สศช. ชี้เอกชนยังขยาดลงทุน อัดงบ รสก.-เหลื่อมปีพยุงครึ่งหลัง เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวหืดจับ


สศช. ชี้เอกชนยังขยาดลงทุน อัดงบ รสก.-เหลื่อมปีพยุงครึ่งหลัง เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวหืดจับ
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)  ของไตรมาส 2 ปี 2549  ขยายตัว 4.9% ชะลอลงจากไตรมาสแรก  ที่ขยายตัว 6.1% ทำให้ครึ่งปีแรกจีดีพีขยายตัว 5.5% สูงกว่าครึ่งปีแรกของ ปี 2548 ที่ขยายตัว 3.9%   ขณะเดียวกันได้ปรับประมาณการขยายตัวของจีดีพีตลอดทั้งปี 2549 อยู่ที่ 4.2-4.7% จากเดิมตั้งไว้ 4.2-4.9% เนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิม และราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ลดลง ที่ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนชะลอลง รวมทั้งการลงทุนภาครัฐ ที่จะได้รับผลกระทบจากที่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2550 ล่าช้าออกไป และเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวสำหรับอัตราเงินเฟ้อตลอดปีคาดว่าจะอยู่ที่ 4.5-4.7% การส่งออกขยายตัว 14% การนำเข้าขยายตัว 8% ราคาน้ำมันเฉลี่ย 65-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล   ส่วนดุลการค้าจะขาดดุล 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  จากเดิมตั้งไว้ที่ 6,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากการส่งออกขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่การนำเข้าลดลง          เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณดุล 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  จึงคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อย 0.6% ของจีดีพี หรือประมาณ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯดังนั้น ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549  สศช. จึงเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อให้     ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.-ธ.ค. 2549) เพื่อให้มีเงินออกสู่ระบบมากขึ้น เนื่องจากหากไม่เร่งรัดการเบิกจ่ายจะกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2550 โดยเฉพาะการ            เร่งใช้จ่ายงบของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ 380,000 ล้านบาท ขณะนี้เบิกจ่ายได้ 75% ถ้าหากเบิกจ่ายได้ 85% ก็จะทำให้ไม่มีปัญหา รวมถึงการใช้งบเหลื่อมปีที่ต้องเบิกทำให้ได้ 85% จากปัจจุบันเบิกไปแล้ว 74%    ส่วนการเลือกตั้ง       แม้ยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่าจะมีขึ้นภายในปีนี้เลขาธิการ สศช. กล่าวถึงรายละเอียดของจีดีพีในไตรมาส 2 ว่า ยังพอมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกขยายตัวได้ดีในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ถึง 16.3% การนำเข้าชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 3.4% และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 5%  ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 5.8%   ขณะที่ภาคการเกษตรขยายตัว 5.4%  และการท่องเที่ยวขยายตัว 16.2%   ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคครัวเรือนที่ขยายตัว 3.7% ชะลอตัวลงจาก 4.1%  เงินเฟ้อได้เร่งตัวขึ้นที่ 6% สูงกว่า 5.7% ในไตรมาสแรก และการลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอลงต่อเนื่องไทยรัฐ  5  ก.ย.  49
คำสำคัญ (Tags): #ภาวะเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 48400เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท