อาสาสมัครชีวิต...มีความสุขไหมเมื่อสละทรัพย์ให้ผู้อื่น


ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนสนิทที่อยู่เมืองไทย เรื่องราวของเค้าทำให้ผมอดชื่นชมไม่ได้ เลยต้องบอกเล่าสู่เพื่อนๆ GOTOKNOW ครับ
 

 เค้าเคยเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล ช่วงระหว่างเรียนที่ได้เงินเดือนสองทางคือ จากเงินเดือนในอัตราค่าใช้จ่ายตามระบบแลกเปลี่ยนเงินของประเทศที่ไปเรียนต่อ และจากเงินเดือนของหน่วยงานรัฐบาลที่เค้าต้องกลับไปใช้ทุนเมื่อเรียนจบ

 

ถ้าอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีภาระใดๆ นักเรียนทุนผู้นี้สามารถเก็บเงินและใช้จ่ายได้อย่างสบายใจ หลังจากเรียนจบ คล้ายๆมีเงินเก็บอยู่ถึงสี่ห้าปี ในการมาใช้ชีวิตศึกษาต่อในต่างประเทศ

 

แต่เพื่อนผมคนนี้เค้ามีภาระที่ต้องดูแลครอบครัวในเมืองไทย ไม่ว่าจะก่อนมา หรือระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ หรือหลังจากกลับไปใช้ทุนในเมืองไทย กิจกรรมช่วยเหลือผู้อื่น (Volunteering activity) ที่ผมคิดว่าท่านผู้นี้ทำอย่างประเสริฐมาก ในครั้งหนึ่งของชีวิตของท่าน ที่ได้มีโอกาสเป็นผู้เสียสละทรัพย์เพื่อบุคคลที่ท่านรักและเคารพอย่างสูง ท่านต้องส่งเงินช่วยเหลือทางบ้าน เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่มีงานทำ และท่านทั้งสองคนก็ต้องใช้เงินรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เงินเดือนทั้งสองทางที่กล่าวไปข้างต้น ท่านต้องรู้จักจัดแจงบัญชี (Money management) ให้สามารถรู้จักใช้ชีวิตของตนเองอย่างพอเพียง และประหยัดเงินบางส่วนเพื่อเก็บออมเงินในแต่ละเดือน แล้วส่งไปช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ที่เมืองไทย

 

คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากนะครับ กับบทบาทอาสาสมัครชีวิต ที่ลูกๆท่านอื่นสมควรทำตามแบบอย่าง ผมเองก็รู้สึกเช่นเดียวกันว่า การเสียสละเพื่อครอบครัวที่เรารักด้วยเงินทองที่เรารู้จักอดออม เราสามารถใช้ชีวิตอย่างสมถะและยังสามารถช่วยเหลือสมาชิกอีกหลายท่านในครอบครัว ผมคิดว่าเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ภายใต้จิตสำนึกของความกตัญญูบุพพการีครับ

Here I have added definitions of "HAPPINESS" cited in Wikipedia, the free encyclopedia as follows:

Martin Seligman in his book Authentic Happiness gives the positive psychology definition of happiness as consisting of both positive emotions (like comfort) and positive activities (like absorption). He presents three categories of positive emotions:

  • past: feelings of satisfaction, contentment, pride, and serenity.
  • present (examples): enjoying the taste of food, glee at listening to music, absorption in reading, and company of people you like e.g. friends and family.
  • future: feelings of optimism, hope, trust, faith, and confidence.

There are three categories of present positive emotions:

  • bodily pleasures, e.g. enjoying the taste of food.
  • higher pleasures, e.g. glee at listening to music.
  • gratifications, e.g. absorption in reading.

The bodily and higher pleasures are "pleasures of the moment" and usually involve some external stimulus. An exception is the glee felt at having an original thought.

Gratifications involve full engagement, flow, elimination of self-consciousness, and blocking of felt emotions. But when a gratification comes to an end then positive emotions will be felt. Gratifications can be obtained or increased by developing signature strengths and virtues. Authenticity is the derivation of gratification and positive emotions from exercising signature strengths. The good life comes from using signature strengths to obtain abundant gratification in, for example, enjoying work and pursuing a meaningful life.

คำสำคัญ (Tags): #activity#social#self-efficacy
หมายเลขบันทึก: 48975เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2006 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านย่อหน้าแรกแล้วตกใจเลยค่ะ นึกว่าอาจารย์ Pop เรียกตัวเองว่า เค้า ฟังแล้วขนลุก แต่พอเหลือบไปเป็นในประโยคเด่น ค่อยร้อง อ๋อ... เค้าที่ว่านี้คือบุคคลที่สาม ไม่ใช่บุคคลที่หนึ่ง (เฮ้อ... ชายไทยยิ่งเหลือน้อยๆ อยู่)

กิจกรรมช่วยเหลือผู้อื่นที่ว่าเนี่ย คือการส่งเงินให้กับครอบครัวที่รัก ไม่น่าจะเรียกว่า ผู้อื่น นะคะ แล้วในส่วนตัว ไม่น่าจะเรียกว่าการเสียสละอะไร เพราะมันคือสิ่งที่ง่ายที่สุด ที่เราทำกลับคืนให้ครอบครัวได้ เพราะยังนึกไม่ออกเลยว่า กว่าเราจะโตมาได้จนทุกวันนี้ ครอบครัวทั้งสั่งสอน เลี้ยงดู อดทน ส่งเสีย เอาใจใส่ ให้ความรัก และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย เราเอง... เพิ่งเริ่มที่จะตอบแทน จึงไม่น่าจะเรียกว่าเป็นการเสียสละนะคะ เป็นเรื่องสมควร และควรส่งเสริมมากค่ะ กับความกตัญญู

มีนักเรียนทุนรัฐบาลคนหนึ่งตอนเลือกทำงาน เขาก็เลือกที่จะไปทำงานที่มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด เพราะเขาตระหนักดีว่าเด็กต่างจังหวัดมีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าเด็กกรุงเทพ โดยเฉพาะในสาขาภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์

ตอนเขาเรียนปริญญาตรีที่อเมริกา เขาเลือกที่จะไม่ไปเที่ยวยุโรปกับเพื่อน เพราะเขาต้องการที่จะเก็บเงินช่วยคุณแม่ใช้หนี้  เงินทุกบาททุกสตางค์ตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาตรีถึงปริญญาเอกที่อเมริกา เขาพยายามเก็บเพื่อช่วยคุณแม่ใช้หนี้ธนาคารหลายแสนจนคุณแม่พ้นหนี้  เจ้าหน้าที่ธนาคารตกใจที่คุณแม่ใช้หนี้จนหมดในวันที่บอกว่าขอเอาโฉนดที่ดินคืน

พอเขากลับมาเมืองไทย เขาก็ส่งน้องเขาเรียนปริญญาโทภาคพิเศษที่ มช ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2 แสนบาทจนน้องเขาเรียนจบ  น้องเขาจะให้เงินเขา เขาก็ไม่รับ เพราะเขาถือว่าเขาช่วยน้องเขาในฐานะที่น้องเขาเป็นคนในครอบครัว เป็นลูกของพ่อแม่เขาซึ่งเขาอยากจะทำอะไรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นอกจากนี้เขาช่วยทำให้นักศึกษาปริญญาโทของเขา 2 คนได้ทุนเรียนฟรี ไม่ต้องเสียค่าเทอมและได้รับเงินเดือนประมาณ 8,000 กว่าบาททุกเดือน จากโครงงานวิจัยที่ทำร่วมกับองค์กรรัฐอื่น

พอเขาพบว่ามีนักศึกษาปริญญาตรี 3-4 คนที่ฐานะทางบ้านยากจนเขาก็หางานพิเศษให้เด็กเหล่านี้ทำและให้เงินเป็นจำนวนมากกว่าค่าตอบแทนที่พึงจะได้รับจากการทำงานนั้นเพื่อช่วยเด็กเหล่านี้ทางการเงิน

เขาคนนั้นคือใคร อย่าไปรู้เลย แต่ขอให้ทราบว่าคนนี้มีจริง คนนี้เขามองว่าความสุขคือการที่เราไม่มีกิเลส  ไม่มีความต้องการที่แสวงหาสิ่งต่าง ๆ เป็นของตนเองและเพื่อตนเอง  ในชีวิตของเขานี้ เขาตั้งใจว่าจะทำอะไรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้กับคุณแม่ของเขาและช่วยพัฒนาคนให้มีโอกาสและมีความสามารถมากขึ้น  

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท