อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ชื่อรายงานวิจัย ผลการฝึกปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


ชื่อรายงานวิจัย    ผลการฝึกปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้วิจัย                     อนงค์ศิริ วิชาลัย

ปีที่วิจัย                  2554-2555

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และด้านสังคมของนักศึกษาหลังการฝึกปฏิบัติ มหาสติปัฏฐาน 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2       ปีการศึกษา 2554 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กระบวนการฝึกปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และสังคม การสอบอารมณ์ ตามแนวการปฏิบัติของพระธรรมมังคลาจารย์  วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลตามพฤติกรรม

                ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองฝึกปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 นักศึกษามีพัฒนาการของพฤติกรรมการเรียนรู้ ด้านอารมณ์มากที่สุดในด้านรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง มีสติและสมาธิ  ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ด้านสังคม เรื่องที่มีพัฒนาการมากที่สุดในด้านรู้จักอภัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 The Title      The Effects of Mahasatipathanna 4 Practice on        Learning Ability of Students Majoring in Elementary Education at
Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University

The Author          Anongsiri Vichalai

Year                       2011-2012

ABSTRACT

                The purpose of this research was to study students’ emotional and social learning abilities after practicing Mahasatipathanna 4 according to the practice of Pra Dhamamangalajarn (Venerable Ajarn Thong Sirimungkalo) of Wat Pradhatu Sri Jomthong, Amphoe Jomthong, Chiang Mai. The population of this research was 48 third-year students majoring in Elementary Education. The tools utilized in this study include (1) emotional and social learning behavioral assessment; and (2) focus group interviews. Data gathered was processed into percentage

                The result of the research indicated that students who have practiced  Mahasatipathanna 4 were found to have made notable development in their emotional learning behavior, particularly with regard to emotional control and self-consciousness, concentration and acceptance of reality of life. In terms of social learning behavior, students become more forgiving, refrain from taking advantage of others, and are more willing to extend generosity and kindness towards others.

 

หมายเลขบันทึก: 489498เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท