แก่นความรู้ การบริหารจัดการงานวิจัยที่มีคุณภาพ


ประมวล แก่นความรู้ การบริหารจัดการงานวิจัยที่มีคุณภาพ

จากประสบการณ์ 2 ครั้ง ที่ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม เสวนา เรื่อง " ตลาดนัดความรู้ด้านการจัดการงานวิจัย "เมื่อ วันที่ 19 - 20 มิถุนายน 48 ณ รร. เจบี หาดใหญ่ จัดโดย ม.สงขลานครินทร์  และ เรื่อง " ระบบและกลไกการบริหารงานวิจัยที่ดี " เมื่อวันที่ 24 -25 มิถุนายน 48   ณ รร. ทรัพยไพรวัลย์ โดยเครือข่ายสมาชิก UKM + สคส. และ ม.นเรศวร เป็นเจ้าภาพ  ดิฉันได้เก็บตกและประมวล แก่นความรู้ การบริหารจัดการงานวิจัยที่มีคุณภาพ มาฝาก โดยสรุป ดังนี้นะค่ะ

แก่นความรู้ ตามขุมความรู้  ของ “ผู้บริหารงานวิจัย” (ตลาดนัด มอ.)
1.     จัดอบรมให้ความรู้ เช่น ด้านการเขียน proposal
2.     จัดระบบพี่เลี้ยง / ที่ปรึกษา
3.     จัดให้มีการเสวนา เพื่อหาประเด็นการวิจัยและ/หรือการรวมกลุ่ม
4.     จัดระบบการเข้าถึงฐานข้อมูล เช่น แหล่งทุน เครื่องมือ
5.     จัดระบบการใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ
6.     สนับสนุนงบประมาณเริ่มต้น (Seed money / small grant)
แก่นความรู้ ตามขุมความรู้ ของ “ผู้วิจัย ” (ตลาดนัด มอ.)
1.     การสร้างเครือข่าย
2.     การสร้างทีมงาน
3.     คุณลักษณะผู้วิจัย
4.     ระบบสนับสนุน
5.     การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
6.     การค้นหาโจทย์วิจัย
7.     การสนับสนุนของผู้บริหาร
แก่นความรู้ ตามขุมความรู้ของ “ผู้บริหารงานวิจัยและผู้วิจัย” (UKM มน.)
1.     นโยบายและทิศทางการวิจัย
2.     ระบบฐานข้อมูลเพื่อการวิจัย
3.     ระบบสนับสนุนด้านการเงิน
4.     ระบบสนับสนุนงานวิจัย
5.     การสร้างโจทย์วิจัย
6.     การสร้างทีมวิจัย/เครือข่าย/ชุมชน
7.     ระบบการควบคุมคุณภาพ
8.     การพัฒนาคุณสมบัตินักวิจัย
9.     ระบบบัณฑิตศึกษากับงานวิจัย
10.  ระบบการเผยแพร่งานวิจัย

 

 หวังว่า คงเป็นประโยชน์ต่อการ ตกผลึก ความรู้ แก่ท่านผู้บริหารงานวิจัย และคณาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ได้ไม่มากก็น้อย  

 

หมายเลขบันทึก: 484เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2005 04:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันทึ่งมากกับการสกัดแก่นความรู้และการสร้างตารางอิสรภาพของทีมผู้บริหารงานวิจัยใน KM Workshop ที่มอ. ที่ผ่านมาคะ เพราะสามารถแสดงถึงการคิดอย่างเป็นระบบ และเข้าใจในสิ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีมากเลยคะ เสียดายที่ไม่ได้ Observe ทีมบริหารว่าเค้าใช้เทคนิคต่างๆ หรือมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเลิศในเวลาจำกัด

ขอบคุณอาจารย์มาลินีสำหรับข้อมูลแก่นความรู้ต่างๆ

สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์

ผมเริ่มติดตามข้อเขียนของอาจารย์มาลินี ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม สำหรับผู้วิจัย แก่นความรู้ (ต้องทำพร้อม ๆ กัน)

  1. ต้องเป็นผู้มีความรักหรือฉันทะในการทำวิจัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการวิจัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
  2. โจทย์วิจัยหาได้ในชุมชน เหมือนก๊วนคนคอเดียวกัน
  3. Seed money หาได้ด้วยการพึงพาตนเอง (ไปก่อน)
  4. ยิ่งทำวิจัยยิ่งทำให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์
  5. ประสบการณ์สามารถเปลี่ยนเป็นเงินทองได้ (มีทุนสารพัดวิ่งเข้ามาหา)
  6. การทำงานต้องทำเป็นทีมจึงไม่เหนื่อยแรง แต่ต้องไม่เอาเปรียบกัน
  7. ถ้าสวมหมวกหลายใบในการทำงาน ถ้าทำไปพร้อมกันให้มีความสัมพันธ์กันได้ ก็ไม่เหนื่อยแรง
  8. ต้องสร้างเครือข่ายงานวิจัย ใครชอบทำอะไรก็ทำไปแต่ให้มีความสัมพันธ์กัน เป็นการประหยัดงบประมาณและช่วยชาติได้
  9. ผู้บริหารเป็นฝ่ายกระตุ้นต่อมความอยากให้วิจัย และสนับสนุนทั้งกำลังใจและกำลังเงิน
  10. ผลงานวิจัยต้องเกิดประโยชน์ ต่อตัวเอง ประชาชน ประเทศชาติ และสังคมโลก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท