การวิเคราะห์ผู้เรียน(งานนะครับพี่ดรีม)


การวิเคราะห์ผู้เรียนให้ทราบว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด

       การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อให้ผู้สอนทราบว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด  ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดี ย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน    ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น         การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้   สังคม   เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้   ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับเนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 

1. ทักษะที่มีมาก่อน ( prerequisite skill) เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐาน หรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นว่ามีอะไรบ้าง ก่อนที่จะเรียน

2. ทักษะเป้าหมาย ( target skill) ผู้เรียนมีความชำนาญในทักษะที่จะสอนนั้นมาก่อนหรือไม่   เพื่อจะได้สอนให้ตรงกับที่วางจุดมุ่งหมายไว้
3.ทักษะในการเรียน ( study skill) ผู้เรียนมีความสามารถขั้นต้นทางด้านภาษา การอ่านเขียน การคำนวณ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้นั้นในระดับมากน้อยเพียงไร
4.เจตคติ ( attitudes) ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรต่อวิชาที่จะเรียนนั้น การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำเพียงผิวเผินก็ตาม   แต่ก็สามารถนำไปใช้ในการเลือก สื่อที่เหมาะสมได้ เช่น   หากผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ก็สามารถช่วยได้ด้วยการใช้สื่อประเภทที่มิใช่สื่อสิ่งพิมพ์ หรือถ้าหากผู้เรียนในกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันมาก ก็สามารถให้เรียนด้วยชุดการเรียนรายบุคคลได้  
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนอาจจะทำได้ยากเป็นบางครั้ง ทั้งนี้เพราะผู้สอนอาจมีเวลาน้อยที่จะสังเกต   หรือผู้เรียน อาจเป็นผู้มาจากที่อื่นที่เข้ามาเรียนหรือรับการอบรม   แต่ก็สามารถกระทำได้ด้วยการสนทนากับผู้เรียนหรือผู้ร่วมชั้นอื่นๆ หรืออาจมีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของผู้เรียนก็ได้ 
การวิเคราะห์ผู้เรียน
ขั้นแรกของการวางแผนคือ การระบุคุณสมบัติของผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนหรือผู้วางแผนการสอนจะต้องทำความเข้าใจและรู้จักผู้เรียนที่จะเรียนบทเรียนเป็นอย่างดี จึงจะสามารถเลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมที่สุด และจะทำให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด การวิเคราะห์ผู้เรียน ได้แก่  
  ก. การวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของผู้เรียน
เป็นการพิจารณาภาพรวมของผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น อายุ เพศ ระดับชั้นเรียน ระดับสติปัญญา เชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา เป็นต้น
ข. การระบุความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียน
เมื่อจะสอนเนื้อหาใด ๆ ผู้สอนควรพิจารณาว่า ก่อนที่ผู้เรียนจะเรียนเนื้อหาดังกล่าวผู้เรียนควรมีพื้นความรู้และทักษะด้านใดมาก่อนบ้าง (prerequisite skill) และเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ผู้เรียนต้องมีความรู้ ทักษะ ตลอดจนทัศนคติอย่างไรบ้าง (target skill   
ค. ลีลาการเรียน
ลีลาการเรียน (Learning Styles) หมายถึง ลักษณะทางจิตวิทยา (trait) ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของบุคคล ผลจากการศึกษาและการวิจัยยืนยันว่า ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนจากวิธีการและสื่อการสอนต่างๆ
เมื่อจะสอนเนื้อหาใด ๆ ผู้สอนควรพิจารณาว่า ก่อนที่ผู้เรียนจะเรียนเนื้อหาดังกล่าวผู้เรียนควรมีพื้นความรู้และทักษะด้านใดมาก่อนบ้าง (prerequisite skill) และเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ผู้เรียนต้องมีความรู้ ทักษะ ตลอดจนทัศนคติอย่างไรบ้าง (target skill) หากพบว่าผู้เรียนยังขาดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นก่อนการเรียน ก่อนที่จะเริ่มสอนเนื้อหาของหลักสูตรผู้สอนควรทำการสอนเสริมให้ผู้เรียนมีพื้นความรู้ตามที่กำหนดไว้ก่อน และในทางตรงกันข้ามหากพบว่าผู้เรียนมีความรู้ในเนื้อหาของหลักสูตรมาก่อนที่จะเรียน ผู้สอนก็ไม่ควรจะสอนเนื้อหาส่วนนั้นให้เสียเวลาและทรัพยากร ควรใช้เวลาไปสอนเสริมในส่วนที่ผู้เรียนยังไม่มีความรู้ และการที่จะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานในระดับใดอาจทำได้โดยการสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
Heinich และคณะ (1996) ได้จัดประเภทของแนวคิดเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. บุคคลเลือกที่จะรับรู้ และบุคคลมีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน
2. รูปแบบของการประมวลผลข้อมูล
 โดยแบ่งประเภทการประมวลผลข้อมูลของผู้เรียนไว้ 2 ด้าน
คือ ด้านเนื้อหา
ได้แก่ รูปธรรม (Concrete) หรือนามธรรม (Abstract)
และ ด้านลำดับขั้นในการคิด
ได้แก่ การคิดตามลำดับขั้น (Sequential) หรือการคิดแบบสุ่ม (Random)
3. ปัจจัยเกี่ยวกับการจูงใจ
4. ปัจจัยทางจิตวิทยา
ผู้เรียนแตกต่างกันในด้านการเลือกใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ และความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการรับรู้ของบุคคลไม่เหมือนกัน บุคคลมักจะใช้ประสาทสัมผัสส่วนที่ตนมีความสามารถสูงเพื่อใช้ในการรับรู้ก่อนการใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่น จากการศึกษาพบว่า ผู้เรียนทุกคนไม่ได้มีความสามารถในการฟังเหมือนกัน และไม่ได้เลือกที่จะใช้หูหรือการได้ยินเป็นช่องทางในการรับรู้ก่อนอวัยวะส่วนอื่นเสมอไป ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ทำให้อาจารย์หรือผู้สอนต้องทำการทบทวนวิธีการสอนแบบบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้เรียนที่เรียนช้า เลือกที่จะเรียนรู้จากการมีประสบการณ์ตรงและการเคลื่อนไหวของร่างกายก่อนวิธีอื่น ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้อย่างลำบากหากให้นั่งอยู่เฉยๆ และฟังครูเท่านั้น 
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านอารมณ์หลายปัจจัยมีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจบทเรียน ระยะเวลาของการให้ความสนใจต่อบทเรียน ความพยายามในการเรียนรู้ และความรู้สึกที่จะรบกวนการเรียนรู้ ในกระบวนการของการเรียนรู้มีสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้หลายประการ เช่น ความกังวลใจ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจทางสังคม และการแข่งขัน เป็นต้น ผู้เรียนบางคนเรียนได้ดีในบรรยากาศการเรียนที่ไม่เคร่งเครียด แต่บางคนอาจจะเรียนได้ดีกว่าในบรรยากาศการเรียนที่เคร่งครัดและมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด
นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความแตกต่างทางเพศ สุขภาพ และเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ เด็กชายและเด็กหญิงมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อประสบการณ์การเรียนรู้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เด็กชายมักชอบที่จะแข่งขันและมีแนวโน้มว่าจะก้าวร้าวมากกว่าเด็กหญิง เด็กชายจึงมักตอบสนองได้ดีกว่าในการเรียนการสอนที่มีการใช้เกม นอกจากนี้ก็พบว่า ความหิวและความเจ็บป่วยมีผลต่อการเรียนรู้อย่างชัดเจน ส่วนเรื่องของอุณหภูมิ เสียงรบกวน แสงไฟ และช่วงเวลาของวัน เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการใช้สมาธิและการให้ความสนใจในบทเรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในการอดทนต่อปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว  
วัตถุประสงค์ในการพิจารณาเรื่องลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็เพื่อที่จะประยุกต์ใช้เทคนิค วิธีการ ตลอดจนสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 48657เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอความน่าสนใจนะครับ

ผมขอไปใช้ทำงานที่ผมเรียนหน่อยนะครับ

แล้วเดี๋ยวผมจะอ้างอิงให้ครับ ขอบคุณครับ

ขอโทษนะครับผมไม่รู้ว่าจะใช้ชื่อไหนอ้างอิงนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท