เผยแพร่วิชาการวิจัย "ผลของการพัฒนาการดูแลและป้องกันแผลกดทับ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิมาย "


ชื่อเรื่อง ผลของการพัฒนาการดูแลและป้องกันแผลกดทับ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิมาย

ผู้วิจัยพีรวัฒน์ ลิ้มมหาคุณ, ชลัญธร ตรียมณีรัตน์

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาอัตราการเกิดแผลกดทับหลังการพัฒนาการดูแลและป้องกันแผลกดทับ และ ศึกษาความพึงพอใจและระดับการปฏิบัติของทีมดูแลผู้ป่วยต่อการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการเกิดแผลกดทับกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่ มานอนรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาล พิมาย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 – 30 พฤษภาคม 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามช่วงเวลาที่กำหนด มีคุณสมบัติคือเป็นผู้ป่วย ที่มีแผลกดทับและไม่มีแผลกดทับแต่ได้รับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ ประยุกต์จากแบบประเมินความเสี่ยงของบราเดน(Barden Scale) ประเมิน 6 ด้าน ได้คะแนนรวม ≤ 16 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนาโดยทีมดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลพิมาย แบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน และข้อมูลตามแบบฟอร์มการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และ แบบสอบถามความคิดเห็นและระดับการปฏิบัติของทีมดูแลผู้ป่วยต่อการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก (Clinical Practice Guideline) ในการดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็นและระดับการปฏิบัติของทีมดูแลผู้ป่วยต่อการใช้แนวทางการดูแลและป้องกันแผลกดทับ ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.92 และ 0.83 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตามแบบฟอร์มระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 – 30 พฤษภาคม 2554 และสอบถามทีมดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาจำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคว์สแคร์ ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาการดูแลและป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วย ส่งผลให้มีอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)ทีมดูแลผู้ป่วย เห็นด้วยมากต่อการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ ทุกข้อ และในภาพรวม ความคิดเห็น อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.85 ) และมีระดับการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและป้องกันแผลกดทับ ตามแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ, การประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ, แบบบันทึกแบบบันทึกการประเมินแผลกดทับ Pressure sore อยู่ในระดับสูง ร้อยละ61.29, 77.42 และ 87.10 ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการดูแลและป้องกันแผลกดทับ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลพิมาย ส่งผลให้อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับลดลง ดังนั้นจึงควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และในการศึกษา ครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเพื่อทดสอบประสิทธิผลเชิงผลลัพธ์อื่น ๆ เพิ่ม เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษา จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการใช้ยาต้านจุลชีพ การมีส่วนร่วมของญาติที่ดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #แผลกดทับ
หมายเลขบันทึก: 485209เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2012 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรื่องแผลกดทับนี้ ผมเคยคิดคำนึงอยู่ครับ ผมเห็นว่า วิธีแก้วิธีหนึ่งคือ "การกระจาย" แรงกดทับ ..ไม่ให้มันกดเป็นจุด เฉพาะที่

วิธีง่ายๆ อาคือการใช้เปล แทนเตียง โดยเปลเป็นตาข่ายรูถี่ มีการระบายอากาศ และมีการกระจายน้ำหนัก ซึ่งต้องออกแบบเปลนี้ตามหลัก การยศาสตร์ (ergonomy)

ขณะนี้ผมซื้อเปลริมทางมานอนในห้องทำงาน ราคาประมาณ 1000 บาทเท่านั้น มันเข้ากับสรีระของหลังเรามากๆ นอนแล้วไม่มีเหงื่อ เพราะมันมีรูระบายอากาศอีกต่างหาก ถ้าเอามาต่อยอดจากกลายเป็นเตียงที่ลดการเกิดแผลกดทับได้มาก

ส่วนการถ่ายอุจจาระ ก็ทำได้ไม่ยาก และไม่เหนื่อยยากนางพยายาลด้วย ด้วยการให้นอนหงายตลอด แล้วเจาะรูไว้ใต้เปล ตรงก้นพอดี

อย่างนี้นอกจากไม่กดทับแล้ว ผู้ช่วยพยาบาลที่ต้องเหนื่อยพลิกกลับตัวเพื่อขับถ่าย ก็กสบายขึ้น หลอดเข็มให้น้ำเกลือ ให้อะไรต่อมิอะไรก็ไม่ต้องกระเทือน ผู้ป่วยก็หายเร็ว นางพยาบาลก็เหนื่อยน้อย

ผมก็ได้แต่คิดแหละครับ ทำอะไรกะเขาไม่ค่อยเป็นหรอก

แต่อย่าลืมคำขวัญประจำบล็อกผมนะว่า "การคิดที่ดี คือการทำที่ยากที่สุด"

ขอบคุณ อาจารย์มากค่ะที่เสนอแนะ ว่าแล้ว อาจารย์ต้องมีไอ เดีย กระชูดแน่
เดี๋ยวโจ้ไปเสนอผู้อำนวยการนะค่ะ บอกไอเดียนี้มีที่มา ปรมาจารย์ คนถางทางไกด์เชียวนา

คำขวัญประจำบล็อก"การคิดที่ดี คือการทำที่ยากที่สุด"

แต่ที่โจ้อ่านบล็อกอาจารย์มา โจ้ว่า อาจารย์ คิดดีมากแล้วค่ะ

คิดดีคิดไม่ยาก แต่ทำดี แล้วหวังผล นี่ยาก

ทำดีก็ทำไปเลย ใครจะเห็นไม่เห็นก็ช่าง ใจเราเห็นก็สุขแล้ว เมื่อวานนี้เกิดอาการจิตตก ถูกพาร์กินสันเล่นงาน เขียนบันทึกใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485138 เห็นมั๊ยค่ะว่า อาจารย์ มีส่วนทำให้ ชลัญธร คิดได้
ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

อุ๊ย!! เดี๋ยวแทนตัวเองโจ้ เด๊่ยวชลัญธร สรุปคนเดียวกันค่ะ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท