ตัวอย่างแผนการเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าเรียนรู้ 8 จบ โดย ชาตรี สำราญ


เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการคิด – อ่าน – เขียน  ( ดูจากงานเขียนและหนังสือเล่มเล็ก)

 

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

4

ก)      การเขียนสะกดคำ

 

ข)     การเลือกสรรคำ

 

 

 

ค)     ความแปลกใหม่ในการเขียนเรื่อง

 

 

 

ง)      ความต่อเนื่องของการใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษา

คำทุกคำที่นำมาเขียน เขียนสะกดคำถูกต้อง

รู้จักเลือกสรรคำนำมาเขียนเรื่องได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอ อ่านแล้วเห็นความกลม-กลืนระหว่างภาษากับคำนำเขียน

นำเสนอเรื่องโดยมีแนวคิดและภาษาที่นำใช้มีความแตกต่างจากเรื่องเดิม ๆ ที่เคยเขียนส่งครู ส่งผลให้เกิดความแปลกใหม่ในการคิดเขียนเรื่อง

การใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษามีความต่อเนื่อง เขียนอธิบาย มองเห็นภาพที่ต้องการสื่อสารได้      ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย มีตัวอย่างประกอบตรงตามเนื้อหา

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

3

ก)      การเขียนสะกดคำ

 

 

ข)     การเลือกสรรคำ

 

ค)     ความแปลกใหม่ในการเขียนเรื่อง

 

 

 

ง)      ความต่อเนื่องของการใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษา

เขียนสะกดคำได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ แต่มีบางคำที่ถามเพื่อนหรือถามครูก่อนนำเขียนเรื่อง

รู้จักเลือกสรรคำนำเขียนเรื่องได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอ

นำเสนอเรื่องโดยมีแนวคิดและภาษาที่นำใช้มีความแตกต่างจากเรื่องเดิมที่เคยเขียนส่งครูในบางตอน จึงช่วยให้มีความแปลกใหม่(ในบางตอน)ของเรื่องที่เขียน

นำคำมาใช้ได้เหมาะสมกับเรื่อง ช่วยให้สำนวนภาษามีความต่อเนื่อง อ่านแล้วเข้าใจเรื่องที่สื่อสาร

2

ก)      การเขียนสะกดคำ

 

 

ข)     การเลือกสรรคำ

เขียนสะกดคำได้ถูกต้องเพียงบางคำ  เพราะบางคำถามครู ถามเพื่อนหรือผู้ปกครอง

รู้จักเลือกสรรคำนำเขียน อ่านพอเข้าใจเรื่องที่เขียน

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

 

ค)      ความแปลกใหม่ในการเขียนเรื่อง

 

ง)      ความต่อเนื่องของการใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษา

เขียนเรื่องแปลกแตกต่างจากเรื่องเดิมที่เคยเขียนแต่มีความคิดและวิธีการนำเสนอซ้ำๆ กับเรื่องเดิม

เรื่องที่นำเสนอไม่ค่อยจะมีความต่อเนื่องสอดรับกันตลอดเรื่อง ส่งผลให้ถ้อยคำสำนวนภาษาไม่สอดรับกัน

1

ก)      การเขียนสะกดคำ

 

ข)     การเลือกสรรคำ

 

ค)      ความแปลกใหม่ในการเขียนเรื่อง

ง)      ความต่อเนื่องของการใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษา

เขียนคำยังไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขภายหลังจากส่งผลงานแล้ว

มีความพยายามนำคำที่อ่านเขียนได้มาเขียนสื่อ

เขียนเรื่องด้วยวิธีการและแนวคิดซ้ำ ๆ  กับเรื่องเดิม ที่เคยเขียนส่ง

ขาดความต่อเนื่องของเรื่องที่นำเสนอ  เขียนและคิดได้ก็เขียน  เขียนแบบนำข้อความมาเขียน   ต่อ ๆ กันให้ยาว ๆ ดูว่าเป็นเรื่องแต่ไม่เป็นเรื่อง

 

เกณฑ์ประเมินผลพฤติกรรมการพัฒนาลักษณะนิสัยการเขียนเรื่อง

 

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

4

ก)      การศึกษาข้อมูลนำมาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ข)     การส่งผลงาน

 

ค)     สภาพของผลงาน

 

 

 

ง)      กระบวนการพัฒนาการทำงาน

 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหลายแหล่งเรียนรู้ นำมาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ส่งผลงานตรงตามเวลาที่นัดหมาย

 

ผลงานมีความสะอาดเรียบร้อย น่าหยิบอ่าน ตัดแต่งรูปเล่มสวยงาม

 

มีการคิดเขียนในกระดาษทดลองเขียน ก่อนเขียนเรื่อง ตรวจแก้ผลงานจนพอใจจึงนำมาเขียนเป็นเล่มผลงาน มีคำนำ สารบัญ เนื้อหา ตัวอย่างประกอบ วิธีเรียน ระบุแหล่งอ้างอิง ประเมินผลงานตนเอง

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

3

ก)      การศึกษาข้อมูลนำมาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ข)     การส่งผลงาน

 

ค)     สภาพของผลงาน

 

ง)      กระบวนการพัฒนาการทำงาน

 ถามความรู้จากแหล่งเรียนรู้ เช่น ครู ผู้ปกครอง พี่  นำมาเขียนเรื่อง  ขาดการค้นคว้าจากตำราวิชาการ

 

ส่งผลงานตรงตามเวลาที่นัดหมาย

 

ผลงานมีความสะอาดน่าหยิบอ่าน 

 

มีการคิดเขียนในกระดาษทดลองเขียนก่อนเขียน ตรวจแก้ผลงานก่อนเขียนลงในสมุดผลงาน  มี  คำนำ  สารบัญ  เนื้อหา  วิธีเรียน ระบุแหล่งอ้างอิง  ประเมินผลงานตนเอง

 

 

 

 

 

 

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

2

ก)      การศึกษาข้อมูลนำมาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ข)     การส่งผลงาน

 

ค)     สภาพของผลงาน

 

 

 

ง)      กระบวนการพัฒนาการทำงาน

 เขียนเรื่องตามที่ตนต้องการเขียน  ขาดการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้มาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ส่งผลงานตรงตามเวลา

 

ผลงานพอดูได้  แต่ขาดการตกแต่งให้สวยงามเพื่อจูงใจให้น่าหยิบอ่าน

 

เขียนเรื่องโดยเขียนลงในสมุดผลงานทันที  ไม่ได้มีขั้นตอนการลองคิดลองเขียน ทำให้ขาดความสะอาดเรียบร้อย และร่องรอยการคิด – เขียน  มีเพียงคำนำ  วิธีการเรียน

 

 

ระดับ

พฤติกรรม

เกณฑ์การพิจารณา

1

ก)      การศึกษาข้อมูลนำมาประกอบการเขียนเรื่อง

 

ข)     การส่งผลงาน

 

ค)     สภาพของผลงาน

 

 

ง)      กระบวนการพัฒนาการทำงาน

 ขาดการอ่านเพิ่มเติม  เขียนเรื่องตามใจคิด

 

 

ต้องคอยเตือนบ่อยครั้งจึงจะส่ง

 

ทำงานแบบให้เสร็จ  ผลงานจึงไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ

 

ทำงานอย่างไม่มีขั้นตอน  ทำแบบให้เสร็จ  ได้ส่ง

 

 

 

 

 

 

บันทึกสรุปหลังสอน   ( เมื่อสอนจบทุกแผนย่อย )

( เป็นรายงานหรือวิจัยในชั้นเรียนของหน่วยการเรียนนี้ )

 

 

เป็นการสรุปเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์    ให้เห็นว่า 

แผนย่อยทั้ง   7  แผน           มีปัญหาอะไร 

ทำไมจึงเกิดปัญหานี้  

ใช้วิธีการใดแก้ไข หรือพัฒนา

ผลเกิดขึ้นอย่างไร 

 

                สำหรับผลที่เกิดเป็นรูปธรรมนั้น ดูได้ที่การเปรียบเทียบการพัฒนากลุ่มการเรียนตามตารางเปรียบเทียบ  ซึ่งนำเสนอต่อไปนี้  การสรุปครั้งนี้  ไม่ต้องเขียนยาว  แต่เขียนให้กระชับ  ย่นย่อข้อมูลจากแผนย่อยที่  1-7  มาแสดงให้เห็นเป็นรายงานแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้

 

วิเคราะห์สภาพผู้เรียน

เปรียบเทียบระหว่างก่อนสอน กับหลังสอน

 

ระดับกลุ่ม

การเรียน

เลขประจำตัวนักเรียน

หมายเหตุ

ก่อนสอน

หลังสอน

 

 

A

 

 

 

 

 

 

 

B

 

 

 

 

 

 

C

 

 

 

 

 


 อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ    https://docs.google.com/docume...   


หมายเลขบันทึก: 486155เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2012 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท