เดินจงกลม คือ อะไร?


ความเหมือนที่ไม่บังเอิญ

ภาพด้านซ้าย คือ ภาพวาดเก่ามีอายุกว่า 600 ปี เป็นภาพปรมาจารย์จางซันฟง(เตียบ่อกี้)ผู้คิดค้นรวบรวมท่ารำไท้เก๊ก อดีตศิษย์วัดเส้าหลิน ซึ่ง ปรามาจารย์ตั้กม้อ พระภิกษุพุทธนิกายมหายาน (ลัทธิวัชรญาน-ตันตรญาน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1100

ภาพด้านขวามือ คือ ภาพถ่ายหลวงตามหาบัว (ซึ่งท่านเคยบอกว่าเป็นการเดินจงกลมในท่าพุทธรำพึง)

คำสำคัญ (Tags): #เดินจงกลม
หมายเลขบันทึก: 482590เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สำหรับ พระพุทธรูปปางรำพึง ที่เราเห็นโดยทั่วไปจะเป็นการวางมือตรงบริเวณอก ซึ่งเรามักนิยมเรียกว่า ท่าเทพรำพึง..ใช้เป็นท่าเริ่มต้นในการฝึกสมาธิเคลื่อนไหวเพื่อประสมจิต..ก่อนที่จะเดินจงกลม..

ขอบพระคุณมากครับ ที่ให้ความรู้ทางธรรม ครับ

พระพุทธรูปปางรำพึงในแบบต่างๆที่พบในประเทศไทยปัจจุบัน

การรำมวยไท้เก๊ก มีต้นทางมาจากกังฟูวัดเส้่าหลิน..ซึ่งมีหลายส่วนที่คล้ายคลึงกับ การรำมวยไทย..ผมสันนิษฐานว่า พระฤาษีสุกกทันตะ(ฤาษีฟันขาว) แห่งสำนักธัมมิกการาม เขาสมอคอน เมืองละโว้( ตามบันทึกในชินกาลมณีปกรณ์..ของพระภิกษุล้านนา ซึ่งบันทึกไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.2000..กล่าวว่า สำนักนี้ก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ.1100..) ซึ่งเป็นกาลใกล้เคียงกันกับเรื่องราวของปรามาจารย์ตั๊กม้อเดินทางเข้าจีน..คงเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายมหายาน(ลัทธิวัชรญาน-ตันตรญาน)เช่นเดียวกัน..และสิ่งที่บุรพาจารย์พระฤาษี(บางทีเราเรียกพระฤาษีว่า ปู่ครู และ พ่อแก่) ท่านนี้ ได้ถ่ายทอดให้กับศิษยานุศิษย์ในสำนักธัมมิการาม (อันมีพระนางจามเทวีผู้สร้างเมืองหริภุญชัย รวมอยู่ด้วย) คือ การฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหว อันเป็นการสร้างสุขภาพ และความแข็งแกร่ง แก่ จิตใจและร่างกาย.. ลักษณะเดียวกับ มวยกังฟูวัดเส้าหลิน(สมัยโบราณไทยเราเรียกว่า รำหมัดรำมวย จนถึง สมัย ร.2 ทรงเปลี่ยนเป็น ชกมวย)..ดังนั้น วิธีการฝึกหายใจและการเดินลมปราณ จึงมีส่วนที่คล้ายกัน..แต่ มวยไทย ในปัจจุบัน กลับไม่ค่อยสนใจกระบวนการทางจิตที่สำคัญนี้ อาจจะเนื่องจากว่า องค์ความรู้ในเรื่องนี้สำคัญ จึงไม่แพร่หลายและสูญหายไป..ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท