ความน่าจะเป็นของที่มา พระสมเด็จแก่ปูนดิบ และแก่ปูนสุก


ชุดความรู้ของการใช้ปูนดิบเพื่อสร้างความแกร่งของเนื้อพระนั้นมีมานานแล้ว แต่การสร้างในบางช่วงก็ยังมีการสร้างพระเนื้อแก่ปูนสุก ที่มีเนื้ออ่อน และไม่งดงามดังเช่นที่เคยทำมาแล้ว ที่น่าจะมีสาเหตุ และข้อจำกัดของการจัดการให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในช่วงแรกๆของการศึกษาพระเนื้อผง โดยเฉพาะ พระสมเด็จสามวัดของท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต นั้น

ผมได้ทราบจากการอ่านตำนานพระสมเด็จ และหนังสือพระสมเด็จของท่าน ตรี ยัมปวาย มาว่า

  • เนื้อวัดระฆังจะมีเนื้อแกร่ง มัน อาจมีผงแป้งนวลบ้างเล็กน้อย เป็นเนื้อพระที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของวัดระฆัง
  • แต่ก็อาจมีบางองค์ที่ค่อนข้างจะมีปูนสุกและเนื้ออ่อนมากหน่อย
  • ที่เซียนบางท่านตีเก๊ว่า "เนื้อไม่ถึง"
    • ที่น่าจะแปลว่า ไม่เป็นไปตามหลักการ มากกว่าที่จะเป็นพระเก๊

  • สำหรับวัดเกตุชัยโย (เกศไชโย) นั้น ก็จะมี 3 เนื้อ เช่นกัน ได้แก่
    • แกร่งมัน และ
    • นวลนุ่ม  เป็นหลัก
    • แต่ก็อาจมีเนื้อยุ่ยฟูปะปนบ้างเล็กน้อย

  • บางขุนพรหมกรุเก่า

  •  

  • บางขุนพรหมกรุใหม่

  • ส่วนวัดบางขุนพรหมนั้น
    • ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อฟู อ่อน
    • แต่จะมีคราบกรุคลุมแบบแน่นแข็ง โดยเฉพาะพระกรุใหม่
    • แต่พระกรุเก่าจำนวนหนึ่งจะมีเนื้อค่อนข้างแกร่งคล้ายๆของวัดระฆัง

และยิ่งกว่านั้น ยังมีการสร้างพระสมเด็จรุ่นเก่าๆ ระดับพระอาจารย์ของท่าน ก็มีเนื้อแกร่งแบบแก่ปูนดิบเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้น

คำว่า"ปูนดิบนั้น" ผมจึงตีความว่า "ปูนที่ยังไม่สุก" หรือไม่เผา แต่อาจจะเผาโดยใช้ไฟไม่แรง หรือไม่นานพอ หรืออาจเตรียมแล้วผสมกับปูนสุกทีหลัง

ความ "ดิบ" ของปูน น่าจะทำให้ยังมีความแข็ง และต้องใช้เวลาและแรงงานในการเตรียมมากกว่า

แต่การใช้ปูนดิบเพียงอย่างเดียว น่าจะปั้นเป็นก้อนได้ยากมาก

เพราะในการปั้นและกดพิมพ์นั้น วัสดุที่เตรียมควรต้องมีความเหนียว และการยึดเกาะ (concretion) จากปูนที่มี calcium bonds จึงจะอยู่ได้

แค่แรงเกาะแบบ binding จากน้ำมันตังอิ้ว กล้วย น้ำอ้อย ไม่น่าจะพอครับ

และการคงรูปของพระสมเด็จชิ้นฟักนั้น ต้องใช้เวลาหลายสิบปี ก่อนจะเกิด concretion ที่ผิวให้คงทน

ดังนั้น ผมจึงคาดเดาว่า น่าจะมีความเหนียวจากการยึดเกาะ (concretion) ภายในเนื้อก่อนนั้น ตั้งแต่เริ่มผสมมวลสาร แบบเดียวกับการผสมคอนกรีต

ในประเด็นกระบวนการทางเคมี ผมขอสรุปนะครับว่า concretion น่าจะมาจากปูน และน่าจะเกิด ๒ ระยะใหญ่ๆ คือ

  • ระหว่างผสมมวลสาร และ
  • หลังจากนั้นอีกเป็นร้อยๆปี  ยิ่งนานยิ่งแกร่ง จนกว่าน้ำปูนจะหมดแรง

น้ำมันที่ผสมลงไป น่าจะทำให้เกิดความนุ่มและลดแรงบิด หรือทนแรงบิดของการหดตัวของปูนมากกว่าที่จะทำให้เกิดความแกร่งโดยตรง

ที่แสดงว่าชุดความรู้ของการใช้ปูนดิบเพื่อสร้างความแกร่งของเนื้อพระนั้นมีมานานแล้ว แต่การสร้างในบางช่วงก็ยังมีการสร้างพระเนื้อแก่ปูนสุก ที่มีเนื้ออ่อน และไม่งดงามดังเช่นที่เคยทำมาแล้ว ที่น่าจะมีสาเหตุ และข้อจำกัดของการจัดการให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

แล้วสาเหตุที่ว่าน่าจะเกิดจากอะไร

จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของเทคนิคและเวลาในการสร้างพระสมเด็จแต่ละชุดจากหนังสือพระสมเด็จของท่าน ตรี ยัมปวาย พบว่า

  • พระสมเด็จวัดระฆังทำแบบค่อยๆทำตามความพร้อมเป็นส่วนใหญ่
    • การผสมและเตรียมมวลสารจึงน่าจะมีความละเอียดรอบคอบ และตรงตามหลักการมากกว่า และ
    • ไม่มีข้อมูลใดที่อ้างถึงว่า ต้องมีการรีบทำเป็นจำนวนมาก
    • จึงน่าจะใช้ปูนดิบได้เต็มตามสูตร
  • พระสมเด็จวัดเกตุชัยโย มีการสร้าง 2 แบบ คือ
    • ตอนแรกค่อยๆทำตามสูตร ใช้ปูนดิบได้พอเพียง 
    • แต่ตอนหลังเร่งทำเพื่อให้ทันงานบรรจุกรุ
    • ที่น่าจะมีส่วนน้อยที่ใช้ปูนสุกมากๆ
    • และยังมีการนำพระสมเด็จวัดระฆังที่สร้างไว้มาเสริมให้ครบจำนวนที่ต้องการ
  • พระสมเด็จบางขุนพรหม สร้างในช่วงปลายๆยุคของท่าน มีการสร้างอย่างรีบเร่ง ใช้มวลสาร(ที่น่าจะหมายถึง ปูนดิบ) น้อย แต่ปูน (สุก)มาก ที่น่าจะหมายถึงที่ใช้ปูนดิบน้อย เพราะเตรียมไม่ค่อยทัน แต่อาจมีช่วงแรกๆที่ค่อนข้างดี แต่ตอนท้ายๆก็ทำแบบรีบเร่ง จนถึงวันบรรจุกรุในปี 2416 นั้นท่านได้สิ้นไปแล้ว 
    • จึงอาจมีพระที่ทำครบตามสูตรบ้าง แต่ส่วนใหญ่เน้นปูนสุกที่ทำได้รวดเร็วกว่า 

ขั้นตอนดังกล่าวของการสร้างพระสมเด็จแต่ละชุด น่าจะเป็นของที่มา พระสมเด็จแก่ปูนดิบ และแก่ปูนสุก

นอกเหนือจากองค์ประกอบของมวลสารอื่นๆที่เพิ่มเข้ามาตามหลักพุทธคุณที่ท่านสร้างขึ้นมาและกำหนดไว้ในการผสม

นี่คือผลการวิเคราะห์ลักษณะของเนื้อพระ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์และวิธีการสร้างพระสมเด็จแต่ละวัด

ท่านอื่นมีความเห็นอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 490581เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ของเล่นครับ ผมลบไปแล้ว ผมไม่เล่นพระเก๊ครับ

 

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท