การปรับตัวของห้องสมุดและบรรณารักษ์


ห้องสมุดเป็นหัวใจของการพัฒนาทางวิชาการ (จริงหรือ?)มหาวิทยาลัยไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าไม่มีห้องสมุด (จริงหรือ?) และเหตุผลอีกมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราพบว่า มีผลกระทบภายนอกมากมายต่อห้องสมุดโดยตรง นอกเหนือจาก มุมมองเดิมๆ ที่ว่า ห้องสมุดโดยเฉพาะบรรณารักษ์ โบราณ (จริงหรือ?)

เมื่อกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยได้เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนกัน ผ่านบริการที่เรียกว่า บริการยืมระหว่างห้องสมุด เนื่องจากหลายๆ ห้องสมุดต่างประสบกับปัญหางบประมาณสนับสนุนลดน้อยลง และก่อให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรร่วมกันในลักษณะของการจัดประชุมคณะทำงานกลุ่มต่างๆ ในสายงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และจัดให้มีการประชุมใหญ่ร่วมกันปีละครั้ง

หลายครั้งหลายหนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมสารสนเทศ ห้องสมุดจะปรับตัวตามโดยที่บุคคลภายนอกไม่ทันได้สังเกตุโดยเฉพาะการร่วมมือกับนักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์นำเทคโนโลยีแบบบูรณาการเข้ามาปรับใช้ในห้องสมุด ในรูปของ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้การจัดบริการในห้องสมุดง่ายขึ้นเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ของห้องสมุดในสายตาบุคคลทั่วไปก็ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมนัก หลายคนยังมองว่าห้องสมุดเป็นเพียงที่เก็บหนังสือ บรรณารักษ์เป็นเพียงผู้เฝ้าหนังสือ ใส่แว่น โบราณ คร่ำครึ (แม้จะนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ตาม) บ่อยครั้งที่จะมีคนบอกว่า อยู่กับหนังสือคงได้อ่านหนังสือเยอะ หารู้ไม่ว่า บรรณารักษ์มีอะไรทำมากมายนอกเหนือจากการเฝ้าหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีที่ถาโถมเข้ามาราวกับระลอกคลื่นที่ไม่ยอมหยุดยั๊ง เพื่อแสวงหาสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการ

เมื่อประมาณ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา กระแสการปฏิรูปวงการอุดมศึกษา โดยที่รัฐพยายามผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาในการกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัยให้พึ่งพาตนเอง ให้มากขึ้น มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลเพื่อเป็นตัวอย่างของการตั้งต้นยืนด้วยลำขาของตนเอง ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต้องพึ่งพาตนเองได้ หมายถึงการมองหาแนวทางนำรายได้เข้าสู่องค์กร ถึงตอนนี้ห้องสมุดต้องปรับตัวกันขนานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง งบประมาณที่ได้รับอาจมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากห้องสมุดไม่ไช่หน่วยงานที่สามารถแสวงหารายได้มาจุนเจือตนเองได้ จึงเกิดความหวั่นวิตกว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับหน่วยงานแบบห้องสมุด แม้จะหาเหตุผลปลอบใจตนเอง ว่า ห้องสมุดเป็นหัวใจของการพัฒนาทางวิชาการ (จริงหรือ?) มหาวิทยาลัยไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าไม่มีห้องสมุด (จริงหรือ?) และเหตุผลอีกมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราพบว่า มีผลกระทบภายนอกมากมายต่อห้องสมุดนอกเหนือจาก มุมมองเดิมๆ ที่ว่า ห้องสมุดโดยเฉพาะบรรณารักษ์ โบราณ เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น (แม้ว่าจะยังต้องการสารสนเทศ แต่คนส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่า) สารสนเทศเริ่มหาได้ง่ายขึ้นในทุกที่และทุกเวลา และอื่นๆ อีกนานัป

น่าคิดว่า ห้องสมุดซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร จะปรับบทบาทของตนเองอย่างไรในสถานการณ์เหล่านี้

หมายเลขบันทึก: 4891เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2006 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

คุณวันเพ็ญครับ โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมากในปัจจุบัน ทุกคนทุกองค์กรต้องปรับตัวให้สอดคล้อง ให้ตัวเองและองค์กรยังคงมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อส่วนรวมต่อไป ใครหรือองค์กรใดที่ไม่สามารถเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจะมีประโยชน์และคุณค่าต่อส่วนรวมลดลง สุดท้ายจะอยู่กับความเป็นจริงได้ยาก นี่เป็นหลักทั่ว ๆ ไป

ห้องสมุดและคนในห้องสมุดอยู่กับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ อยู่แล้ว ถ้ามีการนำมาพูดคุย เพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ ผมเชื่อว่าจะพบทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น ประโยชน์และคุณค่าของห้องสมุดจะได้มีมากขึ้น ในความคิดเห็นของผม ห้องสมุดด้วยตัวของมันเองก็ยังคงมีความสำคัญมากกับความเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ดี แต่ว่าจะมากหรือน้อยนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่คนห้องสมุดครับ

ขอขอบคุณ ท่าน อ. วิบูลย์ค่ะ ที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะ พวกเราในห้องสมุดกำลังพยายามปรับตัวกันอย่างเต็มที่ และยังมีความหวังในการพัฒนาสำนักหอสมุดไปสู่องค์กรคุณภาพค่ะ
นอกจากต้อง ปรับตัวเองให้ทันกับกระแสเทคโนโลยีและการแข่งขันด้านคุณภาพ ( ทั้งมหาวิทยาลัยและห้องสมุด ) แล้ว อีกประการหนึ่งคือ อยากได้ผู้นำที่สามารถพานาวาลำนี้ ฝ่าคลื่นลมและพายุไปได้ตลอดรอดฝั่งค่ะ  เพราะลำพังคนทำงานเหนื่อยเพียงไม่กี่คน คงพานาวาไปไม่ถึงฝั่งหรอกค่ะ  คงจะหมดแรงเสียก่อน

NUKM เราเริ่มต้นที่ความสำเร็จ เล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วช่วยกันขยายผลสำเร็จให้มันท่วมปัญหา เป็น Positive approach จะได้มีความสุขในการทำงาน ถ้าเริ่มต้นที่ปัญหาโดยเฉพาะถ้าเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ได้ในขณะนี้ด้วยแล้วจะทำให้รู้สึกท้อแท้และบั่นทอนกำลังใจ ทำให้ขาดความสุขในการทำงาน อย่างไรก็ดี ใน NUKM เราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว มีกัลยาณมิตรที่คอยให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่แล้วครับ ใช้ให้เป็นประโยชน์ ขอให้มีความสุขกับการทำดีกันต่อไปครับ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์วันเพ็ญที่แนะนำข้อคิด...
  • ขอให้อาจารย์และทีมงานประสบความสำเร็จ...
    จากน้อยไปมาก จากมากไปมากยิ่งขึ้นสมดัง
    ที่อาจารย์วิบูลย์ท่านกล่าวไว้ทุกประการ...
  • ความสำเร็จของกิจกรรมคุณภาพนี่ดูจะคล้ายกับปรากฏการณ์ "ก้อนหิมะ" นะครับ
    เริ่มจากก้อนน้อยๆ ก่อตัวขึ้นที่ยอดเขาหิมะ
    กลิ้งลงมา
    กลิ้งลงมา
    กลิ้งลงมา
    ก่อตัวใหญ่ขึ้น
    ก่อตัวใหญ่ขึ้น
    ก่อตัวใหญ่ขึ้น
    กลายเป็นก้อนหิมะมหึมา... 
ขอขอบคุณท่าน อ. หมอวัลลภ มากค่ะ ที่กรุณาเข้ามาเสนอแนะความคิดเห็นที่ดีสำหรับห้องสมุดมาตลอด พวกเรากำลังพยายามนำข้อเสนอแนะของ อ. มาพิจารณาว่าจะสามารถทำให้เป็นจริงได้อย่างไร อยู่ค่ะ
  • ขอขอบคุณครับ...
  • ขอให้ห้องสมุด มน.
    ประสบความสำเร็จแบบ
    ปรากฏการณ์ "Avalanche (ก้อนหิมะ)"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท