โรงเรียนในฝัน ตอนที่ 7 ผลงานวิชาพลศึกษา


ถ้าเด็ก ๆ เข้าถึงแก่นความรู้ได้ รู้ลึกได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ ทำได้ ปรับปรุงได้ เชื่อมโยงกับวิชาอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียน ซึ่งต้องอาศัยครู หรือ พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องด้วย นักเรียนจึงจะรู้จริง รู้ลึกฯ

ตอนที่ 7 ผลงานวิชาพละศึกษา

                   วิชาพละโดยทั่วไปก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ลึกซึ้ง  แค่ทำอะไรได้ เช่น เล่นฟุบอลได้ ตะกร้อได้ วิ่งให้ชนะได้ ก็น่าจะพอ  การสอนการเรียนวิชาพละอย่างนี้ ก็คงเป็นตอนที่ผม และหลายท่านเรียนมัธยม  วันนี้จะสอนอย่างนั้น  ไม่ได้  เพราะเด็กจะต้องเอาความรู้ไปสอบ ONETเพื่อวัดความรู้ ด้วยข้อสอบคิดวิเคราะห์   ที่จะเอาความรู้ที่ท่องจำ  ทำได้ ไว้ไปตอบ ไม่ได้  เด็กจึงต้องรู้จริงเข้าใจจริง  จะรู้จริง ซึ่งต้องผ่านกระบวนการสอนที่ให้เด็กคิดมาก ๆ มาก่อน  ตัวอย่างในวีดิโอ ผมลองซักเด็กดู   ก็พอที่จะให้ผ่านในส่วนที่นำเสนอนี้ ซึ่งต้องไปรวมกับผลงานอื่นๆ ในวิชานี้ที่ยังมีอีกหลายผลงานได้ซึ่งบางผลงานก็เป็นรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขัน  ผลงานที่นำมาให้ดูนี้เป็นผลจากการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ก็ลองคลิ๊กดูนะครับ http://www.youtube.com/watch?v=aBMCJL7Xncc

ครอบครัวในฝัน : ข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

ในการไปร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินโรงเรียนในฝัน  จะมีคู่มือ หรือ เรียกกันว่าเครื่องมือประเมิน หรือหัวข้อพิจารณา  ให้กรรมการใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผมผมสรุปเป็นหลักพิจารณาผลงานของเด็กที่นำมาเสนอ ไว้ ดังนี้

"ในทุกมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ทุกเรื่องที่เด็กนำเสนอ) นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ตลอดจนระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ นำไปใช้ประโยชน์ตน และส่วนรวมได้ ตามศักยภาพของแต่ละคน"

หลักนี้เป็นหลักคิด เพื่อใช้ในการประเมินที่ผมย้ำให้ครูที่เป็นพี่เลี้ยง นำไปพิจารณาใช้ในการสอนในทุกวิชา และคิดว่าพ่อแม่ก็สามารถนำไปใช้ได้ในทุกเรื่อง ที่เรียนมาจากโรงเรียน รวมทั้งวิชาพละศึกษา ผมมักจะถามเด็ก ๆ พละศึกษา แปลว่าอะไร  ทำไมจึงเรียกว่า พลศึกษา  ในเรื่องตะกร้อลอดห่วง ที่ถามว่า มันคืออะไร มีกี่ท่า  อะไรบ้าง ท่าไหนดีที่สุด ใช้ในสถานการณ์อย่างไร  มันสนุกตรงไหน   เด็กอาจตอบว่า ได้ออกกำลังกาย และถามต่อไปว่า ออกกำลังกายแปลว่าอะไร เพื่อทำให้เด็กเข้าถึงแก่นของคำว่าออกกำลังกายได้   

และอาจถามเลยไปอีกว่า น้ำหนักที่เตะตะกร้อไปแต่ละครั้งวัดได้ หรือไม่ วัด อย่างไร การวัดได้จะเป็นประโยชน์ อย่างไร ถ้าเด็ก ๆ เข้าถึงแก่นความรู้ได้ รู้ลึกได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ ทำได้ ปรับปรุงได้  เชื่อมโยงกับวิชาอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียน ซึ่งต้องอาศัยครู หรือ พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องด้วย  นักเรียนจึงจะรู้จริง รู้ลึกฯ  ตามหลักคิดที่ผมกล่าวไว้    

หมายเลขบันทึก: 487409เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท