best practice


ตัวอย่าง
บทสรุปวิธีการปฏิบัติของBest practices            การถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อให้ได้ภาพบนฟิล์มที่มีคุณภาพดีครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการและแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง นักรังสีการแพทย์ ควรดำเนินการปฏิบัติดังนี้1        ศึกษาสภาพของผู้ป่วยจากใบส่งตรวจของแพทย์ ประกอบกับพยาธิสภาพและอาการของผู้ป่วยก่อนถ่ายภาพเพื่อเลือกใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ถูกต้อง2        การจัดท่า (positioning) จัดให้ส่วนที่จะถ่ายภาพรังสีของผู้ป่วยอยู่ในลำรังสี ปฐมภูมิ และจัดให้ตรง (True) จริงๆ เช่น True  AP ,True  Lateral3        กำหนดทิศทางของแสง(Central ray ) ให้อยู่กึ่งกลางของอวัยวะที่ต้องการตรวจ4        กำหนดจุดที่แสงรังสีตก(Center Point) เพื่อให้ได้ภาพคลุมส่วนที่ต้องการตรวจทั้งหมด5        ใช้ตัวบีบลำแสง (Collimator)ให้เหมาะสม เพื่อให้ภาพคมชัด และลดปริมาณรังสี ให้กับผู้ป่วย6        ติดเครื่องหมาย(marker) แสดงตำแหน่งของอวัยวะ เพื่อสื่อสารให้ชัดเจน ถูกต้อง7        จัดให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ(immobilization ) เพื่อป้องกันภาพไหว(Blur) 8        กำหนดระยะทางจากต้นกำเนิดแสงไปถึงฟิล์ม(SID) ที่ถูกต้องเหมาะสมกับอวัยวะที่ตรวจคือ 40 นิ้ว หรือ 72 นิ้ว9        นำฟิล์มที่ได้ไปผ่านขบวนการล้างที่ถูกต้อง คือ การผสมน้ำยาสร้างภาพ(Devenloper)และน้ำยาคงสภาพ(Fixer)ที่มีมาตรฐานและมีการควบคุมคุณภาพ(QC)ตลอดกระบวนการ
คำสำคัญ (Tags): #practice
หมายเลขบันทึก: 48263เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท