สุขภาพไม่ใช่เรื่องของหมอ แต่…..เป็นของทุกคน


ปรากฏการณ์ของสุขภาพ หรือ สุขภาวะของชาวบ้านในอีกแง่มุมหนึ่ง ดังเช่นความหมายขององค์การอนามัยโลกที่ว่า สุขภาพ คือ ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี ไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือความพิการเท่านั้น

สุขภาพไม่ใช่เรื่องของหมอ  แต่…..เป็นของทุกคน


กษมา  สุนทรสุริยวงศ์


                รากฏการณ์หนึ่งที่ได้ประจักษ์กับตนเอง และเป็นภาพที่ประทับใจมาก ตั้งแต่ได้เข้ามาร่วมงานกับทีมสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข (สพส.) ทำให้มีโอกาสเห็นถึงศักยภาพของคนไทยทุกชนชั้น  ตั้งแต่อาจารย์มหาวิทยาลัย  นักวิชาการ  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ    เอกชน   พ่อเพลง แม่เพลง  พี่น้องชนเผ่า  เด็กเยาวชน  นักเรียนตัวเล็กตัวน้อย  ผู้เฒ่าผู้แก่ทั่วทุกภาคของเมืองไทย  ตลอดจนกระทั่งพระภิกษุ ว่ามีความสนใจ   ใส่ใจกับสุขภาพทั้งของตนเองผู้คนในบ้าน  และในชุมชน  สังคม
                ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจตลอดเวลาที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีม สพส. ทั้งจากกลุ่มผู้ประสานงานด้วยกันเอง  หรือเวทีที่มีภาคีต่าง ๆ เข้าร่วมด้วย  คือ  พวกเราชาวสาธารณสุขไม่ได้ทำงานด้านสุขภาพฝ่ายเดียว  เรายังมีพันธมิตรอีกมากมายทั่วทุกหย่อมหญ้าก็ว่าได้    เพียงแต่ว่าเราได้เปิดโอกาสที่จะเรียนรู้จากเขาเหล่านั้นหรือไม่  โดยเฉพาะกลุ่มคนเล็กคนน้อย  น่าคิดนะว่าเขาเป็นอยู่กันมาได้อย่างไร  มีวิถีการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ วัฒนธรรม   ที่เชื่อมโยงไปกับ สุขภาพ 

                ดังเช่นกรณี  ถวดแท่น”   หรือ  ที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามว่า ทอดกฐิน”  ซึ่งเป็นประเพณีของชาวส่วยในพื้นที่บ้านยางตะพาย  ตำบลบึงบัว  อำเภอวชิรบารมี  จังหวัดพิจิตร  เป็นภาพสุขภาวะของชุมชน  สังคมที่ชัดเจนมาก  ชาวบ้านมีการรวมตัว  ช่วยเหลือเอื้อกูลกัน เพื่อร่วมกันจัดพิธี ถวดแท่นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ทุกคนมีใบหน้ายิ้มแย้ม  แจ่มใส  จิตใจเบิกบาน   พร้อมไปกับการร่ายรำที่มีท่วงท่าสนุกสนาน ที่เรียกว่า รำตักไต้แม้จะเหนื่อยล้าจากการจัดเตรียมงานมาหลายวันแล้วก็ตาม  แต่ทุกคนมีความสุขใจ  และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จะต้องช่วยกันสืบสานประเพณี ถวดแท่น”   ให้คงอยู่กับลูกหลานชาวส่วยตลอดไป ไม่เฉพาะการสืบสานประเพณี ถวดแท่นเท่านั้น  ผลพลอยได้ประการหนึ่งคือ การประยุกต์ท่ารำ รำตักไต้กับการออกกำลังกายของเด็ก ๆ  คนหนุ่มสาว  คนเฒ่าคนแก่ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนเกิดเป็นวิถีชีวิตของชุมชนบ้านยางตะพาย  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนใกล้เคียงกัน   ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน  การยึดมั่นในคุณความดี  การกตัญญูต่อบรรพบุรุษ   และความสามัคคีของหมู่คณะ  ซึ่งนับวันจะหายากลงไปทุกที 
               
นี่คือปรากฏการณ์ของสุขภาพ หรือ สุขภาวะของชาวบ้านในอีกแง่มุมหนึ่ง  ดังเช่นความหมายขององค์การอนามัยโลกที่ว่า  สุขภาพ  คือ  ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี  ไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  หรือความพิการเท่านั้น   
                หรืออีกนัยหนึ่ง  สุขภาพจึงมิใช่เพียงเรื่องของหมอ ของโรงพยาบาลแต่เป็นเรื่องของคนทุกคน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4831เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2005 06:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท