Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

สรุปการประชุม"ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม”


สรุปการประชุม"ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม”

สรุปการประชุมเพื่อดำเนินโครงการฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม

ในวันที่ 31  สิงหาคม   2549  เวลา 13.00 .สถาบันวิจัยและพัฒนา            ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้นัดประชุมนักวิจัยในโครงการเพื่อหารือเรื่องความคืบหน้าในการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน และงานก็ได้ก้าวหน้าไปตามลำดับ  นักวิจัยทุกคนก็รับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ซึ่งครั้งนี้เป็นการนัดส่งผลการจัดทำแผนที่ข้อมูล            การทำแผนที่ข้อมูลก็คือการสร้างระบบคิดให้นักวิจัยในการจัดการกับข้อมูลอย่างเป็นเอกภาพ และมีการแยกประเด็นแต่ละเรื่องให้มีน้ำหนักสมดุลกัน และมีการจัดเรียงลำดับปลีกย่อยของข้อมูลเป็นชั้นๆ ซึ่งศาสตราจารย์สุธิวงศ์   พงศ์ไพบูลย์ ได้เสนอว่า เป็นขั้นตอนลำดับที่วิจัยและนักวิชาการทุกคนต้องมีระบบคิดพื้นฐานอันนี้ เพื่อใช้ในการนั้นเสนอข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล และพิจารณาความสมบูรณ์ของข้อมูล ดังนั้นจึงให้นักวิจัยลงพื้นที่ศึกษาและเขียนแผนที่ข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาร่วมกันในที่ประชุม            จากการนำเสนอแผนที่ข้อมูลทำให้นักวิจัยกลุ่มต่างได้ตรวจสอบความถูกต้องในงานของตัวเอง โดยอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในที่ประชุม สิ่งที่น่าชื่นชม คือ ทุกกลุ่มได้สนใจที่จะแก้ไขผลงานของตนเองให้ดีที่สุด พยายามสักถามอย่างละเอียดแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักวิจัยทีมีคุณภาพ            เมื่อการอภิปรายเกี่ยวกับแผนที่ข้อมูลสิ้นสุดลง  นักวิจัยก็ได้งานชิ้นใหม่ ที่เริ่มเข้าใกล้การจัดทำเนื้อหาเชิงลึก  โดยมอบหมายให้นักวิจัย ลงพื้นที่ภาคสนามและมีเครื่องมือสำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การสัมภาษณ์โดยให้ชุมชนจัดทำบัญชีครัวเรือน และต้องสัมภาษณ์ภาคสนามจำนวน 50 ครัวเรือนขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการทราบข้อมูลด้านการผลิตและการบริโภค ซึ่งถ้ามองเผินๆ ก็เป็นการทำบัญชีธรรมดา แต่ที่ลึกซึ่งกว่านั้น ก็คือ ต้องการให้เน้นวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค จากข้อมูลก็จะมีวัฒนธรรมที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังค่านิยม การติดสินใจ ปัญหาที่ยังไม่รู้ ฯลฯ การดำเนินงานเรื่องนี้ให้เวลา 2 เดือน แต่นัดหมายกันว่าเมื่อครบ 1 เดือน ก็จะเอาข้อมูลบางส่วนมาหารือกันก่อน            ปัญหาของการเก็บข้อมูลที่ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ กำชับนักวิจัยก็คือ ต้องการข้อมูลจริง โดยนักวิจัยต้องรับปากกับผู้ให้ข้อมูลว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณนักวิจัยด้วย ดังนั้นการสนทนาทั้งสองฝ่ายต้องมีบรรยากาศที่เป็นมิตรภาพ และฝึกนักวิจัยให้เป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน            จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลภาคสนามซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่ามากจากการทำบัญชีครัวเรือน และการสนทนาจำนวน 50 ครอบครัว นักวิจัยก็จะค้นพบโจทย์วิจัยได้เอง และสามารถเลือกแนวทางที่ตรงกับทุนเดิม ซึ่งเป็นผู้สอนในสาขาต่างๆ  จากนั้นจึงดำเนินการเขียนเค้าโครงวิจัย ฉะนั้นขั้นตอนทั้งหลายที่ได้มีการประชุมมาหลายครั้งและเชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆมาบรรยาย ก็เป็นขั้นของการพัฒนาโจทย์วิจัยซึ่งเป็นขั้นที่สำคัญมาก เพราะถ้าตั้งโจทย์ได้แหลมคมก็จะเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่า มีพลังในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ โดยคุณค่าของโจทย์วิจัยนั้น นักคิดทั้งหลายมักจะเสนอความเห็นคล้ายๆกันคือ 1) ต้องแปลกใหม่ใครคิดไม่ถึง 2)ต้องมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน            ประเด็นสุดท้ายของการประชุมก็ท่านให้ข้อคิดว่าต้องสนใจคำและความหมายที่กำหนดให้ไว้ในโครงการวิจัยนี้  คือเราสนใจฐานทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมตั้งโจทย์ภายใต้โครงการวิจัย 2 เรื่องนี้และอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจว่าเศรษฐกิจกับ ฐานทางเศรษฐกิจ  ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฐานทางเศรษฐกิจ  มีความลึกซึ่งกว่าการแลกเปลี่ยนธรรมดา โดยไม่ได้มองแต่การบริโภค แต่เน้นการปฏิสัมพันธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน เครือญาติ ฯลฯ ซึ่งมีฐานคิดอยู่เบื้องหลังด้วย
หมายเลขบันทึก: 48875เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท