KM : ค้นหาปัญหาและความต้องการเกษตรกร (๑)


การพัฒนาจังหวัดภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดมุ่งเน้นให้ตรงปัญหาและความต่้องการของประชาชน

 

       วันที่ื ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ออกจากบ้านแต่เช้า เข้าสำนักงานเตรียมเอกสารอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นรถ วันนี้ผมรับหน้าที่ตามที่องค์กรมอบหมาย เป็น "คุณอำนวย" อีกครั้ง นั่งรถมาโดยพี่ภาณุพนักงานขับรถเป็นผู้ขับรถนำผมพร้อมน้องพนักงานราชการหรือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่เพิ่งมารายตัว ชื่อเล่น "สาว" ชื่อจริง "อรพรรณ"

เป้าหมายที่จะมุ่งหน้า คือ โรงเรียนไม้เรียง อำเภอฉวาง ตามที่ทีมงานสำนักงานเกษตรอำเภอฉวางเตรียมจัดหาไว้ให้  เราสามคนต้องแวะสำนักงานเกษตรอำเภอลานสกาก่อน ตามนัดหมายเพื่อรับพี่เพียงใจ พลายด้วง และคุณอนุวัต พานทอง สองคนนี้บ้านอยู่พื้นที่ที่เราจะผ่านไป

เราสามคนมาถึงแล้วทั้งสองคนยังมาไม่ถึง จึงเอากล้องถ่ายรูปมาซ้อมมือหน่อย รุ่นนี้ฟังชั่นเยอะเพิ่งได้มาด้วย ต้องนำมาทบทวนตั้งค่าฟังชั่นต่าง ๆ และทบทวนถ่ายภาพดูคุณภาพ ผลจากการตั้งค่าต่าง ๆ  เพื่อทดสอบเวลาใช้งานจริงในวันนี้ คือจะได้ไม่ต้องนั่งเสียใจกับภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกเหมือนบางครั้งที่ผ่านมาป้องกันจึงป้องกันไว้ก่อน

 ได้ภาพนี้ยามเช้า มองเห็นภาพเทือกเขาหลวงยังปกคลุมด้วยเมฆหมอก
                          และเส้นทางนี้ที่กำลังจะมุ่งหน้าไป

       ดอกไม้บานสะพรั่งยามเช้าบริเวณหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอลานสกา ที่ปลูกแสดงแนวสำนักงานริมถนน ทำให้พวกเราที่มารอเพื่อนรู้สึกสดชื่นกับสีธรรมชาติอันสดใส

การนำภาพแสดงโชว์ในบันทึกในปััจจุบันนั้นง่ายเหลือเกิน

  • ขอบคุณสำหรับ ทีมพัฒนา GotoKnow 

    แค่ผม...

  • ลดขนาดภาพตามความต้องการ

  • คลิ้กนำไฟล์ขึ้น

  • เลือกภาพที่ลดขนาดไว้

  • นำภาพขึ้นมาเก็บไว้ใน GotoKnow

  • เขียนบันทึก

  • วางเคอเซอร์จุดที่จะแสดงภาพ มองหาภาพที่อยู่ด้านล่างระบบที่พัฒนามาใหม่นี้ได้แสดงให้เรามองเห็นภาพขนาดเล็กเลือกได้สะดวก

  • เอาเม้าท์แตะยังไม่ทันคลิ้กเลย ภาพก็ปรากฏขอบบนไล่ลงมาช้า ๆ แบบเหมือนม่านเปิดตัวจนเต็มให้มองเห็นแล้ว แค่นี้เสร็จแล้ว

  • สุดยอดมาก...ขอบคุณ ทีม UsableLabs ทุก ๆ ท่านที่พัฒนาให้พี่น้องสมาชิกบ้าน GotoKnow ได้ใช้กันอย่างสะ-ดวก และสะ-บาย

    เดินไปมาสักพักน้องคนงานของสำนักงานเกษตรอำเภอลานสกามาถึง  เปิดประตูสำนักงานก็มาเชิญเรา ๓ คนนั่ง  แต่เราขอบคุณไม่ขอนั่ง น้องเขางงๆ กับพฤติกรรมของเราทั้งสาม ...?(จังหวัดมา..)  เพราะเรามาเช้ามาก

    ผมก็อธิบายกันจนถึงบางอ้อว่า... แค่มารอและฝากจอดรถที่นี่ ๒ คัน เป็นของพี่เพียงใจและคุณอนุวัต และจะเดินทางต่อด้วยรถคันเดียว


             และรอไม่นานนัก สองคนที่เรารอก็ตามถึง ผมหยิบ เครื่อง GPS ที่กรมส่งเสริมการเกษตรซื้อมอบให้อำเภอใหม่หมาด ๆ แต่ไม่มีให้จังหวัด นำเครื่องออกมาในขณะที่รถเริ่มออกตัว ผมได้เอาเครื่องที่อำเภอยังไม่ยืมมาทดสอบเรียนรู้อยู่หลายวันแล้ว และ

    โดยใช้งานจริงวันนี้ พูดถึงเรื่องเครื่อง GPS รุ่น OREGON 550 ที่กรมส่งเสริมการเกษตรซื้อ ผมลองค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ข้อมูลว่าเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงในการใช้งานในหลาย ๆ ด้าน และขอชื่นชมว่ากรมฯ ซื้อของดีให้ใช้ ผู้ใช้จะใช้มันให้คุ้มขนาดไหน คงเห็นกันในอนาคต
     
    ผมเปิดเครื่องรอจนรับดาวเทียมได้ประมาณ ๕ ดวง ผมแตะฟังชั่นค้นหา และเลือกหมวดค้นหาไปที่โรงเรียน พิมพ์ชื่อ "โรงเรียนไม้เรียง" สักพักเครื่องก็แสดงออกมา "โรงเรียนไม้เรียง/วัด" ผมแตะ

    ดูแผนที่เพื่อความแน่ใจ ว่าอยู่บริเวณใด เครื่องก็แสดงให้เห็นว่าอยู่อำเภอฉวาง ดูเส้นทางตามแผนที่ มั่นใจแล้วว่าใช่ ก็แตะที่ฟังชั่นนำทาง เครื่องก็แสดงทิศทางนำทางพวกเราไป บอกระยะทาง บอกความเร็วรถ แสดงเส้นทางที่นำไป โอกาสหลังค่อยมาเขียนเล่าการใช้ เครื่อง GPS อีกครั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน 


          (ท่านผอ.วิจิตร คหะวงศ์ ท่านมาต้อนรับและดูแลเราตั้งแต่เช้า)

    เครื่อง GPS นำเรามาถึง "โรงเรียนไม้เรียง" แล้วครับ และที่นี่เวทีจะเกิดขึ้นในห้องนี้ ด้านหน้าห้องมีรูป บุคคลสำคัญที่โรงเรียนให้การยกย่อง ผมจะหารายละเอียดมาเล่าต่อครับ

             พวกเรา ๕ คนเดินทางมาถึงหน้าโรงเรียนก็ตามที่เครื่อง GPS นำทางมา ขับรถเลยนิดหน่อยต้องกลับรถ พี่ภาณุ (งงกับทางเข้า) ขับเข้ามาในโรงเรียนเงียบเชียบในตอนแรก แต่ถนนเล็ก ๆ เมื่อเราขับผ่านประตู้รั้วมาแล้ว นำเรามาเรื่อย ๆ และขึ้นเนินสูงมีอาคาร ซ้าย ขวา ในที่สุดก็เจอนักเรียน เจอทีมงานจากอำเภอฉวาง เจอเกษตรกรเป้าหมายที่กำลังเดินทางทยอยกันมา จากตำบลต่าง ๆ ของอำเภอฉวางเอง และจากอำเภอถ้ำพรรณรา เจอท่านผอ.วิจิตร คหะวงศ์ ได้ทราบจากท่าน ผอ.ว่า"โรงเรียนเพิ่งเปิดเมื่อวานเอง" และพี่เพียงใจกับน้องอรพรรณ เริ่มตั้งโต๊ะลงทะเบียนครับ


    

ด้วยว่า..วันนี้และอีกหลายวันถัดๆ ไป ทำแบบนี้เพื่อนำสิ่งที่ได้สู่การพัฒนาจังหวัดภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดมุ่งเน้นให้ตรงปัญหาและความต้องการของประชาชน จึงต้องมีเวทีเรียนรู้ ศึกษาปัญหาความต้องการของประชาชน ครับ หากเป็นอาชีพเกษตรกรก็ต้องศึกษาเรียนรู้จาก "เกษตรกร" เป็นหลัก และเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายดำเนินการครับ...

แล้วจะมาบันทึกต่อครับ...

 

 

  โครงการ "นครแห่งไม้ผล"
  ชาญวิทย์-นครศรีฯ

หมายเลขบันทึก: 488566เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

- ทำ KM ทุกกลุ่มวัยเลยนะคะ

- ขอบคุรมากค่ะ

สวัสดีครับ คุณหมอเปิ้ล

            ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

 

เรียน นายหัชาญวิทย์KMการนำภาพลงบันทึก ปัจจุบันง่าย อ่านตามขั้นตอนที่นายหัวเขียนไว้ ทำได้แล้ว

แรกวาเข้าไปธุระที่มหราช (ลืมสมุดจดเบอร์โทรศัพท์ไม่ได้โทรหา)

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

  • อิอิ รุ่นนี้พกสมุดโทรศัพท์
  • วันนี้อยู่ที่ "ว.ต่อเรือปากพนัง" ครับ
  • สัมมนานักวิชาการอำเภอครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียน
  • เรื่องรูปภาพก็ขอบคุณ ทีม UsableLabs เขาครับ

หวัดดีคับท่านพี่

  • ยังแข็งขันเหมือนเดิมนะครับ...

สวัสดีครับ คุณน้องหนุ่มร้อยเกาะ

          งบพัฒนาจังหวัดครับ กลุ่มยุทธฯ ทำในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท