เด็กชล Apiculture
นางสาว เสาวลักษณ์ เจี๊ยบ พลอยงาม

สมุนไพรบำบัดโรคผึ้ง


สารสกัดชะเอมและกานพลูสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
สมุนไพรบำบัดโรคผึ้ง         ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งนับเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ควรได้รับการส่งเสริมเพราะนอกจากไม่ต้องยึดครองพื้นที่ในการทำกินแล้วยังให้ผลผลิตที่ให้ประโยชน์มากมาย  สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมได้หลากหลาย  อาทิ  เกสร  นมผึ้ง  หรือ  ไขผึ้งที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา  เครื่องสำอาง  และเทียนไข  ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า  60  ล้านบาท  โดยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ   แต่ปัญหาสำคัญและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนขณะนี้สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งคือ  การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ในตัวอ่อนผึ้ง  เช่น  โรคจากเชื้อราชอล์คบรูด  (Chalkbrood)  โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย  เช่น  โรคตัวอ่อนเน่า  (American  foulbrood)  และโรคตัวอ่อนเน่ายูโรเปียน  (European  foulbrood)   เนื่องจากโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายทำให้ตัวอ่อนผึ้งตาย  อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็วหากไม่มีการป้องกัน  จึงได้มีการนำสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ที่จะสามารถนำมาใช้ในการรักษาควบคุมโรคในผึ้งได้  และไม่มีสารตกค้างมาสู่ผู้บริโภคด้วย  อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าสารสกัดธรรมชาติจากพืชบางชนิดนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์บางอย่างได้  รวมถึงนมผึ้งที่เป็นแหล่งอาหารของตัวอ่อนผึ้งและพรอพอลิส  ซึ่งเป็นสารป้องกันเชื้อโรคในรังผึ้ง    โดยขณะนี้พบว่า  สารสกัดชะเอมและกานพลูสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย  (Melisscoccus  plutonius)  สารสกัดอบเชยและพลูออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา  (Ascoshaera  apis)  ได้ดีที่สุด  สารสกัดจากสมุนไพรประเภทผสมจึงเป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมผึ้ง  จากการศึกษาไม่เพียงทำให้เราพบสารสกัดจากสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคในไทยแล้ว  ยังได้มีโอกาสทดสอบกับเชื้อก่อโรคที่แยกได้จากในรังผึ้งของประเทสออสเตรเลีย  เยอรมัน  และญี่ปุ่น  พบว่าสารสกัดจากสมุนไพรที่ค้นพบสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคเหล่านี้ได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามในส่วนของการนำไปใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง  ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเพื่อทดสอบว่าสารสกัดจากธรรมชาติยังสามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ได้ประสิทธิภาพที่ดีเท่าเดิมหรือไม่
คำสำคัญ (Tags): #คนเรียนผึ้ง
หมายเลขบันทึก: 48360เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท