ชนิดการเข้า Traction


การพยาบาลผู้ป่วยที่เข้าTraction

ชนิดการเข้า Traction

-skin traction เป็นการดึงที่ผิวหนังและ soft tissue  เป็นการใช้แรงดึงโดยอาศัยความฝืด ระหว่าง adhesion tape กับผิวหนัง

-skeletal  traction เป็นการดึงโดยตรงที่กระดูกโดยใช้ kirschner wirc หรือ steinmann pin เข้า traction

-mannual traction เป็นการดึงโดยใช้มือ

วัตถุประสงค์การเข้า traction

                -ดึงกระดูกให้เข้าที่

                -บรรเทาอาการปวด

                -บรรเทาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

                -ให้อวัยวะส่วนนั้นอยู่นิ่ง

หลักการต่างๆเกี่ยวกับการ care skin traction

  1. Counter- traction คือการที่มีแรงต้านในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวดึงที่เข้า traction ไว้ ( น้ำหนักตัวของผู้ป่วย) ดูแลโดยเลื่อนตัวผู้ป่วยขึ้นไปไม่ให้ปลายเท้ายันปลายเตียง โดยให้ผู้ป่วยโหนบาร์ ยันเข่าข้างดีขึ้น พยาบาลช่วยพยุงขาข้างที่เจ็บและเลื่อนตัวผู้ป่วยขึ้น
  2. Friction เป็นแรงเสียดทานซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของ traction น้อยลง ซึ่งต้องตรวจสอบไม่ให้มีแรงเสียดทานเกิดขึ้น

-เชือกที่ใช้ดึงให้อยู่ในลูกรอก ไม่พิงกับปลายเตียง ไม่หลุดออกจากลูกรอก

        3.    Line of pull แนวของการดึง น้ำหนักถ่วงต้องแขวนลอยอิสระ ไม่ตกยันพื้น

        4.    Continuous ควรดึงตลอดเวลา  ไม่ควรเอาน้ำหนักออกเพราะจะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อกะทันหัน    อาจทำให้ปวดได้

        5.   Position การเคลื่อนไหวควรเป็นไปตามแนวของ traction

การประเมินการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายในผู้ป่วยที่เข้า skin traction

-pulselessness ชีพจรส่วนปลาย

-pain ปวด

-pallor ซีด ( จับ capillary refill )

-polar เย็น

-paresthesis  ชา

-paralysis อ่อนแรง ( ให้ขยับปลายนิ้ว )

-swelling บวม

เอกสารอ้างอิง

วรรณี  สัตยวิวัฒน์ . การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์.พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพ :ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส,2553.

สมศักดิ์ คุปต์นิรัติศัยกุล.แนวทางการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก-ข้อเคลื่อน . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก

          http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/somsak/3016410.html.  สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน  2555.

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 487538เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท