ปรองดองเหลืองแดง...ทักษิณไม่เกี่ยว


บัดนี้ (มีค. ๒๕๕๕) ได้เกิดการแตกแยกของคนไทยออกเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองและฝ่ายเสื้อแดง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่ความคิดเห็นต่างในประเด็นทางการเมือง ผนวกการชุมนุมของมวลชนของทั้งสองฝ่ายที่มีความรุนแรงผสม โดยเฉพาะความรุนแรงที่มาจากทางฝ่ายเสื้อแดง ส่วนฝ่ายเสื้อเหลืองนั้นมักเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำการรุนแรง (โดย “กองกำลังไม่ทราบฝ่าย”)    ดังนั้น  ข้าพเจ้าขอเสนอข้อคิดในการปรองดองดังนี้

 1)   พึงเข้าใจหลักการสำคัญขั้นพื้นฐานเสียก่อนว่า การนี้เป็นการปรองดองความแตกแยกระหว่างพวกเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง อันเป็นผลมาจากการชุมนุมของทั้งสองฝ่าย  ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีข้อเรียกร้องของตน การไม่ได้รับการสนองตอบตามข้อเรียกร้องทำให้การชุมนุมยืดเยื้อ จนนำสู่ความรุนแรง การก่อคดีอาญาต่างๆอันเนื่องจากอารมณ์ของการชุมนุม   และก่อความแตกแยกของสังคมในที่สุด

 

 2)   การนิรโทษกรรมในคดีความต่างๆเพื่อนำสู่การปรองดองคงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรมเพียงใดเท่านั้นเอง สามัญสำนึกขั้นพื้นฐานก็คือ ควรนิรโทษกรรมเฉพาะคดีความที่ติดตัวแกนนำของทั้งสองฝ่ายซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการชุมนุม   ส่วนคดีเผาบ้านเมือง เผาสถานที่ราชการของผู้ร่วมชุมนุมนั้น อาจอนุโลมได้ว่าไม่ได้ตริตรองมาก่อน แต่กระทำไปเพราะอารมณ์โทสะที่ถูกกระตุ้นจากการปราศรัยบนเวทีการชุมนุม ดังนั้นอาจมีเหตุอันควรให้นิรโทษกรรมก็เป็นได้

  

3)   ข้อเรียกร้องจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ไม่เคยเรียกร้องให้นิรโทษกรรมคดีความของ ดร.ทักษิณ แต่ประการใด  แสดงว่าคดีความของดร. ทักษิณ (ที่ได้กระทำมาก่อนการแตกแยกของทั้งสองฝ่าย)  ไม่เกี่ยวข้องกับการแตกแยกและการปรองดองในคราวนี้แต่ประการใด  ดังนั้นการนิรโทษกรรมคดีความของ ดร. ทักษิณ จึงเป็นอันตกไป   (ดูข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงข้างล่าง ....ข่าวตัดจาก นสพ. ไทยโพสต์)

  

ข้อเรียกร้อง  4  ข้อตามที่นายวีระ  มุสิกพงศ์  แกนนำ  นปช.ได้อ่านแถลงการณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลกลางดึกวันเสาร์ต่อเนื่องก่อนเช้าวันอาทิตย์  ซึ่งประกอบด้วย  1.ดำเนินการกับพันธมิตรทางกฎหมายภายใน  15  วัน  2.ปลดนายกษิต  ภิรมย์  ออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภายใน  15  วัน  3.นำรัฐธรรมนูญปี  40  กลับมาใช้  และ  4.ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญให้ยุบสภาคืนอำนาจแก่ประชาชนทันที

 

 ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

 1)   การจะปรองดองกันได้ต้องมีฝ่ายที่สาม ฝ่ายที่เป็นกลางทำหน้าที่ร่างข้อกำหนดในการปรองดอง โดยรับฟังข้อมูลความเห็นจากคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน  มิใช่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นคู่กรณีเสียเองเป็นผู้กำหนดดังเช่นที่กำลังทำกันอยู่ในวันนี้

 

2)   ฝ่ายที่เป็นกลางนี้อาจคือ  คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เลือกกันเองให้เหลือ  15  คน

 

3)   เมื่อผู้เป็นกลางได้ยกร่างข้อกำหนดในการปรองดองแล้ว  ให้นำเสนอต่อประชาชนทั้งประเทศเป็นเวลาหนึ่งเดือนเพื่อให้ประชาพิจารณ์ผ่านสื่อสารมวลชน  ทางจดหมายส่งตรง  รวมทั้งมีช่องทางให้พิจารณ์ทางอีเมล์ และเว็บบอร์ด

 

4)   ผู้เป็นกลางพิจารณาโดยสำนึกแห่งความถูกต้องของผู้เป็นกลางเองว่าปรับ (หรือไม่ปรับ) ร่าง อีกครั้ง ตามเหตุผลที่ได้รับจากการวิจารณ์

 

5)   นำเสนอร่างที่ปรับ (หรือไม่ปรับนี้) ต่อรัฐสภา เพื่ออภิปราย

 

6)   ผู้เป็นกลางพิจารณาโดยสำนึกแห่งความถูกต้องของผู้เป็นกลางเองว่าปรับ (หรือไม่ปรับ) ร่าง อีกครั้ง ตามเหตุผลที่ได้รับจากการอภิปรายของรัฐสภา

 

7)   การปรับแก้ครั้งสุดท้ายตามข้อ ๖ นี้ ของ คกก. ชุดนี้ ถือเป็นที่สิ้นสุด ให้นำเสนอเป็นพรบ. ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการลงมติเห็นชอบของรัฐสภา

 


...คนถางทาง (๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 483563เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท