มะปราง ,มะยงชิด , กาวาง


มะปราง

มะปราง

ภาคอีสานเรียกว่า บักปราง

ภาคเหนือเรียกว่า บะผาง

ภาคใต้เรียกว่า ปราง

มะปรางมีหลายพันธุ์ อาจแบ่งตามรสชาติและลักษณะผลได้ 2 ประเภท

มะปรางเปรี้ยว มีรสเปรี้ยวมาก แม้ผลสุกก็เปรี้ยว นิยมนำผลดิบมาทำเป็นมะปรางดอง หรือแช่อิ่ม

ชาวสวนเรียกมะปรางชนิดนี้ว่า กาวาง

มะปรางหวาน เปลือกสีเหลืองส้ม เมื่อดิบเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อสุกมีรสหวาน นำมากกินเป็นผลไม้สด

วิธีปลูก

 มะปราง ปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว ใช้ระยะปลูก 6x6 หรือ 8x8 เมตร ออกดอกประมาณเดือน ธันวาคม ถึงเดือนมกราคม

การดูแลรักษา

  หลังปลูกใหม่ควรมีการให้น้ำและบังร่ม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกปี ช่วงเจริญเติบโตใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15  ระยะใกล้ออกดอกใช้สูตร 8-24-24  ระยะที่ติดผลใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (หน่วยเป็นกิโลกรัม)

คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณ

มะปรางมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เหล็ก ไนอะซีน วิตามินซี และวิตามินอี

 

 

มะยงชิด

เป็นไม้ตระกูลเดียวกับมะปราง  มะยงชิดคล้ายมะปรางมากแต่ผลใหญ่กว่า (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร) การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา มะยงชิดให้ผลผลิตมากช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ปลูกมากที่จังหวัด ปราจีนบุรี และนครนายก มะยงชิดผลดิบ นำมาใส่น้ำพริกกะปิ ผลสุกนิยมรับประทานสดหรือทำมะยงชิดลอยแก้ว 

วิธีการปลูก  และการดูและรักษา เหมือนเช่นเดียวกับมะปราง

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ

มะยงชิดมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีโปรตีน เหล็ก ไนอะซีน วิตามินบี และวิตามินอี

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ สวนอนุรักษ์และพัฒนาพรรณไม้เขตร้อน

 

 

 

มะปราง,มะยง,กาวาง       มะยงชิด,มะผาง(เหนือ),มะผางก่ำปอ(เชียงใหม่),โค้ง(เขมร) ปราง(ใต้) มะปรางเปรี้ยว มะปรางหวาน กาวาง 

กาวาง      เป็นชนิดมีลูกโตเท่าไข่ไก่ รสเปรี้ยวจิ๊ด ไม่นิยมปลูก

มะยงชิด  ชนิดขนาดย่อมลงมาเล็กน้อย เปลือกรสเปรี้ยว เนื้อรสหวานเรียว่ามะยง หรือมะยงชิด

มะปรางหวาน ลูกดิบรสมัน เมื่อสุกมีรสหวาน นิยมใช้มะปรางหวานทำยา

ใบ    รสจืดฝื่น ตำพอกแก้ปวดศรีษะ

ราก  รสจืดเย็น ต้มหรือฝนกับน้ำรับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ แก้ไข้ตัวร้อน

ลูก  รสเปรี้ยวอมหวาน แก้เสมหะ กัดเสมหะในลำคอ แก้เสลดหางวัว แก้น้ำายเหนียว ฟอกโลหิต 

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ เภสัชกรรมไทยฯ โดยวุฒิ วุฒิธรรมเวช

 

        ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 482936เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะ..เมื่อเดือนก่อนที่เป็นฤดูมะยงชิดออกผล ห้องอาหาร SCB ทำ sherbet มะยงชิดขึ้นโต๊ะค่ะ ลืมเก็บภาพมาฝาก

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่ Ico48

   ก่อนหน้านี้และช่วงนี้ทั้งมะปรางและมะยงชิด มีมากเลยค่ะ ราคามะยงชิดสูงพอควร ดาไปบ้านสุพรรณตอนไปส่งพี่แพร ได้ชิมมะปรางหวานเจี๊ยบจากสวนของพี่สาวลูกลุงด้วย  

  เมื่อวานน้องป่านก็เปิดรายการอาหาร ปลาอินทรีย์ย่างมะยงชิด เชพชื่อดังทำ น่าอร่อยมากก็พึ่งทราบว่ามะยงชิดใช้ทำอาหารคาวได้ อาหารมะยงชิดที่ขึ้นโต๊ะอร่อยไหมค่ะ  เมื่อปีที่แล้วดาได้ไปขึ้นต้นที่สวนแม่ริม ปีนี้ยังมีบางส่วนที่ยังไม่แก่ค่ะ

 

แวะมาเยี่ยมชมคะ

ลักษณะมันคล้ายกันมากเลยคะ

 

-สวัสดีครับพี่กานดา...

-สบายดีนะครับ..

-วันก่อนไปร่วมงานของสมาคมมะม่วงไทย ที่จังหวัดพิจิตรมาครับ...

-เก็บภาพผลไม้ไทย มาฝากครับ...

อยากลิ้ม ชิมมะยงชิด เลยเจ้า ปี้ดา

คงจะเปรี้ยวมากๆ แม้แต่ กายังวาง(ชาวสวนเรียกมะปรางชนิดนี้ว่า กาวาง)

บ้านเราปลูกได้มั๊ยคะ พี่ดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท