พฤติกรรมกระตุ้น Office Syndrome


นั่งทำงานหลังขดหลังแข็ง พิมพ์งานจนนิ้วหงิก อ่านเมลจนตาจะระเบิด… พฤติกรรมกระตุ้น Office Syndrome

“ทำงานในออฟฟิศดูเหมือนไม่มีความ อันตราย” นายแพทย์วิวัฒน์ เอกบรูณะวัฒน์ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เปิดประเด็น ซึ่งก็จริง… “นั่งทำงานในห้องแอร์เย็นๆ มีคอมพิวเตอร์ให้คนละตัว วันๆ ถ้าไม่ประชุมก็นั่งเพ่งอยู่กันที่หน้าจอนี่แหละ นั่งทำงานในท่าซํ้าๆอยู่ที่เดิมทั้งวัน เก้าอี้ก็แข็งนั่งไม่สบาย ฟังดูเหมือนจะดี แต่นี่คือต้นเหตุของโรคที่เกิดจากการทำงานออฟฟิศ (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนทำงานในสมัยนี้นั่นเอง”


ก็เพราะลักษณะการทำงานแบบนี้นี่แหละ ที่เป็นต้นเหตุของอาการเกี่ยวกับตาและปวดเมื่อยหลัง ต้นคอ ไหล่ ศีรษะ แขนข้อมือ โดยที่คุณๆ อาจไม่รู้สาเหตุ และเมื่อต้องทำงาน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน 5-6 วันต่อสัปดาห์ ด้วยพฤติกรรมซํ้าๆ เดิมๆ หลายคนจึงมีอาการร่วมหลายอย่าง บางคนชาตามมือและเท้า บางคนปวดตา ตาแห้งสู้แสงไม่ค่อยได้ บางคนเป็นภูมิแพ้ ฯลฯ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป อาการน่ารำคาญแบบนี้อาจลุกลามเป็นโรคที่รุนแรงได้

ท่าทางการทำงาน-สภาพแวดล้อมในการทำงาน คือปัจจัยหลัก

เก้าอี้ปรับความสูงไม่ได้ แข็งไป อ่อนไป ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด ไม่เหมาะสม การวางข้อมือบน เม้าส์ผิดท่าและขาดซัพพอร์ต ขนาดของเม้าส์ไม่เหมาะสมกับขนาดของมือ การนั่งหลังงอ นั่งไขว่ห้าง นั่งไม่เต็มเบาะ ศีรษะและคอไม่ตั้งตรง หลังส่วนล่างไม่มีซัพพอร์ต เท้าไม่วางแบนราบบนพื้น แม้แต่การวางแฟ้มงานหรือสิ่งของใต้โต๊ะทำงาน ล้วนมีผลต่ออาการปวดคอ ปวดข้อมือ ปวดหลังของเราทั้งนั้น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก็คือการจ้องแสงไฟนานๆ นั่นเอง อาการปวดตา ตาลาย ตาแห้งจึงเกิดขึ้นตามมา การจองมองคอมฯ นานๆ ทำให้เรากระพริบตาน้อยกว่าปกติ บวกกับมีสารระเหยจากเครื่องใช้ และอุปกรณ์สำนักงาน และระบบระบายอากาศ ยิ่งทำให้ตาแห้งและระคายเคืองง่ายเข้าไปใหญ่ ถ้าพนักงานอายุมากหน่อย ตาจะยิ่งแห้ง ยิ่งไปกว่านั้นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า (ไม่ใช่จอ LCD) ไฟที่จอกระพริบอยู่ตลอด จะยิ่งกระตุ้นให้ผู้ที่เป็นไมเกรนมีอาการปวดหัวหนักเข้าไปอีก อย่างไรก็ดี คุณหมอวิวัฒน์บอกว่า ยังไม่มีรายงานบ่งชี้ชัดว่า การใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเหตุให้สายตาสั้นอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกัน ในออฟฟิศที่แออัด และออฟฟิศที่จัด แบบเปิดโล่ง พนักงานจะมีความเครียดแฝง เพราะไม่มีพื้นที่ส่วนตัว อาการปวดตา ปวดคอ ปวดข้อมือ จะสูงกว่าผู้ที่ทำงานในออฟฟิศที่มีการกั้นพื้นที่ส่วนตัว ในสัดส่วนเหมาะสม ระบบระบายอากาศรวมนั้นเป็นเรื่อง ที่สำคัญมาก บางออฟฟิศซื้อเฟอร์นิเจอร์มาใหม่หมด เดินเข้าไปก็จะได้กลิ่นฉุนกึกปะทะจมูก นั่นคือกลิ่นของนํ้ายาติเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีส่วนผสมของฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือนํ้ายาล้างศพนั่นเอง ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง ถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ จะวิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก เครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นฉํ่าใน ที่ทำงานนั้นแหละตัวดี จะมีขี้ฝุ่นสะสมเป็นคราบหนา เมื่อเจอความชื้นเข้าไปก็พัฒนาเป็นเชื้อรา แล้วก็ฟุ้งกระจายออกมาในอากาศตามแรงลมของแอร์นั่นเอง เมื่อเราหายใจเอาเชื้อราเหล่านี้ ก็เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้ นอกจากนี้ ยังมีแบคทีเรีย ชื่อ Legionella ที่พบบ่อยบริเวณท่อหล่อเย็นของระบบปรับอากาศ (Cooling Tower) ถ้าระบบไม่ดี นํ้าแอร์มีการรั่วซึม เจ้า Legionella ก็จะฟุ้งกระจายออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ หรือนานๆ จะทำให้ปอดอักเสบ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ อุปก ณ์สำนักงานบางชนิด เ ช่น ปากกา White Board และนํ้ายาลบคำผิด มีสารระเหยไซลีน (Xylene) เป็นส่วนประกอบ เมื่อเปิดฝาสารนี้ก็จะระเหยฟุ้งในออฟฟิศ เครื่องถ่ายเอกสารเองก็ปล่อยทั้งรังสียูวี และไอหมึก ซึ่งมีพิษต่อตับ และในระหว่างขบวนการถ่ายเอกสารนั้น จะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จึงปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และโอโซนออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ ก็จะเป็นอันตรายแก่ปอดได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแบบสะสม ไม่ได้เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน ออฟฟิศในตึกใหม่ๆ หรือตึกที่มีการบริหารจัดการสถานที่ดีๆ จะมีปัญหาเรื่องนี้น้อยมาก ปัญหาจะมาจากการที่แต่ละออฟฟิศ วางผังของตัวเองให้เหมาะสม และถูกหลัก ergonomic มากกว่า

จาก “พฤติกรรม” นำสู่ “โรค”

คุณๆ ที่ทำงานใช้นิ้วมือ หรืองอนิ้วมือนานๆ เช่นต้องพิมพ์งานมากๆ ตัดกระดาษ หรือผ้า หรือขับรถทั้งวัน อาจเจอปัญหาจากโรคนิ้วล็อก หรือ Trigger’s finger เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ มีอาการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือคุณๆ ที่ใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพิมพ์งานเยอะๆ เส้นประสาทบริเวณข้อมือจะมีพังผืดก่อตัวหนา ทำให้เกิดอาการมือชา เรียกว่าโรคอุโมงค์ข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome หากต้องใช้ท่อนแขนมากๆ อาจเกิดอาการในกลุ่ม Tennis Elbow บริเวณแขนด้านนอก หรือ กลุ่ม Golfer’s Elbow บริเวณแขนด้านในคุณๆ ที่ต้องนั่งหน้าคอมฯวันละ 8-9 ชม. เชิญทางนี้… หากต้องก้มหน้าทำงานนานๆ เช่น พิมพ์งาน เขียนงาน ประกอบชิ้นส่วน อาจเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง (Myofascial Pain Syndrome) อันเกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อคอจนเป็นก้อนเล็กๆ มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่ แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมาน จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ หากทำไปนานๆซัก 5 ปี 10 ปี อาจพบภาวะของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) นอกจากนี้ การนั่งผิดท่า หรือการยกของผิดท่า หรือหนักเกินไป อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบ (Back Stain) ได้

เกิดจาก “พฤติกรรม” ก็ป้องกันได้ด้วย “พฤติกรรม”

โรคพวกนี้รักษาได้ตามความรุนแรงของอาการ ตั้งแต่ นวดคลายกล้ามเนื้อ กินยา ฉีดยา จนถึงการผ่าตัด แต่ทำไมเราจะต้องเอาร่างกายของเรามาแลกขนาดนั้นคะ? ในเมื่อต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เราคงต้องหันมาใส่ใจในรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าค่ะ จัดให้ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด ถูกต้องเหมาะสม การวางข้อมือบนเม้าส์ในท่าตรงและมีซัพพอร์ตพยุงมือ ขนาดของเม้าส์เลือกที่พอดีขนาดของมือ อย่าเล็กเกินไปจนต้องเกร็ง การนั่งวางแขนและข้อมือทำงานให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ความสูงของเก้าอี้เหมาะสม ศีรษะและคอตั้งตรง วางเท้าแบนราบกับพื้น ขณะใช้คอมพิวเตอร์ควรหยุดพักสายตาด้วยการหลับตา กระพริบตาบ่อยๆ และเปลี่ยนเป็นมองไกล หากมีอาการตาแห้งการหยอดนํ้าตาเทียมจะทำให้อาการดีขึ้น หมั่นลุกขึ้นยืน ขยับแขนขา หลัง คอ ไหล่ และข้อบ่อยๆ หรือออกกำลังกายแบบยืดเหยียดซัก 10 นาที ช่วงพักเที่ยงก็ได้ ถ้าทำได้เป็นประจำ อาการปวดเมื่อยต่างๆ จะค่อยลดน้อยลงจนคุณรู้สึกได้ ออฟฟิศไหนที่เจ้านายเฮๆ หน่อย คุณลองเสนอให้มีการออกกำลังกายเข้าจังหวะยามบ่ายแบบที่ญี่ปุ่นนิยมทำกันก็ดี นะคะ นอกจากจะทำให้ร่างกายได้ยืดเหยียดแล้ว ยังแก้ง่วงและ คลายเครียดได้อีกด้วยเรื่องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมนั้น ฟังดูเผินๆ ดูเหมือนจะให้คุณเปลี่ยนที่ทำงานใหม่…แหม… อันนั้นจะยากไปรึเปล่าคะ จริงๆ แล้ว สภาพแวดล้อมเป็นเรื่องของส่วนรวม เราคงต้องร่วมมือกับฝ่ายบุคคล จัดการให้เจ้าเครื่องถ่ายเอกสาร ให้มีห้องหับเฉพาะเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับที่ทำงานของพนักงาน ช่วยกันสอดส่องเรื่องของความสะอาดของที่ทำงาน เครื่องปรับอากาศและเรื่องของการระบายอากาศ นอกจากนั้นขบวนการ 5 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย) ก็เป็นกิจกรรมดีๆ ที่ควรจัดอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของทุกคนในองค์กร ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #office syndrome
หมายเลขบันทึก: 489454เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท