น้ำมันมะพร้าวเยื้อและเมล็ดฟักข้าว


ฟักข้าว

บันทึกการได้ประโยชน์จากฟักข้าวไปก่อนหน้านี้ 4 บันทึก คือ

 

1. ยอดอ่อน ใบอ่อน ลูกอ่อน มาทำอาหารอร่อยๆ

2. เยื้อฟักข้าวสีแดงหุ้มเมล็ด มาหุงข้าว 

3. เยื้อฟักข้าวสีแดง ทำน้ำฟักข้าวและไอติม

4. เยื้อฟักข้าวสีแดง ทำครีมธรรมชาติบำรุงผิว

 

บันทึกนี้นำเยื้อสีแดงและเมล็ดฟักข้าว

หัวกะทิสดมาสกัดเป็นน้ำมัน มาฝากค่ะ 

 

           น้ำมันมะพร้าว-ฟักข้าว

 

 

                   มะพร้าวแก่ 

 

 

      ขูดด้วยกระต่ายขูดมะพร้าว หรือซื้อแบบเนื้อมะพร้าวขูด

       ด้วยเครื่องมาคั้นเอง หรือหัวกะทิมาจากตลาดก็ได้เช่นกัน

 

 

 

   

 

 

      เมื่อได้เนื้อมะพร้าวขูดแล้ว ผ่าลูกฟักข้าวตักเยื้อและเมล็ด

      โดยใช้ช้อนจะตักง่าย ลงในภาชนะที่มีเนื้อมะพร้าว 

 

 

        คั้นทั้งเนื้อมะพร้าวและเยื้อพร้อมเมล็ด

         ไปพร้อมๆกันโดยใส่น้ำอุ่นพอประมาณ 

 

 

          การคั้นให้ได้หัวกะทิพร้อมเยื้อสีแดงฟักข้าวนั้น

          จะคั้นครั้งเดียวหรือ 2 ครั้งก็ได้

 

 

          พอคั้นได้ห้วกะทิและเยื้อออกจากเมล็ดหมด

             ก็กรองในกระชอนหรือผ้าขาวบาง

 

 

 

 

   เมล็ดฟักข้าวที่เก็บออกมาจากกากมะพร้าวที่คั้นกรองแล้ว ในภาพ

   จะมีทั้งเมล็ดที่แก่และไม่แก่ จริงๆแล้วได้แก่ทั้งหมดจะดีกว่าอ่อนมาก

   แบ่งไว้ปลูกหรือคั่วให้สุกทานเล่นได้แบบเมล็ดแตงโม มีรสขมเล็กน้อย 

 

 

        นำเมล็ดอ่อนเปลือกยังไม่ดำและเมล็ดที่เปลือกดำ

        ควรนำมาแต่เนื้อด้านใน เปลือกดำของพืช

        มีแทนนินทำให้ท้องผูกถ้ากินมาก หรือทาผิวแล้วผิวจะคล้ำ

 

 

                 หัวกะทิลอยขึ้นด้านบน 

 

 

                  ตักหัวกะทิด้านบนลงกระทะ

 

 

         ใช้หัวกะทิสดที่ขูดเองจากมะพร้าวที่ผ่าใหม่ๆ

         หรือมะพร้าวจากตลาดที่ขูดใหม่ๆ น้ำหางกะทิ

         ที่มีเยื้อฟักข้าวรวมอยู่ด้วยหลังจากตักหัวกะทิลงกระทะแล้ว

         น้ำหางกะทินี้นำไปต้มให้สุก แล้ววางไว้ให้เย็นหรือแช่เย็น

         ดื่มอร่อยมากมีรสหวานของกะทิ

 

 

 

              แล้วใส่เมล็ดฟักข้าวที่ปั่นลงไปด้วย

 

 

 

    ใช้ไฟอ่อนๆเคี่ยวไปเรื่อยจนหัวกะทิ

    และเยื้อและเมล็ดฟักข้าวเป็นน้ำมัน

 

 

          น้ำมันมะพร้าวฟักข้าวจะสีแดง

 

 

     ตักน้ำมันกรองบนผ้าขาวบางหรือกระดาษกรอง

 

 

 

 

         น้ำมันมะพร้าว-ฟักข้าว

 

 

 

 

 

ประโยชน์ของเยื้อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดง

 

   มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคฟีนมากกว่า มะเขือเทศ 12 เท่าและมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวล การกินเบต้าแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดี เพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว

 

  ความเชื่อที่ว่า ฟักข้าวบำรุงสายตา นั่นถูกต้องแต่ ต้องกินจากเยื้อเมล็ดไม่ใช่ส่วนอื่น เมื่อใช้เยื้อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในงานวิจัยในประเทศ เวียตนาม พบว่าเด็กในกลุ่มมีปริมาณเบต้าแคโรทีนและไลโคฟีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมดกบินต่ำ มีความเข้มข้นขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้ที่มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื้อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื้อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารจำหน่ายในต่างประเทศ

 

  ไลโคฟีน เป็นสารกลุ่ม แคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืชผักออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป การกินไลโคฟีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามี ผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากเยื้อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคฟีนมากกว่าผลไม้อื่นๆทุกชนิด จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคฟีน

 

ประเทศเวียตนาม การวิจัยทางคลีนิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย

พบว่าน้ำมันจากเยื้อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

 

ขอบคุณข้อมูล เยื้อสีแดงเมล็ดฟักข้าว จากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน

โดยอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ส่งเป็นเอกสารมาให้ทราบ


 

 

 สรรพคุณประโยชน์เมล็ดฟักข้าว


งานวิจัยในประเทศจีนพบว่า โปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ จึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ และคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ

 

ในประเทศไทย มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง จดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

 

 ส่วนงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และต่างประเทศ พบว่า เมล็ดแก่ฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลซีน-เอส และโคลซินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิต กรด อะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ้ง อาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า

 

ประเทศญี่ปุ่น ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็ง และชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า

 

ขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยประภา

ส่งเป็นเอกสารมาให้ทราบ จาก http://pha.narak.com

 

 น้ำมันที่สกัดโดยการเคี่ยวได้จากหัวกะทิและเยื้อ-เมล็ดฟักข้าวนี้

 นำมาบำรุงผิว ใช้ทำอาหารได้เช่นเดียวกับน้ำมันพืชอื่นๆ  ฯ 

 

   ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี 

หมายเลขบันทึก: 487609เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การเคี่ยวไปเรื่อยๆ จนหัวกะทิจนเป็นน้ำมัน ต้องใช้ความร้อยเป็นเวลานาน สารเบต้าแคโรทีน ,ไลโคฟีน, ฯลฯ น่าจะเปลี่ยนแปลงในทางลดลง

สนใจเมล็ดฟักข้าวไว้ปลูกที่บ้าน มีเมล็ดจำหน่ายครับ
โทร 082 694 5116
ID Line: nasithome
http://www.nasithome.com/product/55/เมล็ดพันธุ์ฟักข้าว-15-เมล็ด

ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้เรึ่องฟักข้าวมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท