หลักสูตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้: ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ของ กฟผ. (EADP รุ่นที่ 8)


หลักสูตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้: ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ของ กฟผ. (EADP รุ่นที่ 8)

สวัสดีครับลูกศิษย์ EADP รุ่น 8 ที่รักทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ระยะที่ 2 ของพวกเรา "หลักสูตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้: ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ของ กฟผ." ซึ่งเราจะอยู่ด้วยกัน 3 วันที่จังหวัดกาญจนบุรี คือ ระหว่างวันที่ 27 -29 มีนาคม 2555 หวังว่าลูกศิษย์ของผมจะได้รับความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพของการทำงานด้าน CSR ในอนาคตของ กฟผ. กับความต้องการที่แท้จริงของสังคมและปวงชน

ผมขอชื่นชมที่ทุกท่านสนใจ และได้นำเสนอแนวคิดดี ๆ จากการส่งการบ้านมาที่ Blog ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ของพวกเรา มีประโยชน์มาก และผมดีใจที่ความรู้ดี ๆ ให้องเรียนของเราจะได้แบ่งปันสู่สังคมในวงที่กว้างขึ้น

และเพื่อให้การส่ง Blog ของพวกเราง่ายขึ้น ผมจึงขอเปิด Blog ใหม่สำหรับกิจกรรม CSR ในครั้งนี้ครับ

ติดตามภาพบรรยากาศการเรียนรู้ได้ที่ลิงค์นี้ครับ

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้วันที่ 1 ณ ศูนย์ฝึกอบรม กฟผ. ที่เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.419075854784543.91092577.100000463969628&type=1&l=c65da17a38

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้วันที่ 2 ณ ชุมชนบ้านช่องสะเดา (28/3/55)

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.403132469715105.106267.265425160152504&type=1&l=917b60cc18
 

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 483425เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (85)

Presentation หนังสือ 2 เล่ม HR พันธุ์แท้ และ 8K’s 5K’s

กลุ่ม 2

ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ และ 8k 5k

สิ่งที่เหมือนกัน ได้แก่

  • ทั้งคู่กล่าวถึงประวัติและผลงานอ.จีระ
  • เน้นทรัพยากรมนุษย์มากกว่าสิ่งใด
  • การเรียนรู้มีความจำเป็นตลอดชีวิต
  • ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต้องมีจิตสาธารณะ
  • มีการวิเคราะห์จุดอ่อนของทรัพยากรมนุษย์

สิ่งที่ต่างของหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

  • กล่าวถึงประวัติชีวิตของอ.พารณ
  • กล่าวถึงผู้บริหารปูนซีเมนต์ ที่ได้ใช้กลยุทธ์ทั้งของตะวันตก และตะวันออก
  • มีการลงทุนด้านการศึกษา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นคนเก่งและคนดี
  • กล่าวถึง ทฤษฎี 8k’s , 5k’s  แค่ 3k’s เท่านั้น
  • กล่าวถึงการเป็น global citizen ที่ต้องใช้ทั้งภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี
  •  อ.จีระ ได้รับรางวัลต่างๆมากมาย

สิ่งที่ต่างของหนังสือ 8k 5k

  • การได้มาแต่ละทุนของ 8k 5k
  • มีแนวคิดสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ 4l 2r
  • การเป็นสังคม AEC เกี่ยวข้องกับสังคมไทยอย่างไร

 

 

กลุ่ม 1

วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของหนังสือทั้ง 2 เล่ม

  • จากการอ่านหนังสือ 2 เล่มนี้มีความแตกต่างกันคือหนังสือทั้งสองเล่มมีความแตกต่างในวิธีการนำเสนอ แต่ส่วนที่เหมือนกันคือ การเน้นการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก
  • หนังสือทั้งสองเล่มเป็นภาคต่อของกันและกัน
  • ในเรื่อง HR พันธุ์แท้ เน้นเรื่องความเข้าใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากปราชญ์ทั้ง 2 ท่าน คุณพารณ ได้นำประสบการณ์ในการทำงานในบริษัทปูนซีเมนต์ไทย และประสบการณ์ที่ต่าง ๆ มาเล่าให้ฟัง

ในส่วนของ EGAT ได้รับอะไร

  • ได้ซึมซับความคิดการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พอสมควร แต่ EGAT ยังไม่เคยประกาศเป็นทางการในการรับมือกับ AEC 2015 อย่างไร
  • ข้อเสนอ คือ เมื่อรับคนเข้าทำงานใน EGAT มีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่จึงอยากคิดสร้างนวัตกรรมอย่างไรให้คนทั้ง 2 รุ่นทำงานได้ ไม่ใช่แค่เตรียมพร้อมกับ AEC เท่านั้น แต่อยากให้คิดว่าจะอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างไรด้วย

ดร.จีระ

  • บอกว่า คุณพารณเป็นผู้อำนวยการทรัพยากรมนุษย์ของปูนซีเมนต์ฯ แล้วขึ้นไปเป็นเบอร์ 1   ส่วน อาจารย์จีระเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์มา 4 สมัย ก็ดูด้านทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน
  • สำหรับทุกท่านในห้องนี้ การเป็นพันธุ์แท้ด้านทรัพยากรมนุษย์ยากเพราะส่วนใหญ่เป็นวิศวะ
  • ให้สังเกตตัวอย่างคุณพารณ สร้างสังคมในปูนซีเมนต์ให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี
  • ดร.จีระ บอกว่าคุณพารณได้อิทธิพลจากการทำงานที่บริษัทเชลล์ ซึมซับการบริหารแบบตะวันตกและสมัยเมื่อญี่ปุ่นมาทำงานที่ปูนฯ เนื่องจากคนญี่ปุ่นจะเน้นเรื่องคนมาก คุณพารณได้ระบบจากเชลล์มา บวกกับ อิทธิพลจากญี่ปุ่น และมีพื้นฐานที่ดี คือมาจากครอบครัวที่เป็นเจ้าพระยา (คนที่มาจากตระกูลเจ้าพระยา มี 2 ลักษณะคือ ดูถูกคน หรือให้เกียรติคน) สไตล์การบริหารคนของคุณพารณ จึงเป็นลักษณะของการให้เกียรติคน  แต่ลักษณะของ กฟผ. เป็นลักษณะแบบ Top Down จึงอยากให้ลองกลับไปคิดดูว่า กฟผ.มีลักษณะแบบ Top Down มากไปหรือไม่
  • เล่ม 2 เป็นภาคต่อของเล่มหนึ่งแน่นอน
  • สำหรับเรื่อง AEC 2015 , EGAT น่าจะมีการร่วมมือกับส่วนต่าง ๆ หรือไม่

 

กลุ่ม 3

พูดในมุมที่ประทับใจ

เล่ม 1 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

  • คือมุมมองของการสร้างคนของท่านพารณ  ที่สร้างตั้งแต่ระดับปฏิบัติไปถึงผู้บริหาร   มีหลักสูตรในแต่ละระดับโดยพิจารณาตามความเหมาะสมที่จะต้องพัฒนา เน้นเรื่องการวางรากฐานจริง ๆ
  • สิ่งที่อาจารย์ทั้งสองท่านทำคือ ท่านพารณ และดร.จีระ เน้นความสำคัญเรื่องการทำโรงเรียน

ดร.จีระ

  • เสนอว่าถ้า กฟผ.จะมีกิจกรรมเพื่อสังคมกิจกรรมหนึ่งขอให้มี Brand การทำชุมชนที่นี่ควรเน้นความต่อเนื่องอย่าทำแบบดาวกระจาย ให้ดูตัวอย่างของโรงเรียนบางหัวเสือเป็นตัวอย่าง

เล่ม 2 8K’s 5K’s

  • เล่ม 2 เป็นการขยายความไปสู่ความสำเร็จแบบเล่มหนึ่งอย่างไร
  • มีเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือต้องสำรวจตัวเอง และสิ่งแวดล้อม ว่าเราควรมีการเตรียมพร้อมอะไร และขาดอะไรในการเข้าสู่ AEC

ดร.จีระ

  • บอกว่าเล่ม 2 เกิดจากประสบการณ์ของอาจารย์จีระ
  • อาจารย์ทุ่มเทกับสิ่งที่ยาก และต่อสู้กับอุปสรรคให้คนยอมรับให้ได้  อย่างเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์อยู่ 4 สมัย แล้วมีคนยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • EGAT ควรค้นหาแก่นหรือ Core ให้ได้ หา Core Capability อันใหม่ ให้ชุมชนเป็นพันธมิตรกับเรา  ทำยังไงให้ NGO รักเรา

 

กลุ่ม 4

วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของหนังสือทั้ง 2 เล่ม

หนังสือ 8K’s 5K’s

  • อ่านเรื่อง 8K’s  5K’s ก่อน เป็นลักษณะการนำแนวคิด + ประสบการณ์
  • ทั้ง 2 เล่มพูดเรื่องการให้ความสำคัญกับคน พูดว่าคนเป็นทุน ทุนคือของที่มีค่า
  • ทุนคือสมบัติที่ดีที่ทำให้ไปอยู่ความสำเร็จ  มี 8K’s ก่อน แล้วไปสู่ 5K’s ทีหลัง

ดร.จีระ บอกว่า

  • ทุนคือสิ่งที่เสียก่อน ก่อนที่จะได้
  • ทุนแตกต่างจากการบริโภค
  • ทุนในทางเศรษฐศาสตร์ยังไม่ได้เฉย ๆ
  • ทุนคือวิธีการลงทุน และทุนในห้องนี้คือวิธีการเรียน
  • ตัวอย่างเช่นทุนแห่งความยั่งยืน ความยั่งยืนเป็นทุนหรือไม่
  • ทุนของดร.จีระ มาจาก Micro Economics เป็น Decision Making ที่อยู่ข้างใน เช่นถ้าตัดสินใจในวันนี้ EGAT จะรอดในวันหน้า นี่คือตัวอย่างของทุนแห่งความยั่งยืน
  • EGAT ต้องเปลี่ยนจาก Quantity ของทุนมนุษย์มาเป็น Quality ให้ได้

HR พันธุ์แท้

  • ให้ความสำคัญกับคนที่ต้องพัฒนา
  • ให้ทำงานกับคนดี คนที่มีจริยธรรมมากกว่าคนเก่ง
  • การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาเสริม เอา Royalty มาผสมกับ Productivity
  • ประเด็นที่ชอบมากที่สุดคือ Networking เป็นลักษณะที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลเยอะ และเป็นปัจจัยที่เสริมไปสู่ความสำเร็จ

ดร.จีระ

  • เสนอให้เขียน EGAT Way
  • Future of Work เขียนเรื่อง Innovative Connector คือต้องรู้จักคนต่าง ๆ อย่างดี แล้วมี Innovation ที่ดี ดังนั้น Innovation ที่ดีต้องไปบวกกับ Networking
  • ลักษณะ EGAT เป็น inside strong มากกว่าข้างนอก
  • Network สามารถฝึกได้ สามารถเกิดจากการกินข้าวกัน อยากให้ EGAT ทำ วปอ.ของ EGAT ด้วย สอนพลังงาน 40 % อีก 40% เชิญคนข้างนอกมาสอน และ 20 % ให้มีการ Link กับส่วนราชการอื่น ๆ และเอกชนด้วย เช่น ทหาร  Regulator

 

กลุ่ม 5

วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของหนังสือทั้ง 2 เล่ม

  • ได้ถอดหนังสือ 2 เล่มเป็น Mind Mapping ผลงานโดยคุณศุภผล
  • ขอเสริมในส่วนที่แต่ละกลุ่มยังไม่ได้วิเคราะห์

ความเหมือน

  • คือการชี้ให้เห็นว่าการนำความรู้ใด ๆ มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรสามารถทำได้ตลอดเวลา
  • การประกาศข้อมูลเชิงบัญญัติว่า 10 กว่าปีที่ทำมาแล้วได้ประสบความสำเร็จ จึงนำมาสู่ 8K’s 5K’s โมเดล เป็นการตอกย้ำ 3 ต คือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง
  • การเอาประสบการณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จมาเปรียบเทียบกัน นำมาสู่ Competitive Advantage
  • การเตือนให้ Aware และ Alert ถึงการเข้าสู่ AEC 2015
  • การแสดงอิทธิพลการพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยและของโลกในอนาคต

นำมาใช้ในการทำงานไฟฟ้าได้อย่างไร

  • ดร.จีระมองเรื่องการระเบิดจากภายในตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นตัวอย่าง
  • 5K’s ที่เสริมเพิ่มเติมเป็นตัวที่จะทำให้เรามองว่าจะก้าวสู่ AEC 2015 ได้อย่างไร
  • เสนอว่าน่าจะมีทุนเรื่อง Buddhism Capital  ทุนทางภูมิสังคม ทุนทางเหนือพลังธรรมชาติ
  • ทุนมนุษย์ไม่เพียงแต่นำไปใช้ในการลงทุนเพิ่มมูลค่า แต่สามารถสร้างมูลค่า ผลกำไร และขยายตัวไม่มีสิ้นสุด โดยพัฒนาจาก Self Management สู่ EADP8 และสู่องค์กร กฟผ.
  • EGAT ควรสร้าง Competitive Culture  ทำอะไรให้ถูกที่ถูกทางตลอดเวลา
  • เราจะสร้างองค์กรโดยนำผู้นำเหล่านี้นำองค์กรสู่ทศวรรษข้างหน้าได้อย่างไร
  • มีต้นทุน High  Performance Organization คือเก่งดีและมีคุณธรรม
  • สรุปคือ การไฟฟ้านอกจากเก่งแล้ว ควรเป็น Learner  และ Thinker ด้วย

 

ดร.จีระ

  • บอกว่า เห็นด้วยที่ว่ากลุ่มนี้พูดเรื่องทุน 4 ชนิดคือ เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ Physical Capital และ Human Capital
  • ประเทศไทยถูกกับดักเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์อยู่ได้ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อใช้มากไป ทรัพยากรธรรมชาติหมดไป ก็จะเหลือแต่ทรัพยากรมนุษย์ ถ้าไม่ดูแลมนุษย์ มนุษย์จะเสื่อมเร็วมากกว่ามอเตอร์ไซด์  ถ้าไม่พัฒนามนุษย์อย่างดี ก็จะเสื่อมเช่นกัน
  • กฟผ. ดีทุกอย่าง  แต่ขาดอย่างเดียวคือความใฝ่รู้ เพราะฉะนั้นหลักสูตรนี้จึงสำคัญ เพราะเป็นทฤษฎี 3 ต
  • นี่คือแก่นที่ไม่ได้กระจายในโครงสร้างของ EGAT ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่รุ่น 8 ต้องช่วยกันคือให้แก่นความรู้เหล่านี้กระจายไปมากกว่านี้
  • ความสำเร็จของ EGAT มาจากทุนมนุษย์ และเป็นทุนมนุษย์ที่มองไม่เห็น

ปาฐกถาพิเศษ  วิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง(ช่วงที่ 1)

โดย       รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คุณพงศธร  สัจจชลพันธ์

 

  • กล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรีที่มีเสน่ห์ที่น่าหลงใหล
  • กาญจนบุรีจะทำอะไรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
  • 7 ล้านไร่ เป็นป่า 3 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองการเกษตร ประชากร 8 แสนคน สส. 5 คน
  • การแบ่งโซนของพื้นที่

โซนที่ 1 เป็นโซนอนุรักษ์

โซนที่ 2 โซนเศรษฐกิจ ท่าม่วง ท่ามะกา สะท้อนให้เห็นว่ามีอ้อยเยอะมาก มีการปลูกพืชทางการเกษตร มีโรงงานอ้อย 7 โรง มีโรงงานผลิตผลไม้แปรรูป สะท้อนการเชื่อมโยงกับแรงงานต่างด้าวมหาศาล

โซนที่ 3 โซนอีสาน กาญจนบุรี ไม่มีแหล่งน้ำ ได้แก่ห้วยกระเจา เป็นต้น

ดังนั้นการบริหารต้องดูแลใน 3 มิติ ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ไม่ให้คนตัดไม้ทำลายป่า อีกส่วนดูแลเรื่องการขาดแคลนน้ำ เรื่องความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน อีกส่วนดูแลเรื่องเศรษฐกิจการลงทุน

ปัญหาใหญ่ ๆ ดูเรื่อง ไม้ ม้า มอญ คือดูแลเรื่องตัดไม้ทำลายป่า ดูเรื่องยาเสพติด เส้นทางติดต่อพม่า 43 ช่อง

  • ชายแดนตะวันตก มีชนกลุ่มน้อย กะเหรี่ยง มอญมาก
  • ไม่มีจุดผ่านแดนแม้แต่จุดเดียว ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ 
  • ปัจจุบันพม่าเริ่มดีกับกะเหรี่ยง มอญ มีการเซ็นสัญญา Gentleman Agreement ไม่มีการยิงกันมานานแล้ว มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่องจุดผ่านแดง (สิ่งที่ขอคือการแบ่งเขตแดนทางบกให้มีความชัดเจนก่อนถึงเปิดได้)
  • การทำ Detail Survey ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว มีการเปิดจุดผ่านแดง ส่งสินค้าได้เร็วมากขึ้น
  • ท่อแก๊ซต้องผ่านป่า ไปที่โรงไฟฟ้าราชบุรี ระยะทางประมาณ 297 กม. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพม่าเป็นจุดเปลี่ยนและเป็นที่กล่าวขวัญคือ พม่าเปิดให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้าไปทำโครงการทวาย
  • โครงการทวายมี 2 ส่วนคือ
  1. ทำท่าเรือน้ำลึก ทำถนนเชื่อมระหว่างทวายผ่านกาญจนบุรี ผ่านกรุงเทพ ผ่านตะวันออก ไปสุดที่เวียดนาม ส่วนที่ 2 ท่าเรือน้ำลึกนาโวเด อยู่จังหวัดตะนาวศรี ( 3 อำเภอ เกาะสอง ทวาย มะริด)
  2. นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหาศาล ใหญ่กว่ามาบตาพุด 10 เท่า
  • ในแง่นักลงทุน ทวายน่าจะเป็นที่ที่เขาหมายตาเหมือนกัน
  • มหาสมุทรอินเดีย บังคลาเทศ อเมริกา อัฟริกา
  • ถ้าระบบคมนาคมขนส่งดี ใช้เวลาเดินทางไม่เท่าไหร่กว่าจะทะลุไปตะวันออก
  • แต่เดิมพูดถึงการขุดคลองคลอดกะ เป็นการคมนาคมทางเลือก
  • เรือที่จะผ่านช่องแคบมะละกา วันละ 900 ลำ ส่วนหนึ่งต้องมีการขนส่งสินค้าจากทะเลจีนใต้

มหาสมุทรอินเดีย การเดินทางใช้เวลา 16-18 วัน เหลือเพียง 6 วัน จุดอ่อนเมื่อเรือเทียบท่า ต้องมีเรือเล็กไปเทียบของมา แต่ทวายมีลักษณะพิเศษคือท่าเรือน้ำลึกใกล้ฝั่งมาก มีลักษณะรองรับในการทำนิคมอุตสาหกรรมและการขนส่งได้ดี นับเป็นจุดเปลี่ยนการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก เนื่องจากเชื่อม 2 ทวีป คือ มหาสมุทรอินเดีย กับแปซิฟิค

  • โครงการทวายใช้เวลา 5 ปี  ผู้บริหารคิดว่าจะได้ประโยชน์อะไร การสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะดีมากเนื่องจากระยะทางใกล้กับพม่าที่ทำการสร้างที่รองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาแล้วห่างกับกาญจนบุรี 100 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น
  • ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่าเรือน้ำลึกจะมาเยือนกาญจนบุรีมากขึ้น การท่องเที่ยวเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ทางประวัติศาสตร์ คนที่มีความหลากหลายสามารถทำให้กาญจนบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ แต่ควรพิจารณาถึงผลกระทบทางวัฒนธรรมด้วย
  • เมืองกาญจนบุรีมีรายได้จากนักท่องเที่ยวมากมาย ปี 2554 มีนักท่องเที่ยว 5 ล้าน 9 แสนคน เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ต่อจากกรุงเทพฯ อยุธยา พัทยา
  • การเตรียมความพร้อมในเรื่องของสนามบิน จากสนามบินของค่ายทหารที่ไม่มีคนมาลง ต่อมาพยายามซ่อมแซมให้บินได้ ขอให้การบินพาณิชย์มาดู
  • ปัญหาหลักของเมืองกาญจน์ เมื่อปี 2481 มีการกันพื้นที่เป็นเขตทหาร  3.5 ล้านไร่  ชาวบ้านที่อยู่มีโฉนดหรือไม่
  • จังหวัดกาญจนบุรีมีรายได้ต่อหัวประชากร 1 แสน 4 พัน 22 บาท ต่อปี  มีคนรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อคนต่อปี แค่ 20 คน ซึ่งน้อยมาก
  • ทางด้านสังคม กาญจนบุรีเป็นแหล่งที่พำนักของชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพทางชายแดน
  • ที่สังขละบุรีเป็นค่ายกะเหรี่ยง ซึ่งมีแนวโน้มในการส่งคนกลับ นอกจากนั้นก็มีการแอบเข้ามา
  • อย่างไรก็ตามควรมองมิติความมั่นคงด้วยการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม และให้มีการทบทวนมากขึ้น
  • เรื่องช้าง ล่าสุดมีช้างอยู่ 201 เชือก เนื่องจากแนวการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวนิยมธรรมชาติ เน้นขี่ช้างท่องชมธรรมชาติ กาญจนบุรีจึงมีปางช้างเยอะ มีทะเบียนช้าง และไม่สามารถบอกอัตลักษณ์ของช้างได้แน่นอน  ถ้าไม่มีใบ หรือไม่ตรงตามอัตลักษณ์ จะถูกว่าเป็นช้างป่าจึงโดนจับย้ายไปอยู่ที่อื่นเช่น ลำปาง นี่คือข้อเสียของจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวชอบมาขี่ช้างเยอะ
  • ชิพที่ฝังช้างไปเชื่อมต่อกับ Database ข้างนอก แต่ปัญหาคือ Database ของช้างนั้นเป็นแค่ Database ของหมอ ปัจจุบันเปลี่ยนวิธีการโดยใส่ข้อมูลใน Database ทั้งหมด

ถาม – ตอบ

ดร.จีระ

ปัญหาที่เรามาที่นี่คือเรื่องชุมชน ถามท่านรองผู้ว่าฯ บทบาทของกฟผ.ในยุคต่อไปในการสร้างชุมชนเป็นพันธมิตรในอนาคต  บรรยากาศชุมชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่กาญจนบุรีเป็นอย่างไร

ตอบโดยรองผู้ว่าฯ  

  • หน้าที่รองผู้ว่าฯ อาจสัมผัสน้อยเนื่องจากเจอผู้คนไม่ค่อยมากนัก
  • การทำให้ชุมชนเป็นพันธมิตร หรือรู้สึกดีกับเรา ประเภทหนึ่งได้ผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมโดยทันที กับกัลยาณมิตรที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จะทำให้ชุมชนรักเรามาก และตลอดไป
  • สิ่งที่ทำให้เกิดตรงนั้นได้คือ ทำให้เขามีความเข้มแข็งขึ้น ไม่ใช่แค่กฟผ.ที่ต้องทำเท่านั้นแต่ควรเป็นทุกส่วนของสังคมไทยที่ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น ดีขึ้น
  • มีภัยธรรมชาติก็สามารถปรับตัวได้ ทำให้เขาอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ สิ่งนี้จะส่งให้ชุมชนคิดถึง กฟผ.
  • กฟผ.ต้องทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและใช้หนี้ได้  สามารถวิเคราะห์ตัวเองได้ วิเคราะห์สิ่งที่ขาดและสามารถเติมเต็มได้
  • การใช้อุดมการณ์เป็นตัวแกนในการเกาะ จะทำให้ได้ผล
  • สรุปคือถ้าอยากให้ชุมชนรักอย่างยั่งยืนต้องทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

ถาม โดยคุณไววิทย์

จากที่บอกว่าจังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเป็น 3 โซน โซนเกษตร  โซนเศรษฐกิจ โซนอีสาน โดยปกติแล้วจะไม่มีคนไม่อยู่ในโซนอีสาน ในกรณีนี้จังหวัดมีวิธีการอย่างไรช่วยไม่ให้เกิดการร้องเรียน

ตอบ

  • โดยธรรมชาติคนเอเชียเป็นคนรักถิ่น
  • จังหวัดมีโครงการผันน้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ ผันเข้าสู่พื้นที่บริเวณนั้น
  • ในกรณีที่มีการแห้งแล้งเสียหาย ทางจังหวัดจะมีการชดเชย เช่นปลูกพืชปีไหนเสียหา ทางจังหวัดให้เอาหลักฐานมาแล้วจะจ่ายค่าชดเชยให้
  • มีการชดเชยแหล่งน้ำ

ถาม

  • จังหวัดกาญจนบุรีได้วางกลยุทธ์และแนวทางเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร

ตอบ

  • การศึกษามีโรงเรียนเน้นการใช้ภาษาที่ 2 กระทรวงศึกษาฯ มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แม้ในอาเซียนเองยังมีคนรู้น้อยมาก การเตรียมพร้อมอย่างรูปธรรมมีน้อย
  • พี่น้องประชาชน บางครั้งอาจยังนึกไม่ถึงว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง ยังนึกภาพไม่ออก ดังนั้นหน่วยงานที่ดีพอจึงน่าจัดวิเคราะห์ว่า AEC แล้วสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ถาม โดยคุณวสันต์

ใน  4 อำเภอจังหวัดกาญจนบุรี มีช้างป่า 200 ตัว ตอนนี้ช้างป่าได้รบกวนและทำลายพื้นไร่เกษตรกร จำนวนมาก ท่านคิดว่าจะแก้ไขอย่างไร

ตอบ

ถ้าเห็นแก่การอนุรักษ์ช้างป่า  กินพืชไร่เท่าไหร่ ชดเชยไปเลยเท่านั้น รัฐบาลจ่าย

 

ดร.จีระ

  • ภูมิสังคม กาญจนบุรีอยู่ติดกับพม่า ถ้าพม่าเปิดประเทศจริง ๆ อาจแทรงไปได้
  • ค่าจ้างขั้นต่ำ ควรเป็นค่าจ้าง ควรพยุงฐานะให้เกิดความพอเพียง
  • ถ้าเรามีค่าจ้างสูงขึ้นแต่ผลผลิตของเราน้อย ก็จะไม่คุ้ม การไปบังคับให้ค่าจ้างสูงกว่าที่ควรจะเป็น นักลงทุนก็จะหนีไปประเทศอื่น
  • ทวายเกิดแน่ มีนิคมอุตสาหกรรม  250 ตร.กม.

 

หัวข้อ    การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน (ช่วงที่ 1)

              โดย     อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

                        คุณสมภพ พวงจิตต์

                        ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

                        คุณวสันต์ สุนจิรัตน์

                        ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านช่องสะเดา

                        ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการโดย

                        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  

 

ดร.จีระ         

  • ให้ลองคิดดูว่าสิ่งที่พูดในวันนี้มีการปรับพฤติกรรมไปใช้อย่างไร
  • ในฐานะที่คุณสมภพดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมที่การไฟฟ้ามีอะไรบ้างที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จที่สามารถนำไปคิดเพื่อพิจารณา

 

คุณสมภพ พวงจิตต์

  • โรงไฟฟ้า ผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้า กระบวนการผลิต ต้องใช้ทรัพยากรทั้งสิ้น
  • ที่ผ่านมาการศึกษาสิ่งแวดล้อมไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่  มาตราที่ 56 ,57, 66,67 ต้องเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบ บวกกับกระแสโลกตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติต่าง ๆ มีมากขึ้น ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้ามีมาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างไร  และประชาชนจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทน  ชุมชนอาจเคยมีวิถีชีวิตที่ราบเรียบอาจกลายเป็นวิถีชีวิตที่เติบโตขึ้น มีอุตสาหกรรมเข้ามาในพื้นที่เขา
  • การให้ข้อมูลข่าวสารในข้อเท็จจริงต่าง ๆ มีผู้ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงานด้วยกัน การให้ข้อมูลข่าวสารไม่ตรงกัน แบ่ง Scope การทำงานชัดเจน
  • การสื่อสารข้อมูลบางทีไม่เป็นไปในทางเดียวกันทำให้ชาวบ้านเห็นว่ากฟผ.ไม่ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้นการสื่อสารกับชุมชนจึงเป็นปัญหามาก
  • ที่ผ่านมา กฟผ.พยายามดูแลในเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้ใกล้ชิดกับชุมชนเท่าที่ควร และไม่เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนอย่างแท้จริง
  • ในเรื่องปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านมลภาวะต่าง ๆ ขยะมูลฝอย สารพิษที่เกิดขึ้น การเผาทางด้านการเกษตรก็ตาม  หมอกควันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ ถูกผู้สื่อข่าวโจมตีเรื่องการทำกิจกรรมของกฟผ. เกิดจากเผาป่าของภาคเหนือเป็นฤดูกาล
  • โรงไฟฟ้าได้ชี้แจงรวดเร็ว  กลยุทธ์ในการชี้แจงทำได้ดีขึ้น ดังนั้นในส่วนของการประชาสัมพันธ์ ควรมีความรวดเร็ว และดำเนินการโดยภาพกว้างให้มากกว่านี้
  • ในเรื่องพลังงาน ปัจจุบันการศึกษาในเรื่องการใช้เชื้อเพลิงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในการยอมรับของชุมชน เราใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติถึง 40 %  ประเทศต่าง ๆ ในโลกใช้ค่าเฉลี่ยถ่านหิน 20 % แต่เราใช้ 40% ทำให้ต้นทุนการใช้พลังงานของต่างชาติถูกกว่าเราเยอะ
  • ประเทศไทยมีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ตลาดโลก การเอาถ่านหินขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับของชุมชน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีในการให้ยอมรับ แต่ความจริงแผนรอไม่ได้ เกิดความรีบเร่ง เกิดปัญหาในการสื่อสาร และ NGOs จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง NGOs ลงลึกกว่าเราเลย ไปอยู่กับชาวบ้านเลย
  • ถ้าในพื้นที่เดิมไปสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนถ้าสร้างไม่ได้ก็จะเป็นปัญหาเรา
  • ดังนั้นปัจจุบันปัจจัยสำคัญคือทางด้าน Operation ในพื้นที่ต้องยึดพื้นที่ให้ได้ ทำอย่างไรถึงจะได้ใจชุมชน เรื่องนี้บางทีจึงควรใช้ปัจจัย 2 อย่าง คือ การแบ่งปันผลประโยชน์  อย่างเช่นทางใต้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ รับผลประโยชน์  กฟผ.ควรต้องควักเงินจ่ายไปด้วย ช่วยให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แล้วที่อื่นจะมาดูตัวอย่างจากที่นี่ แล้วเราจะสามารถขยายการผลิตต่อไปได้

ดร.จีระ

  • อยากให้รุ่น 8 ช่วยดูแลในเรื่องนี้มากขึ้น ให้เขียนบทความหรือ Case Study ที่เป็นไปได้  อ.จีระ ได้นำ NGOs เข้ามาแต่รุ่น 4 หลังจากนั้นไม่ได้แปรรูป ก็จะเจอปัญหาการต่อต้าน NGOs มาก ตอนหลังทำให้รู้เขา รู้เรา แล้วเข้าใจมากขึ้น
  • เรื่อง NGOs กฟผ.ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก จึงอยากให้มีความชัดเจนมากขึ้น

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

  • เราต้องตอบคำถามว่า ทำไมเดี๋ยวนี้กระแสการต่อต้านการค้นพบพลังงานและพัฒนาพลังงานมีมากขึ้นเรื่อย ๆ  อย่างเช่นการสร้างเขื่อน การขุดเจาะน้ำมันที่สมุย มีการตั้งกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ  และล่าสุดที่เขตทวีวัฒนาทำการสำรวจน้ำมัน
  • ดังนั้นการพัฒนาพลังงาน การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในบ้านเราเป็นปัญหาไปหมด
  • จึงควรมานั่งคิดว่าเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร
  • ให้แยกให้ออกว่าคนกลุ่มไหนที่ต่อต้านเพราะมีผลกระทบจริง ๆ หรือ ต่อต้านเพราะผลประโยชน์ ต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่มีผลกระทบจริง ๆ
  • 1. ปัจจุบันแนวคิดของสังคมเปลี่ยนไป แต่เดิมเมื่อพูดถึงพลังงานเป็นเรื่องประเทศชาติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคม การเสียสละเป็นเรื่องของชุมชนเพื่อให้ประเทศชาติได้มีพลังงานใช้มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ 

2.แต่ปัจจุบันคนที่มีหน้าที่แสวงหาพลังงานต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าชุมชนต้องเสียสละเรื่องการแสวงหาพลังงาน และพัฒนาความมั่นคง ความคิดใหม่พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของชุมชนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต้องไปด้วยกัน ประเทศชาติและชุมชนต้องได้ประโยชน์ด้วยกัน นี่คือแนวความคิดใหม่ที่ต้องเปลี่ยนทั้งนักการเมือง รัฐบาล ผู้ที่แสวงหาพลังงาน

  1. ต้องมีการแบ่งปันและกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างยุติธรรม  ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมกฟผ.ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาได้เช่น Ecco กฟผ.ราชบุรี จึงควรมีกฟผ.ชุมชนเป็นบริษัทลูกและมีการแบ่งปันผลกำไรอย่างเป็นรูปธรรม
  2. ต้องไม่ให้เกิดปัญหามลภาวะแวดล้อมต่อโลก และในชุมชนด้วย
  3. การพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ Sustainable Development  บางครั้งเราต้องถามว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือไม่
  • การสื่อสารแบบพบปะกับประชาชน กับการสื่อสารกับประชาชนแบบซึ่งหน้า การสื่อสารต้องพบปะกับประชาชนและเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชน ถึงจะประสบกับความสำเร็จ ต้องบอกประชาชนตั้งแต่แรก ไม่เช่นนั้นจะถูกต่อต้าน ดังนั้นการบริหารโครงการควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารต่าง ๆ
  • เน้นในเรื่องกิจกรรม และการกำหนดการดูแลร่วมกัน  มีการตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมา จะทำให้เราได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้นในการจัดการพลังงาน และจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

ดร.จีระ

  • ถ้าเราจะจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเราต้องมี Macro ด้วย  นโยบายรัฐ กระทรวงพลังงาน Regulator ต้องรับผิดชอบด้วย ต้องทำ Macro ไปหา Micro ถ้าไม่มี Micro ยาก ต้องมีแรงส่งทางนโยบาย
  • ไม่ชอบบริหารแบบ Energy Tax เพราะประโยชน์ไม่ได้กลับคืนมาที่กฟผ.โดยตรงทั้งที่ความจริงเป็นของเรา
  • กฟผ.น่าจะมีการทำร่วมกับชุมชนเช่นให้เขาถือหุ้น 20 % เราดู 80% ไม่น่ามีปัญหาอะไร และแสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ถึงเขาโดยตรง
  • เราอาจต้องหา Partnership หรือพันธมิตรที่มีความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าระดับ Micro มากขึ้น บางครั้งอาจเป็นมิตรกับ ก.มหาดไทย หรือ กฟภ.
  • กฟภ. มีพื้นที่ชุมชนมากกว่า กฟผ. คุมทุกตำบล อำเภอ ดังนั้นประเด็นรุ่น 8 นี้ ให้ลองไปเสนอสิ่งที่นำไปทดลอง อย่าเสนอเป็นทฤษฎีมากเกินไป

คุณวสันต์ สุนจิรัตน์

  • ตัวแทนชุมชน ในฐานะเป็นผู้น้อย ถ้ามีสิ่งที่ดีก็จะทำร่วมกันเลย
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชุมชนกับ กฟผ. เขื่อนท่าทุ่งนา บริเวณที่นั่งอยู่นี่คือที่ของพ่อและแม่คุณวสันต์ ตอนแรกที่ กฟผ.จะเข้ามาสร้างเขื่อนที่นี่ คนในชุมชนยังไม่ทราบ มีการเวรคืนที่ดิน สร้างความเจ็บปวดกับคนในพื้นที่มาก  กฟผ.ในช่วงนั้นมีอำนาจมาก นำกฎหมายขู่ ชุมชนต่อต้านไม่ได้ สร้างความเจ็บปวดมาก ในช่วงนั้นยังเด็กอยู่ ต้องมองเห็นพ่อแม่มองต้นไม้โดนโค่นล้ม ตลอด ๆ ต่อมาเมื่ออยู่ในระยะหนึ่งชุมชนเริ่มรู้แล้วว่าประโยชน์ของการสร้างเขื่อนคืออะไร ชุมชนเริ่มยอมรับมากขึ้น กฟผ.เริ่มให้ความรู้แนะนำเรื่องต่าง ๆ มีการแนะนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนเริ่มยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ จากแต่ก่อนชุมชนต่อต้านกฟผ.มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป ชุมชนสามารถเสนอสิ่งที่ต้องการผ่านการเรียนรู้ได้
  • วิธีการที่ต้องการให้คนยอมรับ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่กฟผ.เป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำให้ชุมชนยอมรับ กฟผ.ได้นำพันธุ์ไก่เข้าไป 40 ตัว ไข่ทุกวัน ทุกคนไปซื้อไข่ กฟผ. มีการบริหารการเงินราคาถูก ทุกคนจะคิดถึงกฟผ.ตลอดเวลาต้องการจะกินไข่ ชุมชนรู้สึกดีตลอด
  • เรื่องสิ่งแวดล้อม กฟผ.ไปช่วยเรื่องฟื้นฟูป่า และแหล่งน้ำ ชุมชนเริ่มอยู่ดีกินดีมากขึ้น
  • ส่วนหลักตอนนี้ที่ชุมชนประสบอยู่มากคือช้างป่า ในอดีตช้างป่าไม่มีมารบกวน แต่พอสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ช้างป่าเริ่มมารบกวนชาวบ้านเนื่องจากเขื่อนไปตัดวงจรหากินของช้างป่า
  • อยากให้กฟผ.มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรื่องช้างจะได้ใจประชาชนมากขึ้น เพราะที่ดูแล้วน่าจะเกิดจากเขื่อนแน่นอน และปริมาณช้างจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และสร้างปัญหาให้กับชุมชนมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลัก ๆ คือไฟป่า ที่สร้างเรื่องสิ่งแวดล้อมกับชุมชนมาโดยตลอด อยากให้กฟผ.ได้ร่วมกับชุมชนเรื่องการดูแลป้องกันไฟป่า เนื่องจากชุมชนร่วมกับที่อื่นทำไม่ได้
  • ภาพรวม ถ้าอยากให้ชุมชนร่วมมือกับกฟผ.ให้ทำอย่างที่กฟผ.ปฏิบัติอย่างนี้มาดีแล้วจะทำให้ได้ใจกับชุมชนได้ทุกหมู่บ้าน อย่างเช่นเรื่องไก่  ให้กฟผ.ไปทำกับหมู่บ้านอื่น ๆ เหมือนอย่างที่ทำหมู่บ้านของคุณวสันต์จะได้แนวร่วมมากขึ้น
  • กฟผ.จะทำอะไรต่อไป ไม่ต้องกลัวเลย NGOs  เพราะถ้าทำในสิ่งที่ถูกต้องจะเอาด้วย ถ้าไม่ถูกต้องไม่เอาด้วย

ดร.จีระ

  • การบริหารโครงการหลังจากเกิดขึ้นแล้วเป็นสิ่งที่ดี อยากให้กฟผ.เชิญคุณวสันต์ไปพูดในที่ต่าง ๆ ด้วย

 

 

แลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้เข้าร่วมจาก กฟผ.

ความเห็นที่ 1 การตั้งคณะกรรมการพูดคุยระหว่างผู้ได้รับผลกระทบ ผู้รับผิดชอบโครงการ NGOs เพราะบางครั้งชาวบ้านไม่ยอมคุยกับกฟผ. แต่จะไปคุยผ่าน NGOs แทน

  • ดร.จีระ บอกว่าอย่าให้ NGOs กับประชาชนเป็นตัวเดียวกันเพราะจะอันตรายมากเนื่องจากบางคนพูดเก่งมากแล้วตัวเลขอาจไม่ถูกต้อง ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องระมัดระวังคือแยกประชาชนที่มีความมุ่งมั่นข้อดี ข้อเสีย ต้องแยกให้ได้ และแยกให้ออกจาก NGOs
  • คุณมนูญบอกว่าการพูดคุยแบบ formal meeting จะไม่เป็นประโยชน์เพราะ NGOs จะ Dominate ทั้งหมด ดังนั้นการสื่อสารที่ได้ผลต้องเป็น Informal meeting เรียกว่าเป็น Face to Face communication สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนเข้ามาโดย NGOs ไม่เข้ามาเกี่ยว ให้เราสร้างการสื่อสารแบบ Community ให้ได้ ต้องใช้วิธีการซึมลึก ใช้เวลาและความพยายามมากในการเข้าไปคุยกับชุมชน
  • ดร.จีระเสนอว่า กิจกรรมเช่นนี้ควรคุยกันต่อเนื่องแล้วเชิญคุณมนูญเป็น Speaker
  • ไฟฟ้าเป็นต้นทุนสำคัญที่ต้องเสีย Competitiveness

ความเห็นที่ 2 การสร้างความต่อเนื่องและสร้างความสัมพันธ์เชิงลึก คือให้บุคลากรไปฝังตัวสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้าน บางครั้งบุคลากรคนนั้นอาจสร้างปัญหาด้วย ดังนั้นต้องดูแลให้ดี

            คุณมนูญบอกว่า

  • การสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกกับชาวบ้านมี 2 ส่วนคือ
  • บุคลากรที่เป็นมืออาชีพ มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  บางครั้งอาจใช้อาสาสมัครด้วยก็ได้ ไปทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน เน้นการสร้าง Relations ร่วมกับชาวบ้านจะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีได้

ความเห็นที่ 3 กฟผ. มีบทเรียนจากอดีตมาเยอะ เชื่อว่าการพัฒนาพลังงานต้องยอมรับความจริงว่าส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ก่อนที่จะเกิดโครงการต้องเข้าถึงและทำความเข้าใจ ต้องพูดข้อเท็จจริง ข้อดี ข้อเสีย สิ่งที่เกิดขึ้นให้กับชุมชน วิธีการข้อดี ข้อเสีย และแนวทางแก้ไข ตัวอย่างอย่างที่คุณวสันต์พูดมาตรงมากคือใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจ เพราะมีตะกอนตกในใจอยู่แล้ว อย่างที่แม่เมาะ การสร้างโรงไฟฟ้าต้องสร้างเขื่อน น้ำที่ชุมชนเคยมีก็จะได้รับผลกระทบ แล้วก็เป็นผลกระทบให้ชุมชนรู้สึกไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาที่สร้างรอยแผลขึ้น กฟผ.ต้องยอมรับว่า การผลิตถ่านหินเกิดซัลเฟอร์แน่นอน  สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 10 โรง จนเขาอยู่ไม่ได้ แต่กฟผ.ไม่ยอมรับความจริง ไม่พูดความจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เราต้องไม่แก้ตัว เราต้องแก้ไข แต่บางครั้งไม่ยอมรับ เลยเกิดการต่อต้าน ดังนั้นจุดหลักของการพัฒนาพลังงานใหม่ ต้องพูดความจริง ข้อดี ข้อเสีย เขาถึงตัวตนจริง ๆ เพื่อสร้างความไว้ใจให้เกิดขึ้น แล้วถ้าไม่เกิดความไว้ใจ ก็จะไม่มีทางเกิด

ความเห็นที่ 4 เรื่องน้ำ เรื่องการยอมรับ เรื่องสิทธิทางเครือข่ายที่ฟ้องร้องอยู่ ศาลสั่งจ่าย 25 ล้านบาท ไม่ได้จ่ายเพื่อชดเชยแต่ศาลสั่งจ่ายให้องค์กรกฟผ.ได้ดูแลช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ แต่กรณีของกฟผ.จ่ายไม่ได้เพราะคดีไม่สิ้นสุด  ถ้าปลดล็อกตรงนี้ไม่ได้ ก็แก้ไม่ได้ ชุมชนเริ่มเรียนรู้วิธีที่จะขอ อย่างที่แม่เมาะ เป็นกรณีศึกษาถ้าแก้ตรงนี้ได้ก็จะช่วยคลี่คลายได้ เกิดการเรียนรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กฟผ.ต้องยอมรับความจริง

ข้อเสนอแนะจากคุณสมภพ เมื่อมีปัญหาตรงนี้ กฟผ.อาจช่วยเข้าไปเร่งรัดส่วนของชาวบ้านด้วย เป็นการแสดงความจริงใจอย่างหนึ่ง อะไรที่ช่วยได้แสดงถึงความพยายามเต็มที่  แสดงความจริงใจในการติดตามเรื่อง อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในเรื่องนี้  ในส่วนที่เดือดร้อน ชาวบ้านมีความสามารถ มีสมอง ไม่ได้ถูก NGOs ปลุกปั่น แต่ที่ถูกปลุกปั่นได้เพราะมีผลประโยชน์ล่อ ดังนั้นควรแยกชาวบ้านออกจาก NGOs ใช้ใจซื้อใจ

ความคิดเห็นที่ 5 ทำไมกฟผ.ไม่ทำความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนเหมือนชุมชนของคุณวสันต์ เราควรพาชาวบ้านไปรับทราบประสบการณ์ชุมชนที่กฟผ.มีความสัมพันธ์ที่ดีด้วย จะทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ด้วย

ดร.จีระ บอกว่า ต้องมีการสร้าง Community Organizer คือคนที่รู้ปัญหาของชาวบ้านอย่างจริงจัง และจัดการให้องค์กรหรือชุมชนเกิดขึ้น ถ้าไม่ทำแบบนี้จะไม่มีทรัพยากรมนุษย์ทำหน้าที่แก้ปัญหาเหล่านี้

ข้อเสนอแนะจากคุณสมภพ ที่ผ่านมาพาชุมชนไปดูชุมชนตัวอย่างที่เป็นประจักษ์นั้น มักไม่ได้ผลเนื่องจากเชิญผู้นำชุมชนไป แล้วผู้นำชุมชนอาจเข้าใจไม่ลึกซึ้งหรือถ่ายทอดได้  ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ชุมชนมีส่วนร่วมแล้วไม่ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเสียหน้า  ไม่ให้อำนาจอยู่ที่กำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่ให้กฟผ.เป็นคนเลือก ไม่ว่าจะเป็นการสุ่มตัวอย่างหรืออะไรก็ตาม แล้วคนนั้นจะมาเป็นฐานเสียงแทน กฟผ.

ดร.จีระ บอกว่าถ้ามีความรู้จริง เลือกคนจริง และทำจริง รู้จักชุมชนจริง โอกาสที่สำเร็จก็จะมี แต่ปัจจุบันเราเล่นแบบ

เสนอว่าให้มีการทำแบบ Bottom Up ขึ้นไป มีการทำ Case เล็ก ๆ เป็นตัวอย่าง

บางครั้งการ Communicate ภายในมีปัญหาเหมือนกัน

ความคิดเห็นที่ 6 จากการลงพื้นที่ของโครงการวังน้อยไม่ได้มีปัญหาอะไรมาก แต่มีปัญหานิดหนึ่งคือ ลงพื้นที่เอง แต่เจ้าของพื้นที่ไม่ได้คิดในทางเดียวกันทำให้เกิดความสับสน  กฟผ.จะมีแนวทางอย่างไรคือให้กฟผ.เป็นผู้นำในการเข้าสู่ชุมชน หรือในส่วนก่อสร้างเป็นคนเข้าสู่ชุมชน  เราควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างไร

คุณมนูญ บอกว่าควรเป็นลักษณะ Single command คือต้องทำงานร่วมกัน ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาแน่นอน แล้วให้โรงไฟฟ้าเป็นฝ่ายออกหน้าเนื่องจากเป็นเจ้าของพื้นที่ แล้วเวลาลงชุมชนอาจให้ลงไปทั้งกฟผ. และก่อสร้างพร้อมกันได้  การคัดเลือกคนไม่น่าเป็นปัญหา ถ้าหน่วยงานในพื้นที่เป็นหน่วยหนึ่งของชุมชนแล้วเราจะรู้จักพื้นที่ รู้จักชุมชน ว่าใครเป็นผู้นำชุมชนจริงหรือเทียม

หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ต้องออกพื้นที่ อยู่กับชาวบ้าน 6 วัน จะช่วยทำให้ใกล้ชิดมากขึ้น

ความคิดเห็นที่ 7  ที่แม่เมาะ มีกองจิตอาสา 50-60 กอง  มีศูนย์จิตอาสา แต่ปัญหาคนของกฟผ.ต้องมี CSR by heart ถึงจะทำได้

ความคิดเห็นที่ 8 โรงไฟฟ้าจะนะ ได้ทำงานทางด้านนี้มาประมาณ 2-3 ปีกว่า อยากถามคุณวสันต์ว่า  Stakeholder ที่เราเจอปัญหาคือ ชาวบ้าน ท้องถิ่นท้องที่คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสื่อ ถ้า 3 ส่วนยอมรับแล้ว คนนอกจะเข้ามาไม่ได้

กฟผ.มีวิธีปฏิบัติอย่างไรในการเริ่มงานให้ชินก่อน NGOs เข้าไป

คุณวสันต์ บอกว่าปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินยังไม่ได้เคยเข้าไปสัมผัส  ยังไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงเรื่องการสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน

วิธีการเข้าชุมชน  1. ควรเข้าทางผู้ใหญ่บ้านในเบื้องต้น จะได้ผลประมาณ 70%

                            2. เลือกคนที่เข้าไปที่ชุมชน การส่งคนเข้าไปต้องดูให้ดี อย่างส่งผู้หญิงเข้าไปจะเข้าถึงครัวเรือนได้ดีมาก

                             3. ชี้แจงความเข้าใจเบื้องต้นมีผลดี อะไรบ้าง ผลกระทบอะไรบ้าง

ความคิดเห็นที่ 9  การตอบแทนชุมชนอย่างเป็นธรรม กรอบความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน  การให้หน่วยงานของรัฐออกมาให้ข้อมูลจริง ๆ

คุณมนูญ ผลตอบแทนที่เป็นธรรมและยุติธรรม ไม่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน เพราะว่าเป็นเพียงความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกเอาเปรียบ เมื่อไรก็ตามที่ถูกเอาเปรียบจะไม่รู้สึกถึงความยุติธรรม ต้องทำให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน โปร่งใส แล้วเป็นเหตุเป็นผล  ถ้าทุกอย่างมีเหตุผลสามารถตอบได้ พูดคุยได้สิ่งนั้นคือผลตอบแทนที่เป็นธรรม  ต้องเอาข้อมูลที่เป็นกลางมายืนยัน หน่วยงานวิชาการ หน่วยงานอิสระ หน่วยงานต่างประเทศมายืนยัน แต่กรณีที่ราชการมายืนยันแทนไม่สามารถทำได้เนื่องจากราชการไม่อยากทำให้เห็นว่าอยู่ข้างเดียวกับ กฟผ. เพราะจะโดนกล่าวหาว่าเป็นตัวแทนของ กฟผ.  สรุปคือ กฟผ.ต้องหาหน่วยงานที่เป็นกลางและประชาชนเชื่อถือมาพูดแทน

ดร.จีระ เสนอว่า สัมมนาแบบนี้น่าให้ผู้นำรุ่น 8 นำไปคิดและเกิดเป็นการทำงานจริง ๆ การดูงาน การเลือกคนไปดูอาจเป็นประเด็นที่ตัดสินในอนาคตได้ สิ่งที่เป็นห่วงมาก ๆ คือทำให้การบริหารจัดการเป็นเรื่องง่าย ถ้ามี High Performance น่าจะมี Dynamic Performance ด้วย  เน้นการมีกิจกรรมที่ต่อเนื่อง ถ้าจะทำร่วมกับชุมชนต้องมีแนวร่วมเพิ่มขึ้น การจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนก็จะมีส่วนช่วยระดับหนึ่ง

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเสวนา “เรียนรู้” การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

สร้างความเข้มแข็งต่อสู่ภัยธรรมชาติ

โดย คุณสุธีร์ บุญเสริมสุข

นายช่างเทคนิคชำนาญงานกระทรวงพลังงาน

พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต

ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมภพ พวงจิตต์

ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้นำชุมชน

ตัวแทนกลุ่ม 1 - 3 จาก EADP 8

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ปริญญาไม่ใช่ปัญญา ดร.จีระ เรียนรู้จากชาวบ้านมานานแล้วตั้งแต่สอนปริญญาตรีที่ ม.ธรรมศาสตร์

• ขอชื่นชมชาวบ้านที่ต้องต่อสู้กับความไม่แน่นอน ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงของโลก

• มีการวิจัยหลายครั้งที่ชาวบ้านเอาไฟฟ้าไปสร้างการจ้างงาน จับธุรกิจ และหาความรู้ร่วมกัน

• บน Panel มี 2 กลุ่ม เป็นตัวแทนจากภาครัฐ จากกฟผ. กระทรวงพลังงาน และเป็นลูกศิษย์ดร.จีระ

• ให้ลูกศิษย์รุ่น 8 นำเสนอแนวคิดในการทำให้ชุมชนยอมรับ และแนวคิดการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการไฟฟ้าเป็นอย่างไร ต่อมาเชิญคุณบุญอินทร์ คุณสมภพ และคุณสุธีร์

ตัวแทนกลุ่ม 1

• ท่านผู้ใหญ่บ้านได้เสนอปัญหา 2 ข้อ คือ เรื่อง ไฟป่า และช้างป่า ดังนั้น ทางกลุ่มจึงได้คุยกันว่าจะทำอย่างไร

• ในเรื่องไฟป่า กฟผ. คิดว่าจะใช้ธรรมชาติไปช่วย

• และจากการสอบถาม ผู้ใหญ่บ้านแจ้งว่าที่หมู่บ้านมีฝายชะลอน้ำ ดังนั้น ถ้าหมู่บ้านทำโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน เสริมกับการทำฝายชะลอน้ำเพิ่มขึ้นในป่าเยอะ ๆ ให้ป่าเขียว ประกอบกับเพิ่มสายชะลอน้ำให้ทั่วพื้นที่ก็จะเป็นแนวทางในการป้องกันไฟป่าได้ดี

• ในเรื่องการสร้างเครือข่าย ชุมชนต้องร่วมมือกันสร้างเป็นเครือข่ายขึ้นมา ก่อนมีไฟป่าต้องทำแนวป้องกันไฟป่าให้ดีก่อน ให้ชุมชนเฝ้าเวรเพื่อป้องกันตามจุดเกิดไฟป่า

เรื่องช้างป่า

• ทำอย่างไรให้ช้างอยู่ได้คนอยู่ได้ ทางกลุ่มจึงคิดใช้วิธีธรรมชาติเข้าช่วย และจากการวิเคราะห์ในกลุ่มคิดว่าจากเหตุที่ช้างมาหากินกับชาวบ้าน แสดงว่าป่าไม่อุดมสมบูรณ์ จึงคิดว่าควรมีแนวทางในการเสริมอาหารในป่า ทำป่าให้สมบูรณ์

• ทำบริเวณให้ช้างออกมาหากินได้ โดยอาจเชื่อมโยงเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ กฟผ.อาจเข้าไปช่วยในการปลูกพืชที่เป็นอาหาร

• รวมพลังกับชาวบ้านในการปลูกป่า ทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์

• สำหรับเรื่องการปลูกพืชของชาวบ้าน มีแนวคิดในการปลูกมะม่วงพันธุ์ดี แทน เนื่องจากปลูกง่าย และสามารถปลูกได้จำนวนมากด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ประเด็น 2 ประเด็นในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนคือหลังจากมีเขื่อนแล้วต้องบริหารชุมชนสันเขื่อนด้วย

• สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือก๊าซในที่ต่าง ๆ ชุมชนส่วนมากยังไม่เข้าใจ จึงอยากใช้ตัวอย่างจากที่ทำชุมชนหลังเขื่อนเข้ามาใช้

ตัวแทนกลุ่ม 2

• การพัฒนาทุกอย่างมีทั้งด้านดี และด้านเสีย ตัวอย่างเช่น การทำถนนดำเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านก็มีผลเสียเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น รถวิ่งเร็วขึ้น ชาวบ้านถูกรถชนมากขึ้น เป็นต้น

• การสร้างเขื่อนเช่นเดียวกันที่มีเขื่อนขึ้นมาทำให้ช้างป่าไม่มีที่อยู่ และบุกรุกที่ชาวบ้าน

• กรณีช้างป่า จึงขอสนับสนุนวิธีเดียวกับคุณวรวิทย์ (ตัวแทนกลุ่ม 1) คือส่วนหนึ่งคือการปลูกป่า อีกส่วนหนึ่งคือการฟื้นฟูป่า จึงน่าจะเสริมส่วนนี้ให้กับชุมชนด้วย

• ช้างป่ามี 200 ตัว ซึ่งเพิ่มมากขึ้น นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราสามารถอนุรักษ์ช้างป่าไว้ได้

วิธีการคือ..จะทำอย่างไรให้ช้างมีอาหารไม่รบกวนชาวบ้าน แต่การปลูกป่าต้องใช้เวลานานพอสมควร ดังนั้นวิธีการป้องกันปัญหาคือการสร้างแนวกันช้างป่ามาทำลายพืชผลชาวบ้าน และการร่วมมือกับจังหวัดเอาเงินจากกองทุนพลังงานมาชดเชยให้กับชาวบ้าน

• ส่วนในเรื่องไฟป่า สนับสนุนเรื่องการสร้างเครือข่ายกับชุมชน ทั้งกฟผ. กฟภ. ข้าราชการ ชาวบ้าน ระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า

• จากที่ตัวแทนนำเสนออาจมีข้อจำกัดเนื่องจากไม่ได้เข้ามาศึกษาก่อน ดังนั้นถ้าชุมชนมีประเด็นอื่นที่เพิ่มเติมอาจเสนอได้มากกว่านี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• เสนอว่า ถ้ากฟผ.ไปทำชุมชนสัมพันธ์ในที่อื่น ๆ ชาวบ้านจะแนะนำอย่างไร

• ชุมชนสัมพันธ์มี 2 เรื่องคือ บริหารก่อนเกิดโครงการ และบริหารหลังจากโครงการเกิดขึ้นแล้ว และถ้าไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ กฟผ.อาจมีความจำเป็นที่จะต้องไปพึ่งโรงไฟฟ้าจากต่างประเทศในอนาคตก็เป็นได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรคิดให้ดี

ตัวแทนกลุ่ม 3

• นับเป็นโอกาสอันดีที่เมื่อ 2 ปีที่แล้วมาได้มาทำงานที่บ้านช่องสะเดา ได้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านช่องสะเดา กับเขื่อนศรีนครินทร์ มีความสัมพันธ์ที่ดีเหมือนญาติพี่น้อง

• จากที่ผู้ใหญ่บ้านบอกมาคือปัญหาหลัก ๆ ที่บ้างช่องสะเดา มี 2 อย่างคือ ไฟป่า กับช้างป่า ทางกลุ่มจึงมีโครงการที่จะเสนอเพิ่มเติมคือเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กฟผ.ในพื้นที่โดยปกติมีการทำชุมชนสัมพันธ์ของพี่น้องเอง

• อาจมีการจัดแลกเปลี่ยนศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และสิ่งดี ๆ ร่วมกัน และนอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ก็คิดว่าน่าจะมีการแลกเปลี่ยนข้ามโครงการด้วยเช่นเดียวกัน

• ควรมีการเรียนรู้ในเรื่องพลังงาน วิถีชีวิต การป้องกันภัยต่าง ๆ และการจัดสัมมนากับญาติพี่น้องในพื้นที่

• ในการไฟฟ้าเองมีหลายหน่วยงานที่ทำงานมวลชน การพาญาติ ๆ มาเจอกัน แลกเปลี่ยนกัน สิ่งที่กฟผ.ได้รับคือการได้มาคุยกัน อาจถึงเวลาแล้วที่เราจะทำงานร่วมกันในหลายพื้นที่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• บอกว่าแรงบันดาลใจในห้องนี้คือการทำงานเพื่อประเทศ

• ประเด็นขั้นสุดท้ายขอเสริม 2 ประเด็น คือ

1. เรื่องชุมชนสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าสร้างเขื่อนแล้วก็ตาม ควรมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ชุมชนสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องเอา Case แต่ละ Case มาดู แต่ต้องมองระยะยาว คือการศึกษาของลูก

2. แรงบันดาลใจในการมองอนาคต ไม่ใช่แค่ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ต้องมองถึงลูก การพัฒนาที่ยั่งยืน ชื่นชมชาวบ้านที่ต้องต่อสู้กับความไม่แน่นอนต่าง ๆ

• อยากให้พวกเรามองให้กว้าง อย่ามองเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น

• ให้มองถึงการแนะนำสู่ชาวบ้าน แนะนำลูกชาวบ้านว่าควรเรียนอะไร อยากเรียนอะไรก็ให้เรียนตรงนั้นเลย ถ้าขาดทุน ก็ให้กฟผ.ช่วย

• ถ้าลูกชาวบ้านเป็นคนมีคุณภาพ จะสามารถเสริมเล็กน้อยในเรื่องทุน และแนะแนวบางอย่าง

คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต

• ได้บอกว่าเพิ่งย้ายมาทำงานที่เขื่อนศรีนครินทร์ได้ 4-5 เดือน การมาทำงานที่นี่เป็นลักษณะการมาอยู่หลังจากสร้างเขื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีหน้าที่อยู่ในส่วน Operation แต่สมัยก่อนนั้นมีหน้าที่แค่เดินเครื่องอย่างเดียว ปัจจุบันนโยบายต่าง ๆ การฝึกอบรม ข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว และก้าวไกลขึ้น ทำให้ต้องมีมุมมองที่เพิ่มกว้างขึ้น อย่างเช่นต้องมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ระบายทั้งปี ไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ

• ทุกอย่างต้องมีการพัฒนา และการพัฒนาสุดท้ายคือการพัฒนาแบบยั่งยืน ที่สำคัญจึงควรมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ

• ภาพใหญ่คือการทำความเข้าใจว่าไปอยู่ที่ไหนสิ่งแวดล้อม สถานที่เป็นอย่างไร พยายามใช้ภูมิสังคม คือ ภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่นถ้าสร้างเขื่อน ต้องมีป่า ต้นน้ำลำธาร ชุมชน สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือป่านี้มีประโยชน์อะไร ใช้หลักของพระบาทสมเด็จเพราะเจ้าอยู่หัวฯ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และไปดูพื้นที่ว่าเหมาะกับการทำโรงไฟฟ้าชุมชนหรือไม่ มีแนวทางป้องกันไฟป่าหรือไม่ หลังจากนั้นมีการตกลงร่วมกัน แล้วมาทำแผน โดยพิจารณากับที่อื่นด้วย แล้วมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของเรา

• เรื่องไฟป่า ต้องมีการฝึกอบรมแบบจิตอาสา

• ใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามแนวพระราชดำริ ทำอย่างไรให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี สร้างอ่างกักเก็บน้ำรองรับน้ำฝนใช้ได้ตลอดทั้งปี

• ภูมิประเทศเป็นภูเขาจึงน่าจะทำสิ่งเหล่านี้ เข้าใจ เข้าถึง บริหารจัดการอย่างมีระบบทำอย่างไร

• มีเขื่อนเป็นศูนย์กลาง มีนายอำเภอเป็นหัวหน้า

• มีการสร้างความชุ่มชื้น และฝายชะลอน้ำในป่า ส่วนในหน้าฝนปลูกต้นไม้เสริม เพื่อรักษาป่าไว้ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พันธ์พืช

• ชาวบ้านได้อะไรจากป่า จะใช้ประโยชน์จากป่าหรือไม่ต้องทำป่าให้สมบูรณ์ เช่นการเก็บหน่อไม้ในป่าไม่ใช่เอามาทั้งหมด เหลือไว้บ้าง ไปเอาเดือนไหนดีเป็นต้น เป็นลักษณะการพูดคุยถึงความต้องการของชุมชน เคารพ กฎ กติกา เป็นต้น

คุณสุธีร์ บุญเสริมสุข

• ในส่วนของภาคพลังงาน การจัดการพลังงาน เป็นลักษณะการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทางกระทรวงมอบหมายให้จัดการเรื่องแผนชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรีมี 14 ชุมชน ประสบผลสำเร็จก็มี ไม่ประสบผลสำเร็จก็มี

• ที่ประสบผลสำเร็จ เช่น เทศบาลตำบลหนองบัว มีการจัดการบริหารจัดการเรื่องพลังงานในชุมชนดีพอสมควร เขาขอรับการสนับสนุนเทคโนโลยี ทางก.พลังงานได้มอบเทคโนโลยีที่เขาต้องการไปให้ เช่น เตาเผาถ่าน ฯลฯ ที่ขอไปนั้นเขานำไปใช้ในกิจการชุมชนของเขาอย่างดีมีสินค้าโอทอปที่สามารถโชว์ได้ ทำให้มีผู้สนใจจำนวนมาก เป็นต้น

• การสัมมนามีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน โดยใช้มูลสัตว์ที่เป็นเศษอาหาร สามารถนำไปใช้งานแทนก๊าซ LNG ได้ถึง 4ชั่วโมง

• ส่วนระบบใหญ่ ก.พลังงานได้สนับสนุนไปเช่นกัน มีที่เรือนจำใหญ่ และกองทหารราบ

• ปัญหาคือ ความไม่แน่นอนของเพื่อนบ้าน

• ในส่วนพลังงานทำอะไรบ้าง มีเทคโนโลยีที่สนับสนุนช่วยลดการใช้พลังงานและทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร

ดร.จีระ เสนอว่าอาจนำตปท.มาเยี่ยมการใช้ Biogas ,Biomass เป็นต้น

คุณสมภพ พวงจิตต์

• ความเห็นจากที่นำเสนอมาแล้วในการอนุรักษ์ธรรมชาติของเราทำอย่างไร แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ และมีจิตที่จะทำงานร่วมกับชุมชนแล้ว

• ปัญหามี 2 อย่างคือ

1. ความไม่รู้ เป็นหน้าที่ของกฟผ.ที่ต้องบอกให้รู้ว่าทำอะไร เพื่อใคร ชุมชนได้ประโยชน์อย่างไร

2. ผลประโยชน์ ไม่มีคำว่าเสียสละ แต่อยากให้ต่อไปเป็นลักษณะการอยู่ร่วมกันอย่างไรให้เป็นธรรม

• การสร้างโรงไฟฟ้านั้น เราต้องถามตัวเองว่าเราต้องการหรือไม่ มีความจำเป็นต้องใช้โรงไฟฟ้าหรือไม่

• การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เสียค่าใช้ไฟเพิ่มขึ้น 20 บาทต่อหน่วย

• การใช้ลมเสียค่าใช้ไฟเพิ่มขึ้นเสียค่าใช้ไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 7-8 บาทต่อหน่วย

• แนวทางในการบริหารจัดการพลังงาน ต้องมองว่าชุมชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ Biomass Biogass

• พี่น้องต้องเห็นด้วยว่าทุกคนมีความต้องการไฟฟ้า

• ส่วนกฟผ.ต้องผลิตไฟฟ้าให้สอดรับการพัฒนาประเทศให้ได้

• กฟผ. ผลิต และต้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติด้วย

• ชาวบ้านต้องดูว่าถ้าผลิตไฟฟ้าในชุมชนใช้จะเพียงพอ หรือไม่

• ทำอย่างไรให้ประเทศไทยที่พัฒนา และเดินหน้าไปกับนานาประเทศอย่างภาคภูมิ ให้ลูกหลานอยู่อย่างทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

• เราอาจมองละเลยบางส่วนด้านจิตใจไป

• กฟผ,จะต้องทำอะไรบ้างถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้า ต้องให้ความรู้ว่าสร้างเพื่ออะไร และชาวบ้านจะได้อะไร มีเพียงบางจุดหน่วยงานกฟผ. ดูแลรักษาเต็มที่ กฟผ.มีหน้าที่ดูแลชุมชน และสิ่งแวดล้อมของเรา ต้องบอกพี่น้องว่าได้อะไร ไม่มีของฟรีในโลก

• มีกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ.จะไม่ทำโรงไฟฟ้าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากชุมชน และเปิดให้ชุมชนมาตรวจสอบได้ทุกที่ทุกเวลา ควรปรับปรุงแก้ไขให้ดี

• กฟผ.จะนำเสนอข้อคิดเห็นนี้

คุณวสันต์ สุจิรัตน์

• ที่ยกเรื่องไฟป่าเป็นเรื่องต้น ๆ เพราะว่าชุมชนไม่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและหารือกับศูนย์ควบคุมไฟป่าเลย ที่สำคัญคือที่ไฟป่ามากทำให้เกิดความแห้งแล้งในป่า

• การแก้ไขชุมชนคิดได้ แต่แกนนำหลัก ๆ ส่วนใหญ่ต้องควักกระเป๋าซื้อ

• ช้างป่า ที่แนะนำเรื่องปลูกมะม่วง เมื่อช้างป่าเจอลูกเดียวจะหักทั้งกิ่งทันที จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกมะม่วง

• ส่วนที่การได้รับความร่วมมือกับกฟผ. คือการทำฝาย การปลูกต้นไม้ อยากได้รับความร่วมมือมากกว่านี้ ส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้มาแนะนำในชุมชนว่าควรทำอย่างไรให้ชุมชนเรื่องการทำฝาย

• การพัฒนา กฟผ.ได้นำความรู้ต่าง ๆ มาให้ชุมชน

• การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ถ้าให้เจ้าหน้าที่กฟผ.ให้ความรู้กับชุมชน ให้ดูว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ผลดี ผลเสียอย่างไร ชุมชนยอมรับได้หรือไม่

• ส่วนใหญ่การต่อต้านหลัก ๆ ไม่ใช่คนพื้นที่ แต่เป็นคนในกทม. คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา

• ที่จะเข้าชุมชนหรือสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ให้คิดให้ดีว่าตรงไหนดี ตรงไหนไม่ดีให้ศึกษา คิดอย่างนักการเมืองแบบปัจจุบันนั้นไม่ได้

• การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ การให้บริหารแก่เด็กนักเรียน นำลูกผู้มีผลกระทบจากเขื่อน เช่นถูกไล่ที่ออกมา แต่ไม่ได้ถูกจัดสรรที่ใหม่ให้ ฯลฯ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บอกว่าคุณวสันต์ ใช้หลักการข้อเท็จจริง มองความจริง และตรงประเด็น

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชาวบ้านหมู่ 1

• ขอบคุณที่ให้ความสนใจ

• ปัญหาที่มีตรงนี้คือ ชาวบ้านยังขาดน้ำ และมีปัญหาเรื่องรายได้ อาชีพเสริม

• อาชีพหลักคือตัดไม้ ถ้าป่าไม้ปิดป่าชาวบ้านจะอยู่อย่างไร ไม่มีที่ทำกินให้ชาวบ้าน

ตัวแทนกฟผ.รุ่น 8

• ประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ที่อพยพมา ปัญหาเรื่องที่ทำกินหายไป อาชีพเดิมหายไป สิ่งนี้เป็นส่วนที่กฟผ.ต้องเข้ามาดูว่าชาวบ้านอยากหรือมีความต้องการอะไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• ประเด็นที่นี่เป็นการพัฒนาชุมชนหลังสร้างเขื่อนแล้ว ลูกศิษย์รุ่น 8 ต้องนำไปสร้างประสบการณ์ และให้การพัฒนาหลังเขื่อนเป็นเลิศมากขึ้น

• เอาประสบการณ์ที่นี่ไปช่วยในการสร้างชุมชนในพื้นที่ที่ทำโรงไฟฟ้าใหม่ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนเพื่ออธิบายการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

• ประเทศต้องมีความมั่นคงในการไฟฟ้า การพัฒนาประเทศไม่มีไฟฟ้าเป็นไปไม่ได้ ในช่วง 30 – 40 ปีที่ผ่านมา กฟผ.เป็นหน่วยงานที่สร้างการแข่งขัน ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงตามมา

• ไฟฟ้าเป็นปัจจัยการผลิตทั้งสังคมและการศึกษา ต้องมองทั้งประเทศและชุมชนด้วย ในอดีต กฟผ.อาจละเลยชุมชน แต่ขณะนี้จะมาเติมเต็มให้กับชุมชน

• ภาพใหญ่ เป็นจุดสำคัญในการเชื่อมโยงกับทวาย เรื่องยาเสพติด การเคลื่อนย้ายแรงงาน ทุนการศึกษา ตัวแทนกฟผ.บ่ายนี้ต้องมองไปที่ชุมชนว่าต้องปรับตัวอย่างไร ดูว่าไม่เกี่ยวแต่จริง ๆ เกี่ยวมหาศาล ถ้าพม่าเปิดประเทศ เกิดแรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทย อย่างเช่นกาญจนบุรี แรงงานพม่าอพยพกลับประเทศเขาหมดเลยจะทำอย่างไร

• การเกษตรยุค AEC ทำอย่างไร อีกประเด็นคือเรื่องการท่องเที่ยว

• เรื่องที่สำคัญมากของบ่ายวันนี้คือเรื่องภาษา เราจะสื่อสารด้วยวิธีอะไร อีกเรื่องคือทัศนคติที่ต้องพร้อมยอมรับว่าเราเป็นประชาคมเดียวกัน ดังนั้นบ่ายวันนี้จะเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่กฟผ.รุ่น 8 จะแนะนำว่าชุมชนจะเป็นเลิศได้อย่างไร

• กฟผ.มีหลักสูตรแนะนำผู้นำ อบต. อบจ. ด้วย

ความคิดเห็นจากชาวบ้าน

เรื่องไฟป่าตำบลช่องสะเดามีบางจุด ชาวบ้านช่วยกันดูแลได้บ้าง เป็นความสามารถของชาวบ้านเรา

ความคิดเห็นจากพัฒนากร ต.ช่องสะเดา

เพิ่งเข้ามาอยู่ที่ต.ช่องสะเดาเมื่อช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เห็นว่าตำบลนี้เป็นตำบลที่อยู่ติดกับแม่น้ำ หมู่ 2 จึงได้รับโครงการสถานีสูบน้ำมาให้เป็นโครงการ 20 กว่าล้านบาท ชาวบ้านดีใจที่ได้ใช้น้ำเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาคือเมื่อเอาน้ำมานั้นต้องไปจ่ายค่าไฟเยอะมาก เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพื่ออุปโภคบริโภค ส่วนน้ำที่ได้เพื่อทำการเกษตรนั้นไม่เพียงพอที่จ่ายค่าไฟฟ้า จึงคิดว่าสิ่งที่ได้มาบางครั้งไม่คุ้มกับที่ต้องเสีย และกลายเป็นอนุสรณ์ไปได้

พื้นที่ทำการเกษตร

• ดินที่ต.ช่องสะเดาเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ และน้ำใต้พื้นดินลึกมาก ชาวบ้านจึงไม่มีสิทธิ์เจาะน้ำบาดาลมาใช้ การปลูกอะไรไม่ได้ผล ที่ปลูกได้แค่มันสำปะหลัง ดังนั้นการประกอบอาชีพไม่สามารถทำการเกษตรเป็นหลัก สิ่งที่เขาทำได้คือการทำไม้เกี๊ยงเท่านั้น (ไม้ตัดลูกชิ้น)ที่ได้จากไม้ไผ่ในป่า

• ทำไมชาวบ้านต้องตัดไม้ในป่า ทำไมต้องทำ เรายังไม่มีรองรับในเรื่องการสร้างอาชีพที่รองรับ

• สิ่งที่ต้องการอันดับแรกคือเรื่องน้ำ อบต.ต้องเสียน้ำมันเชื้อเพลิงส่งน้ำเข้าหมู่บ้านทุกวัน ถ้าทุกท่านในที่นี้อยากช่วยเหลือจึงอยากให้สนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ ที่เข้ามาดูเรื่องน้ำเป็นเรื่องแรก

• การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทางหมู่ 5 มีกิจกรรมการปลูกป่าและทำฝายเช่นกัน แต่ทว่าแต่ละหมู่ได้งบประมาณจากอบต.ไม่เกิน 2-3 แสนที่จะทำฝายใหญ่ ๆ ได้เป็นต้น

• ส่วนหนึ่งที่ได้รับงบประมาณในการทำงานท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ จึงอยากช่วย

• ช้างป่าที่ตำบลช่องสะเดา ทำอย่างไรที่จะปลูกป่าให้อุดมสมบูรณ์ให้ช้างไม่ยุ่งกับชุมชน

ตัวแทนจากกฟผ.

• อัตราค่าไฟสถานีสูบน้ำทางการเกษตร จะคิดราคาถูกลงมาครึ่งหนึ่ง สิ่งที่อยากให้ทำคือจดเป็นสหกรณ์การเกษตรฯ

• น้ำที่เอามาจะมาทำระบบประปาหรือทำต้นไม้

• กรกฎาคม 50 – ธันวาคม 53 เกิดกิจการพรบ.ใหม่ เงินขาดช่วงในการโอน

• ถ้าเงินที่ผู้ใหญ่บ้านขอไปในเรื่องช้าง 200 ตัวไม่มีใครจ่าย ให้ลองยกเรื่องไปที่กองทุนพัฒนาไฟฟ้าได้ เสนอได้

• ไฟปี 50 หน่วย กองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่อื่น สามารถจ่ายให้ประชาชนไม่เกิน 5 กม. ได้หรือไม่

คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต

• ถ้าโครงการปลูกป่าอยากให้ทางเขื่อนทำ ทางเขื่อนยินดีที่จะมาดูแลให้

• ส่วนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าได้งบปีละ 20 ล้านบาท และต้องกระจายไปที่หมู่บ้านอื่น ๆ ด้วย

• ทุกอย่างที่ต้องการต้องผ่านภาคประชาคม และภาคประชาชน แล้วมาดูก่อนว่าใช่หน้าที่กฟผ.หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ กฟผ.จะช่วยประสานให้ แต่ขอให้ชุมชนต้องทำจริง รับปากว่าจะดูให้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• เสนอให้ทุกคนคิดต่อเรื่องการสร้างความร่วมมือกับชุมชนโดยเอากรณีศึกษาของชุมชนบ้านช่องสะเดาเป็นตัวอย่าง สร้างความเข้าใจเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต

• ในอาเซียนเราห่างสิงคโปร์ 14 เท่า ห่างมาเลเซีย 3 เท่า สิ่งสำคัญคือต้องให้ชุมชนและส่วนกลางเป็นพันธมิตรกัน

• ให้ใช้ช่องสะเดาเป็น Case ของ กฟผ. เอาให้จริง Case หนึ่ง ทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนอื่นด้วยในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าต่อไป

ตัวแทนกฟผ.

• ฟังว่าก่อนหน้านี้กฟผ.ได้สนับสนุนอยู่ แต่ต่อมาการสนับสนุนลดลงหรือขาดตอน อาจต้องช่วยสานต่อ

• ความต่อเนื่องในการเปลี่ยนผู้บริหารไม่ขาดตอน อยากให้ทำในสิ่งที่ช่วยเหลือกันมา ให้มีการพัฒนาใหม่ ๆ

• ชุมชนที่อยู่รอบเขื่อน เขตโรงไฟฟ้าต่าง ๆ เหมือนญาติของเรา จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องทำ

คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต

• ความจริงแล้ว การสนับสนุนจากกฟผ. ไม่ใช่ขาดตอนเนื่องจากกฟผ. รับการพัฒนาไปทั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ และงบประมาณที่ให้ก็ไม่ได้มาก และมีหลายปัจจัยที่ต้องให้คนในพื้นที่ช่วยทำด้วย

• มีข้อจำกัดในเรื่อง พื้นที่ ,งบประมาณ, คน

• การพัฒนาชุมชนต้องใช้เวลาหลายปี อยากให้แต่ละพื้นที่ทำตามในสิ่งทีวางไว้

• ต้องมีการคลุกคลี และมีการลงพื้นที่ จะให้ระดับผู้บริหารเข้ามาต้องมีการพัฒนาคนด้วย ทั้งองค์กรต้องมีจิตอาสาจริง ๆ แล้วจึงมาถึงชุมชน

• บางครั้งทำควบคู่ไปได้ แต่หลายปัจจัยมันไม่เอื้อ

ตัวแทนจากกฟผ.

• อยากให้ชุมชนมองกฟผ.เป็นเพื่อนได้

• กฟผ.ไม่สามารถให้ทุกอย่างได้ แต่สามารถสร้างสรรค์ร่วมกันได้

• ถ้าต้องการให้ชุมชนเข้มแข็งต้องมีความร่วมมือกันในหลาย ๆ ด้าน ทั้งอบต. ชุมชน และหน่วยราชการทั้งหลาย

คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต

• กฟผ.เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ทำได้

• กฟผ.ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นที่พึ่งของสังคมไทย แต่ทำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด อยากให้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

ตัวแทนกลุ่ม กฟผ.

• สร้างป่าทำป่าให้ชุ่มชื้น

• สร้างฝาย

• เมื่อป่าสมบูรณ์ แล้วช้างอยู่ในป่า

• สิ่งที่ช่วยให้ชุมชนยั่งยืนคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• โครงการชีววิถีที่ช่วยพัฒนาชุมชน กฟผ.มีเครือข่ายมาก แต่ที่สำคัญคือผู้นำชุมชนต้องทำได้

• ให้ชุมชนสามารถปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ได้ สร้างชุมชนให้เข้มแข็งจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนได้

ตัวแทนกลุ่ม กฟผ.

• ทางเขื่อนเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือ

• สิ่งสำคัญคืออย่าท้อถอย ให้ตั้งเป้าหมายให้ชุมชนพึ่งตนเอง

• อย่างช้างป่า ในโลกเริ่มมีน้อยลง แต่ในชุมชนนี้กลับเพิ่มขึ้นดังนั้น ทำอย่างไรให้ช้างเป็นประโยชน์กับชุมชน

คุณสุธีร์ บุญเสริมสุข

• ปีหน้าถ้า ก.พลังงาน มีการรับสมัครชุมชนร่วมทำแผน จะเป็นฝ่ายผลักดันให้ชุมชนนี้เข้าไปร่วมทำแผนด้วย

• เทคโนโลยีสามารถขยายต่อไป เสริมเป็นอาชีพได้

ตัวแทนจากกฟผ.

• อบต.ช่องสะเดา งบประมาณปีละ 13 ล้านบาท จ่ายผู้สูงอายุ 4 ล้านบาท เหลือ 9 ล้านบาท ไม่มีงบในการพัฒนาสาธารณูปโภคของตำบลนี้เลย

• ของดีของตำบลช่องสะเดาคือไม้ฝาง รักษาโรคไต และส่งขายทั่วประเทศ อีกอย่างคือขนมหวาน และผักหวาน ที่บ้านช่องสะเดา และเพาะขายส่งทั่วประเทศ แต่ยังไม่ได้มีการทำการตลาด และยังไม่แพร่หลาย

• อาชีพหลักของคนที่นี่คือ ส่วนมากจะอาศัยของป่า ตอนนี้มีปัญหากับกรมอุทยาน และกรมป่าไม้ไม่ให้เข้าป่า เขาบอกว่าเขาทำอย่างอื่นไม่ได้ เพราะวิถีชิวิตเขาผูกพันกับป่ามานานแล้ว ถ้าห้ามเข้าป่าก็ไม่รู้ทำอะไร

• ไฟป่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องเข้ามาช่วย

• ช้างป่า อยากให้ฝากไปกับทรัพยากรจังหวัด เพราะกว่าจะปลูกป่าได้ใช้เวลากว่า 10 ปี

สรุป อยากให้มีการช่วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ชุมชนก็ไม่ต้องเผาป่าด้วย

ชุมชนอยากทำเรื่องใดก่อน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

• ให้ชุมชนสามารถพัฒนาในท้องที่ได้จะดีมาก ไม่ใช่ต่างคนต่างเสนอ และให้จัดความสำคัญ อะไรก่อนอะไรหลัง

สรุป

• ป่าเสื่อมโทรมแค่ไหน ต้องใช้เวลา ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ถ้าไม่ทำวันนี้จะยิ่งเสื่อมโทรม

• เรื่องหาของป่า ให้เอามาพอทำการค้าแล้วมาแบ่งปันกัน อย่าเอามาหมด

ผู้ใหญ่บ้านวสันต์

• การร่วมมือกับชาวบ้านบางครั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่ได้มาพูดคุยกับเรา หรือมีน้อยมาก บางครั้งเป็นปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร

ตัวแทนจากกฟผ.

• ชุมชนบ้านช่องสะเดามีความเข้มแข็ง ประกอบกับจังหวัดกาญจนบุรีนั้นมีความสำคัญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้

ตัวแทนจากกฟผ.

• ที่ฟังมามีหลายเรื่อง สำคัญคือความร่วมมือร่วมใจจากกฟผ. และชุมชนเอง อยากให้หลายฝ่ายมาคุยร่วมกันอย่างนี้เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างเช่นเรื่องการทำเรื่องอนุรักษ์ช้างป่า การอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำ เป็นต้น

27 มีนาคม 2555

ชวลิต ตั้งตระกูล

วันนี้ อ.จีระ ได้แนะนำ การพัฒนาตนเอง เช่นการพัฒนาการใช้สารสนเทศ การพัฒนา Relationship การสื่อสาร ทักษะในการบริหาร ความหลากหลายในด้านความคิด และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ได้มุมมองจากการอ่านหนังสือ 2 เล่ม 8K’s + 5K’s และทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้จากเพื่อนๆ กลุ่มต่างๆ

ปาฐกถาพิเศษ “วิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยคุณ พงศธร สัจจชลพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ได้ทราบลักษณะโดยรวมของเศรษฐกิจและภูมิประเทศ เป็น 3 เขต เช่น เขตอนุรักษ์ อ.สิงห์บุรี เขตแห้งแรงหริ่ง เขตอีสาน เช่น อ.บ่อพลอย อ.ห้วยกระเจา เขตเศรษฐกิจ เช่น อ.ท่ามะกา อ.ท่าม่วง ซึ่งจะมีโรงงานน้ำตาลจำนวนมาก มีชายแดนติดต่อกับพม่า 370กม. มีช่องทางติดต่อกับพม่า 43 ช่องทาง และที่น่าวิตก คือ พม่าก็มีโครงการทวาย ซึ่งประกอบด้วย ทางเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (200,000ไร่) โครงการนี้ไทยจะได้ประโยชน์อย่างไร? มีคนมาท่องเที่ยวกาญจนบุรีเป็นอันดับ 4 ของประเทศ รองจากกรุงเทพ ชลบุรี และอยุธยา โดยมีรายได้ของประชากรต่อปี 104,022 บาท ด้านสังคมมีคนไร้สัญชาติมาก มีชาวป่าและชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

Panel Discussion หัวข้อ การจัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้รับทราบแนวคิดการอยู่ร่วมกับชุมชนของ อ.มนูญ ศิริวรรณ แนวคิดการดูแลสิ่งแวดล้อมของ คุณสมภพ พวงจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการกฟผ. แต่ที่สำคัญ คือ เสียงสะท้อนของผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านช่องสะเดา พูดถึงการเข้ามาดำเนินการของกฟผ. แรกๆเข้ามาโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย เวียนคืนที่ดิน เพื่อสร้างเขื่อนโดยไม่ได้มีการชี้แจง ทำความเข้าใจถึงผลดี ผลเสีย ผลประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ

ในปัจจุบันกฟผ.ได้ดูแลชาวบ้านได้ดี ชาวบ้านยอมรับ ยกตัวอย่างโครงการแม่ไก่ไข่ 40 ตัว ท่าน ทำให้มีไข่กันทั้งหมู่บ้าน และแนะนำให้กฟผ.ขยายไปยังหมู่บ้านอื่นๆ โครงการนี้ชาวบ้านชอบมาก เป็นบทเรียนที่กฟผ.ต้องเข้าใจ และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกับโครงการต่างๆ

มนตรี ศรีสมอ่อน

27 มีนาคม 2555

อ.จีระ ได้พูดกระตุ้นให้สร้างนิสัยการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี เข้ามาเกี่ยวข้อง พูดถึงกฎ 5 ข้อ ต้องนำไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีคือ

1. ต้องค้นหาตัวเอง

2. ต้องสร้าง Relationship

3. การสื่อสารที่ดีต้องมีภาพที่ดี

4. ต้องเป็นผู้นำที่ดี บริหารความหลากหลาย โดยเฉพาะหลากหลายด้านความคิด

5. วางแผนชีวิตให้สมดุลระหว่างครอบครัวกับงาน มีความสุขกับการทำงาน ตามทฤษฎี 8K’s

และอาจารย์ได้พูดกระตุ้นให้สร้างนิสัย การใฝ่รู้ เรียนรู้ ตลอดเวลา ต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับตัวเอง จัดการกับเพื่อนบ้าน ความหลากหลายของวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลง โลกปัจจุบัน มี Unknown อยู่มาก ต้องรู้วิธีจัดการ

รองผู้ว่าราชการจังหวัด กาญจนบุรี คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ ได้เล่าเรื่องราวของจังหวัดกาญจนบุรี การแบ่งจังหวัดเป็น 3 โซน ปัญหาของจังหวัด แนวทางแก้ไข ปัญหาชนกลุ่มน้อย ปัญหาเขตแดน ได้ให้ข้อมูล แนวคิดและการพัฒนาของพม่า โดยเฉพาะเมืองทะวาย ซึ่งต่อไปก็จะเป็นคู่แข่งของไทย ได้พูดถึงเรื่องปัญหาช้าง และได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ความเห็นของชุมชนต่อผลกระทบกรณีกฟผ.สร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งการเตรียมรับ AEC ของจังหวัดกาญจนบุรี

Panel Discussion

อ.มนูญ ศิริวรรณ

คุณสมภพ พวงจิตต์

คุณวสันต์ สนจิรัตน์

ได้ทั้งมุมมองที่ดีหลายประการ มุมมองของกฟผ.ในการเข้าทำงานในพื้นที่ การทำงานกับชุมชน ข้อบกพร่องต่างๆ ปัญหาอุปสรรคพร้อมให้แง่คิด แนวทางการแก้ปัญหา ตามความเห็นของคุณสมภพ ตัวแทนของกฟผ.

สำหรับ อ.มนุญ ได้ให้แง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานซึ่งปัจจุบันแนวความคิดของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไป คนทำงานจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีปฏิบัติต้องคิดถึงชุมชน การทำงานจะต้องร่วมกันระหว่างภาครัฐ หน่วยงาน และชุมชน ต้องไม่สร้างมลภาวะต่อโลก และชุมชน การพัฒนาต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน ต้องอยู่ได้ด้วยกัน กับวิถีชีวิตของชาวบ้าน การสื่อสารกับชาวบ้านมีความสำคัญ ต้องสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณวสันต์ แสดงความเห็น และเล่าถึงความรู้สึกของชาวบ้านขณะที่กฟผ.เข้ามาสร้างเขื่อน ในตอนแรกชาวบ้านไม่พอใจเนื่องจากไม่มีการอธิบายมีการใช้อำนาจรัฐ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ต่อมามีการเยียวยา ดูแลชุมชนมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านเข้าใจ ให้ความร่วมมือ ปัจจุบันชาวบ้านมีความพึงพอใจในการดูแลของกฟผ. และเสนอให้กฟผ.นำรูปแบบนี้ไปใช้ในกรณีอื่นๆ สำหรับปัญหาในปัจจุบันที่ต้องการให้แก้ไข คือ ปัญหาช้างป่า และไฟไหม้ป่า ซึ่งยังเป็นปัญหา และมีแนวโน้มจะมีมากขึ้นเรื่อยๆหาก กฟผ.สามารถทำให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน มีความไว้วางใจ NGO ก็ไม่สามารถข้ามาแทรกแซงได้

จากการเสวนา ก็ได้มีประเด็นข้อซักถาม การแสดงความคิดเห็นจาก Floor ทำให้ได้บรรยากาศ และได้แง่คิดดีๆ หลายประการ

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กิจกรรมร่วมกับชุมชนบ้านช่องสะเดา

การเสวนา สร้างโมเดล “ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี”

โดย คุณนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี

ผู้นำชุมชน

ตัวแทนกลุ่ม 4 และ 5 จาก EADP 8

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• การเอาชนะคนอื่นได้ต้องรู้เขา รู้เรา

• อาเซียนคืออะไร แล้วจะมีช่องทางอย่างไรที่ทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น

คุณนิอันนุวา สุไลมาน

• พูดในภาพรวมถึงการเป็น AEC โดยสมบูรณ์ในปี 2558 ซึ่งความจริงนั้น AEC มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ WTO ,AFTA, NAFTA ฯลฯ เต็มไปหมด

• AEC เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เศรษฐกิจการค้า ความมั่นคง และวัฒนธรรม

• เดิมอาเซียนรวมตัวด้านความมั่นคงเป็นหลักต่อมามีการพัฒนาในมุมต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการรวมตัวในด้านการเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม

• อาเซียนมี 10 ประเทศ มี 3 แหวน 5 ประตูการค้า

วงแหวนที่ 1 ตลาดอาเซียน

วงแหวนที่ 2 ตลาดอาเซียน + 3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)

วงแหวนที่ 3 ตลาดอาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์)

สำหรับ 5 ประตูการค้า ประกอบด้วย

1. ด้านเหนือ : North Gate เชื่อมด้วยเส้นทางถนน R3 ไทย พม่า สปป.ลาว ต่อไปยังจีนตอนใต้ เป็นระเบียงเศรษฐกิจ North-South Corridor ผู้บริโภคตลาดหลักคือจีน มีถึง 1,300 ล้านคน

o ส่วนเส้นทางของเราเข้าไปคุนหมิง ไปจีนมีเส้น R1 R2 R3

o ของจีนท่าเชื่อมโลจิสติกส์ การส่งออกสินค้าทำได้หมดเลย

o จีนมีหิมะ ทะเลทราย ภูเขา ครบหมดเลย ถ้าเราเอาสินค้าไปขายอาจถูก Copy แล้วส่งมาขายอีกทีหนึ่ง

o ในกลุ่มอาเซียน มีอาเซียน + 3 +6 ความสัมพันธ์ในเรื่องของการทำงานทั้งหมด ถ้าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางได้ การเคลื่อนย้ายจากจีนที่จะเชื่อมเส้นทางต่าง ๆ สามารถวิ่งตรงได้เลย ถ้าทางทวายสำเร็จ ถ้าเปิดเมื่อไหร่ ธรรมชาติการค้าจะไหล ไหลจากสูงไปต่ำ

2. ด้านใต้ เชื่อมมาเลเซียและสิงคโปร์

o ถ้าลงเรือ เข้าสงขลา ด่านสะเดา ถึงท่าเรือไทรบุรี

o ท่าเรือปีนัง - ท่าเรือพอร์ทตรัง เป็นพอร์ทที่มาเลเซียวางยุทธศาสตร์แข่งกับสิงคโปร์โดยเฉพาะ

o ลงมาจากพอร์ทตรัง จะเป็นท่าเรือตันหยงปรมัส ลงมาเลเซีย แล้วขึ้น เป็นท่าเรือดันตระนู ตรงมาอีกเป็นท่าเรืออุราบาซา ห่างจากท่าเรือตากใบของไทยตรงกาลันอุโบ 8 กิโลเมตรเข้าประเทศไทย

3. ด้านตะวันตก เชื่อมพม่า ทะลุออกตลาดต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป แอฟริกา

o ประตูการค้าด้านตะวันตก คือทวายโปรเจค ถ้าประตูช่องนี้เปิดถือได้ว่าเป็นช่องทางธรรมชาติ

o ช่องทางแรกในการเข้าออกพม่าคือ ช่องทางด้านอำเภอสังขละบุรี แต่พม่าปิดด่าน แต่มูลค่า การค้าประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท และมีมูลค่าในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามูลค่า 7 - 8หมื่นล้านบาท ช่องทางด่านเจดีย์ 3 องค์พม่าไม่ให้ออก เป็นเพียงช่องทางผ่อนปรนชั่วคราว ไม่อนุญาตให้คนผ่าน เป็นเพียงให้การค้าเคลื่อนไหวได้เท่านั้น

o ช่องทางสอง คือทวายโปรเจค ประเทศไทยมีโครงการเชื่อมทวายโปรเจคผ่านทางการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกทวาย จะเปิดประเทศสู่เส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก โดยจะมี Transborder Corridor มาเชื่อมโยงกับไทยบริเวณบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เป็น โอกาสในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนกาญจนบุรี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนักในนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนของกาญจนบุรี ถ้าออกไปแล้วเป็นการย่อโลกได้อย่างดี

o หมายเหตุ : การเกิดขึ้นของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า จะส่งผลกระทบกับพัฒนาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราและท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เพราะจะไปแย่งชิงโอกาสในการก่อสร้างท่าเรือเพื่อการขนส่งสินค้าในฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย และจะทำให้ความเป็นได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราน้อยลง

4. ด้านตะวันออก เชื่อมกัมพูชา ทะลุออกเวียดนาม เข้าสู่จีน

o ฝั่งอ่าวไทยมีท่าเรือแหลมฉบังต่าง ๆ มีท่าเรือกัมพูชา

5. ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมลาว เวียดนาม พม่า และเอเชียตะวันออก

• ถ้าอาเซียนเปิดจริง ๆ ความเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตใกล้ตัวมาก ความเป็นอาเซียน เป็น AEC พร้อมจริงหรือ แล้วเราเตรียมตัวอย่างไร

• ควรเรียนรู้เรื่องภาษามาลายู ภาษาพม่า ฯลฯ และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ด้วย

• ถ้าไทยสามารถทำเรื่องภาษาได้ ไทยจะสามารถเป็นตัวเจรจาการค้าได้ดี

• อาเซียนสินค้าผู้บริโภคไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องภาษาจึงเป็นส่วนสำคัญ

• การเตรียมพร้อมในธุรกิจต่าง ๆ ควรทำอย่างไร และกาญจนบุรีต้องปรับตัวอย่างไร

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• สรุปว่าควรเน้นเรื่องภาษา และการแต่งกาย ที่เหมาะสม ให้ดูตัวอย่างคนพม่าที่มาทำงานในเมืองไทยพูดไทยได้ทุกคน

• ภาษาคอมพิวเตอร์ คุยกันรู้เรื่องหรือไม่ ดังนั้น สรุปแล้วว่าภาษาสำคัญมาก

• ไทยควรเน้นเรื่องการขนส่งสินค้า และโลจิสติกส์ เป็นต้น

ตัวแทนกลุ่ม 4 คุณชวลิต

• เฉพาะเรื่องปัญหาในชุมชนก็ยากลำบากอยู่แล้ว และบ่ายนี้มาคุยเรื่องการรวมประชาคมอาเซียนเสรี นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ชุมชนควรศึกษาโดยเฉพาะ

• เศรษฐกิจการค้า การลงทุน การเคลื่อนย้ายเสรี ใน 10 ประเทศ เศรษฐกิจการค้า การลงทุน วัฒนธรรม ร่วมมือกัน และจะพัฒนา 4 เรื่องไปด้วยกันคือ

1. พัฒนาด้านการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ตัวอย่างเช่น กุ้งมังกรกระทบเราหรือไม่ ผลไม้เกษตร การธนาคาร การท่องเที่ยว

2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จะไม่มองเป็นแต่ละประเทศ แต่จะมองในกลุ่มภูมิภาคของประเทศ

3. ลดช่องว่างในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4. การจะบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

• สินค้าที่ชุมชนทำได้มีที่ไหนหรือไม่ที่เขามีศักยภาพเหมือนเรา อาเซียน 10 ประเทศมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ถ้าเรารู้เรื่องการขายสินค้าทางอินเตอร์เนตได้ก็จะช่วยในการพัฒนาประเทศได้ดีขึ้น

• การปรับตัวต้องหาจุดอ่อน จุดแข็งของเรา การพัฒนาภาษา ต้องไปร่วมกับเขาให้ได้

• ความสามารถในการแข่งขันต้องเรียนรู้ ค้นหาตัวเอง พัฒนาตัวเอง พัฒนาลูกหลาน

• การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งมีความรู้ มีต้นทุนมาก ต้องเพิ่มศักยภาพของชุมชนให้มากขึ้นด้วย

• กฟผ. ยินดีที่จะร่วมมือกับชุมชน เพราะกฟผ. มีสถานที่ มีความพร้อมต่าง ๆ คงต้องอาศัยทีมงานของดร.จีระ ของ กฟผ.ที่จะผลักดันให้ไปร่วมกัน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวสรุป

• การเคลื่อนย้ายแรงงาน มีแรงงานต่างชาติมากขึ้น ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นจะทำอย่างไร

• เรื่องชุมชนให้ทำร่วมกันต่อไป

ตัวแทนกลุ่ม 5 คุณณรงค์ศักดิ์

• ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคนต้องรองรับประชากร 600 ล้านคนของประชาคมอาเซียน คำถามคือ เราจะแข่งขันกับเขาได้อย่างไร

• ในแง่ของการเคลื่อนย้ายทุนหรือแรงงาน กฟผ.มีการสร้างความมั่นคง หรือแรงงานรองรับประชาคมอาเซียน เราต้องพึ่งแก๊ซธรรมชาติ 16 %

• สิงคโปร์มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอันดับ 2,3 ของโลก นับเป็นมูลค่ามหาศาล

• เมื่อเปิดโอกาสนี้แล้วสิงคโปร์อาจเข้ามาซื้อหุ้นของการไฟฟ้าได้

• ในพื้นที่ชุมชนช่องสะเดามีปัญหาต่าง ๆ ต้องแก้ไขด้วยชุมชนเองด้วย

• ชุมชนมีจุดแข็ง และจะแก้ไขอย่างไร

• ภาษา วัฒนธรรม ใช่ว่าจะไม่มี ไทยเรามีประเพณีวัฒนธรรมมากมาย ประกอบด้วย บวร. คือ บ้าน วัด โรงเรียน และ บวอ. คือ บ้าน วัด องค์กรต่าง ๆ (ไม่ว่าเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน) จะเข้ามาบริหารองค์กรอย่างไรให้องค์กรเข้มแข็ง ดังนั้นสังคมไทยจึงไม่น่าจะหนีจากตรงนี้ไป

• การจัดการเรื่องความรู้ การอนุรักษ์ ประเพณี และการท่องเที่ยวต่าง ๆ

• การส่งเสริมภาครัฐยังไม่ทั่วถึง ดูเรื่องการบริหารจัดการเทศบาลตำบลหนองสาหร่าย อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

• เรื่องเกษตรกรรม ถ้าเราส่งเสริมอย่างจริงจัง เป็นเกษตรอินทรีย์ ชีวภาพ เราจะอยู่ได้

• วิถีชีวิตความเป็นไทย มีความโดดเด่น ในเรื่องการท่องเที่ยวเขามาเที่ยวเมืองไทย เขาต้องการชื่นชมกับวิถีชีวิต เอาจุดแข็งเรื่องภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านเอามานำเสนอ อย่างกรณีตัวอย่างที่อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ นำมาเสนอคือ หมู่บ้านแม่กำปอง อย่างไรก็ตามจุดสำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

อาจารย์ทำนอง

• การบริหารองค์กรที่ดีของท่านนายกอบต. คือทำที่นี่ให้เป็นตัวอย่างที่ดี

ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี

• ศึกษาเรื่องคนไทยมีความพร้อมในการเตรียมตัวอย่างไร

• ทรัพยากรมีจำกัด เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มที่มีในตัวคนไทยทุกคน ให้แข่งขันใน AEC ได้อย่างไร

• แรงบันดาลใจของการทำวิทยานิพนธ์เรื่องทุนแห่งความเป็นไทย เกิดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนื่อยทั้งชีวิตในการพัฒนาคนไทย

• ความสำเร็จของคนไทยในระดับ World Class ควรใช้ความเป็นไทยในสินค้าและบริการ

ได้ยกตัวอย่าง ก.วัฒนธรรม ที่พยายาม Brand วัฒนธรรมไทยให้จับต้องได้มากที่สุด ไม่ได้เห็นแค่วัฒนธรรมอย่างเดียว แต่เห็นคนไทยที่มีคุณค่าในความไทย ความเป็นคนไทยในการให้บริการจึงเป็น Key ของความสำเร็จทั้งหมด

• ก่อนเข้าสู่ AEC อยากให้รู้เขามากกว่ารู้เราก่อน ให้เริ่มจากการดู Competency เป็นขั้นที่ 1 และหลังจากนั้นให้มองที่การทำ CSR เพิ่มเติม ตัวอย่าง Unconscious in competency ใช้คนไทยเป็นจุดแข็งในการบริการ

• อาเซียนเสรี Thainess เป็นภูมิปัญญาไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ ไทยเป็นประเทศที่มี service mind มากที่สุดในโลก ประกอบกับในเรื่องการแต่งกาย เราก็มีเอกลักษณ์ จึงคิดว่าสามารถนำมาใช้ได้

• สำหรับการแข่งขันในเรื่องสินค้า ประเทศไทยอาจมีมูลค่าทางการค้าเพิ่มไม่มากนัก แต่ถ้าแข่งกับการบริการประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งวันหนึ่งโอทอป สามารถทำแบบนี้ได้เช่นกัน

• ความโดดเด่นในตัวสินค้าสามารถมาจากเรื่องราวที่สร้างมูลค่า สร้างตรายี่ห้อ ให้เลิกมองในระดับโลกนอกจากมองแค่ Local

• สินค้าส่งเสริมสุขภาพสามารถขายอิงกับวัฒนธรรม และภูมิปัญญาได้หมด

• การท่องเที่ยวไทยเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยว เราสามารถสร้างบางสิ่งบางอย่างจากการทำ Story สิ่งเหล่านี้ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าได้

วิธีการสร้างความแตกต่างให้สินค้าและบริการไทยขายได้

1. ความภูมิใจในความเป็นชาติย่อมมาก่อน ตัวอย่างจีน ใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก พัฒนาทรัพยากรมากขึ้น และสร้างBrand ของตัวเอง มุ่งเน้นไปที่สินค้าบริการมากขึ้น

2. สร้างทักษะทางการคิด จิตใจ ทุนทางปัญญาเรามีอะไรแตกต่างจากที่อื่น สิ่งนั้นคือจุดขาย

3. สร้างความแตกต่างของความเป็นไทยขึ้นมา แต่เป็นความเป็นไทยที่ต้องตามโลกให้ทันด้วย ไทยก็สามารถเข้าสู่ World Class ได้เช่นเดียวกัน

• การบริการเราสามารถสร้างได้ภายใน 5 วินาที วิธีการคือเราจะแยกคนกับวัตถุออกจากกัน

• ในชุมชนต้องมี Unique Identity ของชุมชน

• ความเป็นคนไทย คือประเทศไทย ที่ต้องมีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

• การแต่งกายของไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่สามารถนำมาขายได้ พรหมวิหาร 4 เป็นสิ่งที่คนไทยสัมผัสได้ การสร้างความเป็นไทย วิถีไทย เป็นการสร้างความแตกต่างในการเข้าสู่อาเซียน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวสรุป

• บอกว่า ดร.หญิงฤดี เน้น 3 เรื่อง คือ คนไทยเป็นคนที่ Friendly , มีความเต็มใจบริการ (มีจิตใจสาธารณะ) , ความเพียบพร้อมในการบริหารจัดการ

• นอกจากนี้ให้มองเรื่องตัวสินค้าด้วย

• การประทับใจครั้งแรก เรื่องการยิ้ม

• คนไทยมี 4 F - Fun,Friendly,Family,Flexible

ดังนั้นความเป็นไทยของคนไทยเข้มแข็ง ต้องรู้ว่าสินค้าคืออะไร สินค้าในชุมชนคืออะไร

ผู้ใหญ่บ้าน คุณวสันต์

• อาเซียนเสรี ถ้ามองถึงโครงการทวายโปรเจคใกล้เข้ามาทุกที มีผลกระทบอะไรบ้าง ชุมชนช่องสะเดาในเรื่องการท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อช่องสะเดา กับ ด่านเจดีย์ 3 องค์ได้ และนอกจากนั้นยังเชื่อมต่อช่องทางอื่น ๆ ได้เช่นกัน

• เรื่องอาเซียนสิ่งที่ห่วงมากที่สุดคือภาษา และนับเป็นโอกาสที่ดีของผู้บริหารและผู้ที่จะขึ้นบริหาร ให้ส่งครู หรือผู้ที่เก่งภาษาลงมาสอนให้ชุมชนช่องสะเดาได้เรียนรู้ เพราะว่าถ้าชุมชนช่องสะเดาไม่รู้เรื่องภาษาอาจทำให้ชุมชนเสียโอกาสได้

• ถ้าโครงการนี้ทำร่วมกับกฟผ.สำเร็จ ก็จะเป็นครอบครัวเดียวกัน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่สอนภาษาอาเซียน ตัวอย่างคือ ม.นเรศวร สอนภาษาพม่า

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

• บอกว่าก่อนอื่นต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนว่า AEC คือการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก เป็นหนึ่งเดียว ทำให้ประชาคมอาเซียนเข้มแข็ง สามารถธำรง สันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ไว้ได้

• ก่อนอื่นคือ10 ประเทศต้องมาคุยกัน ให้เกิดความเสมอภาค และให้มีความเข้าใจเหมือนพี่น้อง เน้นในเรื่องการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมร่วมกัน การเสริมสร้างความร่วมมือกับภายนอกและพัฒนาประเทศ

• 3 เสาหลักคือ เสาความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ให้มองว่าเราทำการค้าแบบไหน แบบยุติธรรม แฟร์ ไม่ปิดกั้น การลดข้อจำกัดต่าง ๆ ออกไป ทำให้เกิดการแข่งขันเสรีจริง ๆ ในอีกมุมหนึ่งนั้น AEC เป็นการทำให้เกิดผลดีขึ้น การแข่งขันทำให้คนในประเทศสามารถพัฒนาเพื่อสู้และแข่งขันกับคนต่างชาติได้

• ประเด็นคือรู้จัก AEC กันจริงหรือไม่

• เมื่อเราเกิดปัญหาขึ้นมารัฐไม่สามารถเกี่ยวข้อง

• ประเทศไทยก่อนเซ็นสัญญาตรงนี้ได้ต้องเข้าใจสภาพก่อน ให้เชื่อใจในแต่ละคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบอันนั้น

• ใครบ้างได้รับผลกระทบจาก AEC การค้า แรงงาน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ชุมชนมีผลกระทบอะไรบ้าง

1. มีนักลงทุนเข้ามา

2. มีแรงงานต่างชาติเข้ามา

o ถ้าเปิดเสรีเมื่อไหร่ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็มที่ เช่นสามารถบริโภคกระเทียมจีนซึ่งใหญ่กว่าไทย

o ยารักษาโรคมาจากเมืองไทย ราคาสูง แต่ยารักษาโรคจากอินเดียราคาต่ำ กว่าเป็นต้น

3. ภาคเอกชนไทย มีความสามารถในการปรับตัวมากน้อยแค่ไหน

o รัฐเองต้องเข้ามาดูแลมาช่วย

o เราตั้งรับอย่างเดียวไม่ได้แล้ว

o สามารถสร้างพันธมิตรได้ โดยการ Co กับเขมร เวียดนาม พม่า ลาวเป็นต้น แต่ปัญหาคือชาติอื่นที่ไม่ใช่อาเซียนจะสวมสิทธิ์ในการเข้ามาลงทุน 70%

o การ Move เคลื่อนย้ายคนงานมาจากระดับสูง ไม่ใช่ระดับล่าง แล้วต้องมีการสอบ

o คนไทยควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

o เรามีความพร้อมในตัวของเราเองมากน้อยแค่ไหน

o มีหลายหน่วยงานที่ต้องวางแผน เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เรียนรู้จากของจริง ปฏิบัติแล้วอย่าไปลอกเขามา

o สังคมไทยส่วนใหญ่เป็นไปตามกระแส ไปเอาระบบทุนนิยมเข้ามา ดังนั้นสังคมจึงเป็นตัวกำหนด

o ต้องให้คนอายุ 45 ปีลงมาเป็นตัวขับเคลื่อนแล้วทุก ๆ ภาคส่วนต้องช่วยกัน

o เรื่องภาษาเป็นตัวหนึ่งที่พยายามพูด อย่างเช่นภาษากลางของอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษ ทำไมไม่พยายามขับเคลื่อนภาษาไทยเป็นภาษากลาง ภาษาอังกฤษอยู่กับการใช้แต่พูดไม่ได้เพราะไม่ได้ใช้

o ภาษาที่สำคัญที่สุดคือ Service language Model (ภาษามนุษย์) ภาษามาทีหลังได้

ความคิดเห็นจากกฟผ.

การชี้แจงวัตถุประสงค์ อยากทราบแผนที่เป็นรูปธรรม

ตอบโดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

o เอกสารมีการออกกรอบต่าง ๆ มา การประชุม 10 ประเทศ มีการตั้งกรรมการรวมกันอย่างไร ซึ่งแต่ละประเทศจะรับรอง

o การเคลื่อนย้ายแรงงานคือทางผ่านของการค้ามนุษย์

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• กรอบความคิดของอาเซียนเสรี มี 3 เสาหลัก คือความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่ร่วมกัน 3 เรื่อง เศรษฐกิจมีอยู่ 2-3 กรอบ คือการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี

• เรื่องวัฒนธรรมทำให้เป็นหนึ่ง การพัฒนาอะไรก็ตามถ้าขาดวัฒนธรรมที่ยั่งยืน

คุณนิอันนุวา สุไลมาน

• ได้โจทย์มาในวันนี้ต้องเรียงเป็นขั้นเป็นตอน

• การเป็นชุมชนโมเดล กติกาต่าง ๆ ปี 2558 ที่เกิดขึ้นไม่ต้องกังวล เพราะจะมีมาตรการกีดกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เรามีวิธีไม่ต้องกังวล

• สิ่งที่คิดอะไรแล้วในการทำการค้า คิดแล้วทำเลยอย่ารอ ถ้ารอคนอื่นทำหมด

• ถ้าพูดถึงเรื่องความมั่นคง แล้วบอกว่าเศรษฐกิจไม่ต้องทำนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

• ชุมชนในท้องถิ่นต้องเป็นตัวนำ คิดจากตัวเขาเอง คิดจากพื้นที่ชาวบ้าน ท้องถิ่นต้องเป็นผู้นำ 100 % ในการเปลี่ยนแปลง

• เมืองกาญจน์มีสถานที่ท่องเที่ยวในหลายส่วน มี13 อำเภอ มีโซนกาญจนบุรีอีสาน อุทยาน และพื้นราบ ดังนั้นสิ่งที่อยากให้ชุมชนทำคือทำความเข้มแข็งที่มีอยู่ การทำ ลองสเตย์ เป็นต้น

ตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องการทำการค้าคือ พบว่ามีโรงงานรองเท้า ฮัทปัปปี้อยู่ที่ด่านสังขละบุรีด่านเจดีย์ 3 องค์ มี 18 โรงงาน มีคนงานเป็นพม่าเกือบทั้งหมด และส่งออกทั้งหมด มูลค่ามหาศาล

• ดินเมืองกาญจน์ดีที่สุดในโลก

• เวลามาเที่ยวเมืองกาญจน์หน้าหนาวไปไหน หน้าฝนไปไหน แล้งไปไหน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• ทุกอย่างในเมืองกาญจน์มีอยู่แล้วเพียงแต่จะดึงอะไรออกมาเท่านั้น

ตัวแทนจากกฟผ.

อาเซียนเสรีชุมชนจะได้อะไร ?

• การที่จะให้ชุมชนเดินเองโดยไม่มีการชี้นำ อาจเกิดความสับสน ดังนั้นต้องมีการบูรณาการระดับจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ต้องทำแผนเป็นรูปธรรม มีทิศทางในการวางแผนให้เป็นกรอบ ไม่เช่นนั้นแล้วการเดินจะสะเปะสะปะ และเสียทรัพยากรเยอะ

• กาญจนบุรีแบ่งเป็น 3 โซน การวางแผนในแต่ละโซนไม่เหมือนกันจึงควรวางและชี้ทิศทางในแต่ละที่และชี้แนะชุมชนด้วย เขามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร

• แล้วถ้าสามารถบูรณาการได้จะเป็นทิศทางที่จังหวัดสามารถสนับสนุนได้ด้วย กฟผ.จะเป็นส่วนช่วยในการสนับสนุนตรงนี้

• ผู้นำชุมชน อบต.ผู้ใหญ่บ้าน กำนันต้องช่วยการไฟฟ้าในการวางแผนการทำงานร่วมกัน แต่ทิศทางต้องมาก่อน คุยให้ลงตัวก่อนไม่เช่นนั้นจะสะเปะสะปะ โดยไม่ใช้ทรัพยากรเท่าที่ควร

• สรุปคือต้องมีแผนที่เป็นรูปธรรมแล้วลงมือปฏิบัติ

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

สรุป ต้องมีจุดเด่นของตัวเองและมีแผนในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

ตัวแทนจาก กฟผ.

• ทำบวร. และ บวอ. ให้เข้มแข็ง บ้าน ศาสนา องค์กร โรงเรียน เข้มแข็ง สิ่งนี้คือเสน่ห์ในการสร้างมูลค่าและสิ่งต่าง ๆ มากมาย ส่งผลต่อตำบล และอำเภอ ของประเทศไทย สามารถใช้นโยบาย CSR ในการเร่งรัด สร้างองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เสริมเพิ่มเติมเข้าไป

• การศึกษาทำอย่างไรให้มีครูภาษามาสอน

• คิดเล็กสลับคิดใหญ่ คิดใหญ่สลับคิดเล็ก

• เน้นเรื่องต้นแบบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงทำงานหนัก เป็นพระองค์แรกที่ได้รางวัลจากนายโคฟี่อานันเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

• ไทยมีการแข่งขันในด้านฟิสิกส์ เคมี ชีว ก็ได้ที่หนึ่งดังนั้นไม่ต้องกลัวถ้าคนไทยตั้งใจจริงจัง สามารถทำได้หมด แต่ขอเน้นเรื่องความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่องก็จะไปได้แน่นอน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• ชุมชนเก่งตรงไหน เติมที่ขาดส่งเสริมส่วนที่ดี

ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี

• ภาษาอังกฤษเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ แต่เป็นการเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลง

• ภาษามีหลายตัว แต่เรามีภาษาบริการเข้มแข็งเพราะเราเป็นคนไทย เริ่มที่ Service Mind เอาใจเขามาใส่ใจเรา พร้อมที่จะแบ่งปัน และขับเคลื่อนร่วมกันไป

• ภาษากาย การยิ้ม การไหว้ การแต่งกาย เราสามารถสร้างความแตกต่างได้

• การขับเคลื่อนสินค้าในชุมชน ให้มองในปัจจัย 4 อยากฝากให้ดูสินค้าในชุมชนแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร สินค้าในจังหวัด ยืมมาใช้ได้ ความเป็นไทยยืมมาใช้ได้

• สินค้าแยกประเภทเป็นอาหาร คนอื่นเข้าใจเหมือนกันคือปัจจัย 4 ภายใต้อาหารมีอาหารท้องถิ่น มีอาหารพื้นบ้านอะไร เรามีอะไรที่ต่างจากเขา เช่นปลูกข้าว อาจขายข้าวเป็นยา เป็นสบู่ ผ้าขาวม้าใครคือเจ้าของภูมิปัญญาในอดีต เช่นคุณยายเอี่ยมทำขนมจากเห็ดโคน แล้วจดชื่อไว้เป็นแบรนด์ท่าน อาจจดเป็นสินค้าท่านอาจมี 100 แบรนด์ขึ้นมาเป็นต้น ทางชุมชนจะรู้ดีที่สุดว่าควรทำอะไร ลองคิดให้ดี

• ที่อยู่อาศัย บ้านโรงแรม เครื่องประดับตกแต่ง ชุมชนจะเข้มแข็งได้ ต้องหาจุดขาย จุดแข็ง ที่ชุมชนมี แล้วคนอื่นไม่มี ไม่ต้องกลัวคนเลียนแบบเพราะไม่มีใครลอกเลียนแบบการบริการของเรา

• เวลาขายให้ใช้สัมผัสทั้ง 6 แต่ประเทศไทยมีมากกว่านั้นคือจิต ให้เข้าใจถึงผู้บริโภคแล้วไม่รู้ลืม การสร้างความประทับใจนั้นต้องสร้างภายใน 5 วินาทีแรก ถ้าสร้างไม่ทันจะลำบาก

• Packaging หีบห่อ ต้องมองเห็นได้ใน 5 วินาที เป็นสิ่งที่ได้กลิ่น ได้เห็น ได้ยิน และรส สิ่งเหล่านี้มีอะไรพิเศษมาผสมกัน จะรู้สึกชอบและประทับใจ แต่ไม่รู้ว่าประทับใจตรงส่วนไหน บอกได้แค่ว่ารู้สึกชอบจริง ๆ

• GNH (Growth National Happiness)

โมเดลอยากให้เริ่มจากองค์กรของท่านก่อน แล้วต่อไปจะไม่ลืมโมเดลชิ้นนี้

1. เรามีการบริการที่ดีที่สุดในโลก

2. ขายสินค้าวัฒนธรรม ชุมชนมีวัฒนธรรมคืออะไรก็ขายได้

3. เมื่อขับเคลื่อนแล้ว องค์กรจะเป็นวัตถุดิบในการขับเคลื่อน ทั้งสมอง จิตใจ และภาษากาย แสดงออกมาเป็น Self Presentation ก่อนอื่นต้องพูดกับตัวเองก่อน เช่น อ่านชาร์ดการใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าพูดว่าทำได้ท่านจะทำได้ เอาความจงรักภักดีมาเป็นพลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่เข้าสู่สังคม พลังคนไทย พลังความเป็นไทย สังคมในการเข้าสู่อาเซียน แล้วแบ่งปันความรู้เหล่านี้เข้าสู่อาเซียน เข้าสู่ World class แล้วจะรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ถ้าวางแบรนด์ตัวนี้ได้จะสามารถสร้าง Competitiveness เป็น Brand ขับเคลื่อนสู่รัฐบาล และ AEC รูปแบบใหม่

4. ที่สำคัญชุมชนต้องเข้มแข็ง มีส่วนร่วมและทำก่อน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

คิดอะไรก็ตามต้องปฏิบัติให้ได้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

• เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหมด แต่เราต้องเรียนรู้ทุกวัน จากการปฏิบัติ การสังเกต แล้วนำไปพัฒนาให้เกิดมูลค่าขึ้นในทุกวัน

• คนไทยมีทุกอย่างเยอะ จึงไม่ค่อยมีอะไรมาบีบคั้น กลายเป็นนิสัยที่เคยชิน

• ยุคต่อไปทุกหน่วยงาน ทุกแห่งต้องช่วยกันดำเนินการแบบบูรณาการทั้งหมด

• อย่างไรก็ตามเริ่มที่ตัวเองก่อน เป็นการสร้างฐาน

• ถ้าชุมชนตั้งใจจริงและทำงานจริง ๆ ต้องอดทนและทำอย่างจริงจัง

• แต่ละกระทรวงมีแผนของกระทรวง ไม่มีงบประมาณ ไม่มีคนให้ ชุมชนเป็นตัวสำคัญ เราต้องเปลี่ยนกระบวนการ ชุมชนง่ายกว่า แล้วมีหน่วยงานโดยตรงที่จะติดตาม ชุมชนไม่ต้องกลัว กฟผ.เป็นตัวประสานและตัวเชื่อมสร้างความรู้ให้กับชุมชน ท่านต้องการอะไร และมีอะไร และต้องทำต่อเนื่องอย่างจริงจัง

• ต่อไปเอาเรื่องอะไรก็จัดอบรมเรื่องนั้น แต่ทำอะไรอย่าทำแค่ขอให้ได้ทำ ทำแบบผักชีโรยหน้าแล้วจบ แต่ต้องทำแบบต่อเนื่อง แล้วต่อไปวางแผนว่าจะทำอย่างไร ขอเป็นตัวประสาน เป็นแกนกลางในการพัฒนาผลต้องเป็นรูปธรรม

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

สรุปการเปิดอาเซียนเสรีมีทั้งโอกาสและการคุกคาม

1. ลูกค้า

2. เทคโนโลยี

3. ภูมิปัญญา

คุกคามในเรื่องการบริหารความเสี่ยง

สิ่งที่ควรทำคือสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง

ความคิดเห็นจาก กฟผ.

กฟผ.มีความเต็มใจในการช่วยเหลือในส่วนที่เป็นไปได้อยู่แล้ว แต่บางเรื่องกฟผ.ต้องเข้าไปดูรายละเอียดในการประสานกับหน่วยงานที่ดูทางด้านนั้น แต่อาจรับไม่ได้ทุกเรื่อง แต่สามารถช่วยในการประสานให้

ผู้ใหญ่บ้านวสันต์

• ฝากเรื่องการศึกษา จริง ๆคือเรื่องภาษาที่อยากได้เสริม อย่างเช่นเวลาฝรั่งมาอยากให้ชาวบ้านพูดคุยได้บ้าง

• เรื่องการลงชุมชน บางหน่วยงานลงมาเพื่อร่วมพูดคุยปัญหากับชุมชน ถ้าลงมาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่ามีสมอง ให้รับทุกปัญหา ให้แกล้งโง่บ้างจะได้รับปัญหาที่แท้จริง

28 มีนาคม 2555 ชวลิต ตั้งตระกูล

ได้ไปเยี่ยมชม อบต.ช่องสะเดา และร่วมฟังการเสวนา เรียนรู้ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชนสร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ
ตัวแทน EADP กลุ่ม 1-3 ให้ความเห็นปัญหาไฟป่า และช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลของชาวบ้าน โดยผู้ใหญ่บ้านได้นำไปชมพื้นที่จริงที่ช้างลงมาทำลายพืชผล ซึ่งทางกรมป่าไม้ได้ทำรั้วไฟฟ้ากับช้างแต่ก็ไม่สามารถกันได้ ต้นเหตุของปัญหา คือช้างขาดน้ำในหน้าแล้ง
ผู้อำนวยการฝ่ายเขื่อนศรีนครินทร์ เสนอให้ร่วมกันปลูกป่า ทำฝายชะลอน้ำ เพื่อทำให้ป่าสมบูรณ์จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและน้ำของช้าง อีกทั้งประชาชนจะได้ประโยชน์จากป่าด้วย
ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อม กฟผ. ให้ความเห็นว่าต่อไปหาก กฟผ. จะทำโครงการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จะต้องทำความเข้าใจถึง ผลได้ ผลเสีย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
ผู้นำชุมชน  ได้เสนอว่าหากกฟผ.ให้ความรู้ความจริงกับชาวบ้านแต่ต้น จะไม่มีการต่อต้าน ส่วนมากที่ต่อต้านจะมาจากคนนอกพื้นที่ แนะนำให้กฟผ.ใช้อดีตมาเป็นบทเรียน และขอให้กฟผ.ช่วยเหลือเลี้ยงอาชีพเสริม
พัฒนาชุมชน  แจ้งว่ามีโครงการสูบน้ำด้วย ไฟฟ้า และการเกษตรหาดใหญ่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากค่าไฟฟ้าสูบน้ำดังกล่าวแพงมาก อบต.ไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าไฟฟ้า จึงเป็นโครงการร้างอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้านได้พาคณะEADP ไปดูสภาพที่จริง น่าเสียดายงบประมาณของประเทศ และยังบอกว่ามีอีกหลายโครงการขณะนี้ที่กรมชลทำแล้วใช้การไม่ได้  ช่วงบ่ายมีการเสวนาเรื่อง สร้างโมเดล ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี
EADP 8 กลุ่ม 4,5 ร่วมให้ความเห็นโดยขอให้จังหวัด อำเภอ อบจ. อบต.  ให้ผู้ใหญ่บ้านร่วมกันหาจุดอ่อน จุดแข็ง แล้วทำแผนร่วมกัน
ผู้นำชุมชน ต้องการให้กฟผ.ช่วยพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ
ดร.หญิงฤดี  นำเสนอ First Impression Language เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของคนไทย ซึ่งจะทำให้สินค้าด้านบริการของไทยก้าวสู่ระดับโลกได้

สิ่งที่เรียนรู้ในช่วงวันที่ 27-29 มีนาคม 2555

วันที่ 27 มีค. (เช้า) - ได้รับฟังผู้แทนจากแต่ละกลุ่มสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือ 2 เล่มที่ อ. จีระฯ มอบหมายให้อ่าน - ได้รับฟังแง่คิดจาก อ.จีระฯ เกี่ยวกับการเป็นผู้นำในยุค digital ว่าจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหาตัวเองและสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่าย ซึ่งหมายรวมถึงคนในชุมชนด้วย นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องบริหารจัดการความหลากหลาย ซึ่งความหลากหลายที่บริหารยากที่สุด คือความหลากหลายทางความคิด

แต่แม้จะอย่างไร ผู้นำก็ต้องสร้างสมดุลของชีวิต ให้มีความสุข เพราะความสุขคือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของชีวิต

วันที่ 27 มีค. (บ่าย) - ได้รับฟังการวิเคราะห์เรื่องการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน จากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ผู้บริหาร กฟผ. และผู้ปกครองในท้องถิ่น ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น อาทิ สภาพเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาของจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดที่มีทุนทางวัฒนธรรมอยู่มาก ปัญหาของชุมชนใกล้เขื่อนท่าทุ่งนา การเตรียมการและการรับรู้ของชุมชนในเรื่องประชาคมอาเซียน ที่มีผลต่อประเทศสมาชิกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคง ที่สำคัญคือ มีการเน้นย้ำแนวทางการเข้าถึงชุมชน และสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ชุมชนและ สังคมด้วยการทำให้สังคมเข้มแข็ง โดยอาจสร้างอุดมการณ์ร่วมระหว่าง กฟผ. กับชุมชน และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนยังขาดอยู่ แต่ไม่ควรถึงกับกำหนดวิธีการให้เดิน และไม่ใช้แต่เงินในการพัฒนา เพราะเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ชีวิตต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 55, 56 , 66 และ 67 ควรให้ความใส่ใจในการสื่อสารกับชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และแบ่งปันผลประโยชน์ และให้ความสนใจแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของ กฟผ. ให้มาก และแนวทางที่จะให้การพัฒนาพลังงานเป็นไปด้วยดี ควรสร้างการยอมรับและร่วมมือกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐ ผู้ประกอบการ และ NGO วันที่ 28 มีค. - ได้ร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน และชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี ได้เรียนรู้สาระสำคัญจาการเสวนา ดังนี้ - การทำงานด้านชุมชนสัมพันธ์ ควรมองปัญหาระยะยาว ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาระยะสั้นๆในทุกกรณี - ในอนาคต กฟผ. อาจให้ความรู้ด้านอื่นๆแก่ชุมชนนอกจากเรื่องการผลิตไฟฟ้าด้วยก็ได้ เพราะ เท่ากับช่วยสร้างทุนมนุษย์ให้แก่สังคมไทย

  • ปัญหาของชุมชน บางปัญหาต้องมีการประสานกันระหว่างหลายๆชุมชน เพราะลำพังชุมชนใดชุมชนหนึ่งอาจแก้ปัญหาไม่ได้ เช่น ปัญหาไฟป่า ควรใช้หลักการภูมิสังคมตามพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
  • ในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ต้องเรียนรู้ว่าป่านั้นมีประโยชน์อย่างไร จากนั้นจึงทำแผนร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น พื้นที่ยอดเขาถึงกลางเขา ทำฝายชะลอน้ำ กลางเขาถึงเชิงเขา ปลูกต้นไม้ ถัดจากนั้น สร้างอ่างเก็บน้ำ สร้างเขื่อน
  • เป้าหมายภายใน 3 ปี คือ จะไม่มีไฟป่าในแถบนี้ และมีการอนุรักษ์พันธุ์พืชตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ
  • ในการทำ social mapping ทราบว่าในท้องที่ตำบลช่องสะเดา มีเห็ด หน่อไม้ และผักหวาน ต่อไปจะสำรวจว่า ชาวบ้านมีความต้องการใช้ประโยชน์จากพืชเหล่านี้เพียงใด หากต้องการ อาจจะต้องกำหนดกติกาที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืน เช่น จะเข้าไปเก็บพืชเหล่านี้ได้ในช่วงเวลาใด และเข้าไปได้บ่อยเพียงใด เป็นต้น
  • ทางด้านพลังงานจังหวัด ก็ได้มีการมอบหมายให้ทำแผนชุมชน และพบความต้องการว่าชุมชนต้องการการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี เช่น เตาเผาถ่าน เตาย่างไก่ไร้ควัน ตู้พลังงานแสงอาทิตย์ และหลายหมู่บ้านมีสินค้า OTOP ที่มีผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานเป็นประจำ
  • พลังงานจังหวัดให้การส่งเสริมการทำก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน แต่ส่งเสริมเฉพาะผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งมูลสัตว์ 1 กระป๋องสี ใช้ทำ LPG ที่ใช้ได้ 4 ชั่วโมง
  • ในอดีตที่ผ่านมา กฟผ. ดูแลชุมชนเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ แต่ค่อนข้างน้อย ชุมชนกับ กฟผ. มีความรู้คนละด้าน และชุมชนไม่ได้รับรู้ความจำเป็นในภารกิจของ กฟผ. แต่ในปัจจุบันทุกประเทศกำลังพัฒนาพลังงานเพื่อให้ประเทศมีศักยภาพ คนไทยก็ควรพัฒนาให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านด้วย
  • ชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลช่องสะเดา ต้องการการสนับสนุนในการให้ความรู้เรื่องการปลูกต้นไม้ และส่งเสริมให้บุตรหลานชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของรัฐ ได้มีการศึกษามากขึ้น
  • ชุมชนสามารถร่วมสร้างและขับเคลื่อนประเทศโดยใช้ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรมของชาติโดยเน้นการใช้เอกลักษณ์ไทยโดยเฉพาะภาษากายที่มีเสน่ห์แบบไทยๆ เป็นสื่อในการให้บริการ วันที่ 29 มีค.
  • ได้เรียนรู้ตัวอย่างการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ต. บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
  • ได้รับทราบรายละเอียดของโครงการต่างๆที่ผู้นำชุมชนจัดทำร่วมกับชาวบ้านในชุมชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากบริษัทในเครือซีเมนต์ไทยซึ่งผู้นำชุมชนทำงานอยู่ รวม 5 โครงการ ได้แก่
             -    โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงแม่กลอง
             -    โครงการพลังงานทดแทนแก๊ซชีวภาพ
             -    โครงการแปลงผักลอยน้ำเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง
             -    โครงการขุดคลองไส้ไก่ชะลอน้ำเสียชุมชน
         -   โครงการจัดทำทางเดินด้วยอิฐบล็อกประสานจากเถ้าถ่านหิน
    
    

29 มี.ค. 55 ได้เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์กับชุมชนท่าน้ำชุกโดน ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีประชากร 210 ครัวเรือน 1280คน ส่วนใหญ่ยากจน ปัญหาคือปล่อยของเสียลงแม่น้ำ และลุกล้ำลำน้ำ คุณบำเพ็ญ ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทไทยเปเปอร์ในเครือSCGได้รับการคัดเลือกเป็นประธานชุมชนดังกล่าวได้ร่วมมือกับเพื่อนๆพนักงานในเครือSCG 3-4คน จัดทำโครงการแก้ปัญหาชุมชน 5 โครงการโดยของบประมาณจาก”มูลนิธิปันโอกาศวาดอนาคต”ของ เครือSCG ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนให้พนักงานทำโครงการช่วยเหลือสังคมโครงการละไม่เกิน 100,000 บาทโดยมีคณะกรรมการกลั่นกลองอนุมัติและติดตามประเมินผลโครงการ ทั้งนี้พนักงานต้องทำด้วยความสมัครใจไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ จะมีก็เฉพาะความภาคภูมิใจ โดยSCGจะจัดให้มี CSR DAYเพื่อให้พนักงานได้นำเสนอผลงานแลก เปลื่ยนเรียนรู้กัน

                       5 โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 
             1.ปี 2550 โครงการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงแม่น้ำ จัดทำถังกรองเศษอาหารแจกทุกครัวเรือน
                   2.ปี 2551 โครงการนำเศษอาหาร(จากโครงการที่1.)มาหมักผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติ 
                  3 ปี 2552 โครงการแปลงผักลอยน้ำโดยนำผักตบชวามาทำเป็นแปลงผักลอยน้ำปลูกผักบุ้ง เนื่องจากบริเวณท่าน้ำดังกล่าวมีผักตบชวามาก
                   4.ปี2553โครงการขุดครองใส้ไก่ เพื่อให้น้ำเสียไหลวกไปเวียนมาชะลอให้สัมผัสอ๊อกซิเจนมากขึ้นก่อนปล่อยผ่านบ่อชีวบำบัดโดยใช้ต้นพืชธูปฤษีบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงแม่น้ำ
                   5. ปี2554 โครงการทำทางเดินด้วยอิฐบล๊อกประสานจากเถ้าถ่านหิน โดยใช้เถ้าถ่านหินจากโรงงานกระดาษไทยเปเปอร์ที่ทำงานอยู่ เพื่อป้องกันการลุกล้ำที่แม่น้ำของชุมชน
             จากการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชน มีผลพลอยได้คือกลายเป็นแหล่งเยี่ยมชมและท่องเที่ยวทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
           จากบทเรียนดังกล่าวจะเห็นว่าโครงการ CSR ต่างๆจะสำเร็จได้ต้องเป็นโครงการที่ชุมชนต้องการ เห็นด้วย และเป็นประโยชน์กับชุมชนส่วนใหญ่จริงๆ จึงจะได้รับความร่วมมือและเอาใจใส่ดูแลรักษาให้ยั่งยืน 
                          ดังนั้นก่อนที่จะทำโครงการCSR  จิตอาสาต้องเข้าใจ เข้าถึงชุมชนนั้นๆอย่างจริงจังจึงจะรู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง   จึงจะ ได้      โครงการที่เค้าอยากได้ ไม่ใช่โครงการที่เราอยากทำ

                                              ชวลิต  ตั้งตระกูล
                                               ช. อรม-1.

27-29 มี.ค.55 ที่เขื่อนท่าทุ่งนา ในหลักสูตร “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม”วันแรก ภาคเช้า - ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์ วิจารณ์ หนังสือ 2เล่ม ของอาจารย์คือ HRพันธ์แท้ และ8K’s+5K’sและมีสิ่งใดจะนำมาใช้ประโยชน์กับ กฟผ. แต่ละกลุ่มมีมุมมองที่หลากหลายต่างกันออกไป ทำให้เราได้เห็นมุมที่ต่าง ได้ประโยชน์ดีมากค่ะภาคบ่าย - ฟังวิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง จากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดทำให้ทราบว่า ตอนนี้พม่ากำลังมาแรง จากโครงการขนาดใหญ่ ท่าเรือน้ำลึก และทวายProject ที่กำลังรุกคืบเข้ามาผลกระทบที่กำลังจะตามมา ที่นิ่งนอนใจไม่ได้แล้ว การเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแน่นอน ว่า มีทั้งโอกาส และปัญหาเข่น การเคลื่อนย้ายแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุน ปัญหายาเสพติด เป็นต้น เมืองกาญจน์ จะเป็นประตูสู่ตะวันตก ต่อจากนั้น เป็นการเสวนา เรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน ที่มีตัวแทน กฟผ. ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักวิชาการด้านพลังงานจากเดิม กฟผ. อาจมองด้านเดียว โดยจะเป็นการให้ที่ไม่ได้ถามผู้รับ การลงเงิน ลงแรงด้าน CSR จึงไม่ประสบผลเท่าที่ควรวันนี้จึงเห็นว่า การสื่อสาร ทำความเข้าใจกัน อย่างจริงใจ เพื่อให้ได้ใจชุมชน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก โครงการในอนาคต ของ กฟผ.จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อยู่ที่การสร้างความเข้าใจกับชุมชน อย่างตรงจุด ตรงประเด็น ให้เป็นที่ยอมรับ การลงพื้นที่แบบฝังตัวกับชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่จำเป็น ต้องแลกใจกัน นอกจากนี้ยังเห็นว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนน่าจะมีประโยชน์ ที่จะนำแนวทางที่ดีในการแก้ปัญหาชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาแลกเปลี่ยนกัน

วันที่ 2 - วันนี้ลงชุมชนแบบเจอของจริง ที่บ้านช่องสะเดาภาคเช้า - ตัวแทน EADP#8 กลุ่ม1 กลุ่ม2 และกลุ่ม3 ขึ้นเวที ร่วมเสวนา กับผู้นำชุมชน , ตัวแทน ภาครัฐ(ผู้แทนพลังงานจังหวัด) , ตัวแทน กฟผ.(อขศ. และ อสล.)ในหัวข้อ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ การเสวนา ที่มีตัวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาจับเข่าคุยกัน มีประโยชน์มากค่ะ มีการนำเสนอปัญหาจริง ช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ปัญหากันจริงๆ พอจบการเสวนา มีผู้รับที่จะช่วยกันแก้ปัญหาภาคบ่าย - ตัวแทน EADP#8 กลุ่ม4 และ กลุ่ม5 ขึ้นเวที ร่วมเสวนา กับผู้นำชุมชน , ตัวแทนภาครัฐ(พาณิชย์จังหวัด) , ตัวแทน นักวิชาการ ( ดร.หญิงฤดี และ ม.ล.ชาญโชติ)ในหัวข้อ ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียน เสรี โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ชุมชนต้องเตรียมพร้อม และเห็นว่า การท่องเที่ยวและสินค้าเชิงวัฒนธรรมน่าจะเป็นจุดขายที่ดีความเป็นไทยยังขายได้ เช่น อาหารไทย สินค้าพื้นเมือง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริการแบบไทยๆ ความมีมิตรไมตรี และการต้อนรับด้วยรอยยิ้ม ในมุมของชุมชน ยังต้องการการสนับสนุน เรื่องการพัฒนาด้านภาษา ต่อจากนั้น ได้เดินทางไปดูพื้นที่จริง ดูไก่ไข่ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กฟผ. ดูแนวป้องกันช้างป่าที่ผู้ใหญ่วสันต์ ว่าไม่ได้ผล ดูสถาณีสูบน้ำที่ลงทุนมากมายแต่ชาวบ้านไม่กล้าใช้เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ

วันที่ 3 - เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง ที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ผู้นำชุมชน เป็นพนักงานของบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ทางบริษัทฯ ตั้งมูลนิธิ เพื่อสนับสนุนทุนให้พนักงานเสนอโครงการรักบ้านเกิด เพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน โครงการที่ดีมาก มีการเชื่อมโยงต่อเนื่อง จากแนวคิดที่ต้องการบำบัดน้ำเสียของชุมชนใช้เวลาไม่มาก สามารถเห็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็นที่สวยงาม และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ น่าสนใจที่จะนำมาเป็นแบบอย่างมากค่ะขอสรุปว่า เป็น 3 วันที่คุ้มค่ามากค่ะ ได้เรียนรู้ปัญหาชุมชน ได้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชน อย่างยั่งยืน ที่น่าจะนำมาปรับใช้กับกฟผ.ได้

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

เปรียบเทียบหนังสือ 2 เล่ม ความเหมือนของหนังสือ 2 เล่ม คือ พูดถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยใช้ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s สร้างการเรียนรู้ พัฒนาให้เป็นคนดี และคนเก่ง ความแตกต่างของหนังสือทั้ง 2 เล่ม HR พันธ์แท้ เป็นการเขียนในแนวสัมภาษณ์ และเน้นเรื่องชีวิตและผลงานของ คุณพารณ อิสรเสนาฯ ที่ได้นำการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาใช้ในบริษัทปูนซีเมต์ไทย จนประสบผลสำเร็จ เป็นองค์กรแนวหน้าของประเทศ ลงทุนด้านการศึกษา พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง สร้างคนดีและคนเก่ง ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้ร่วมงานกับคุณพารณฯ จะเห็นความรัก ความชื่นชม ที่มีต่อท่าน และความรักในองค์กร
8K’s+5K’s กล่าวถึงชีวิตและผลงานของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเล่มนี้ได้กล่าวถึงที่มาของ 8 K’s และ 5 K’s โดยละเอียด จนถึงขั้นตอนการนำไปใช้ในองค์กร การพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จะเพิ่มมูลค่าให้องค์กร และรองรับการแข่งขันต่อการเปิดเสรีอาเซียน

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

28 มี.ค. 55 เรียนรู้ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ เป็นเวทีเสวนาในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนบ้านช่องสะเดาซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของ กฟผ. คือการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ซึ่ง กฟผ.ได้เข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านได้รับความพึงพอใจระดับหนึ่ง ชุมชนบ้านช่องสะเดาเป็นชุมชนที่มีผู้นำเข้มแข็ง พยายามพึ่งพาตนเอง แต่ก็มีประเด็นปัญหาบางประการที่ชาวบ้านคิดว่าเป็นปัญหาจากการพัฒนาของ กฟผ.หรือปัญหาบางส่วนที่ต้องการให้ กฟผ.ร่วมแก้ไข ผู้เข้าร่วมเสวนา ตัวแทนพลังงานจังหวัดกาญจนบุรี ผอ.เขื่อนศรีนครินทร์ กฟผ. ผอ.ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่ม 1-3 สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1. ได้รับทราบความเห็นของชุมชนต่อการพัฒนาของ กฟผ. 2. รับทราบปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น 3. รับทราบทัศนคติของเจ้าหน้าที่ กฟผ. ที่เกี่ยวข้อง ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งมุมมองของตัวแทนที่เข้าร่วมเสวนา 4. รับทราบการดำเนินการของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบด้านพลังงานในพื้นที่ แนวคิดในการพัฒนา การแก้ปัญหา สรุปประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปัญหาช้างป่ามีเป็นจำนวนมากได้ลงมาทำลายผลิตผลด้านการเกษตร และปัญหาไฟป่า • ปัญหาช้างป่า ชาวบ้านสันนิษฐานว่าเกิดจากการสร้างเขื่อนไปปิดกั้นเส้นทางเดิน ปิดกั้นวงจรชีวิตของช้างไม่สามารถกลับเข้าสู่ป่าธรรมชาติซึ่งเป็นที่อยู่ดั้งเดิมได้ มีการแพร่พันธุ์ทำให้มีจำนวนมากขึ้น แหล่งอาหารถูกไฟป่าทำลายแหล่งน้ำแห้ง ทำให้ช้างลงมาหาอาหารซึ่งเป็นที่เพาะปลูกของชาวบ้าน • มีข้อเสนอให้ฟื้นฟูป่า พัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของช้าง • การแก้ปัญหาต้องให้ช้างอยู่ร่วมกับคนได้อย่างสันติ • ใช้วิกฤติเป็นโอกาส โดยจัดทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ • การแก้ปัญหาต้องดูที่สาเหตุที่แท้จริงแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น • การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกหน่วย รัฐ กฟผ. และชุมชน ดำเนินการอย่างจริงจัง ทำแบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง • ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาและผลกระทบ • การพัฒนาทุกอย่างมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต้องชั่งน้ำหนักว่าผลกระทบด้านใดมีมากกว่ากัน มีแนวทางป้องกันและแก้ไขได้หรือไม่ • การพัฒนา การแก้ปัญหา ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น • โครงการต่างๆต้องให้ความรู้กับชุมชนทั้งด้านบวกและด้านลบ ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ • การพัฒนาต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน ต้องได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม • งานชุมชนสัมพันธ์ กฟผ.จะต้องไม่มองเฉพาะเรื่องไฟฟ้าอย่างเดียวจะต้องมองปัญหาให้กว้าง มองระยะยาว • การให้ความรู้กับชุมชน ประชาชนยอมรับจะลดการต่อต้าน การแทรกแซงจากภายนอกจะไม่สามารถทำได้ เวทีเสวนาในลักษณะนี้ทำให้ชาวบ้านร่วมแสดงความคิดเห็นมีความรู้สึกเป็นกันเองเป็นครอบครัวเดียวกันทำให้เกิดความใกล้ชิดข้อสำคัญ กฟผ.ต้องเปิดใจกว้างพร้อมรับฟังทุกประเด็นปัญหาแม้จะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องก็ตาม หลังจากรับฟังปัญหาก็ต้องมีกระบวนการตอบสนองในส่วนที่เกี่ยวข้องและชี้แจงประเด็นหาทางออกสำหรับปัญหาอื่นๆ

การสร้างโมเดล ”ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี” เป็นเวทีเสวนาประกอบด้วย พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่ม 4-5 ดำเนินรายการ โดย อจ.ทำนอง ดาศรี การเสวนาทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบสถานะของอาเซียนเสรี หรือ AEC วัตถุประสงค์ การเตรียมความพร้อม การปรับตัวของประชาชน ผลกระทบ ความเสี่ยง โอกาสการแข่งขัน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรต่างๆ และชุมชน สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือเรื่องภาษาควรเรียนรู้ภาษาของเพื่อนบ้านจะทำให้มีโอกาสมากกว่า ภาษาที่เป็นจุดแข็งของคนไทยคือภาษากาย สุภาพอ่อนโยน เป็นที่ชื่นชมของชาวต่างชาติ การมีวัฒนธรรมที่ดีงาม การเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยี ลักษณะสินค้าต่อไปจะอิงด้านภูมิปัญญามากขึ้น สินค้าเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การสร้าง Brand สร้าง Story ให้กับสินค้า ให้ความสำคัญกับเรื่อง Service Mind ประเด็นต่างๆรัฐจะต้องให้ความรู้กับประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง สำหรับชุมชนบ้านช่องสะเดาต้องการให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับการสอนภาษาซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับชาวบ้านรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

มนตรี ศรีสมอ่อน

29 มี.ค. 55 เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง ที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นกิจกรรมที่ผู้นำชุมชนซึ่งเป็นพนักงาน บปซ.พร้อมทีมงานได้ร่วมกันพัฒนาชุมชน โดยจัดทำโครงการเสนอของบประมาณจากโครงการรักบ้านเกิด ของ บปซ. ทั้งหมด 5 โครงการ 1. จัดทำบ่อดักไขมันซึ่งเป็นน้ำเสียจากครัวเรือน 2. นำไขมันไปทำแก๊สชีวภาพกลับไปใช้ในครัวเรือน 3. กำจัดผักตบชวาในแม่น้ำดัดแปลงทำแปลงปลูกผัก 4. ขุดคลองไส้ไก่ชะลอน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ 5. จัดทำทางเดินด้วยอิฐบล็อกประสานจากเถ้าถ่านหิน เป็นตัวอย่างกิจกรรมชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง โดยผู้นำชุมชนได้ร่วมกับชาวบ้าน เชื่อมโยงกับ องค์กรปกครองท้องถิ่น และ บปซ. ร่วมกันพัฒนา ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการลงพื้นที่ไปสัมผัสได้เกิดการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น • ชุมชนเข้มแข็งเนื่องจากมีผู้นำที่ดีมีความคิดพึ่งพาตนเอง • ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธีคิด การวางแผน การจัดทำโครงการเสนอของบประมาณ การจัดการระบบรวมทั้งการแก้ปัญหา • ชาวบ้านมีความพึงพอใจเนื่องจากเป็นความต้องการจากชุมชน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ • ชาวบ้านมีความรู้สึกหวงแหน ช่วยกันดูแลรักษา ทำให้เกิดความต่อเนื่อง • ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์ ทั้งในส่วนย่อย และภาพรวมในวงกว้าง • สามารถป้องกันและกำจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ • ทำให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยว มีสถานที่พักผ่อน มีสระน้ำธรรมชาติ • ดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิต และวัฒนธรรมดั่งเดิม นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่ง กฟผ.สามารถเรียนรู้และนำไปเป็นแนวคิดในการพัฒนาชุมชุนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ชุมชนก็ยังมีการเตรียมความพร้อมรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเกิดภัยพิบัติโดยจัดจุดรวมพลและมีการซักซ้อมปีละ 2 ครั้ง เป็นประจำ มนตรี ศรีสมอ่อน

ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์

โดย...ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์ EADP8 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ-สื่อสารองค์การและชุมชนสัมพันธ์ (ช.อจม-สช.)


Self Study & Individual Assignment #1: วันที่ 17-26 มีนาคม 2555 อ่านหนังสือ HR พันธุ์แท้และ 8K’s+5K’s
1. วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง ??? 2. มีสิ่งใดบ้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับ EGAT และการทำงานใน EGAT ??? Solution:1 วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนของหนังสือ HR พันธุ์แท้และ 8K’s+5K’s อย่างไรบ้าง? HR พันธุ์แท้ 8K’s+5K’s 1. เป็นการนำตัวแบบความสำเร็จของบุคคล 2 คน มาชี้ให้เห็นถึงอุดมการณ์และความเชื่อในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นั่นคือ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา กับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง (วิสัยทัศน์) 2. เน้นเรื่องการนำประสบการณ์การทำงานด้าน HR ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้รู้หลากหลายอาชีพจากทั้งในและต่างประเทศมาพัฒนาต่อยอดจนประสพผลสำเร็จในที่สุด (การเรียนรู้) 3. ชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าใครก็ตาม สามารถนำเอาพื้นความรู้ใดๆ ของตัวเองมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ตลอดเวลา (คิดนอกกรอบ) 4. Self Assessment =>Team & Organization Assessment 1. สั่งสมประสบการณ์ต่อยอดอุดมการณ์และความเชื่อเรื่อง HR พัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ทุนมนุษย์ (Human capital) 2. คิดนอกกรอบและริเริ่มสร้างสรรค์ 3. Self Assessment =>Team & Organization Assessment (AEC 2015) 4. น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นตัวแบบแห่งความสำเร็จ 5. Think Global => Act Local

วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของหนังสือ HR พันธุ์แท้และ 8K’s, 5K’s อย่างไรบ้าง? HR พันธุ์แท้ 8K’s+5K’s 1. เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่แนวคิดครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม 2545 2. พิมพ์ครั้งที่ 5 เมื่อ 20 พฤษภาคม 2553 พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3. มุ่งเน้นที่บุคคลที่ใช้ HRDมาใช้ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ คือนายพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา CEO ของเครือซิเมนต์ไทย 4. เน้นตัวแบบแห่งความสำเร็จของบุคคลหลายบุคคลมาเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ 5. Comparative Advantage 1. เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่แนวคิดครั้งแรกเมื่อ กุมภาพันธ์ 2555 2. ตกผลึกตัวแบบขององค์ความรู้ที่สะสมมาทั้งชีวิตต่อยอดสู่ตัวแบบ “ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” นั่นคือ “8K’s+5K’s Model” 3. เป็นตัวแบบความคิดการสั่งสมของอาจารย์ ดร.จีระที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง (3 ต) 4. Competitive Advantage Solution:2 มีสิ่งใดบ้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับ EGAT และการทำงานใน EGAT ??? ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) เป็นทุนพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. Human Capital (ทุนมนุษย์) 2. Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา)=>คุณลักษณะ 3. Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม)=>คุณลักษณะ 4. Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข)=>ศิลปะ บรรยากาศและอารมณ์ 5. Social Capital (ทุนทางสังคม)=>เครือข่าย Connection มนุษยสัมพันธ์ 6. Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน)=>ทิศทาง พิมพ์เขียวและPerspective View 7. Digital Capital (ทุนทาง IT)=>เครื่องมือ 8. Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)=>Development Training Education ทุนทั้ง 8 ประการ เป็นทุนที่ ดร.จีระฯ มองตัวมนุษย์เป็นแหล่งกำเนิดของทุนที่มีไม่จำกัด มีไม่หมดสิ้นและเป็นทุนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องไปหาทุนจากที่ไหนมาลงทุน นอกจากในตัวของมนุษย์เอง เหมือนปัจจัยการผลิตที่เคยเรียนกันมานั่นคือ คน(แรงงาน) เงิน ที่ดิน การจัดการ ทรัพยากร ฯลฯ แต่อาจารย์มองที่ตัวของมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญมาโดยตลอด หากมนุษย์ทุกคนสามารถดึงเอาศักยภาพภายในตนออกมา “ระเบิดจากภายใน” จะเกิดพลังอันยิ่งใหญ่มหาศาลที่สามารถเอาชนะฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้สำเร็จได้ในที่สุด... แนวคิดเริ่มจากที่ตัวมนุษย์เป็นทุนเริ่มต้นที่ได้เกิดมาเป็นตัวตน มีปัญญาและจริยธรรมติดตัวมามากน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับชาติตระกูลและบุญสั่งสมเป็นทุนเดิม(ทุนครอบครัว) เมื่อเติบโตเจริญวัยทุนทางปัญญาและจริยธรรมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามตัว (การหล่อหลอมกล่อมเกลาทางสังคมและสภาพแวดล้อม) มีทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคมและทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นคุณลักษณะประจำตัวและการเรียนรู้ จากประสบการณ์ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยการทุนทาง IT มาเป็นเครื่องมือในการนำพาไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง สู่ความยั่งยืนด้วยทุนแห่งความยั่งยืนคือ การน้อมนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตคือ หลักพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดี บนพื้นฐานของความรู้ ความรอบคอบควบคู่คุณธรรม ไปสู่ความสมดุล มั่นคง เป็นธรรมและยั่งยืนได้ นั่นคือ Open Mind หรือการปรับเปลี่ยน Mindset และ Paradigm Shift ทฤษฎีทุน 5 ประการ (5 K’s new) ทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ เพิ่มทุนสำคัญอีก 5 เรื่อง 1. Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)=>เพิ่มพูนหลากหลาย Multi Skill 2. Creativity Capital (ทุนทางความคิดสร้างสรรค์) =>คิดนอกกรอบ 3. Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)=>สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เสมอ 4. Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม) =>ที่สามารถแข่งขันได้ รักษาเอกลักษณ์ 5. Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)=>การควบคุมตนเองในสภาวะคับขันและปรับเปลี่ยนอารมณ์สร้างสรรค์เหมือนศิลปินมืออาชีพได้ตลอดเวลา แต่จะมีเพียง 8K’s อย่างเดียวคงไม่ได้หากจะอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการแข่งขันสูง ในการแข่งขันเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (AEC 2015) ดร.จีระ ได้นำเสนอความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) มาใช้เพิ่มขึ้นอีกเพื่อที่จะเพิ่มทุนของมนุษย์ให้สามารถเตรียมตัวเข้าสู่ AEC 2015 ได้อย่างสมศักดิ์ศรีและสง่างาม (Smart) สรุปในการนำไปใช้ประโยชน์กับ EGAT และการทำงานของ EGAT??? จากแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่การพัฒนาทุนมนุษย์ นั่นคือ Open Mind จากการปรับเปลี่ยน Mindset/Paradigm Shift ดังนี้.- - ทรัพยากรต่างๆ นำไปใช้ในการสร้าง/เพิ่มมูลค่า (Value Added) ได้แต่มีปริมาณและจำนวนจำกัด มีหมดไปในที่สุด แต่ทุนไม่เพียงนำไปใช้ในการลงทุนเพื่อสร้าง/เพิ่มมูลค่า(Value Added) ยังเป็นการสร้างผลกำไร (Profit) ผลประโยชน์ (Benefit) และไม่มีหมดสิ้น ยังสามารถสร้าง/ขยายตัวไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคือ 8 K’s (original) และ 5 K’s (new) จาก Self (Individual) Management => Team Management => Organization Management => Future Management based on Sustainable Development/Change (Learning Organization + Competitive Culture + Continuous Improvement) - EGAT นำตัวบุคคล อดีต ผวก.ในอดีตมาเรียนรู้ตัวอย่างแห่งความสำเร็จมาเป็นเป็น Role Model ให้กับ CEO รุ่นหลังได้เรียนรู้และเป็นประสบการณ์สู่ความสำเร็จในอนาคต/ทศวรรษหน้า - EGAT ต้องปรับตัวจาก Specialist อย่างเดียวไม่พอต้องเพิ่มทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s เข้าไปใน New Executive/Leader Generation ให้เป็น Multidisciplinary ควบคู่กันไปด้วย - EGAT ต้องสร้าง Competitive Culture ให้กับตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน และองค์กรให้ EGAT สามารถที่ Create/Positive Thinking => Doing the Right Thing, The Right Way at the Right Time/Put The Right Man on The Right Job at The Right Time=>Goal/Outcome - Comparative Advantage=>Imagination View in the Future=>Drawing Draught/Perspective View/Blue Print - Building Dream Team (EADP8)=>Drivers, EGAT=>Vehicle(Competency), Mind Mapping (Direction + Traffic)=>High Way, Goal/Target/AEC 2015 (Successful)
- Time Management => Speed - Management as an Art & Science together but sometime we manage by Art/Science depend on Situation.


นายไววิทย์ สุขมาก

อย่างแรก การได้หนังสือที่ดี ๒ เล่มจาก ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เล่มแรก ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ จากผู้รู้ต่างวัย วัยหนึ่งเป็น Menter ของอีกวัยหนึ่ง และเล่มที่ ๒ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ขยายความ เจาะลึกเข้ามาถึงทุนมนุษย์ ของเล่มแรก ซึ่งเกิดความน่าสนใจที่นำเอามาใช้กับอนาคตของประเทศไทยในการรองรับประชาคมอาเซียน ทำให้คนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ บังเกิดความท้ายทายในการนำทฤษฏีนี้ไปใช้ ไม่ใช่เพื่อตนเอง และองค์การอย่างเดียว แต่ได้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติของเราด้วย ผมต้องขอบคุณ ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่กระตุ้นหัวใจ กระเทาะสนิมในใจของพวกเราชาวผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายฯ โดยผ่านโครงการ EADP รุ่นที่ ๘ ครับ

นายไววิทย์ สุขมากผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)
พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

การอบรมช่วงที่ 2 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับกิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนา 27-29 มีนาคม 2555 ในความเห็นของผม เห็นว่าเป็นวิธีการอบรมแนวใหม่ ที่ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน รวมทั้งชาวบ้าน ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงของชุมชน รวมทั้งเห็นถึงศักยภาพและความตื่นตัวในมีส่วนร่วมในบริหารจัดการชุมชน แต่มีข้อComment เล็กน้อยในเรื่องการนำตัวแทนผู้เข้ารับการอบรมขึ้นให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะบน Panel Discussion ที่มีชาวบ้าน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.ในพื้นที่เข้าร่วมเสวนาด้วยนั้น เนื่องจาก ตัวแทนผู้เข้ารับการอบรมไม่มีข้อมูลเชิงลึกเพียงพอ ความไม่พร้อมในการเตรียมข้อมูล รวมทั้งประเด็นคำถามไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ข้อคิดเห็นที่เสนออาจทำให้เกิดความคาดหวังจากชาวบ้าน อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.ในพื้นที่ได้ครับ ในความเห็นของผมเป็นวิธีการอบรมที่มีประโยชน์มากครับ เพียงแต่ต้องมีช่วงเวลาการเตรียมการและชี้แจงให้ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดเข้าใจร่วมกันก่อนครับ ผมจะไม่สรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมทั้ง 3 วัน เนื่องจากเห็นว่าทีมงานเก็บประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้ครบถ้วนแล้ว แต่จะสรุปประเด็นรวมทั้งข้อคิดเห็นที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่องานของ กฟผ. ในภาพรวมทั้ง3 วันดังนี้ ปัญหางาน CSR ของ กฟผ. - หน่วยงาน มีหลายหน่วยงาน ขาดการบูรณาการ ขาดเจ้าภาพ
- กิจกรรม โครงการไม่ตรงความต้องการของชุมชน ชุมชนไม่มีส่วนร่วม ทำไม่ไม่ยั่งยืน กิจกรรมถูกกำหนดกรอบด้วยงบประมาณ - บุคลากร ขาดบุคลากรที่มีทักษะความสามารถในการสื่อสาร ที่จะเข้าถึงหรือฝังตัวในพื้นที่ อยู่ในหน่วยงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักจึงไม่ได้รับความสำคัญ ขาดแรงจูงใจ ในความเห็นของผมสำหรับพื้นที่เป้าหมาย ควรมีหน่วยงานเฉพาะกิจที่เป็นเจ้าภาพเพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานรวมทั้งงบประมาณ และระดมบุคคลากรที่มีทักษะความสามารถร่วมกับบุคคลากรในพื้นที่ที่จะเข้าถึงหรือฝังตัวในพื้นที่ให้ข้อเท็จจริง การพบปะอย่างไม่เป็นทางการให้เกิดความไว้วางใจ ซึ่งคุณวสันต์ ผู้ใหญ่บ้านตำบลช่องสะเดาได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจว่าหากเป็นผู้หญิงได้จะดี ได้รับความไว้วางใจง่ายขึ้น ปัญหาด้านบุคลากรนั้น ความจริงเรามีบุคลากรในพื้นที่ที่มีทักษะความสามารถ กระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆพอสมควร เป็นความสามารถเฉพาะตัว มีใจรักในงาน หรือมีบุคลากรที่ไม่สามารถเติบโตในหน่วยงานหลักได้ หากสร้างแรงจูงใจที่ดีที่เป็นรูปธรรมได้ ให้เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ทำ รวมทั้งได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสม ก็จะสามารถขยายทีมในพื้นที่ได้มากขึ้น รวมทั้งการฝึกอบรมแบบ On the job training โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่ยังไม่มีความพร้อมด้านบุคคลากรเข้าร่วมดูงานข้ามหน่วยงาน เพื่อเรียนรู้จากผู้ที่มีทักษะในพื้นที่อื่นๆ ประเด็นที่ได้รับจากชุมชนบ้านชุกโดน กาญจนบุรีนั้นก็น่าสนใจ จะเห็นว่า SCG สามารถใช้บุคลากรระดับปฏิบัติการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ สร้างกิจกรรม CSR ที่สร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทฯได้หลายโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านมูลนิธิ (เข้าใจว่าจะทำให้การทำกิจกรรมได้คล่องตัวขึ้น) โดยเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัทในเครือทั้งหมด สามารถเสนอโครงการพัฒนาชุมชน ที่ชุมชนและพนักงานมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน การที่บุคลากรระดับปฏิบัติการมีศักยภาพได้ขนาดนี้โดยไม่ได้รับ intensive ในรูปของตัวเงินเลย หากแต่ได้รับการยกย่อง ความภาคภูมิใจ การยอมรับแทน แสดงให้เห็นว่า SCG ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ซึ่งจะเห็นได้จากงบประมาณพัฒนาบุคลากรที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแนวคิดนี้ผมเห็นว่าน่าจะนำมาปรับใช้กับ กฟผ. ได้ครับเนื่องจาก กฟผ.ก็มีบุคลากรอยู่ในหน่วยงานที่ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ ปัญหาการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ๆ แนวคิดของอ.มนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ก็น่าสนใจครับ โดยเห็นว่าการพัฒนาพลังงานต้องมีความสมดุล ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมกับชุมชน ในรูปที่ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นก่อนโครงการจนถึงกระบวนการตรวจสอบหลังโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องนโยบายระดับสูงที่จะต้องบูรณาการร่วมกันกับภาครัฐ เอกชน และชุมชนรวมทั้ง NGO ประเด็นที่ต้องปรับปรุงของ กฟผ. ในการที่จะทำให้งานบรรลุได้คือ Networking โดยเฉพาะภายกับองค์กรในประเทศ เช่น ภาครัฐ องค์อิสระ ภาคประชาชน หรือแม้แต่ MEA PEA ซึ่งในความเห็นผมถือว่าเป็นโครงข่ายเดียวกัน ได้รับผลกระทบร่วมกัน ต้องคิดและวางแผนร่วมกันในการพัฒนาระบบไฟฟ้าอย่างใกล้มากชิดกว่านี้ แนวทางในการเพิ่ม Networking ของ อ.จิระ ก็น่าสนใจนะครับ โดยเปิดโอกาสให้เกิดการรู้จักซึ่งกันและกันผ่านหลักสูตรฝึกอบรมทั้งที่ กฟผ. จัดให้ผู้บริหาร และหลักสูตรภายนอกที่ กฟผ. ส่งผู้บริหารเข้ารับการอบรมเป็นการลงทุนน้อยแต่อาจส่งผลให้งานยากๆสำเร็จได้ง่ายขึ้นครับ

 จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลสังคมและสิ่งแว้ดล้อม กฟผ.ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2555 มีประสบการณ์และข้อคิดเห็นดังนี้
  1.ทราบปัญหาและสภาพพื้นที่จริงที่ประสบได้แก่ ปัญหาไฟป่า ช้างป่าบุกรุกเข้าทำลายพืชไร่
  2.ผู้นำชุมชนช่องสะเดา(ผู้ใหญ่บ้านวสันต์) มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จ
  3.มีการทำโครงการดีๆ เช่น การปลูกป่า การเลี้ยงไก่ไข่ การขอครูภาษาอังกฤษมาสอน เพื่อรองรับมื่อเป็นอาเชี่ยนเสรี      
  4.พบการดำเนินการที่ขาดการวางแผนที่ดีของหน่วยราชการ กรณีรั้วกั้นช้างซึ่งใช้เงินจำนวนมากแต่ไม่ได้ผล
     และการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ใช้เงินจำนวนมากเช่นกันแต่ชาวบ้านไม่กล้าใช้เพราะค่าไฟฟ้าแพงมาก เป็นต้น
  ข้อเสนอ กรณีหากต้องใช้เงินงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาควรจัดสรรจากเงินกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขื่อน   
    ส่วนการเรียนรู้ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ซึ่งเป็นชุมชนเมืองที่เข็มแข็ง โดยมีผู้นำชุมชนที่เข็มแข็ง จริงจังกับการพัฒนาชุมชนจากสภาพสลัมให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่ น่าพักผ่อน โดยใช้งบประมาณไม่มาก แต่ได้ผลคุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งเป็นการดำเนินการทำ CSR ของบริษัท SCG ที่ผ่านมูลนิธิฯ โดยเน้นให้ผู้ต้องการพัฒนาชุมชนเป็นผู้คิดโครงการเองแทนการให้บริษัทเป็นผู้คิดโครงการและเข้าดำเนินการ เพราะอาจเป็นโครงการที่เราอยากทำแต่ชุมชนไม่อยากได้ ซึ่งจะขาดความยั่งยืนหรือไม่สำเร็จ อนึ่งสำหรับการดำเนินการจะมีการเมินผลโครงการ จากประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.ได้ เพราะปัจจุบัน กฟผ.ได้ใช้งบประมาณด้าน CSR เป็นจำนวนมาก แต่ดำเนินการเป็นวงกว้างไม่จำกัดขอบเขตเป้าหมาย บางครั้งโครงการที่ กฟผ.ดำเนินการ ไม่เป็นโครงการที่ชุมชนเป็นผู้คิดโครงการเอง  ซึ่งอาจไม่ตรงความต้องการของชุมชน 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 29 มีนาคม 2555

Study Tour : เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ต.บ้านใต้ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

การเตรียมความพร้อมของชุมชนกับภัยพิบัติธรรมชาติ

ประธานชุมชน   คุณบำเพ็ญ  รัตนากร

 

เริ่มต้นจากการกล่าวแนะนำชุมชนท่าน้ำชุกโดน

  • ที่มาของชื่อชุมชนมาจากเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488) ชุมชนนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารญี่ปุ่นมาก่อน  ดังนั้นเวลาเครื่องบินรบอเมริกาบินมาเป้าหมายคือถล่มค่ายญี่ปุ่น  พอได้ยินเสียงหวอเตือนให้หลบระเบิดชาวบ้านจึงวิ่งไปหลบระเบิดในหลุมหลบภัยที่เตรียมไว้ แต่อย่างไรก็ตามระเบิดก็มักไปตกใกล้หลุมหลบภัยทุกที ทำให้ชาวล้มตายจำนวนมาก  ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่นี้ว่าซุกแล้วก็โดน  และเมื่อเวลาผ่านไป ภาษาที่ใช้เรียกเปลี่ยนตามกาลเวลาชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ท่าน้ำชุกโดน”
  • ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง มี 210 ครัวเรือน  1,280 ชุมชน พื้นที่บริเวณแม่น้ำมี 108 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ปลูกเป็นกระต๊อบ จะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • การคิดโครงการ ฯ
  1. การดูสภาพปัญหา ที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
  2. การประชุมคณะกรรมการชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง ชุมชนมีปัญหาอะไร หน้าที่ประธานจะมีหน้าที่ประสานในการดำเนินการแก้ไข
  3. เงินสนับสนุนจากปูนซีเมนต์ไทยมีงบประมาณโครงการละ 100,000 บาท

โครงการที่ 1 โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ( ปี 2550)

  • จากวิธีการเดิมคือ น้ำจากแหล่งครัวเรือน  การไหลระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  น้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • สู่แนวคิดใหม่ คือ น้ำจากแหล่งครัวเรือน สู่บ่อดักประจำบ้าน  สู่บ่อดักรวม ก่อนไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ 

          โครงการที่ 2 โครงการพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ (ปี 2551)

  1. การนำเศษผักมาทำก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นพลังงานทดแทน
  2. การคัดแยกเศษขยะเปียกออก  นำไปใส่ในถังเก็บแก๊ซ  สามารถเปิดได้ถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง

          โครงการที่ 3  โครงการแปลงผักลอยน้ำ เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง (ปี 2552)   

                   เพื่อกำจัดผักตบชวา  ให้นำไปใช้ทำอะไรก็ได้ จึงนำผักตบชวาไปทำแปลงผักลอยน้ำ ใช้วิธีการวางแปลงผักทับ ๆ กันขนาดยืนเท่าสนามฟุตบอล เอาสาหร่ายที่อยู่ในน้ำขึ้นโป๊ะ ใช้ผักบุ้งจีนกับแตงกวาทำเป็นแปลงผัก

            โครงการที่ 4  โครงการขุดคลองไส้ไก่ชะลอน้ำเสียชุมชน (ปี 2553)

            โครงการที่ 5 โครงการจัดทำทางเดินด้วยอิฐบล็อกประสานจากเถ้าถ่านหิน

 

  • เน้นความพยายามในการช่วยเหลือตนเอง ในการดึงเอกชนเข้ามาทำให้โครงการมีปัญหาเกิดขึ้น แต่ผลสำเร็จจะมีมากกว่า  การมีคณะกรรมการชุมชน  และคณะกรรมการอบต. เพื่อให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาเองได้ด้วย
  • การสร้างศูนย์การเรียนรู้ และที่ดูงาน  เริ่มต้นจากแนวคิดของการทำงานที่ SCG แล้วนำแนวคิดมาพัฒนาชุมชนต่อ
  • ทุกโครงการที่คิดจะดูจากที่ชุมชนได้รับผลกระทบ  เกิดจากการพูดคุยและมีการวางแผนและเสนอโครงการฯ

 

ถาม

  • โครงการรักบ้านเกิดมีขอบเขตอย่างไร

ตอบ

  • ใช้หลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน คือมีคณะกรรมการ 3 คน จัดทำโครงการละ 100,000 บาท ทั่วประเทศ
  • เป็นโครงการที่มูลนิธิฯ ปูนซีเมนต์ไทยตั้งขึ้น
  • ถ้าทำไม่ได้ตามโครงการต้องคืนเงินบริษัท แต่มีบางโครงการที่สามารถยืดได้ เช่นกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโครงการน้ำท่วม
  • ทุกโครงการมีการตรวจสอบ ประเมินผล และติดตาม

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • ได้ยกตัวอย่างที่ท่านเคยทำงานร่วมกับคุณพารณ  มาเป็นเวลานาน
  • SCG กับ กฟผ.ทำโครงการคล้าย ๆ กัน
  • วัตถุประสงค์คือ  EADP 8 ในอนาคตต้องขึ้นเป็นผู้นำ ดังนั้นปัญหาของ   SCG และ กฟผ.จึงมีทั้งส่วนคล้ายและไม่คล้ายกัน จึงอยากให้ผู้นำ EADP 8 เมื่อจะบริหารชุมชนอยากให้บริหารจัดการด้วยความเข้าใจในชุมชน
  • จุดแรกที่อยากให้ศึกษาชุมชนท่าน้ำชุกโดนเป็นแบบอย่างที่ดี ให้สรุปรูปแบบที่ทำอยู่  กฟผ.สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไร
  • กฟผ.ต้องวางแผนระยะยาว มี 2 ช่องทางที่จะทำคือ 1. ต้องคุยกับชุมชน  2. เจรจากับต่างประเทศ
  • ชุมชน Urban ,ปูนซีเมนต์ฯเป็น Industrial Development  , Dream of my father, Community Organizer ในระดับ Urban
  • กฟผ.ทาง CSR ควรทำ 2 อย่างคือ ให้ชุมชนเมือง และชนบท เพราะโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในชนบทส่วนมาก แต่ก็อย่าทิ้งเมือง 
  • ให้เชิญคุณบำเพ็ญ เป็นแนวร่วมของกฟผ.
  • การกระจายความรู้ของกฟผ. เน้น Technical  ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ ต้องกระจายในทุกระดับ เรายังเป็นระบบ Hierarchy  อยู่  และยังไม่ได้รับการ Training ในทุกระดับ และเน้นเฉพาะช่างเทคนิค
  • แต่ปูนซีเมนต์จะให้ทุกกลุ่มเรียน 7 วัน ไม่นับวันลา  งบประมาณต่อหัวต่อคนสูงมาก

 

ถาม

  • ภารกิจของชุมชนข้างหน้า ทำอะไรก่อนหลัง และมีปัญหาอย่างไร
  • บางครั้งไม่ทราบว่าเป็นขอบเขตของชุมชนหรือไม่ เช่น การสร้างถนนชุมชนทำได้เองหรือไม่

ตอบ

  • ต้องมีการทำแผนชัดเจน แล้วเสนอโครงการฯ
  • มีปัญหาเรื่องที่ดินหรือไม่
  • ให้คณะกรรมการไปทำ  และได้งบประมาณมูลนิธิฯ

ดร.จีระ

  • อบต. + ชุมชน ไปได้ดีหรือไม่
  • ในประเทศไทย มาตรฐานชุมชนถูกควบคุมด้วยอิทธิพลต่าง ๆ  มีการอิจฉาหรือไม่

ตอบ

  • ชุมชนอยู่เขตเทศบาล มีการปรึกษากับท่านนายกฯ ผู้นำเป็นแนวร่วม แต่มีปัญหาเรื่องการเมือง ถ้าเล่นการเมืองก็จะไม่สามารถทำโครงการได้

ดร.จีระ

  • สิ่งแรกที่ กฟผ. ไปช่วยคือต้องระมัดระวังในเรื่องการเมืองให้ดี
  • ควรมีการพัฒนาความรู้ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ให้ทุกรุ่น ทุกระดับ ทุกปี
  • มาตรฐานการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ SCG มีมากกว่า กฟผ. ส่วนใหญ่กฟผ.จะเน้นไปทางด้านเทคนิคมากกว่าทัศนคติ  ดังนั้น ผู้นำในกฟผ.ในทุกระดับจะต้องเป็นตัวแทนที่ดี

ถาม

  • โครงการที่เกิดขึ้น เกิดตอนคุณบำเพ็ญเป็นประธานชุมชนแล้วหรือไม่ เนื่องจากเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาชุมชนที่มีอยู่ SCG ถ้าทำโครงการสำเร็จ มี Promotion ให้หรือไม่

ตอบ

  • มีการจัดรวมกลุ่มที่ปูนซีเมนต์ฯ บางซื่อ เปิดโอกาสให้แต่ละโครงการนำไปแลกเปลี่ยนร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างความภูมิใจและประทับใจ

ถาม

  • มีตัวอย่างในกลุ่มของพนักงาน SCG ที่บางซื่อไปทำให้ชุมชน โดยไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนหรือไม่ แล้วสามารถทำให้สำเร็จ เพราะส่วนใหญ่ EGAT มีเป็นลักษณะอย่างนี้

ตอบ

  • มีบางคนอยู่ที่บ้านโป่ง แต่ไปทำโครงการที่ท่าม่วงร่วมกับตำรวจตระเวนชายแทน ก็มี สรุปคือแล้วแต่คน กับโครงการ

ถาม

  • กรรมการทั้ง 4 คนอยู่ในพื้นที่หรือไม่

 ตอบ

  • มี 2 คนที่อยู่ในชุมชนเท่านั้น ร่วมคุณบำเพ็ญ  ส่วนอีก 3 คนอยู่นอกพื้นที่แต่ทำงานที่ SCG
  • และทุกเย็นจะมีการประชุมกัน ถ้ากรรมการท่านใดว่างจะเป็นผู้ดูแล และสลับกันได้เนื่องจากกรรมการแต่ละคนทำงานเป็นกะ

ถาม

  • งบประมาณปูนซีเมนต์ ไม่ให้เกิน 100,000 บาท แต่มีบ้างหรือไม่ที่งบเกิน

ตอบ

  • ส่วนที่เกินมาต้องนำมาชี้แจงว่าไปเอางบนั้นมาจากไหน ร้านค้า หรือ ห้างหุ้นส่วน หรือที่ใด

ถาม

  • ส่วนใหญ่เห็นคณะกรรมการมาจากพนักงาน SCG  มีทีมงานที่เป็นชุมชนบ้างหรือไม่

ตอบ

  • ปกติจะเป็นลักษณะการจ้างงานไปเลย
  • มีจิตอาสาบ้าง มีคณะกรรมการ 20 ล้านบาทเป็นจิตอาสา

ดร.จีระ

  • อยากให้ชุมชนที่ไม่ใช่ SCG  มีส่วนร่วมด้วย

ตอบ

  • ส่วนใหญ่คนที่ทำงานจะเป็นพนักงานลูกจ้าง  ส่วนตอนเย็นจะเข้ามารวมกลุ่มร่วมประชุม

ถาม

  • การสร้างความร่วมมือ  และความร่วมใจให้กับคนในชุมชนทำอย่างไร

ตอบ

  • เริ่มต้นจากที่มีคณะกรรมการ 10 คน  สามารถของบประมาณ และสามารถช่วยแก้ปัญหาได้และสามารถทำได้จริง ชุมชนเห็นจึงเกิดความเชื่อถือ
  • ความร่วมมือเกิดจากการแสดงให้ชุมชนเห็นว่าทำจริง และสามารถแก้ปัญหาได้จริง แล้วสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยจะเห็นว่าชุมชนมีส่วนร่วม 80 – 90 %
  • ผลตอบรับที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งผลให้ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ,ส่งเสริมความมั่นคงและรายได้ , มีการปันผลในทุกสิ่งทุกอย่าง , ชุมชนมีรายได้ดีขึ้น

ถาม

  • การบริหารโครงการฯ คุณบำเพ็ญสังกัดที่ไหน ใช่หน่วย CSR หรือไม่

ตอบ

  • ไม่ได้สังกัดที่ CSR แต่เวลานำเสนอโครงการนำเสนอที่ CSR

ถาม

  • ถ้าใช้งบประมาณในการทำโครงการไม่ถึง 100,000 บาท ต้องคืนหรือไม่

ตอบ

  • ส่วนใหญ่จะบริหารเงินงบประมาณได้พอดี แต่ถ้าโครงการเกินงบที่ตั้งไว้ ต้องออกเอง

ถาม

  • เมื่อไหร่โครงการที่ทำยุติ  สามารถทำที่ชุมชนอื่นได้หรือไม่  และมีระยะเวลาในการกำหนดแต่ละโครงการอย่างไร

ตอบ

  • โครงการที่ทำจะมีกำหนดระยะเวลาไว้เช่น 1 ปี หรือ 2 ปี  การคิดโครงการส่วนใหญ่ ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้า แต่จะดูจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชน จะหาวิธีการแก้ไขก่อนนำมาเสนอแต่ละโครงการ
  • จะให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น เด็กหรือเยาวชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากับเราได้  และในการคิดโครงการนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะชุมชนใด ชุมชนหนึ่งเท่านั้น แต่จะสามารถนำไปขยายต่อให้ชุมชนอื่น ๆ ได้ด้วย

ดร.จีระ

  • ขอฝากคุณบำเพ็ญคิดให้ด้วยว่า ถ้าเทศบาลเห็นชอบด้วย คุณบำเพ็ญจะอยู่รอด ให้ลอง Integrate สู่โครงการใหญ่ ๆ  คิดโปรเจคใหม่ ๆ ขึ้นมา 1. หารือกับชาวบ้านส่วนหนึ่ง 2. ถ่ายทอดให้ชาวบ้านให้ได้
  • การคิดโปรเจคขอให้คิดให้รอบคอบ เพราะโปรเจคในไทยมีเยอะ เนื่องจากเป็นโปรเจคในช่วงที่เกิดมาในตอนมีงบประมาณ แต่เมื่องบประมาณหมด โปรเจคก็หายไป ไม่ต่อเนื่อง
  • อยากให้วางแผนเชื่อมโยงกับชาวบ้าน ให้รับผิดชอบโครงการเพิ่มขึ้น
  • มีความขัดแย้งกับผู้นำท้องถิ่นหรือไม่

ถาม

  • เห็นว่าโครงการฯ ที่ผ่านมาจะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ขอถามว่าจะมีโครงการต่อเนื่องที่ชาวบ้านจะทำต่อหรือไม่
  • โปรเจคเล็ก ๆ โดนใจชาวบ้านหรือไม่ ? ชุมชนได้ประโยชน์หรือไม่? คุณภาพชีวิตชาวบ้านดีขึ้นหรือไม่ ?  มีสินค้าโดดเด่นหรือไม่ ? และทำไมชาวบ้านยังทำงานแบบเดิม ?
  • ชุมชนมีโปรเจคอะไรที่จะเสริมตรงนี้

ตอบ

  • โครงการแรกที่คิดทำเกิดจากการคิดแก้ปัญหาน้ำเสียของชุมชน แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แล้วต่อยอดเป็นโครงการขึ้นมา
  • ชาวบ้านยังคงทำงานข้างนอกอยู่  แต่สำหรับคนในชุมชนที่ไม่มีงานทำ ก็สามารถมีงานทำเพิ่มขึ้นจากโครงการฯ   ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

-          มีการส่งเสริมอาชีพค้าขายให้กับชุมชน เช่น ปกติคนไปขายที่ ต.ชุกโดน แต่ตอนนี้สามารถขายอาหารที่บ้านได้ ได้รายได้เฉลี่ยวันละ 3,000 บาทต่อวัน ต่อครัวเรือน 

  • โปรเจคเพิ่มเติม ที่ทำอยู่ก็จะมีเรื่องยาเสพติด เห็นได้ชัด  และการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีดรายได้เพิ่มขึ้น

ถาม

  • ทางด้านเทคนิค ดู Process อย่างไร

ตอบ

  • ถังบรรจุก๊าซ จะบรรจุได้ทีละ 150 – 200 กิโลกรัม และไม่มีการทิ้งลงแม่น้ำ 
  • สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติ   1 ถัง สำหรับ 6 ครัวเรือน และมีการทำบ่อฝังดินแล้วเอาไปบำบัดเป็นน้ำ EM ที่ปากบ่อที่จะพาไปดูงานต่อไป

ถาม

  • คุณบำเพ็ญรู้ปัญหาที่ชุมชนต้องการหรือไม่  หรือว่า ผู้นำชุมชนอยากทำโครงการที่อยากได้แล้วอยากให้พูดถึงความยั่งยืนที่ชุมชนจะดูแลโครงการนี้เอง มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  และแต่ก่อนที่จะทำโครงการต้องทำอย่างไรบ้าง อย่าง EGAT เวลาจะทำโครงการจะต้องเข้าไปถามด้วยตัวเองว่าเขาต้องการอะไร  ตัวอย่างเช่น มีชุมชนขอเถ้าถ่านจากโรงงานไฟฟ้าไปถมเป็นสนามฟุตบอล ก็สามารถให้ไปได้เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าไม่มีพิษ เป็นต้น

ถาม

  • การให้ก๊าซในครัวเรือนใช้  คัดเลือกครัวเรือนอย่างไร ที่จะได้ก๊าซใช้

ตอบ

  • ก๊าซ 210 กก. สามารถใช้ได้แค่ 6 ครัวเรือน  เนื่องจากแรงดันก๊าซมีไม่ไกล และไม่มีตัวปั๊มลม ดังนั้นการให้ก๊าซกับครัวเรือนใด ครัวเรือนนั้นต้องดูแลอย่างดีด้วย

ถาม

  • ชุมชนใกล้เคียงให้ดูตัวอย่าง
  •  5 ครัวเรือนต่อ 1 ถัง สามารถใช้ได้เลย
  • การทำก๊าซจะใช้มูลสัตว์ กับ โรงเรียน ก็ อย่างกระบวนการเรื่อง อาหารกลางวัน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาอยู่

ถาม

  • ในชุมชนมีโครงการต้านยาเสพติดหรือไม่

ตอบ

  • มีการส่งเสริมด้านกีฬา  ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
  • คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น

ถาม

  • โครงการที่ผ่าน ๆ มา เป็นโครงการปีต่อปี มีหรือไม่ที่จะเสนอโครงการต่อเนื่อง และเงื่อนไขของมูลนิธิปูนซีเมนต์ การให้ มีการติดตามหรือไม่

ตอบ

  • โดยปกติจะเสนอโครงการปีต่อปี และมีการติดตามผล มีการรายงานความคืบหน้าทุกเดือน และจะมีโครงการวิจัยที่จะไปนำเสนอในทุกเดือนด้วย
  • มูลนิธิฯจะทำหน้าที่ตรวจดูงาน และเน้นที่ความยั่งยืน

ถาม

  •  ตัวอย่างของโมเดลแม่เมาะ จะเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศได้ 
  • สิ่งที่ท่าน้ำชุกโดนทำมาถูกทางแล้วคือ สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด
  • การทำในฐานะผู้นำชุมชน นอกจาก 2 เรื่องนี้  ได้ประสานกับเทศบาลเมือง (ที่มีงบประมาณ) และได้มีการประชุมกันทางด้านอื่น ๆ กับเทศบาลหรือไม่ เพราะ การมีส่วนร่วมกับเทศบาลในการสนับสนุนทำให้สามารถเดินไปในทิศทางเดียวกันได้

ตอบ

  • มีการทำแผนพัฒนาชุมชน 3-5 ปี  ส่งเทศบาล และได้เป็นกรรมการร่วมกับแผนใหญ่ด้วย
  • และถ้าการเป็นผู้นำชุมชนนี้แต่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง รวมถึงการวางตัวเป็นกลาง และเน้นความมีส่วนร่วมในชุมชน โครงการที่ทำร่วมกับเทศบาลก็จะไปได้ดี

ถาม

  • ระบบ SCG มีการบังคับให้ทุกคนทำโครงการ CSR อย่างนี้ หรือเป็นความเต็มใจส่วนบุคคล

ตอบ

  • เป็นความสมัครใจในการทำ  โดยในเริ่มแรกมีคนเขียนเสนอโครงการไม่มากจากงบทั้งหมด 2 ล้านบาท

ม.ล.ชาญโชติ ถาม

  • คุณบำเพ็ญ มีความเข้าใจในการเขียนเสนอโครงการอย่างไร

ตอบ

  • การเขียนโครงการเป็นนั้น เริ่มจากการศึกษาที่ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช และการทำงานที่ปูนซีเมนต์ไทย

ดร.จีระ

  • ลักษณะของคุณพารณคือระบบการเรียนรู้ในการทำงานเป็นลักษณะ Industrial that learn ในทุกระดับ Level การเรียนรู้จะเป็นการฝึกคนตลอดเวลา
  • แต่สำหรับ EGAT จะเป็นลักษณะฝึกคนอีกแบบ  ควรเป็นลักษณะ Cross site

การเตรียมความพร้อมชุมชนในเรื่องภัยพิบัติ

  • มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดน้ำท่วม  จะมีจุดระดมพลในที่ต่าง ๆ 
  • มีแผนที่การเตรียมความพร้อมอย่างเช่นถ้าเกิดเขื่อนแตกจะย้ายชาวบ้านไปที่ไหน
  • มีการซ้อมแผนปีละ 2 ครั้ง
  • ส่วนทางด้านอัคคีภัย ก็จะมีแผนฝึกการใช้ถังดับเพลิงเป็นต้น

27 มีนาคม 2555 เขื่อนท่าทุ่งนา เวลา 13.00 – 18.30 น. รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี (คุณพงศ์ธร สัจจชลพันธ์) กล่าวแนะนำ จ.กาญจนบุรี และต้อนรับ o กล่าวถึงภาพรวมของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตลอดจนผลกระทบทั้งทางบวกและลบต่อโครงการทวาย (ท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสหภาพพม่า) ต่อกาญจนบุรี ทั้งเชื่อมโยงถึงชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน หัวข้อ การจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน (ช่วงที่ 1) o คุณสมภพ พวงจิตต์ (อสค.) กล่าวถึงขบวนการผลิตไฟฟ้า ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านที่กำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรเทาและลดผลกระทบ การพัฒนาการของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 และ 2550 ก็ทำให้ประชาชนมีสิทธิในการรับรู้และมีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้นทั้งมาตรา 56 , 57 , 60 และ 67 การสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการฯ เป็นสิ่งจำเป็น การกำหนดชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะมีผลต่อราคาค่าไฟฟ้า ซึ่งจะกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของประเทศและเศรษฐกิจโดยรวม o อ.มนูญ ศิริวรรณ พลังงานเป็นสิ่งจำเป็น มีความสำคัญต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจ การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญบนพื้นฐานของ - การแบ่งปันและกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างยุติธรรม - ต้องไม่เกิดมลภาวะต่อโลกและชุมชน - ต้องพัฒนาไปพร้อมกับชุมชนอย่างยั่งยืน o คุณ วสันต์ สุนจิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านช่องสะเดา - ควรสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชนก่อนเริ่มโครงการเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งทางบวกและลบ - ควรรับฟังความคิดเห็นของชุมชนและฟังความต้องการของชุมชนเป็นแนวทางในการพัฒนา - ควรจะดูแลชาวบ้านทั้งในระหว่างและหลังโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

28 มีนาคม 2555 ที่ อบต. ช่องสะเดา ภาคเช้า หัวข้อ “เรียนรู้” การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ o ความเห็นจากผู้แทนกลุ่ม 1 – 3

     ประเด็นเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งแหล่งน้ำ  ไฟไหม้ป่า  ตลอดจนช้างป่ารบกวนที่ทำกินของชาวบ้าน ได้ข้อสรุปจากการแสดงความเห็นจากชุมชนที่สำคัญทำให้ได้เข้าเรียนรู้การคิดถึง

  • ควรฟังวิธีคิดและภูมิปัญญาชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา (ต้องหัดโง่บ้าง ผู้ใหญ่วิสันต์, มีนาคม 2555) o ความเห็นของผู้ใหญ่บ้าน วสันต์ สุนจิรัตน์
  • ต้องเข้าใจสภาพภูมิประเทศ การใช้ชีวิต ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความเชื่อต่างๆ

o ความเห็นคุณบุญปิ่น ชื่นชวลิต (อขศ.) - ต้องเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา - การประสานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน หน่วยงานราชการและ กฟผ. เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น - โครงการปลูกป่า สร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ ทำให้ช้างป่ามีอาหาร ก็จะไม่ออกมารบกวนชาวบ้าน o ความเห็นของพลังงานจังหวัด (คุณสธีร์ บุญเสริมสุข) - ในส่วนของกระทรวงพลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีการใช้มูลสัตว์และเศษอาหารมาทำเป็น BIOGAS o ความเห็นของคุณสมภพ พวงจิตต์ (อสค.) - ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนแบบยั่งยืนและเป็นธรรม และเป็นหน้าที่ของ กฟผ. ในการให้ข้อมูลทั้งทางด้านบวกและลบของโครงการ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ปัจจุบัน กฟผ. ได้นำรายได้จากการผลิตไฟฟ้าเข้าในกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า กฟผ. พร้อมให้ชุมชนเข้าตรวจสอบโครงการของ กฟผ.

28 มีนาคม 2555 ที่ อบต. ช่องสะเดา ภาคบ่าย หัวข้อ ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี o ประเด็นคุณนิอันผูก สุไลมาน พานิชย์จังหวัดกาญจนบุรี - พูดในภาพรวมของ AEC และความร่วมมือในอนุภูมิภาค ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตลอดจนออสเตรเลีย อินเดีย ในความร่วมมือทั้งทวิภาคีและพหุภาคีต่างๆ - ในประเด็นเรื่องทางการค้าในทางเลือกต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดความร่วมมือในแบบต่างๆ o ประเด็นของ ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนวดี - Thainess Kapital ที่เกิดจากความสำนึก วัฒนธรรม ความเชื่อและพุทธศาสนา จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่เกิดจากภายใน แสดงออกที่ใบหน้า ท่าทาง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ Unique Identity ที่สามารถนำมาสู่ Brand ของคนไทย o ประเด็นของ มล.ชาญโชติ ชมพูนุท - ผลของ AEC จะส่งผลให้แรงงานต่างชาติ พานักลงทุนข้ามชาติ ซึ่งจะมีทั้งโอกาสและการคุกคามทั้งใน Term ของคู่ค้า เทคโนโลยี และภูมิปัญญา ในส่วนของ กฟผ. ก็พร้อมให้การสนับสนุนชุมชนแต่ต้องไปดูรายละเอียดในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ อีกครั้ง

29 มีนาคม 2555 การดูงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชนท่าน้ำชุกโดน อ. เมือง จ.กาญจบุรี o ประเด็นสำคัญที่ได้ - ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ของ SCG ที่ส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานมีส่วนในการพัฒนาชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ อีกทั้งยังนำภาพลักษณ์ขององค์กรมาสู่ชุมชนและที่ได้มากที่สุดน่าจะได้บุคลากรที่ได้ทำงานที่ตนมีความสุขและประสิทธิภาพและศักยภาพ - ต้องขอชมผู้คิด Campaign นี้ของ SCG ที่คิดได้ดี Win-Win Solution

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับ กิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนา 27-29 มีนาคม 2555 27 มีนาคม 2555 อาจารย์ ดร.จีระ ได้พูดถึงการสร้างนิสัยการทำงานโดยใช้กฎ 5 ข้อคือ 1. ต้องค้นหาตัวเอง โดยเชื่อมโยง IT 2. ต้องสร้าง Relationship 3. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นในยุคนี้สามารถสื่อสารทั้งข้อความ รูป ภาพเคลื่อนไหว 4. ผู้นำต้องบริหารความหลากหลายได้ โดยเฉพาะความหลากหลายด้านความคิด 5. ใช้ชีวิตอย่างสมดุลระหว่างครอบครัวกับงาน ทำงานอย่างมีความสุข นอกจากนี้ได้แนะนำหนังสือของ Dale Carnegie และหนังสือ Harvard Business Review

วิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ จังหวัดกาญจนบุรีที่มีเสน่ห์ที่น่าหลงใหล เป็นทั้งเมืองท่องเที่ยว เมืองเกษตรกรรม รวมถึงโรงงานจำนวนมากเนื่องจากมีแรงงานพม่ารองรับ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า ยาเสพติด และแรงงานเถื่อน ปัจจุบันพม่ากำลังปรับเปลี่ยนตัวเอง เปิดประเทศมากขึ้น และมีโครงการนิคมอุสาหกรรมทวาย ซึ่งมี่ศักยภาพเป็นท่าเรือน้ำลึก และจะมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า และจะเป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับแปซิฟิค จังหวัดกาญจนบุรีจึงต้องเผชิญกับเรื่องนี้ทั้งโอกาสและวิกฤติ

การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน โดย อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ คุณสมภพ พวงจิตต์ (ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ) คุณวสันต์ สุนจิรัตน์ (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านช่องสะเดา) โดย อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการ สรุปการบรรยายได้ว่าต้องรับฟังและทำความเข้าใจกับชุมชน เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น อย่าทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ ต้องทำสิ่งที่เป็นความต้องการของชุมชนจริงๆ อย่าทำโดยการให้แบบนายทุน เจ้าบุญทุ่ม ต้องทำโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม และผลักดันโครงการไปด้วยกันโดยเราช่วยสนับสนุน เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารโครงการได้เมื่อแล้วเสร็จ

28 มีนาคม 2555 : กิจกรรมร่วมกับชุมชนบ้านช่องสะเดา การเสวนา “เรียนรู้” การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยคุณสุธีร์ บุญเสริมสุข (นายช่างเทคนิคชำนาญงานกระทรวงพลังงาน พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี) คุณบุญอินทร์ ชื่นชวลิต (ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์) คุณสมภพ พวงจิตต์ (ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ) ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่ม 1 - 3 จาก EADP 8 และอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการ สรุปการเสวนาได้ว่า มีการพูดถึงปัญหาของชุมชน 2 ข้อใหญ่คือ ไฟป่า และช้างป่า ในเรื่องไฟป่า มีการเสนอปลูกป่า ฟื้นฟูป่าการสร้างแนวป้องกันไฟป่า การสร้างฝายชะลอน้ำ ส่วนเรื่องช้างป่าลงมาทำลายพืชผลการเกษตร ชุมชนชี้แจงว่ามีการสร้างแนวรั้วกั้น แต่ทางราชการไม่ฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน การป้องกันจึงไม่ได้ผล และอยากไปดูงานสร้างรั้วกั้นช้างของ กฟผ.ที่ซับลังกา ทางฝ่ายอภิปรายเสนอใช้วิธีธรรมชาติให้ช้างอยู่ได้คนอยู่ได้เสริมอาหารในป่า ทำป่าให้สมบูรณ์ มีบริเวณให้ช้างออกมาหากินได้ และอาจใช้โอกาสนี้ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไปด้วย นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอการศึกษาดูงานชุมชนอื่นที่ประสบความสำเร็จ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันเป็นต้น

การเสวนา สร้างโมเดล “ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี” โดยคุณนิอันนุวา สุไลมาน (พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี) ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่ม 4 และ 5 จาก EADP 8และอาจารย์ทำนอง ดาศรี ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการ สรุปการเสวนาได้ว่า การเปิดอาเซียนเสรีทำให้เกิดทั้งโอกาสและวิกฤติ ถูกแข่งขันจากประเทศในอาเซียนมากขึ้นแต่ก็มีโอกาสกับตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้น การจะรับมือกับอาเซียนเสรีต้องเน้นที่ภาษา ต้องใช้ภาษาได้ดี ภาษาอังกฤษ ภาษาของประเทศในอาเซียนต้องรู้ เข้าใจ ใช้เป็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามคนไทยก็มีจุดแข็งที่ทุนทางวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์พิเศษ มีใจบริการเป็นเลิศ มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านบริการ ถ้าปรับปรุงและเสริมความแข็งแกร่งด้านนี้ให้ดี ก็จะสามารถยกระดับการแข่งขันได้ สำหรับในระดับชุมชน จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับชุนชน สำรวจตัวเองเพื่อหาจุดเด่นของตนเอง พัฒนาและสร้าง Brand ให้เป็นเอกลักษณ์ที่อาจเป็นสิ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก แล้วเราจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

29 มีนาคม 2555 : กิจกรรมการรับฟังการพัฒนาของชุมชนชุกโดน โดยประธานชุมชน พนักงานบริษัทไทยเคนเปเปอร์ ในเครือ SCGและคณะ มีอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมวิเคราะห์และดำเนินรายการ สรุปการรับฟังบรรยายได้ว่า การเข้าพัฒนาชุมชน จะต้องเข้าถึง เข้าใจ ทำในสิ่งที่ชุมชนต้องการจริงๆ โครงการอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการใหญ่ โครงการเล็กๆ ก็สามารถทำให้เกิดประโยชน์มากได้ ที่สำคํญต้องทำให้โครงการที่ทำแล้ว สามารถเดินต่อไปได้โดยชุมชน จึงจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจะดีมากขึ้นถ้ามีการต่อยอดหรือขยายโครงการออกไป เมื่อโครงการเดิมประสบความสำเร็จ นอกจากนี้การพัฒนาควรให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมทั้งชาวบ้าน นักการเมือง หน่วยราชการเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย แต่ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งกับการเมืองด้วย

ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง
     วันนี้ฟังปาฐกถาพิเศษจาก คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง วิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง  กล่าวถึง ข้อมูลของ จ.กาญจนบุรี ว่าพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มี 3 Zone คือ อนุรักษ์, เศรษฐกิจ และ อีสานกาญจนบุรี ชายแดนติดพม่า เป็นเมืองท่องเที่ยว และขาดดุลการค้ากับพม่ามหาศาล และกำลังมีโครงการทวาย ทำท่าเรือน้ำลึก และถนนเชื่อมทวาย-กาญจนบุรี-กทม.-เวียดนาม ซึ่งจะย่นระยะทางทางเรือได้จาก 18วันเหลือเพียง 6 วัน  และพูดถึงบทบาทของ กฟผ.ในการบริหารชุมชน ให้ชุมชนเป็นพันธมิตร หรือมีความรู้สึกที่ดี ให้ชุมชนเป็นกัลยาณมิตรที่มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ยืนบนขาตัวเองได้ เติมเต็มในสิ่งที่ขาด 
     คุณสมภพ พงศ์จิต พูดถึงรัฐธรรมนูญให้สิทธิชุมชน สิ่งที่เราศึกษาต้องเปิดเผยให้ชุมชนทราบ ให้ข้อเท็จจริง ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง การประชาสัมพันธ์ต้องรวดเร็ว ทั่วทั้งประเทศ
    อ. มนูญ  ศิริวรรณ พูดถึงกระแสต่อต้านในการสร้างโรงไฟฟ้า ชุมชนเสียสละเพื่อความเจริญ ดังนั้นจะละทิ้งชุมชนไม่ได้ ต้องมีการกระจายและแบ่งปันรายได้ให้ชุมชนอย่างเป็นธรรม กฟผ.ควรตั้งบริษัทลูกในท้องถิ่นให้ชุมชนถือหุ้น เอาผลกำไรไปพัฒนาชุมชน ไม่ก่อมลภาวะต่อชุมชน มีการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ลงพื้นที่พบประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 
    คุณวสันต์ สุนจิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ช่องสะเดา พูดถึงอดีตที่เจ็บปวดจากการสร้างเขื่อน มีการเวนคืนที่ดิน ต่อมา กฟผ.ลงพื้นที่ ชุมชนยอมรับมากขึ้น ให้ความร่วมมือกับ กฟผ. มีความรู้สึกที่ดีต่อกฟผ. ชุมชนประสบปัญหาเรื่องช้างป่า มารบกวน มีปัญหาเรื่องไฟป่า
     กลุ่ม 1,2,3 ระดมความคิด เรื่อง เรียนรู้การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ และส่งตัวแทนเพื่อร่วมเสวนาที่ อบต.ช่องสะเดา
วันนี้ได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับชุมชน ต้องรู้ความต้องการของชุมชน ให้ในสิ่งที่ชุมชนขาดและต้องการ และต้องอยู่ร่วมกับชุมชนก้าวไปพร้อมกับชุมชน พัฒนาให้ชุมชนพึ่งตนเองได้แบบยั่งยืน
                                                                                                              ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง

วันที่ 27-29 มีค.55 เป็นการเรียนแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการฟังเสวนาเรื่องการจัดการพลังงาน ได้พบปะผู้นำชุมชนบ้านช่องสะเดา และดูงานที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ทำให้เห็นปัญหาจริงๆของชุมชน ได้รับฟังความต้องการของชุมชน เมื่อจะนำมาพิจารณาให้ความช่วยเหลือใดๆก็ตามต้องเป็นสิ่งที่ชุมชนต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่เราคิดไว้แล้วว่าดีกับเขา หรือคิดแทน นอกจากนี้ผู้ใหญ่บ้าน ต.ช่องสะเดายังได้พูดถึงการเข้าชุมชน ให้เกิดการยอมรับ ควรเข้าหากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะได้ผล 70% โดยชี้แจงผู้นำชุมชนก่อน และผู้ที่จะมาทำงานด้านนี้ควรเลือกคนที่มีอายุพอควร เมื่อได้มาดูงานที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน ประทับใจในความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้ผู้นำที่ตั้งใจ และสร้างรูปแบบความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นชุมชนตัวอย่าง สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมการทำ CSR ของ SCG คือการสร้างจิตสำนึกให้กับกลุ่มของพนักงานให้มีจิตอาสาที่มาทำงาน สร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม“ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับ กิจกรรม CSR

โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวถึงกิจกรรมที่มาถึงเมืองกาญจนบุรี

  • แสดงถึงจังหวัดที่มีการรวมด้านการเกษตร การท่องเที่ยว และชายแดนติดพม่า
  • ดร.จีระ บอกว่า ดร.จีระต้องเรียนรู้ทุกวัน และอยากให้ทุกคนต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน
  • สิ่งที่ท้าทายของดร.จีระ คือจะสร้างผู้นำรุ่นต่อไปที่ กฟผ.ได้จริงหรือไม่
  • กล่าวถึง Dale Carnegie
  • ข้อดีของ Dale Carnegie คือ เป็นครูโรงเรียนมัธยมท่านหนึ่ง ธรรมดา ๆ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่ Classicของโลกคือมนุษย์ควร มีเพื่อน ความมีความสัมพันธ์ที่ดี แล้วสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาได้ด้วย
  • สิ่งที่น่าสนใจคือหนังสือของ Dale Carnegieต้องมีการพัฒนาตัวเองในอีก 100 ปี จึงเชิญคนเก่ง ๆ ในโลกมาเมืองไทยเพื่อปรับปรุง พูดเรื่องการจัดการในยุคดิจิตอล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดร.จีระ บอกว่ามีเรื่องที่ต้องทำอีกเยอะมาก ดร.จีระ มองว่าช่องว่างมีมากมาย เพราะไมใช่แค่อินเตอร์เนต หรือ facebook เท่านั้น
  • กฟผ. ต้องคำนึงถึง Speed of Changeของเทคโนโลยีว่ามีมากน้อยแค่ไหน

กฎ5 ข้อของDale Carnegie ที่ต้อง Linkกับเทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้

  1. การค้นหาตนเอง อย่าค้นหาแบบเดิม ให้ค้นหาบวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
  2. ต้องสร้าง Relationship ต่อไป Relationshipในยุคต่อไปไม่จำเป็นต้องเป็น Face to Face เท่านั้นอาจมีการส่งMessage ต่าง ๆ ไปถึงชุมชน ต่อไป ชุมชนอาจมี Blackberryด้วยก็ได้
  3. การสื่อสารให้ Effective มากกว่านี้ การสื่อสารที่ดีขึ้น คือการให้เห็นตัวอย่างที่ดี  มีการส่งรูป ส่งวีดิโอเป็นต้น
  4. คนยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำที่ดี ผู้นำที่ดีต้องบริหารความหลากหลายให้ได้ ความหลากหลายที่น่ากลัวที่สุดคือความหลากหลายด้านความคิดของคนGeneration ใหม่ ๆ 
  • ดังนั้นการทำงานยุคต่อไปต้องใช้ความเป็นผู้นำ และเชื่อมโยงกับทฤษฎี 8K’s ของดร.จีระ คือมีความสมดุลในชีวิตและการทำงาน
  • การเป็นผู้นำที่ดี ดร.จีระอยากให้ดูทฤษฎีทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ เพราะว่าความสุขคือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต
  • ผู้นำในห้องนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวางแผนชีวิตของครอบครัวและงานให้สมดุล
  • ดร.จีระอยากให้อ่านหนังสือ Harvard Business Reviewศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง เวลาอ่านเรื่องเกี่ยวกับผู้นำอย่าลอกเขาให้เอาข้อเท็จจริงมาพูดกัน
  • ผู้นำในห้องนี้ลองคิดดูถึงอนาคตของกฟผ.ว่าจะจัดการเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ และทรัพยากรที่มีจำกัดได้อย่างไร
  • เปลี่ยนจาก Fix mindset เป็น Flexible mindset เป็น Know how to learn และการไป Deal กับปัจจัยที่มองไม่เห็นเช่น ชุมชน หรือ NGOs  ดังนั้น องคาพยพทั้งหมดจึงมาที่ทุนมนุษย์ให้มีความพร้อมที่จะจัดการกับความไม่แน่นอน ทางออกคือการจัดการกับประเทศเพื่อนบ้าน เรียนรู้ที่เข้าใจวัฒนธรรมของประเทศเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น ลาว พม่า และอินโดฯ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงยังมีมหาศาลเช่นกัน
  • ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
  • หลักสูตรนี้ฝึกให้คุณใฝ่รู้
    • ในโลกปัจจุบันมีสิ่งที่ไม่รู้เยอะ(unknown)อนาคตมีแต่ความไม่แน่นอน มีทั้งโอกาส การคุกคาม ประโยชน์ โทษ
    • คนในห้องนี้ต้องเปลี่ยนจากความคิดเดิม เป็นความคิดที่ต้องใฝ่รู้ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิด Habit  ดังนั้น Habitเหล่านี้จึงอันตราย เพราะว่าจะไม่อยู่ตลอดไป แต่ถ้าอยู่ได้ก็ต้องรวมพลังกัน และเรียนรู้ที่จะแสวงหาความรู้ต่อไป
    • ศักยภาพของ Egat ที่ทำให้ชุมชนมหาศาล
    • ความรู้อยู่ที่ความบ้าคลั่งของคน

        วันที่ 28 มีค. 55 เสวนาเรื่อง การจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน พูดเรื่องปัญหาของชุมชนในพื้นที่ คือช้างป่าและไฟป่า และปัญหาอื่น คือ การขาดน้ำ และอาชีพเสริมของชาวบ้าน ดร. จีระได้แนะนำให้เอาประสบการณ์จากที่นี่ไปช่วยสร้างชุมชนในพื้นที่ที่ทำโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะประเทศต้องมีความมั่นคงทางพลังงาน  ในอดีต กฟผ.อาจละเลยชุมชน ต่อไปจะละทิ้งชุมชนไม่ได้ ต้องช่วยเหลือชุมชน ซึ่งเห็นได้จากตัวแทนชุมชนได้พูดถึงอดีตที่สร้างเขื่อนว่า ชาวบ้านเสียใจมากในการถูกเวนคืนที่ดิน ต่อมาเมื่อ กฟผ.เข้าไปช่วยเหลือ ก็มีความรู้สึกที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การช่วยเหลือชุมชนและพัฒนาให้ชุมชนพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

          ในภาคบ่าย เสวนาเรื่อง ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี เรื่องการเตรียมความพร้อมของคนไทย และทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจาก AEC ทั้งเรื่องการศึกษา,การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยคนไทยเองก็มีดีในหลายๆด้าน เช่น service mind ,วัฒนธรรมที่ดีและมีมายาวนาน และชุมชนเองมีความต้องการให้ กฟผ.ช่วยในด้านการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ชุมชน คนไทยเองก็ต้องเตรียมพร้อมในด้านภาษาที่จะสื่อสารมากขึ้น โดยไม่ต้องพูดให้เหมือนเจ้าของภาษาแต่ต้องสื่อสารกันรู้เรื่อง ชอบidea ของอ.ม.ล. ชาญโชติที่จะผลักดันให้ภาษาไทยเป็นภาษากลางของ อาเซียน เพราะมีหลายประเทศที่เข้ามาทำงานในไทย และพูดภาษาไทย และลาวก็สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ถ้าใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางได้คงดีมาก แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของ AECก็คือการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ ลดข้อจำกัดต่างๆทางการค้าลง ทำให้ Fair ขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้น การค้าขายน่าจะดีขึ้น แต่ทั้งนี้เราคนไทยต้องเตรียมตัวให้ดีเพื่อให้มีโอกาสมากขึ้น

           วันที่ 29 มีค. 55 เรียนรู้เรื่องชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน จ,กาญจนบุรี ประธานชุมชน คุณบำเพ็ญ รัตนากรได้แนะนำชุมชนท่าน้ำชุกโดนทั้งประวัติ ความเป็นมา ลักษณะที่ตั้ง จำนวนครัวเรือน ชุมชนนี้ได้ดำเนินการโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องมา 5 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจาก SCC โครงการละ 100,000 บาท ซึ่งประสบความสำเร็จดีมาก ชุมชนให้ความร่วมมือ 80-90% มีคนต่อต้านบ้างแต่ไม่มาก ได้เรียนรู้ถึงการทำงานให้ชุมชนโดยประธานกับกรรมการซึ่งเป็นคนในพื้นที่ทำให้รู้ปัญหาและได้รับความร่วมมือที่ดี การพัฒนาชุมชนเป็นรูปธรรมดี ชาวบ้านได้รับสิ่งที่ต้องการ คือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เช่นการปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงสู่แม่น้ำ เป็นเรื่องที่ดีมากจริงๆ ถ้าทุกชุมชนทำได้อย่างนี้ แม่น้ำในเมืองไทยคงสะอาดขึ้นเยอะ

ความเหมือนของ HR Champions กับ 8k’s + 5k’s

-        แนวคิดหลักในเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ คือ ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร

-        หลักการและความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จโดยผู้ที่มีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสร้างบุคลากรที่มีคุณค่าขององค์กรและประเทศ คือ คุณพารณ และ ดร. จีระ ผ่านมุมมองของผู้ร่วมงาน และลูกศิษย์

ความต่างของ HR Champions กับ 8k’s + 5k’s

       -  HR Champions เป็นชีวประวัติและผลงานของผู้ที่มุ่งมั่นและประสบความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 ท่าน คือ คุณพารณ และ ดร. จีระ เป็นมุมมองเชิงประจักษ์ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย  , สถาบันทรัพยากรมนุษย์, รร.บ้านสันกำแพง, รร.ดรุณาสิขาลัย, รร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า   ส่วน 8k’s + 5k’s กล่าวถึง การมุ่งมั่นและความตั้งใจของ ดร.จิระในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทฤษฎีที่ อ.ดร.จิระตั้งขึ้น คือ 8k’s + 5k’s และการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์และประเทศชาติเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน (AEC)

 

ประโยชน์ในการนำมาใช้ในองค์กร

  1. เปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm Shift) “ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งมีค่าที่สุดของEGAT และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการลงทุน” พัฒนาคนให้มากขึ้น ตามแนวทางของคุณพารณ ผนวกด้วยทฤษฎี 8k’s+5k’s เพื่อสร้างคนให้เป็น Multi Skill และก้าวไปสู่ Global Citizen เพื่อสามารถแข่งขันในโลกได้(Competitiveness Advantage)
  2. สร้าง EGAT ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (Constructionism)
  3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ EGAT ให้เป็นคนเก่ง และคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม เหมือนที่คุณพารณทำในบ.ปูนซิเมนต์ไทย เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน และน่าเชื่อถือ
  4. ให้บุคลากรของ EGAT ทำงานอย่างมีความสุข มีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีความรักความห่วงใยซึ่งกันและกัน
  5. มองอนาคตว่า EGAT จะปรับตัวอย่างไรในการบริหารจัดการบุคลากร เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน(AEC)

                                                                                     ณัฐวุฒิ   แจ่มแจ้ง

 

ถึงชาวblog และสมาชิก EGAT รุ่นที่ 8

- คงจะเตรียมตัว และวิจารณ์หนังสือ Mindset กันสนุกนะครับ 

- อยากให้มี Habit ในการอ่านมากขึ้น

- ตีความหมาย จับประเด็นให้ได้

- อ่านเป็นทีม แบ่งปันก็จะดี - ฝึกภาษาอังกฤษมากขึ้น

- แล้วพบกันครับ - ช่วงที่ 3 แล้ว

- อีกไม่นานก็จะไม่ได้พบกันแล้ว

- อยากให้มีบรรยากาศเหมือนเดินออกกำลังกายที่เมืองกาญฯอีก

สิ่งที่เหมือนกันของหนังสือหนังสือ HR พันธุ์แท้ กับ หนังสือ8K's + 5K's

   1.มีความเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่่มีค่าสำคัญที่สุดโดยได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์อันยาวนานหลายปีที่มีค่ายิ่งของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   2.ให้ความรู้ ความเข้าใจและมุ่งหวังที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้

   3.กล่าวถึง ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ไม่ได้มีพื้นฐานทางการศึกษาด้าน HR แต่ทั้ง 2ท่านมีความเชื่อและศรัทธารวมทั้งได้ทุ่มเทให้กับงาน HR จนประสบผลสำเร็จ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและท่านทั้งสองยังคงดำเนินการกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง

 

 ความแตกต่างกัน

     1.หนังสือ HR พันธุ์แท้  เป็นการนำเสนอความสำเร็จของงาน HR ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เล่าผ่านจากประสบการณ์จริง

     2.หนังสือ8K's + 5K's เป็นการนำเสนอในลักษณะหลักวิชาการ,ประสบการณ์และการวิเคราะห์ของอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  โดยการร้อยเรียงให้ผู้อ่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่าย รวมทั้งได้ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง AEC ใว้ด้วย

 

การนำไปใช้ประโยชน์กับ กฟผ.

   หนังสือทั้ง2เล่มเปรียบเสมือนคู่มือ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร  แต่คงต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน  

 

 วันที่ 27 มีนาคม 2555-29 มีนาคม 2555 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เขื่อนท่าทุ่งนา

     ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เพียง2วันจึงไม่ได้ไปเยี่ยมชุมชนชุกโดน แต่ได้อ่านจากสรุปของทีมงานอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และของเพื่อน EADP8 บางท่าน การเข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ผมได้รับความรู้หลากหลายจากวิทยากรหลายท่านแม้จะเป็นเวลาช่วงสั้นๆทั้งข้อมูลของจังหวัดกาญจนบุรี,ข้อมูลชุมชนรอบเขื่อนท่าทุ่งนา,ผลของ AECต่อชุมชนและการปรับตัวของชุมชน,ผลกระทบจาก โครงการ ทวายของพม่า และที่สำคัญคือการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างไรของ กฟผ.กับ ชุมชนรอบเขื่อนท่าทุ่งนา  จากการที่ได้รับฟังจากตัวแทนทั้งภาคราชการ,นักวิชาการ,นักธุรกิจ,ผู้แทนกฟผ.และตัวแทนชุมชนในครั้งนี้รวมทั้งที่ได้พบจากที่อื่นๆผมมีความเห็นขอเสนอดังนี้

      1 จากการที่ชุมชนมีความคาดหวังความช่วยเหลือจาก กฟผ.มากกว่าหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ผมรู้สึกเห็นใจท่านผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ ที่ต้องรับผิดชอบพื้นที่ทั้งเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนท่าทุ่งนาชึ่งมีพื้นที่ความรับผิดชอบกินบริเวณกว้างมาก แต่ทรัพยากรที่มีอยู่จะเพียงพอต่อความคาดหวังและสร้างความพึงพอใจต่อชุมชนได้หรือไม่ชึ่งน่าจะเกิดกับอีกหลายหน่วยงานในพื้นที่ของ กฟผ.ที่มีความไม่สมดุลของทรัพยากรกับพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบ

      2 เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่(โดยเฉพาะหัวหน้าส่วนราชการ)จะมีระยะเวลารับราชการในพื้นที่สั้นมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง1-2ปี ก็ต้องย้ายไปที่อื่น(ตั้งใจย้ายไปและ/หรือถูกย้าย)นโยบายหรือการพัฒนาจึงไม่ต่อเนื่อง

      3 ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีผู้นำ ที่มีคุณภาพ ชึ่งก็ไม่ต่างจากองค์กรทั่วๆไป การที่จะทำให้ชุมชนรอบพื้นที่ กฟผ.พัฒนาอย่างยั่งยืนจึงต้องพัฒนาคน ทั้งคนของกฟผ.ที่อยู่ในพื้นที่นั้นและคนของชุมชน

      4 ตามที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้กล่าวใว้ช่วงหนึ่งว่าการทำงานของคนบางคนมีลักษณะ”ทำงานให้ผ่านๆไป”,”ทำเพียงเพื่อขอให้ได้ทำ” ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้และจะพบเห็นอยู่ทั่วไป จะพบเห็นความล้มเหลวของโครงการต่างๆที่ถูกสร้างใว้

จำนวนมากที่เกิดจากหลายๆกรณี ที่ไม่ใช่ความต้องการหรือความจำเป็นที่แท้จริงของชุมชน รวมถึงขาดการประเมินผลและติดตามโครงการที่ได้สร้างใว้

      5 ปัจจุบัน การเมืองในท้องถิ่นเข้ามามีทบบาทต่อชุมชนมาก และหากการเมืองเป็นไปเพื่อการพัฒนาชุมชนก็เป็นความโชคดีของชุมชนแต่หากเป็นไปในทางตรงกันข้ามก็ลำบากทั้งชุมชนและ กฟผ. แล้วเราจะเอาชนะเรื่องนี้อย่างไรเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก

 

      นาย อดุลย์ เป็งถา ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าจะนะชุดที่2(บริหาร)

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

27 มี.ค. 55 ได้เรียนรู้จาก อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง การพัฒนาตนเองในปัจจุบัน จะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย ต้องสร้างเครือข่ายให้มากขึ้น ต้องสื่อสารให้ดีขึ้น ต้องมีความหลากหลายในด้านการบริหารและในด้านความคิด ได้รับรู้จากรองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ ถึงการเตรียมความพร้อมของจังหวัดเพื่อรองรับ AEC 2015 โดยเฉพาะเรื่อง โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งกำลังก่อสร้างในประเทศพม่า โดยจะมีการตัดถนนมาที่ จ.กาญจนบุรีด้วยระยะทาง 160 กม. ได้เรียนรู้จาก อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ เรื่อง การอยู่ร่วมกันกับชุมชน ต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน ต้องแบ่งปันและกระจายรายได้อย่างยุติธรรม ได้เรียนรู้จาก ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ เรื่อง การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. ได้รับรู้ถึงความคิดเห็นของชุมชน ที่มีต่อ กฟผ. เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนท่าทุ่งนา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้เกิดการยอมรับจากชุมชนดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งที่ กฟผ. ควรจะดำเนินการ คือ - กฟผ. ควรจะมีนโยบายที่ชัดเจนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ AEC 2015 - กฟผ. จะต้องบูรณาการคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ให้คิดร่วมกัน เพื่อความอยู่รอดของ กฟผ. ในอนาคต - กฟผ. จะต้องสร้างนักคิดที่เป็นทั้ง นักคิดเชิงสร้างสรรค์ และนักคิดเชิงกลยุทธ์ - กฟผ. จะต้องช่วยทำให้ชุมชนที่ดูแลเข้มแข็ง แล้วชุมชนจะรักและไว้เนื้อเชื่อใจ กฟผ. - กฟผ. ต้องปรับแนวคิดใหม่ในการสร้างโรงไฟฟ้า โดยสร้างโรงไฟฟ้าในท้องถิ่น ที่ไม่เกิดมลพิษต่อชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม และต้องได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง กฟผ. กับชุมชน ต้องแบ่งปันและกระจายรายได้อย่างยุติธรรม

28 มี.ค. 55 ได้เรียนรู้การทำ CSR เรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนบ้านช่องสะเดา จากการลงพื้นที่จริง รับรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชนจริง เป็นการแก้ปัญหาชุมชนที่ตรงจุดและตรงความต้องการของชุมชน รวมทั้งชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เกิดการยอมรับ และไว้เนื้อเชื่อใจ เรามากขึ้น ได้เรียนรู้ เรื่อง อาเซียนเสรี หรือ AEC 2015 อย่างละเอียด ทำให้รู้ว่า คนไทยต้องเตรียมตัวในเรื่อง ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาจีน การขนส่งสินค้า และโลจิสติกส์ ก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่อง Thainess ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี กล่าวว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่อง Service Mind ที่ดีที่สุดในโลก ดังนั้น ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเรื่อง การให้บริการที่เน้นความเป็นไทย และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดังนั้น สิ่งที่ กฟผ. ควรจะดำเนินการ คือ - นำเอาแนวทาง การเสวนากับชุมชนในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาและข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของชุมชน ไปใช้กับพื้นที่โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกแห่ง ซึ่งเชื่อได้ว่า ชุมชนกับ กฟผ. จะอยู่ด้วยกันเหมือนพี่เหมือนน้อง เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน และอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

29 มี.ค. 55 ได้เรียนรู้เรื่อง โครงการ “ปันโอกาส วาดอนาคต” ของชุมชนท่าน้ำชุกโดน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เครือซีเมนต์ไทย นับเป็นโครงการที่ดีมาก ที่ให้พนักงานของบริษัท คิดโครงการที่จะพัฒนาชุมชนของตัวเองโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นด้วย แล้วเสนอขออนุมัติโครงการจากบริษัท ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจที่อยากจะทำ เพราะทำแล้วได้ประโยชน์ต่อท้องถิ่นตนเอง พนักงานเกิดความภาคภูมิใจ ชุมชนยอมรับและร่วมมือ ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ยาเสพติดลดลง และเครือซีเมนต์ไทยเองก็ได้เครือข่ายชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ชอบคำพูดของคุณบำเพ็ญฯ ที่ว่า “การที่ผู้นำชุมชนจะสามารถพัฒนาชุมชนให้เจริญรุ่งเรืองได้นั้น ผู้นำชุมชนจะต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ต้องทำตัวเป็นกลาง” ดังนั้น สิ่งที่ กฟผ. ควรจะดำเนินการ คือ - กฟผ. ควรจะมีนโยบายให้พนักงาน 3-5 คน คิดโครงการพัฒนาท้องถิ่นตนเองที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าร่วมกับชุมชน แล้วนำเสนอโครงการให้คณะกรรมการฯ อนุมัติ วงเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งเชื่อได้ว่า กฟผ. จะอยู่ร่วม กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนแน่นอน

และท้ายสุดสิ่งที่ได้จากการไปอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ในช่วง 27-29 มี.ค. 55 นั้น คือ ความผูกพันและความสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้นของเพื่อนๆ ชาว EADP 8 ทุกคน

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับ กิจกรรม CSR วันที่ 27-28 มี.ค. 2555 การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน จากการเสวนาได้แง่คิดว่า พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ประเทศชาติและชุมชนจะต้องได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ต้องแบ่งปันและกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและยุติธรรม ต้องลงพื้นที่พบประชาชน พูดถึงข้อดีข้อเสียในการสร้างโรงไฟฟ้าอย่างตรงไปตรงมา รับฟังข้อวิตกกังวลของชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษาและกำหนดแนวทางในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ และได้รับรู้ถึงปัญหาของชุมชนบ้านช่องสะเดาที่ต้องการให้ กฟผ.ช่วยเหลือในเรื่องระบบประปา,ช้างป่าและไฟป่าที่เป็น Need ที่แท้จริงของชุมชน ช่วยเรื่องการทำฝายชลอน้ำอย่างถูกวิธีเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและเพิ่มป่าไปในตัว ได้รับรู้เรื่องของอาเซียนเสรี(AEC) ซึ่งจะต้องมีผลกระทบกับไทยในทุกด้าน วิทยากรหลายท่านได้เน้นถึงเรื่องของภาษาว่าจะมีความสำคัญมากในด้านการติดต่อดำเนินธุรกิจ และให้เน้นในด้านความเป็นไทยที่มี Service mind มีความโอบอ้อมอารี ให้พยายามหาจุดแข็งของชุมชนให้เจอและนำมาเป็นจุดขาย สร้าง Brand ของชุมชนขึ้นมา โดยทำเป็น Story เพื่อสร้างจุดขาย วันที่ 29 มี.ค. 2555 เรียนรู้การดำเนินการของชุมชนท่าน้ำชุกโดน ต.บ้านใต้ อ.เมือง กาญจนบุรี ได้เรียนรู้การทำงานของคุณบำเพ็ญ รัตนากร ประธานชุมชนซึ่งเป็นพนักงานในเครือ SCG เป็นคนในพื้นที่ที่มีจิตอาสาต้องการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดให้มีความเจริญ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการนำเสนอโครงการฯจากมูลนิธิรักบ้านเกิดของ SCG ซึ่งโครงการที่เสนอเป็นสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนจริงๆ ได้ข้อคิดในการทำ CSR ให้สำเร็จ จะต้องได้คนในพื้นที่ที่รู้ความต้องการจริงของชุมชน จัดเรียงลำดับความสำคัญ และจะต้องวางตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เน้นเรื่องของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ชุมชนเป็นผู้ลงมือทำเองรับผลประโยชน์เองแล้วโครงการจะไปได้ดี

วันนี้ได้อะไร (27 มีนาคม 2555)

 สวัสดีครับ

วันนี้ออกเดินทางจาก กฟผ. 7.10 น. ถึงเขื่อนท่าทุ่งนา 10 โมงเศษ อ.จีระ เล่าเรื่องว่าช่วงที่ผ่านมาได้อะไรมาบ้าง ได้เล่าถึงอาจารย์เดล คาร์เนกี ที่สอนในระดับโรงเรียนไม่ใช่มหาวิทยาลัยนะ แต่ก็เขียนหนังสือจนมีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก ยุคนี้เป็นยุค Digital ที่ใช้สารสนเทศเป็นสื่อก็มีช่องว่างมากมาย ภายในระยะ 5 ปีเท่านั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก

 

กฏ 5 ข้อที่จะเชื่อมโยงกับสารสนเทศให้ได้คือ

  1. ค้นหาตัวเองว่าชอบเทคโนโลยีอะไร
  2. ใช้สื่อเช่น Blackberry ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนแทนแบบเห็นหน้ากัน
  3. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล
  4. เป็นผู้นำที่ดีบริหารความหลากหลาย
  5. ใช้หลัก 8K’s

 

  • ช่วงนี้ได้อะไรมาบ้าง ให้เล่าให้อาจารย์ฟังด้วย

ช่วงนี้ ได้รายชื่อผู้แทนหน่วยงาน ในคณะทำงานบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานมาแล้ว มอบหมายให้น้องระดับ 10 ช่วยดำเนินการในฐานะเลขานุการ เริ่มตั้งแต่จัดทำรายงานประมาณการค่า EP/SIP ปี 2555 จัดทำระเบียบวาระการประชุม รวมทั้งให้เป็นผู้ประสานงานคณะทำงาน จนถึงช่วงที่มาอบรมที่เขื่อนท่าทุ่งนา จะสื่อสารทางโทรศัพท์และ Email ซึ่งน้องเขาก็ Happy ที่จะทำงานมาก และคาดหวังว่าหน่วยงานในสายงานจะให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์รายงานรายไตรมาสต่อไป

 

  • อาจารย์ให้นึกถึงการบริหารจัดการในระยะยาว รวมทั้งอ่าน Harvard Business Review รายเดือนที่มี CEO กว่า 2.6 ล้านคนในโลกนี้อ่านกัน
  • ยกระดับ Mindset ในการ learn to know ไปสู่ know to learn ซึ่งจะยืดหยุ่นมากกว่า
  • พยายามเปลี่ยนนิสัยให้เป็นผู้บริหารที่ใฝ่รู้
  • คน กฟผ. ไม่ควรเกษียนที่อายุ 60 เพราะความรู้ที่มีคุณค่ายังอยู่ในตัวเขา ควรตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของคน กฟผ. หรือที่ปรึกษาชุมชน
  • คุณมนตรี มาสรุปการบ้านเป็นกลุ่มแรก มีคุณเขมญาติมาเพิ่มเติม กลุ่มสามเลยพูดสิ่งประทับใจในหนังสือ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของหนังสือ 2 เล่ม คือ 1)ประวัติผลงานอาจารย์จีระ 2) การเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ทรัพยากรมนุษย์ ความแตกต่างคือ 1) ประวัติคุณพารณมีแต่ในเล่ม 1 2) บริษัทปูนส์บริหารโดยคนไทยที่สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมการทำงานของตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างกลมกลืน 3) เน้นการศึกษาของโรงเรียน 4) 8K’s 5K’s มาอย่างไร พร้อมทั้ง 4L’s 2R’s 2I’s 5) การเปิดเสรีอาเซียนมีผลกระทบต่อคุณภาพคนไทยทั้งบวกและลบ
  • กฟผ. จะรับมี AEC อย่างไร ได้คิดถึง Asian Grid, GMS, ผู้ผลิตไฟฟ้า IPP, SPP ผู้จัดจำหน่าย กฟน. กฟภ. จะดึงเขามาร่วมคิดร่วมทำด้วยกันหรือไม่?
  • การรับพนักงานใหม่ TOEIC 550 เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ว่าเวลามาทำงานร่วมกับคนรุ่นเก่าจะผสานกันได้อย่างไร?
  • การทำโรงเรียนต้นแบบลึกๆ อย่าทำแบบตื้นๆ ดาวกระจาย ที่ กฟผ. ชอบทำ ขอให้ไปศึกษากับอาจารย์ปรารถนา รร.บางหัวเสิอ จ.สมุทรปราการ ได้
  • ทุนในการตัดสินใจแบบ Microeconomic ต้องเป็นการตัดสินใจวันนี้แล้ว กฟผ. รอดในวันหน้าจึงจะ OK
  • ทุนมนุษย์ เป็น Renewable Capital ในทำนองเดียวกับ Renewable Energy
  • ลินดาพูดถึงผู้เชื่อมโยงที่สร้างสรรค์ (Innovative connector)
  • ให้ลองเขียนหนังสือดูบ้าง ต้องการเห็น EGAT Way ในการต่อต้านนักการเมืองมาแล้ว พยายามสื่อให้เห็นเครือข่าย inside-strong outside-weak
  • Buddhist Capital เป็นคนเก่ง ดี มีคุณธรรม ผลิตสินค้าในราคายุติธรรม
  • Worker, Learner, (Creative) Thinker, Dreamer
  • ทุนมี 4 อย่างคือ เงิน ทรัพยากร กายภาพ และทุนมนุษย์ ซึ่ง 3 อย่างแรก ระวังจะเป็นกับดัก (Trap) แผนสภาพัฒน์ ฉ. 1-5 ขายทุกอย่าง ถ้าไม่ดูแลมนุษย์ จะเสื่อมเร็วกว่ามอเตอร์ไซค์

ประเสริฐศักดิ์

การอบรมช่วงที่ 2 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับกิจกรรม CSRที่เขื่อนท่าทุ่งนา 27-29 มีนาคม 2555 ในความเห็นของผม ถึงแม้ผมจะไม่ได้เข้ารับฟังในวันที่ 27 แต่ก็เห็นได้ว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์ต่อคนกฟผ.โดยการได้เรียนรู้จากสถานที่จริง ได้รับทราบปัญหาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องจริง นอกนั้นยังได้รับทราบวิธีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่ประสพผลสำเร็จจริง พอสรุปผลเพื่อมาพัฒนางาน CSR ของกฟผ.และหลักสูตรได้ดังนี้

1.การดูงานที่ชุมชนท่าสะเดา

คนในชุมชนท่าสะเดามองกฟผ.ว่าสามารถที่จะช่วยเหลือเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ช้าง ไฟป่า น้ำ และ การศึกษาของบุตรแต่เนื่องจากงบประมาณของกฟผ.มีจำนวนจำกัด ควรเป็นหน้าที่ของทางรัฐบาลที่จะต้องเป็นผู้สนับสนุน แต่กฟผ.ควรช่วยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานขอรัฐด้านต่างๆเพื่อให้กลไกการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น พร้อมสนับสนุนเงินช่วยเหลือตามโครงการที่เสนอจากกลุ่มชุมชนบางส่วนเพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และควรมีกิจกรรมพบปะกับผู้นำชุมชุนรอบเขื่อนเป็นระยะเพื่อติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

2.การดูงานที่ชุมชนชุกโดน

คนของSCBที่เป็นจิตอาสาทำด้วยใจที่จะต้องการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดจงมีแรงบันดาลใจที่อยากจะทำขณะเดียวกันทางSCBก็ให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ มีการประกวดผลงานของโครงการที่ได้รับการสนับสนุน ย้อนกลับมาดูที่กฟผ.ของเราบ้าง โครงการในลักษณะที่ว่านี้ยังไม่มี(จิตอาสารักบ้านเกิด)ยังไม่มี ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโครงการของรฟ. ชุมชนสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฟผ.ทำเพื่อให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมต่อชุมชน ภาพที่ได้ก็กว้าง แต่ไม่ได้แทรกตัวเข้าไปในชุมชนอย่างถาวร การที่จะได้ใจเขามาเป็นส่วนร่วมไม่ใช่ว่าตัวเข้าไปร่วม ต้องเอาใจเข้าร่วมด้วยจงจะประสพผลสำเร็จ ปากต่อปากของคนจะพูดต่อๆกันว่ากฟผ.เป็นอย่างไรในเรื่องของ CSR

3.การบรรยายเรื่อง AEC

ผมมีความเห็นว่าชาวบ้านที่มาฟังส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบกับเขาอย่างไรบ้างเพราะมันยังอีกไกล ขณะนี้เขายังมีปัญหาเรื่องที่ทำกิน ปากท้อง สิ่งที่พูดไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ทวาย ถาษา ASEAN ควรมีการแยก Class น่าจะดี และจัดพูดเรื่องนี้โดยเฉพาะที่กรุงเทพ นำเวลาส่วนนี้ไปอยู่กับชุมชนได้โดยอาจจะมีกิจกรรมร่วมกันชุมชนเช่น พักค้างแรมบ้านเขาเลย ไม่ต้องนอนที่เขื่อนท่าทุ่งนา เป็นต้น

สมศักดิ์ ปิยะภาณี

ชอคภ-ภ 17/4/55





นายนเรนทร์ วราภิรักษ์

17 – 26 มีนาคม 2555 เปรียบเทียบหนังสือ HR พันธุ์แท้ และ 8K’s, 5K’s ความเหมือน เป็นหนังสือที่สรุปให้เห็นว่าทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร องค์กรใดที่ลงทุนในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดี จะทำให้สามารถแข่งขันและอยู่ได้อย่างยั่งยืนในสังคม ความต่าง หนังสือ 8K’s, 5K’s เป็นการกล่าวในทางทฤษฎีทางต้นทุนต่างๆ ที่ต้องมี เพื่อใช้ในการพัฒนามนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ AEC 2015 หนังสือ HR พันธุ์แท้ เป็นการนำประวัติ (เป็นส่วนใหญ่) ของคุณพารณ มาเล่าสู่กัน ทำให้เห็ฯแนวการคิดและการลงมือปฏิบัติ เป็นจุดเริ่มให้ผู้อ่านได้มีความคิดถึงวิธีการเริ่มต้น การดำเนินการ และผลลัพธ์ที่ได้

นายนเรนทร์ วราภิรักษ์

27-29 มี.ค. 2555 กิจกรรม CSR วันที่ 27 มี.ค. 55 เป็นการจัด Panel Discussion ในเรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนวทางดำเนินการเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนให้กับชุมชน วันที่ 28 มี.ค. 55 เป็นการเสวนาหัวข้อ "เรียนรู้" การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู่ภัยธรรมชาติ และ สร้างโมเดล "ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี" ทำให้ได้รับประสบการณ์ในการเสวนาจริงร่วมกับชุมชนบ้านสะเดา ทำให้ทราบถึงปัญหาของชุมชนที่ยังต้องการให้ทาง กฟผ. ช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร มองเห็นภาพว่าหากชุมชนรอบโรงไฟฟ้า/เขื่อนยังไม่ยอมรับ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ โดยไม่มีการวางระบบการจัดการกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน ก็จะเป็นปัญหาในการยอมรับของชุมชนเป็นปัญหากระทบต่อโครงอื่นๆในอนาคตอีก น่าจะมีการวางระบบการจัดการชุมชนรอบเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนพร้อมกับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้เห็นว่าชุมชนที่อยู่รอบโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ มีความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ให้กับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่รอบๆโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. วันที่ 29 มี.ค. 55 เป็นการเสวนาหัวข้อ "การเตรียมความพร้อมของชุมชนกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ" ร่วมกับคณะผู้นำชุมชนท่าน้ำซุกโดน ทำให้ทราบว่าทาง SCG มีโครงการ เพื่อให้พนักงานในเครือ SCG สามารถเขียนโครงการปรับปรุง/พัฒนาชุมชน โดยมีรายละเอียดของการดำเนินการโครงการและค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอน เป็นกิจกรรมที่ดีที่ทาง กฟผ. น่าจะสนับสนุนให้ทางชุมชนนำเสนอโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนโดยใช้เงินจากกองทุนที่ทางโรงไฟฟ้าจ่ายสมทบในทุกปี

Mindset (กรอบความคิด) = ชุดของความคิด ความเชื่อ ที่ส่งผลถึงท่าที ทัศนคติ และพฤติกรรม

 

บทที่ 1  กรอบความคิด (The Mindsets)

            ทำไมคนเราถึงแตกต่าง?

            คนเราแตกต่างกันตั้งแต่พื้นฐานทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม แล้ว ยังมีสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือ กรอบความคิด (Mindset) ที่มีผลต่อทัศนคติ พฤติกรรม ตลอดจนท่าทีที่แสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ

            กรอบความคิดมี 2 อย่าง คือ

 

  • กรอบความคิดจำกัด ( Fixed Mindsets, FM) มีชุดความคิดเชื่อในพรสวรรค์ ยึดติดกับความสำเร็จ ไม่ชอบสิ่งท้าทาย และเสี่ยง
  • กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindsets, GM) มีชุดความเชื่อที่ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ความรักการท้าทาย ความเชื่อศรัทธาในความพยายาม ความยืดหยุ่นเมื่อเผชิญหน้าความพ่ายแพ้ และความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า (มีทัศนคติสร้างสรรค์และเป็นบวก)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2 ภายในกรอบความคิด (Inside the Mindsets)

            คุณมีทางเลือก กรอบความคิดเป็นเพียงเรื่องของความเชื่อ เป็นความเชื่อที่มีอำนาจทรงพลังซึ่งอยู่ในใจคุณ  และคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้  กรอบความคิดเหล่านี้ สามารถแบ่งโลกออกเป็น โลกของคนที่เรียนรู้ และคนที่ไม่ยอมเรียนรู้ ดังนี้ คือ

กรอบความคิดเติบโต

 

กรอบความคิดจำกัด

  • ความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้

หรือ

  • การพิสูจน์ว่าคุณเป็นคนเก่ง
  • คลื่นสมองยอมรับการเรียนรู้
 

 

  • คลื่นสมองตอบสนองคำตอบว่าผิดและไม่สนใจคำตอบที่ถูกต้อง
  • การฝึกฝนและการเรียนรู้
 

 

  • โรค “ซีอีโอ”
  • การฝึกฝนเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
 

 

  • พัฒนาในสิ่งที่แน่นอน
  • รู้สึกฉลาดเมื่อรู้สึกว่ากำลังเรียนรู้
 

 

  • รู้สึกฉลาดเมื่อตนไม่พลาด ถ้าไม่ต้องเรียนรู้
  • มองที่การพัฒนาศักยภาพ
 

 

  • ผลการทดสอบเป็นตัวชี้วัดตลอดกาล

 

 

  • ความสำเร็จของฉันคือความล้มเหลวของคุณ

 

 

  • หลีกเลี่ยง โกง โทษผูอื่น
  • ความพยายามสูง
 

 

  • ความเสี่ยงมาก โรคของความพยายามต่ำ
  • เปลี่ยนความรู้เป็นการกระทำ
 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3  ความจริงเกี่ยวกับความสามารถและการประสพความสำเร็จ (The Truth about Ability and Accomplishment)

            ผลความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นในทันที กรอบความคิดและแรงกระตุ้นภายในที่ทำให้อยากรู้อยากเห็น มองหาสิ่งที่ท้าทายใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นความลับในตำนานของความสำเร็จ  ยิ่งในรายที่มีความฉลาดหลักแหลม ก็สามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ได้อย่างรวดเร็ว

 

กรอบความคิดและการประสพความสำเร็จในโรงเรียน

            อาการของโรคความพยายามต่ำ กาาค้นพบสมองของตัวคุณ  ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในมหาวิทยาลัย  ทุกคนถูกสร้างมาเท่าเทียมหรือไม่  ทุกคนทำได้ดีอย่างนั้นหรือ

 

บทสรุป

            กรอบควาามคิดจำกัด (FM) จำกัดความสำเร็จ มันคอยแทรกแซงความคิด จิตใจ ทำให้ความพยายามเป็นสิ่งน่าเบื่อ  และนำไปสู่การเรียนที่แย่ลง ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้คนอื่นที่เข้ามาเป็นผู้พิพากษาแทนที่จะเป็นมิตร  ไม่ว่าเราจะพูดถึงความสำเร็จของเอดิสันหรือดาร์วิน  หรือนักศึกษามหาวิทยาลัย  การประสพความสำเร็จสำคัญ คือ ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แน่ชัด ใช้ความพยายามทั้งหมดและกลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งต้องมีพันธมิตรในการเรียนรู้  นี่คือสิ่งที่ผู้ที่มีกรอบความคิดเติบโตให้กับผู้คน และนั้นก็เป็นเหตุผลทำไมจึงช่วยให้ความสามารถของพวกเขาเติบโตและผลิดอกออกผล

 

ความสามารถทางด้านศิลปะเป็นพรสวรรค์ใช่หรือไม่

            ทั้งๆที่เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ความเฉลียวฉลาดและพรสวรรค์นั้นมีมาแต่กำเนิด  เพียงเพราะว่าบางคนมีความสามารถทำบางสิ่งได้โดยการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องฝึกฝนเลย  ไม่ได้หมายความว่านอื่นไม่สามารถทำได้โดยการฝึกฝนและบางครั้งสามารถทำได้ดีกว่าเสียด้วยซ้ำ

 

อันตรายจากชมเชยและการขนานนามในทางบวก  การขนานนามทางลบและสิ่งนี้ทำงานอย่างไร

            อันตรายจากคำชมเชยและการขนานนามในทางลบ มีผลอย่างมากกับกลุ่มที่มีความคิดแบบจำกัด  ซึ่งจะเชื่อถือและยึดติดกับความคิดเห็น และเชื่อว่าไม่สามารถจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้  ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตที่จะนิยมท้าทาย เรียนรู้ และพัฒนาตัวไปสู่เป้าหมายทีกำหนด

 

บทที่ 4 กรอบความคิดของผู้ชนะ (The Mindsets of Champion)

            คุณลักษณะ หัวใจ ความตั้งใจ และจิตใจของแชมเปี้ยน (Character Heart, Will and the Mind of Champion)  คือการที่คนไม่มีพรสวรรค์ หรือมีพรสวรรค์น้อยกว่าคู่แข่งสามารถชนะการแข่งขัน คนเหล่านี้มีคุณลักษณะที่พวกเขาไม่คิดว่าเป็นคนพิเศษ เกิดมาพร้อมความเหมาะสมที่จะชนะ พวกเขาคือคนที่ฝึกฝนซ้อมอย่างหนัก เรียนรู้วิธีการ จดจ่ออยู่กับเกมแข่งขันภายใต้แรงกดดัน และผู้พยายามขยายศักยภาพของตนให้มากกว่าเดิมในเวลาที่ต้องทำ

การอยู่บนจุดสุดยอด   : คือคุณลักษณะที่ต้องทำงานหนักต่อเนื่องหรือกระทั่งหนัก
  ขึ้นเมื่อคุณอยู่ที่จุดนั้น

อะไรคือความสำเร็จ    : คนมีกรอบความคิดเติบโตพบว่าความสำเร็จอยู่ที่การทำให้ดีที่สุดอยู่ที่การเรียนรู้และการปรับปรุง และนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในตัวแชมเปี้ยน

อะไรคือความล้มเหลว: คนที่มีกรอบความคิดเติบโตต้องพบว่าอุปสรรคทั้งหลายเป็นแรงจูงใจ พวกมันเป็นประโยชน์และเป็นแรงกระตุ้น

รับผิดชอบต่อความสำเร็จ : คนที่มีกรอบความคิดเติบโตจะรับผิดชอบต่อขบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จและรีบรักษาไว้

 

คุณลักษณะ หัวใจและสภาพจิตใจของแชมเปี้ยนเป็นสิ่งที่สร้างนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่และเป็นสิ่งที่มาจากกรอบความคิดเติบโตที่มุ่งมั่นการพัฒนาตนเอง การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง และความรับผิดชอบ

บทที่ 5 กรอบความคิดและภาวะผู้นำ (Business Mindset and Leadership)

 

Enron และกรอบความคิดพรสวรรค์

            ในปี 2001 มีการประกาศการล้มละลายของเอนรอน  บทเรียนสำคัญ แกลดเวลส์สรุปว่า เมื่อคนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยกย่องพรสวรรค์ภายใน  พวกเขาจะลำบากเมื่อภาพลักษณ์ตนเองถูกคุกคาม  พวกเขาจะไม่ยอมแก้ไข พวกเขาจะไม่ยืนต่อหน้านักลงทุนและต่อหน้าประธานและยอมรับว่าทำผิด พวกเขาจะโกหกแทน

 

องค์กรที่เติบโต

ปัจจัยสำคัญตามที่คอลลินส์เขียนไว้ในหนังสือ Good to Great คือผู้บริหาร   ผู้บริหารเหล่านี้ไม่ใช่คนที่มีเสน่ห์  อวดอ้างพรสวรรค์ให้เห็นอัตตาของตนเอง  พวกเขากลับเป็นคนถ่อมตัว ถามคำถามสม่ำเสมอ และมีความสามารถเผชิญหน้ากับคำตอบที่โหดร้ายที่สุด นั่นคือมองความล้มเหลวตรงหน้าแม้กระทั่งของตัวเอง  ในขณะที่ยังมุ่งมั่นศรัทธาว่าพวกเขาจะประสพความสำเร็จในที่สุด

 

การศึกษากรอบความคิดและการตัดสินใจของผู้บริหาร

ความเป็นผู้นำกับกรอบความคิดจำกัด

            ซีอีโอกับอัตตาอันยิ่งใหญ่  ตัวอย่างการกระทำของผู้นำที่มีกรอบความคิดจำกัด

  • ไอเอ ค๊อกคา กับความเป็นวีรบุรุษ
  • อัลเบิร์ต ดันแลปกับความเป็นซุปเปอร์สตาร์
  • เจฟ สกิลลิ่ง กับการขนานนามให้เป็นคนที่ฉลาดที่สุดที่เคยเจอมา
  • 2 อัจฉริยะปะทะกัน ใน AOL และ Times Warners
  • ไม่มีทางเผชิญอันตราย ไม่มีทางพ่ายแพ้ และการได้รับสิทธิพิเศษ
  • เจ้านายที่โหดร้าย (Brutal Boss)

 

 

การกระทำของผู้นำที่มีกรอบความคิดเติบโต

            ตัวอย่างที่น่าสนใจ

  • แจ๊ค เวลช์ ฟังประธานบริหารบริษัท GE

             ให้การยอมรับ ทำให้เติบโต

  • ลู เกรสต์เนอร์ ประธานบริหาร IBM                                          ลดตัวกู ของกู

            ถอนรากกรอบความคิดจำกัด           

  • แอน มัลเคไฮ ประธานบริหารบริษัท Xerox
    การเรียนรู้ความแข็งแกร่งและความเห็นอกเห็นใจ

การศึกษากระบวนการของกลุ่ม

            ผลการศึกษาพิสูจน์ให้เห็นว่ากลุ่มที่มีกรอบความคิดเติบโต เมื่อเวลาผ่านไปจะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ และสร้างผลิตผลได้ดีกว่ากลุ่มกรอบความคิดจำกัด

 

บทที่ 6  กรอบความคิดเรื่องความรัก (Relationships : Mindsets in love (or not))

            ทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็คงเคยตกอยู่ในห้วงแห่งความรักและเคยอกหัก  สิ่งที่แตกต่างกันคือ พวกเขาจัดการเรื่องเหล่านี้อย่างไร

 

กรอบความคิดของคนตกหลุมรัก

            คนจำนวนมากต้องรู้สึกว่าความสัมพันธ์พวกเขานั้นพิเศษและไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ  สิ่งนี้ดูเหมือนไม่ใช่ปัญหา ถ้าเช่นนั้น อะไรคือปัญหาของคนกรอบความคิดจำกัด

  1. ถ้าคุณต้องใช้ความพยายาม มันไม่ใช่บุพเพสันนิวาส
  2. ปํญหาบ่งบอกถึงข้อบกพร่องทางคุณลักษณะ (Character)

ซึ่งในกลุ่มที่มีกรอบความคิดเติบโตจะเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นอันน่าตื่นเต้น  พวกเขาเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนมาจากความพยายามและการจัดการความแตกต่างที่เลี่ยงหนีไม่พ้น

 

 

การแต่งงานครั้งนี้จะปลอดภัยไหม

            การที่มีกรอบความคิดจำกัดสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ของคู่ชีวิตที่เป็นเหมือนศัตรู  ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงแข่งขันจนบรรลุใครคือคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

 

การพัฒนาความสัมพันธ์

            การพัฒนาความสัมพันธ์จะเริ่มจากบรรยากาศ ความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน  มิตรภาพสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องเป็นภาพลักษณ์ที่ตายตัว (Stereotype) เช่นในกรณีความเชื่อในเรื่องความสามารถในทางด้านคณิตศาสตร์ของผู้หญิงฯลฯ ความขี้อายก็เป็นคุณลักษณะที่มีโอกาสทำลายความสัมพันธ์ทางสังคมของคนที่มีกรอบความคิดจำกัดแต่จะไม่ทำอันตรายความสัมพันธ์ทางสังคมของคนที่มีกรอบความคิดเติบโต

 

อันธพาลและเหยื่อ : การแก้แค้นกลับมาเยือน

            ใครคืออันธพาล : ผู้ที่มีอำนาจมากกว่าพยายามตัดสินผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า พวกเขาตัดสินคนเหล่านั้นว่ามีคุณค่าน้อยนิด  และมันทำให้ต้องเผชิญความทรมานหรือยากลำบากเป็นประจำทุกวัน และอันธพาลจะได้รับความมั่นใจว่าเหนือกว่าคนอื่นเป็นการตอบแทนซึ่งจะนำไปสู่ผู้ถูกกระทำ (เหยื่อ) และการแก้แค้น   ในกรณีผู้ที่มีกรอบความคิดจำกัด   ส่วนในกลุ่มที่มีความคิดเติบโตและมอบปัญหาการคุกคามและรังแกเป็นปัญหาทางจิตของอันธพาล  เป็นหนทางสำหรับอันธพาลที่จะได้รับสถานภาพทางสังคมหรือเติมเต็มการยอมรับตนเอง  การแก้ไขกระทำได้โดยการรวมกลุ่มแสดงออกให้เห็นและการให้โอกาสปรับปรุงตัวกับกลุ่มคนที่เป็นปัญหา

 

บทที่ 7 ผู้ปกครอง ครู และโค้ช กรอบความคิดมาจากไหน? (Parents, Teachers and Coaches Where do Mindsets cme from?)

            พ่อ แม่ และครู ข้อความที่เกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลว

            เด็กอยากได้รับคำชม และพอใจที่ได้รับคำชื่นชมความฉลาดและพรสวรรค์ของตน  เป็นการให้กำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจ แต่ก็เป็นเพียงชั่วคราว  ทันทีที่ต้องเผชิญกับอุปสรรค ความมั่นใจก็จะหายไป  และแรงจูงใจก็จะตกต่ำ  ในพวกที่มีกรอบความคิดจำกัด  ถ้าความสำเร็จจะหมายถึงพวกเขาฉลาด  ดังนั้น ความล้มเหลวก็จะหมายถึงพวกเขาโง่  นั่นหมายถึงการสื่อสารที่ทำให้เกิดผลร้ายที่สำคัญ  เราจะสื่อสารข้อความที่เกี่ยวกับกระบวนการและการเติบโต  เราสามารถยกย่องพวกเขาเรื่องกระบวนการที่เน้นการเติบโตได้มากเท่าที่ต้องการ  สิ่งที่ทำให้ประสพความสำเร็จจากการฝึกฝน  เล่าเรียน อุตสาหะ  และวิธีการที่ดี  และสามารถถามถึงผลงานของพวกเขาในหนทางที่ชื่นชม และยกย่องความพยายามและการเลือกของเขา  เช่นเดียวกับการสื่อสารที่อิงกับความล้มเหลว  พ่อแม่ควรจะบอกความจริงและสอนวิธีการเรียนรู้ความล้มเหลว  และการทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ประสพความสำเร็จในอนาคต

 

ครู และพ่อแม่ อะไรทำให้เป็นครู (หรือพ่อแม่ )ที่ยิ่งใหญ่

            ครูผู้ยิ่งใหญ่ เชื่อเรื่องการเติบโตทางรวามฉลาดและพรสวรรค์และหลงใหลในกระบวนการเรียนรู้  การกำหนดมาตรฐานสูง และสร้างบรรยากาศการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้  และปลูกฝังค่านิยมของการทำงานหนักและการทำงานที่หนักขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพตลอดจนบรรลุเป้าหมายที่สำคัญเป็นสิ่งสำคัญ

 

โค้ช : ชัยชนะจากกรอบความคิด

การกระทำของโค้ชที่มีกรอบความคิดจำกัด

            การฝึกสอนเหล่านี้สร้างความเป็นตัวเขา (Identity) ทำให้เป็นคนพิเศษและทำให้โดดเด่น  ความพ่ายแพ้ทำให้เป็นคนล้มเหลว ทำลายความเป็นตัวเขา ดังนั้น เมื่อเขาเป็นโค้ชของคุณ  เขาจะวิพากย์วิจารณ์อย่างไร้ปราณี  และเหยียดหยามผู้เล่นทำให้เขาผิดหวัง  เป้าหมายในอุดมคติจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด ทีมเป็นผลผลิตของเขาและผู้เล่นต้องพิสูจน์ความสามารถทุกครั้ง  พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ซักถาม ทำข้อผิดพลาด จนกระทั่งความพ่ายแพ้ เพราะฉะนั้นจะสะท้อนถึงความสามารถของเขา

 

การกระทำขอโค้ชที่มีความคิดเติบโต

            เป้าหมายในอุดมคติ : การเตรียมตัวและความพยายามอย่างเต็มที่  ให้เกียรติทุกคนเท่าเทียมกัน  เตรียมผู้เล่นให้พร้อมสำหรับชีวิต คือ การวิเคราะห์และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เล่นจนผู้เล่นสามารถนำศักยภาพที่มีมาใช้อย่างเต็มที่ และนำไปใช้ในชีวิตด้วย

 

สิ่งไหนคือศัตรู  ความสำเร็จหรือความล้มเหลว

            ระวังความสำเร็จ สามารถทำให้คุณอยู่ในกรอบความคิดจำกัด  “ฉันชนะเพราะฉันมีพรสวรรค์ เพราะฉะนั้น ฉันจะชนะเรื่อยๆ  ความสำเร็จถ้าทำให้ทีมเป็นโรคหรือทำให้แต่ละคนเป็นโรคได้  ในฐานะเป็นพ่อแม่ ครู และโค้ช  เราได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบชีวิตของคน พวกเขาคือความรับผิดชอบและมรดกของเรา ตอนที่เรารู้ว่ากรอบความคิดเติบโตมีบทบาทหลักที่จะช่วยให้เราบรรลุภารกิจ และช่วยให้พวกเขาเติมเต็มศักยภาพ

 

บทที่ 8 การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด (Changing Mindsets)

            กรอบความคิดเติบโตมีความเชื่อบนพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลง  การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เหมือนการผ่าตัด   เมื่อคุณเปลี่ยนแปลง ความเชื่อเดิมไม่ได้ถูกย้ายออกไป และถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่ดีกว่า  ความเชื่อใหม่ได้เข้ามาอยู่เคียงข้างความเชื่อเดิม  และในขณะที่ความเชื่อใหม่แข็งแกร่งขึ้น  พวกเขาจะให้ทางเลือกที่แตกต่างในการคิด รู้สึก และปฏิบัติ

 

ความเชื่อเป็นทั้งกุญแจสู่ความสุขและความทุกข์

            ทางจิตวิทยา ความเชื่อของคนไข้ที่ก่อให้เกิดปัญหาก่อนจะรู้สึกกังวลหรือโศกเศร้า  แต่กรอบความคิดเป็นมากกว่านั้น  กรอบความคิดตีกรอบเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในสมองของเรา กรอบความคิดนี้ชี้นำแนวทางกระบวนการตีความหมายทั้งหมด  กรอบความคิดจำกัดจะสร้างบทพูดคนเดียวภายในตัวเองที่มุ่งเน้นการตัดสิน

            การบำบัดรักษาโดยวิธีเปลี่ยนความคิด (Cognitive Therapy) สามารถช่วยให้คนเรามีการประเมิน ตัดสิน อย่างมองโลกในแง่ดี และเข้าใจความจริงมากขึ้น  แต่มิได้ทำให้พวกเขาออกจากกรอบความคิดจำกัดด และโลกของการตัดสิน

           

การสอนเรื่องกรอบความคิด

            เพียงแค่เรียนรู้เกี่ยวกับกรอบความคิดเติบโต สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อวิธีคิดเกี่ยวกับตัวเองและชีวิต  แน่นอนคนเหล่านี้จะพบอุปสรรคและความผิดหวัง  และการยึดมั่นในกรอบความคิดเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่การรู้จักกรอบความคิดนี้ก็ให้ทางเลือกแก่พวกเขา  แทนที่ถูกครอบงำด้วยจินตนาการน่ากลัวของวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ นักกีฬา หรืออัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่  กรอบความคิดเติบโตให้ความกล้าหาญแก่พวกเขา ที่หลอมรวมเป้าหมายและความฝันของคน  และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น มันให้หนทางที่จะทำความฝันเหล่านั้นให้กลายเป็นจริง

 

การอบรมเรื่องกรอบความคิด

            ตามที่เราทราบ  วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่เด็กหมดความสนใจในโรงเรียน นี่เป็นช่วงเวลาที่เด็กเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต  และเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาประเมินตัวเองอย่างหนัก  ด้วยกรอบความคิดจำกัด  เด็กที่มีกรอบความคิดจำกัดจะรู้สึกแตกตื่นและหาที่กำบังซึ่งเป็นการแสดงถึงแรงจูงใจและเกรดที่ตกต่ำ  การอบรมเรื่องกรอบความคิดทำให้นักเรียนสามารถควบคุมสมองของตน  ปลดปล่อยจากความเลวร้ายของกรอบความคิดจำกัด

 

สมองวิทยา (Brainology)

            ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา สื่อและสมองได้พัฒนาโปรแกรม Brainology  เขาสอนเรื่องสมอง การดูแล และทำให้เติบโต  สอนวิธีได้ผลลัพธ์สูงสุดจากการใช้สมอง

เริ่มก้าวแรกการอบรมสำหรับคุณ

  • แผนการที่คุณจะทำและแผนที่จะไม่ทำ
  • ตัวเลือกหมายเลขหนึ่ง
  • คนที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง

×         สิทธิประโยชน์      :  โลกนี้เป็นหนี้คุณ

×         การปฏิเสธ             :  ชีวิตของฉันสมบูรณ์แบบ

  • การเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดลูกคุณ

×         เด็กที่มีกรอบความคิดจำกัดเกินวัย

×         พยายามกลายเป็นสิ่งที่ผิดพลาด

  • กรอบความคิดและความตั้งใจแรงกล้า

×         ความโกรธ

×         กรอบความคิดเติบโตและการควบคุมตนเอง

  • รักษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไว้
  • เรียนรู้และช่วยให้คนอื่นเรียนรู้

เป็นสิทธิ์ของคุณที่จะตัดสินใจว่าการเปลี่ยนแปลงเหมาะสำหรับคุณหรือไม่  แต่ไม่ว่าอย่างไร  เก็บกรอบความคิดเติบโตไว้ในความคิดของคุณ  เมื่อเวลาเผชิญกับอุปสรรค คุณหันไปหาสิ่งนี้ได้  กรอบความคิดเติบโตยังอยู่ที่นั้นสำหรับคุณเสมอ และแสดงให้คุณเห็นเส้นทางสู่อนาคต

           

 

 

           

 

           

 

คุณประเสริฐศักดิ์

วันนี้ได้อะไร (27 มีนาคม 2555)

 สวัสดีครับ

วันนี้ออกเดินทางจาก กฟผ. 7.10 น. ถึงเขื่อนท่าทุ่งนา 10 โมงเศษ อ.จีระ เล่าเรื่องว่าช่วงที่ผ่านมาได้อะไรมาบ้าง ได้อ้างถึงอาจารย์เดล คาร์เนกี ที่สอนในระดับโรงเรียนไม่ใช่มหาวิทยาลัยนะ แต่ก็เขียนหนังสือจนมีชื่อเสียงดังไปทั่วโลก ยุคนี้เป็นยุค Digital ที่ใช้สารสนเทศเป็นสื่อก็มีช่องว่างมากมาย ภายในระยะ 5 ปีเท่านั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก

 

กฏ 5 ข้อที่จะเชื่อมโยงกับสารสนเทศให้ได้คือ

  1. ค้นหาตัวเองว่าชอบเทคโนโลยีอะไร
  2. ใช้สื่อเช่น Blackberry ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนแทนแบบเห็นหน้ากัน
  3. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล
  4. เป็นผู้นำที่ดีบริหารความหลากหลาย
  5. ใช้หลัก 8K’s

 

  • ช่วงนี้ได้อะไรมาบ้าง ให้เล่าให้อาจารย์ฟังด้วย

ช่วงนี้ ได้รายชื่อผู้แทนหน่วยงาน ในคณะทำงานบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานมาแล้ว มอบหมายให้น้องระดับ 10 ช่วยดำเนินการในฐานะเลขานุการ เริ่มตั้งแต่จัดทำรายงานประมาณการค่า EP/SIP ปี 2555 จัดทำระเบียบวาระการประชุม รวมทั้งให้เป็นผู้ประสานงานคณะทำงาน จนถึงช่วงที่มาอบรมที่เขื่อนท่าทุ่งนา จะสื่อสารทางโทรศัพท์และ Email ซึ่งน้องเขาก็ Happy ที่จะทำงานมาก และคาดหวังว่าหน่วยงานในสายงานจะให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์รายงานรายไตรมาสต่อไป

 

  • อาจารย์ให้นึกถึงการบริหารจัดการในระยะยาว รวมทั้งอ่าน Harvard Business Review รายเดือนที่มี CEO กว่า 2.6 ล้านคนในโลกนี้อ่านกัน
  • ยกระดับ Mindset ในการ learn to know ไปสู่ know to learn ซึ่งจะยืดหยุ่นมากกว่า
  • พยายามเปลี่ยนนิสัยให้เป็นผู้บริหารที่ใฝ่รู้
  • คน กฟผ. ไม่ควรเกษียนที่อายุ 60 เพราะความรู้ที่มีคุณค่ายังอยู่ในตัวเขา ควรตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของคน กฟผ. หรือที่ปรึกษาชุมชน
  • คุณมนตรี มาสรุปการบ้านเป็นกลุ่มแรก มีคุณเขมญาติมาเพิ่มเติม กลุ่มสามเลยพูดสิ่งประทับใจในหนังสือ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของหนังสือ 2 เล่ม คือ 1)ประวัติผลงานอาจารย์จีระ 2) การเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ทรัพยากรมนุษย์ ความแตกต่างคือ 1) ประวัติคุณพารณมีแต่ในเล่ม 1 2) บริษัทปูนส์บริหารโดยคนไทยที่สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมการทำงานของตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างกลมกลืน 3) เน้นการศึกษาของโรงเรียน 4) 8K’s 5K’s มาอย่างไร พร้อมทั้ง 4L’s 2R’s 2I’s 5) การเปิดเสรีอาเซียนมีผลกระทบต่อคุณภาพคนไทยทั้งบวกและลบ
  • กฟผ. จะรับมี AEC อย่างไร ได้คิดถึง Asian Grid, GMS, ผู้ผลิตไฟฟ้า IPP, SPP ผู้จัดจำหน่าย กฟน. กฟภ. จะดึงเขามาร่วมคิดร่วมทำด้วยกันหรือไม่?
  • การรับพนักงานใหม่ TOEIC 550 เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ว่าเวลามาทำงานร่วมกับคนรุ่นเก่าจะผสานกันได้อย่างไร?
  • การทำโรงเรียนต้นแบบลึกๆ อย่าทำแบบตื้นๆ ดาวกระจาย ที่ กฟผ. ชอบทำ ขอให้ไปศึกษากับอาจารย์ปรารถนา รร.บางหัวเสิอ จ.สมุทรปราการ ได้
  • ทุนในการตัดสินใจแบบ Microeconomic ต้องเป็นการตัดสินใจวันนี้แล้ว กฟผ. รอดในวันหน้าจึงจะ OK
  • ทุนมนุษย์ เป็น Renewable Capital ในทำนองเดียวกับ Renewable Energy
  • ลินดาพูดถึงผู้เชื่อมโยงที่สร้างสรรค์ (Innovative connector)
  • ให้ลองเขียนหนังสือดูบ้าง ต้องการเห็น EGAT Way ในการต่อต้านนักการเมืองมาแล้ว พยายามสื่อให้เห็นเครือข่าย inside-strong outside-weak
  • Buddhist Capital เป็นคนเก่ง ดี มีคุณธรรม ผลิตสินค้าในราคายุติธรรม
  • Worker, Learner, (Creative) Thinker, Dreamer
  • ทุนมี 4 อย่างคือ เงิน ทรัพยากร กายภาพ และทุนมนุษย์ ซึ่ง 3 อย่างแรก ระวังจะเป็นกับดัก (Trap) แผนสภาพัฒน์ ฉ. 1-5 ขายทุกอย่าง ถ้าไม่ดูแลมนุษย์ จะเสื่อมเร็วกว่ามอเตอร์ไซค์

 

รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พงศธร สัจจชลพันธ์

 

 

 

ภากร สงวนทรัพยากร

หนังสือ HR พันธ์แท้ และหนังสือ 8K’s+5K’s ฯ สรุปสาระสำคัญได้ 2 ประเด็น

  1. เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างคือ

1.1   ความเหมือนคือ หนังสือทั้งสองเล่มได้กล่าวถึง

  • ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การใฝ่รู้ การเรียนรู้ตลอดเวลา
  • การทำงานต้องมีสมดุล และมีความสุข

1.2    ความแตกต่าง คือ

  • หนังสือ HR พันธ์ จะเป็นการบอกถึงประวัติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวอย่างสำหรับการอธิบายทฤษฎี 8K’s+5Ks และการนำมาประยุกต์ใช้
  • รูปแบบการนำเสนอการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  1. ประโยชน์ที่นำมาใช้ใน กฟผ.  คือ ผู้บริหารระดับสูงควรผ่านงานด้าน HR เพื่อจะได้เข้าใจแนวคิด HR อย่างลึกซึ้ง

 

 

ภากร สงวนทรัพยากร

หลักสูตรผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับกิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนา ได้ให้แนวคิดที่ดีโดยเฉพาะกิจกรรมที่ชุมชนท่าชุกโดน ผมได้ทราบว่าวิธีการที่จะเข้ากับชุมชนรอบ ๆ โรงไฟฟ้าได้ดีควรประกอบด้วย

  • ควรช่วยเหลือชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้คิดเอง ว่าในขณะนั้นชุมชนต้องการอะไร
  • หาก พนักงาน กฟผ. เป็นสมาชิกในชุมชนนั้นก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น
  • การช่วยเหลือนี้ต้องเป็นความร่วมมือกัน ไม่ใช่เป็นการให้เปล่า
ภากร สงวนทรัพยากร

Mind Set ที่ถูกต้องตามกาละต่างหาก คือกุญแจแห่งความสำเร็จของมนุษย์

Dr.Carol S. Dweck เฝ้าติดตามเด็กที่ถูกวินิจฉัยตั้งแต่เล็กๆว่าเป็น “เด็กอัจฉริยะ” เพื่อดูว่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเด็กเหล่านี้จะมีชีวิตเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

ผลปรากฏว่าเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กอัจฉริยะส่วนใหญ่ล้มเหลวทั้งชีวิตการเรียน และชีวิตการทำงานเมื่อพวกเขาโตขึ้น

สาเหตุก็คือ Mind Set ของพวกเขานั่นเอง

เด็กอัจฉริยะทุกคนต่างถูกคาดหวังจากสังคมว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรทุกอย่างได้สำเร็จเสมอ

“เพราะคุณคืออัจฉริยะ คุณจึงไม่มีพื้นที่สำหรับความล้มเหลว”

“ถ้าล้มเหลวก็แปลว่าคุณคืออัจฉริยะจอมปลอม”

แรงกดดันจากสังคมรอบข้างหล่อหลอมความหวาดกลัวต่อความล้มเหลวให้เกิดขึ้นในใจของเด็กอัจฉริยะเหล่านี้ ในที่สุดพวกเขาก็เลยหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาที่ยากๆ และมีแนวโน้มว่าตัวเองจะทำไม่ได้

“ความล้มเหลวคือสิ่งเลวร้าย” คือ Mind Set ของพวกเขา

เมื่อไม่มีโจทย์ยากๆให้แก้ เมื่อไม่มีแบบฝึกหัดชีวิตทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวให้สัมผัส ความเป็นอัจฉริยะที่มีอยู่จึงไม่ได้รับการฝึกปรือ สุดท้ายชีวิตของพวกเขาจึงมีแต่ความล้มเหลว

ตรงกันข้ามกับเด็กที่คะแนนความสามารถไม่ดีนัก เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกคาดหวังอะไรจากสังคม พวกเขาจึงไม่กลัวความล้มเหลว พวกเขาจึงพร้อมที่จะลอง พร้อมที่จะล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา

“คราวนี้ไม่สำเร็จไม่เป็นไร คราวหน้าขอลองใหม่อีกที” คือความคิดของพวกเขา ซึ่งก็คือ Mind Set ของพวกเขานั่นเอง

ในที่สุดมันก็ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยบทเรียน และประสบการณ์ชีวิตที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่าเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กอัจฉริยะ

Mind Set คือสิ่งกำหนดพฤติกรรม กรอบวิธีคิด และการตัดสินใจของคนเรา

เพราะ Mind Set ที่กลัวความล้มเหลว ทำให้เด็กอัจฉริยะที่ Dr.Carol S. Dweck เฝ้าติดตามเกิดความล้มเหลวในชีวิตอย่างไม่น่าเป็นไปได้

เด็กเหล่านี้เกิดมาพร้อมกับต้นทุนชีวิตที่สูง แต่ด้วย Mind Set ที่ผิด ทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้ต้นทุนที่สูงยิ่งนี้สร้างความสำเร็จให้กับชีวิตของตนเองได้เลย

นั่นคือสาระเรื่อง Mind Set ของ Dr.Carol S. Dweck

Mindset                          

1.  คนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันเนื่องจากมีกรอบความคิด ที่ต่างกัน  โดยมีการแบ่งกรอบความคิดดังกล่าวออกเป็น 2 ประเภทคือกรอบความคิดจำกัด(Fixed Mindset) และกรอบความคิดเติบโต  (Growth Mindset)   ซึ่งเป็นเหตุให้มีความเชื่อที่แตกต่างกันดังนี้

          กรอบความคิดจำกัด(Fixed Mindset) มีความเชื่อว่า

-                   คุณสมบัติต่างๆของคนถูกจารึกสลักมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้

-                   ความพยายามเป็นสิ่งเลวร้าย  มีไว้สำหรับคนที่มีข้อบกพร่อง

-                   ความท้าทายเป็นภัยคุกคาม

-                   ความล้มเหลวหมายถึงความไม่ฉลาดและไม่มีพรสวรรค์

 

         กรอบความคิดเติบโต  (Growth Mindset) มีความเชื่อว่า

    - การขยายขอบเขตการเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นการพัฒนาตนเอง

      - ความพยายามคือสิ่งที่ทำให้ฉลาดและมีพรสวรรค์

       -  มั่นใจที่จะเผชิญกับความท้าทาย

    - ความล้มเหลวจะเป็นประสบการณ์อันเจ็บปวด มันเป็นปัญหาต้องเผชิญ ต้องจัดการ     และเรียนรู้จากมัน

    - ความสามารถและพรสวรรค์สามารถพัฒนาขึ้นได้

 

จากความเชื่อที่แตกต่างกันนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่มีกรอบความคิดจำกัดหยุดการเรียนรู้แต่คนที่มีกรอบความคิดเติบโตพร้อมที่จะเรียนรู้

  1. การจะเปลี่ยน Mindset ของคน Egat  ให้ บ้าคลั่งความรู้พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ทำได้โดยการสร้างให้เกิดความเชื่อตามกรอบความคิดเติบโต  (Growth Mindset)ที่ระบุไว้ข้างต้น

         

วิธีการสร้างความเชื่อตามกรอบความคิดเติบโต  

-                   อบรมเชิงปฎิบัติการโดยผู้เชื่ยวชาญ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างระหว่างกรอบความคิดเติบโตและกรอบความคิดจำกัด

-                    กำหนดหัวข้อการเรียนรู้และพัฒนางานเป็นKPIรายบุคคล และมีการประเมินผล ให้ผูกกับการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนระดับ และการแต่งตั้งตำแหน่ง

 

     

     

 

                          

27 มี.ค.55 14.00 น. นายพงศธร สัจจชลพันธ์ รอง ผวจ. กาญจนบุรี

  • พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ 19,000 ตร.กม. หรือประมาณ 12 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าเขา7 ล้านไร่ถือครองเกษตร 3 ล้านไร่ จำนวนคน 0.8 ล้านคน แบ่งพื้นที่เลือกตั้งเป็น 5 เขต เทียบกับ จ.ชัยภูมิเล็กกว่าแต่มี ส.ส. ได้ 7 คน พื้นที่แยกเป็น 3 โซน 1) โซนอนุรักษ์มีถึง 7 อุทยานแห่งชาติ 2) โซนเศรษฐกิจ อ.ท่าม่วง ท่ามะกา มี โรงน้ำตาล 7 โรง พื้นที่ปลูกอ้อยมาก 3) โซนอีสานกาญจน์ อ.ห้วยกระเจา เลาขวัญ บ่อพลอย ต้องดูแลขั้นพื้นฐานคือ น้ำ ไม้ ม้า มอญ
  • นักธุรกิจ ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ Vitafood ใช้แรงงานคนพม่า อาศัยอยู่ใน อ. ท่ามะกา มาก ปัญหาคนไร้รัฐเป็น Black zone ยาวถึง 343 กม. ทางแก้ไขปัญหาคือต้องกำหนดเขตแดนให้ชัดเจนก่อน มีถึง 43 ช่องเขาที่ติดต่อกับพม่าได้ แต่ไม่มีจุดผ่านแดน
  • การค้าขายกับพม่า จ.กาญน์ ขาดดุล เพราะขาย 1,700 ล้านบาท ซื้อ 40,000 MB/ครึ่งปี ทั้งปีก็ 80,000 ล้านบาท เป็นการซื้อก๊าซจากพม่าที่บ้านอีต่องมาตั้งแต่ปี 2541 เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า
  • พม่าเปิดให้บริษัทอิตาเลียนไทยทำโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นาบุญเลย์ นิคมทวายมีพื้นที่กว่า 250 ตร.กม. ต้องพัฒนาถนนเชื่อมทวาย-กาญจน์ จีนสร้างทางรถไฟ ลงมาที่ท่าเรือทวายแล้วเราต้องเร่งทำขณะนี้มีเส้นทาง ไปบางใหญ่ นนทบุรี ระยะทางเพียง 90 กม. แต่ว่ายังขาดจาก จ.กาญจน์-ชายแดน
  • ปัญหาพื้นที่ จ.กาญจน์ ในปี พ.ศ.2481 ทหารมากาญจน์ประกาศ 3.5 ล้านไร่ มีพื้นที่เป็น นส.3 60,000 ราย ปี 2495 มีภาพถ่ายทางอากาศแก้ปัญหาได้ 10,000 ราย ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ทำส่งมาได้แค่ 100 กว่าราย คพท.5 ชี้พื้นที่ซ้ำซ้อน ดูจาก GDP 84,000 บาท/ราย ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) 30,000 บาท/คน/ปี ดำเนินการได้แค่ 20 คน
  • ด้านสังคม อ.สังขละบุรี มีค่ายทหารมอญ กะเหรี่ยง KNU 5,000 คน + 600 คน เป็น City State
  • ปัญหาช้างป่า 200 ตัว ทำลายพืชไร่ของชาวบ้าน ก็ต้องจ่ายเงินชดเชยค่าพืชผลของชาวบ้าน แต่ว่าช้างบ้าน 201 เชือก มีใบทะเบียนช้าง บางทีแจ้งว่าเล็บเป็นดอก ไม่ชัดเจน อาจต้องเป็นช้างป่า ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นช้างป่าหรือช้างบ้าน ใบหูช้างฝัง Ship มีแต่รหัส พอถอดรหัสออกมา ฐานข้อมูล (database) สัตวแพทย์กับกระทรวงมหาดไทยไม่ตรงกัน ต้องสังคายนาฐานข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วไทย
  • ปัญหาเรื่องกลัวเขื่อนจะแตก ในปี 2526 แผ่นดินไหว 5.6 ริกเตอร์ ผู้เข้ารับการสัมมนาแจ้งว่าการเก็บน้ำในช่วงปี 2522 – 2526 ปริมาณน้ำมากขึ้นทำให้อ่างเก็บน้ำปรับตัว (Setting) เท่านั้น คงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนจะแตกโพละ ภายใน 7 ซั่วโมง ระดับน้ำใน จ.กาญจน์ จะสูงกว่า 25 เมตร ประมาณ 28 ชั่วโมงก็มาถึงกรุงเทพและปริมณฑล
  • บทบาทการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านรัก – แบบแรกได้ผลตอบแทนทันทีชาวบ้านจะรักชั่วคราว จะสู้แบบที่ได้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืนไม่ได้ ชาวบ้านจะรักเราชั่วชีวิต ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ อ.เมืองนครพนม ธกส. ทำให้ลูกค้าเข็มแข็ง มี “โครงการเยี่ยมบ้านยามแลง” ในปี 2542 ทำงานมีอุดมการณ์เป็นแกนในการเกาะแนวคิดพอเพียง ส่วนราชการกำหนดวิธีการ ไม่ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดเท่านั้นจึงตกเกณฑ์ 5 ดาว
  • ภูมิสังคม ค่าแรงปรกติ เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 % รัฐบาลกำหนดให้ 1 เม.ย. 55 นี้ เพิ่มค่าแรง +40 % แล้วผลผลิตบริษัทได้รับน้อยเช่นเดิม บริษัทฯ ขู่จะฟ้องศาล จะแก้ไขกันอย่างไร
  • เกิดประชาคมอาเซียน (AEC) 1.ม.ค.58 แล้วจะเป็นอย่างไร” จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สินค้าแฟชั่นจะมีภาษีเป็น 0 แรงงานเคลื่อนย้าย AEC ดู 3 เสาหลัก การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ ประเสริฐศักดิ์ ช.อศง-ลท.
นรชัย หลิมศิโรรัตน์

Self Study & Assignment (2) วันที่ 30 มี.ค. – 23 เม.ย. 55  อ่านหนังสือ Mindset

  1. ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดเรียนรู้

               ในโลกนี้แบ่งคนเป็นสองจำพวก คือ พวกที่เรียนรู้และพวกที่ไม่ยอมเรียนรู้ คนที่ไม่ยอมเรียนรู้เป็นคนที่มีกรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) เป็นคนที่มีความเชื่อว่าคุณสมบัติของคนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือพรสวรรค์ ไม่สามารถพัฒนาได้ ตรงกันข้ามกับคนที่เรียนรู้ คนพวกนี้เป็นคนที่มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) เชื่อว่าคุณสมบัติของคนเรา เช่นสติปัญญา เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยพัฒนาจากการเรียนรู้ จากความเพียรพยายาม และประสบการณ์

  1. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

วิธีเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT

-                    ผู้บริหารกำหนดเรื่องการสร้าง Learning Organization (LO) เป็นนโยบายในองค์กรอย่างชัดเจน และ มุ่งมั่น

-                    สร้าง Motivation and Inspiration ให้เกิดในคนทุกระดับขององค์กร กระตุ้นให้เกิด LO

-                    กำหนดระบบการวัดผล ตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดได้ ในทุกระดับของคนในองค์กรในการทำ LO

 

 

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับ กิจกรรม  CSR ของ กฟผ.  27-29 มี.ค. 2555 ณ เขื่อนท่าทุ่งนา จ. กาญจนบุรี

วันที่ 27 มี.ค. 2555

ในภาคเช้า อ.จีระได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม และมีการนำเสนอความเห็นของแต่ละกลุ่ม จากการอ่านหนังสือ HR พันธุ์แท้ และ 8K’s + 5 K’s

ภาคบ่าย เป็น Panel Discussion หัวข้อ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน โดยคุณพงศธร รอง ผวจ. กาญจนบุรี คุณมนูญ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน คุณสมภพ อสค. กฟผ. และ คุณวสันต์ ผญบ.หมู่ 5 บ้านช่องสะเดา

คุณพงศธร บรรยายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดกาญจนบุรี ได้ความรู้เรื่องเมืองกาญฯเกี่ยวกับพื้นทีและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีคำถามว่าคนเมืองกาญฯมีความรู้สึกอย่างไรกับ กฟผ. ท่านตอบว่าคนรัก กฟผ. มีสองแบบ คือแบบมีผลตอบแทน และแบบกัลยาณมิตร ซึ่งท่านอยากให้เป็นแบบหลังมากกว่า

คุณมนูญ กล่าวว่าต้องตอบคำถามก่อนว่า การต่อต้านการพัฒนาพลังงานมากขึ้นจริง หรือว่าเป็นเพียงกระแส พวกต่อต้านมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกต่อต้านเพราะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาจริงๆ กลุ่มที่สองต่อต้านเพราะได้ผลประโยชน์จากการต่อต้าน

คุณสมภพ ให้ความเห็นว่าต้องเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าให้ชุมชนเสียสละ เป็นต้องให้ผลประโยชน์กับชุมชนโดยตรง เช่น ในรูปของหุ้น หรือผลกำไร และต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก

คุณวสันต์ ได้เล่าเรื่องที่ชาวบ้านต้องเจ็บปวดกับการที่ถูกเวนคืนที่ทำกินในระยะแรกของการสร้างเขื่อนท่าทุ่งนาของ กฟผ. แต่ขณะนี้มีความรู้สึกที่ดีต่อ กฟผ. เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจาก กฟผ. ในด้านต่างๆ  อย่างไรก็ตามปัญหาของชุมชนก็ยังไม่หมดไป ยังมีปัญหาเรื่องไฟป่าและช้างป่าที่มากินและทำลายพืชสวนของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านอยากให้ กฟผ. ช่วยเหลือในสองเรื่องนี้

วันที่ 28 มี.ค. 2555

ภาคเช้า เป็นการเสวนาที่ อบต. ช่องสะเดา เรื่องการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ คุณสุธี ตัวแทนพลังงานจังหวัด คุณบุญอินทร์ อขศ. คุณสมภพ อสค. คุณคุณวสันต์ ผญบ.หมู่ 5 บ้านช่องสะเดา

ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 และ ตัวแทนชาวบ้านช่องสะเดา โดยสรุปเนื้อหามีดังนี้

ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 ได้พูดถึงเรื่องปัญหาของชาวบ้านที่ต้องการให้ กฟผ.ช่วยเหลือ ได้แก่ เรื่อง ไฟป่าช้างป่า และการทำฝายน้ำขนาดเล็ก ซึ่งในสองเรื่องแรกคุณบุญอินทร์รับที่จะพิจารณาให้ ทางด้านคุณสุธีได้แจ้งให้ทราบว่าพลังงานจังหวัดมีแผนเรื่องพลังงานชุมชนที่จะให้ความช่วยเหลือกับชาวบ้าน เช่น ไบโอแก๊ส เตาประหยัดพลังงาน และพลังงานแสงอาทิตย์

ภาคบ่าย เป็นการเสวนาเรื่อง สร้างโมเดลชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี โดยมีผู้ร่วมเสาวนา ได้แก่ คุณหญิงฤดี คุณนิอันนุวา ตัวแทนพาณิชย์จังหวัด ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 และ ตัวแทนชาวบ้านช่องสะเดา ซึ่งเรื่องนี้คิดว่ายังเป็นเรื่องไกลตัวชาวบ้านมากเกินไปในขณะนี้ และความชัดเจนในเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนก็ยังไม่มีผู้รู้จริงจัง

วันที่ 29 มี.ค. 2555

เยี่ยมชมชุมชนท่าน้ำชุกโดน เป็นชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีคุณบำเพ็ญเป็นผู้นำชุมชน ได้ฟังการบรรยายและเยี่ยมชมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้การอุดหนุนจากบริษัท เอสซีจี เช่น โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง โดยใช้รูปแบบบ่อดักไขมันสำเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และสร้างจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และโครงการอื่นๆอีกหลายโครงการ ชุมชนนี้เป็นชุมชนตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นๆที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

 

 

 

 

 

Mindset

 

                                                        

  1. ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมจะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้

             คนในโลกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เพราะมีกรอบความคิด (Mindset) ที่แตกต่างกัน ซึ่งกรอบความคิดนี้จะชี้นำชีวิตของคน กรอบความคิดมี 2 ชนิด คือ กรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) และ กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) 

          คนที่พร้อมจะเรียนรู้เพราะมีกรอบความคิดเติบโต   มีแนวคิดว่า ความเฉลียวฉลาด และความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ไม่ใช่พรสวรรค์แต่แรกเริ่ม นำไปสู่ความอยากเรียนรู้ จึงมีแนวโน้มที่จะชอบความท้าทาย ยืนหยัดที่จะสู้กับความพ่ายแพ้ เห็นความพยายามเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ เรียนรู้จากคำวิจารณ์ ค้นพบบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น  เชื่อว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ทำให้คนที่มีกรอบความคิดเติบโตพร้อมจะเรียนรู้ ไม่ท้อแท้กับความล้มเหลว ไม่คิดว่าตัวเองกำลังล้มเหลว คิดว่ากำลังเรียนรู้ ผลก็คือ บรรลุความสำเร็จอย่างมาก

         คนที่หยุดการเรียนรู้เพราะมีกรอบความคิดจำกัด มีแนวคิดว่า ความเฉลียวฉลาด และความสามารถเป็นสิ่งตายตัว ไม่สามารถสร้างได้ จึงนำไปสู่ความอยากดูดี เก่ง จึงมีแนวโน้มที่จะ หลีกเลี่ยงความท้าทาย กลัวตนเองไม่ฉลาด ไม่ต้องการเผยข้อบกพร่องของตน จะสนใจต่อเมื่อตนทำได้ดี  มีแนวคิดว่าการประเมินผลครั้งเดียววัดผลตนเองไปได้ตลอดกาล ล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย มองความพยายามว่าไม่มีประโยชน์ ชอบความสำเร็จที่ไม่ต้องพยายาม ละเลยคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์  รู้สึกหวาดกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น ทำให้คนที่มีกรอบความคิดจำกัดหยุดเรียนรู้ ผลก็คือ จะก้าวหน้าในช่วงต้น แต่บรรลุผลสำเร็จต่ำกว่าศักยภาพเต็มที่ของตนเอง   

       แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของเราได้

  1. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคนใน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

                ต้องทำให้คนใน EGAT เปลี่ยน Mindset ไปเป็นแบบ Growth Mindset หรือกรอบแนวคิดเติบโต ซึ่งเชื่อว่า ความเฉลียวฉลาดหรือความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้  โดยเริ่มที่ผู้บริหารทุกระดับต้องมี Growth Mindset เชื่อในศักยภาพและการพัฒนาคนทั้งของตนเองและคนอื่น รับฟังลูกน้อง เป็นผู้แนะนำ ไม่ใช่ตัดสิน สร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ อย่ากังวลกับการตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ มีการอบรมเพื่อเปลี่ยน Mindset ของพนักงาน ให้เกิดการเรียนรู้ ให้โอกาสทุกคนในการพัฒนาตนเอง เก็บเกี่ยวความรู้จากการอบรม อย่าตัดสินประเมินพนักงานเพียงครั้งเดียว ดูการปรับปรุงตนของพนักงาน  และต้องมีการpromotion ให้ความก้าวหน้าในอาชีพ (carrier path),ผลตอบแทน สำหรับพนักงานที่มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง มีระบบการจัดการความรู้ที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่าย และใช้ประโยชน์ได้ ทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คนแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งต้องสื่อสารให้พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์ และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากวิสัยทัศน์ ทั้งในแง่ขององค์กร และต่อพนักงานเอง เพื่อให้พนักงานพร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

 

                                                                             ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง

 

การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน

 

จากการที่ได้ไปอบรมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับกิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนาระหว่าง 27 - 29 มี.ค 55 โดยมีการจัดให้ร่วมเสวนากับผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนทั้งที่ชุมชนช่องสะเดาและชุมชนท่าน้ำชุกโดน ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและได้รับประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากการอบรมในหลักสูตรไหนๆอีก เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความประสงค์ของอาจารย์ที่ต้องการให้ผู้ที่จะเป็นผู้นำในอนาคตต้องศึกษา เข้าใจ เรียนรู้และใกล้ชิดกับชุมชนให้มาก เพราะการที่จะได้ใจจากชุมชนเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายและช่วยสนับสนุนกิจการที่ กฟผ.จะต้องทำต่อไปโดยมีอุปสรรคลดน้อยลง ไม่มีการต่อต้านที่ไม่มีเหตุผลนั้น ก็ต้องเป็นพันธมิตรกับชุมชนให้มากที่สุด สร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนโดยใช้ความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้งแล้วให้ชุมชนช่วยกันทำ ร่วมกันพัฒนาโดยเราช่วยสนับสนุนในส่วนอื่นๆที่จะนำพาให้โครงการนั้นๆสำเร็จได้จริงและอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. ต่อไปเพราะชุนชนเหล่านั้นจะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ กฟผ.ในภารกิจและความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต

 Mindsets

 

จากที่ได้อ่านหนังสือ Mindsets พอสรุปได้ว่า

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้ เพราะว่าคนแต่ละคน

  1. มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน
  2. มีการกระทำต่างกัน
  3. มาจากครอบครัว ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
  4. มีประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาแตกต่างกัน
  5. อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
  6. มีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ต่างกัน
  7. มีแรงบันดาลใจต่างกัน
  8. มีอุปนิสัยใจคอ บุคลิกที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึกต่างกัน
  9. มีกรอบความคิดที่แตกต่างกัน เช่นกลัวความล้มเหลว  กลัวการไม่ยอบรับว่าเป็นคนเก่ง

คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ เพราะเขามีกรอบความคิดแบบ growth Mindset เขามีความเชื่อว่าความสามารถ ความเก่ง สามารถพัฒนาได้ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเป็นการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ไม่กลัวความล้มเหลว กล้าที่จะเผชิญความเป็นจริง ความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้ รู้จักไข่วคว้าฉวยโอกาสนั้นไว้

ส่วนคนที่หยุดการเรียนรู้ เพราะเขามีกรอบความคิดแบบ fixed Mindset ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นคนที่ไม่ยอมเรียนรู้  เขามีความเชื่อว่าคนฉลาดควรจะประสบผลสำเร็จทุกครั้ง  ต้องมั่นใจว่าตัวเองทำได้ถ้าไม่มั่นใจจะไม่ทำ  คนมีความฉลาดอยู่ในระดับหนึ่งและไม่สามารถทำอะไรเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้  ไม่ต้องการจะเปิดเผยข้อบกพร่องของตน

ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน  Mindset  ของคน กฟผ. ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

ผมมีความเห็นว่าต้องมีการอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมยกตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากกรอบความคิดแบบ growth Mindset และผู้ที่ประสบความล้มเหลวจากกรอบความคิดแบบ fixed Mindset มากๆ นั่นคือต้องพยายามเปลี่ยนกรอบความคิดแบบ fixed Mindset ให้เป็นกรอบความคิดแบบ growth Mindset ให้ได้

 

นายไววิทย์ สุขมาก

วันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) เปรียบเทียบการบริหารจัดการเรื่องคน ระหว่าง ปูนซิเมนต์กับ กฟผ. ปูนฯ ร่วมกับ ญี่ปุ่น เน้นการพัฒนา คน ส่วนของ กฟผ.เรา ยังไม่ชัดเจน            จริงไหม? น่าจะจริง เพราะการพัฒนาคน ไม่ได้มุ่งเน้นตั้งแต่การรับ (ถึงแม้ปัจจุบันจะเริ่มมีบ้างแล้วก็ตาม) อีกทั้งการสร้าง Carrier Path&Sucession Plan ไม่ชัดเจน        ๒.) ในองค์กร กฟผ. ดูเหมือนยังไม่ให้เกียรติผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับชั้น อาจจะทำให้การพัฒนางาน คน ไม่ยอมรับกัน        ๓.) ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ถ้าทำให้ยั่งยืน และเห็นผลแบบ Win-Win ต้องทำ Brand EGAT ให้ได้ (ทำแบบดาวกระจาย มีบ้าง แต่อย่าเป็นวิธีการหลัก)        ๔.) กฟผ. ยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่อง นโยบายการรับมือ AEC        ๕.) จากรองผู้ว่าฯ เมืองกาญจนบุรี มีลักษณะภูมิประเทศ ๓ แบบ คือ โซนเกษตร / โซนเศรษฐกิจ / โซนแห้งแล้ง น่าจะบริหารจัดการยาก และแถมด้วยค่าแรงต่างด้าวถูกกว่ากันมากๆ ด้วย ปัญหาปัจจุบันที่ได้รับรู้มีอยู่ ๒ ประเด็น คือ เขื่อนฯ จะแตกไหม (๕.๖ ริกเตอร์ยังสามารถทนได้ ไว้ใจได้) ช้างป่ามีมากถึง ๒๐๐ ตัว (กั้นแนวไว้แต่ยังไม่ได้ผล ๑๐๐%)                    คำคมจากรองผู้ว่าฯ เมืองกาญฯ "เติมเต็มในสิ่งที่ขาด  ไม่ใช่ไปสร้างแต่สิ่งใหม่ๆ ที่เขาไม่ต้องการ"         ๖.) การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน ; พลังงาน, สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของชุมชนทั้งสิ้น ฉะนั้น ทำอะไรในเรื่องพลังงาน และสิ่งแวดล้อม ต้องให้ชุมชนรับรู้ รับทราบ แต่กลุ่มที่ต่อต้านก็มี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการผลประโยชน์  และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจริงๆ การสื่อสารให้รับรู้ จึงต้องใช้วิธี การเข้าถึง คือ แบบ Face to Face วันที่ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) ผญบ. วสันต์ สุนจิรัตน์ บ้านช่องสะเดา (มี ๖๖ ครัวเรือน) ปลามาเลี้ยงแบบยั่งยืน และสอนให้เรียนรู้ ทำป่าให้สมบูรณ์โดยร่วมกันทำฝาย    EADP#8 ได้ร่วมเปิดศักราชแรก โดยสนับสนุนโครงการของชุมชน "เกษตรไข่ไก่" ให้คุณสุเมธฯ ช่วยจัดซื้อไก่ให้ ผญบ.วสันต์ และจะติดตามดูผลความก้าวหน้าต่อไป        ๓.) ในส่วนของ AEC คนไทยต้องเอาจุดเด่นในความเป็นไทย มาสร้างเป็น Brand Story และต้องเพิ่มราคาโดยขายตัวสินค้าพร้อมบริการ                  กฟผ. สามารถสนับสนุนในเรื่องการศึกษาได้ โดยตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้กับชุมชนได้ วันที่ ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) ชุมชนท่าน้ำชุกโดน (มี ๒๑๐ ครัวเรือน) : ประธานชุมชน คือคุณบำเพ็ญฯ เป็นพนักงาน SCG ได้เสนอโครงการฯ ของบจาก SCG (SCG มีโครงการปันโอกาส วาดอนาคต)         ๒.) เริ่มโครงการตั้งแต่ ทำถังดักไขมัน  ขยายผลทำแก๊ส ฯลฯ ซึ่งทำด้วยความเต็มใจ สร้างความภูมิใจให้คณะ และสร้างภูมิทัศน์ให้ชุมชน เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น                ขั้นตอนการดำเนินงาน ; ต้องทำโครงการ --> ไปนำเสนอของบ --> ซื้อของจากร้าน SCG --> ถ้าเกินงบต้องออกเงินเอง --> รายงานต่อโครงการ --> มาทำเองโดยถ้าเป็นวันทำงาน ต้องลามา                ความสำเร็จของโครงการชุมชนท่าน้ำชุกโดน : ๑๐๐% ปัจจุบันมีการไปดูงานเป็นประจำ และจะออกสื่อเป็นตัวแทนของ SCG  นายไววิทย์  สุขมากผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)โทร. ๐๔-๗๔๑-๕๑๐๑, ๗๐-๖๘๘๔๑Office ๐-๕๕๒๑-๕๙๙๗  มือถือ ๐๘-๙๒๐๐-๑๔๗๓โทรสาร ๐๔-๗๔๑-๕๑๙๐

 

    จากการอ่านหนังสือ Mindset ทำให้มาประยุกต์สำหรับการตอบคำถามได้ดังนี้

1.ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้อีกคนหยุดการเรียนรู้

     สำหรับพฤติกรรมที่แตกต่างกันมาจากแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยคนที่มีแนวคิดแบบ Fixed mindset จะทำตัวเหมือนน้ำที่เต็มแก้วจะไม่ยอมรับรู้สิ่งใหม่ เชื่อมั่นในพรสวรรค์หรือความฉลาดของตนเองที่ติดตัวมา และคิดว่าตนเองฉลาดกว่าคนอื่นๆ หากเป็นผู้นำในองค์กรก็จะมีลักษณะเผด็จการ ข่มขู่ลูกน้อง ศักดินา เอาตนเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ห่วงองค์กร บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวได้แก่ ไอเอคอคค่า จากบริษัทฟอร์ด เคนเนท เลย์ และเจฟฟรีย์ สกิลลิ่ง จากบริษัทเอนรอน เป็นต้น ซึ่งผู้บริหารข้างต้นทำให้บริษัทไม่ประสบความสำเร็จ ตากจากคนที่มีแนวคิดแบบ Growth mindset จะเป็นคนที่พร้อมจะรับการเรียนรู้พัฒนาตนเอง มีความพยายามให้บรรลุเป้าหมายแม้ต้องประสบความล้มเหลวก็ไม่ย่อถ้อ มุ่งความสำเร็จของทีมงานและองค์กรไปพร้อมกับความสำเร็จของตน ซึ่งผู้บริหารที่มีแนวคิดนี้ได้ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้แก่ แจ็ค เวล จากบริษัท GE /มัลเคไฮ จากบริษัท XEROX /ลู เกิรติ์ เนอร์ จาก IBM 

2.ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน กฟผ.ให้บ้าคลั่งความรู้พร้อมทำงานมุ่งวิสัยทัศน์

     จุดแรกจะต้องให้คน กฟผ.รับรู้และยอมรับแนวคิด Mindset ก่อน เมื่อยอมรับพนักงานบางกลุ่มที่เป็น Fixed mindset จะต้องปรับพฤติกรรมให้เป็น Growth mindset ทำให้เป็นที่มุ่งมั่นรับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งด้านที่ล้มเหลวและสำเร็จ โดยไม่ยึดติดว่าตนเองต้องฉลาดกว่าผู้อื่น เพราะบางเรื่องไม่รู้แต่แสดงว่ารู้โดยเกรงว่าตนเองจะโง่กว่าผู้อื่น 

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

การบ้าน 24 เมย.55

Mindset

1.ทำไมคนในโลกจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้ 

สิ่งที่ทำให้คนเรามีพฤติกรรมที่แตกต่างนั้นเกิดจากกรอบความคิด ความเชื่อ คนที่ที่มีกรอบความคิดเติบโต จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้  พร้อมจะเรียนรู้ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค  นอกจากนั้นจะเน้นการทำงานเป็นทีม  คนที่หยุดการเรียนรู้จะมีกรอบความคิดที่จำกัด  ประเมินความสามารถของตนเองไม่ได้  มีอัตตาคิดว่าตนเองเหนือคนอื่น มักจะไม่เปลี่ยนความคิด ทำงานฉายเดี่ยว ไม่ทำงานเป็นทีม  ไม่เชื่อเรื่องการพัฒนาทำให้ขาดการเรียนรู้ 

2.ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

ต้องมีการอบรมให้เกิดการพัฒนา  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม ต้องมีการเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเองในทุกระดับ  

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหนึ่งหยุดการเรียนรู้ ? ตอบ เพราะ คนเรามีกรอบความคิดที่แตกต่างกัน 2 แบบ แบบที่ 1 คนที่มีกรอบความคิดเติบโต จะมองว่า ความเฉลียวฉลาดและความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ คนเหล่านี้จึงพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา และกล้าที่จะเผชิญกับความท้าทาย ยิ่งท้าทายมากเท่าไร จะยิ่งเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น คนเหล่านี้ยืนยันที่จะสู้กับความพ่ายแพ้ และคิดเสมอว่า อุปสรรคทั้งหลายเป็นแรงจูงใจ พวกมันมีประโยชน์ เป็นตัวกระตุ้น เห็นความพยายามเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ช่ำชอง ชอบเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ มักจะค้นหาบทเรียนรู้และแรงดลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น คนเหล่านี้จึงมักจะประสบความสำเร็จ เพราะมีการเรียนรู้และปรับปรุงตนเองตลอดเวลา แบบที่ 2 คนที่มีกรอบความคิดจำกัด จะมองว่า ความเฉลียวฉลาดและความสามารถเป็นสิ่งตายตัว นำไปสู่ความอยากดูดีและเก่ง จึงมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย มองความพยายามว่าไม่มีประโยชน์หรือแย่ ละเลยคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีประโยชน์ ปฏิเสธที่จะมองความบกพร่องของตัวเอง และจะมีความรู้สึกกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น คนเหล่านี้อาจจะก้าวหน้าในช่วงต้น แต่จะบรรลุผลสำเร็จต่ำกว่าคนที่มีกรอบความคิดเติบโตในวันข้างหน้า เพราะคนเหล่านี้มักคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น จึงไม่สนใจที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ทำอย่างไร จึงจะเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์? วิธีการคือ 1. ผู้บริหารของ EGAT ทุกคนต้องกำจัดกรอบความคิดจำกัดออกให้หมดก่อน 2. ผู้บริหารของ EGAT ทุกคนต้องสร้างกรอบความคิดเติบโตโดยต้องเริ่มต้นด้วยความเชื่อในศักยภาพและการพัฒนาของคนทั้งต่อตัวเองและคนอื่น ใส่วัฒนธรรมแห่งการเติบโตและการทำงานเป็นทีมลงไปแทนที่ 3. เปิดช่องทางการสื่อสารจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน โดยผู้บริหารต้องลงไปพบปะพนักงานให้ทั่วถึงทุกหน่วยงานทุกคน เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์และนโยบายที่ชัดเจน รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพนักงาน ถามสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับองค์กร ถามสิ่งที่พวกเขาคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรแข็งแกร่งยิ่งขึ้น 4. ผู้บริหารทุกระดับต้องกล้าที่จะเปิดเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงและความคิดใหม่ๆ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม 5. ผู้บริหารต้องเป็นผู้แนะนำ ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นต้องไม่ตำหนิลูกน้อง ต้องช่วยลูกน้องให้ผ่านพ้นปัญหานั้นๆ 6. ต้องหาวิธีทำให้พนักงานเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้เพื่อปรับปรุงงาน เพื่อทำให้งานประสบผลสำเร็จ 7. ต้องยกเลิกชนชั้นผู้บริหารระดับสูง 8. รวมกลุ่มพนักงานที่มีกรอบความคิดเติบโตที่พร้อมจะเรียนรู้ตลอดเวลา และพร้อมที่จะร่วมกันช่วยแก้ปัญหา (โดยไม่ต้องดูตำแหน่ง) รวมทั้งเป็นทีมอาสาสมัครให้คำปรึกษาแก่ชุมชนต่างๆ 9. ให้รางวัลกับทีมงานที่นำความคิดมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจนประสบความสำเร็จ (มากกว่าการให้รางวัลความเป็นอัจฉริยะส่วนบุคคล) ซึ่งการให้รางวัลกับทีมงานดังกล่าว จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของทีมงานกับผู้บริหาร

หนังสือ Mindset

จากหนังสือผู้เขียนได้สรุปกรอบความคิดของคนเราที่ได้ค้นพบจากการทำวิจัยว่า คนทุกคนจะมีกรอบความคิดความเชื่ออยู่ 2 ประเภทคือ

-Fixed Mindset คือคนพวกที่มีความเชื่อว่าคุณสมบัติความฉลาด สติปัญญาความสามารถ หรือพรสวรรค์ต่างๆเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ จึงหยุดการเรียนรู้ ไม่พยายามที่จะต่อสู้ดิ้นรน ขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆมาเพิ่มเติม

-Growth Mindset คือพวกที่มีความเชื่อว่าความฉลาด พรสวรรค์ สามารถสร้างขึ้นได้ พัฒนาได้ และเปลี่ยนแปลงได้ โดยการอบรม เรียนรู้ เพียรพยายามสร้างสรรค์อย่างหนัก โดยเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ที่ทำ เพื่อแก้ไขปรับปรุงความคิด ความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา

ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคนใน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

ผู้บริหารจะต้องมีกรอบความคิดความเชื่อที่ว่า พนักงานทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้เสียก่อน จากนั้นจะต้องจัดหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเปลี่ยนแปลง Mindset มาทำการฝึกอบรมให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกรอบความคิด Growth Mindset ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม สัมผัสได้ จึงจะทำให้เกิดความเชื่อการยอมรับ และยอมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อพนักงานยอมที่จะเรียนรู้ ต่อจากนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดผลการทำงานให้เป็นที่ยอมรับ มีคณะกรรมการกลางพิจารณาในเรื่องของการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนระดับ เลื่อนตำแหน่ง โดยใช้ผลงานเป็นตัววัดคุณค่าของคนอย่างเป็นธรรม โดยไม่มีเงื่อนไข ข้อจำกัดที่จะกีดขวางความก้าวหน้าต่างๆ

27 มี.ค.55 14.00 น. นายพงศธร  สัจจชลพันธ์  รอง ผวจ. กาญจนบุรี

 -          พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ  19,000 ตร.กม. หรือประมาณ 12 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าเขา7 ล้านไร่ถือครองเกษตร 3 ล้านไร่ จำนวนคน 0.8 ล้านคน แบ่งพื้นที่เลือกตั้งเป็น 5 เขต เทียบกับ จ.ชัยภูมิเล็กกว่าแต่มี ส.ส. ได้ 7 คน พื้นที่แยกเป็น 3 โซน 1) โซนอนุรักษ์มีถึง 7 อุทยานแห่งชาติ 2) โซนเศรษฐกิจ อ.ท่าม่วง ท่ามะกา มี โรงน้ำตาล 7 โรง พื้นที่ปลูกอ้อยมาก 3) โซนอีสานกาญจน์ อ.ห้วยกระเจา เลาขวัญ บ่อพลอย ต้องดูแลขั้นพื้นฐานคือ น้ำ ไม้ ม้า มอญ

-          นักธุรกิจ ตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ Vitafood ใช้แรงงานคนพม่า อาศัยอยู่ใน อ. ท่ามะกา มาก ปัญหาคนไร้รัฐเป็น Black zone ยาวถึง 343 กม. ทางแก้ไขปัญหาคือต้องกำหนดเขตแดนให้ชัดเจนก่อน มีถึง 43 ช่องเขาที่ติดต่อกับพม่าได้ แต่ไม่มีจุดผ่านแดน

-           การค้าขายกับพม่า จ.กาญน์ ขาดดุล เพราะขาย 1,700 ล้านบาท ซื้อ 40,000 MB/ครึ่งปี ทั้งปีก็ 80,000 ล้านบาท เป็นการซื้อก๊าซจากพม่าที่บ้านอีต่องมาตั้งแต่ปี 2541 เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า

-          พม่าเปิดให้บริษัทอิตาเลียนไทยทำโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นาบุญเลย์ นิคมทวายมีพื้นที่กว่า 250 ตร.กม. ต้องพัฒนาถนนเชื่อมทวาย-กาญจน์ จีนสร้างทางรถไฟ ลงมาที่ท่าเรือทวายแล้วเราต้องเร่งทำขณะนี้มีเส้นทาง ไปบางใหญ่ นนทบุรี ระยะทางเพียง 90 กม. แต่ว่ายังขาดจาก จ.กาญจน์-ชายแดน

-          ปัญหาพื้นที่ จ.กาญจน์ ในปี พ.ศ.2481 ทหารมากาญจน์ประกาศ 3.5 ล้านไร่ มีพื้นที่เป็น นส.3 60,000 ราย ปี 2495 มีภาพถ่ายทางอากาศแก้ปัญหาได้ 10,000 ราย ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ทำส่งมาได้แค่ 100 กว่าราย คพท.5 ชี้พื้นที่ซ้ำซ้อน ดูจาก GDP 84,000 บาท/ราย ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) 30,000 บาท/คน/ปี ดำเนินการได้แค่ 20 คน

-          ด้านสังคม อ.สังขละบุรี มีค่ายทหารมอญ กะเหรี่ยง KNU 5,000 คน + 600 คน เป็น City State

-          ปัญหาช้างป่า 200 ตัว ทำลายพืชไร่ของชาวบ้าน ก็ต้องจ่ายเงินชดเชยค่าพืชผลของชาวบ้าน แต่ว่าช้างบ้าน 201 เชือก มีใบทะเบียนช้าง  บางทีแจ้งว่าเล็บเป็นดอก ไม่ชัดเจน อาจต้องเป็นช้างป่า ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นช้างป่าหรือช้างบ้าน ใบหูช้างฝัง Ship มีแต่รหัส พอถอดรหัสออกมา ฐานข้อมูล (database) สัตวแพทย์กับกระทรวงมหาดไทยไม่ตรงกัน ต้องสังคายนาฐานข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วไทย

-          ปัญหาเรื่องกลัวเขื่อนจะแตก ในปี 2526 แผ่นดินไหว 5.6 ริกเตอร์ ผู้เข้ารับการสัมมนาแจ้งว่าการเก็บน้ำในช่วงปี 2522 – 2526 ปริมาณน้ำมากขึ้นทำให้อ่างเก็บน้ำปรับตัว (Setting) เท่านั้น คงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนจะแตกโพละ ภายใน 7 ซั่วโมง ระดับน้ำใน จ.กาญจน์ จะสูงกว่า 25 เมตร ประมาณ 28 ชั่วโมงก็มาถึงกรุงเทพและปริมณฑล

-          บทบาทการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านรัก – แบบแรกได้ผลตอบแทนทันทีชาวบ้านจะรักชั่วคราว จะสู้แบบที่ได้ผลตอบแทนอย่างยั่งยืนไม่ได้ ชาวบ้านจะรักเราชั่วชีวิต ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ อ.เมืองนครพนม ธกส. ทำให้ลูกค้าเข็มแข็ง มี “โครงการเยี่ยมบ้านยามแลง” ในปี 2542 ทำงานมีอุดมการณ์เป็นแกนในการเกาะแนวคิดพอเพียง ส่วนราชการกำหนดวิธีการ ไม่ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดเท่านั้นจึงตกเกณฑ์ 5 ดาว

-          ภูมิสังคม ค่าแรงปรกติ เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 %   รัฐบาลกำหนดให้ 1 เม.ย. 55 นี้ เพิ่มค่าแรง +40 % แล้วผลผลิตบริษัทได้รับน้อยเช่นเดิม บริษัทฯ ขู่จะฟ้องศาล จะแก้ไขกันอย่างไร

-          เกิดประชาคมอาเซียน (AEC) 1.ม.ค.58 แล้วจะเป็นอย่างไร” จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สินค้าแฟชั่นจะมีภาษีเป็น 0 แรงงานเคลื่อนย้าย AEC ดู 3 เสาหลัก การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

27 มีนาคม 2555 เวลา 15.45 น. Panel Discussion

อ.จีระ  เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน วสันต์ ภุมจิรัตน์ อ.มนูญ ศิริวรรณ และ ผอ.ฝ่ายสิ่งแวดล้อม กฟผ. คุณสมภพ พวงจิตต์ ร่วมอภิปราย

-          อ.จีระ เริ่มต้นจาก รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 55  57  66 และ 67 บางครั้งข้อมูลข่าวสารอาจไม่ตรงกัน การที่เราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ปัญหาขยะมูลฝอย สารพิษ หมอกควันภาคเหนือ เป็นการเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตร ปกติใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วน 40 %  แต่ของไทยเรา 20% เท่านั้น แต่มีการใช้เชื้อเพลิงก๊าซ 70 % เราจะ Share ค่าไฟให้ถูกลงเพื่อเป็นพื้นฐานภาคอุตสาหกรรม เราขาดการสื่อสาร แต่ NGO ขลุกอยู่ในพื้นที่กับชาวบ้านแล้วให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง

-          กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ปรับไปใช้การทดแทนเครื่องเก่าที่ Unit 4- 7 ประมาณ 600 MW ถ้านำโรงไฟฟ้าใหม่ขึ้นไม่ได้ พวกเราจะทำอย่างไร

-          ชุมชนทางภาคใต้ ขอร่วมคิด ร่วมทำ รับผลประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่มี สกพ. ดูแล กฟผ. ควรจัดคนลงไปโดยมีอัตราการช่วยเหลือต่างหาก ให้มากกว่าของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า EADP รุ่น 8 ต้องเร่งมือประสานกัน เขียนแผนงานให้นำไปปฏิบัติงานได้จริง

 

อ.มนูญ  ศิริวรรณ เริ่มต้นด้วยคำถาม

-          ทำไม ประชาชนต่อต้านโครงการพัฒนาด้านพลังงาน

  • § การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
  • § การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ ก๊าซ ชีวมวล
  • § การขุดเจาะสำรวจ

-          แนวคิดเดิม  - พลังงาน        : ประเทศชาติ มั่นคง รุ่งเรือง

                   - สิ่งแวดล้อม     : ชุมชนเสียสละ

-          แนวคิดใหม่  - พลังงาน สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของชุมชน

                   - ประเทศชาติ และชุมชน ได้ประโยชน์ ด้วยกัน

                   - การแบ่งปัน การกระจายรายได้ให้ชุมชนอย่างยุติธรรม

                     กฟผ. ตั้งโรงไฟฟ้าท้องถิ่น ประชาชนควรมีหุ้นในโรงไฟฟ้าบ้าง

                   - ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อโลก ประเทศและชุมชน

                   - การพัฒนาอย่างยั่งยืน

                   - การบริหารจัดการเพื่อชุมชน 3 ฝ่าย ทำงานพร้อมกัน จึงจะราบรื่น ไปกันได้ ประกอบด้วยรัฐปฎิบัติการ (KPI)        ชุมชน และ NGO

- โครงการสายส่งน่าน ชาวบ้านต่อต้านสายส่ง ต้องแก้ไขปัญหาแบบพูดคุยกัน เห็นหน้ากัน และกำหนดมาตรการร่วมกันในการแก้ไขปัญหา

-          ทฤษฎี       Macro นโยบายรัฐ กกพ. เกมส์นี้ ใครเล่น ภาษี (Tax) ควรลงชุมชน

                   Micro พื้นที่ย่อย

  

  

ผู้ใหญ่บ้านวสันต์

-          นายช่างพยากรณ์มาในพื้นที่นี้แล้วใช้แทรคเตอร์ Metro ดันต้นมะม่วงล้มลง ถางพื้นที่โดยใช้กฎหมายเวนคืนพื้นที่ ชาวบ้านได้แต่ยืนดูทำอะไรไม่ได้

-          ทำงานแบบไม่ต้องใช้เงินเหมือนกองทุนหมู่บ้าน เช่น กฟผ. นำไก่พันธ์ไข่ 39 ตัว ไข่ทุกตัว เดี๋ยวนี้ชาวบ้านซื้อไข่ กฟผ. มากินกันแล้ว กฟผ. ให้ความรู้ การจัดการป่า บริหารแหล่งน้ำ เริ่มเห็นหน่อไม้ ผัก

-          ช้างป่า ต.ช่องสะเดา เป็นเพราะเขื่อนศรีฯ สร้างขึ้นมา กักเก็บน้ำแล้วตัดวงจรเส้นทางหากินของช้างป่า กฟผ. ใช้ทำงบน้อยๆ การบริหารหลังโครงการเกิดขึ้นแล้วก็ได้ผลดี

-          หลักการคือ 1) สร้างชุมชน กฟผ. 2) พาคนมาดูชุมชน กฟผ. 3) ดึงเงินชุมชนกลับมา

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

28 มีนาคม 2555  9.00 น. CSR อบต. ช่องสะเดา

 

-          ตัวแทนกลุ่ม 2 วรวิทย์     1) ไฟป่า          แนวกั้น

                                       2) ช้าง  มะม่วงเป็นอาหารช้าง คนกั้นแนวพืชอาหารสัตว์

-          ตัวแทนกลุ่ม 3 ธนิต   เคยอ่านบทความ การทำถนนดำ (ราดยางมะตอย) เข้าหมู่บ้าน ทำให้รถวิ่งเร็วขึ้น ชาวบ้านเสียชีวิตมากขึ้น

-          ผู้ใหญ่บ้านวสันต์  เขื่อนศรีนครินทร์ กั้นทางเดินช้าง กฟผ. มีหน่วยปลูกป่าถาวร ช้างป่า 200 ตัว เป็นเรื่องดี อนุรักษ์ช้างป่าได้ สร้างแนวกั้น ให้ขอเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาชดเชยความสูญเสียผลผลิต

-          อาจารย์จีระ การบริหารหลังโครงการ การบริหารก่อนโครงการไฟฟ้าหากไม่ได้สร้างจะทำอย่างไร

-          ตัวแทนกลุ่ม 1 คุณเขมญาติ เมื่อปี 2553 เคยมาดูงานแล้วครั้งหนึ่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-          คุณณรงค์ศักดิ์ ทำงานแม่เมาะ ขอให้ ผอ.อขศ. บุญอินทร์ ชื่นชวลิต  ผอ. อสล. สมภพ พวงจิตต์ ช่วยผลักดัน สัมมนาญาติ กฟผ. ทุกพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าต่าง ๆ

-          อ.จิระ ให้มองปัญหาระยะยาว  การศึกษาเริ่มต้นที่ รร. เทพศิรินทร์ลาดหญ้า แล้วปริญญาตรี โท มีที่ไหนบ้าง ต้องแนะนำให้ชาวบ้าน ตัวอย่างของชาวรัสเซีย ให้ทุนเด็กเก่งฟิสิคส์

-          ผอ.บุญอินทร์ ชื่นชวลิต

  • มาช่วงแรกก็เดินเครื่องจ่ายไฟได้ ขายไฟได้ ไฟไม่ดับ แล้วค่อยๆ เจอปัญหา
  • ตัวเขื่อนการทรุดตัวของเขื่อน
  • การบริหารน้ำให้พอเพียงต่อการใช้งาน
  • พัฒนาอย่างยั่งยืนป่าต้นน้ำ ป่าเต็งรัง ที่เขื่อนภูมิพล ป่าเบญจพรรณ จ.กาญจน์ มีไฟป่า
  • ประชาคมชาวบ้าน Social Mapping การใช้ประโยชน์จากแนวกั้นไฟป่า เห็ด หน่อไม้ไผ่

-          สุธี บุญเสริมสุข ผู้แทนพลังงาน พลังงานจังหวัด

  • แผนชุมชน 14 ชุมชน เทศบาล ต.หนองบัว
  • ขอรับเทคโนโลยี เตาเผาถ่านทั้งแนวตั้งแนวนอน เตาย่างไก่ หนองสาหร่าย สินค้า OTOP
  • มูลสัตว์ 1 กระป๋องสี ใช้แทนก๊าซ LPG ได้ 4 ช.ม. มี 150 แห่งขนาดใหญ่ เศษอาหาร 300 kg.
  •   การบริหารจัดการน้ำภายใน 1 สัปดาห์จากชาวพม่า

-          คุณสมภพ พวงจิตต์ อสล.

  • ชาวบ้านไม่รู้ไม่ทราบ กฟผ. ต้องให้ความรู้ ต้องบอก
  • ผลประโยชน์ พี่น้องต้องได้รับผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ค่าไฟ 3-5 บาท/หน่วย แต่ลม 6 – 7 แสงอาทิตย์ 13 – 14 บาท/หน่วย ตะเกียง เทียนไข ใช้พลังงานในการผลิตเหมือนกัน โรงงานอุตสาหกรรมใช้ไฟเยอะ ชุมชนใช้ก๊าซชีวภาพ ชีวมวล ลมปั่นไฟได้ แสงแดดมีได้ไฟ กลางคืนจะใช้ไฟจากไหนมาอ่านหนังสือเรียน เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตใช้เอง ที่ขาดซื้อจากการไฟฟ้า ลาว พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
  • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เน้นการพัฒนาวัตถุ ละเลยจิตใจ ไม่มีของฟรี
  • กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า พี่น้องคอยตรวจสอบแก้ไขได้

ความคิดที่เกิดขึ้น “นำเงินก่อสร้างระบบส่ง 8,000 ล้านบาท มาทำโรงไฟฟ้าชุมชนแทน

-          ผู้ใหญ่บ้านวสันต์

  • ไฟป่า  ต้องหน่วยงานป้องกันไฟป่า ให้ชาวบ้านทำไม่ได้เพราะไม่มีอุปกรณ์
  • ฝายแม้ว กฟผ. ช่วยแนะนำ
  • การเพาะกล้าไม้ ไปปรับปรุงพื้นเสื่อมโทรม Ok
  • การปลูกมะม่วง 10 ปี ช้างมาหักกินวันเดียวหมด
  • การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ถ้าให้ จนท. กฟผ. ให้ความรู้กับชุมชน ผลดี ผลเสีย ต่างกันอย่างไร การก่อสร้างท่อกาซ บ้านอีต่อง คนกรุงเทพมาต่อต้านมีผลประโยชน์ ชาวบ้านไม่มีอะไร คุยกันรู้เรื่อง ก็ Ok
  • อดีตไม่ต้องไปคิดถึง จะแก้รัฐธรรมนูญทำไม
  • การศึกษา ท่าทุ่งนา เวนคืน 3,500 บาท/ไร่ ให้อพยพพอมาซื้ออีกฝั่ง 15,000 บาทต่อไร่ ลูกไปเรียนที่ลาดหญ้ามีรถรับส่ง แต่ตอนหลังให้หารถไปเรียนกันเอง

-          อ. จิระ มองความจริง ตรงประเด็น

-          ผช. ผญ หมู่1-  ขาดน้ำ

-    อาชีพ ป่าไม้ไม่ให้เข้าตัดไม้รวก ไม้ไผ่

-    อยู่มา 40 ปี จบกันแค่ ม.3 ยังไม่มี ปริญญาตรี

-    ขอกระชังปลาให้ชาวบ้าน

-          ณรงค์ศักดิ์ – คุณภาพชีวิต ปัจจัยที่ทำกินขาดหายไป การไฟฟ้าน่าจะหาโอกาสมาช่วยให้

-          อ. จิระ AEC      - ยาเสพติด ประชาชน ร่วมมือ สิงค์โปร์ ไม่ทอนเงิน 30 บาทเหมือนไทย

              - การศึกษา

              - แรงงานอพยพ พม่าเปิดประเทศ จะย้ายไปที่อื่นหมด

              - เกษตร

              - ภาษา

              - ชุมชนเป็นเลิศได้อย่างไร

-          น้องคุณวสันต์ ผู้หญิง      - ช้างป่ามา 7 – 8 เชือก ทุกวัน

-          ไฟป่า มาใกล้ ๆ

-          คุณสุวัจชรา (เจี๊ยบ) พัฒนาจังหวัดสะเดา มาทำงานได้แค่ 6 เดือน ตำบลช่องสะเดาอยู่ติดแม่น้ำ แต่ไม่ได้ใช้น้ำ ที่ ม.2 มีสถานีสูบน้ำ 20 ล้านบาท สร้างมาแล้วแต่ค่าไฟแพงมาก ตั้งเป็นอนุสรณ์

  • ดินไม่อุ้มน้ำ น้ำใต้ดินลึกมาก เจาะบาดาลไม่ไหว ดินลูกรัง ดินแดง
  • ปลูกมันสำปะหลัง อาชีพทำไม้เทียม ไม่มีอาชีพ : ป่าไม้ห้ามเข้าป่า

 

-          รุ่น 8 EADP ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนบางหัวเสือ ชุมชนเข้มแข็ง วสันต์ กับทีมงานอาเซียนเสรี ภาษาเขมร พม่า ต้องเรียน เรื่องช้างมีคนเห็นใจเยอะมาก GDP สิงค์โปร์คิดเป็น 14 เท่า  มาเลเซีย 3 เท่า ของไทย GDP

-          พลังงานจังหวัด หมู่บ้านน้ำนิ่ง มีเทคโนฯ น้ำไหล ทดน้ำด้วยกังหันน้ำ ยกขึ้นสูง 30 เมตร สถานีปั้มน้ำ ของกรมชลประทาน มอบโอนให้ อบต. ช่องสะเดา แล้ว ให้ไปขอใช้ไฟประเภท 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตรต่อไป ราคาจะถูกลง

-          คุณเขมญาติ  การสนับสนุนจาก กฟผ. ควรต่อเนื่อง การให้รถบริการชุมชนไปโรงเรียน

-          ผอ.อขศ. ตอบ ชุมชน อ.เมืองท่าทุ่งนา มีพื้นที่มาก งบประมาณน้อย คนต้องทำต่อเนื่อง ก็ลำบาก มีจิตอาสา ทุกระดับ

-          คุณธนิต กฟผ. ให้ทุกอย่างได้ไม่หมด ไม่ใช่อาเสี่ย ขอให้มอง กฟผ. เป็นเพื่อน เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทำมากกว่าผลิตไฟฟ้า

-          คุณวรวิทย์ สร้างป่า EADP8 สร้างฝาย สร้างป่าชุมชน ชีวะวิถี เพื่อการพัมนาอย่างยั่งยืน สระน้ำใหญ่ พืชไร่สวน ที่อยู่อาศัย ทฤษฎีในหลวง สหกรณ์ขายของชุมชน 

-          คุณสมภพ ช้างทำลายพืชผล ที่อื่นช้างมีน้อย ที่นี่มีมาก ใช้ช้างเป็นประโยชน์ให้ชุมชน

-          คุณสุธีร์

  • เรื่องน้ำ
  • ชุมชน จัดทำแผนชุมชน ร่วมกับพลังงาน

-          อบต. ช่องสะเดา งบ 13 ล้านบาท เบี้ยสูงอายุ 5 ล้านบาท

-          ของดี อบต. ไม้ฝาง รักษาโรคไต ยังไม่ขึ้น Web จะขายได้

-          ขนมหวาน อร่อยนะ

-          ผักหวาน เพาะขายส่ง ขาดการตลาด

-          วิถีชีวิต ใช้ป่าเป็น supermarket

-          การสูบน้ำเพื่อการเกษตร

-          ช้าง ทรัพยากรธรรมชาติ อธิบดีขนช้างบ้านไปลำปางกว่า 10 เชือก ให้ติดต่อมาขนช้างป่าไปปล่อยที่อื่นด้วย

-          ผช.ผญ. อนันต์ ม.5

  • น้ำในป่าไม่มี ต้องหาทางเติมน้ำ ส่งแผนที่ให้คุณ สมเดช ม.7 ต้องการฝายใหญ่
  • 32 คน สร้างฝาย 2 ฝาย ซักครึ่งวัน
  • กระชังปลา คงให้ไม่ได้ ให้ความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลากระชังได้

-          ม.ล. ชาญโชติ การสร้างเครือข่ายชุมชน ชุมชนต้องการอะไร ขาย เขตทหาร จดทะเบียนคนเข้าป่าหาอาหาร หาไม่ได้ หาของป่า เห็ด หน่อไม้ มีกติกา หมู่บ้าน

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

28 มีนาคม 2555 ช่วงบ่าย เรื่อง ชุมชนรู้จริง เอเซียนเสรี

     อ.ทำนอง                   ดาศรี             ดำเนินรายการ

  1. คุณนิอันนุวา สุโลมาน          พาณิชย์จังหวัด
  2. ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
  3. ดร.หญิงฤดี  ภูมิศรีรัตนาวดี
  4. ชวลิต                  ตั้งตระกูล
  5. ณรงค์ศักดิ์   คุณปถัมภ์
  6. ผู้ใหญ่บ้านวสันต์      สุนจิรัตน์

 

     คุณนิอันนุวา      สุไลมาน 2558 เป็นอาเซียนสมบูรณ์ 3 วงแหวนคือทางด้าน

-      Logistic

-      เศรษฐกิจ

-      สังคม

     เริ่มจาก WTO, AFTA, JTEPA, GMS

     5 ประตูการค้า   1        ประตูด้านเหนือ เชียงใหม่ R2 , R3 คุณหมิง จีน

                                  2        ประตูด้านอีสาน หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี

                                  3        ประตูด้านตะวันออก

                                  4        ประตูด้านใต้ยะลา ปัตตานี นราธิวาส Land Bridge สงขลา สะเดา เปอร์ลิศ ไทรบุรี ชนผีทะเล เกาะหมาก ท่าเรือปีนัง

                                  5        ประตูตะวันตก ทวายโปรเจคค์ พญาตองซู   อ.สังขละบุรี เป็น 1 ใน 3 ของประตู จังหวัด  ยอดขาย 3,000 ยอดซื้อ 80,000 ล้านบาท ด่านศุลกากรถือว่าเป็นด่านถาวร หน่วยงานอื่นเป็นด่านชั่วคราว ด่านผ่อนปรน ด่านตรวจพืช

 

ทางรถยนต์      ระยะทาง 160 กม. จาก จ.กาญจน์-ทวาย เจอทะเลบริสุทธิ์ ออกไปปากีสถาน อินเดีย ดูไบ ตุรกี อิตาลีได้  เส้นทางอีก 200 กม. ถึง กทม.

ทางเรือ           สงขลา ท่าเรือสะเดา เปอร์ลิศ ไทรบุรี ชนผีทะเล เกาะหมาก ท่าเรือปีนัง มีท่าเรือพอร์ทคลัง (มาเลย์วางแข่งสิงคโปร์) เกาะบาตัง อินโด ยะโฮบารู ตันหยงบันละปัต (ตรงข้ามสิงคโปร์) ตรังกานู (ท่าเรือ) ปะหัง กลันตัน ท่าเรือกัวลามาร์ซา อ.ตากใบ ถึงท่าเรือสุสาน ( ปิงกาลังกูโบ) 8 กม. ถึงไทย 4 รัฐซ้าย ฝ่ายค้านสันเขา ด้านขวา เส้นทางเอเชีย A1 , A2 , A3 กำปงจาม เว้ ดานัง จีน จีนจะปลูกขนุน จำปาดะ ส่งมาขายไทย

ประชากร        Asian + 3   ประมาณ         3,000 ล้านคน

                             Asian        ประมาณ           600 ล้านคน

เส้นทางทะวาย แม่สอด ระนอง เราส่งของพวกสินค้าก่อสร้าง ขากลับคิดจะนำสินค้าทะเลมาขายไทย แต่ว่าโดนสิงคโปร์ มาเลย์จองหมดแล้ว เราช้าไปแล้ว

-          กุ้งมังกร 800-1200 บาท/กก. ราคาในไทย 3,000 บาท/กก.

-          กั้งกระดาน กั้งตั๊กแตน 500 บาท/กก.

-          ปูสด 250-300

ภาษา                 มลายู   ไปมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโด ได้

                        พม่า     มีคนพม่าในไทยจำนวน 2 ล้านคนพูดไทยได้ แต่คนไทยพูดพม่าไม่ได้

สินค้า                  น้ำปลา  12.50 บาท/ขวด ส่งไปขาย 38 บาท/ขวด

กับดักฮาราล สินค้าไม่จำเป็นต้องได้ฮาราลก่อน ต้องมีสินค้าก่อน

ตลาดสากล       เราเคยส่งคนไปดูงานที่ ดูไบ 12 คน ไม่มีอาหารกระป๋องเลย คนรวยเขาไม่กินอาหารกระป๋องกันหรอก

เครื่องแต่งกาย        มุสลิม   ชาย  ปิดสะดือ – หัวเข่า

                                  หญิง  คลุมถึงมือ คลุมถึงข้อเท้า ส่วนศรีษะ

                                  หัว    สวมหมวก มีมากกว่า 140 แบบ

                                  บาบ่า ญาญ่า มลายู

 

ผู้ใหญ่บ้านวสันต์  ข้อตกลง 10 ประเทศ

-       เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

-       สังคม วัฒนธรรม

-       มั่นคง การเมือง

เปิดเสรี      1)  การค้าและบริการ กุ้ง ผลไม้ หอม กระเทียม

2)      ขีดความสามารถในการแข่งขัน จะแข่งกับใคร จีน ญี่ปุ่น อินเดีย

3)      ลดช่องว่าง จน – รวย ระหว่างคนในประเทศอาเซียน

4)      บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจ

 

ณรงค์ศักดิ์ 

-   จาก 60 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน จะทำอย่างไร มีเชื้อเพลิงลิกไนต์ 10 % เขื่อน 15 % นำเข้าจากลาว 7-10 %

-   ชุมชนช่องสะเดา บวร-บ้าน วัด โรงเรียน  บอว – บริหารองค์กร

-   บ้านหนองสาหร่าย สหกรณ์ธนาคารข้าว

-   เลี้ยงนก เกษตรอินทรีย์ ชีวภาพ

-   วิถีชีวิต ความเป็นไทย อ.ณรงค์ ผ้าเจริญ บ้านแม่กำปง

-   บ้านสามขา ผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม  Think Global, Work Local

 

ดร.หญิงฤดี ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (มนุษย์) ทำงานมากว่า 20 ปี ดร.จิระ อาชีพเดิมขายเพชร

ทำวิทยานิพนธ์ ทุนแห่งความเป็นไทย ถวายพระเขนย

 

ภูฏาน        => GNH         Gross National Happiness

ไทย          => GNS          Gross National Service อาศัย Thainess Capital

 

ตัวอย่าง โรงแรมแมนดาริน ชีวาสม  => Top Service ของโลก ขายความเป็นเอเชีย

 

Competence 4 levels

              การตั้ง Brand พร้อมทั้งสร้างเรื่องราวให้สินค้า (Story) มีชุดต่อเนื่อง (Collection) เช่น Furio Frus Gabia บ. Scavia ทำเพชร Crystal แบบว่ามีชิ้นเดียวในโลก Collection เดียวกัน

 

เศรษฐกิจแบบ Green =>  Blue Ocean

-          แผนเศรษฐกิจยูนนานฉบับที่ 12 ตามยุทธศาสตร์ชาติ เน้นการบริการมาก Chinese Brand First Impression หน้ายิ้ม ยิ้มด้วยสายตา ใช้หลักพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบก  และอิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

-          ยืน เดิน นั่ง นอน หรือจะนั่งเพราะไม่รู้

-          อบต. ยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจบริการ เพรียบพร้อมผลงาน สืบสานวัฒนธรรม กระเป๋ายอ ภาคใต้ มาได้อย่างไร

-          4 Fs Fun Friendly Family Flexible คือ สนุก เป็นมิตร ครอบครัวเคียงกัน ไม่เป็นไร (ยืดหยุ่นได้)

 

ผู้ใหญ่บ้านวสันต์

-          การท่องเที่ยว ผ่าน ต.ช่องสะเดาได้

-          ภาษา ให้คน ต.ช่องสะเดา เรียนภาษาพม่า

อ.ทำนอง         เท่าที่ทราบมีแค่ ม.นเรศวร สอนภาษาพม่าให้นักศึกษา

 

ม.ล.ชาญโชติ    Asian Objective

1)      ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิก

2)      เสถียรภาพ ความมั่นคง

3)      เสริมสร้างเศรษฐกิจ ความอยู่ดี กินดี ของประชาชน

4)      พัฒนาสังคม และวัฒนธรรม

5)      ส่งเริมความร่วมมือกับภายนอก องค์กรระหว่างประเทศ

 

3   เสา

เสาการเมือง

เสาเศรษฐกิจ

เสาสังคมวัฒนธรรม

มั่นคง

มั่งคั่ง

เอื้ออาทร แบ่งปัน

                                                                  

กรอบการพัฒนาเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

   

         
   
   

เกษตรกร

   
   

ใครบ้างได้รับผลกระทบจาก AEC ?

 

 

   

         
   
   

ผู้ค้า

   
   
         
   
   

นักธุรกิจ

   
   
         
   
   

หมอ

   
   
         
   
   

แรงงาน

   
   
         
   
   

วิชาชีพ

   
   
         
   
   

องค์กรรับรอง

   
   
         
   
   

บริษัท

   
   
         
   
   

ปชช.

   
   
         
   
   

วิศวะ

   
   
         
   
   

ผู้บริโภค

   
   
         
   
   

Shopping

   
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคเอกชนมีความพร้อมแค่ไหน

     รู้   แต่ไม่รู้จะปรับตัวอย่างไร

เนเธอร์สวมสิทธิ  ในลาว  100 % ==> ในไทย       49 %   NTB

 

เตรียมตัวอย่างไร

การปฎิรูปการศึกษาในศตวรรตที่สอง  2552 – 2561  เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

กรอบแนวทางการปฎิรูปการศึกษา

ภาษา   ขับเคลื่อนภาษาไทยให้เป็นภาษาอาเซียน ใช้ภาษามนุษย์

 

โรงงาน Hush Puppy อ.ด่านเจดีย์สามองค์ แรงงาน

นิล เมืองกาญจน์

หนาว ทองผาภูมิ สังขละบุรี

ฝน ไทรโยค แอ่งน้ำเล็ก

 

คุณชวลิต        

-          ชุมชนจะได้อะไร

-          จุดเด่นตัวเอง

  • มีแผนงาน
  • ลงมือปฏิบัติ – ผู้สนับสนุน

-          สร้างองค์กรเป็นที่เชื่อถือของชุมชน

 

คุณณรงค์ศักดิ์

-          2549      โคฟีอานันท์ ถวายในหลวง

-          3 ต.       ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

-          ภาษา กาย บริการ ยิ้ม ไหว้ แต่งกาย

-          ใจ ขับเคลื่อนพร้อมกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

สินค้า ปัจจัย 4   อาหาร            ปลูกข้าว ขายเป็นยา สบู่

                   เครื่องนุ่งห่ม      ผ้าขาวม้า รากเหง้า เด่นๆ ร้อยคน ร้อยสินค้า

                   ยารักษาโรค      สปาใช้สมุนไพร เห็ดตับเต่า

                   ที่อยู่อาศัย        บ้าน เครื่องตกแต่ง ขายผ่าน Internet

จิต      สร้างภายใน 5 วิ

-          มองเห็น

-          กลิ่น

-          รส

-          ได้ยิน      ดนตรี

5   สัมผัส

6   สัมผัส

7   สัมผัส

โอกาส  =>   คุกคาม     กฟผ.    Support ได้บางส่วนของ 600 ล้านคน

 

ผญ. วสันต์       นักวิชาการ

-          ไม่ต้องวางตัวเป็นผู้รู้ทั้งหมด

-          อันนั้นไม่ได้  อันนี้ไม่ได้

-          แกล้งโง่ซะบ้าง

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

29 มีนาคม 2555 เวลา 9.05 น. ดูงานท่าน้ำชุกโดน      

ประธานชุมชนจิตอาสา คุณบำเพ็ญ เล่าให้ฟังว่าเป็นชุมชนหลังสงครามโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง มีปัญหาจาก

  1. ชาวบ้านรุกล้ำแม่น้ำ ทำให้ออกเอกสารสิทธิไม่ได้ต้องประสานงานติดต่อขออนุญาตจากโยธาจังหวัด กรมเจ้าท่า ทำการขุดลอกทรายมาถมตลิ่งเกิดพื้นที่เป็นหาดทราย
  2. น้ำชุมชนเน่าเสียปล่อยลงแม่น้ำโดยตรงเพราะพื้นที่มีระดับต่ำกว่าท่อระบายน้ำเทศบาล  คุณบำเพ็ญ ร่วมกับ SCG นำถังดักไขมันแบบครัวเรือนและจัดทำบ่อดักไขมันรวมก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ
  3. แต่เกิดปัญหา การจัดการกับเศษอาหารที่ดักไว้ จึงเกิดโครงการพลังงานทดแทนแก๊สชีวภาพ ได้แก๊สเพียงพอให้คนดูแลใช้ได้ 6 ครัวเรือน
  4. เกิดน้ำจากการหมักเหลือ จึงทำน้ำ EM แต่ไม่มีที่ให้ใช้น้ำ EM
  5. จึงหาแปลงปลูกผัก โดยนำผักตบชวา จากแม่น้ำมาใส่แพ ปลูกแตงกวา ผักบุ้ง ได้กินไม่ต้องซื้อ
  6. แต่น้ำทิ้งลงแม่น้ำมีระยะเดินทางของท่อสั้นเกินไป แค่ 3 เมตร อาจารย์แนะนำให้ทำท่อไส้ไก่ เพิ่มทางเดินของน้ำทิ้งให้ยาวขึ้น เดินทางช้าลง ท่อเปิดให้แดดส่องฆ่าเชื้อโรค
  7. เกรงว่าชาวบ้านจะรุกล้ำพื้นที่อีก จึงทำแนวถนนคอนกรีตกั้นเอาไว้
  8. พนักงาน SCG 3 คน เสนอโครงการรักบ้านเกิด ต่อมูลนิธิ “ปันโอกาส วาดอนาคต” เฉพาะโรงงานกระดาษมีเสนอถึง 45 โครงการๆ ไม่เกิน 100,000 บาท
  9. คุณบำเพ็ญ บ.ไทยแคนเปเปอร์ เสนอราคาโครงการของบประมาณ

-          แปลงผัก 15,000 มูลนิธิให้ทุน 35,000

-          ท่อไส้ไก่             ได้         50,000

-          บ่อบำบัด            ได้       100,000

 Q1    ภารกิจ ขอโยธาจังหวัด กรมเจ้าท่า ดูดทรายมาถมแล้ว อบต. ไม่อิจฉาริษยา นายกเทศบาล ok ไม่เล่นการเมือง

อ.จีระ เสริมให้เห็นว่า SCG อบรม 7วัน/ปี มีงบมาตรฐาน ส่วนของ กฟผ. อบรมเน้นไปทางด้านเทคนิค ไม่ค่อยข้ามมาด้านจิตวิทยา

Q2    ไม่มีผลตอบให้พนักงาน เป็นการลางานมาทำให้ชุมชนบ้านเกิด บางคนก็ไม่ใช่คนที่นี่

Q3    ทีมงานชุมชน กรรมการ 20 คน จ้างงาน จัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ ปันผล 2 ครั้ง/ปี ตามรายชื่อ ชี้เข้าโรงปูนท่าขวาง

Q4    เมื่อไรปิดโครงการ ความยั่งยืน กรรมการชุมชนก็ยังเด็กๆ

 

ปิ้งไอเดีย กฟผ. ทำ CSR “ให้น้ำให้ชีวิต ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า 5 กม.”

 

Industry that learn

  1. การทำโครงการ คนในพื้นที่ต้องอยากได้ก่อน
  2. การมีส่วนร่วม อย่าปล่อยให้เขาโดดเดี่ยว
  3. สนามก๊อล์ฟ กฟผ. สามารถที่จะสร้างเด็กในพื้นที่เป็นมือโปรก๊อล์ฟได้                  
  4. การเตรียมความพร้อม ภัยพิบัติและน้ำท่วม แผ่นดินไหว โดยกำหนดจุดรวมที่ รร.เทศบาล 5 มีการซ้อมแผนปีละ 2 ครั้ง 20 ชุมชน ฝึกการใช้ถังดับเพลิง ตรวจสอบป้าย Tag

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

การบ้าน อ่าน Mindset กรอบความคิด

ผู้เขียนสงสัยว่าทำไมคนเราถึงแตกต่าง จึงเริ่มวิจัยเด็กๆ กลับค้นพบว่าเด็กไม่มีข้อจำกัดในการคิด เมื่อเจอเรื่องที่ท้าทาย เด็กไม่กลัวความล้มเหลว จึงเกิดการเรียนรู้จากความล้มเหลวเหล่านั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่กลับเลี่ยงความล้มเหลวนั้นเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประสบผลสำเร็จ กลายเป็นคนที่มีกรอบความคิดจำกัด สุดท้ายจะก้าวหน้าในช่วงต้น แต่ในกลุ่มที่มีความคิดแบบเด็กๆ กลายเป็นกรอบความคิดแบบเติบโต จะพัฒนาตนเองขึ้นไปได้เรื่อยๆ จนบรรลุความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

ตัวอย่างของผู้เขียนมีมากมายนับไม่ถ้วน

การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่จะแยกแยะข้อดีข้อเสียของตนเองออกจากกันได้ สามารถประเมินความสามารถของตนเองได้ถูกต้อง ความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้

ผู้บริหารของ กฟผ. ที่ต้องการเปลี่ยนกรอบความคิดของเขาเอง จึงจะบรรลุแนวทางในการเปลี่ยนจากผู้นำที่จะประสบผลสำเร็จธรรมดา ให้เป็นผู้นำที่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งยวดได้ ดังนั้นจะนำไปสู่การสะสมความรู้ องค์ความรู้ต่างๆ เมื่อสะสมได้จนถึงระดับหนึ่งจะไม่ค่อยกลัวความล้มเหลว เพราะทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เรียนรู้ประเด็นที่เป็นกับดักไว้บ้างแล้ว กลายเป็นคนที่กระหายใคร่รู้อยู่ตลอดเวลา จึงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงคำตอบในหลายๆ ปัญหาได้

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

สรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือMindset คนแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งมาจากกรอบความคิด กรอบความคิด มี 2แบบ แบบแรกเรียกว่า Fixed Mindset อีกแบบเรียก Growth Mindset คนที่มี Fixed Mindset เชื่อว่า

ความสามารถ/ความฉลาด เป็นสิ่งที่ติดตัวคนมาตั้งแต่เกิดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ไม่ชอบความท้าทาย มักจะหลีกเลี่ยงความท้าทาย
เมื่อพบอุปสรรค มักยอมแพ้ ล้มเลิกความตั้งใจ
    ไม่เชื่อในความพยายาม เนื่องจากเชื่อว่าความสามารถ/ความฉลาด เป็นสิ่งที่ติดตัวคนมา ตั้งแต่เกิดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้
    ไม่เปิดใจรับคำวิจารณ์ โดยเฉพาะคำวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์
    กลัวความสำเร็จของผู้อื่น

คนที่มี Growth Mindset

ความสามารถ/ความฉลาด เป็นสิ่งที่พัฒนาได้
ชอบความท้าทาย อยากเรียนรู้
เมื่อพบอุปสรรค จะยืนหยัดต่อสู้กับความอุปสรรคนั้น
เชื่อว่าความพยายาม จะทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทักษะ ความชำนาญ
น้อมรับคำวิจารณ์ โดยเฉพาะคำวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากคำวิจารณ์
ความสำเร็จของผู้อื่นเป็นแรงบันดาลใจ และเรียนรู้บทเรียนจากความสำเร็จนั้น

คนที่มี Fixed Mindset ไม่มั่นใจในตัวเอง เขาต้องพิสูจน์ความฉลาด ความสามารถ ความยิ่งใหญ่ของตัวเองอยู่เสมอ แต่กลับไม่ชอบความท้าทาย เมื่อเขาพ่ายแพ้หรือไม่ประสบความสำเร็จ เขามักจะกล่าวโทษคนอื่น อ้างเหตุต่างๆ แต่ไม่คิดเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่คิดปรับปรุงตัวเองหรือกิจการ เรียกร้องขอความช่วยเหลือ จึงเป็นคนที่อาจก้าวหน้าได้ในช่วงแรก แต่ไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้ ทั้งที่อาจมีศักยภาพพอที่จะไปถึงได้ คนที่ก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารจำนวนหนึ่งจะติดอยู่ใน Fixed Mindset คิดว่าตนเองฉลาดกว่าคนอื่นๆ มักจะทำทุกอย่างไม่ไช่เพื่อการพัฒนาตัวเองหรือกิจการ แต่จะทำเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองเหนือชั้นกว่าคนอื่นๆ เมื่อกิจการตกอยู่ในอันตราย จึงมองไม่เห็น หรือมองในรูปของการปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของตนเอง ไม่ไช่การปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อความอยู่รอดหรือความก้าวหน้าของกิจการ จึงอาจนำกิจการไปสู่ความล้มเหลวได้ในที่สุด ผู้บริหารบางคนอาจซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางการประจบสอพลอ มองไม่เห็นปัญหา พึงพอใจกับการทำให้ตนเองดูฉลาดและสมบูรณ์แบบ บางทีอาจดูถูกคนที่ฉลาดน้อยกว่า กลั่นแกล้งคนที่ด้อยกว่า หรือบางทีอาจถึงกับจัดการกับคนที่ฉลาด มีความสามารถ ทุ่เทให้กับกิจการ เพียงเพราะรู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อตนเอง คนที่มี Fixed Mindset จึงไม่สามารถก้าวออกมาพบความจริง ไม่สามารถยอมรับความล้มเหลวได้ และไม่สามารถเรียนรู้ความบกพร่องเพื่อพัฒนาต่อไปได้ ส่วนคนที่มี Growth Mindset สามารถไปถึงจุดหมายได้ และอาจไปได้ไกลกว่าเนื่องจากพัฒนาตนเองโดยตลอด ชอบเรียนรู้ ปรับปรุงตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ยอมแพ้อุปสรรค รักการทำงานเป็นทีม ไม่กังวลต่อลูกทีมที่อาจเก่งกว่า ฉลาดกว่า มีความสามารถมากกว่า ผู้บริหารที่มี Growth Mindset ให้การยอมรับลูกทีม จะหาโอกาสพบปะและเปิดกว้างในการรับฟัง เรียนรู้จากทีม มีจุดมุ่งหมายเพื่อการผลักดันให้กิจการก้าวหน้า และตระหนักตลอดเวลาว่ากิจการยืนอยู่ได้จากการร่วมมือร่วมใจของทุกๆคนในทีม คนเราส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นพวก Growth Mindset หรือพวก Fixed Mindset โดยสมบูรณ์ บางเรื่องเราอาจเป็นพวก Growth Mindset และบางเรื่องเราอาจเป็นพวก Fixed Mindset อย่างไรก็ตาม Growth Mindset ไม่สามารถบอกได้ว่าจะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยขนาดไหนหรือการเปลี่ยนแปลงจะใช้เวลานานแค่ไหน และบางอย่างก็อาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง แต่เราต้องยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบในตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้มีผลต่อชีวิตของเรา บทสรุปสุดท้าย เราต้องเรียนรู้และสำรวจตนเองอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้โน้มไปสู่การเป็นพวก Fixed Mindsetซึ่งไม่ปรับปรุงตนเอง เราต้องมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ วางแผนที่จะพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็น Growth Mindset ไม่ใช่เพื่อความสมบูรณ์พร้อมของชีวิต แต่เพื่อก้าวไปสู่ชีวิตที่มีความสุข สำหรับ กฟผ.ควรส่งเสริมอบรมพนักงานให้มีทัศนคติแบบ Growth Mindset เพื่อประโยชน์ขององค์กรและตัวพนักงานเอง

ประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน

กรอบการพัฒนาเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

15 มี.ค. 55 บทสรุป อาจารย์ ณรงศักดิ์ ผ้าเจริญ Creative thinking อาจารย์ณรงศักดิ์ ได้ให้มุมมองออกนอกกรอบที่ไม่เคยมอง จากผู้คนรอบข้างที่อาจเป็นลูกค้า อาจเป็นคนที่ได้รับผลกระทบ หรือคนที่ต้องการรับบริการจากกฟผ. ความต้องการเหลานั้นอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุดแล้วสำหรับเขา “คำถามที่ถูกต้อง ก็จะได้คำตอบที่ถูกต้อง” “คำถามที่แตกต่าง ก็จะได้คำตอบที่แตกต่าง” โมเดลแม่คำปอง จากหมู่บ้านที่คนหนุ่มสาวต่างอพยพเข้าสู่สังคมเมืองเหลือแต่คนแก่ เปลี่ยนเป็นหมู่บ้านที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีอาชีพ มีรายได้ คนหนุ่มสาวกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน จากจุดกำเนิดเล็กเล็กจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำเล็กเล็กของชุมชน นำไปสู่แนวคิดพึ่งพาตนเอง ฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมชุมชน สู่เอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน ที่คนต่างถิ่นล้วนเสาะแสวงหา ที่จะได้สัมผัสอันเป็นจุดขายที่แตกต่างที่ผู้คนยอมจ่าย ตัวอย่างหมู่บ้านเกษตรกรญี่ปุ่น ที่ทำการปลูกพืช organic ประสบความสำเร็จในการเปิดร้านอาหารที่เป็นorganic จากพืชผลของตนเอง อันเป็นจุดขายที่แตกต่างที่มีผู้คนพึงพอใจ สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดที่เปิดมุมมองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ผู้รับบริการยินดีที่จะขอรับบริการไม่ใช่ที่ราคาเพียงอย่างเดียวแต่บวกด้วยความพึงพอใจด้วย กลับสู่โจกย์ที่ยากของกฟผ. ที่จะแสวงหาจุดที่ลูกค้าพึงพอใจ ทำอย่างไรที่กฟผจะสร้างโรงไฟฟ้าที่ลูกค้าพึงพอใจ ประสานประโยชย์ทั้งความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความเป็นมิตรของสังคมและสิ่งแวดล้อมและความพึงพอใจของลูกค้า แต่ที่แน่แน่คือวิธีเดิมเดิม วิธีการเดิมเดิมคงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด

15 มี.ค. 55 ศ.พิธาน ไกรฤทธิ์ มุมมองนักการตลาด เมื่อก่อนมุ่งเน้น supply, product, cost ทำอย่างไรให้ราคาถูกสุด แต่แล้วก็ประสปปัญหาคือ ทำออกมาแล้วไม่มีคนใช้ มุมมองใหม่จึงปรับเปลี่ยนสู่ มุ่งเน้นความต้องการของลูกค้า เช่นเดียวกันกับมุมมองเดิมเดิมของ กฟผ. นั้น Focus on supply ทำอย่างไรให้ราคาต่ำสุด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่กฟผ.พบปัญหาอยู่ขณะนี้เช่นกัน ดังนั้น มุมมองของ กฟผ. ควรจะต้องปรับสู่ ลูกค้า (Steak Holder) ของ กฟผ. - ลูกค้า - Lender ( Financial Source) - รัฐบาล - สื่อ - NGO - Local public - Internal ทำอย่างไรให้ได้ผลตามที่ลูกค้า ทั้ง 7 นี้ต้องการ การขับเคลื่อนธุรกิจประกอบด้วย 5องค์ประกอบคือ 1. ตลาด 2. ผลิต 3. เงิน 4. คน 5. ประสบการณ์ การบริหารทางด้าน Supply side คือ บริหาร 2. ผลิต 3.เงิน 4.คน 5.ประสปการณ์ การบริหารทางด้าน Demand side คือ บริหาร 1.ตลาด 5.ประสบการณ์ เข้าสู่กระบวนการ We + manage + What →For Production focused on demand side We ที่จะใช้ในการบริหารประกอบด้วย knowledge, skill, attitude What ประกอบด้วย 1. คู่แข่ง, 2. Supplier, 3. Distributor, 4. New comer, 5. Substitute (พลังงานทางเลือก)

สรุปหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

ทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร หรือ การทำธุรกิจ อ.จีระได้รวบรวมจากความรู้และประสบการณ์ที่ทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ อ.จีระได้นำเสนอผลงานของคุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยาผู้บริหารของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งเน้นเรื่องการพัฒนาบุคลากร ทำให้บริษัทปูนซีเมนต์โดดเด่นเรื่องการพัฒนาคน และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจอย่างใหญ่หลวงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

คุณพารณ หลังจากที่ได้ทำงานกับบริษัทเชลล์ แห่งประเทศไทย ได้นำเอาการบริหารและการจัดการที่ทันสมัยจากบริษัทข้ามชาติมาปรับใช้ เริ่มจัดโครงสร้างและระเบียบการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามเหนือสิ่งอื่นใด คุณพารณเห็นความสำคัญว่า “คน เป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง ในการทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จก็คือ ความจงรักภักดี และความมีวินัยของคนในองค์กร เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท
อ.จีระ หลังจากจบการศึกษา ได้เข้าทำงานที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับหน้าที่โครงการตั้งสถาบันแรงงาน ซึ่งภายหลังได้ปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันทรัพยากรมนุษย์ และความสำเร็จอย่างหนึ่งในฐานะผู้บริหารคนแรกของสถาบัน คือ แนวคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องได้รับการยอมรับ บทบาทของสถาบันต่อสังคมและประเทศชาติคือ เป็นกระบอกเสียงให้สังคม นักวิชาการ นักการเงินการคลัง ได้เห็นความสำคัญของคนหรือทรัพยากรมนุษย์ ว่าสำคัญพอพอกับเงินหรือวัตถุ และเตือนให้รัฐบาลลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

บทส่งท้ายของคุณพารณ และอ.จีระ ต่อความเป็นคนพันธุ์แท้ 1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์โดยบังเอิญ และทั้งสองท่านก็แล้วแต่เห็นความสำคัญ อย่างยิ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และมุ่งมันเอาจริงเอาจังด้วยจิตวิญญาณ จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากสังคมไทยและนานาชาติ 2. มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน คุณพารณ ได้ทุ่มเทงบประมาณด้านพัฒนาคนมากที่สุดในช่วงที่บริหารงานที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย อ.จีระ มุ่งสร้างให้เยาวชนให้เป็น Global Citizen ตามแนวคิด Constructionism จากจุดเริ่มต้นโรงเรียนบ้านสันกำแพง ดรุณสิกขาลัย และอีกหลายๆ แห่ง 3. จากความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม ทั้งคุณพารณและอ.จีระ หลังเกษียณก็ ยังใช้ชีวิตเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระ มุ่งมั่นในการสร้างงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยังมีเครือข่ายที่จะสานงานต่อด้านพัฒนาคน ทั่งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ 4. มีบุคลิกแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ การทำงานที่ได้สัมผัสกับคนต่างชาติอยู่เป็น นิตย์ มีโอกาสติดต่อกับผู้นำ องค์กรชั้นนำ ทำให้ซึมซับแนวความคิดมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ลับสมองของนักคิดระดับโลก 5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็น “ผู้ให้” ทั้ง “ความรู้” และ “ความรัก” แก่คนใกล้ชิด ซึ่งนำไปสู่ ความหมายของคำว่า “อำนาจ” และ “บารมี” 6. มีความสุขกับการเป็น “ผู้ให้” ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ “กล่อง” หรือการเชิดชูเกียรติจาก ใคร

สรุปหนังสือ 8K’s , 5K’s

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์
ต้องลงทุน การลงทุน คือ การเสียสละทรัพยากรวันนี้ เพื่อประโยชน์ในวันหน้า ต้องลงทุนเสียก่อนจึงจะได้ผลตอบแทน
ทุนพื้นฐาน เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ต้องมีของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

  1. ทุนมนุษย์
  2. ทุนทางปัญญา
  3. ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม
  4. ทุนทางความสุข
  5. ทุนทางสังคม
  6. ทุนทางความยั่งยืน
  7. ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
  8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ K1 ทุนมนุษย์ เป็นพื้นฐานอันดับแรก มนุษย์เกิดมาเท่ากัน แต่ต้องพัฒนาให้มีคุณค่า เช่น การศึกษา
     โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว ฯลฯ
    
    
    K2 ทุนทางปัญญา นอกเหนือจากการศึกษาแล้ว ต้องปลูกฝังให้คิดเป็น ปลูกฝังวัฒนธรรม การเรียนรู้ และ
      สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
    
    
    K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ K4 ทุนแห่งความสุข ในโลกของการแข่งขัน เรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยม ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แค่
      คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า ทุนแห่งความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึง
      มี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ
    
    
    K5 ทุนทางสังคม การมีสังคมหรือเครือข่าย กว้างขวาง เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูง
     ขึ้น
    
    
    K6 ทุนแห่งความยั่งยืน คือ การที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
        ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน การมีทักษะความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน 
      ชีวิตประจำวันของเราเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน
    
    
    K8 ทุนอัจฉริยะ มาจากแนวคิดที่ว่า คนที่จะประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ,ความรู้ และ
      ทัศนคติ
    
    

    การจะพัฒนาทุนอัจฉริยะ ทำได้โดย ทฤษฎี 5E คือ

  9. Example
  10. Experience
  11. Education
  12. Environment
  13. Evaluation

นอกจากทฤษฎี 8K ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ต้องมีแล้ว อ.จีระ เสนอแนวคิดทุนใหม่ 5 ประการ ซึ่งเป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี

ทฤษฎี 5 K’s ประกอบด้วย

ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
ทุนทางความรู้
ทุนทางนวัตกรรม
ทุนทางอารมณ์
ทุนทางวัฒนธรรม

  1. (5 K’s) ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ พลังแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย
  2. (5 K’s) ทุนทางความรู้ ในยุคเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร มีความสำคัญ ความรู้ที่มีจะต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นคนใฝ่รู้
  3. (5 K’s) ทุนทางนวัตกรรม คือ ความสามารถในการทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า
  4. (5 K’s) ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ ทุนทางวัฒนธรรมสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์
  5. (5 K’s) ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง สำหรับสังคมไทย วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างทุนทางอารมณ์ คือยึดหลักคำสอนของพระสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต

วันที่ 27 มี.ค. 55 วิสัยทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง รองผู้ว่าราชการจังหวัด พงศ์ธร ลักษณะภูมิประเทศกาญจนบุรี แบ่งได้เป็น 3 โซน 1. ป่า 2. เกษตรกรรม / เศรษฐกิจ 3. แห้งแล้ง ลักษณะที่น่าสนใจคือ มีแนวเปิดชายแดน 43 ช่อง ตลอดแนวชายแดน 370 กม. แต่ไม่มีจุดผ่านแดนที่เป็นทางการ แนวโน้มที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของจังหวัดกาญจนบุรี คือ การเกิดโครงการทวายที่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่ามาบตพุฒ 10 เท่า) การมีท่าเรือนำลึก เปิดการติดต่อไปทางประเทศตะวันตก เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานราคาถูก เปิดการท่องเที่ยว เปิดโอกาสที่จะเป็นเส้นทางเศษรฐกิจสู่ประเทศตะวันตก เป็นจังหวัดที่น่าสนใจที่จะต้องมีการเตรียมพร้อม เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาปัจจุบันคือ มีคนรู้เรื่องนี้น้อย ความเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงจึงมีน้อย พี่น้องประชาชนยังไม่นึกถึงผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม ควรมีผู้วิเคราะห์เป็นผู้ชี้ประเด็นให้ เพื่อให้เกิดความคิดต่อยอดต่อไป ประเด็น บทบาทของกฟผ.ควรทำอย่างไร ชุมชนถึงไม่ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าของผู้ว่าได้ให้ความเห็นว่า ความเป็นมิตรของชุมชนแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. รักทันที 2.กัลยาณมิตร 1. รักทันที จะเป็นเพราะได้รับผลประโยชน์ทันที ซึ่งต่อต่อไปมักจะไม่ยั่งยืน 2. กัลยณมิตร ซึ่งเกิดจากได้รับการดูแล ได้รับการช่วยให้เข้มแข็ง มีพื้นฐานเข้มแข็งด้วยตัวเองต่อไป มีคุณภาพชีวิตดีพอควร

Panel Discussion หัวข้อ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน โดย 1. อ.มนูญ 2. คุณสมภพ พวงจิตต์ ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. 3. คุณวสันต์ สุนจิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่5 บ้านช่องสะเดา 4. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ คุณสมภพ พวงจิตต์

การศึกษาผลกระทบและดูแลสิ่งแวดล้อมที่ กฟผ. ทำอยู่มักจะทำเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งในอดีต กฟผ. ทำการศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อมอยู่เป็นการภายใน กฟผ. และหลังจากมีกระแสสังคมที่ให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดมีการให้เปิดเผยข้อมูล และชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. พบกับปัญหา เช่น 

  • ในเรื่องการให้ข้อมูลไปเหมือนกัน การสื่อสารไม่เป็นไปในทางเดียวกัน จึงอาจทำให้เกิดความสับสน
  • กฟผ. ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง ไม่เหมือนบ้านเรือนเดียวกันกับชุมชน
  • ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น มักจะถูกมองว่ามีสาเหตุมาจาก กฟผ.
  • การเลือกเชื้อเพลิง การสร้างโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆไม่ได้ นอกจาก Gas ทำให้เสียเปรียบเรื่องต้นทุนพลังงานต่อประเทศอื่นๆ
  • NGO ต่อต้าน สรุป กฟผ. ควรจะดำเนินการต่อไป คือ ให้ประชาชนได้รับแบ่งปันผลประโยชน์ มีส่วนร่วมคิด มีส่วนร่วมทำ มีผลประโยชน์แก่ชุมชนในแง่การพัฒนาที่ยั่งยืน

อ.มนูญ การเกิดกระแสต่อต้านในด้านพัฒนาด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้น อาจมีสาเหตุจาก - ต่อต้านแล้วได้ประโยชน์ - ต่อต้านเพราะได้รับผลกระทบจริงๆ แนวความคิดเดิม การพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ ชาวบ้านต้องเสียสละ ความคิดใหม่ ต้องคิดว่าเป็นเรื่องของชุมชน ต้องไปด้วยกันทั้งประเทศชาติและชุมชน ต้องให้ชุมชนได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม จึงต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม, การพัฒนาต้องเป็นแบบยั่งยื่น และมีการร่วมมือกันทั้งกฟผ., ชุมชนและ NGO ดังนั้นแนวความคิดที่ควรจะทำ เช่น - ลงสู่การสัมผัสกับชุมชน - ให้ชุมชนเข้าร่วมตั้งแต่แรก - สื่อสารแบบซึ่งหน้า - กำหนดมาตรฐานการดูแลร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนไว้ใจ อ.จีระ

การจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ในภาพ Macro ต้องเป็นการกำหนดนโยบายจากรัฐ เรื่อง Energy Tax วิธีการบริหารขณะนี้ไมมีประสิทธิภาพ การแบ่งผลประโยชน์ไม่ได้มีผลตอบสนองต่อ กฟผ.โดยตรง

คุณวสันต์ สุนจิรัตน์

ในอดีตการสร้างเขื่อน ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าได้รับผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่มาก กฟผ. ใช้อำนาจในการสร้าง ชาวบ้านไม่ได้รับการชี้แจงทำให้รู้สึกเจ็บปวดต่อผลกระทบ ต่อมาภายหลังชุมชนจึงเริ่มยอมรับหลังจากได้เห็นผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อน และได้รับการช่วยเหลือจาก กฟผ.
กฟผ. ได้จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก กฟผ.ช่วยเหลือชุมชนได้โดยการให้ความรู้ เช่น กฟผ.เป็นแม่งานให้ชุมชนในการพัฒนาสร้างฝาย การให้แม่ไก่ชุมชนไปเลี้ยง สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้สึกที่ดีของชุมชนต่อกฟผ. ขณะนี้ชุมชนมีปัญหากับไฟป่าและฝูงช้างรบกวน ถ้ากฟผ.หาวิธีเข้าร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหา ก็ได้ใจจากชุมชนแล้ว

คุณวสันต์ได้ให้แนวคิดว่า การที่กฟผ.เข้าร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาก็ได้ใจจากชุมชนแล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าชุมชนจะไปเข้ากับ NGO ชาวบ้านรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรผิดก็ไม่ร่วมอยู่แล้ว

28 มีนาคม 2555 เสวนา เรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู้ภัยธรรมชาติ

  1. ผู้แทนพลังงานจังหวัด กาญจนบุรี
  2. คุณบุญอินทร์ ชื่นชวรัต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ กฟผ.
  3. คุณสมภพ พวงจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ.
  4. ตัวแทนกลุ่ม 1 และ 2 EADP8

ตัวแทนจากกลุ่ม 1 และ 2 นำเสนอแนวคิดว่า I. ปัญหาที่ทราบในชุมชน ขณะนี้ คือ ไฟป่า และการรบกวนจากฝูงช้างป่า ดั้งนั้นจึงเสนอว่า 1. ทำฝายชลอน้ำ และปลูกป่า ทำแนวกั้นไฟป่า 2. เมื่อธรรมชาติชุ่มชื้น ป่าสมบูรณ์ ก็เป็นการใช้ธรรมชาติเลี้ยงช้างป่า พร้อมกำหนดเขตให้ช้างป่าหากิน เสริมด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ II. เสนอโครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับชุมชนพื้นที่อื่นๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ระหว่างชุมชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดแนวคิดในการแก้ปัญหา และเป็นการสร้างเครือข่ายที่มีเป้าหมายเดียวกัน

ผู้อำนวยการเขื่อน เดิมในอดีต กฟผ. จะรับผิดชอบแค่ เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ดี ไม่ให้ไฟดับ มาทุกวันนี้ กฟผ. ต้องมองกว้างขึ้น เริ่มจากตั้งเขื่อน น้ำ ชุมชน ป่า ต้นน้ำ ทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง มองให้เห็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเข้าพื้นที่เพื่อดูปัญหา ทำแผนพัฒนา ฝึกอบรม ดูพื้นที่อื่นๆ ที่เคยทำ วางแผนร่วมกับชุมชน ดูให้ครบวงจรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น ต้องเตรียมการบริหารอย่างเป็นระบบ มีเครือข่าย กฟผ. อาจจะเป็นศูนย์กลาง แต่ชาวบ้านต้องร่วมมือกันเป็นเครือข่าย มีกติกาเพื่อการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวแทนพลังงานจังหวัด ชุมชนที่จัดการบริหารเรื่องพลังงานชุมชน มีหลายชุมชนที่ทำสำเร็จ เกิดจากการวางแผนร่วมกัน แล้วขอสนับสนุนโครงการจากภาครัฐ เช่น โครงการชีวภาพครัวเรือน ตู้อบแสงอาทิตย์ ปัญหาของชุมชนมักเกิดจากความไม่แน่นอนธรรมชาติ และเพื่อนบ้าน การแก้ปัญหาควรเกิดจากการวางแผนร่วมกัน และหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนเรื่อง เทคโนโลยี

ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. ปัญหาชุมชนไม่ยอมรับในการสร้างโรงไฟฟ้า น่าจะเกิดจาก 1. ความไม่รู้ 2. ไม่ได้รับผลประโยชน์ หรือไม่เป็นธรรม การแก้ปัญหาการไม่ยอมรับ ควรจะเข้าสู่พื้นที่เพื่อให้ความรู้และดูความต้องการชุมชน ให้เข้าใจว่าชุมชนจะยอมรับได้อย่างไร ชุมชนจะได้รับประโยชน์อะไร ให้ความมั่นใจต่อชุมชน

ความเห็นชุมชน คุณวสันต์ ได้มีผู้เข้ามาชุมชนและได้เสนอความเห็นเยอะ แต่ส่วนใหญ่ได้แต่เริ่มต้นและไม่เคยทำต่ออีกเลย ปัญหาบางอย่าง ชุมชนคิดได้ แก้ปัญหาได้ แต่ชุมชนไม่มีปัญญาจัดหาอุปกรณ์ เช่น ไฟป่า บางปัญหาแก้ยาก เช่น ช้างป่า ปัญหาที่เกิดจากการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า เสนอว่า 1. ให้ความรู้กับชุมชน ถึงผลดีผลเสีย ประชาชนยอมรับได้ การต่อต้าน อาจจะไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ เช่นในอดีตการต่อต้าน เรื่องท่อก๊าซ ส่วนใหญ่การต่อต้านไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ 2. อยากให้ กฟผ. คิดถึงลูกหลานของชุมชน อดีต กฟผ. สร้างเขื่อน ชุมชนต้องอพยพ กฟผ. เคยช่วยลูกหลานชุมชนบ้าง แต่ไม่ยั่งยืน

ชาวบ้าน อยากให้นึกถึงชุมชนรอบๆ เช่น เป็นตำบลที่อยู่ใกล้เขื่อน แต่ขาดน้ำไม่มีน้ำใช้ สรุป แนวคิดได้ว่า ชุมชนอยากให้ กฟผ. เข้าใกล้ชิดกับชุมชน ให้ความรู้ ให้ความสนับสนุน ในส่วนที่ชุมชนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และให้เป็นการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ชุมชนเห็นว่า ชุมชนสามารถเข้าใจได้ถึงปัญหา และความต้องการเรื่องพลังงาน

เสวนาเรื่อง ชุมชนรู้จริงเรื่อง อาเชี่ยนเสรี

อ.ทำนอง ดาวศรี จากมูลนิธิพัฒนา ให้แง่คิดว่า รู้ตัวเอง และต้องรู้จักเขา (อาเซียน)

คุณนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดการญจนบุรี

AEC 58 ไม่ใช่ว่าจะเพิ่งเริ่ม ความจริงเริ่มมานานแล้ว เริ่มจากอาเซียน จากความมั่นคงและขยายออกไป เมืองกาญเป็นช่องทางธรรมชาติ เป็นประตูสู่ตะวันตก ห่างจากทวาย 180 กม. ห่างจากกรุงเทพฯ 100 กม. ดังนั้น เส้นทางอนาคตจากทะเลสู่กรุงเทพฯ สู่ทวาย เข้าสู่ประเทศตะวันตก เช่น ดูไบ ตุรกี อิตาลี รวมทั้งเป็นเส้นทางสู่จีน เวียตนาม กัมพูชา เป็นความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่คนไทยยังรู้น้อย ควรต้องมีการเตรียมตัว เช่น ภาษีชุมชน ภาษา สินค้า การเตรียมตัวเป็นเมืองผ่านด่าน ชุมชนในท้องถิ่นต้องเป็นคนทำ ราชการเป็นผู้ใส่กรอบให้ อย่ารอให้ราชการเป็นผู้เริ่มทำจะไม่สำเร็จ

ดร.หญิงฤดี เราจะมีความพร้อมในการเข้าสู่อาเซี่ยนเสรีอย่างไร ทรัพยากรบางอย่างมีจำกัด แต่มีบางอย่างไม่จำกัด เช่น ความสามารถมนุษย์ วิทยานิพนธ์ของ ดร.หญิงฤดี “ทุนแห่งความเป็นไทย” เกิดจากแรงบันดาลใจที่จะสร้าง Brand ของคนไทย จุดเด่นของคนไทยสามารถนำสู่ “ความสำเร็จของการขายสินค้าและบริการของความเป็นคนไทย” การเข้าสู่อาเซี่ยนเสรี เราต้องรู้ก่อนว่า ความเป็นไทยแตกต่างอย่างไร คนไทยได้ชื่อว่า Service mind เป็นที่ดีที่สุดในโลก ภาษากายดีที่สุดในโลก สำหรับชุมชนอาจจะคิดถึงจุดนี้ การขายสินค้าอย่างเดียว จะขายได้ไม่เท่าไร ต้องบวกบริการที่ทำให้เกิดความพอใจ ถ้าใช้วัฒนธรรมบวกกับสินค้า ก็จะเป็นสินค้าที่มีชิ้นเดียวในโลก เมืองกาญเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อยู่แล้ว ถ้านำมาบวกกับสินค้าก็จะสร้าง Brand ได้ สำหรับ กฟผ. นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อม ควรมองเพิ่มเติมถึงความเป็นไทยด้วย

ผู้ใหญ่วสันต์ ผลกระทบจากอาเซี่ยนและทวาย เพิ่งจะได้รับรู้ เพิ่งมีหน่วยงานแรกที่เข้ามาให้ความรู้ ดังนั้นคิดว่าอาจจะเป็นผลดีของเมืองกาญ และตำบลช่องสะเดา น่าจะเป็นโอกาสของการท่องเที่ยว ส่วนปัญหาของชุมชนก็น่าจะเป็นเรื่องภาษา ถ้า กฟผ. เข้ามามีส่วนช่วยเหลือด้านภาษา ก็น่าจะเป็นผลดีต่อ กฟผ. ในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และ กฟผ. ก็มีอยู่แล้วทั้งคนและความรู้ด้านภาษา น่าจะช่วยได้

มล.ชาญโชติ จุดประสงค์หลักของอาเซี่ยน ได้แก่ 1. ต้องการให้ประชาคมอาเซี่ยนเข้มแข็ง เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ 2. สร้างความเข้มแข็ง และเสถียรภาพ ให้ประชาชนอยู่อย่างสันติภาพ 3. เสริมสร้างเศรษฐกิจ ของประชาชน 4. ส่งเสริมความร่วมมือขององค์กร ผลกระทบ ตัวสินค้า แต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างในตัวเอง จึงไม่ต้องเกรงว่าจะขายไม่ได้ การเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากมีข้อจำกัด ซึ่งไม่ต้องกลัวผลกระทบต่างๆ เพียงแต่ต้องเตรียมความพร้อม

ตัวแทน EADP8 - ควรเริ่มจากการมีแผนจากชุมชน มองหาจุดเด่นของชุมชนเพื่อให้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ - เมื่อชัดเจนว่าจะทำอย่างไร กฟผ. จึงจะหาแนวทางร่วมมือช่วยเหลือ

29 มีนาคม 2555 เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน

  • เกิดจากปัญหาสภาพแวดล้อม ชุมชนริมแม่น้ำยากจน เกิดมลภาวะ
  • รวบรวมคนในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหา
  • ได้รับการสนันสนุนจาก SCG โครงการฟื้นฟูบ้านเกิด ชุมชนนำเสนอโครงการจำกัดมลภาวะที่เกิดจากเศษอาหารและไขมัน ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
  • แก้ปัญหาต่อเนื่อง ต่อจากโครงการแรก นำเศษอาหาร/ไขมันมาหมักเป็นแก๊สชีวภาพ และต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 3 โครงการคลองใส้ไก่ เพื่อชลอน้ำให้เกิดธรรมชาติบำบัดน้ำเสีย
  • ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ทำให้ชุมชนดีขึ้น จัดระเบียบแบบแผนชุมชน
  • พัฒนาต่อเนื่อง สร้างเครือข่าย เข้าสู่โรงเรียน ชุมชนอื่นๆ
  • นำวัฒนธรรมองค์กรของ SCG มาใช้ในชุมชน ปลูกผังเข้าสู่ชุมชน
  • มีการวัดผลจาก SCG แนวความคิดต่อการใช้กับกฟผ.
  • เข้าคุยกับชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดความร่วมมือ
  • ให้คนในพื้นที่อยากได้ ไม่ใช่ทำในสิ่งที่เราอยากให้
  • การมีส่วนร่วม อย่าปล่อยให้โดดเดี่ยว ให้เข้าร่วมเป็นกันเองกับชาวบ้าน แล้วจะได้ใจ
  • สร้างเครือข่าย

สรุปหนังสือ Mindset ทำไมคนจึงแตกต่าง

มีผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็น 2 ประเด็น ส่วนหนึ่งมาจาก Strong physic basic หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ใน Gene อีกส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานสภาพแวดล้อม

นักจิตวิทยาสมัยใหม่บางท่าน ได้ให้ความเห็นว่า ความฉลาดถูกกำหนดตายตัวแล้วไม่สามารถเพิ่มได้ ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญหลายท่านลงความเห็นว่า ไม่ใช่เพราะธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ยีนเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ตัวกำหนด ต้องประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมด้วย ยีนนั้นๆ จึงจะทำงานถูกต้อง

ดั้งนั้นไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยสิ่งใด แต่ประสบการณ์การอบรม ความใส่ใจ นำเขาเหล่านั้นไปในทางที่ถูกต้องได้

ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูง ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่าจะเป็นคนเก่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนสามารถจะเก่งอย่าง Einstein หรือ Beethoven ได้ แต่อย่าไปเสียเวลาพิสูจน์ว่าตัวเองเก่งแค่ไหน เก่งอะไร เพราะเราสามารถเก่งกว่านั้นได้ และอย่าซ่อนความด้อยเอาไว้ แต่ควรจะเอาชนะมัน อย่าเสียเวลากับการค้นหาความจริง แต่ควรเพิ่มประสบการณ์ที่ทำให้เราก้าวหน้าต่อไป ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะทำให้ตัวเองก้าวหน้าต่อไป ถึงแม้ในช่วงที่ไม่สำเร็จนี้แหละคือ บทบัญญัติของการเติบโตmildest ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตสู่ความสำเร็จที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าได้คะแนนสอบ mid term เป็น C+, ระหว่างเดินทางกลับบ้านได้ใบสั่งอีกใบ, กลับบ้านโทรไประบายกับเพื่อน กลับทะเลาะกับเพื่อน ดังนั่นจึงนั่งบ่น นั่งผิดหวัง คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำไมโชคร้าย จมอยู่ในความทุกข์ หาทางระบายความโกรธ หรือถ้าทำอีกแนวทางหนึ่งว่า กลับมาคิดว่าต้องขยันกว่าเดิม วางแผนการเรียน หาทางจอดรถระมัดระวังกว่านี้ โทรศัพท์ขอโทษเพื่อนที่อารมณ์ไม่ดี ลองเทียบกันดูสิ่งใดควรจะเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่ากันดังนั้นเราควรเปลี่ยน Fixed Mindset เป็น growth mindset

Business: mindset and leadership กรณีศึกษา Mindset and management decision

การศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ให้กลุ่มดำเนินวิธีการแบบ Fixed mindset โดยกำหนดว่า ภาระงานของเขาจะเป็นตัววัด ความสามารถพื้นฐาน ถ้าวัดความสามารถออกมาได้สูง ก็เป็นการแสดงว่ามีคุณสมบัติสูง ส่วนอีกกลุ่มให้เป็นแบบ Growth mindset โดยกำหนดว่าความสามารถในการบริหารจะถูกพัฒนาจาก การฝึกฝน และการงานของเขาจะเป็นตัวเพิ่มพูนทักษะนั้นๆ
ภาระงานที่ให้จะเป็นภาระที่ยากที่จะทำได้สำเร็จ ดังนั้นพวกที่เป็น Fixed mindset ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ที่ทำไม่สำเร็จ ส่วนอีกกลุ่มที่เป็น Growth mindset ก็จะพยายามเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่กังวลต่อความไม่สำเร็จ ไม่ต้องปิดบัง เหมือนพวก fixed mindset เขาจะเฝ้ามองสิ่งที่ทำผิด รับfeedback และปรับเปลี่ยนแผนงานให้ดีขึ้น ดังนั้น เขาจะมีความเข้าใจดีขึ้นเรื่อยๆ รู้วิธีการปรับปรุงงาน การกระตุ้นคนงาน และทำให้สินค้าเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ผลลัพธ์ในที่สุดกลุ่มที่เป็น Growth mindset จึงได้ผลงานดีกว่า Fixed mindset 

Negotiators, Managers, Leaders ทั้งหลายสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เป็นมาแต่กำเนิด และมักจะทำได้ด้วยตัวเองมากกว่าที่จะมาจากสิ่งช่วยเหลือจากภายนอก

Growth your mindset
- พิจารณาตัวเองตัวเป็น Fixed mindset หรือ Growth mindset ให้พยายามทำตัวให้เป็น Growth mindset ด้วยตนเอง พยายามลดการปกป้องความผิดของตัวเอง ใช้ประโยชน์จาก Feedback ให้มากขึ้น หาทาง สร้างวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น - คุณทำอย่างไรกับเพื่อนร่วมงาน คุณเป็นเจ้านายแบบ Fixed mindset หรือไม่ คุณมุ่งเน้นอำนาจของคุณมากกว่า ความรู้สึกดีดีของลูกน้องคุณหรือไม่ คุณเคยเหนี่ยวรั้งลูกน้องที่มีความสามารถลง เพราะการปฏิบัติของเขาต่อคุณหรือไม่ ให้พิจารณาทางที่จะให้ลูกน้องของคุณพัฒนาขึ้น หาทางทำให้ลูกน้องของคุณพัฒนาขึ้น หาทางทำให้ลูกน้องของคุณรู้จักของการเป็นทีม สร้างแผนงานและจงทำดู ให้ทำถึงแม้ว่าคุณจะเป็น Growth mindset boss แล้วก็ตาม - ถ้าคุณบริหารบริษัทของคุณลองคิดว่าคุณจะบริหารแบบmindset อย่างไร คุณจะขจัดกลุ่มถืออำนาจพิเศษเหนือคนอื่นอย่างไร จะสร้างวัฒนธรรมการสำรวจตนเอง การสื่อสารซึ่งกันและกัน และสร้างทีมอย่างไร

สรุปสาระจากหนังสือ Mindset ของDr.Carol S.Dweck

1. ความหมาย/ทำไมคนจึงมีความแตกต่างกัน

Mindset หมายถึงความเชื่อฝังลึกในใจที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ที่เกิดจากการหล่อหลอมด้วยปัจจัยต่างๆหลายประการ ส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกโดยไม่รู้ตัว จนเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล Mindset สามารถพัฒนาเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆตามสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ คนที่มี Fixed Mindset จะเชื่อว่าความสามารถของแต่ละบุคคลมีจำกัด ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ที่ติดตัวมา เชื่อว่าผู้ที่ล้มเหลวผิดพลาดเป็นคนโง่ จึงไม่ชอบงานที่มีความเสี่ยง ท้าทาย ไม่พยายามปรับเปลี่ยนแก้ไขข้อผิดพลาด คนที่มี Growth mindset เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาได้ไม่มีขีดจำกัดจากการความพยายามในการฝึกฝน การทำงานอย่างทุ่มเทอย่างมีเป้าหมาย ไม่กลัวความล้มเหลว ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อการเรียนรู้ แก้ไข

2. ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับเปลี่ยน Mindset ของคน กฟผ. ให้ไฝ่เรียนรู้

 - อบรมให้ความรู้ปรับทัศนคติให้ตระหนักถึงความสำคัญของการไฝ่เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร

 - สร้างบรรยากาศ มีเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 - ระบบแรงจูงใจ

    -ผู้บริหารทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม

    -ผูกKPI กับผลตอบแทน ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่เงิน

 

 

สรุปสาระที่ได้จากอบรมช่วงที่3 ระหว่างวันที่ 24-25 เมย.2555

บุคลิคภาพของผู้บริหารยุคใหม่ หม่อมราชวงศ์ เบญจา ไกรฤกษ์

ได้เรียนรู้ถึงการปฏิบัติตนเพื่อการเข้าสังคมต่างๆ เช่นการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ บุคลิกท่าทางการนั่ง ยืน เดิน การไหว้ การแนะนำตัว การสนทนา ได้เรียนรู้มารยาทการเข้าสังคมในวาระต่างๆกัน เช่นงานเลี้ยงรับรอง งานมงคล งานศพ ตลอดจนมารยาทในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ก็เป็นบทเรียนที่ดีที่ควรรู้ไว้เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อต้องเข้าสังคมในโอกาสต่างๆ

 

แนวคิด Blue Ocean อ.กุศญา

จากสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งความเร็ว ความคาดหวัง การแข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งขอบเขตของผลกระทบ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นมาก กลยุทธ์ทางธุรกิจเดิมๆที่ใช้กันจะมุ่งเน้นที่ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเดิมๆ ต่อสู้กันในเรื่องราคา ทำให้อยู่รอดได้ยากขึ้น

สำหรับแนวคิดแบบ Blue Ocean จะหาตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน สร้างความต้องการใหม่ๆที่มีโอกาสเติบโต สามารถสร้างหรือกำหนดกติกาในตลาดได้เองทำให้สร้างกำไรได้อีกมาก

สำหรับหน่วยงานแบบ กฟผ. ถึงแม้จะมี พรบ.ควบคุมอยู่ ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นที่จะสร้างตลาดใหม่ๆได้ง่ายเช่นเอกชนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดที่เป็น Blue Ocean ของ กฟผ.ก็ยังพอมีอยู่บ้างในกิจการที่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องจากการผลิตไฟฟ้า ที่กฟผ.มีศักยภาพสูง และเป็นจุดแข็งของ กฟผ. เช่น ธุรกิจด้านการรับเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ธุรกิจด้านการให้เช่าโครงข่ายสื่อสาร Fiber Optic ที่มีความมั่นคงสูงและครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วประเทศ

 

Art & Feeling of Presentation อ. จิตรสุมาลย์

ท่านอาจารย์มีทักษะวิธีในการถ่ายทอดศิลปะในการพูดการนำเสนอได้อย่างสนุกสนาน เร้าใจ น่าสนใจตลอดเวลา ท่านเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการนำเสนอโดยใช้ความรู้สึกและศิลปะในการแสดงออกอย่างธรรมชาติ การใช้สมองข้างขวาเพื่อดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจออกมา การฝึกลมหายใจ การจัดระบบคิดให้เป็นหมวดหมู่ โดยเขียนเป็นภาพ แบ่งเป็น3 หัวข้อคือ ปัญหา ทางออก และ ผลที่ได้รับ ทำให้ง่ายต่อการจดจำ

 

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ท่านวิทยากรสอนในเรื่องการดำรงตนให้มีคุณธรรมจริยธรรม การทำธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ ที่ท่านใช้คำว่าธุรกิจที่อยู่บนเส้นทางอรหันต์ หรือธุรกิจในน่านน้ำสีขาว(White Ocean) การมีคุณธรรมจริยธรรม ทำให้เกิดความไว้วางใจ ส่งผลต่อต้นทุนในการทำธุรกิจที่ต่ำลง ท่านกล่าวถึงในหลวงที่เป็นบุคคลต้นแบบในด้านคุณธรรมจริยธรรม ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ จนเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านวิทยากรนำมาเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านอยู่เสมอผ่านสื่อต่างๆ

สรุป การอบรมช่วงวันที่ 24-25 เม.ย.2555

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย มรว.เบญจภา ไกรฤกษ์ อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อการเข้าสังคมในสถานการณ์ต่างๆอย่างน่าสนใจ เช่นงานเลี้ยงรับรอง งานมงคลต่างๆ งานศพ รวมถึงมารยาทในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก เพื่อเป็นบทเรียนที่ควรทราบ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเข้าสังคมในโอกาสต่างๆโดยอาจารย์ได้เน้นการสร้างความประทับใจในการพบกันครั้งแรกว่ามีความสำคัญมาก นอกจากนี้อาจารย์ได้เพิ่มเติมหลักการเจรจาว่า ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี มีสามัญสำนึก กล้าตัดสินใจ มีจิตวิทยาที่ดี และต้องกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสม ไม่เจรจานานเกินจำเป็น

แนวคิด Blue Ocean โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ในโลกปัจจุบัน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และธุรกิจ สภาวะการแข่งขันจึงสูงมาก ดังนั้นหากเรายังทำอย่างเดิมๆ คิดอย่างเดิมๆ เราก็จะอยู่ในตลาดเดิมๆที่มีผู้เล่นจำนวนมาก ตลาดก็กลายเป็น Red Ocean เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพดังกล่าว เราต้อง Paradigm Shift คิดใหม่ ทำใหม่ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ มองหาโอกาสทางตลาดใหม่ หรือสร้าง Demand ใหม่ๆ ถ้าทำได้ เราจะเป็นคนแรกๆในตลาดใหม่นี้ ซึ่งเป็นBlue Ocean ที่ยังไม่มีการแข่งขัน ที่มีโอกาสได้ส่วนแบ่งตลาดที่กำลังเติบโต สามารถสร้างหรือกำหนดกติกาในตลาดได้เอง มีโอกาสทำกำไรได้สูง สำหรับ กฟผ. ซึ่งมี พรบ.กฟผ.บังคับควบคุมอยู่ นับว่าเป็นอุปสรรค ไม่มีความยืดหยุ่นที่จะสร้างตลาดใหม่ๆได้ง่ายแบบเอกชน แต่เราอาจต้องทบทวนตัวเอง ว่าเราได้ Paradigm Shift จริงแล้วหรือไม่ บางทีอาจมีพื้นที่ใหม่ๆ ที่ กฟผ.อาจมองไม่เห็นหรือมองข้ามไปก็เป็นได้

Art & Feeling of Presentation โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์อมาตยกุล อาจารย์ได้กล่าวถึงการใช้สมองในซีกซ้ายและซีกขวา ให้ลองฝึกใช้ซีกสมองสลับข้าง การเปลี่ยนมาใช้มือที่ไม่ถนัด เพื่อฝึกให้เกิดสติ สมาธิ และเกิดการใช้งานของสมองในส่วนเป็นจินตนาการ ความรู้สึก และศิลปะ นอกจากนี้ยังได้ให้ความรู้ในการนำเสนองานต้อง สั้น ย่อ กระชับ และได้ใจความ

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย วิทยากรเน้นการดำรงตนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมประเทศชาติ โดยเรียกการทำธุรกิจในลักษณะนี้ว่า White Oceanและที่เป็นที่ประทับใจ ซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง วิทยากรได้เน้นบุคคลต้นแบบในด้านคุณรรม จริยธรรม คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า ทรงคุณธรรม ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อน่างมากมายเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรชาวไทยอันหาที่สุดมิได้ ซึ่งพวกเราแม้ทราบซึ้งในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว แต่ก็มีความสุขใจที่ได้ยินได้ฟังทุกครั้ง

วันที่ 24 เม.ย. 2555

มารยาทการเข้าสังคม โดย ม.ร.ว.เบญจภา ไกรฤกษ์

ได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดความประทับใจเมื่อแรก มารยาทในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การสนทนา การแนะนำตัว วิธีการรับประทานอาหารแบบตะวันตก

Blue Ocean โดย ดร. กุศยา ลีฬหาวงศ์

เป็นการดำเนินธุรกิจแนวใหม่ที่เน้นการสร้าง(มองหา)ตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน ไม่ต้องสนใจในเรื่องการแข่งขัน สร้างและจับความต้องการใหม่ๆที่ยังไม่มีในตลาด ทำลายข้อจำกัดที่ต้องเลือกระหว่างคุณค่าและราคา และผสานระบบทั้งมวลของกิจกรรมบริษัท เพื่อให้บรรลุทั้งความแตกต่างและต้นทุนต่ำ เพื่อที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation)

วันที่ 25 เม.ย. 2555

สุนทรียภาพแห่งการพูดและการนำเสนอ โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ได้สอนถึงวิธีการที่จะดึงเอาสมองซีกขวามาใช้ให้เป็น หลักในการคิดโดยใช้วิธีการเขียนเป็นรูปภาพในลักษณะของสามเหลี่ยม เพื่อให้ง่ายในการจดจำ โดยแยกเป็น ปัญหา ทางออก ผลลัพธ์ที่ได้ มีแนวการสอนที่สนุก มีบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่เครียด มีวิธีในการดึงเอาความรู้สึกภายในออกมาใช้

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

คุณดนัยพูดถึง Speed of Trust ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืน ไม่มุ่งหวังแต่ผลกำไรจนเกินไป ต้องยึดมั่นความดีงาม รู้จักคืนผลกำไรสู่สังคม โดยเน้นให้มองสังคมในภาพใหญ่ในระดับประเทศ คุณดนัยกล่าวว่าสังคมไทยมีต้นแบบของคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีพร้อมสมบูรณ์ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่คนไทยได้แต่ชื่นชม โดยไม่คิดที่จะทำตามต้นแบบนั้น จึงทำให้สังคมเกิดวิกฤตดังเช่นปัจจุบัน

24 เม.ย.55 มารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ มรว.เบญจภา ไกรฤกษ์

การปฏิบัติตนเพื่อเข้าสังคม • การสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรก เสื้อผ้า หน้า ผม รองเท้า นาฬิกา ฯลฯ เป็นส่วนในการสร้างบุคลิกภาพที่ดี ต้องดูเรียบร้อย สะอาดและสุขภาพอนามัยดี • การวางตัวให้ตรง • การแต่งกายต้องให้เข้ากัน • การเข้าสังคมต้องให้เกิดความประทับใจ พบกันเพื่อประโยชน์ไม่ใช้สร้างศัตรู บุคลิกท่าทางต้องให้ดูดี มีความมั่นใจ นิ่มนวล อ่อนน้อมถ่อมตน • การพูดเป็นเรื่องสำคัญ ผู้นำต้องแสดงออกถึงพลัง บุคลิกภาพความเป็นผู้นำเกิดจากพลังข้างใน • การแสดงออกทางจิตใจ คือ การแคร์คน ให้ฟังมากกว่าพูด ไม่พูดในสิ่งที่ทำให้หดหู่ใจ พูดเรื่องกลางๆ หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องที่จะทำให้เกิดการขัดแย้ง เช่น เรื่องการเมือง เรื่องศาสนา ความเชื่อ • การแสดงออกถึงการเคารพ การคารวะ • การมีอารมณ์ขัน • การไหว้ การนั่ง มารยาทในการร่วมพิธีต่าง • การร่วมพิธีสงฆ์ การดื่มถวายพระพร การเข้าร่วมงานมงคล งานศพ งานเลี้ยงอาหาร งานเลี้ยงรับรอง • มารยาทการรับประทานอาหารแบบตะวนตก การเจรจาธุรกิจ • ต้องใช้กลยุทธ์และทักษะของตัวเองให้มาก • ใช้สามัญสำนึกและการต่อรองที่ดี • ให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย(Win-Win) คุณสมบัติของนักเจรจา • มีบุคลิกภาพดี • มีคุณสมบัติของนักเจรจาต่อรอง • มีความรู้ความสามารถและศิลปะในการในการสื่อความหมาย • มีศิลปะแลความสามารถในการจูงใจ • มีสามัญสำนึกที่ดี • เป็นนักประนีประนอม • เป็นคนมีวินิจฉัยดี และกล้าตัดสินใจ

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

• การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกและปัจจัยจากสังคมโลก • ปัจจัยหลักคือผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคมีการเปลี่ยแปลงไปมาก เราจะต้องปรับตัวเพื่อโอกาสในการแข่งขันและความอยู่รอด กลยุทธ์การแข่งขัน

เมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกองค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคจึงทำให้เกิดการแข่งขัน เดิมจะมีการแข่งขันกันด้านราคา หรือเพิ่มบริการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ต่างคนต่างแย่งลูกค้ากัน  แข่งขันกันทำให้เจ็บตัวทั้งสองฝ่าย เป็นลักษณะการแข่งขันกัน ดุเดือดเลือดพล่านผู้ชนะก็สามารถยืนหยัดอยู่ได้ ผู้แพ้ก็ต้องออกจากสนามแข่งขัน  แต่ที่แน่ๆก็คือเจ็บตัวทั้งคู่ซึ่งเรียกการแข่งขันแบบนี้ว่า Red Ocean 

จึงมีแนวคิดใหม่ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm Shift) คือแนวคิดของ Blue Ocean หรือ น่านน้ำสีคราม คือพื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเจริญเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล ผู้ที่เข้าเป็นคนแรกสามารถกำหนดกติกา ลูกค้าไม่มีตัวเปรียบเทียบ ไม่มีทางเลือก เป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm Shift) จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เปลี่ยนแปลงความคิดซึ่งจะมีผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป ซึ่งองค์กรจะต้องเห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงและมีใจอยากจะเปลี่ยนแปลงก่อน การเปลี่ยนแปลงจะมีปัญหาอุปสรรค หรือ กับดัก(Trap) ขัดขวางอยู่ 9ประการ 1. The Anchoring Trap : เป็นลักษณะการฝังใจ 2. The Status –Quo Trap : ประเด็นของสถานภาพ 3. The Sunk-Cost Trap : ประเด็นค่าใช้จ่าย 4. The Confirming- Evidence : เป็นการยกเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต 5. The Framing Trap : ติดอยู่ในกรอบ 6. Estimating and forecasting Trap : เป็นประมาณการหรือการคาดการณ์ในเชิงลบล่วงหน้า 7. The Overconfidence Trap : หลงตัวเอง 8. The Prudence Trap : ขี้กลัว มองโลกในแง่ร้าย 9. Recallability Trap : ประสบการณ์ ซึ่งองค์กรจะต้องทำลายกับดักเหล่านี้ โดยใช้ 1. Positive Thinking 2. Creative thinking 3. Strategic Thinking 4. Ethical Thinking

25 เม.ย.55 Art and Feelings of Presentation อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎีสมอง ฝึกการเคลื่อนไหว การใช้สมองซีกขวา การจินตนาการ การเป็นนักพูดที่ดีจะต้องมีการ Movement ตลอดเวลา การ Movement จะต้องมาจากข้างใน การยืนจะต้องยืนด้วยสะดือ คือมีความรู้สึกอยู่ที่สะดือ พื้นฐานอยู่ที่การฝึกหายใจ การจัดโครงร่างการพูดให้ยึดหลัก Power of 3 คือ ต้องมีประเด็นปัญหา ทางออก และประโยชน์ที่ได้ การกระจัดกระจายมากไปไม่เป็นหมวดหมู่จะทำให้ผู้ฟังสับสน การคิดให้คิดเป็นภาพ Presentation จะต้องมีสีสัน น่าสนใจ Script คือจินตนาการที่เราสร้างขึ้น ฝึกสร้างจินตนาการ พื้นที่ที่จะยืนพูดจะต้องมีการ Research and Development การพูดจะต้องคม ชัด มีความกระชับ ตรงประเด็น อาจารย์ให้ดูตัวอย่างการ Present ในเรื่องที่ยาก น่าเบื่อ แต่ผู้สอนมีวิธีการนำเสนอทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน มองเห็นภาพพจน์ น่าสนใจ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ได้บรรยายถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ซึ่งปัญหาหลักก็ คือ การขาดจริยธรรม จรรยาบรรณ ซึ่งเรามี Idol ที่เป็นแบบอย่างที่ดี คือ พระเจ้าอยู่หัวแต่เราไม่ปฏิบัติตาม คือ ไม่มี I do ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ โลกมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิโลกเปลี่ยนไป มีภัยธรรมชาติที่รุนแรง สังคม การเมืองเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงจะมาจากข้างนอกและเปลี่ยนจากภายใน หากการเปลี่ยนแปลงจากข้างนอกเร็วกว่าภายในจะทำให้เกิดปัญหาเกิดความหายนะ ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ประเทศไทยถูกเพื่อนบ้านแซงในหลายๆด้าน สาเหตุจากคุณภาพของคน คนขาดคุณธรรม จริยธรรม จากสำรวจหลายครั้งคนรุ่นใหม่ 70% ยอมรับการคอรัปชั่นซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายมาก ทุกคนอยากเปลี่ยนแปลงคนอื่นแต่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน นอกจากนี้อาจารย์ได้พูดถึงการฝึกชมกันโดยยกตัวอย่างงานวิจัยของอาจารย์ อิโมโต๊ะ ซึ่งทดลองเขียนคำชม และคำตำหนิ ปิดที่ขวดน้ำ 2 ขวดนำไปแช่ตู้เย็น แล้วใช้กล้องส่องดูโมเลกุลของน้ำที่แช่ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันกล่าวคือ ขวดที่ติดคำชมจะมีการตกผลึกงดงามในขณะที่ขวดที่ติดคำตำหนิโมเลกุลจะแตกกระจายไม่ตกผลึก อาจารย์ยังกล่าวกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองให้ถือว่าตัวเราเป็นปฏิมากรรมชั้นเอกมีหนึ่งเดียวในโลก ยอมรับอย่างที่เป็น พร้อมยกตัวอย่างคนที่ไม่มีแขน ไม่มีขา แต่มีพลังสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้โดยไม่ย่อท้อ

มนตรี ศรีสมอ่อน

Influential People in the World 1.Elinor Ostrom นักวิจัยที่ไม่ธรรมดา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2009 ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่เป็นสมบัติร่วมกัน เช่น อากาศ น้ำ และพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่เกิดในปัจจุบัน เป็นการป้องกันสิ่งแวดล้อม ระบบการเงินระหว่างประเทศ ป้องกันการใช้ทัพยากรร่วมกันที่ไม่ถูกต้อง Ostrer alom มีอายุ 78 ปี

2.Hamad bin Jassim bin Jaber al-Thani บุคคลฉลาดปราดเปรื่องของการ์ต้า Sheik Hamad bin Jassim bin Jaber al-Thani อายุ 52 ปี ได้ออกนโยบายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศยกระดับพลเมืองให้มีความมั่งคั่ง ในฐานะนายกรัฐมนตรี และ รมต.ต่างประเทศ ได้ทำให้การ์ต้ามีความมั่งคั่งในระดับนานาชาติ เขาได้นำไปสู่การแก้ปัญหาในภาคพื้น โดยเฉพาะความคืบหน้าทางการทูต ที่ทำให้กลุ่มปาเลสไตล์และอาหรับคืนดีกัน และทำให้การ์ต้า ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2022

3.Barack Obama ผู้นำอันทรงพลัง ถึงแม้ในปีที่ผ่านมาฐานะประธานาธิบดีของ Obama ดูมีปัญหา พรรคมีปัญหาในการเลือกตั้งสภาคอนเกรส ในปี 2010 เศรษฐกิจตกต่ำ ผลการสำรวจคะแนนนิยมตกต่ำ หนึ่งปีที่ผ่านมาเขาก็ยังยืนหยัดในฐานะผู้ที่ได้รับความนิยมในการชิงชัยในปี 2012 เขาให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น ด้วยวัย 50 ปีเขาได้แสดงให้เห็นทักษะและภาวะผู้นำส่งกองทัพทำให้ Osma bin Ladenต้องพ่ายแพ้และจากอิรักไป ในช่วงเวลาที่ยุ่งยากเขาดู Smart และ มีความมั่นคง คำพูดของเขามีความเชื่อถือได้

4.Benjamin Nethanyahu ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของอิสราเอล เป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ มีความเข้มแข็ง ประสบความสำเร็จทั้งทางการทหาร ทางการทูตและการปฏิรูปเศรษฐกิจ เขาได้เอาชีวิตเข้าฝ่าอันตรายท่ากลางปัญหา ความยุ่งยาก และสถานการณ์การเมืองที่ท้าทาย เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลก ปัจจุบันในช่วงเวลาที่นานาประเทศมีความไม่เสถียรจำนวนมาก Nethanyahu ในวัย 62 ปี ได้รับความไว้วางใจในการเฝ้าระวังอิหร่าน ป้องกันปัญหาความยุ่งยากต่ออิสราเอล ต่ออเมริกัน ต่อภาคพื้น ต่อประชาชนของเขาเองและต่อโลกเขาเป็นผู้นำที่เหมาะสมของอิสราเอลและเป็นหุ้นส่วนของอเมริกา

5.Hillary Clinton มีกลยุทธ์รวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นผู้ที่มีความอดทน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มีสันชาตญานของการเป็นนักการเมือง มีอารมณ์ขัน และเป็นสมาชิกที่ซื่อสัตย์ของทีม เขาเป็นคนพลิกวิกฤตเป็นโอกาสและทำงานท้าทาย ในโลกที่มีความสลับซับซ้อน มีความอ่อนไหวและเป็นอันตราย Hillary Clinton ในวัย 64 ปี ได้ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวทำให้อเมริกามีความเข้มแข็ง มีสัมพันธภาพที่ดีกับพันธมิตร หุ้นส่วนและเพื่อน ของอเมริกา ได้รวบรวมให้ประเทศต่างๆร่วมมือกัน เธอได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต ตั้งแต่ระยะต้นๆจนถึงระยะยาวนำพาให้อเมริกามีความปลอดภัย

มนตรี ศรีสมอ่อน

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ กับ กิจกรรม  CSR ของ กฟผ.  27-29 มี.ค. 2555 ณ เขื่อนท่าทุ่งนา จ. กาญจนบุรี

วันที่ 27 มี.ค. 2555

ในภาคเช้า อ.จีระได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม และมีการนำเสนอความเห็นของแต่ละกลุ่ม จากการอ่านหนังสือ HR พันธุ์แท้ และ 8K’s + 5 K’s

ภาคบ่าย เป็น Panel Discussion หัวข้อ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน โดยคุณพงศธร รอง ผวจ. กาญจนบุรี คุณมนูญ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน คุณสมภพ อสค. กฟผ. และ คุณวสันต์ ผญบ.หมู่ 5 บ้านช่องสะเดา

คุณพงศธร บรรยายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดกาญจนบุรี ได้ความรู้เรื่องเมืองกาญฯเกี่ยวกับพื้นทีและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีคำถามว่าคนเมืองกาญฯมีความรู้สึกอย่างไรกับ กฟผ. ท่านตอบว่าคนรัก กฟผ. มีสองแบบ คือแบบมีผลตอบแทน และแบบกัลยาณมิตร ซึ่งท่านอยากให้เป็นแบบหลังมากกว่า

คุณมนูญ กล่าวว่าต้องตอบคำถามก่อนว่า การต่อต้านการพัฒนาพลังงานมากขึ้นจริง หรือว่าเป็นเพียงกระแส พวกต่อต้านมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกต่อต้านเพราะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาจริงๆ กลุ่มที่สองต่อต้านเพราะได้ผลประโยชน์จากการต่อต้าน

คุณสมภพ ให้ความเห็นว่าต้องเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าให้ชุมชนเสียสละ เป็นต้องให้ผลประโยชน์กับชุมชนโดยตรง เช่น ในรูปของหุ้น หรือผลกำไร และต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก

คุณวสันต์ ได้เล่าเรื่องที่ชาวบ้านต้องเจ็บปวดกับการที่ถูกเวนคืนที่ทำกินในระยะแรกของการสร้างเขื่อนท่าทุ่งนาของ กฟผ. แต่ขณะนี้มีความรู้สึกที่ดีต่อ กฟผ. เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจาก กฟผ. ในด้านต่างๆ  อย่างไรก็ตามปัญหาของชุมชนก็ยังไม่หมดไป ยังมีปัญหาเรื่องไฟป่าและช้างป่าที่มากินและทำลายพืชสวนของชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านอยากให้ กฟผ. ช่วยเหลือในสองเรื่องนี้

วันที่ 28 มี.ค. 2555

ภาคเช้า เป็นการเสวนาที่ อบต. ช่องสะเดา เรื่องการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ คุณสุธี ตัวแทนพลังงานจังหวัด คุณบุญอินทร์ อขศ. คุณสมภพ อสค. คุณคุณวสันต์ ผญบ.หมู่ 5 บ้านช่องสะเดา

ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 และ ตัวแทนชาวบ้านช่องสะเดา โดยสรุปเนื้อหามีดังนี้

ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 ได้พูดถึงเรื่องปัญหาของชาวบ้านที่ต้องการให้ กฟผ.ช่วยเหลือ ได้แก่ เรื่อง ไฟป่าช้างป่า และการทำฝายน้ำขนาดเล็ก ซึ่งในสองเรื่องแรกคุณบุญอินทร์รับที่จะพิจารณาให้ ทางด้านคุณสุธีได้แจ้งให้ทราบว่าพลังงานจังหวัดมีแผนเรื่องพลังงานชุมชนที่จะให้ความช่วยเหลือกับชาวบ้าน เช่น ไบโอแก๊ส เตาประหยัดพลังงาน และพลังงานแสงอาทิตย์

ภาคบ่าย เป็นการเสวนาเรื่อง สร้างโมเดลชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี โดยมีผู้ร่วมเสาวนา ได้แก่ คุณหญิงฤดี คุณนิอันนุวา ตัวแทนพาณิชย์จังหวัด ตัวแทนกลุ่มจาก EADP 8 และ ตัวแทนชาวบ้านช่องสะเดา ซึ่งเรื่องนี้คิดว่ายังเป็นเรื่องไกลตัวชาวบ้านมากเกินไปในขณะนี้ และความชัดเจนในเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนก็ยังไม่มีผู้รู้จริงจัง

วันที่ 29 มี.ค. 2555

เยี่ยมชมชุมชนท่าน้ำชุกโดน เป็นชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีคุณบำเพ็ญเป็นผู้นำชุมชน ได้ฟังการบรรยายและเยี่ยมชมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้การอุดหนุนจากบริษัท เอสซีจี เช่น โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง โดยใช้รูปแบบบ่อดักไขมันสำเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และสร้างจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และโครงการอื่นๆอีกหลายโครงการ ชุมชนนี้เป็นชุมชนตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นๆที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

The 100 Most Influential People in the World

     จากการอ่านแล้วเลือก 3 คนด้วยเหตุผลดังระบุต่อไปนี้

  1. U Thein Sein ประธานาธิบดีพม่า กำลังนำพาประเทศเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติซึ่งสามารถทำได้อย่างเหลือเชื่อภายใต้แรงกดดันจากภายในและภายนอกประเทศ ต้องสร้างความสมดุลทั้งทางการเมือง การทหาร การต่างประเทศ และชาติพันธุ์ต่างในประเทศ หากทำสำเร็จจะเป็นModelการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ
  2. Dr. Robert Grant ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์อายุ 52 ปีแห่งมหาวิทยาลัยCalifornia,มหาวิทยาลัย San Francisco เป็นผู้ที่ค้นพบวิธีการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อHIV และทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตอยู่กับเชื้อได้ สามารถช่วยชีวิตคนได้ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน
  3. Yani Tseng นักกอล์ฟสตรีหมายเลขหนึ่งของโลก อายุ 23 ปี ได้แชมป์LPGA โดยสามารถทำลายสถิติสนามมาอย่างมากมาย จากการติดตามดูการแข่งขันเป็นนักกอล์ฟที่มีบุคลิกที่สงบ เยือกเย็น มุ่งมั่น และมีรอยยิ้มที่จริงใจ เป็นขวัญใจและแบบอย่างที่ดีของคนรุ่นใหม

                                                       ชวลิต  ตั้งตระกูล
                                                             ช.อรม1.
    
    

สรุปการเรียนรู้ 24- 25 เม.ย. 2555

    24 เม.ย. 55 

ช่วงเช้า บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ ได้เรียนรู้ - มารยาทในการสนทนาควรฟังมากกว่าพูด คุยเรื่องที่มีสาระและมีความรื่นรมย์ ละเว้นการสนทนาที่กระทบกระเทือนจิตใจผู้ฟัง - การแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมในงานเลี้ยงต่างๆ - มารยาทบนโต๊ะอาหาร การใช้อุปกรณ์เช่นช้อน ซ้อม มีดให้ถูกต้อง ช่วงบ่าย Blue Ocean ได้เรียนรู้ - การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรเช่นสภาวะการแข่งขัน พฤติกรรมของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงระดับมหาภาค เป็นต้น - แรงกดดันจากสภาวะการแข่งขัน 5- force model ลูกค้าปัจจุบัน คู่แข่งรายใหม่ ผู้บริโภค สินค้าทดแทน คู่ค้า - กลยุทธ์การแข่งขันมุ่งเน้นเรื่องราคาหรือความแตกต่าง - Paradigm Shift คิดเชิงบวก คิดเชิงกลยุทธ์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีจริยธรรม กับดักต่างๆที่ทำให้ไม่เปลี่ยนความคิดความคิด วิธีการทำให้เกิด Creative Thinking - ความหมายของ Blue Ocean (น่านน้ำสีคราม) คือ พื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล โดยใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดเดิมๆ สร้างตลาดใหม่โดยการทำให้คู่แข่งล้าสมัยซึ่งจะสำเร็จได้ต้องใช้นวัตกรรมเชิงคุณค่า(Value Innovation) “การแสวงหาความแตกต่างและการมีต้นทุนต่ำในเวลาเดียวกัน” ใช้ 4 Frameworks ในการสร้างนวัตกรรมเชิงคุณค่าคือขจัดสิ่งที่ทึกทักมานานว่าสำคัญ ลด อะไร ให้เท่าๆกับมาตรฐาน สร้างสิ่งอะไรใหม่ๆที่ยังเคยทำมาก่อน ยกระดับอะไร ให้เหนือกว่ามาตรฐาน

25 เม.ย. 55 ช่วงเช้า Arts and Feelings of Presentation

 ได้เรียนรู้วิธีการเตรียมการนำเสนอให้แบ่งประเด็นเป็น3หัวข้อคือ ปัญหา ทางออก ผลที่จะได้ (Power of 3) ควรเน้นรูปภาพมากกว่าตัวอักษร  วิธีการนำเสนอต้อง Sharp-Short-On the point และผู้บรรยายต้องมีการเคลื่อนไหว ใส่อารมย์เพื่อให้เร้าใจผู้ฟัง

ช่วงบ่าย ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

 ชี้ให้เห็นการแข่งขันในยุกต์ปัจจุบันเน้นที่การสร้างความไว้วางใจ(Speed of Trust) ซึ่งจะต้องใช้ต้นทุนทางจริยธรรมขององค์กรเป็นตัวสร้าง 

การเกิดขึ้นขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม(Net Positive Impact on Society) โดยทุกระดับต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับเด็กและเยาวชน ระดับองค์กร ระดับจังหวัดและระดับประเทศ

                                                               ชวลิต  ตั้งตระกูล
                                                                     ช.อรม1.           

Self Study 3 อ่านหนังสือ+วิเคราะห์ Mojo Mojo คือแรงบันดาลใจที่ทำให้คนเราพบกับความสูขและความหมายในชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อเราทำสิ่งใดอย่างมีเป้าหมายที่เป็นความสูขของตนเอง และผู้อื่นยอมรับและเห็นคุณค่า ระดับmojo ของเราจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการคือ 1.ความเป็นตัวตนที่แท้จริงในปัจจุบันของตัวเราเองที่เรารู้สึกดีหรือต้องการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น 2.ความสำเร็จที่มีความหมายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเราสามารถเพิ่ม mojo ในปัจจัยนี้ด้วยการตั้งความคาดหวังที่เหมาะสม มีเป้าหมายที่ความสุข รู้สึกชีวิตมีความหมายมากขึ้น 3.ชื่อเสียง เกิดจากความเห็นของคนอื่นๆที่มีต่อตัวเรา ยอมรับในสิ่งที่เราทำสำเร็จ 4.การยอมรับความจริงและปล่อยวาง การให้อภัยต่อตนเองและผู้อื่น

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

Learning Forum (ช่วงที่ 4) 15/5/2012 การบรรยายพิเศษ โดย ผวก. กฟผ. - กฟผ. อยู่ในระยะผลัดใบ ทำให้ ผู้บริหารไม่ไม่มีเวลาเรียนรู้มากนัก ต้องมีความรู้ด้านกว้างพร้อมในการตัดสินใจ - ข้อจำกัดในการพัฒนาของผู้บริหารเกิดจากโครงสร้างองค์กรที่เป็น Functional กฟผ. จะอยู่อย่างยั่งยืนได้บุคลากรต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการตามที่ คุณธรรมจริยธรรม ไฝ่รู้ คำนึงถึงผู้อื่น มองภาพรวมและรู้งานธุรกิจ - บุคลากรต้องเรียนรู้ข้ามศาสตร์ มีจิตใจคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย รู้จักชุมชนรอบข้างให้มากขึ้น ผู้นำ+วัฒนธรรมองค์กร+บริหารเปลียนแปลง - บุคลากรมีความสำคัญเนื่องจากเป็นผู้สร้างผลงาน ซึ่งผลงานจะขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ที่ต้องสอน และขึ้นอยู่กับแรงจูงใจซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ต้องค้นหาให้พบและกระตุ้น หรือสร้างให้เกิดขึ้นได้เช่นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร - ผู้นำที่ดีต้องสร้างแนวทางให้เดิน กระจายอำนาจ สร้างความเชื่อมโยงของงานให้เกิดพลัง และต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

Learning Forum (ช่วงที่ 4) 16/5/2012

ทิศทางพลังงาน โดย คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ รวห. และคุณไกรสีห์ กรรณสูต อดีต ผวก. กฟผ.

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

- การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม ปรับตัวให้ได้ก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

 - กฟผ. ในอดีตทำเองทั้งหมดทั้งเรื่องกำหนดนโยบาย วางแผน ตลอดจนกำกับดูแล แต่ปัจจุบันมีบทบาทเป็นแค่ Operator โดยที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา กฟผ.จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ยังคงรักษาสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องต้นทุนการผลิต และแรงต้านจากสังคม

 - สังคมเปลี่ยนแปลงไป ตอบสนองต่อประเด็นผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่าการแก้ขเยียวยามีความยุ่งยากกว่าการป้องกันมาก

 - การที่จะสร้างโรงไฟฟ้าให้ได้ กฟผ. ต้องสร้างความไว้วางใจจากสังคมให้ได้ก่อน ให้เห็นว่าเราเป็นองค์กรที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น - ในอนาคต โรงไฟฟ้าจะมีขนาดเล็กลง ใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งจะมีปัญหาความไม่เสถียรสูง กฟผ. ต้องวางแผนเตรียมความพร้อมในการควบคุม เช่นเรื่อง Smart grid

 - ทิศทางเทคโนโลยีใหม่ๆ EV สายส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น - เตรียมพร้อมในเรื่องนโยบายเรื่องประหยัดพลังงานของรัฐ เป้าหมาย Energy/GDP ลดลง

 คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์

- ปัญหาในการพัฒนาพลังงานคือ การให้ความสำคัญด้าน Supply side ตามความต้องการของ Demand side จากการส่งเสริมการลงทุนทำให้สร้างความต้องการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมสูงมากใช้ทรัพยากรของประเทศมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ส่วนใหญ่เราอาจจะไม่ได้รับ

- อัตราการใช้พลังงานตาม PDP เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่แหล่งผลิตลดลง กฟผ. ได้รับสัดส่วนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และถ่านหินที่มีกระแสการคัดค้านสูง แต่บุคลากรของ กฟผ. มีความสามารถในเชิงวิชาการสูงในขณะที่ กฟผ.มีปัญหาในเรื่องการสร้างความไว้วางใจทั้ง 3 ระดับ ทั้งของตนเอง ขององค์กร และของสังคม/ชุมชน

 - ปัญหาของ กฟผ.ไม่ใช่การบริหารความจริง แต่ต้องบริหารความเชื่อ ถ้าสังคมเชื่อว่าเราเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบสูง ก็จะได้รับความไว้วางใจให้สร้างโรงไฟฟ้าได้

 - ปัจจุบันถึงแม้ กฟผ.จะทำ DSM ใช้เทคโนโลยีสะอาดแล้วแต่ก็ยังมีผลกระทบอยู่ การทำ CSR จึงไม่ใช่การช่วยเหลือสังคมแต่เป็นการสร้างความไว้วางใจด้วยการรับผิดชอบต่อการกระทำของเราที่ไปกระทบต่อสังคม ทำงานด้วยความรับผิดชอบคำนึงอยู่เสมอถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

- CSR ต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ใช่ตามหน้าที่ มีความเข้าใจคำนึงถึงผู้อื่น ทั้ง before process in process และ after process ต้องยกระดับปัญหาที่เป็นความขัดแย้งให้เป็นปัญหาร่วมกันที่ต้องช่วยกันแก้ ให้มีคนพูดแทนเรา อย่าพยายามโน้มน้าวให้อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อเรา เพราะต่างคนก็มีความเชื่อของตนเอง

 - ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. คงฝืนกระแสไม่ได้ กฟผ.ต้องสร้างความไว้วางใจจากรัฐ ซึ่งกำหนดระดับนโยบาย ต้องทำให้รัฐเชื่อว่า กฟผ.สามารถเป็นเครื่องมือของรัฐในการดำเนินการตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

15-18 พ.ค.55 ประสบการณ์การเรียนรู้กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน คุณ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผวก.กฟผ. ผู้บริหารยิ่งสูงศาสตร์ที่ใช้ในการตัดสินใจยิ่งกว้างขวาง การตัดสินใจจะพลาดไม่ได้จะต้องพัฒนาตัวเองให้พร้อมตลอดเวลา ฝึกคิดให้ใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างน้อยใส่หมวกใบใหญ่กว่าขนาดของตัวเองหนึ่งเบอร์ ปัญหา กฟผ.ที่เร่งด่วนมี 2 ปัญหา

1.ปัญหาการขาดช่วงบุคลากร
2.ปัญหาการขาดช่วงผู้นำ

จึงมีการจัดทำแผนอัตรากำลังและคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าทำงานปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร แต่ละหน่วยงานจะต้องรับช่วงดำเนินการต่อให้มีความต่อเนื่อง ต้องให้ความสำคัญเรื่องคน การทำงานเป็นทีมบุคลากรต้องมีความสามารถหลายด้าน • สามารถสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • ความสามารถทางธุรกิจการลงทุน • มีความเป็นเลิศในกิจการตัวเอง • สามารถรวมคนในองค์กรสร้างองค์กรให้แข็งแรง • มีคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ฝึกการเป็นผู้ให้ • กฟผ.ไม่ใช่องค์กรที่ต้องการกำไรสูงสุดแต่เป็นองค์กรที่ต้องการได้รับการยอมรับ

ผู้นำวัฒนธรรมองค์กรการบริหารการเปลี่ยนแปลง อ.ประกาย ชลหาญ การอยู่ในองค์จะต้องมี Performance มีผลงาน ซึ่งมาจากความสามารถหลัก 2 ด้าน 1. Competency เป็นความพ้อมในการสร้างผลงาน 2. Motivation แรงจูงใจในการทำงาน หัวหน้างานต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดตลอดเวลาและจะต้องเป็นแรงจูงใจที่เหมาะกับคน ต้องรู้จักลูกน้อง ให้ความรู้ความสามารถก่อนใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการสร้างแรงจูงใจ ผู้นำมีบทบาท 4 ด้าน

1.ต้องเป็น Path  Finder คือหาทางเดินให้ลูกน้อง
2.สร้าง Alignment ในองค์กร  สร้างความเชื่อมโยง
3.มี Empowerment มีการกระจายอำนาจมี Synergy
4.เป็นตัวอย่างการทำงานที่ดีเป็น Role Model

วัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ วัฒนธรรมที่แข็งแรงจะออกมาที่พฤติกรรม ต้องบริหารแบบไม่มีขอบเขต(Boundary) ไม่เป็นไซโล ต้องรู้จักการบริหารการเปลี่ยนแปลง “ Change before you are force to change” Before it’s too late. ต้องคาดเดาและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเกิดจากภายในและภายนอกองค์กร มี 2 รูปแบบ

1.Top Down เป็นการบังคับ จะทำได้ยาก
2.Buttom Up เป็นความต้องการอยากให้มีการเปลี่ยนแปลง ทำได้ง่ายกว่า

สิ่งสำคัญที่สุดของการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1.ต้องยอมรับว่าองค์กรมีความซับซ้อนผู้บริหารต้องเก่งเรื่องคนและเรื่องตัวเลข
2.ให้เข้าใจว่าองค์กรสมัยนี้ไม่ได้ถูกผลักดันด้วยโครงสร้างแต่ถูกผลักดันโดยกระบวนการ(Process) กระบวนการที่ดีจะทำให้งานมีคุณภาพ
3.ให้เข้าใจว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นตามมาเป็นลำดับ
4.ผู้บริหารต้องรวบรวมองค์กรเข้าด้วยกัน อย่าทำอะไรที่ไม่เกี่ยวกับองค์กร  บางคนทำงานยุ่งแต่ไม่เกิดประโยชน์กับองค์กร
5.ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นหลีกเลี่ยงไม่ได้และให้ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์
6.ยอมรับความเป็นมืออาชีพการคัดสินใจของผู้นำ  ผู้นำเป็นผู้กำหนดทิศทาง

ผู้นำจะมี 2 ลักษณะ คือ ผู้นำอย่างเป็นทางการ และผู้นำไม่เป็นทางการ พร้อมยกตัวอย่าง Change Model ของบริษัท GE

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย อ.พรายพล คุ้มทรัพย์ วิทยากรบรรยายถึง สถานการณ์ พลังงานโดยเฉพาะเรื่องน้ำมันแก็ส ไฟฟ้า ปัญหาของพลังงานโลก ปัญหาของพลังงานในประเทศไทย นโยบายด้านราคาน้ำมันของไทย แนวทางในการแก้ปัญหาพลังงานการใช้พลังงานหมุนเวียน แผนพัฒนาพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โครงสร้างราคาน้ำมัน ผลการลอยตัวราคาแก็สหุงต้ม พร้อมทั้งประเด็นข้อซักถามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้พลังงานซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้เข้ารับการอบรม

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. ดร.กมล ตรรกบุตร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ดร.กมล ได้พูดถึงเหตุการณ์ผลกระทบจากการระเบิดของ รฟฟ.นิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ทำให้หลายประเทศต้องมีการทบทวน ชะลอ ยกเลิก โครงการ ในขณะที่บางประเทศก็ดำเนินการต่อไป สำหรับประเทศไทยมีการชะลอโครงการโดยตั้งเป้าไว้ ปี2026 จะมี รฟฟ.นิวเคลียร์โรงแรก ได้พูดถึงการใช้พลังงานในประเทศไทยยังขาดประสิทธิภาพปัจจุบันได้นำ LNG เข้ามาซึ่งมีราคาสูง เรามีการพึ่งพลังงานจากต่างชาติมากทำให้ไม่มีเสถียรภาพ สำหรับประเทศไทยมีความพร้อมในการนำ รฟฟ.นิวเคลียร์มาใช้ ยังขาดประเด็นที่จะต้องปรับปรุงด้านกฎหมายอีกไม่มาก ดร.ปณิธาน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว บทเรียนจาก รฟฟ.นิวเคลียร์ การเตรียมความพร้อมกรณีของประเทศญี่ปุ่นก่อนเกิดความรุนแรงระดับ 9 มีการเกิดระดับ 7.2 ก่อน 2 วัน หากมีการคาดเดาที่ถูกต้อง หยุดการเดินเครื่องก่อนก็จะไม่เกิดการเสียหาย ปัญหาของระบบนิวเคลียร์ยังมีประเด็นเกี่ยวกับกากปฏิกรณ์ที่ยังไม่มีคำตอบว่าจะจัดการอย่างไร การแพร่กระจายสู่แม่น้ำ ทะเล จะเป็นปัญหาต่อสังคมโดยรวม ระบบความปลอดภัย การขนส่งซึ่งต้องเกี่ยวกับอุบัติเหตุจะควบอย่างไรเหตุการณ์ที่เกิดหากไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไร เหตุการณ์ต่างๆเช่นแผ่นดินไหวถึงแม้ว่าไม่เคยเกิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิด ภัยธรรมชาติคาดเดาไม่ได้จากประสบการณ์เราก็ได้ผลักดันให้มีการแก้กฎหมายออกแบบอาคารให้สามารถต้านแผ่นดินไหวได้ครอบคลุมเขื่อนและสะพาน การเตรียมพร้อมนอกจากแก้ที่อุปกรณ์หลักแล้ว ให้ดูที่อุปกรณ์รอง อุปกรณ์ประกอบอื่นๆด้วยตัวอย่างเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นปัญหาไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์หลัก แต่อยู่ที่อุปกรณ์เสริมอยู่ที่ระบบ Cooling การออกแบบอาคารขอให้คำนึงถึงระบบ Logistic ด้วยหากเรารู้ปัญหาก่อนก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้

Trendy Technology and social Medias for EGAT Executive ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ในปี 2012 Technology ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทิศทางของTechnology จะตอบสนองสื่อสังคมและการเคลื่อนไหว อยู่ที่ไหนก็สามารถเชื่อมโยงได้ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมากปัจจัยที่จะเป็นตัวบังคับทิศทางTechnology คือ Access จากเดิมเป็นแบบ Fixed เปลี่ยนเป็นแบบ Movable Behavior จากเดิมเป็นแบบ Local เปลี่ยนเป็นแบบ Global Context จากเดิมเป็นแบบ Private เปลี่ยนเป็นแบบ Public Delivery จากเดิมเป็นแบบ Individual เปลี่ยนเป็นแบบ Virtual Hype Curve Cycle จะเป็นตัวแสดงให้เห็นเห็นวงจรชีวิตของเทคโนโลยี เป็นตัวประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหรือทำธุรกิจด้านต่างๆ โดยHype Curve จะมีการประกาศทุกปี การเป็นผู้นำยุคใหม่จะต้องผลักดันคนที่มีความสามารถและผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมให้ได้

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ ครูบาฯ : ได้เล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน การพัฒนาพื้นที่แห้งแล้งให้เป็นป่าถึงแม้จะอยู่ในป่าในชนบทก็ต้องมีการพัฒนาความรู้ องค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนความรู้โดยผ่าน IT ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเกิดมาต้องมีหน้าที่สองอย่าง คือหน้าที่การงาน และการดูแลสังคม เรื่องการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถึงแม้จะเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆแม้จะเป็นเรื่องธรรมดา สามารถทำให้เป็นเรื่องพิเศษ หากมีความเป็นเพื่อนก็จะสามารถเชื่อมโยงกับชุมชนได้ ซึ่ง กฟผ.ควรจะประยุกต์รูปแบบนำไปใช้เป็นแนวในการทำ CSR คือ ต้องอยู่ร่วมกับชุมชน ร่วมกับชาวบ้านให้ได้ หากสามารถเข้าไปนั่งในหัวใจคนจะคุยกันได้ทุกเรื่อง เมื่อเป็นเพื่อนแล้วเราจะพาเขาไปอย่างไร จุดเด่นของชนบท คือ มีความหลากหลายการเรียนในห้องเรียนจะได้เพียงความรู้ แต่การเรียนนอกห้องจะได้ความจริง ในยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุก ดร.เสรี : โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากและรวดเร็วคนที่อยู่รอดคือคนที่สามารถปรับตัวได้ คนกับธรรมชาติเปลี่ยนไป ทุกอย่างเป็นพิษ โลกจะกลับมาหาธรรมชาติ เรื่องที่สำคัญสองเรื่อง คือ เรื่องอาหารและพลังงานชาวบ้านมีที่ดินให้อาหาร การหาเงินในปัจจุบันหากันแบบเอาเป็นเอาตาย มีการขูดรีดธรรมชาติ พี่น้องที่เคยพึ่งพากันก็แตกก็แยกกัน คนไม่มีความรู้จะถูกโกงเงินหมด เป็นหนี้ เป็นสิน คนมีความรู้จะเปลี่ยนทะเลทรายเป็นป่า คนไม่รู้จะเปลี่ยนป่าเป็นทะเลทราย การศึกษาปัจจุบันยิ่งเรียนยิ่งโง่การเรียนต้องรู้ ความรู้ต้องแก้ปัญหาชีวิตได้ ชุมชุนที่แก้ปัญหาได้จะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ชุมชนเรียนรู้ เศรษฐกิจที่รอได้จัดการได้แต่ต้องสร้างเงื่อนไขจัดทำระบบเศรษฐกิจชุมชน ระบบปัจจุบันทำให้คนคิดเองไม่ได้ ชุมชนบ้านคลองเปียะ จ.สงขลา เป็นแบบอย่างชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีสหกรณ์ที่ช่วยเหลือชาวบ้าน ช่วยให้ชาวบ้านสามารถทำมาหากินได้ไม่มีหนี้สูญ มีทุนทางสังคมอยู่ด้วยความสัมพันธ์อันดี กฟผ.โครงการดีๆหลายโครงการ แต่ต้องทำให้เข้าถึงชาวบ้าน รูปแบบมหาวิทยาลัยชีวิตมีกระจายอยู่ทั่วประเทศต้องทำให้ชีวิตดีขึ้น เรียนจบแล้วเชิญชาวบ้านมาฟังการนำเสนอว่าชีวิตดีขึ้นอย่างไร เรียนแล้วจัดการกับชีวิตได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะผลักดันให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ควรสนับสนุนให้เป็นระบบมากขึ้น คุณธวัช : กฟผ.เป็น Technical Base Engineering Base ไม่เข้าใจ Social Innovation ซึ่งเปรียบเสมือนจิกซอร์ตัวที่ขาดหายไป กฟผ.ต้องปรับตัวเพื่อเสริมส่วนที่ขาด กิจการ กฟผ.แบ่งเป็นสองยุค ยุคเฟื่องฟูเป็นยุคที่สังคมเปลี่ยนมีความต้องการไฟฟ้ามาก กฟผ.สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว สามารถดำเนินโครงการต่างๆได้ง่าย กฟผ.ถูกมองว่าเป็น Hero สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีไปที่ไหนก็ได้รับการต้อนรับ ชื่นชม หลังจากยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟูเป็นต้นมา สิ่งที่ กฟผ.ทำถึงแม้จะตรงกับความต้องการของสังคมแต่ก็ถูกปฏิเสธ ถูกต่อต้าน กฟผ.จะต้องเปลี่ยนจาก Engineering Base เป็น Social Base ให้รวดเร็ว ชาวบ้านต้องการอยู่อย่างเพียงพอ เดิม กฟผ.ทำ CSR แบบทางเดียวจะต้องปรับให้ชาวบ้านอยู่อย่างสมศักดิ์ศรี ทุกอย่างชาวบ้านมองเป็นเศรษฐกิจหมด เดิมชาวบ้านต้องการไม่มากนักแต่ปัจจุบันต้องการมากขึ้น ต้องหาจุดแกว่งและจุดสมดุลให้ได้ ดร.เสรี กล่าวปิด : โลกวันนี้ต้องการ Social Enterprise ต้องใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้คนพอกินพออยู่ กฟผ.ควรรณรงค์เรื่องการลดพลังงานอย่างจริงจัง อย่างต่อเนื่อง ต้อง Win-Win อย่าอยู่ด้วยความหวาดระแวง ครูบาฯ : ทุกปัญหามีทางออก เราหาเจอหรือไม่ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ รศ.สุขุม นวลสกุล ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ชอบ ไม่อยากให้เกิด แต่ก็หนีไม่พ้น บางครั้งความขัดแย้งก็มีประโยชน์ทำให้มีทางเลือก เกิดการพัฒนา การบริหารไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ต้องทำให้เกิดสิ่งดีๆออกมาความขัดแย้งมี 3 ประเภท • ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล • ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับหน่วยงาน • ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน หัวหน้าต้องทำหน้าที่เป็นโฆษก ต้องสื่อสาร อธิบายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจ คุณสมบัตินี้จะเป็นพรแสวงไม่ใช่พรสวรรค์ ต้องหาข้อมูลติดตามการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร อธิบายให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันบางครั้งเป็นตัวแทนพนักงาน บางครั้งเป็นตัวแทนองค์กร อย่าคิดว่าหน่วยงานเราวิเศษกว่าหน่วยงานอื่นเวลาลูกน้องมีปัญหากับหน่วยงานอื่น ให้เหยียบเบรก อย่าเหยียบคันเร่งให้ความช่วยเหลือหน่วยงานอื่นบ้าง ผู้บริหารต้องรู้จักวางตัว รู้จักใช้งานลูกน้องให้ทั่วถึง อย่าเอารัดเอาเปรียบ การตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญต้องตัดสินใจเร็ว แม่นกฎระเบียบ ลดการเกรงใจ ไม่โอ้อวด ใช้ข้อมูล ประสบการณ์ การคาดการณ์ ผลกระทบในการตัดสินใจ ต้องถูกต้อง ถูกใจ ถูกจังหวะ คนยิ่งโตยิ่งต้องตัดสินใจข้ามความถนัดของตัวเองมากขึ้น ต้องรู้จักปรึกษา ถูกที่ ถูกคน ถูกทาง กรณีถูกใจไม่ต้องรอจังหวะ เรื่องไม่ถูกใจต้องรอจังหวะ จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจ การตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวกว่าจะเคลียร์ได้ต้องใช้เวลานาน

HR for Non-HR และ ทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเซียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุน หากเราต้องการคนเก่งคนดีเราต้องพัฒนาและทำอย่างต่อเนื่องต้องมีความคิดใหม่ๆตลอดเวลา มีความคิดใหม่หนึ่งความคิดทุกวัน การอ่านหนังสือทำให้เรามีความพร้อมกับการจัดการในสิ่งที่ไม่แน่นอน การบริหารบุคคลไม่ใช่เป็นหน้าที่ของHR แต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นบทบาทร่วมกัน ต้องมีการกระจายให้เห็นแต่ละลักษณะเริ่มโดยนโยบาย HR นำนโยบายไปปฏิบัติเป็นสองส่วนเริ่มโดยรับคนและบังคับบัญชา สนับสนุนด้านมาตรการทางวินัยและถ่ายทอดไปยัง Line Function (Non-HR) Line Manager จะทำงานขนานกันไปใครคิดอะไรก็นำเสนอ ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบร่วมกันมีความเพื่อนเป็นหุ้นส่วน นโยบายต้องตอกย้ำค่านิยมบอกให้พนักงานทราบมีCommitment ร่วมกัน ปลายปีมีการสรุปแจ้งผลประกอบการ HR ต้องรู้เรื่องเงินด้วย

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ วิทยากรได้พูดถึง พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน เหตุผลการใช้งาน วัตถุประสงค์ โครงสร้างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน อัตราค่าธรรมเนียม การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน การพิจารณาข้อพิพาท แนวคิดเรื่องEnergy Tax กองทุนรอบ รฟฟ. ข้อกำหนดนโยบายการบริหารกองทุน การเสนอ/อนุมัติโครงการชุมชน การติดตามและประเมินผลการทำงานของRegulator ร่วมกับ กฟผ. การขออนุญาตและการนำส่งเงินเข้ากองทุน

มนตรี ศรีสมอ่อน

Mojo เป็นอารมณ์ความรู้สึกหรือสภาวะชั่วขณะที่เราทำอะไรได้ดีตามความต้องการ มีพลังและความรู้สึกบวก โดยเริ่มจากภายในก่อนจะแผ่รัศมีออกสู่ภายนอก ทำให้คนทั่วไปรับรู้ ยอมรับ ยกย่อง จดจำ ความหมายของ Mojo เดิมหมายถึง ความเชื่อในพลังอำนาจเหนือธรรมชาติของเวทมนตร์ของเผ่าวูดู ซึ่งจะทำให้เกิดความสำเร็จสามารถขจัดสิ่งกีดขวางได้อย่างง่ายดาย ต่อมาได้กลายเป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรากำลังทำ Mojo จะทำให้เราได้รับทั้งความสุขและความหมายในสิ่งที่เราทำ Mojo ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ 1. Identity : ความเป็นตัวตนของเรา 2. Achievement : ความสำเร็จที่มีความหมายและมีผลกระทบ 3. Reputation : ชื่อเสียงจากการกระทำ 4. Acceptance : การยอมรับความจริง การปล่อยวาง ในสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ การะบุตัวตน (Identity) สามารถระบุได้โดยใช้องค์ประกอบ 4 ประการ 1. Remembered Identity : ระบุจากเหตุการณ์ในอดีตดูจากความสำเร็จ ความล้มเหลว จากการกระทำในอดีต บทเรียนในอดีต 2. Reflected Identity : เป็นการสะท้อนภาพจากผู้อื่น ในการกระทำของเราในอดีต 3. Programmed Identity : เป็นการระบุโดยการปลูกฝังความคิดให้กับเราว่าในอนาคตเราจะเป็นอย่างไร 4. Created Identity : เป็นระบุโดยเราคิดเองกำหนดเองว่าเราจะเป็นอะไรในอนาคต ลองพิจารณาองค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเราในปัจจุบันแล้วพิจารณาต่อว่าแต่ละองค์ประกอบที่รวมเป็นตัวเรานั้นมีมาจากอะไร แล้วดูว่าเรารู้สึกดีกับองค์ประกอบนั้นหรือไม่ หากรู้สึกดีก็ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น หรือปรับเปลี่ยนตัวเราเพื่ออนาคต ความสำเร็จ (Achievement) มี 2 บรรทัดฐาน คือ 1. เป็นความสำเร็จที่ทำให้คนอื่นรับรู้ถึงความสามารถของเรา ผลก็คือการไดรับการยอมรับจากคนอื่น (ทำให้มีความหมาย) 2. เป็นความสำเร็จที่เรารับรู้ รู้สึกดีกับตัวเราเอง รู้สึกดีกับความสามารถของเรา (ทำให้มีความสุข) ชื่อเสียง (Reputation) ได้มาจากการกระทำของเรา เป็นสิ่งที่คนอื่นมอง คนอื่นคิด หรือตอบสนองการกระทำของเรา ยอมรับหรือปฏิเสธความเป็นตัวตนของเรา การยอมรับความจริง (Acceptance) เป็นการยอมรับความจริง ปล่อยวางในสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ การเป็นทุกข์กับเรื่องในอดีตและกังวลกับอนาคตจะเป็นตัวทำลาย Mojo ของเราทำให้อารมณ์ไม่ดี รู้สึกผิดลงโทษตัวเอง เมื่อเราไม่สามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น และปฏิเสธที่จะให้อภัยคนอื่น เราก็จะพกความโกรธติดตัวเป็นการจำกัดโอกาสที่จะพบกับความสุขและความหมายในชีวิต การวัด Mojo Mojo จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ตามที่กล่าวข้างต้น เรามี Mojo 2 รูปแบบ 1. Professional Mojo : เป็น Mojo ในการประกอบอาชีพเป็น Mojo ในงาน ซึ่งวัดได้จากทักษะและทัศนคติในกิจกรรมที่ทำ 2. Personal Mojo : เป็น Mojo ส่วนตัว ส่วนบุคคล ซึ่งวัดจากผลประโยชน์ที่เราได้รับ คุณภาพ5ประการที่เราต้องการในการกระทำเพื่อให้ได้งานที่ดี 1. แรงจูงใจ 2. ความรู้ 3. ความสามารถ 4. ความมั่นใจในตนเอง 5. ความเชื่อถือได้ และผลประโยชน์ 5 ประการ ที่จะได้รับจากการกระทำที่ดี 1. ความสุข 2. รางวัล 3. ความหมาย 4. การเรียนรู้ 5. คำชม คำขอบคุณ การวัดเป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบทั้ง 10 ประเด็น ข้างต้น Mojo Paradox เป็นความจริงที่ขัดกันเองเกี่ยวกับ Mojo ขณะที่ทุกคนต้องการความสุขและการมีชีวิตที่มีความหมาย แต่ปฏิกิริยามักไม่ใช่การกระทำเพื่อแสวงหาความสุขหรือความหมายของชีวิตเรามักทำในสิ่งเดิมๆด้วยความเฉื่อยชาเราต้องหยุดวงจร โดยตั้งคำถาม 2 ข้อ คือ 1. ประโยชน์ระยะยาวเราได้รับจากกิจกรรมที่เรากำลังทำหรือไม่ 2. ความพอใจระยะสั้นเรามีความสุขจากการกระทำนั้นหรือไม่ การเรียนรู้เกี่ยวกับ Mojo ทำให้เราสามารถสร้าง Mojo ดึง Moj กลับมากรณีที่หายไป ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีความหมาย

มนตรี ศรีสมอ่อน

Highh Performance OrganiZation ที่ กฟผ. วันที่ 17 พค. 55

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

- เป้าประสงค์ในการประเมินองค์กรของ Tris เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ให้สามารถสร้างคุณค่าเพิ่มให้ประเทศ

- องค์กรที่เป็น HPO ต้องมีความเป็นเลิศในหลายด้านอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้านที่สำคัญที่สุดคือด้านบุคคลากร

- ผู้นำต้องมีจุดประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน ในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงองค์กรมีการสื่อสารที่ดีในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้พนักงานทุกคนเข้าใจและมีส่วนร่วม

- การสร้างแรงจูงใจ ต้องหา KPI ที่เหมาะสมไม่ใช่แต่เชิงปริมาณและคุณภาพ แต่รวมถึงเชิงสร้างสรรค์.. Art. ไม่ต้องมีจำนวน KPI มาก ใช้หลัก ทำ20บรรลุผล80

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

- การบริหาร 3M(Man/Money/Material) ต้องใช้วิธีการบริหารที่แตกต่างกัน

- ให้ความสำคัญกับคนและทีม HPOต้องสร้างโดยทีมที่เข้มแข็ง หากเป็นทีมไม่ได้ก็ยากที่จะประสพความสำเร็จ ต้องสร้างวัฒนธรรมในการแบ่งปันความรู้

- การพัฒนาคนให้เป็นคนเต็มคน ต้องพัฒนาหลายด้าน ทั้งด้านสติปัญญา วุฒิภาวะทางอารมภ์ สุขภาพร่างกายตลอดจนจิตวิญญาณ คุณธรรมจริยธรรม ที่เป็นตัวกำกับพฤติกรรม

- การสร้างทีม ต้องให้มีโอกาสมาเจอกัน สร้างบรรยากาศที่ต้องมาทำงานร่วมกันบ่อยๆ โดยเน้นกลุ่มที่มีศักยภาพระดับกลางๆขึ้นไป

- ต้องทำให้คนมีความผูกพันธ์กับงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้ที่มีความสามารถไม่ต้องคอยควบคุมแต่ให้ใช้ผลงานเป็นตัวชี้วัดให้มีอิสระโดยไม่ต้องบังคับ ช่วยสนับสนุน  กลุ่มที่ด้อยกว่า ก็ต้องควบคุมและกระตุ้น

- KPI ผู้นำวัดด้วยเชิงศิลป ไม่ใช่เชิงวิทยาศาสตร์ เช่นความสนุกในงาน ความทุ่มเทโดยไม่ต้องบังคับ

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง รศ.สุขุมนวลสกุล 17 พค.55 - สาระหลัก3 หัวข้อคือ การบริหารความขัดแย้ง การตัดสินใจ และการรับฟังปัญหา - ความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวมถือเป็นเรื่องดี สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว - ประเภทของความขัดแย้ง มีระหว่างบุคคลกับบุคคล ระหว่างบุคคลกับองค์กร และระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน - ต้องบริหารไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล กันไว้ดีกว่าแก้ - การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต้องรวดเร็ว มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ถูกจังหวะเวลา - รับฟังปัญหา ไม่รีบตอบโต้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

กิจกรรม ณ. เสถียรธรรมสถาน 29 พค.55.

ช่วงเช้ามีการสวดมนต์ทำวัตรเช้า ได้ฟังธรรมจากท่านแม่ชีสันสนีย์ เสถียรสุต ท่านสอนให้รู้จักยิ้มทักทายคนที่ไม่รู้จักที่อยู่หน้าเรา สร้างพลังบวก ไม่ทำให้ใครมีความทุกข์เพราะเรา ให้มีความศรัทธาในตังเอง มีสติรู้ทันอารมภ์อยู่เสมอ ทุกข์มีไว้ให้เห็นไม่มีไว้ให้เป็น ท่านฝึกให้รู้จักใช้ลมหารใจและท่ากายบริหารในการรักษาตนเอง

ช่วงบ่ายเป็นการฝึกนอนอย่างมีสติ การเดินจงกรมเพื่อฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบัน เป็นประโยชน์ทำให้ชีวิตที่วุ่นวายอยู่กับการทำงาน ให้จิตได้มีโอกาสพักเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะทำงานได้อย่างมีสติต่อไป

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

27-29 มี.ค.55 ที่เขื่อนท่าทุ่งนา หลักสูตร “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม”

การจัดการอบรมช่วงนี้เป็นการจัดในลักษณะร่วมเสวนากับผู้รู้ในด้านต่าง ๆ ตัวแทนจากหน่วยราชการ  ผู้บริหาร กฟผ. และผู้นำชุมชน เช่น คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ รอง ผวจ. กาญจนบุรี  คุณมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน คุณสุธี บุญเสริมสุข ตัวแทนพลังงานจังหวัด คุณหญิงฤดี ภูมิศรีรัตนาวดี  คุณนิอันนุวา สุโลมาน พาณิชย์จังหวัด  คุณบุญอินทร์ ชื่นชวริต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ กฟผ.  คุณสมภพ ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. และคุณวสันต์ ผญบ.หมู่ 5 บ้านช่องสะเดา ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้รับทราบสภาพโดยทั่วไปของจังหวัดกาญจณบุรี จุดอ่อน – จุดแข็ง และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ AEC ในปี 2015ได้ใกล้ชิดและเข้าใจความต้องการของชุมชนมากขึ้น 
หาก กฟผ. เป็นพันธมิตรกับชุมชน สร้างเป็นเครือข่ายและช่วยสนับสนุนกิจการซึ่งกันและกัน ส่งเสริมและร่วมกับชุมชนพัฒนาให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเข็มแข็ง จะทำให้ชุมชนมอง กฟผ. อย่างมิตรและช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ กฟผ. ทำให้กิจการของ กฟผ. มีการต่อต้านจากชุมชนน้อยลง และเป็นเกราะป้องกัน NGO จากภายนอกชุมขน 

หนังสือ Mindset

ผู้เขียนได้จำแนกคนตาม Mindset ได้เป็น 2 ประเภทคือ
            1. Fix Mindset คือพวกที่เชื่อในพรสวรรค์ เชื่อว่าความสามารถและความฉลาด สติปัญญาเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด จึงไม่พยายามที่จะต่อสู้ดิ้นรน ขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆมาเพิ่มเติม
            2. Growth Mindset คือพวกที่เชื่อในพรแสวง เชื่อว่าทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ สามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนและเรียนรู้เพิ่มเติม คนเหล่านี้จึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้

สำหรับ กฟผ. จะต้องส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับ มี Mindset เป็น Growth Mindset โดยการจัดอบรม กระตุ้น และส่งเสริมให้เกิดความความต้องการที่จะขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา หากหยุดไปจะทำให้ไม่ได้รับการพัฒนา ผลงานไม่ดีขึ้น มีผลต่อการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะต้องขวนขวายหาความรู้ในแนวกว้างให้มากขึ้น

โปรดทราบ!

คุณกำลังมองหาเงินกู้ที่จะเปิดธุรกิจสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเป็นสิ่งที่ประเภทของเงินกู้ที่คุณต้องการ แล้วนี้คือโอกาสของคุณเราให้ออกเงินให้กู้ยืมหลายชนิดเช่นสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อจำนองสินเชื่อธุรกิจและอื่น ๆ เพื่อคนที่จริงจังและสนใจในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก 1.5%

ติดต่อเราตอนนี้ผ่านทางอีเมล์ :: [email protected]

อย่าพลาดโอกาสที่ดีนี้! ขอบคุณ

Natchaya พาลา-en
[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท