OTOP


อุตสาหกรรม OTOP "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" เป็นแนวทางประการหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล 2. พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ 3. การสร้างทรัพยากรมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึงการบริการดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน 2. สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเองทำเองในการพัฒนาท้องถิ่น 3. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น รายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP • ปี 2544 คิดเป็นจำนวนเงิน 245 ล้านบาท ปี 2545 คิดเป็นจำนวนเงิน 16,716 ล้านบาท ปี 2546 คิดเป็นจำนวนเงิน 33,276 ล้านบาท ปี 2547 คิดเป็นจำนวนเงิน 42,927 ล้านบาท ยอดรวม 92,919 ล้านบาท โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ 90,000 ล้านบาท ถึงมือประชาชน 26,000 ชุมชน จนสามารถยกระดับมาตรฐานสินค้าให้ส่งออกไปยังต่างประเทศได้ถึง 5,000 ล้านบาท ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแยกตามกลุ่มได้ดังนี้ ประเภท สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา ประเภท อาหาร ประเภท ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก ประเภท เครื่องดื่ม ประเภท เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย เปิดยุทธศาสตร์ปี48โกยยอดขาย5หมื่นล้าน ด้านยุทธศาสตร์ในปีนี้ ได้มีการทำอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งสามารถแข่งขันได้อย่างแท้จริง โดยเกิดจากการจัดกิจกรรมคัดสรร ส่วนปีหน้าได้เน้นในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับเป้าหมายนั้น ไม่มองเฉพาะรายผลิตภัณฑ์ แต่มองในภาพรวมโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เน้นที่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ได้แก่กลุ่ม 1-2 ดาว โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มาตรฐาน และไม่ได้ตัวรูปแบบผลิตภัณฑ์ ด้านสินค้าที่ได้มาตรฐานแล้วจะผลักดันไปสู่การส่งออก สำหรับยุทธศาสตร์หลักจะมี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. เสริมสร้างศักยภาพ และยกระดับกระบวนการผลิตมาตรฐาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุทชน โดยมีแผนงานย่อยคือ แผนพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ จะกำหนดมาตรฐานจำนวน 400 เรื่อง ให้การรับรองมาตรฐานไม่น้อยกว่า 1.8 พันผลิตภัณฑ์ ใช้งบ 50 ล้านบาท การคัดเลือกสุดยอดโอท็อป ใช้งบ 100 ล้านบาท แผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ จะทำการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบไม่น้อยกวา 5 เรื่องใช้งบ 30 ล้านบาท การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตไม่น้อยกว่า 250 กลุ่ม ใช้งบ 40 ล้านบาท แผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 250 กลุ่ม ใช้งบ 40 ล้านบาท การพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 250 กลุ่ม ใช้งบ 40 ล้านบาท และการสนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไม่น้อยกว่า 400 ผลิตภัณฑ์ ใช้งบ 10 ล้านบาท รวมยุทธศาสตร์ที่ 1 จะใช้งบ 310 ล้านบาท 2. สนับสนุนและส่งเสริมการตลาด มี 2 แผนงาน คือ 1.เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า ทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ใช้งบ 110 ล้านบาท และ2.การจัดงานและเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ 265 ล้านบาท รวมแล้วยุทธศาสตร์ที่ 2 จะใช้งบ 375 ล้านบาท 3. สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ให้เชื่อมต่อกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน มี 2 แผนงาน ได้แก่ 1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ใช้งบ 117 ล้านบาท 2. การสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงในทุกส่วนของชุมชน ใช้งบ 100 ล้านบาท รวมแล้วจะใช้งบ 217 ล้านบาท 4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการฯ มี 3 แผนงาน ได้แก่ 1.บริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ใช้งบ 50 ล้านบาท 2.การประชาสัมพันธ์ภาพรวมใช้งบ 35 ล้านบาท และ3.การติดตามและประเมินผล ใช้งบ 13 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 4 ยุทธศาสตร์ในปี 2548 จะใช้งบ 1 พันล้านบาท ส่วนขอบข่ายการรับผิดชอบการพัฒนาสินค้าโอท็อปในหน่วยงานอื่นๆจะใช้งบประมาณของกระทรวงที่รับผิดชอบ โดยกระทรวงพาณิชย์ ดูแลด้านการตลาด กระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลด้านคุณภาพมาตรฐาน และกระทรวงมหาดไทย ดูแลด้านเครือข่าย และการใช้งบประมาณ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโอท็อป ขึ้นมาเป็นหน่วยงานกลางดูแลด้วย สำหรับรายได้ในปีหน้าได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท โดยมียอดจำหน่ายในประเทศ 70% และยอดส่งออก 30% หรือมีมูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท ปัญหาและอุปสรรคของสินค้าโอท็อปนั้น ได้แก่ 1. ปัญหาอันดับ 1 เป็นเรื่องการผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพ และมาตรฐาน เนื่องจากความรู้ที่มีจำกัด โดยเฉพาะพวกสินค้าอาการ เช่น ไวน์ พอผลิตมากรายก็ไม่ได้มาตรฐาน จนถึงกับเกิดไวน์ปลอมขึ้นมา 2. ปัญหาอันดับที่ 2 คือปัญหากำลังการผลิต เพราะว่าสินค้าโอท็อปส่วนมากเป็นการผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือทั้งหมด และเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน พอได้รับความนิยมมากขึ้น ก็มีปัญหาการผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เพราะแต่เดิมเป็นเพียงอาชีพเสริมรายได้เท่านั้น จึงต้องส่งเสริมการบริหารจัดการให้กลายเป็นอาชีพหลัก ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขได้ให้รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ระหว่างคนทำสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งมีอยู่หลายพื้นที่ ตอนนี้ก็มีการเชื่อมโยงกันอยู่หลายกลุ่ม เช่น บาติก ลูกประคบ เป็นต้น 3. ปัญหาอันดับที่ 3 คือปัญหารูปแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านทำการบรรจุ และออกแบบโดยไม่มีความรู้ รวมทั้งไม่รู้ว่าเทรนด์ของสินค้ามีแนวโน้มการตลาดเป็นอย่างไร กรมฯจึงได้มีโครงการ สมาร์ทโอท็อป เพิ่มการอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านมากขึ้น โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ระดมผู้ผลิตสินค้าโอท็อปทั่วประเทศจำนวน 2.6 หมื่นราย เข้าสู่โปรแกรมการอบรม เกรายวกับความรู้เบื้องต้นด้านการบริหารธุรกิจ และการคิดราคาสินค้าต้นทุน รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ "ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือชาวบ้านทดลองทำโลโก้สินค้า ตัวฉลาก และการบรรจุหีบห่อ ปรากฏว่าหลังการอบรมแล้ว ชาวบ้านมีความรู้ดีขึ้นมาก เริ่มเข้าใจว่าสินค้าของตัวเองควรจะอยู่ในมาตรฐานระดับใด เช่น มาตรฐานของ อย. หรือมาตรฐานของ มอก." สำหรับกลุ่มโอท็อปที่มีศักยภาพบางราย ได้ก้าวมาเป็นเอสเอ็มอีนั้น ก็เป็นการพัฒนาคุณภาพอีกระดับหนึ่ง ซึ่งกลุ่มเอสเอ็มอีนั้นมีศักยภาพกว่ากลุ่มโอท็อป คือ มีขนาดการลงทุน แต่ยังใช้กลุ่มชาวบ้านเป็นผู้ผลิตอยู่ และมีความสามารถในการติดต่อธุรกิจเอง สามารถหาตลาดเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐมากนัก

 
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 48542เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 02:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท