ชีวิตที่พอเพียง : ๑๕๒๘. สองมุมการศึกษาในวันหยุดวันเดียว


 

          วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันมาฆบูชา    ผมมีงานด้านการเรียนรู้สองงานในช่วงเช้า    คืองานเปิดนิทรรศการ “ศิลปะสร้างสุข” ของธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา   กับงานอภิปราย “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” ของกระทรวงศึกษาธิการ

          สำหรับโครงการศิลปะสร้างสุข ทางงานกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์ได้ส่งร่างประเด็นให้ผมกล่าวปากเปล่า ดังต่อไปนี้

 

 

ร่างประเด็นคำกล่าวเปิดนิทรรศการ “ศิลปะสร้างสุข”

วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๐ น.

ณ ห้องปฏิบัติธรรม และประชุมสัมมนา ชั้น ๒

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

____________________

๑.  โครงการศิลปะสร้างสุข เกิดจากการที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ นำเครือข่ายเยาวชนกล้าใหม่...ใฝ่รู้ (โครงการพัฒนาเยาวชนของธนาคาร) เข้าไปจัดกิจกรรมศิลปะบำบัด ให้กับเด็กนักเรียน โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล

๒.  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ในเด็กกลุ่มพิเศษที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการนำละครหุ่นเงามาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรม

๓.  ภายหลังกิจกรรมดังกล่าว ธนาคารเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะบำบัดเข้ามาพัฒนาศักยภาพของเด็กเพชรบุรีปัญญานุกูลอย่างต่อเนื่อง

๔.  ธนาคารเชิญ คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี (ครูมอส) นักศิลปะในแนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy Art) ซึ่งเป็นการนำเอาศิลปะมาเสริมสร้างและพัฒนาสภาวะภายในบุคคล (ระดับจิตวิญญาณ) ให้มาเป็นวิทยากรและออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล

๕.   ตลอดปี ๒๕๕๔ คุณอนุพันธุ์ และทีมวิทยากร คุณอภิสิรี จรัลชวนะเพท (ครูอุ้ย)คุณณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก(ครูมัย) ร่วมกันจัดทำโครงการ ศิลปะสร้างสุข  โดยการนำเอางานวาดภาพระบายสี งานดนตรี และ งานปั้น เข้ามาเป็นพื้นฐานในการทำกิจกรรม

๖.  กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ถ่ายทอดพลังแห่งการสร้างสรรค์ภายในออกมาให้ปรากฎเป็นภูมิคุ้มกัน เยียวยา สร้างพลังใจ พลังชีวิตให้กับเด็ก ดังปรากฎในงานนิทรรศการครั้งนี้ รวมทั้งจะได้นำไปจัดเผยแพร่ที่ สวนศรี อำเภอหัวหิน และที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 

๗.  ขอขอบคุณวิทยากรและทีมงานทุกท่าน  รวมถึงพนักงานไทยพาณิชย์  ที่ผ่านการอบรมและร่วมเป็นพี่เลี้ยงในโครงการ และที่สำคัญที่สุด  ขอขอบคุณ เด็ก ๆ โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล ที่เป็นพลังให้พวกเราได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างความสุขเติมเต็มซึ่งกันและกัน

๘.   ท้ายที่สุด ธนาคารหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถพัฒนาให้กลายเป็นโครงการต้นแบบสำหรับงานด้านศิลปะบำบัด ให้กับโรงเรียนปัญญานุกูล ซึ่งมีอยู่ ๔๕ แห่งทั่วประเทศต่อไป

 

          การไปประชุมที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯทำให้ผมได้เห็นบรรยากาศวันมาฆบูชาที่หอจดหมายเหตุฯซึ่งมีพิธีเวียนเทียนถึง ๓ รอบและได้ถ่ายรูปมาฝาก

          กล่าวเปิดเสร็จ ถ่ายรูปหมู่   แล้วผมรีบขึ้นรถจากหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ไปยัง อิมแพ็คท์ เมืองทองธานี    เพื่อร่วมอภิปรายเรื่อง “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน”    ที่ผมรับไปร่วมอภิปรายแบบงงๆ เพราะรู้สึกจากการติดต่อ เชิญประชุมว่าทำแบบรวบรัดมาก   เมื่อไปร่วมจึงรู้ว่าเป็นการจัดประชุมเพื่อสนองความต้องการของรัฐมนตรีใหม่   ฟังจากการพูดเข้าใจว่า รมต. มาเปิดงานนี้ด้วย   มีเอกสารการจัดงานดังต่อไปนี้

 

การประชุมปฏิบัติการและสัมมนาเรื่อง

“คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน”

-----------------------

 

หลักการและเหตุผล

          การเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งมั่นจะปรับปรุง แก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิรูประบบการจัดการความรู้ของสังคมไทย ทั้งนี้ หัวใจที่สำคัญที่เป็นปัจจัยในจัดการศึกษาที่มุ่งถึงเป้าหมายด้านคุณภาพ คือ คุณภาพของผู้เรียนและคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากตัวครู

          ด้วยภาระงานของครูในด้านกระบวนการ ขั้นตอนทางวิชาการ ระบบระเบียบทางราชการ และงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่หลากหลายแตกต่างกันไป ทำให้การทำงานครูในการศึกษายุคใหม่ มีความยุ่งยากซับซ้อน และมีกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากการควบคุมชั้นเรียนธรรมดา ปัจจุบันได้มีเสียงวิพากษ์จากสังคมว่า “ครูสมัยนี้ไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับเด็กเท่าที่ควร” แนวนโยบายในการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ คือการ “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” ซึ่งมิใช่ออกคำสั่ง หรือตั้งกฎเกณฑ์บังคับให้ครูต้องหันมาใช้เวลาอยู่กับเด็กในชั้นเรียน แต่เป็นการทำความเข้าใจกับภาระหน้าที่ของครู ความต้องการของผู้เรียน และสภาพความเป็นจริงของการเรียนการสอนในยุคใหม่ที่มิได้กำกัดให้เด็กต้องเรียนแต่ในเฉพาะห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีครูกำหนดให้เท่านั้น

         แนวทางการแก้ปัญหาด้านภาระงานของครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาด้วยการรับฟังข้อมูลความจริง รับฟังความคิดเห็น และวิพากษ์อภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เรียน และผู้สอน รวมทั้งกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะช่วยให้ข้อคิด ข้อแนะนำในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ข้อสรุปจากการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาเรื่อง“คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” นี้ จะเป็นเสมือนปฏิญญาระหว่างครูกับนักเรียน และสังคม ในการสร้างการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อเด็กที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา

 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อรับฟังข้อมูล และความคิดเห็น ของทั้งเด็ก และครู รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในด้านการจัดการเรียนการสอน และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองในด้านวิชาชีพครู

๒. เพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาห้องเรียนขาดครู และลดภาระงานอื่นของครู เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของเด็ก และความคาดหวังของสังคม

๓. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ที่เป็นรูปธรรม สำหรับหน่วยปฏิบัติ

๔. เพื่อประชาสัมพันธ์เจตนารมณ์ของรัฐบาลในการมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษา และสร้างให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและเด็ก ให้เกิดข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนในการจัดการศึกษากับเด็กและสังคม 

 

 

-๒-

 

วิธีดำเนินการ

๑. จัดประชุมปฏิบัติการและสัมมนา ระยะเวลา ๑ วัน

๒. มีกำหนดการและประเด็นในการประชุม ดังนี้

 

เวลา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น.          ลงทะเบียน

เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.          พิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการและสัมมนา

เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.          เวทีสัมมนาเรื่อง “ทำอย่างไรครูจึงจะกลับสู่ห้องเรียน”

                                      อภิปรายโดย     - ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

                                                          - ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์

                                                          - รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์  จิตระดับ

                                                          - ดร.พิษณุ  ตุลสุข

                                                          - ดร.สุภาวดี  วงษ์สกุล

                                                          - นายเฉลิมชัย วัดเข้าหลาม

                                      ดำเนินการอภิปรายโดย   ดร.ดิเรก  พรสีมา

                                      (รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างอภิปราย)

เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          เวทีสัมมนาเรื่อง “ภาระหน้าที่ของครู ความคาดหวัง และสภาพความ

เป็นจริงของการเรียนการสอนในชั้นเรียน

อภิปรายโดย     - ผู้แทนครู/อาจารย์ จาก สพฐ. สช. กศน. สอศ. และ

สกอ.  จำนวน ๕ คน

- นักเรียน/นักศึกษา จากสพฐ. สช. กศน. สอศ. และ

สกอ.จำนวน ๕ คน

                                      ดำเนินการอภิปรายโดย   รศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี

หมายเหตุ        กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

  

-๓-

๓. กลุ่มเป้าหมาย ๒๐๐ คน ได้แก่

    - วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๗ คน

    - ครู และผู้บริหาร รวมทั้งนักการศึกษา จำนวน ๕๐ คน

              - นักเรียน จำนวน ๑๐๐ คน

              - ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ ๕๐ คน

 

๔. วันเวลา และสถานที่

วันพุธที่ ๗มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.– ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมฟินิกซ์ ๑-๒ ฮอลล์ ๑  อาคารชาเลยเจอร์ เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

        ๑. ได้สรุปแนวทางในการดำเนินนโยบาย และดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และวิธีการดึงครูกลับสู่ห้องเรียน

        ๒. เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งเกิดข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กและการพัฒนาคุณภาพการสอนของครู

        ๓. เป็นการประชาสัมพันธ์ แนวนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของรัฐบาล และสร้างความตระหนัก ความร่วมมือในการดำเนินนโยบายด้านการศึกษา

 

ฝ่ายเลขานุการ

ผู้จดบันทึกและสรุปผลการประชุม

          ๑. ดร.สมคิด สกุลสถาปัตย์

          ๒. นายสุนทร  คล้ายสุบรรณ

          ๓. นางอรวรรณ กัลปดี

          ๔. นางนิศรา  โภชากรณ์

          ๕. นางวราภรณ์ คุรุเวชสมบูรณ์

 

          ผมไปถึงห้องประชุม เวลา ๑๐ น. วิทยากรในการอภิปรายท่านแรก คือ รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ อภิปรายไปได้ครึ่งทางแล้ว    การอภิปรายมี ดร. ดิเรก พรสีมา เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย   ผู้ร่วมอภิปรายมี ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ, ดร. พิษณุ ตุลสุข (รองเลขาธิการ กพฐ.), ดร. สุภาวดี วงษ์สกุล (ผอ. รร. สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต), นายเฉลิมชัย วัดข้าวหลาม (ครู รร. ราชวินิตประถม)  และผม

          ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน iPad ที่ผมบันทึกประกอบการคิด และความจำของผม   ส่วนที่มีดอกจันทน์นำหน้าสองดอกคือส่วนความคิดที่ผุดขึ้นระหว่างฟังผู้อื่นพูด   และบางส่วนผมนำมาเป็นประเด็นอภิปราย

 

คืนครูสู่ห้องเรียน

สมพงษ์จิตระดับ

4. กระจายอำนาจให้รร.ให้คุณตามผลงาน

5. มีcoaching guideline แก่ศึกษานิเทศก์ฝึกอบรมครู

6. ทำหลักสูตรใหม่ของเดิม 2540 ล้าสมัยสอนปวศ. ให้มีอคติต่อปทเพื่อนบ้่านการวัดผลทำให้อ่อน

สรุป

ลด paper work

ทำให้ครูผู้บริหารรับผิดรับชอบ

 

สมหวัง

    - แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างวิชาชีพครูให้ได้ค่าตอบแทนเท่าอจมหาฯ

    - คนเข้าครูพันธุ์ใหม่

    - กระจายอำนาจให้รับผิดรับชอบโดยมีการทดสอบมาตรฐาน

2517 ยกเลิกสอบมาตรฐานให้รรสอบเองแบบมหาฯ

 

John Hattie ว่าปัจจัยสำคัญ๓อย่าง

        คุณภาพของครูการพัฒนาครูไม่เอาครูไปฝึกอบรมระหว่างภาคเรียน

        กก. สถานศึกษากระจายอำนาจให้

        ครูเป็นผู้กระตุ้นการรร. 

รร. กลายเป็นโรงกวดวิชาติว

 

ดิเรก

ทำอย่างไรให้ครูอยู่กับนร.

**(1) หัวใจคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคุณภาพที่ตรงตามยุคสมัย  Skills, PBL, PLC  รร. ลำปลายมาศพัฒนาครูวิเชียรไชยบังกระบวนการเรียนรู้

(2) วิธีการให้เกืดผลทั้งปท. ใช้ KM

 

เฉลิมชัยวัดข้าวหลาม

เป็นครูมาแล้ว๒๓ปี

จาก social media สังคมออนไลน์ถามความเห็นตามหัวข้อการอภิปรายเด็กๆตอบว่าอย่ามายุ่งกับครูให้ครูได้สอนเด็ก

สวล.  สร้างครูดีเก่ง

ประเมินสมศ. ผ่านสอบ ONET ตกเพราะเด็กไม่เห็นความสำคัญอย่างไรก็เรียนต่อได้

อาชีพครูระบบง/ดที่เอื้อต่อการตั้งตัวในช่วงแรกๆที่ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจสังคมเงินนิยมครูไม่ประจบสอพลอความยุติธรรมรร. เปนระบบเผด็จการการประเมินไม่ตามผลงานให้ผลดีแก่คนใกล้ชิด

ตัวครูครูหาง่ายครูหายาก

การไปอบรมพัฒนาตนเองอย่าให้เป็นช่วงสอน

ระบบการจัดการครู

 

ดิเรก

ตอบให้ได้ว่าครูอยู่กับนร.ครูได้อะไรผอ. ต้องอยู่กับครูด้วย

 

ดร.สุภาวดีวงษ์สกุลผอ.รร. สวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต

ปี๔๔ย้ายมาเปนผอ.รร.สายปัญญารังสิตนร.ด้อยโอกาสหลังจากนั้น๕ปีรรได้คะแนน ONET ที่๑ของจังหวัดปทุมธานีปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยการจับครูสอบ ONET ใครได้ไม่ถึง 70% ต้องรับการอบรม

ปัญหาไม่มีการประเมินที่แท้จริงการให้ความดีความชอบไม่สะท้อนความเป็นจริง

ไม่มีใครดูแล

คนรับผิดชอบไม่ชัดเจนหรือเปล่า

อบรมกลับไปทำไม่ได้ไม่เชื่อว่าเอาครูอายุ๕๐ไปอบรม๓ - ๕วันจะแก้ได้เชื่อในน้ำใหม่

   ICT เป็นยาขมหม้อใหญ่ของครู

จ้บตรงไหนก็พันกันหมดตนโทษอุดมศึกษา

ตนจ้างคนรุ่นใหม่มาสอนคอมพ์เปนผชครู  **ICT รร.บางละมุงครูชัฏตระกูลสินทอง

ครูเก่ามีค. มาก

ทรัพยากรไม่ตรงความต้องการของรร.เพราะรวมศูนย์

ตนหาเงินมาให้รางวัลผลงานตาม ONET

กวดวิชามีการออกข้อสอบเป็นเหตุ

หาตัวช่วยครูจ้างนร. ช่วย

ฝึกครูที่มีจิตวิญญาณ

 

ดร. พิษณุตุลสุขรองเลขาธิการกพฐ.

ตนผ่านหน้าที่ต่างๆมาตั้งแต่เป็นครูสอน

ต้องร่วมกัน๓ฝ่ายคือรัฐเอกชนอปท.

สพฐ. รับผิดชอบเด็ก 67%

ใน๑๐ปีครูเกษียณ๒แสนต้องการครูพันธุ์ใหม่ไปทดแทนเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลง

 

กองเอกสารสูงขึ้นผลสัมฤทธิ์ลดลง

นโยบายต้องต่อเนื่องกระจายอำนาจรับผิดรับชอบ

 

**คุณค่าของการเป็นครู

     - ได้กู้เงินเป็นหนี้แล้วจะมีนักการเมืองมาแก้

     - งานสบายไม่ทำงานก็ได้

     - การได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจได้ปิติสุขจากการได้เห็นความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ครูเรฟ (ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ)

**ระบบครูที่เป็นระบบเปิดไม่ใช่ระบบปิดสอบทักษะที่ต้องการไม่ใช้เน้นประกาศนียบัตร

**ปรับปรุงให้ครบทั้งระบบ

**วิธีสอนแบบเก่าเป็นตัวสร้างปัญหา

**การสอบแบบเก่าสร้างปัญหา

**ปัญหาสังคมทั้งหลายคือตัวป้อนแก่การพัฒนาระบบการเรียนรู้

**McKinsey

 

Commentจากผู้ฟัง

ขอให้เพิ่มเวลาในการเรียน (ผอ. สุภาวดีบอกผมว่าผู้เสนอเป็นนักเรียนกศน.)

 

รอบ๒

สมพงษ์

วงจรซ้ำซากต้องการผู้กล้าลงมือทำ

การเมืองห่วงคะแนนเสียง

ครูรายได้ดีแล้ว

นโยบาย top down ต้องมีกลไกเสริมช่วยให้ทำได้

ปฏิรูปหลักสูตร

 

สมหวัง

๑ทบทวนระบบเลื่อนชั้นอัตโนมัติ

๒กระจายอำนาจ

๓ผลิตครูสกวท.,ครูพันธุ์ใหม่

๔ประเมินครูคุณภาพอย่างจริงจังสู่การผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์

 

เฉลิมชัย

ต้องปรับปรุงสวล. 50   ครู 50 

สถาบันผลิตครูเอาใจใส่การฝึกงานครูมีจิตสำนึกมีแรงบันดาลใจลงมือทำ

 

สุภาวดี

อัตราจ้าง

ฝ่ายต่างๆเลิกมาเอาครูออกจากห้องเรียน

 

 

**เวลาเรียนvsคุณภาพการเรียน

**ต้องทำในหลายระดับในหลายบริบท

**เพื่อการปป. :  ค. ปฏิบัติ>คทฤษฎี

**provider - purchaser split แบบระบบสุขภาพ

 

พิษณุ

ผ่านสื่อ

เสนอรมต.

แก้หลักสูตรกศ. พฐ. ปี๕๑เรียนครึ่งวันทำกิจกรรมครึ่งวัน

แก้ระเบียบข้าราชการครูให้อำนาจรร.

กศธ. แก้ปัญหาแบบองค์รวมผลิตครูพันธุ์ใหม่ระบบเปิด

สัดส่วนเรียนอาชีวะจาก 30 -> 60% 

 

ดิเรก

รองปลัดฯสมบัติจะรวบรวมเสนอรมต.

 

          การอภิปรายมุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการกระจายอำนาจแก่โรงเรียนให้มีอำนาจจัดการทรัพยากรอย่าให้มีคำสั่งหรืออำนาจภายนอกไปดึงครูออกมาจากห้องเรียนให้การตอบแทนโรงเรียนและครูตามผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนโดยต้องมีการทดสอบกลางเป็นตัวมาตรฐาน

          ผมเสนอความเห็นรอบแรก (๑๐ นาที) ๒ ประเด็นคือ (๑) หัวใจคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคุณภาพที่ตรงตามยุคสมัยที่ยุคปัจจุบันต้องเรียนให้ได้ทักษะที่เรียกว่า 21st Century Skills   และเนื่องจากต้องเรียนให้เกิดทักษะ ต้องเรียนโดยลงมือทำ เน้นเรียนแบบ PBL   และครูก็ต้องเรียนการทำหน้าที่ครูโดย PLC ผมบอกว่าตัวอย่างจริงมีที่รร. ลำปลายมาศพัฒนาครูวิเชียรไชยบังและผมก็ได้เขียนหนังสือ วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ออกเผยแพร่ (๒) วิธีการให้เกิดผลทั้งประเทศอย่างกว้างขวางใช้ KMคือหาตัวอย่างการดำเนินการที่บรรลุผลตามแนวที่ต้องการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับผ่านการนำตัวอย่างดีๆไปปรับใช้แล้วนำผลมาลปรร.กันรอบแล้วรอบเล่าโดยตัวอย่างดีๆเหล่านี้ต้องได้รับการยกย่องและให้ผลประโยชน์ ให้ทรัพยากรสนับสนุนให้ได้ทำงานเกิดผลดีต่อนักเรียนตามจินตนาการของเขา

          ในรอบที่สอง (๑๕ นาที) ผมเสนอเรื่อง (๑) คุณค่าของการเป็นครูคือการได้เห็นการเจริญก้าวหน้า ของศิษย์โดยให้อ่านหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบหรือดู YouTube โดยค้นด้วยชื่อ RafeEsquithชีวิตของครูแบบนี้เป็นชีวิตที่มีคุณค่าสูงยิ่ง    (๒) เสนอให้ระบบครูเป็นระบบเปิดทั้งเปิดเข้าและเปิดออกให้คนดีและเก่งมีทักษะเหมาะสมต่อการเป็นครู (วัด/สอบ) เข้าได้โดยไม่ปิดกั้นด้วยคุณวุฒิปลอมๆและเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาเป็นครูแล้วไม่ชอบไม่เหมาะได้ออกไปตัวกรองของระบบคือผลงาน    (๓) วิธีสอนแบบเก่าการสอบแบบเก่าเป็นตัวสร้างปัญหาต้องเปลี่ยนจากสอบเน้นได้-ตก (summative)  เป็นเน้นสอบเพื่อการปรับปรุง (formative)

 

วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๕๕

 

 

ลานหินโค้งของหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ก่อนพิธีเวียนเทียนรอบเช้า

 


ลานหินโค้งขณะพิธีเวียนเทียนรอบเช้า


 ถ่ายใกล้


 

นิทรรศการศิลปะสร้างสุข กับคุณธาตรี ลิขนะพิชิตกุล


 

 

 นิทรรศการศิลปะภาพวาดระบายสี และศิลปะการปั้น


 

 

สภาพภายในห้องประชุม เรื่อง คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน

ผู้เข้าฟังจำนวนมากไม่ตั้งใจฟัง


 

  ผู้ร่วมอภิปราย



 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 483987เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2012 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท