ทำงานไป คิดไป มีอะไรมากมายให้หาคำตอบ....เป็นR2R ได้แทบทั้งนั้น


หากเราช่วยกันสร้างวัฒนธรรมนี้ และส่งเสริมให้ไปถึงภาคปฏิบัติได้คงดีไม่น้อย

อ่านบันทึกฮอตฮิตช่วงนี้ เกี่ยวกับ R2R - Routine to Research แล้วดีใจ เพราะคิดว่าเราคงได้อะไรมากมายจากการสร้างวัฒนธรรมนี้ ตัวเองได้เห็นจากประสบการณ์ตรงในห้อง lab Chem ของเรานี่แหละว่า เรามีนักคิด นักพัฒนาหลายคน แต่ส่วนใหญ่เป็น"คุณกิจ" ที่ไม่ค่อยชอบ "ลิขิต" เราจึงมีผลงานดีๆที่ใช้อยู่ในหน่วยหลายอย่าง มาเป็นเวลานานแล้ว อันเกิดจากความช่างคิด รักความประหยัด ถล่มตัว (ไม่ได้พิมพ์ผิดค่ะ คำว่า"ถ่อม"น้อยไป)

ในหน่วยเคมีคลินิกแห่งนี้ เรามีผลงานที่ใช้อยู่ซึ่งเกิดจากการคิดค้น ดัดแปลงของพี่นุชรัตน์ พี่ปนัดดา อ.ประสิทธิ์ พี่วรรณี คุณพินิจ คุณพัฒนพงษ์ คุณศิริและ"คุณกิจ"ของเราทุกคน ช่วยกันเสริมต่อ ออกความเห็น โดยที่ไม่ได้มีการนำไปเขียนออกมาในรูปของงานวิจัย ซึ่งหากจะรวบรวมกันจริง ก็คงเป็น"งาน"หนักพอสมควรทีเดียว เป็น Knowledge Assets ที่มีคุณค่าและใช้ให้เป็นประโยชน์อยู่แล้วและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

คุณศิริได้เป็นผู้เปิดศักราช"คุณลิขิต"ให้กับหน่วยเคมีคลีนิก ด้วยเรื่องราวที่เธอนำมาเล่า ต้องขอบคุณ"ประกาย"ที่คุณเอื้อได้มาจุดให้เธอตั้งแต่ปีที่แล้ว และพัฒนาการในการเขียนเล่า จนเธอสามารถ"เขียนความคิด"ได้เหมือนที่เธอพูด ก็เพราะการเขียนใน GotoKnow นี้เอง

ตัวเองได้อะไรมากมายจากการคุยกับคุณศิริ และเราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะคุยเรื่องงานที่ดูเหมือนจะเป็นงาน"เฉพาะทาง" แต่ถ้าเราสามารถถ่ายทอด"วิธีการคิด"ได้เหมือนที่คุณศิริทำ จะก่อให้เกิดความคิดกับงานของผู้อื่นที่ไม่ได้"ร่วมทาง"ได้เช่นกัน อย่างที่คุณเมตตา และคุณ Dr .Ka-Poom ได้บอกไว้ในข้อคิดเห็น

การทำงาน routine มีเรื่องให้คิดมากมาย ตัวอย่างเช่นสัปดาห์นี้ ตัวเองอยู่ในจุดตรวจโปรตีนในปัสสาวะและ CSF ตอนออกผลจะดูผลของการตรวจปัสสาวะจากหน่วย Microscopy ควบคู่ไปด้วย มีหลายรายที่ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมจากผล UA (Urinary Analysis) ซึ่งทำด้วย strip บางค่าที่เป็น trace เราตรวจได้ค่าโปรตีนสูงกว่า รายที่เป็น 1+ เกิดคำถามขึ้นในใจว่า เอ๊ะ ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจ UA กับที่วัดได้จากการตรวจของเรานี่เป็นอย่างไรนะ สอบถามพูดคุยกับน้อง Aong San แล้ว ก็ได้ไอเดียว่า เราควรจะลองทำ retrospect ดูนะ จะได้ข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ว่ามีกี่เปอร์เซนต์ที่ค่าไปด้วยกัน ฯลฯ

เรียกได้ว่า ถ้าทำงานไป คิดไปละก้อ เกิดคำถามที่นำไปสู่ R2R ได้เสมอ เพียงแต่บางงานอาจจะไม่ต้องการการหาคำตอบที่เป็นหลักการมาก บางงานอาจจะ... หากเราช่วยกันสนับสนุนให้คนช่วยกันคิด พัฒนาให้เกิดความเป็น LO - Learning Organization งานประจำทุกอย่างก็สามารถจะมองหา R2R ได้แทบทั้งสิ้น

เพราะอย่างนี้นี่เอง เมื่ออ่านบันทึกของอ.ปารมีจึงรู้สึก....เป็นปลื้ม ค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 48550เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยกับพี่โอ๋ อย่างมากเลยค่ะ และหลังจากตัวเองก็ได้อ่านบันทึกของพี่โอ๋ ก็เกิด ปิ๊งแว๊บ!!!  Idea ในการถ่ายทอดเรื่องราว ปัญหา อุปสรรค ของการทำ R2R ที่ผู้เขียนรวบรวมจากทั้งประสบการณ์ของตัวเอง และผู้ใกล้ชิดค่ะ ..

พี่โอ๋...

กะปุ๋มไปประชุมก่อนนะคะ...เดี๋ยวกลับมาอ่านคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

ระยะนี้ติดตามอ่าน "R2R" ในgotoknow ทุกวันยอมรับว่า "บรรเจิด"....ปัญหาต่างๆ ที่ต้องการให้ดีขึ้น เอากระบวนการวิจัยมาจับ ดิฉันอ่านไปอ่านมา ทุกวันทุกวันแบบซึมซับ โอเคเลยค่ะ....เข้าก้นใจ....ประยุกต์เข้ากับงานตน....แบบจับทางได้....ไม่ได้โม้(คำนี้ต้องออกเสียงแบบสมลักษณ์ คำสิงห์)...พี่โอ๋รอชมผลงานนะคะ

Thank you so much krab P'O+

Your positive message through my weblog always encourages Thai friends in Perth and me krab.

Working hard at the moment, and waiting to contact you and your family at there soon.

Keep in touch. POP:) 

 

พี่โอ๋คะ...กะปุ๋มกลับมาอีกคะ..อ่านเพื่อตั้งใจเก็บ...ความรู้เลยคะ...อยากบอกว่า..."ขอบคุณ"...นะคะ...ที่เป็นแบบอย่างอย่างที่ไม่ตั้งใจ...แต่ก็กะปุ๋มก็มองพี่โอ๋ล่ะคนหนึ่งที่เป็น Role Model...กะปุ๋มมาปิ๊งบันทึกของคุณศิริตั้งแต่ที่ตัวเองหาข้อมูลว่าที่ไหนทำ R2R บ้าง...และมาเจอคุณศิริบ่นๆเหมือนท้อทำนองนั้นแหละคะในตอนนั้น...ตั้งแต่นั้นมาก็เข้ามาอ่านๆๆ...และก็อ่าน...ชอบคะทำให้กะปุ๋มได้เรียนรู้อะไรมากมายเลยคะ...โดยเฉพาะที่ยาธิแห่งนี้คะ...*^__^*
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท