สุภาพสตรีมากกว่าสุภาพบุรุษในสัดส่วน 4:1


การใช้งานของมือที่รุนแรง ซ้ำซาก ในบางกิจกรรม บางอาชีพ ทำให้เกิดการเสียดสี ยึดปลอกหุ้มเอ็น เข็มขัดรัดเส้นเอ็น จนบวมอักเสบ และเสียความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไม่สะดวก เกิดอาการขัดฝืด บวม สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป ซึ่งเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดที่พบในคนแข็งแรงปกติ ยิ่งแข็งแรงมากยิ่งมีโอกาสมาก หากหิ้วถุงหนัก กำบีบ ยกของหนักบ่อยๆ ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) มากเท่านั้น

ปลดล็อกของนิ้ว
นิ้วมือคนเรา มีความสำคัญในการตอบสนองจากสมอง ซึ่งสั่งงานลงมาให้หยิบ จับ กำ บีบ ทุบ ฯลฯ ซึ่งการงอเหยียดนิ้วมือทุกนิ้วต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อดึงเส้นเอ็น ดึงกระดูก ให้งอเข้า-เหยียดออกผ่านข้อต่อ โดยมีระบบลอกหรือวงแหวน (หรือเข็มขัดรัดเส้นเอ็น) (รูป Anotomy of hand Pulley) จับให้เส้นเอ็นอยู่แนบกับกระดูกนิ้วมือ และวิ่งผ่านไปมาได้
                การใช้งานของมือที่รุนแรง ซ้ำซาก ในบางกิจกรรม บางอาชีพ ทำให้เกิดการเสียดสี ยึดปลอกหุ้มเอ็น เข็มขัดรัดเส้นเอ็น จนบวมอักเสบ และเสียความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเอ็นวิ่งผ่านไม่สะดวก เกิดอาการขัดฝืด บวม สะดุด กระเด้ง ล็อก เสียรูป ซึ่งเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดที่พบในคนแข็งแรงปกติ ยิ่งแข็งแรงมากยิ่งมีโอกาสมาก หากหิ้วถุงหนัก กำบีบ ยกของหนักบ่อยๆ ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) มากเท่านั้น ถึงแม้โรคนิ้วล็อกจะเป็นโรคที่พบบ่อยในสุภาพสตรีมากกว่าสุภาพบุรุษในสัดส่วน 4:1 เนื่องจากผู้หญิงมีกิจกรมของการใช้มือที่รุนแรง ซ้ำซาก ในชีวิตประจำวันมากกว่าผู้ชาย เช่น การหิ้วถุงช๊อปปิ้งจ่ายตลาด การกำบีบ สับโขก เช่น หั่นเนื้อ สับหมู สับกระดูกหมู เป็ด ไก่ การกำยกถังน้ำ การบิดผ้า ซักผ้า การกำไม้กวาด การกำตะหลิว การยกจับกะทะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหิ้วถุงพลาสติกหนักๆ เวลาช๊อปปิ้งจ่ายตลาด ทำให้เข็มขัดรัดเส้นเอ็นถูกยึด และหนาตัวกลายเป็นพังผืดเสียความยืดหยุ่น เปรียบเสมือนอุโมงที่เส้นเอ็นเคยวิ่งผ่านแคบลง ……………….เกิดอาการฝืดเจ็บปวด สะดุด เด้ง หรือล็อกในที่สุด
                สุภาพบุรุษก็มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อกได้เช่นกัน มักพบในอาชีพหรือกิจกรรมที่ใช้มือรุนแรง เช่น ช่างทั้งหลาย ไม่ว่าช่างไม้ ช่างกลึง ช่างเหล็ก คนทำสวนทำไร่ ก็ใช้มือรุนแรงในการกำจอบ เสียม พลั่ว ในการขุด ตัก รวมถึงการตัดกิ่งไม้ด้วยเครื่องมือทำสวน

อาการของโรคนิ้วล็อก

                ระยะ 1   เจ็บฐานนิ้ว
                                ระยะ 2   นิ้วเคลื่อนไหวงอเหยียดฝืด สะดุด กระเด้ง
                ระยะ 3   นิ้วล็อก ต้องใช้อีกมือช่วยง้างออก หรืองอเข้า
                                ระยะ 4   มีการโก่งงอ บวม เสียรูป นิ้วเกยกัน หรืองอเหยียดไม่ได้แล้ว
                เครื่องมือหรือเครื่องกลที่เป็นเหตุให้เกิดนิ้วล็อก เช่น ไขควง คีม เลื่อย ฆ้อน กรรไกรตัดเหล็ก หรือตัดกิ่งไม้ ฯลฯ ซึ่งล้วนต้องใช้มือในการกำบีบ กระแทก ทุบ ซ้ำๆเป็นเวลานานๆ และบ่อยๆ เป็นเหตุให้เข็มขัดรัดเส้นเอ็นเสื่อม หนาตัว เสียความยืดหยุ่น จนขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น เป็นเหตุให้เกิดนิ้วล็อกในเวลาต่อมา

การรักษา
               แนวทางการรักษาโรคนิ้วล็อก จะขึ้นอยู่กับระยะอาการที่เป็น นั่นคือ 
หากเป็นในระยะแรกก็สามารถรักษาได้ด้วยการพักมือ แช่น้ำอุ่น ทานยา 
หากเป็นระยะที่ 2 ก็ให้ทานยาแก้อักเสบ การรักษากายภาพบำบัด การฉีดยา 
ระยะที่ 3  คือการฉีดยา Steroid เข้าปลอกหุ้มเอ็น กับการผ่าตัด 
และหากเป็นระยะสุดท้ายจึงจะเป็นการผ่าตัดปลดนิ้วล็อก
               สำหรับการการผ่าตัดจะมี 2 วิธีคือการผ่าตัดเปิดแผลเพื่อ
ตัดเซาะเอ็นกับพังผืดที่รัดปลอกหุ้มเอ็นออก มีการเย็บแผลและตัดไหม
ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบเดิมที่จะต้องใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์  
กับทางเลือกใหม่ที่คิดค้นขึ้นโดยนายแพทย์วิชัย วิจิตรพรกุล 
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน คือการเจาะรูตัดทางผิวหนังด้วยเครื่องมือพิเศษ
ดัตแปลงจากเครื่องมือทันตกรรม พัฒนาต่อเนื่องมา5-6ปี
ที่มีผู้ป่วยนิ้วล็อกให้ความสนใจทยอยกันเข้ารับการผ่าตัดแล้วกว่าห้าพันคน
การผ่าตัดเจาะรูผ่านผิวหนัง
การปลดล็อกโรคนิ้วล็อกในแบบใหม่นี้ จะเป็นการผ่าตัดแบบเจาะรู ผ่านผิวหนัง
ซึ่งมีความสะดากและปลอดภัย ชนิดที่ต่อให้ไม่ได้อยู่ในห้องผ่าตัด 
ก็ยังคงความเป็นกระบวนการที่ปราศจากเชื้อโรค เพราะหลังการทายาฆ่าเชื้อด้วย 
Betadin และ อัลกอฮอลล์บริเวณที่เจาะผ่าแล้ว แพทย์จะฉีดยาชา 
จากนั้นก็จะใช้เครื่องมือ Carver หรือ Blade Probe 
ของทันตแทพย์ดัดแปลงที่ผ่านการฆ่าเชื้อเหมือนเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป 
เจาะผ่านผิวหนังบริเวณฐานนิ้วที่มีอาการล็อก 
โดยจะเจาะลงไปถึงเข็มขัดรัดเส้นเอ็นที่ 1 หรือ A1 - Pully 
แล้วตัดปลอกเข็มขัด 
หรือ ล็อกที่เสื่อมชำรุดแข็งตัวนั้น 
ให้แยกออกเพื่อให้เส้นเอ็นของนิ้วที่ล็อกสามารถวิ่งผ่านได้อีกครั้งหนึ่ง
หลังการผ่าตัดจะมีแผลรูเจาะเพียง 1 มม. เท่านั้น โดยไม่มีเลือดออก 
ทำให้ลดอาการเจ็บ บวม ปราศจาก แผลเป็น 
ไม่ต้องตัดไหม แผลก็จะหายเร็ว กำมือ แบมือได้ทันที
สามารถกลับไปทำงานได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าตัด 
ทั้งไม่ต้องกลัวว่าแผลจะแยก ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน แผลก็จะหาย
ประยุกต์เครื่องมือ
   
               จุดเด่นของการผ่าตัดแบบเจาะรูผ่านผิวหนัง ก็คือการประยุกต์ใช้เครื่องมือ 
Blade Probe ของทันตแพทย์ มากลึงลับปลาย Carver ให้ปลายมี 2 
รูปทรงคล้ายกับมีดพร้าเล็กๆ ขนาดปลาย 0.5 มม. 
เพื่อความสะดวกในการเจาะลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็น การลับเครื่องมือ 
ก็สามารถทำเองได้โดยประยุกต์เครื่องสว่านไฟฟ้ามาดัดแปลง 
ใส่หัวขัดกระดาษทราย  เพื่อลับปลายเครื่องมือ Blade Probe ให้ได้รูปทรงที่ต้องการ
               สุดท้ายคือการทดลองกรีดลงบนผืนผ้า เพื่อทดสอบความคม
               แต่เดิมในต่างประเทศ การเจาะรักษาจะใช้เข็มเบอร์ 18 ลงไปเจาะตัด 
แต่ด้วยลักษณะของเข็มก็ทำให้สามารถตัดในแนวตรงได้เพียงอย่างเดียว 
ไม่มีความเหมาะสมในการตัดปลอกเอ็น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เข็มขัดรัดเส้นเอ็น 
และ ปลอกเอ็นแข็งตัวเป็นพังผืดหนา และปลายเข็มแหลมคมเกินไปอาจไป
ทำลายเส้นเอ็นได้   Blade Probe จึงมีความเหมาะสมกับการใช้งานมากกว่า 
เพราะทำด้วยวัสดุแข็งแรงและมีด้ามจับถนัดมือ ทั้งทำด้วยสแตนเลสจึงไม่เป็นสนิม 
 เหมือนอุปกรณ์ผ่าตัดชนิดอื่นๆ  การใช้งานในช่วงแรกจึงเป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือ
ที่ชำรุดแล้ว มาลับปลายที่หักให้มีความคม จากนั้นก็มีการปรับปรุงรูปแบบเป็นระยะจนมา
ถึงในปัจจุบัน ที่เป็นการนำ Blade Probe ใหม่มาลับปลาย โดยจะแบ่งปลายเป็น 2 แบบคือ 
ชนิดที่ใช้กับนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นางก้อย กับชนิดที่ใช้สำหรับอาการล็อกที่นิ้วหัวแม่มือ 
เนื่องจากนิ้วหัวแม่มีมือมีตำแหน่ง ล็อกอยู่หน้า interphalangeal joint  และเข็มขัดที่จะตัด
อยู่ใกล้เส้นประสาทของนิ้วโป้ง จึงต้องใช้เครื่องมือชนิดที่มีความคม อยู่ด้านข้างคุณลักษณะ
สำคัญของการประยุกต์เครื่องมือในครั้งนี้ก็คือ การทำให้มีความคมแบบแหลมเฉียง 
จึงสามารถตัดปลอกหุ้มเอ็นได้โดยที่ไม่ต้องใช้มือลาก เพียงแค่หมุนข้อมือเล็กน้อยเท่านั้น 
เพื่อป้องกันไม่ให้เวลาตัดแล้วหลุดมือ จนกลายเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทที่อยู่ใกล้
<ภาพเครื่องมือ>
ยังมีข้อวิจารณ์ว่าการผ่าตัดแบบเจาะรูเป็นการผ่าตัดแบบ “ตาบอด” หรือ blind 
technique เพราะเป็นการผ่าตัดที่มองไม่เห็น ใช้ความชำนาญสอดปลายเครื่องมือเข้าไปสัมผัสคลำและตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็น และบางครั้งต้องตัดปลอกหุ้มเอ็น แล้วแต่ความรุนแรของคนไข้แต่ละราย ซึ่งนายแพทย์วิชัย ยืนยันว่าไม่ใช่ blind technique เพราะเส้นเอ็นกับปลอกเอ็นนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเส้นเอ็นจะมีลักษณะลื่น ส่วนปลอกเอ็นจะฝืดคล้ายการกรีดมีดบนผ้า ทำให้สามารถคลำแยกความแตกต่างได้ว่าควรตัดหรือไม่นอกจากนี้ ตามโครงสร้างทางกายวิภาคนิ้วมือแนวแกนกลางของนิ้วต่อมาถึงฐานนิ้วจะมีเพียงเส้นเอ็นที่ห่อด้วยปลอกเอ็นและเข็มขัดรัดเส้นเอ็นการผ่าตัดด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนังโดย Blade Probe จึงมีความปลอดภัย แต่แพทย์ที่จะใช้วิธีนี้ควรได้รับการฝึกจนมีความแม่นยำและทราบว่าควรตัดตำแหน่งใด มากน้อยเพียงใด จึงจะหายล็อก เสมือนการตัดเสื้อไม่หลวมเกินไป หรือฝิตเกินไป  นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วัฒนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดมือ ประธานมูลนิธิโรคข้อในพระราชอุปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ได้นำเทคนิคนี้ไปใช้ได้ผลดี และเชื่อมั่นว่าจะเป็นเทคนิคมาตราฐานสำหรับการรักษาโรคนิ้วล็อกในอนาคต และจัดโครงการนิ้วล็อกสัญจรช่วยรักษานิ้วล็อกให้กับคนไทยในจังหวัดต่างๆเช่น จันทบุรี สุรินทร์ สมุทรสาครเพชรบุรี  สระบุรี นครสวรรค์ เป็นต้น และถ่ายทอดเทคนิคการผ่าตัดแบบเจาะให้กับแพทย์ในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งช่วยให้ผู้คนจำนวนมากพ้นจากความเจ็บปวดทรมานจากอาการนิ้วล็อก
ข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคนิ้วล็อก การป้องกัน การรักษา ศึกษาได้ในweb sites
1. www.trigger-finger.net                           2.  www.lockfinger.com
                                                      
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4875เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2005 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูงและเก๊าท์  ไปรับการผ่าตัดต้อเนื้อ หมอให้ยามารับประทานนาน 3 เดือน เกิดอาการ

-หน้าบวมเป็นวงพระจันทร์(คล้ายคนอ้วน)

-ผิวแห้งแตกลาย

-เกิดอาการนิ้วล๊อค

เมื่อหยุดยา(โยนทิ้งทันที) เกิดอาการ

-หน้าบวมลดลงมาก

-อาการนิ้วล๊อกหายไป

-มือ-เท้าบวม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ ไปพบแพทย์และผลตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุ ตับ ไต ให้ค่าปกติ ปัสสาวะ ปกติ เอ็กเรย์ปอด หัวใจ ปกติ

ขอเรียนถามคุณหมอว่า อาการทั้งหมดนี้เกิดจากการได้รับ Steriod ใช่ไหม และหากใช่ จะรักษาอย่างไร

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท