อปรับปรุงที่ดำเนินการอยู่ ผมนึกได้ถึงบันทึกที่อาจารย์เขียนมาหลายบันทึกแล้ว เลยนัดแนะให้มาพบกันที่ สนง.สัปดาห์หน้า วันนี้เลยจะขออนุญาตอาจารย์ว่าจะปริ้นให้ไป จะได้ไหมครับ

ขอบคุณคุณชายขอบมากค่ะ  ให้ปริ๊นได้ค่ะ เพราะต้องการแลกเลี่ยนเรียนรู้อยู่แล้ว   จริง ๆ แล้วยังมีข้อมูลที่ต้องศึกษาอีกมาก ทั้งจากชาวบ้านและจากนักวิชาการ ถ้าคุณชายขอบมีข้อมูลอะไรดีก็ช่วยบอกต่อด้วยค่ะ  เนื่องจากแต่ละพื้นที่อาจมีเทคนิคพิเศษที่อาจเป็นประโยชน์จนคาดไม่ถึงก็เป็นได้

ขอบคุณค่ะ

พันดา  เลิศปัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท