ภาวะโภชนาการในผู้ติดเชื้อเอชไอวี


NUTRITION SUPPORT ในผู้ป่วย HIV

NUTRITION SUPPORT ในผู้ป่วย HIV หลักการ  1.  พยายามให้ทานทางปากก่อน ( ORAL   NUTRITION ) ถ้าไม่ได้ จึงพิจารณาทางENTERAL และ PARENTERAL ( ใส่ NG  และเส้นเลือด )

                2.  อาจใช้มาตราการอื่น ๆ เสริม เช่น ยากระตุ้นความอยากอาหาร  ยาเสริมการบีบตัว กระเพาะ ยาช่วยย่อย

  เหตุผล     1.  การเสริมสารอาหารในผู้ป่วย HIV  ที่มีทุพโภชนาช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและ ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้นานขึ้นแต่ยังไม่สามารถทำให้สภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดีขึ้นได้                2.  ในผู้ป่วยกลุ่ม HIV  ยังต้องการการศึกษาที่เป็น  evidence base  แต่เท่าที่มีสนับสนุนการให้ Nutrition Support ในเรื่องโภชนาการ

                3.  HAART สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต อาหารจะเป็นตัวเสริมทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตคล้ายคนปรกติได้

  กลไกการเกิดการขาดอาหาร                1.  STARVING  :  การขาดการบริโภคสารอาหาร                2.  STRESS        :  การมีการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนผลของการขาดอาหาร 

         ร่างกายเพิ่มการใช้ Metabolism  มีการสร้างกรดไขมันในปริมาณสูง  hypotriglyceridemia  ทำให้ immune  แย่ลง ผลของ HIV เพศชายยังมีผลของ  hygogonadism  ทำให้ผู้ป่วยชายมี BCM ( lean body mass ) ลดลงมากกว่าในผู้หญิงผู้ป่วย HIV หญิงมักมีไขมันลดลงมากกว่าปรกติ   มีการศึกษาในผู้ป่วย HIV ( Kotler DP ) พบว่าผู้ป่วย AIDS ที่มีทุพโภชนาการมีอัตราการรอดชีวิตในระยะยาวน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ แต่ในระยะอัตราตายใกล้เคียงกันในระยะสั้น    นอกจากนี้ในผู้ป่วย AIDS ยังมีปัญหาเรื่อง STRESS จาก Opportunistic Infect ion และ เรื่องผลข้างเคียงของยาด้วย

  ลักษณะน้ำหนักลดในผู้ป่วยเอดส์         ต้องระวังเรื่องการใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์ตัดสินสภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากบางครั้งผู้ป่วย AIDS มีสภาวะบวมน้ำได้ทำให้นำหนักไม่เปลี่ยนแปลง การลดของน้ำหนักในกลุ่มที่ลดลงช้าแต่ลดตลอด  จะแย่กว่ากลุ่มที่ลดเป็นระยะ ๆ การเลือกวิธีให้และประเภทสารอาหาร         ขึ้นอยู่กับอาการป่วย เช่น ถ้ามี candidiasis of esophagus  ทานไม่ได้อาจพิจารณาให้ทาง NG ถ้าต้องให้ NG > 1 เดือน  อาจพิจารณาทำสายให้ทางกระเพาะหรือลำไส้ซึ่งจะสะดวกกว่าปริมาณสารอาหารที่ควรได้         พลังงานประมาณ 30 50 kcal/ABW/d         โปรตีน 1.5 gm/ABW/d

         ถ้าน้ำหนักลด > 10 % ใน 6 เดือนให้เพิ่ม intake อีก 50 %

   สรุป         -  HIV อย่างเดียวไม่ทำให้เกิดสภาวะทุพโภชนาการ         -  ผู้ป่วย HIV จะมีสภาวะ hypermetabolic/hyper catabolism          -  ผู้ป่วย HIV ชายจะมี hypodonadism         -  ในสภาวะขาดอาหารจะมี triglyceride  สูงขึ้น , น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น , cholesterol ในเลือดสูงขึ้น         -  น้ำหนักลดลง , BCM ลดลง         -  ผู้ป่วย HIV มักมี  vitamin และ trace element ขาดด้วย

         -  ผู้ป่วย HIV ที่น้ำหนักปรกติ ไม่ได้แปลว่าไม่ขาดอาหาร

 หมายเหตุ หัวข้อนี้ได้รับความอนุเคราะห์เนื้อหาจากBoss ที่ได้ฟังอาจารย์วิบูลย์เมื่อวันที่30พ.ค.2549และนพ.สุทัศน์ ที่ช่วยสรุปเนื้อหามาให้ 
คำสำคัญ (Tags): #วิชาการ
หมายเลขบันทึก: 48692เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณแมวที่ช่วยลปรรให้ผู้อื่นทราบค่ะ
  • ได้รับความรู้เพิ่มจากแมวดีจัง
  • ขอปรบมือให้ดัง ๆ จ้ะBravo

 

ความเชื่อมโยงระหว่างโภชนาการและเชื้อเอชไอวีคืออะไรโภชนาการที่ดีในอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ โดยการให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายของคุณสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมอาการภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรรับประทานอะไรอาหารที่ดีประกอบด้วยอาหารประเภทต่างๆ ที่สมดุล ดังต่อไปนี้

อาหารประเภทแป้งคุณควรรับประทานขนมปัง มันสำปะหลัง ธัญพืช กล้วยสีเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด มันฝรั่ง พาสต้า ข้าว และมันเทศ ให้มากขึ้น แป้งควรเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของอาหารของคุณ ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน อาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง จะให้คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน รวมทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และใยอาหาร อาหารบางประเภทที่อุดมไปด้วยแป้ง ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี จำพวกข้าว พาสต้า และขนมปัง

ผักและผลไม้คุณสามารถพบวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารจำนวนมากอย่างน่าอัศจรรย์ได้ในอาหารจำพวกนี้ พยายามรับประทานผลไม้และผักให้ได้ห้าส่วนหรือมากกว่าในแต่ละวัน นอกจากนี้ ผลไม้และผักยังสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ ข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก คือ ผลไม้และผักมีไขมันต่ำและมีน้ำตาลที่เป็นประโยชน์ โดยคุณสามารถควบคุมน้ำหนัก และได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ในเวลาเดียวกัน

ไขมันไขมันพบได้ในน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เนย และมาร์การีน เนื้อสัตว์ และอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นโปรตีน เป็นแหล่งพลังงาน กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน (วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินดี และวิตามินเค) ให้พยายามรับประทานไขมัน ‘ไม่อิ่มตัว’ เช่น ไขมันที่พบได้ในน้ำมันตับปลา ถั่ว และเมล็ดพืช ผลอะโวคาโด น้ำมันมะกอก และน้ำมันพืช ไขมัน ‘อิ่มตัว’ ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ เนยแข็ง เนย และอาหารแปรรูปต่างๆ จะเพิ่มคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จึงควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมอาหารจำพวกนี้ ได้แก่ นม เนยแข็ง และโยเกิร์ต และเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และโดยเฉพาะแคลเซียม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิดมีไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อย หรือคุณควรรับประทานนม เนยแข็ง และโยเกิร์ตที่มีไขมันต่ำ หากคุณไม่สามารถรับประทานนมได้ ถั่วเหลือง น้ำนมข้าวหรือน้ำนมข้าวโอ๊ต ผักใบเขียวเข้ม ลูกพรุนแห้ง ผลแอปพลิคอต และถั่ว ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี

ระวัง! อาหารที่มีไขมันและเกลือในปริมาณสูงไม่เพียงแต่อาหารที่มีไขมันสูงเท่านั้น แต่น้ำตาลก็ควรเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในมื้ออาหารของคุณเช่นกัน ไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น อันส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกลือ และอาหารรสเค็มอาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หากรับประทานในปริมาณมาก และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดโรคหัวใจ ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุสิบเอ็ดปีขึ้นไป ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน และเด็กที่อายุต่ำกว่านี้ ควรบริโภคเกลือในปริมาณที่น้อยลง

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยให้คุณรับมือกับเชื้อเอชไอวี และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

พอดีว่าไปเจอบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมเลยค่ะ เลยอยากจะนำมาแชร์ข้อมูลให้กับคุณผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท