เมื่ออังกฤษตกอยู่ในมือต่างชาติ ; ความรุ่งเรืองที่หายไป – และมุมสะท้อนถึงเมืองไทย


มีข่าวชิ้นเล็กๆรายงานว่า หลายสิ่งหลายอย่าในอังกฤษไม่ใช่ของคนในประเทศอีกต่อไป เมื่อเศรษฐีอังกฤษเริ่มขายกิจการให้ต่างชาติ

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามกุสโซด์ , อสังหาริมทรัพย์โรมแรมชื่อดัง, รถยนต์ยี่ห้อต่างๆที่มีความคลาสสิค จนถึงทีมฟุตบอลอังกฤษอย่าง แมน-ยู ซึ่งเจ้าของเป็นคนอเมริกัน, ทีมเซลซีของคนรัสเซีย และมีข่าวอีกหลายทีม กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อขอซื้อ

อังกฤษ ต้นกำเนิดเกมลูกหนังสมัยใหม่ มีโค้ช – นักเตะเป็นชาวต่างชาติ เจ้าของทีมเป็นชาวต่างชาติ

ในยุคโลกาภิวัฒน์แบบนี้ ต่อไปอาจจะได้เห็นอังกฤษขายแต่การท่องเที่ยวเท่านั้น  ส่วนนวัตกรรมใหม่ๆ เยอรมัน, ญี่ปุ่น, อเมริกา เกาหลีใต้ ครอบครองไปหมด

การเข้ามาของเงินทุนต่างชาติ ที่อังกฤษ มองดูแล้ว ก็กลับมามองเมืองไทย

การขยายสาขาการค้าปลีกขนาดใหญ่ โลตัว บิ๊กซี แมคโคร ฯลฯ ผุดเป็นดอกเห็ด กระจายเข้าสู่ระดับอำเภอในหลายจังหวัด ร้านโชว์ห่วยต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก

มีตัวแทนของพ่อค้า สมาคมฯ ออกมาต่อต้านที่โคราช อ่างทอง และอีกหลายจังหวัด แต่ประชาชนผู้บริโภคยังคงเฉย อาจเป็นเพราะ พฤติกรรมของผู้บริโภคไทยเปลี่ยนไป ชอบความสะดวกสบายมากขึ้น

กลยุทธ์การค้าข้ามชาติ เข้ามาทำลายชีวิต วัฒนธรรม ระบบการค้าของคนไทยมากขึ้น ร้านโชว์ห่วยไม่สามารถปรับตัวแข่งขันได้  เพราะขาดเงินทุน เทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่เทียบเท่าได้

หรือว่า ในอนาคต วิถีชีวิตของคนไทย ต้องอยู่ในมือของคนต่างชาติ


หมายเลขบันทึก: 49011เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเคยทำงานให้กับฝ่ายการตลาดของโคคา-โคล่า ที่ภาคใต้ จากข้อมูลของเอซีเนลสัน ระบุถึงตัวเลขของร้านจับห่วย โชว์ห่วย ที่พิการ และตายไป อย่างน่าตกใจ  แต่ได้กลายพันธุ์มาเป็นร้านสะดวกซื้อแทน  ในธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงนั้น  ผู้มีอำนาจเงินทุน และการจัดการที่เหนือกว่า เป็นผู้กำหนดทิศทางและพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากขึ้นค่ะ 

สินค้าหลายแบรนด์ที่ได้ลิขสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายในเมืองไทย ได้ถูกต่างชาติบีบ บังคับ ด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขสารพัด ยึดแบรนด์นั้นกลับมาทำเองที่เมืองไทย  

อยู่ที่จิตสำนึกของผู้บริโภคแล้ว ว่าจะสนับสนุนสินค้าแบรนด์เนมต่างชาติหรือไม่  ใครจะเป็นผู้กระตุ้นจิตสำนึกนี้ค่ะ

ขอบคุณในความคิดเห็นที่ร่วมเติมเต็มครับ เรื่องจิตสำนึกของผู้บริโภคนี้ คงจะไปกระตุ้นยากแล้วล่ะครับ เพราะผู้บริโภคมีค่านิยมที่เปลี่ยนไป คงจะเป็นไปตามกระแสทุนนิยมแบบนี้ต่อไปกระมังครับ ใครปรับตัวได้ เอาตัวรอดได้ ก็อยู่ต่อไป คิดแล้ว น่าเศร้ากับวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท