ความปลอดภัยในการทำงานต่างๆ


การป้องกันภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 

   ความปลอดภัย ( Safety ) หมายถึง " พ้นภัย " ความปลอดภัยทางทฤษฎี หมายถึง " การปราศจากภัย " แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากที่จะขจัดภัยทุกชนิดให้หมดไปทุกสิ้นเชิง ดังนั้นความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน จึงหมายถึง การปราศจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน

     อุบัติเหตุ ( Accident ) หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ( มีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการทำงาน ทำให้งานล่าช้า เสียเวลา )

  สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ คือ " ความประมาท " จนมีการใช้คำเตือนอย่างแพร่หลายว่า " อุบัติเหตุป้องกันได้ ถ้าไม่ประมาท " ในความเป็นจริง การป้องกันอุบัติเหตุไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้

   สาเหตุที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เกิด จากประเด็นสำคัญ คือ

1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากบุคคล

2. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพเครื่องจักรกลและอุปกรณ์

3. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากบุคคล

การเกิดอุบัติเหตุจากผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

      1. การแต่งกายไม่เหมาะสม เช่น บุคคลที่ทำงานกับเครื่องจักร แต่ชอบไว้ผมยาวโดย
      2. ไม่รวบผมหรือสวมหมวกคลุมผมให้เรียบร้อย การสวมเครื่องประดับ สร้อยคอ แหวน นาฬิกาในขณะปฏิบัติงานเป็นต้น อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น

      3. บุคคลที่มีเจตคติไม่ถูกต้องต่อความปลอดภัย เช่น บางคนเห็นว่าการป้องกันอุบัติ
      4. เหตุไม่มีความจำเป็น ไม่ใช้หน้ากากป้องกันแสงขณะเชื่อมโลหะ ไม้ใช้เข็มขัดนิรภัยขณะปฏิบัติงานในที่สูง เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าเป็นคนไม่เก่ง เป็นต้น

      5. การใช้เครื่องมือผิดประเภท
      6. สภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะทำงาน เช่น ง่วงนอน เจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย
      7. ไม่มีความรู้และขาดประสบการณ์
      8. บุคคลมีอุปนิสัยการทำงานไม่ดี เช่น เป็นคนไม่มีระเบียบ วางเครื่องมือเกะกะ ไม่ตัดกระแสไฟฟ้าก่อนที่จะทำงานซ่อมระบบไฟฟ้า
  1. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพเครื่องจักรกลและอุปกรณ์
  2.       
การเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ขณะปฏิบัติงานอาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
      1. การใช้เครื่องจักรที่ไม่มีระบบป้องกันอันตราย เช่นใช้หินเจียระไนลับเครื่องมือมีคมโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันหรือฝาครอบป้องกันเศษวัสดุ
      2. เครื่องมืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมในการใช้งานหรือชำรุด

3. อุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงานอาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

    1. บริเวณทั่วไปของโรงงาน โรงงานที่ดีควรมีการวางแผนที่ดีเกี่ยวกับระบบต่างๆภายในโรงงาน เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ การป้องกันอัคคีภัย สถานที่จอดรถ การขนส่งวัสดุ เป็นต้น
    2. สภาพภายในโรงงานที่ไม่เป็นระเบียบ มีการวางวัสดุสิ่งของเกะกะ บริเวณปฏิบัติงานไม่เหมาะสม การวางเครื่องจักรกลไม่ถูกต้องเหมาะสม
    3. การจราจรภายในโรงงาน การขนถ่ายวัสดุสินค้า มีมีการจัดระบบที่ดี
    4. การระบายอากาศ ภายในโรงงานมีการระบายอากาศไม่ดี ทำให้อากาศร้อนอบอ้าว มีกลิ่น มีฝุ่นละออง ความชื้นจะไม่มีการระบายออกไปทำให้มีผลต่อสุขภาพของพนักงาน
    5. แสงสว่าง ในโรงงานมีแสงสว่างไม่เพียงพอหรือมีแสงสว่างมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการทำงานและสายตา
    6. เสียง ในโรงงานบางประเภทมีเสียงดังจากการทำงานของเครื่องจักรในขณะทำงาน ถ้าไม่มีระบบป้องกันเสียงให้กับพนักงาน จะทำให้พนักงานมีปัญหากับการรับฟังและโสตประสาท

ผลของการปฏิบัติงานในโรงงาน

  1. ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
  2. ในการปฏิบัติงานโดยยึดหลักความปลอดภัย เมื่อไม่มีอุบัติเหตุในการทำงานและยังก่อให้เกิด

    ผลดี ดังนี้

    1. บรรยากาศในการทำงานมีความรู้สึกปลอดภัย พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อการทำงานไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ทำให้สามารถทำงานได้เต็มกำลังกายและกำลังใจ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
    2. เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เมื่อพนักงานรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน ก็จะทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
    3. ลดต้นทุนการผลิต เมื่อการทำงานมีความปลอดภัย ความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตก็จะมีน้อย ประสิทธิภาพในการทำงานสูง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดความเสียหายจากอุบัติเหตุ
    4. เพิ่มกำไรกับการงานอย่างปลอดภัย เมื่อสามารถลดอุบัติเหตุได้ ทำให้โรงงานมีผลกำไรเพิ่มขึ้น
    5. ใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่า พนักงานแต่ละคนที่มีความรู้ความชำนาญจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ดังนั้นเมื่อพนักงานเกิดประสบอุบัติเหตุจะต้องเสียทรัพยากรมนุษย์ไปและไม่คุ้มค่า
    6. ผลที่ได้รับจากการเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงาน
    7. ในการปฏิบัติงานเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ผลเสียหายที่ได้รับ ดังนี้

             2.1 ผลเสียหายทางตรง ได้แก่ การสูญเสียทรัพย์สินที่เกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทน ค่าทำขวัญ ค่าเสียหายของทรัพย์สินโรงงานพัง เครื่องจักรชำรุด นอกจากนี้อาจเกิดการสูญเสียชีวิตของพนักงาน

             2.2 ผลเสียทางอ้อม เช่น สูญเสียเวลาในการหยุดงาน ผลผลิตลดลง พนักงานไม่มีความมั่นใจในการทำงานหรือทำงานไม่เต็มที่ เสียชื่อเสียงของโรงงาน

กฎความปลอดภัย

         1. ก่อนเข้าปฏิบัติงานควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงาน ควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ไม่ถูกต้อง เช่น ผูกเน็คไท สวมเสื้อแขนยาวที่ไม่รัดกุม สวมรองเท้าแตะ

         2. ไม่สวมเครื่องประดับที่จะก่อให้เกิดอันตราย เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน นาฬิกา

         3. ในการทำงานบางประเภทจะต้องสวมเครื่องป้องกัน เช่น ทำงานสกัดงานกลึงจะต้องสวมเครื่องป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา

        4. ในการทำงานจะต้องวางเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เป็นระเบียบ ไม่วางระเกะระกะและต้องรักษาความสะอาดพื้นที่ที่ทำงาน

       5. ไม่หยอกล้อหรือทะเลาะวิวาทในขณะทำงาน

       6. ห้ามนำเครื่องมือที่มีคมหรือแหลมใส่ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋า กางเกง

       7. เศษโลหะ เศษขยะ ควรเก็บใส่ภาชนะที่จัดไว้

        8. เมื่อพบเห็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายอยู่บนพื้น เช่น น้ำมันหล่อลื่น จาระบี หกอยู่บนพื้นจะต้องเก็บทำความสะอาดทันที รวมทั้งท่อนเหล็กกลมๆ

        9. ก่อนใช้เครื่องจักรกลจะต้องขออนุญาตจากผู้ควบคุมก่อนทุกครั้ง และไม่ใช้เครื่องจักรที่เราไม่รู้จักวิธีการใช้งานและระบบการควบคุมการทำงาน

    1. ขณะปฏิบัติงานจะต้องมีสมาธิอยู่กับงานที่ทำ ไม่เหม่อหรือใจลอย
    2. การเคลื่อนย้ายชิ้นงานและวัสดุอุปกรณ์บางชนิดที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้ ควรจัดหาอุปกรณ์ป้องก่อนดำเนินการเคลื่อนย้าย

        10. ไม่ควรฝืนทำงาน เมื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน

         11. การถือเครื่องมือมีคมทุกชนิด เช่น มีด สิ่ว สกัด ขวาน เป็นต้น ควรหันคมออกจากตัวผู้ถือและถือด้วยความระมัดระวัง

        12. จะต้องไม่ยกสิ่งของที่เกินกำลังของตนเอง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยยกอย่าฝืนยก การยกก็จะต้องยกให้ถูกวิธี

        13.เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะต้องรายงานให้ผู้ควบคุมโรงงานทราบทันที

        14. หมั่นตรวจเช็คสภาพเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พร้อม ที่จะใช้งานได้ตลอดเวลาและช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงาน

การปฏิบัติงานทางช่างอุตสาหกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในขณะปฏิบัติงาน ดังนั้นจะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้เหมาะสมกับงานต่างๆ ดังนี้

1. การป้องกันศีรษะ ผู้ปฏิบัติงานที่อาจจะมีวัสดุตกจากที่สูงหล่นใส่ศีรษะได้หรือเส้นผมอาจจะไปพันกับเครื่องจักรที่กำลังหมุน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรที่สวมหมวกป้องกัน อาจจะเป็นหมวกนิรภัยที่กันกระแทกหรือวัสดุหล่นใส่เพื่อป้องกันและลดแรงกระแทก ช่างไฟฟ้าแรงสูงควรจะใส่หมวกนิรภัยชนิดที่สามารถต้านทานไฟฟ้าแรงดันสูง

การใช้งานและการบำรุงรักษาหมวกนิรภัย

      1. ตรวจสภาพหมวกก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง
      2. เมื่อใส่หมวกนิรภัยจะต้องใส่สายรัดและปรับสายรัดให้พอดีกับศีรษะของผู้สวมใส่
      3. ควรทำความสะอาดหมวกหลังจากที่ใช้งานเสร็จเพื่อป้องกันเชื้อราและกลิ่นอับ
      4. ไม่ควรเก็บหมวกไว้ในที่อุณหภูมิสูงหรือทิ้งให้ถูกแดด จะทำให้หมวกเสื่อมคุณภาพ
      5. 2. การป้องกันระบบหายใจ หน้ากากป้องกันเป็นอุปกรณ์สำหรับกรองอากาศให้บริสุทธิ์ ก่อน

เข้าสู่ระบบการหายใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานที่มีฝุ่นละอองหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หน้ากากป้องกันมีหลายประเภท คือประเภทกรองสารพิษ ตัวกรองของหน้ากากเป็นสารเคมี ซึ่งป้องกันสารพิษต่างๆก่อนเข้าสู่ร่างกาย เช่น ก๊าซแอมโมเนีย แก๊ส น้ำมัน ไอปรอท คลอรีน ประเภทกรองอนุภาค ตัวกรองของหน้ากากทำด้วยเส้นใยซึ่งมีคุณสมบัติในการกรองสารหรือฝุ่นละอองต่างๆ เช่น ฝุ่นจากงานขัด ฝุ่นจากงานไม้ ฝุ่นจากเส้นใยหรือเส้นด้าย

การใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องป้องกันระบบหายใจ

    1. เลือกหน้ากากที่มีคุณสมบัติในการป้องกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
    2. ก่อนใช้หน้ากากป้องกันสารพิษจะต้องตรวจความเรียบร้อยและควรตรวจสอบหลังจากได้ใช้งานแล้ว
    3. ในขณะใช้หน้ากากป้องกันสารพิษ ควรใส่หน้ากากให้แนบสนิทและก็มิดชิดกับใบหน้า
    4. ควรเก็บหน้ากากให้ดีเพื่อป้องกันยางสายรัดเสื่อมคุณภาพเร็ว

3. การป้องกันดวงตา อันตรายที่เกิดกับดวงตา อาจจะเกิดจากเศษวัสดุจากการปฏิบัติงานกระเด็นเข้าตาได้ เช่น งานสกัด งานเจียรไน งานขัด เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันดวงตา คือ
แว่นตา มีลักษณะเป็นแว่นครอบสนิทรอบดวงตาเพื่อป้องกันเศษโลหะต่างๆที่เกิดจาการปฏิบัติงานกระเด็นเข้าตาได้หน้ากาก มีลักษณะเป็นแผ่นกำบังใบหน้าของผู้ปฏิบัติงานสามารถป้องกันอันตรายอันเกิดจากการปฏิบัติงานได้

การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันดวงตา

      1. เลือกใช้อุปกรณ์ในการป้องกันดวงตาให้เหมาะสมกับงาน
      2. ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์อยู่เสมอว่ายังใช้งานได้ดีไม่ชำรุด
      3. แว่นตาเมื่อมีฝุ่นเกาะจับ ควรใช้ผ้าเนื้อละเอียดเช็ดทำความสะอาดทั้งก่อนใช้และหลังการใช้งาน

                 การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันผู้ที่ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ โรงงานสิ่งทอ โรงงานปั้มขึ้นรูปโลหะ เสียงที่มีความดังมากๆจะทำให้โสตประสาทหูเสีย หูตึง และยังทำให้ขาดสมาธิในการปฏิบัติงานจนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในโรงงานที่มีมลภาวะทางเสียงจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันหูหรือที่ครอบหู

การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันเสียง

      1. เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันความดังของเสียง
      2. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์หลังจากใช้งาน
    1. การป้องกันเท้ รองเท้านิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเท้า ดังนั้นจะ

ต้องเลือกสวมรองเท้านิรภัยให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ เช่น รองเท้าสำหรับงานไฟฟ้า รองเท้าสำหรับงานหลอมโลหะ รองเท้าสำหรับงานก่อสร้าง เป็นต้น

5. การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันเท้า

5.1 เลือกใช้รองเท้าให้เหมาะสมกับลักษณะของงานและสวมใส่ได้พอดี ไม่หลวมไปหรือคับไป

5.2 ควรทำความสะอาดรองเท้าที่สวมใส่ให้สะอาดอยู่เสมอ

6. การป้องกันมือ ในการปฏิบัติงานจะต้องใช้มืออยู่ตลอดเวลาดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับมือ

การใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันมือ

      1. ถุงมือยาง ใช้สำหรับทำงานเกี่ยวกับสารเคมีหรือวัสดุที่มีพิษ

ถุงมือหนัง ใช้สำหรับจับหรือขนวัสดุที่มีความร้อน มีความคม

คำสำคัญ (Tags): #edu104
หมายเลขบันทึก: 48379เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ดิฉันทำงานที่โรงงานดิฉันคิดว่าการทำwepแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน

ดีครับเว็บนี้มีประโยชน์ดีแต่น่าจะใส่รูปด้วยนะครับจะได้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนหาข้อมูล

#หมดปัญหากลิ่นเหม็นจากสารเคมี สารระเหย ทินเนอร์ คลอรีน น้ำมันเครื่อง สีทาบ้าน ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช #ต่อไปนี้คุณไม่ต้องทนเหม็นกลิ่นสารเคมีให้เสียสุขภาพอีกต่อไป

??#นี่เลยหน้ากากป้องกันสารเคมีYAMADA??

✔ด้วยคุณสมบัติพิเศษของตลับกรองออกแบบมา

เพื่อกรองสารเคมีสารระเหยโดยเฉพาะ

✔ตัวหน้ากากออกแบบมาเพื่อให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น โดยมีช่องระบายอากาศถึง2ช่องทาง ไม่อึดอัด

✔ออกแบบมาเพื่อคนเอเชียโดยเฉพาะ

✔หมดปัญหาเหม็นกลิ่นสารเคมี

✔ลดปัญหาสารเคมี สารพิษสะสมในร่างกาย

-------------------------------------------------------------------------

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท เมดิคอล แอนด์ เฮลท์แคร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

เวปไซต์ : www.imedcarecenter.com

โทร.092-2702212

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท