กิจกรรมบำบัด กับโรค Paraplegia


ปัจจุบันนี้อุบัติเหตุทางรถยนต์ เนื้องอกที่หลอดเลือด หรือที่กระดูกสันหลัง ก็เริ่มเกิดขึ้นมากในประเทศไทยซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิดโรค Paraplegia ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ คุณภาพชีวิตจึงต่ำลง

Paraplegia

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า Spinal cord injury หมายถึง การบาดเจ็บไขสันหลัง รวมถึงรากประสาทท่อยู่ในโพรงของกระดูกสันหลัง เมื่อพูดถึงอาการของโรค Spinal cord injury แล้วนั้นก็จะสามารถแยกได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ Quadriplegia (Tetraplegia) คือเกิดพยาธิสภาพตั้งแต่กระดูกสันหลังระดับคอ กับ Paraplegia คือเกิดพยาธิสภาพตั้งแต่กระดูกสันหลังระดับอกชิ้นที่ 2 ลงมา อาการนี้จะมีทั้งแบบสมบูรณ์คือการสูญเสียหน้าที่ทั้งหมดที่ระดับต่ำกว่าพยาธิสภาพ(Complete cord injury) กับแบบไม่สมบูรณ์คือมีบางส่วนของระบบประสาทที่ยังทำหน้าที่อยู่(Incomplete spinal cord injury)

อาการ

  1. ความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor deficits)
  2. การสูญเสียการรับความรู้สึก (sensory loss)
  3. ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic disturbance)

ภาวะแทรกซ้อน

-   แผลกดทับ (pressure sore)

-   ภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็ว (Postural Hypotension)

-   การหดรั้งผิดปกติของกล้ามเนื้อ เอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อ  ทำให้ช่วงการเคลื่อนไหวข้อต่อลดลง

-   ภาวะซึมเศร้า

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

  • วิเคราะห์ปัจจัยการใช้ชีวิตของผู้รับบริการโดยใช้กรอบอ้างอิง PEOP อันประกอบด้วย บุคคล , สิ่งแวดล้อม , กิจวัตรประจำวัน ,และความสามารถในการดำเนินชีวิต
  • ประเมินเกี่ยวกับกิจกรรมการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของส่วนต่างๆของร่างกายที่มีผลต่อการทำกิจกรรมการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น กำลังของกล้ามเนื้อ ระยะการเคลื่อนไหว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก เป็นต้น
  • ประเมินและให้คำแนะนำในการดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย รวมถึงทักษะ และความสามารถในการประกอบอาชีพของผู้รับบริการ
  • ฝึกสอนผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันตามระดับความสามารถของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และอาจมีการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มระยะการเคลื่อนไหว เป็นต้น ตามลำดับ
  • ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับมือ เช่น รูปแบบการทำงานของมือ  ความคล่องแคล่วในการใช้มือ การทำงานอย่างประสานกันระหว่างมือทั้งสองข้าง
  • ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้ป่วย
  • ให้คำแนะนำหรือให้กิจกรรมเพื่อคงไว้ซึ่งสภาวะที่ดีของผู้ป่วย     การจัดท่า, และป้องกันแผลกดทับ
  • ดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วย
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำญาติของผู้ป่วยเกี่ยวกับการยอมรับในตัวผู้ป่วย และวิธีในการช่วยดูแลผู้ป่วยภายหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 483131เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท