Shunrei
นักศึกษากิจกรรมบำบัด จุฑามาศ เก๋ ยิ่งยง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) กับ นักกิจกรรมบำบัด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)

เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ คาดว่าอาจจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากประชากรไทยมีอายุยืนขึ้น สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น รวมถึงมีผู้สูบบุหรี่มากขึ้น ทำให้ปอดถูกทำลาย การยืดหยุ่นของปอดลดลง มีการอักเสบของทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ทำให้ขาดกำลังใจในการต่อสู้และดูแลรักษาโรคของตนเอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายอย่าง


สาเหตุ

- สูดดมมลพิษนอกอาคาร

- เคยเป็นวัณโรคมาก่อน

- การติดเชื้อ HIV ร่วมกับการสูบบุหรี่

- การใช้ถ่าน ฟืน ทำเหมือง

- พันธุกรรม

- หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

 

อาการ

การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดน้อยลง ทำให้ลมที่จะเข้าปอดน้อยกว่าปกติ

เกิดอาการหายใจลำบาก หอบ เหนื่อย และอาจหายใจมีเสียงวี้ด

 

การป้องกัน (แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่)

1. การป้องกันขั้นปฐมภูมิ คือ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคโดยการไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันพิษต่าง ๆ

2. การป้องกันขั้นทุติยภูมิ ทำได้โดยการวินิจฉัยโรคแต่เนิ่น ๆเพื่อรีบให้การรักษาก่อนที่จะมีอาการกำเริบไปมากแล้ว นอกจากนี้ยังทำการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นประจำ

3. การป้องกันขั้นตติยภูมิ ทำได้โดยชะลอการเสื่อมของปอดจากตัวโรคด้วยการใช้ยาสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

 

คุณภาพชีวิตในผู้ป่วย COPD

            ด้านร่างกาย – อาการหายใจเหนื่อยหอบเริ่มรุนแรง ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย และความทนทานของร่างกายลดลง

            ด้านจิตสังคม – การทำกิจวัตรประจำวันทำได้ลดน้อยลง และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในสังคมด้วย เนื่องจากกลัวการต่อต้านจากคนในสังคม ทำให้ขาดความมั่นใจ

            ด้านเศรษฐกิจ – การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องทำให้ขาดบทบาทการทำงาน ไม่มีรายได้ และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

     การประเมินและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับภาวะสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ด้านคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยเน้นถึงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเป็นหลัก และสิ่งสำคัญคือ ควรสังเกต Heart rate, breathing rate, and oxygen saturation ตลอดการทำกิจกรรม จากนั้นวางแผนการรักษา

 

 

 

 

 

 

หากสนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างและสาเหตุจากบุหรี่สามารถดูได้จาก    (เรียบเรียงโดย มณฑิชา วิไลกิจ)

http://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=137

 

นำเสนอ โดย นางสาว จันทร์จิรา แสงสินธุ์  นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่2 

หมายเลขบันทึก: 482762เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2012 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมบำบัด ใน copd ทำอย่างไรดีครับ

นักกิจกรรมบำบัด จะทำการประเมินผู้รับบริการก่อนว่า ผู้รับบริการมีความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ในระดับใด

รวมทั้ง สอบถามหรือสัมภาษณ์ ถึงสภาพแวดล้อมหรือลักษณะการใช้ชีวิตของผู้รับบริการ(เท่าที่ได้)

(เพื่อที่นักกิจกรรมบำบัด จะสามารถปรับและเพิ่มความสามารถที่เหมาะสม ให้เข้ากับผู้รับบริการมากที่สุด)

จากนั้นเราก็ คิดวางแผนการรักษาให้แก่ผู้รับบริการ และทำการรักษา

เมื่อครบระยะเวลาที่เรากำหนดการรักษาที่เราตั้งไว้ เราก็จะประเมินอีกรอบเพื่อดูถึงผลที่คิดคาดคิดไว้

บางครั้งเราก็จะดูในเรื่องของสิ่งที่ผู้รับบริการนั้นสนใจ เพราะการที่เขาได้ทำในสนใจในสิ่งที่เขาชอบ

จะทำให้เขามีกำลังใจหรือแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

หรือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเข้ากับชีวิตประจำวันของผู้รับบริการ

เราอาจจะสนใจในมุมมองของครอบครัวผู้หรือญาติผู้รับบริการด้วย ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท