อาเซียน : อารยธรรมจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “อินโดจีน” หมายถึงภูมิประเทศที่ได้รับอารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน อันเนื่องมาจากที่ตั้งอยู่ตรงการระหว่างสองประเทศนั่นเอง และจากประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งประเทศอินเดียและประเทศจีนก็มีการติดต่อค้าขายมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางเรือ ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป็นทางผ่านที่สำคัญ เป็นที่พักสินค้า เติมน้ำจืด และที่หลบลมมรสุม การค้าขายนี่เองทำให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมทั้งจีนและอินเดียในภูมิภาคนี้ แต่พราะเหตุใดเราจึงมองเห็นว่าอารยธรรมจีนจึงเข้มข้นน้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย วันนี้ผู้เขียนขออธิบายอารยธรรมจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบสรุป ๆ ครับ

 

                    อิทธิพลทางด้านการเมือง โบราณนานมากแล้วกษัตริย์จีนทุกพระองค์ถือว่าทรงเป็นสมมุติเทพมีฐานะเหนือผู้ปกครองของประเทศต่าง ๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องส่งเครื่องบรรณาการไปให้กับกษัตริย์จีนอย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการค้า เรียกว่า “จิ้มก้อง” หากมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ จะต้องมีการแจ้งเรื่องให้กับกษัตริย์จีนทรงทราบ เพื่อให้จีนรับรอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเสถียรภาพในการปกครองของผู้นำรัฐต่าง ๆ การจิ้มก้องนี้เป็นคุณประโยชน์กับประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะการได้สิทธิค้าขายกับจีนนั้นถือว่าเป็นความมั่นคงของรัฐต่าง ๆ อย่างแท้จริง และรัฐต่าง ๆ จะไม่ต้องถูกจีนโจมตี ยกตัวอย่างเช่นพม่า ช่วงพระเจ้ามังระที่ขณะนั้นตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ พม่าไม่ได้ส่งบรรณาการให้กับจีนหลายงวด จีนทวงถามหลายครั้งก็ไม่ได้รับคำตอบ จีนจึงยกกำลังมาตีพม่า พม่ายกกำลังทหารส่วนใหญ่ไปรับศึกจีน เหลือกำลังน้อยนิดไว้ในไทย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าไม่สามารถปกครองไทยได้นาน และพระเจ้าตากสินจึงกู้เอกราชได้อย่างรวดเร็วเพียงหกเดือนเศษ สำหรับประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานการส่งบรรณการกับจีนมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไทยหยุดส่งเครื่องบรรณาการให้จีนสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง ส่วนในระดับภูมิภาคมีหลักฐานจากเอกสารจีนว่า รัฐฟูนัน (พศว. ๘ – ๑๒) มีการส่งเครื่องบรรณาการให้จีนแล้ว

                  ประเทศเวียดนามนับว่าได้รับอารยธรรมจีนมากที่สุด เพราะมีความใกล้ชิดกับจีน เมื่อจีนเข้าปกครองเวียดนามก็ใช้วิธีการปกครองแบบกลืนชาติ เวียดนามจึงมีระเบียบการปกครองแบบจีน มีการสอบเข้ารับราชการแบบจีนโดยใช้ตำราของขงจื้อ เรียกว่าสอบจองหงวน มีการใช้อักษรจีน นับถือเทพเจ้าแบบจีน นับถือขงจื้อ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม แม้แต่เครื่องแต่งกาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ พระราชวังหลวงเว้ ที่มีความเป็นจีนสูงมาก จนเมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองจีน ความรู้และอารยธรรมแบบตะวันตกจึงค่อย ๆ เข้ามาในประเทศเวียดนาม

 

                 อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ในฐานะที่จีนเป็นตลาดการค้าใหญ่ มีสินค้าต่าง ๆ ที่รัฐต่าง ๆ ในเอชัยตะวันออกเฉียงใต้ต้องการ เช่นเครื่องปั้นดินเผา ผ้าไหม จีนจึงบังคับให้รัฐต่าง ๆ ส่งเครื่องบรรณาการให้กับจีนก่อน แล้วจีนจึงค้าขายด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเปลี่ยน อาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์จีนให้สอนผู้เขียนว่า จีนถือตนว่าเป็นผู้ใหญ่ เมื่อผู้น้อยเอาของมาให้ ผู้ใหญ่ต้องมีของแลกเป็นการตอบแทน แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องให้มากกว่าผู้น้อย ดังนั้นจึงเป็นที่ชื่นชอบแก่รัฐต่าง ๆ เป็นอันมาก อาณาจักรที่รุ่งเรืองกับการค้าขายกับจีน เช่น อาณาจักรฟูนัน ศรีวิชัย อันนัม สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ฯลฯ

 

สาเหตุที่จีนมีอิทธิพลกับทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยเพราะ

               จีนไม่ค่อยออกจากประเทศทำการค้าขายมากนักเนื่องจากความเชื่อเรื่องชาติพรรณ และเชื่อว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ประเทศต่าง ๆ ต้องเข้าไปหาจีนเอง ยกเว้นช่วงราชวงศ์หมิงเท่านั้นที่การค้าทางทะเลของจีนรุ่งเรื่อง ดังนั้นการแพร่ออกของวัฒนธรรมจีนจึงมีนอ้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าแห่งการเดินเรือค้าขาย

               จีนไม่สนใจขายอิทธิพลทางทะเล หรือขยายดินแดน ยกเว้นช่วงราชวงศ์หยวน เพราะศึกล้อมรอบประเทศจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือก็ทำให้จีนต้องพะวงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งจีนเชื่อประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นเพราะป้องกันให้กับจีนดีพออยู่แล้ว อิทธิพลจีนจึงแพร่ไปสู้ประเทศในภูมิภาคเอเชียน้อย

               ลัทธิความเชื่อของชาวจีน เช่นลัทธิขงจื้อ ไม่สนับสนุนให้ชาวจีนไม่ส่งเสริมให้จีนออกนอกประเทศ

 

แต่ปัจจุบัน ชาวจีนได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลก แทบจะทุกประเทศก็มีชุมชนจีน วัฒนธรรมจีนจึงติดตัวไปกับชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานต่าง ๆ ไปสู่ประเทศเหล่านั้น จากชมกลุ่มน้อยก็แทบจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ เช่นในประเทศไทย สิงค์โปร และด้วยความที่มีประชากรเยอะที่สุดในโลก ราว ๑,๓๐๐ ล้านคน การค้าของจีนทั้งซื้อและขายทั่วโลกจึงให้ความสนใจ ผู้คนต่างเริ่มศึกษาวัฒนธรรมจีนและเลือกรับวัฒนธรรมจีนไปเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ

 

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๑๕ เมษายน ๒๕๕๕

 

หนังสืออ้างอิง

 

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกสมัยใหม่ = History of modern East Asia : HI 461. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

 

ศิวพร ชัยประสิทธิกุล. ประวัติศาสตร์ตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป = Historical survey of Southeast Asia : HI 330. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

 

อรพินท์ ปานนาค และคณะ. อารยธรรมตะวันออก = Eastern civilization : HI 102. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.

 

ฮอลล์, ดี.จี.อี. ประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร : A history of South-East Asia / ดี. จี. อี. ฮอลล์ ; บรรณาธิการ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ; คณะผู้แปล, ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549.

หมายเลขบันทึก: 485142เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2012 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากมาย ช่วยลงบทความ อาเซียน : อารยธรรมตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยนะครับขอบคุณมากครับ

ที่มีประโยชน์และแพร่หลายไปทั่วน่าจะเป็นจีนไม่ใช่อินเดีย

เพราะเรารับศาสนาพุทธมาจากอินเดีย เราเลยหลงเชื่อว่าอินเดียเด่นกว่าจีน ความจริง อารธธรรมจีนก้าวหน้ากว่าอินเดีย หมึก ธนบัตร กระดาษที่ใช้กันทั่วโลกล้วนมาจากจีน ศาสนาพุทธไม่ได้แพร่ไม่ทั่วโลก ส่วนปาปิรุสของอิยิปต์ยังไม่ใช่วัสดุที่เป็นกระดาษที่แท้จริง กระดาษที่เราใช้ปัจจุบันจากจีนไม่ใช่อียิปต์

มันส่วนที่พิมพ์ผิดอะครับ เอเชียเป็น เอชัยครับ งงมาก?? อันนี้มาบิกครับ

ดีครับใช้ทำงานได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท