ความฉลาดทางจริยธรรม(Moral Quotients)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และการคิดวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างเดียวได้แก่การคิดวิเคราะห์

โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม

The Relationship Model of Factors Influence to Moral Quotients of Junior High School Students in MahaSarakham Province

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม 2)ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดมหาสารคาม กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3)ศึกษาปัจจัยอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคามจำนวน 582 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความฉลาดทางจริยธรรม แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

2. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .48 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความฉลาดทางจริยธรรมได้ร้อยละ 48

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และการคิดวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างเดียวได้แก่การคิดวิเคราะห์

 ABSTRACT

     The purposes of this research were to 1) Investigate factors influence to the moral quotient of the junior high school students in Maha Sarakham Province, 2) Veridate the relationship model of the factors and empirical data. 3) To determine the direct and indirect effect of those factors. The samples were 582 junior high school students obtained by multistage random sampling. The research instruments were a Moral Quotients test ,critical thinking test factors influencing to Moral Quotients. The data were analyzed by, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Product Moment Coefficients, and path analytical thinking computer program. The findings revealed as follows: 1. Factors Influenced Moral Quotients of junior high school students in Maha Sarakham Province are the home environments, the school environments, and the abilities of analytical thinking. 2. The Relationship Model of factors influenced Moral Quotients of lower secondary school junior high school students in Maha Sarakham Province is in accordance with the empirical data. The prediction coefficient (R square) was .48 ; causal model factor explained the dependent variable 48 percents. 3. Factors with direct effect were home environment, school environment and critical thinking. Factors with and inclirect effects and critical thinking.

Keyword, : Factors Influence, Moral Quotients, Path Analysis

บทนำ

ปัจจุบันความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนในสังคมไทย กำลังเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เห็นได้จากเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้แก่ การตกเป็นทาสของเกมคอมพิวเตอร์ การนิยมประลองความเร็วโดยการแข่งรถ มีพฤติกรรมเป็นนักซิ่งวัยใส การเป็นสก๊อย การใช้ความรุนแรงในการตัดสินและข้อขัดแย้ง มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นการเข้าถึงสารเสพติดง่าย และขาดหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจไม่เห็นความสำคัญของหลักศาสนา และค่านิยมความเป็นไทย ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวค่อนข้างเปราะบาง ติดเพื่อน ติดสื่อและให้ความสำคัญด้านวัตถุมากกว่าความมีคุณธรรม(สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.2552 : 4) การพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ ให้เป็นคนดี คนเก่งและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถดำรงชีพในสังคมอย่างมีความสุข ด้วยวิธีการจัดการศึกษาดังที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 หมวด 2 มาตรา 6 ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” โดยยึดการจัดการศึกษาให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมใน หมวด 4 มาตรา 23 ซึ่งเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความ เหมาะสมของผู้เรียนในแต่ละระดับ และมาตรา24 (4) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (กรมสามัญศึกษา. 2546 : 5 - 12)เพื่อให้เด็กมีความฉลาดทางจริยธรรม (Moral Quotient) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ดีหรืออีกนัยหนึ่งคือระดับความเห็นแก่ตัว การรับรู้และเข้าใจ รู้จักรับผิดชอบชั่วดีแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิดออกจากกัน จะเลือกประพฤติตนให้สอดคล้องกับความถูกต้องด้วยความตั้งใจและเจตนาที่ดีงามในทุกสถานการณ์ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เคารพให้เกียรติและมีความยุติธรรม ให้สอดคล้องกับความดีงาม ในการพัฒนาเด็กให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการได้แก่สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (สุริยเดว ทรีปาตี. http://www.trf.or.th/ searched at July 2010) ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดโดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และลูก ซึ่งพ่อแม่นับว่าเป็นบุคคลแรกที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม และก่อให้เกิดคุณลักษณะในตัวเยาวชนตามที่สังคมต้องการ ซึ่งโรเบิร์ต โคลล์(Rungroj Treeniti. (Online). Available : http://www.elib- online.com/searched at 6 April 2010)กล่าวว่า การเลี้ยงลูกให้มีคุณธรรมไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาแต่เด็ก อย่างต่อเนื่อง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาจริยธรรมของเด็ก(อรัญญา กาญจนา. 2549 : 1) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีเหตุผลจะมีพฤติกรรมไปในทางที่ดี คือมีจริยธรรมระดับสูง ส่วนเด็กที่มีการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม จะมีพฤติกรรมไม่พึงปรารถนา และสร้างปัญหาในสังคม โรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งที่ใกล้ชิดกับเด็กรองจากครอบครัว โรงเรียนได้ถูกคาดหวังว่าจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกของวัยรุ่นกับโลกของวัยผู้ใหญ่ โรงเรียนเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ สอนให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางความคิดและทักษะชีวิตในทุก ๆ ด้าน บุคคลที่เข้ามามีบทบาทใกล้ชิดกับเด็กมากคือเพื่อนเวลามีปัญหาเขาจะปรึกษาเพื่อนลอกเลียนแบบพฤติกรรมเพื่อนที่ตนสนิท ทำตามเพื่อน เข้าข้างเพื่อนแม้รู้ว่าเพื่อนเป็นคนผิด ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มอย่างเต็มใจ ครูเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ใกล้ชิดกับเด็ก เด็กจะชอบเลียนแบบครูที่ตนเองชื่นชอบเป็นแบบอย่าง (สุพัตรา สุภาพ. 2529 : 28-29) เด็กจะเชื่อฟังครูมากกว่าบิดามารดา ดังนั้นสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีส่วนในการพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนด้วย นอกจากนี้การคิดวิเคราะห์ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน (วนิช สุธารัตน์. 2547 : 123) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แทรกซึมวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทุกรูปแบบ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ตกอยู่กับเยาวชนที่ขาดทักษะในด้านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จึงไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม แต่หากบุคคลใดรู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะ ส่วนที่เป็นเท็จหรือเป็นจริง ก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างฉลาด การคิดวิเคราะห์เป็นความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาความจริงหรือสิ่งที่สำคัญของสิ่งนั้น (สุวิทย์ มูลคำ. 2547 : 9)โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งถือว่าเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นวัยที่กำลังก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยแห่งการปรับตัว เป็นวัยแห่งปัญหาและเป็นวัยที่พร้อมจะแสวงหา และพัฒนาเอกลักษณ์ของตน ถ้าหากวัยรุ่นคนใด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้วก็จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ตรงกันข้ามกับวัยรุ่นที่ปรับตัวไม่ได้อาจเกิดจากความคับข้องทางจิตใจ และเกิดการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม (เติมศักดิ์ คทวณิช. 2546 : 65) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า ความฉลาดทางจริยธรรมมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กไทยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข การทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม จะทำให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจที่ศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม เมื่อทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมแล้วผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถนำปัจจัยที่มีอิทธิพลนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเกิดความฉลาดทางจริยธรรม ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มุ่งการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม

2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดมหาสารคาม กับข้อมูลเชิงประจักษ์

3. เพื่อศึกษาปัจจัยอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม

สมมติฐานการวิจัย

1. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียน

2. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม

 ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

   1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2553 ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 27,923 คน

   1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2553 ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 582 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (ไพศาล วรคำ. 2009 : 98 - 99) ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling)

2. ตัวแปรที่ศึกษา

2.1 ตัวแปรแฝงภายนอก ได้แก่

    2.1.1 สภาพแวดล้อมทางบ้าน ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้คือเศรษฐกิจของครอบครัว สื่อมวลชนภายในบ้าน เพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ของสมาชิก และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

   2.1.2 สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้คือพฤติกรรมของกลุ่มเพื่อน พฤติกรรมของครู กิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางจริยธรรม

2.2 ตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่

   2.2.1 ความฉลาดทางจริยธรรม ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ คือมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และเหตุผลเชิงจริยธรรม

   2.2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ คือความสามารถวิเคราะห์ความสำคัญ ความสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และความสามารถวิเคราะห์หลักการ

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบวัดสำหรับนักเรียน 1 ฉบับ แบ่งได้ 4 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1. คุณลักษณะของนักเรียน เป็นแบบสำรวจรายการ

ตอนที่ 2. ความฉลาดทางจริยธรรม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Ratting Scale) 4 ระดับ จำนวน 50 ข้อ

ตอนที่ 3. การคิดวิเคราะห์ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ

ตอนที่ 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ จำนวน 48 ข้อ

การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ

1. แบบวัดความฉลาดทางจริยธรรม ผู้วิจัยได้นำแบบวัดความฉลาดทางจริยธรรมของวิสุทธิ วนาอินทรายุธ (2005 : 228 - 230) มาปรับปรุงแก้ไขภาษา และตัดทอนเนื้อหาให้เหมาะสม ครอบคลุมด้านมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง ด้านความเชื่ออำนาจในตน ด้านทัศนคติ ค่านิยมที่เกี่ยวกับคุณธรรม ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 4 ระดับ ของลิเคิร์ต (Likert scale) ค่าจำแนกอยู่ระหว่าง0.40 - 0.98 ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 

2.แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม เป็นแบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน ทางโรงเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ต (Likert scale)  ด้านสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ด้านสื่อมวลชนภายในบ้าน ด้านเพื่อนบ้าน ด้านความสัมพันธ์ของสมาชิก  ซึ่งมีลักษณะคำตอบเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้านได้ค่าอำนาจจำแนก .68 - .74ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .71 ด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนค่าอำนาจจำแนก .90 - .92ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ.91 

3.แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก โดยยึดตามแนวของบลูม ครอบคลุมด้าน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความสำคัญและหลักการ ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.42 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.45 – 0.82 และค่าความเที่ยง0.92

การเก็บรวบรวมข้อมูล

    ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553

การวิเคราะห์ข้อมูล 

 1.ใช้สถิติพื้นฐานดังนี้

   1.1. ค่าร้อยละ 

   1.2 ค่าเฉลี่ย ใช้สูตร

  1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

   1.4 ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความแปรผัน

2. ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้

  2.1 สถิติที่ใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์โดยใช้วิธีความเป็นไปได้สูงสุด (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542 : 41)

  2.2. ทดสอบความสอดคล้องหรือความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์ตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยสถิติไค - แควร์ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542 : 56)

  2.3 ทดสอบความกลมกลืนหรือความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์ตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง GFI (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2537 : 56)

  2.4 ทดสอบความสอดคล้องหรือความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์ตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ AGFI ด้วยดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว เป็นดัชนีที"นำ GFI มาปรับแก้โดยคำนึงถึงชั้นความเป็นอิสระซึ่งรวมทั้งจำนวนตัวแปรและขนาดตัวอย่าง ควรจะมีค่าตั้งแต่ 0.90 ขึ้นไป (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2537 : 48) 5 ดัชนีรากสองกำลังเฉลี่ยของความแตกต่างโดยประมาณRMSEA (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2542: 56)

สรุปผลการวิจัย

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

2. โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคามมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .48 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความฉลาดทางจริยธรรมได้ร้อยละ 48

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และการคิดวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างเดียวได้แก่การคิดวิเคราะห์

อภิปรายผลการวิจัย

     ผลจากการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และการคิดวิเคราะห์ มีอิทธิพลส่งเสริมต่อความฉลาดทางจริยธรรม ตัวแปรทุกตัวในโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถอธิบายความแปรปรวนของอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรม ได้ร้อยละ 48 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางบ้าน ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ภายนอก คือ เศรษฐกิจของครอบครัว สื่อมวลชนภายในบ้าน เพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ของสมาชิกและการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย เป็นตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงต่อความฉลาดทางจริยธรรม และมีอิทธิพลอ้อมผ่านการคิดวิเคราะห์ แสดงว่าถ้านักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมทางบ้านที่ดี บุคคลในครอบครัวมีความรักห่วงใยคอยให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนทำสิ่งต่าง ๆ สำเร็จผู้ปกครองคอยให้รางวัลหรือคำชมเชย ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย คือพ่อแม่ให้ความรักความอบอุ่น ไม่ปล่อยปละละเลย คอยแนะนำสิ่งที่ดีงาม ให้บุตรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีเหตุผล ให้กำลังใจไม่เข้มงวดกวดขันเกิดไป ถ้านักเรียนได้รับพฤติกรรมเหล่านี้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้นักเรียนเติบโตด้วยจิตใจที่ดีงาม สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตรงกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Surank Khowtrakoon, 2009 : 23) มีความเชื่อว่า ผู้ปกครองหรือผู้ที่ใกล้ชิดเป็นบุคคลแวดล้อมที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีต่อบุตรหลาน โดยการให้รางวัลและการลงโทษเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังและพัฒนาให้ถึงระดับอีโก้ วิธีการ เรียนรู้ทางคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เด็กจะลอกเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ จากผู้ใหญ่ที่ควบคู่ มากับวิธีการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้เด็กได้รับการหล่อหลอมตามแบบบุคลิกภาพ ค่านิยม และมาตรฐานจริยธรรมในสังคม จนกระทั่งยอมรับและปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ของสังคมได้ ไรท์ (Wright, 1978 : 27-30) ยังเชื่อว่าสังคมจะมีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมของบุคคล เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้สิ่งที่ดีเลวจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมด้วยขบวนการเทียบเคียง เด็กจะใช้การเลียนแบบจากผู้มีอำนาจ และผู้ที่ตนเคารพรัก สอดคล้องกับงานวิจัยของพรชัย กาลภูธร (2549 : 118) ได้ศึกษาเปรียบเทียบเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2 ที่มีการอบรมเลี้ยงดูเชาวน์ปัญญาและความสามารถในการและฝ่าฟันอุปสรรคแตกต่างกัน พบว่านักเรียนที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณาความกตัญญูกตเวทีและความซื่อสัตย์อยู่ในสูงกว่านักเรียนที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และฮอฟแมน (Hoffman, 1970 : 291) ได้วิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูกับจริยธรรมสี่ประการ คือการมีความรับผิดชอบ การยอมรับสารภาพผิด การยึดหลักแห่งตน และการต้านทานสิ่งยั่วยุ พบว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบให้ความรักในช่วงอายุ 4-13 ปี มีลักษณะทางจริยธรรมสี่ประการสูงกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบให้ความรักน้อย นอกนั้นยังพบว่า การให้เห็นผลในการอบรมสั่งสอนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะทางจริยธรรมของเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 5 ปี อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมทางบ้าน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความฉลาดทางจริยธรรม ผ่านการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะบุตรที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกระฉับกระเฉง มีความอยากรู้อยากเห็น กล้าแสดงออก มีผลต่อกระบวนการคิดของเด็ก ทำให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล แยะแยะข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมนั้น ๆ สอดคล้องกับงานวิจัยของเพ็ญศิริ อาจจุฬา (Phensiri Ajula, 2003 : 104) ที่พบว่าการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะส่งผลให้เด็กมีความคิดอย่างวิจารณญาณสูงด้วย สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ตัวแปรสังเกตได้ภายนอก ประกอบด้วยพฤติกรรมของกลุ่มเพื่อน พฤติกรรมของครู กิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางจริยธรรม เป็นตัวแปรที่ส่งผลโดยตรงต่อความฉลาดทางจริยธรรม และมีอิทธิพลอ้อมผ่านการคิดวิเคราะห์ แสดงว่าโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลต่อความฉลาดทางจริยธรรมสูง เพราะโรงเรียนถือว่าเป็นสถาบันที่สองรองจากบ้าน เด็กมีเวลาอยู่มากที่สุดและเด็กจะใช้เวลาทำกิจรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน โรงเรียนเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ สอนให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางความคิดและทักษะชีวิตในทุก ๆ ด้าน บุคคลที่เข้ามามีบทบาทใกล้ชิดกับเด็กมากคือกลุ่มเพื่อน เวลามีเขาจะปรึกษาเพื่อนลอกเลียนแบบพฤติกรรมเพื่อนที่ตนสนิท ทำตามเพื่อน เข้าข้างเพื่อนแม้รู้ว่าเพื่อนเป็นคนผิด ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มอย่างเต็มใจ นักเรียนในวัยนี้ให้ความสำคัญของกลุ่มเพื่อน นักเรียนจะพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการปลูกฝังของโรงเรียนดังที่ สุพัตรา สุภาพ (Supajra Supharb, 1986 : 28-29) กล่าวว่าการพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมที่กระทำกันมากในขณะนี้คือการปลูกฝังในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะในการศึกษาภาคบังคับเนื่องจากเด็กมีความไวต่อการปลูกฝังจริยธรรม เพราะเป็นวัยที่บริสุทธิ์สามารถซึมซับสิ่งที่ดีงามได้ง่าย ซึ่งนิตยา เรืองแป้น (Nittaya Rueangpan, 2002 : 144) เห็นว่าโรงเรียนเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ สอนให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางความคิดและทักษะชีวิตในทุก ๆ ด้าน อารี พันธุ์มณี (Aree Panmenee, 2001 : 189) กล่าวถึงอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในวัยรุ่นว่า วัยนี้เห็นเพื่อนเป็นเทวดา เพื่อนคือความสุข ความทุกข์ของเด็ก เด็กจะรักเพื่อน เชื่อเพื่อนและทำตามเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ไม่ว่าจะเป็นคำพูด กิริยามารยาท แบบแผนในการเรียน ความคิด ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นไปตามเพื่อนที่คบ ถ้าคบเพื่อนเรียนก็ช่วยกันเรียนและมีเวลาร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนมาก มากกว่ากับบิดามารดา หรือครู ดังนั้นโรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความฉลาดทางจริยธรรมเช่น กิจกรรมค่ายพัฒนาคุณธรรม การสวดมนต์ไหว้พระ การพัฒนาวัดเนื่องในวันสำคัญทางศาสนาการจัดป้ายนิเทศในวันสำคัญทางศาสนา บันทึกความดีเอาไว้ในสมุดบันทึกความดี และเป็นเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อดูแลช่วยเหลือเพื่อน การคิดวิเคราะห์ เป็นตัวแปรสังเกตได้ภายใน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความฉลาดทางจริยธรรม แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รู้จักแยกแยะ ที่เป็นเท็จหรือเป็นจริง มีเหตุผล สามารถตัดสินใจได้อย่างฉลาด ส่งผลให้นักเรียนมีความฉลาดทางจริยธรรมสูงด้วย ตรงกับแนวคิดของโคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg, 1976 ; อ้างถึงใน Duangduen Bhanthumnavin, 2007 : 6) ที่ได้ให้ความหมายของความฉลาดทางจริยธรรมว่า เป็นการรับรู้ละเข้าใจ รู้จักรับผิดชอบชั่วดีแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิดออกจากกัน และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา สอดคล้องกับทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ของเปียร์เจย์ (Tidsana Khannanee et al, 2001 : 13) ว่าเด็กที่มี11 ปีขึ้นไปสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม คิดอย่างสมเหตุสมผล สามารถตั้งสมมุติฐานในการแก้ปัญหา การคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้รู้จักคิดด้วยการสร้างภาพในใจ สามารถคิดเกี่ยวกับสิ่งที่นอกเหนือไปจากปัจจุบันหรือสถานการณ์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ และคิดสร้างทฤษฎีได้ การคิดของเด็กจะไม่ติดยึดจากข้อมูลที่มาจากการสังเกตเพียงอย่างเดียว ดังงานวิจัยของผลยรรยง ภูกองพลอย (Yanyong Phukongphloi, 2007 : 96) ได้ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดกาฬสินธุ์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกการคิดวิเคราะห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ความสามารถด้านเหตุผลและบุคลิกภาพ และบงกาล จันทร์หัวโทน (Bongkan Chanhuathon, 2008 : 79) ได้ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการคิด ได้แก่ พฤติกรรมการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียนและบรรยากาศในห้องเรียน

ข้อเสนอแนะ

      จากการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และการคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความฉลาดทางจริยธรรมให้สูงขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยไปใช้ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 สภาพแวดล้อมทางบ้านมีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียน ดังนั้นพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ส่งผลต่อความฉลาดทางจริยธรรมโดยเฉพาะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ควรให้มีความรัก ความอบอุ่นเกิดขึ้นให้มาก

1.2 พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองควรอบรบเลี้ยงดูนักเรียนแบบประชาธิปไตย คือ เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น ความสามารถ และรับผิดชอบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว อย่างเต็มที่ คอยให้กำลังใจ ให้คำชมเชย

1.3 โรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักเรียนมีความฉลาดทางจริยธรรมให้สูงขึ้น เช่นค่ายพัฒนาคุณธรรม กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ กิจกรรมพัฒนาวัดเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา จัดป้ายนิเทศในวันสำคัญ สมุดบันทึกความดี

1.4 โรงเรียนควรร่วมมือกับครอบครัวในจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียน

2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

 2.1 ควรศึกษาปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อศึกษาความฉลาดทางจริยธรรมเพื่อศึกษาว่านักเรียนที่เรียนเก่งหรืออ่อน ส่งผลต่อความฉลาดทางจริยธรรมแตกต่างกันอย่างไร

2.2 ควรศึกษาความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางจริยธรรม หรือไม่อย่างไร

2.3 ควรศึกษาฉลาดทางจริยธรรมของครูผู้สอน ส่งผลต่อความฉลาดทางจริยธรรมหรือไม่

บรรณานุกรม

 ดวงเดือน พันธุมนาวิน.รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและ ต่างประเทศ, รายงานทุนอุดหนุน จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. สำนักงานบริหาร 2550 

เติมศักดิ์ คทวณิช. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส, 2546.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2544 วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์, 2544

นงลักษณ์ วิรัชชัย. “การวิเคราะห์อิทธิพล (Path Analysis),” พฤติกรรมศาสตร์. ปีที่1 ฉบับที่4 :72 ; สิงหาคม, 2537. นิตยา เรืองแป้น. จิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและการแนะแนว. คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏยะลา, 2545.

 บงกาล จันทร์หัวโทน ตัวแปรคัดสรรบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.

เพ็ญศิริ อาจจุฬา. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546.

ไพศาล วรคำ. การวิเคราะห์เส้นทางและพหุระดับ (Path Analysis and HLM). เอกสารประกอบ การสอนวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยและประเมินผลการศึกษา (1045501) สาขาวิชาวิจัย และประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2552.

ยรรยง ภูกองพลอย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.

 รุ่งโรจน์ ตรีนิติ. สอนลูกน้อยให้เป็น MQ สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2553 http://www.elib- online.com/doctors47/child_mq001.html วนิช สุธารัตน์. ความคิดและความคิดสร้างสร

หมายเลขบันทึก: 485235เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2012 04:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะคุณ Wasawat Deemarn. ที่เป็นกำลังใจ ปัจจุบัน(ตามสภาพจริงที่พบในท้องถิ่น)จะเห็นว่าพ่อ แม่ลูก ไม่ค่อยได้อยู่ร่วมกัน เวลานักเรียนมีปัญหา เชิญผู้ปกครอง จะมีแต่ ตา,ยายหรือไม่ก็ลุงป้า ที่เหนือกว่านั้นคือ ปล่อยให้พี่อยู่กับน้อง สองคน พ่อแม่ออกจากบ้านเพื่อทำงาน(ออกค้าขาย) หาเงิน ดังนั้นพื้นฐานทางจริยธรรมจึงมีน้อย
เพื่อปลูกฝังและยกระดับMQให้สูงขึ้น ตามศักยภาพของแต่ละคน ขณะนี้ดิฉันพยายามจะดึงครอบครัวเข้าโรงเรียน ยากมากค่ะ เพราะผู้ปกครองเห็นโรงเรียนเป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัย (แต่จะพยายาม) กำลังหารูปแบบ
ขอบคุณที่กรุณาชี้แนะค่ะ

ยิ่งขยายความออกมาเช่นนี้ ผมยิ่งรู้สึกว่าได้รับความรู้และประสบการณ์นั้นไปด้วย

ขอบคุณมากครับ ;)...

SQ (Spiritual Quotient) ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ

เร้าใจมากเลย อ.ราชิต กรุณาขยายSQ ค่ะ สนใจมากค่ะ มันน่าจะโยงกับ MQ ขอบคุณค่ะ

อยากทราบว่า อาจารย์พอจะมีแบบวัดMQ รึป่าวคะ หนูค้นหาทางnetและไปดูตามแผนกจิตเวช ก็ไม่มี พอดีหนูทำวิจัยเกี่ยวกับMQ ของเด้กปฐมวัยอยู่คะ ถ้าอาจารย์มีไฟล์แบบวัดMQ หนูขอรบกวน ยื่นแบบวัดของอาจารย์มาเป็นแบบได้มั้ยคะ เพื่อจะได้สร้างแบบวัดให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

#ชัชลิตา ขอโทษด้วยที่เข้ามาช้า แบบวัดMQ มีคะ ฮา.....appendix126-159.pdf

ไม่แน่ใจว่าเปิดได้ไหม ถ้าไม่ได้กรุณาบอกเมลนะคะจะส่งให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท