เยาวชนคนรุ่นใหม่ คิดอย่างไร ต่อเกษตรกรรมยั่งยืน "คำสารภาพของคนรุ่นใหม่"


ด้วยความที่ผมก็เป็นลูกหลานชาวนา บางครั้งผมแอบน้ำตาซึม เมื่อน้องๆในกลุ่มเสวนาพูดถึงเรื่องราวชีวิต ก่อนจะกลับมาบ้าน มาทำเกษตรกรรมเหมือนพ่อแม่ที่บ้านนา

บรรยากาศในช่วงบ่ายของวันทีี่ ๔ กันยายน ๒๕๔๙ 

ช่วงบ่ายมีการเสวนา

"เยาวชนคนรุ่นใหม่คิดอย่างไรกับเกษตรกรรมยั่งยืน"

แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นโดย

กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ค้นหาตัวตนบนฐานเกษตรกรรมยั่งยืน  ผมยังตามติดเวทีเสวนาอย่างเหนียวแน่น โดยผมทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการกลาง

และ คุณอรุณี เวียงแสง เป็นผู้นำเสวนา

บรรยากาศการแลกเปลี่ยน น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งด้วยความที่ผมก็เป็นลูกหลานชาวนา บางครั้งผมแอบน้ำตาซึม เมื่อน้องๆในกลุ่มเสวนาพูดถึงเรื่องราวชีวิต ก่อนจะกลับมาบ้าน มาทำเกษตรกรรมเหมือนพ่อแม่ที่บ้านนา

ผมนำภาพเยาวชนบ้านแม่ทา กิ่งอ.แม่ออน เชียงใหม่ ที่มาเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้มาเผยแพร่ก่อน ส่วนเนื้อหารายละเอียดต่างๆ ผมขอเวลาเรียบเรียง ก่อนจะนำมาเขียนบันทึกอีกครั้ง...

 

 

                        เรื่องราวเยาวชน ผู้พลิกผันชีวิต เข้าสู่เกษตรกรรมยั่งยืน

 

 

 

                   ขอบคุณน้องเพิก น้องแคท และน้องโก   

                   เยาวชนคนกล้าคิด   กล้าทำแห่งบ้านแม่ทา เชียงใหม่

 

                                                         จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

                                                                 ๔ ก.ย. ๔๙ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 48568เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชอบจังครับ คำว่าเกษตรกรปริญญา ดูเหมือนว่าไม่ว่าจะจบอะไร เท่าไรก็สามารถทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนเองได้

  • มีคำผะหยาอีสานเกี่ยวกับเรื่องการมองท้องถิ่นตนเองบทหนึ่งที่ว่า

ลูกหลายเอ้ย

ขั้นสิไปข้างหน้าให้เหลียวหลังเบิ่งสาก่อน

เป็นมะหลืดทืดเท่า ตัวเจ้าอย่าสิไป

แปลว่า

ลูกหลาน ถ้าคิดจะเดินไปข้างหน้าไปที่อื่นไปพัฒนาที่อื่นให้มองกลับถิ่นฐานบ้านตัวเองก่อน หากบ้านเราลำบากอยู่ก็อย่าไป ช่วยบ้านเราเสียก่อน

  • ผะหยาบทนี้ผมไม่เคยลืม และขอชื่นชมน้อง ๆว่าเขาไม่ลืมถิ่นฐานของเขา ขอชมเชยอีกครั้งจากใจจริง

จะรออ่านนะคะ เรียบเรียงบันทึกเสร็จเมื่อไหร่ จะรีบอ่านทันทีคะ (ผู้ติดตามอ่านอย่างเนียวแน่น)

คุณออต ครับ

ผะหยา น่าสนใจและมีความหมายผมจะเรียบเรียง เวทีเสวนาในวันที่ ๔ ที่ผ่านมา ออกมาให้อ่านกันเร็วๆนี้ครับ

น้องๆจากแม่ทา ถ่ายทอดออกมาได้อย่างจับใจมากครับในวันนั้น

คุณจ๊ะจ๋า ครับ

ขอบคุณครับ ที่ติดตามอ่านบันทึกผมต่อเนื่อง...กำลังใจแบบนี้หละครับ...ทำให้ผมมีกำลังใจเขียนบันทึก...ต่อเนื่องครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์จตุพร

น่าชื่นชมและน่ายินดีกับน้องเขาด้วยนะคะที่คิดอยากจะกลับมาพัฒนาท้องถิ่น  เพราะคงจะหาน้อยมากที่จะคิดแบบน้องเขา  แม้แต่ตัวเปียเองยังคิดหนักนะคะที่จะกลับไปบ้านเกิด แต่ก็คงต้องกลับค่ะเพื่อไปดูแลบิดามารดา  และอีกอย่างอยากจะกลับไปพัฒนาศูนย์เด้กเล็กที่อยู่ในพื้นที่ให้ได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น  คุยกับเพื่อนที่อยู่กรุงเทพ  เขาก็อยากกลับมาท้องถิ่นเหมือนกัน  เขาบอกว่าเบื่อชีวิตกรุงเทพ ถ้ายังไงจะรออ่านบันทึกนะคะ 

สวัสดีครับเอก...เพื่อนคนขยันของท้องถิ่น ขอบคุณมากครับที่เข้าไปเยี่ยมเว็บและกำลังใจที่ให้ในทุก ๆ หัวข้อ หวังว่าคงได้เจอกันที่เมืองไทยนะครับ เพื่อน ๆ ที่เพิร์ท อยากมาเที่ยวเมืองปายมากครับ หวังว่าคงเต็มใจและยินดีต้อนรับพวกเรานะครับ

ปล. ตอบช้าไปนิดเพราะขายังแพลงอยู่ เลยไม่ได้ไปมหาลัยหลายวันแล้วครับ เป็นกำลังใจให้เสมอครับ 

คุณเปีย แห่งเมืองหนองคาย

บรรยากาศในเวที  เสวนาในวันนั้นอยากให้เปียเข้าไปนั่งฟังด้วยครับ...

คำบอกเล่าของเยาวชนถึงเรื่อง ความภาคภูมิใจในการเป็นเกษตรกรเหมือนพ่อแม่ของเขา

ผมซาบซึ้งมาก...เพราะผมก็ชาวนาคนหนึ่งครับ 

ขอบคุณครับ ให้กำลังใจในการทำงานครับ หากมีประเด็นที่จะแลกเปลี่ยน ส่งอีเมลล์หรือโทรศัพท์คุยได้ครับ ..ยินดีครับ

เสียงมิตรภาพจาก เมืองเพิร์ท ถึงเมืองไทย...

ขอบคุณครับ อาจารย์ Pop คาดหวังว่าวิทยานิพนธ์คงใกล้สำเร็จแล้ว นะครับผม

อีกไม่นานหากกลับมาเมืองไทย...ผมคาดหวังว่าจะได้เจอกันเมืองปายและผม ยินดีต้อนรับเพื่อนๆที่ เพิร์ท ทุกคนครับ... 

ให้กำลังใจให้(ขาแพลง)หายเร็วๆครับผม 

 

  • ตามมาอ่านครับอาจารย์
  • จะแวะไปเยี่ยมอาจารย์ออตด้วยครับ

ขอบคุณอาจารย์ Panda มากครับ

ผมพยายามถ่ายทอด เรื่องราว เกษตรกรรมยั่งยืน ให้มากที่สุดตามที่ได้เข้าร่วมงาน แต่ยังไม่ถึงเศษเสี้ยวเลยครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ Panda 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท