หนังสือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของสก็อตแลนด์...น่าสนใจอย่างไร


ในหนังสือเล่มนี้ แต่ละภาคส่วนจะแบ่งออกเป็น 1. Jurisdiction 2. Choice of Law 3. Recognition

           หนังสือ International Private Law in Scotland เขียนโดย Dr. Elizabeth Crawford เมื่อพิจารณา outline ของหนังสือเล่มนี้แล้ว จะขอแบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาในหนังสือดังต่อไปนี้

         ในลำดับแรกจะมีการพิจารณาถึง nature ของวิชานี้ว่ากล่าวถึงเนื้อหาของลักษณะวิชานี้ไว้อย่างไรบ้างรวมทั้งพูดถึงประวัติศาสตร์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในประเทศสก็อตแลนด์ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

         ในลำดับต่อมาของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงหลักการของการใช้กฎหมายต่างประเทศ เรื่องการย้อนส่ง รวมไปถึงเรื่องของหลักภูมิลำเนาว่าจะต้องมีการพิจารณาอย่างไรบ้าง ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญในการพิจารณาใช้กฎหมายขัดกันในกลุ่มกฎหมายขัดกันของรัฐในกลุ่มกฎหมายตระกูล common law แต่ที่น่าสังเกต คือ ในหนังสือเล่มนี้มิได้มีการกล่าวถึงเรื่องสัญชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นหลักการในการพิจารณาใช้กฎหมายขัดกันในกลุ่มกฎหมายของรัฐในตระกูล civil law เลย

          ในส่วนที่สามคือในส่วนของการพิจารณาปัญหากฎหมายขัดกันของเอกชน ซึ่งก็พูดถึงในส่วนของนิติบุคคล และในส่วนที่เป็นบุคคลธรรมดาก็จะมีการพูดถึงกฎหมายขัดกันในเรื่องของบุคคล สัญญา ครอบครัว สามีภรรยา ละเมิด มรดก โดยแต่ละเรื่องจะมีการพิจารณาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. Jurisdiction 2. Choice of Law 3 Recognition (of foreign decree ) และในส่วนที่น่าสนใจก็คือ ในส่วนของปัญหาการขัดกันแห่งกฎหมายเอกชนนั้น ในหนังสือเล่มนี้ได้มีการแบ่งเรื่องล้มละลาย และเรื่องทรัพย์สินของสามีและภรรยาแยกไว้เป็นบทอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในประเทศสก็อตแลนด์เล็งเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเช่นเดียวกับเรื่องปัญหากฎหมายขัดกันในเรื่องอื่นๆ

         ในส่วนที่สี่ คือ เรื่องของการพิจารณาใช้พยานหลักฐาน การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เขตอำนาจศาล รวมไปถึงเรื่องการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ และในเรื่องของกฎหมายอาญา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสังเกตอย่างมากว่ามีการแยกเรื่องกฎหมายอาญาไว้เป็นเรื่องสุดท้าย ซึ่งต่างจากกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในเล่มอื่นๆ ซึ่งคิดว่าคงจะมีหนังสือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจำนวนน้อยมากที่จะมีการแยกเรื่องกฎหมายอาญาไว้เป็นบทหนึ่งในส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเหมือนกับในหนังสือเล่มนี้

        จากที่ได้พิจารณาหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า หนังสือเล่มนี้มีการแบ่งหมวดหมู่ในการทำความเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลไว้อย่างชัดเจน เป็นขั้นตอน ซึ่งน่าจะทำให้ผู้อ่านทำการศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่าย และจะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงพื้นฐานของกฎหมายคดีบุคคล รวมไปถึงช่วยสร้างความเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในประเทศของกลุ่มกฎหมายตระกูล common law ได้ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 48746เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การวิจารณ์หนังสือน่าจะให้ความสำคัญกับปีที่พิมพ์ด้วยค่ะ มันจะบอกเราได้ว่า ข้อมูลในหนังสือจะเก่าหรือใหม่

นอกจากนั้น ถ้าจะดูว่า หนังสือนี้มุ่งจะใช้ในระดับไหน ก็จะทำให้เราประเมินหนังสือได้ชัดมากขึ้น ซึ่งเราอาจดูจากการจัดประเภทหนังสือที่ปก ดูซิคะมีไหม

เปลี่ยนจากวิจารย์เป็นวิเคราะห์น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ในปี 1998 ค่ะ  แต่ว่าการจัดประเภทหนังสือที่หน้าปกไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท